ความหมายของ...การอโหสิกรรม
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายของ...การอโหสิกรรม  (อ่าน 2249 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2009, 10:32:00 AM »



คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ ๒ คำ คือ อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ ได้มีแล้ว ” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กับคำว่า กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึงการกระทำที่มีเจตนา อโหสิกรรม แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป

ตามหลักพระพุทธศาสนา บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้นจะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น เช่น ตนเองได้รับโทษถูกจำคุก หรือลูกหลานประสบเคราะห์ร้ายต่างๆ ทำให้ตนต้องเสียใจทุกข์ทรมานเพราะการสูญเสีย หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า

แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม วิธีทำกรรมให้เป็นอโหสิกรรมวิธีหนึ่งคือการยกโทษให้ เช่น เมื่อเราประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม จึงกลายมามีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่นก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข


กรรม คือ การกระทำ เรียกว่าเป็นเหตุก็ได้ หรือ มัคคก็ได้

ในที่นี้จะเรียกรวมๆว่ามัคคก็แล้วกันเข้าใจง่ายดี

วิบากกรรม ก็คือ ผลของการกระทำ หรือ ผลกรรม หรือ ผล

เรียกให้ไพเราะว่า " ผล คือ วิบากแห่งมัคค " นั่นเอง




ผลกรรมพอจะแบ่งได้ 3 ประเภท

1. กรรมที่ให้ผลตามกาล(คราว)

1.1 กรรมให้ผลในภพนี้(ให้ผลทันตาเห็น)

ได้แก่ผลทานบริสุทธิ์ที่ถวายแก่ ผู้ออกจากฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติใหม่ ซึ่งเราเป็นผู้ถวายเป็นคนแรกหรือกลุ่มแรก ก็จะได้สมบัติทันตาเห็น

ได้แก่ผู้บำเพ็ญเพียรเจริญมัคคปฏิปทา บรรลุฌานสมาบัติ 1 - 8 ก็ดี....บรรลุมัคค 4 ....ผล 4 ก็ดี ....สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติก็ดี จะได้ปีติ สุข อุเบกขา ตลอดจนญาณปัญญาทันตาเห็นทีเดียว

1.2 กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า(ให้ผลในชั่วโมงหน้า วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า ชาติหน้าได้ด้วย)

1.3 กรรมให้ผลในภพต่อๆไป(ให้ผลในชั่วโมงต่อไป วันต่อไป เดือนต่อไป ปีต่อไป ชาติต่อๆๆไปได้ด้วย)

1.4 กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว/อโหสิกรรม/ (เป็นกรรมล่วงกาลเวลาแล้ว เลิกให้ผลแล้ว เปรียบเสมือนเมล็ดพืชที่ต้นอ่อนข้างในตายแล้ว ย่อมเพาะไม่ขึ้น)


2. กรรมให้ผลตามกิจ

2.1 กรรมแต่งให้ไปเกิดใหม่(สามารถยังผู้กระทำกรรมนั้น ให้เคลื่อนจากภพหนึ่ง ไปถือปฏิสนธิในภพอื่น เช่นฆ่าตัวตาย)

2.2 กรรมสนับสนุน(ไม่อาจแต่งปฏิสนธิเอง ต่อเมื่อกรรมในข้อ 2.1 แต่งปฏิสนธิแล้ว จึงเข้าสนับสนุนส่งเสริมกรรมในข้อ 2.1 นั้น )

2.3 กรรมบีบคั้น(เมื่อกรรมในข้อ 2.1 แต่งปฏิสนธิแล้ว ก็เข้าบีบคั้นผลกรรมแห่งข้อ 2.1 นั้น ไม่ให้ให้ผลได้เต็มที่ เช่น เป็นคนดีมีความรู้มีความสามารถ แต่บังเอิญได้คู่ครองที่ไม่เอาไหนก็ซวยได้เหมือนกัน)

2.4 กรรมตัดรอน(ย่อมตัดรอนผลกรรมในข้อ 2.1 และ 2.2 ให้ขาดเสีทีเดียว เช่น เกิดเป็นผู้หญิงที่สวยงามประกวดแล้วได้ตำแหน่งนางงามจักรวาลแน่นอน แต่เกิดอุบัติเหตุเสียโฉมเสียก่อน ไม่เสียชีวิตแค่เสียโฉม)


3. กรรมให้ผลตามลำดับ

3.1 กรรมหนัก กรรมใดหนักกรรมนั้นให้ผลก่อน
ในฝ่าย "อกุศล" อนันตริยกรรม 5 เป็นกรรมที่หนักที่สุด ได้แก่กรรม ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรห้นต์ ประทุษร้ายให้พระพุทธเจ้าทรงห้อพระโลหิต และยุยงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ตายแล้วไปนรกก่อน

ในฝ่าย "กุศล" ฌานสมาบัติ 8 เป็นกรรมหนักที่สุด ตายแล้วไปพรหมโลกก่อน แต่คนมักไม่ค่อยไปเพราะมันมีความสุขสบาย

3.2 กรรมชิน (ได้แก่กรรมที่เคยทำมามาก ทำมาบ่อยๆ จนชินติดเป็นนิสัย เช่นนั่งสมาธิเป็นนิสัย เป็นต้น)

3.3 กรรมเมื่อจวนเจียน/กรรมอันทำเมื่อจวนจะตายใกล้จะตาย

3.4 กรรมสักแต่ว่าทำ/กรรมอันทำด้วยไม่จงใจ ไม่เจตนาให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่นหกล้มทับมดตายไปด้วย เป็นต้น





ที่มา  พลังจิต


บันทึกการเข้า

sinthuwat
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 26


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2009, 11:33:01 PM »

กรรมที่ให้ผลทันตา เช่น การจับไฟ จับปุ๊บก็ร้อนปั๊บครับ นี้ทันตา ไม่เชื่อลองจับสิครับ ไม่ต้องรอให้ถึงพรุ่งนี้ค่อยร้อน หรือเอามีดแทงตัวเองดูก็ได้ แทงแล้วก็เจ็บทันที
ไม่ใช่

**ได้แก่ผลทานบริสุทธิ์ที่ถวายแก่ ผู้ออกจากฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติใหม่ ซึ่งเราเป็นผู้ถวายเป็นคนแรกหรือกลุ่มแรก ก็จะได้สมบัติทันตาเห็น **

ถ้ากรรมเหล่านี้ทันตา ทำปุ๊บก็ต้องหล่นใส่หัวทันทีเลยเลยสิครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: