“ทะเคะฮิสะ”เกษตรพันล้านแห่งจิบะ กับข้อคิด..ชาวไร่แดนอาทิตย์อุทัย” รวยเพราะ...?

“ทะเคะฮิสะ”เกษตรพันล้านแห่งจิบะ กับข้อคิด..ชาวไร่แดนอาทิตย์อุทัย” รวยเพราะ...?

(1/2) > >>

ปื้น ปากพนัง:

บ้านรโหฐานของ “ทะเคะฮิสะ” สุดยอดเกษตรกรจังหวัดจิบะ

ปื้น ปากพนัง:

“ทะเคะฮิสะ อิจิมะ” เกษตรกรพันล้านแห่งจิบะ (ภาพบน), “โคอิจิ ยะมะชิตะ” เศรษฐีผู้แปรรูปลูกท้อให้กลายเป็นเงิน (ภาพล่าง)


"นี่หรือคือเกษตรกร นี่หรือคือเจ้าของบ้านหลังโต นี่หรือคือผู้บริหารไร่อันกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตาที่มองเห็นอยู่ตอนนี้?" ความคิดนี้ผุดขึ้นมาในหัวทันที หลังจากได้พบตัวเป็นๆ ของ “ทะเคะฮิสะ อิจิมะ (Takehisa Iijima)” เกษตรกรวัย 35 ผู้ถูกขนานนามว่าเป็นเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งประจำจังหวัดจิบะ
       
        ผมสีส้มทองที่เกิดจากการย้อม เสื้อยืดพอตัว เสียงหัวเราะที่แสนเปิดเผย รอยยิ้มขี้เล่น บวกกับท่าทีสบายๆ ทุกอย่างที่ประกอบเป็นบุคลิกภาพภายนอกของเขาช่างดูขัดแย้งกับตำแหน่งผู้บริหาร กระทั่งเมื่อได้นั่งพูดคุยกัน จึงได้คำตอบว่าอะไรทำให้หยาดเหงื่อในวันวานของเขากลับมาทอประกายมีมูลค่าอยู่ขณะนี้ เป็นเพราะสิ่งที่อยู่ในหัวคิด กลยุทธ์ “วิธีบริหารหนี้” ของเขานี่เอง
       
       
        “วิธีขยายกิจการของผม ผมจะใช้วิธีกู้เงินจากธนาคารเอาครับ แต่ต้องค่อยๆ กู้นะ คือจะไม่กู้เป็นก้อนใหญ่ทีเดียวเพื่อมาลงทุนขนาดใหญ่ แต่จะคิดว่าในปีนี้เราต้องการจะขยายตรงไหน ถ้าปีนี้อยากได้เครื่องจักรเพิ่ม อยากได้เครื่องบรรจุถุงกับรถแทร็กเตอร์ขนาด 75 แรงม้า เราก็จะกู้แค่เอามาใช้ตรงนั้น จะไม่กู้เกินความจำเป็น พอหลังจากเอาเครื่องจักรมาใช้ช่วยงาน จนทำให้ทำงานได้ไวขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น เราก็เอากำไรจากตรงนี้แหละครับไปจ่ายหนี้ก้อนเดิมที่ติดธนาคารไว้ แล้วหลังจากนั้นค่อยไปกู้ก้อนใหม่
       
        เงินส่วนใหญ่ที่กู้มา ผมชอบเอาไปลงทุนกับเครื่องไม้เครื่องมือและเครื่องจักร เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคืนทุน พอมีของตัวเอง เราก็ไม่ต้องเสียเงินไปเช่ายืมเครื่องจักรของคนอื่นเขามาใช้อีกแล้ว ยังไงก็คุ้มครับ ยกตัวอย่างเช่น จากเดิม ผมมี “เครื่องล้างหัวไชเท้า” วันหนึ่งล้างได้แค่ 500 กล่อง แต่พอซื้อเครื่องใหม่ มันเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นถึง 3 เท่าคือ ล้างได้วันละ 1,000-1,500 กล่อง แต่ก็ไม่ใช่ความดีความชอบของเครื่องจักรอย่างเดียวนะครับ เพราะยังไงกำลังคนก็ยังสำคัญ เพราะถึงแม้เครื่องจักรประสิทธิภาพดีแค่ไหน แต่ไม่มีคนคุมมันก็จบ ที่เราสามารถทำงานได้เยอะขึ้น ก็เป็นเพราะลูกจ้างเขายอมทำงานตามชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้น เราก็ต้องตอบแทนเขาด้วย


  จริงๆ แล้ว ในญี่ปุ่นเรามีระบบเงินช่วยเหลือเกษตรกรเยอะมากๆ นะครับ มีทั้งมาจากรัฐบาลส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น แค่ภาครัฐเขารู้ว่าใครอยากจะสร้างอะไรเกี่ยวกับแปรรูปการเกษตร เขาจะเสนอตัวออกเงินให้เลยครึ่งหนึ่ง แต่สำหรับผม ผมไม่เคยใช้วิธีกู้เงินจากรัฐเลย จะขอคำปรึกษาด้านข้อมูลอย่างเดียว ผมเลือกที่จะกู้กับธนาคารมากกว่า ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น มันเป็นความคิดที่ปลูกฝังมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อแล้วครับ เขาบอกเราเสมอว่า “ไม่จำเป็นต้องขยายกิจการให้โตแบบเฉียบพลัน” ไม่จำเป็นต้องกู้เงินก้อนโตจากรัฐบาลเพื่อมาลงทุนใหญ่โตแล้วก็เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น แต่พ่อจะสอนให้พึ่งตัวเองเป็นหลัก ค่อยๆ โตไปทีละปี ไม่ต้องพยายามฝืนทำอะไรในขณะที่ตัวเองยังไม่พร้อม ผมเลยเลือกกู้จากธนาคารดีกว่า
       
        การกู้เงินจากแบงก์ เราจะมีภาระ ต้องคืนเงินกู้ให้ได้ตามเวลาที่กำหนด ถึงจะหนักหน่อย แต่มันก็จะเป็นแรงผลักให้เราอยากรีบปลดหนี้ และถ้าเราทำได้ มันก็จะเป็นการสร้างเครดิตให้ตัวเราเองด้วย พอจะกู้ครั้งต่อไป แบงก์ก็จะมองเราเป็นลูกค้าเกรดเอ ถึงผมจะเรียนจบเศรษฐศาสตร์มา ไม่ถนัดเรื่องเกษตรแบบนี้เท่าไหร่ แต่เมื่อต้องมาสานต่อจากคุณพ่อ ผมก็อยากจะรักษาทุกอย่างในไร่เอาไว้ด้วยตัวเอง ก็เลยเลือกที่จะปลูกพืชง่ายๆ ก่อน ในปีแรกๆ ที่ทำ ตั้งแต่เมื่อ 13 ปีที่แล้ว เราปลูกแค่ไม่กี่อย่างเองครับ มีหัวไชเท้ากับผักป๋วยเล้ง ใช้พื้นที่แค่ 3 เฮกเตอร์ ปลูกหมุนเวียนไปแบบนี้ จนตอนนี้เราขยายออกไปได้ ทั้งหมดประมาณ 40 เฮกเตอร์แล้ว และตอนนี้ก็สามารถปลดหนี้ทุกอย่างได้หมดแล้วด้วย” เขาปิดท้ายประโยคด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจ
       
        ทุกวันนี้ เกษตรกรญี่ปุ่นในละแวกนั้นทุกคนมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 15 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยคือประมาณ 4.8 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกปี เพราะคุณทะเคะฮิสะ เจ้าของฟาร์มอิจิมะแห่งนี้ ตั้งเป้าเอาไว้แล้วว่าในอนาคตต้องทำให้เกษตรกรทุกคนมีรายได้อยู่ที่ 9.6 ล้านบาทต่อปีให้ได้ “ผมอยากเห็นเกษตรกรในเมืองเราทุกคนเป็นสุดยอดโมเดลด้านการเกษตรครับ” เขาประกาศกร้าวเอาไว้ในฐานะประธานสมาคมเกษตรกรจังหวัดจิบะ


มันต่างกันตรง “กู้ 0 เปอร์เซ็นต์”
        “ไปเปรียบเทียบกับเขาไม่ได้หรอก บ้านเรามันต่างกันเยอะ” เกษตรกรชาวไทยซึ่งเดินทางไปดูงานในครั้งนี้ด้วยกันราว 5-6 คน ต่างพูดออกมาในทำนองเดียวกันหลังจากได้เดินชมผลิตผลอันตระการตาจากไร่และความกว้างใหญ่ของที่พักอาศัยจากเพื่อนร่วมอาชีพในต่างแดน คนที่ไม่รู้ตื้นลึกหนาบาง ฟังเผินๆ แล้วอาจนึกว่าเป็นคำพูดตัดพ้อที่มาจากอารมณ์ย่อท้อของกระดูกสันหลังชาติไทย แต่ใครจะรู้บ้างว่า คำว่า “มันต่างกัน” ของพวกเขามีเหตุผลสนับสนุนความต่างให้น่าคิดอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
       
        ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเรื่องการสนับสนุนจากภาครัฐ เห็นได้ชัดเลยว่าถ้าเป็นการลงทุนเกี่ยวกับเกษตรกรรม โดยเฉพาะไร่ที่ไม่ได้มุ่งหมายจะส่งออกผลิตผลในรูปแบบสินค้าสดจากไร่อย่างเดียว แต่มีการแปรรูปผักผลไม้ออกมาเป็นเอกลักษณ์ประจำไร่ ส่งออกเป็นสินค้าประจำตำบล รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมยื่นข้อเสนอ “ให้กู้ 0 เปอร์เซ็นต์” หรือแม้แต่เข้ามาลงทุนออกค่าเครื่องจักรให้ครึ่งหนึ่งเลยก็มี เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้ว บางทีแค่เดินเข้าไปยื่นเอกสารกับเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่นยังยากเลย
       
        “เวลาไปเขียนของบกับ อบต.หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ถ้าเป็นกลุ่มใหม่หรือเกษตรกรรวมตัวกันเข้าไปเอง โดยที่ไม่ได้มีผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันเข้ามาร่วมรู้เห็น เขาจะไม่ค่อยอนุมัติค่ะ แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่มีผู้ใหญ่บ้าน เมียผู้ใหญ่บ้าน เขาจะอนุมัติ เพราะฉะนั้น คนที่ได้งบไปก็จะเป็นกลุ่มเดิมๆ มันไม่ได้กระจาย พอเราไปขอ เขาจะถามว่าคุณรู้ได้ยังไงว่ามีงบตัวนี้ รู้มาจากใคร และรู้ระเบียบข้อจำกัดมั้ยว่าต้องทำอะไรบ้าง เขาบอกว่าไม่ได้รวมกลุ่มกันมาทั้งหมู่บ้าน รวมกลุ่มแค่เกษตรกรมาแบบนี้ แน่ใจแล้วเหรอว่าจะทำได้ เราก็ถามกลับไปว่า แล้วทำไมคุณไม่เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรจริงๆ ล่ะ ในเมื่อเขาอยากแปรรูป อยากผลิตผลิตภัณฑ์ออกมา เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าคุณไปผ่านทางผู้ใหญ่บ้าน ทางกำนันมาก่อนสิ สรุปคือเราต้องผ่านฐานพวกนี้ขึ้นไปก่อน” กนกพร ดิษฐกระจันทร์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี บอกเล่าจากประสบการณ์ตรงด้วยท่าทีเอือมระอา

ปื้น ปากพนัง:

กนกพร เกษตรกรไทยเผยมุมอึดอัดภายในใจ หลังเดินดูไร่นาเพื่อนร่วมอาชีพแดนอาทิตย์อุทัย

ตราบใดที่ระบบยังเป็นอยู่แบบนี้ คงไปคาดหวังอะไรมากไม่ได้ “ฉันทานนท์ วรรณขจร” อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร ประจำกรุงโตเกียว บอกเอาไว้อย่างนั้น “ในบ้านเราประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของประเทศอยู่ในภาคการเกษตร แต่ในขณะที่ญี่ปุ่นทำตรงนี้อยู่แค่ 2-3 เปอร์เซ็นต์ เพราะอาชีพหลักๆ ของเขาคือธุรกิจเกี่ยวกับการบริการ ก็เลยทำให้เกษตรกรรมบ้านเขาควบคุมง่ายกว่าบ้านเรา เวลาจะออกมาตรการอะไรมาจากภาครัฐก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วกว่า
       
        ญี่ปุ่นเขาจะมีการเซ็ตระบบสหกรณ์ระหว่างเกษตรกรขึ้นมาอย่างชัดเจนเลยครับ หาคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยกัน เกษตรกรก็รวมกลุ่มกันเพื่อทำหน้าที่ผลิต แล้วจากนั้นก็ส่งไปยังภาคการวางแผนการผลิต หลายๆ ที่เขาใช้วิธีไปจ้างคนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการตลาดมาบริหารจัดการ ทำให้สินค้าของเขามีคุณค่า ทำให้ดีแล้วก็ขาย ไม่ใช่ผลิตให้มากเข้าว่าเพื่อเน้นขายอย่างเดียว”

ปื้น ปากพนัง:

ร้านขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมสินค้าที่หาซื้อไม่ได้ง่ายๆ

ด้วยการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่แข้มแข็งแบบนี้นี่เองที่ทำให้สินค้าจากไร่ในแต่ละท้องถิ่นในประเทศนี้ สามารถวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ไม่ต่างจากสินค้าจากนายทุนรายใหญ่ๆ แบรนด์ดังๆ โดยเฉพาะตึก “Tokyo Kotsu Kaikan” กลางกรุงโตเกียว ถือเป็นตัวอย่างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จให้เห็นเป็นรูปธรรมได้มากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเป็นตึกที่ชาวนาชาวไร่รวมเงินกันเช่าที่เพื่อวางสินค้าจากแต่ละตำบลออกสู่ตลาดโดยเฉพาะ ทำให้ร้านค้าภายในมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร คือขายเฉพาะพืชพันธุ์และผลิตผลแปรรูปจากไร่ท้องถิ่นที่ไม่สามารถหาซื้อได้จากที่ไหน ถ้าอยากได้แล้วไม่ก้าวเท้าเข้ามาในร้านเฉพาะกิจเช่นนี้ ก็จะไม่มีวันหาได้จากที่อื่น ยกเว้นจะเดินทางไปที่ไร่ไร่นั้นหรือเมืองเมืองนั้นอย่างเดียว
       
        ส่วนหนึ่งเป็นเพราะที่นี่มีกฎหมายเฉพาะออกมาเพื่อควบคุมไม่ให้มีการขนส่งสินค้าข้ามอำเภอด้วย จึงทำให้ญี่ปุ่นยังคงรักษาเสน่ห์ในแต่ละท้องถิ่นเอาไว้ได้ ไม่เหมือนสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ของบ้านเราทุกวันนี้ที่วางขายกันให้เกลื่อนทั่วร้าน “ของฝาก-ของที่ระลึก” เรียกได้ว่าไม่ต้องไปถึงสุราษฎร์ธานีก็มีไข่เค็มไชยา ไม่ต้องไปถึงระยองก็มีทุเรียนทอดกรอบ ให้ซื้อกันได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ในห้างฯ หรูๆ นี่แหละคือตัวอย่างเสียๆ หายๆ ที่ความสะดวกสบายเข้าไปทำลายเสน่ห์ของการท่องเที่ยว

อยากรอดต้อง “แปรรูป”
        ทุนไม่มี เป็นหนี้ ผลผลิตขายไม่ได้ รัฐไม่ส่งเสริม ฯลฯ ปัญหาร้อยแปดพันเก้ารุมเร้าอย่างนี้ แล้วเกษตรกรแดนสยามจะก้าวหน้าทัดเทียมเกษตรกรแดนอาทิตย์อุทัยได้อย่างไร? คำถามนี้มีคีย์เวิร์ดอยู่ที่ “เริ่มแปรรูป สร้าง Story และหัดช่วยเหลือตัวเอง”

“โคอิจิ ยะมะชิตะ (Koichi Yamashita)” คือเศรษฐีชาวไร่แดนอาทิตย์อุทัยที่เป็นตัวอย่างคนสู้ชีวิตได้ดีที่สุดคนหนึ่ง จากเดิมเคยเป็นแค่เกษตรกรตัวเล็กๆ ปลูกลูกท้อขายอย่างเดียว เขาผันตัวมาเป็นผู้ผลิตไอศกรีมเจลลาโต้ของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า “La Pesca” หยิบลูกท้อที่ไม่ได้มาตรฐานแล้วเคยโยนทิ้งจำนวนหลายตันต่อปีขึ้นมาแปลงเป็นเนื้อไอศกรีม คิดค้นสูตรทุกอย่างเองทั้งหมด จนทุกวันนี้ Shop เล็กๆ ติดกับไร่ได้กลายเป็นจุดขายประจำเมืองไปเสียแล้ว มีลูกค้าหลั่งไหลมาวันละไม่ต่ำกว่า 150 คน ยิ่งช่วงวันหยุดจะมีคนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ขายดีมากจนต้องต่อคิวรอซื้อกันนานถึง 40 นาทีขึ้นไป ใครมาที่ จ.ยามานาชิ แล้วไม่ได้แวะมาที่นี่ ถือว่ายังมาไม่ถึงที่
       
        “ตอนแรกมีผลลูกท้อที่ขายไม่ได้ถึง 3 ตันต่อปีเพราะผลไม่ได้มาตรฐาน เลยคิดว่าทำยังไงดี ตอนแรกเอาไปทำน้ำผลไม้ก่อนครับ คั้นเป็นน้ำผสมเนื้อแบบไม่ใส่อะไรเจือปนเลย ก็ขายได้แต่กว่าจะคั้นได้สักขวดหนึ่งมันนานเกินไป สุดท้ายก็ต้องทิ้งอยู่ดี เลยเริ่มมาทำเป็นไอติมดูครับ ช่วงแรกๆ ก็ใช้วิธีส่งลูกท้อของเราไปให้โรงงานในโตเกียวช่วยแปรรูปให้ ปรากฏว่าขายดีนะ แต่รสชาติที่ออกมามันไม่ค่อยถูกใจผมเท่าไหร่ ก็เลยตัดสินใจลงทุนเครื่องจักรมาทำเอง มีห้องแช่แข็งเป็นของตัวเอง

ปื้น ปากพนัง:

ไอศกรีมเจลลาโต้ แปรรูปจากผลผลิตในไร่ของ “โคอิจิ” เศรษฐีแดนอาทิตย์อุทัย

ทุกวันนี้รายได้จากการขายไอติมคิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด คือถ้าเทียบกับรายได้ในการขายวัตถุดิบสดๆ กับรายได้จากการแปรรูปเป็นไอติมแล้ว การแปรรูปยังไงก็ได้กำไรดีกว่าเยอะ ถือว่าผมเป็นเกษตรกรรายแรกๆ เลยครับที่แปรรูปลูกท้อเป็นไอติม ถามว่ากลัวมั้ยว่ารายอื่นๆ จะเลียนแบบ มาแปรรูปไอติมขายแข่งกับผมบ้าง เพราะเกษตรกรแถวนี้ก็ปลูกลูกท้อเหมือนๆ กัน ตอบเลยว่า ผมไม่กลัวเลยครับ เพราะไอติมเจลลาโต้ตรงนี้ใช้ทุนเยอะเหมือนกัน 18 ล้านเยน เกษตรกรคนอื่นๆ ก็เลยไม่กล้าทำครับ เพราะทำออกมาก็ไม่มั่นใจว่าจะขายได้มั้ย และตอนนี้ก็มีผมคนเดียวที่ทำไอติมเจลลาโต้ลูกท้อทั้งหมด 30 สายพันธุ์ ไม่มีที่อื่นแน่นอนครับ และเราก็มีไอติมรสอื่นๆ เพิ่มเข้ามาด้วย” นี่แหละคือจุดขายของเขา

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป