พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก

<< < (2/3) > >>

kusol-LSV team:
ขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระองค์ ฯ
ครั้งนั้น ท่านคฤหบดีได้ดำริว่า วันนี้เป็นกาลไม่ควรเพื่อจะเข้าเฝ้าพระองค์ พรุ่งนี้เถิด เราจึงจักเข้าเฝ้าท่านคฤหบดีนอนรำพึงถึงพระพุทธเจ้า สำคัญว่าสว่างแล้วลุกขึ้นในราตรีถึง ๓ ครั้ง ฯ
ลำดับนั้น ท่านคฤหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ ฯ
ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดีออกจากเมืองไป แสงสว่างก็อันตรธานไป ความ
มืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดี
จึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้น ฯ
ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
“ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัศดรแสนหนึ่ง หญิงสาว
ที่สอดสวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อัน
จำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้า
ไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน
ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ”ฯ
ครั้งนั้น ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ
แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่านคฤหบดี
ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับ
เสียจากที่นั้นอีก ฯ
แม้ครั้งที่ ๒ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
“ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖อันจำแนก
แล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่งท่านจงก้าวหน้าไปเถิด
คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดีการก้าวหน้าไปของท่าน
ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ”ฯ
ครั้งนั้น ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ
แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับ
เสียจากที่นั้นอีก ฯ

kusol-LSV team:
แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า
“ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนก
แล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่งท่านจงก้าวหน้าไปเถิด
คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดีการก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ
 การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ”ฯ
ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเข้าไปถึงสีตวัน ฯ
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เสด็จจงกรมอยู่ในที่
แจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีผู้มาแต่ไกลครั้นแล้วเสด็จลงจากที่
จงกรมประทับบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกคฤหบดีว่า
“มานี่เถิดสุทัตตะ ”ฯ
ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงทักเราโดยชื่อ จึงหมอบลง
แทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเอง แล้วกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือพระเจ้าข้า ”ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
“พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้วไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้เย็น
ปราศจากอุปธิ ย่อมอยู่เป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัดตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องได้
หมดแล้ว กำจัดความกระวนกระวายในใจเสียได้ เป็นผู้สงบอยู่เป็นสุข
เพราะถึงสันติด้วยใจ ”ฯ
ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้เหยื่อ
แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ
สมัยนั้นภิกษุณีชื่อสุกกา บริษัทเป็นอันมากแวดล้อมแสดงธรรมอยู่ ฯ
ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
“มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณี  ผู้แสดง
อมตบทอยู่ มัวทำอะไรกัน เป็นผู้ประดุจดื่มน้ำผึ้งหอมแล้วก็นอน ก็แล

kusol-LSV team:
อมตบทนั้นใครจะคัดค้านไม่ได้ เป็นของไม่ได้เจือปรุง แต่มีโอชา ผู้มี
ปัญญาคงได้ดื่มอมตธรรมเหมือนคนเดินทางได้ดื่มน้ำฝน ฉะนั้น ”ฯ
ทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้เหยื่อ
แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ
สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายโภชนาหารแก่สุกกาภิกษุณี ฯ
ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จาก
ตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
“อุบาสกผู้ได้ถวายโภชนะแก่สุกกาภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อย
รัดทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสพบุญมากหนอ”ฯ
จิราสูตรที่ ๑๑
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันอันเป็นที่ให้เหยื่อ
แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ
สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จิราภิกษุณี ฯ
ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในจิราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จาก
ตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
“อุบาสกผู้ได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง เป็น
คนมีปัญญาแท้ ประสพบุญมากหนอ”ฯ
อาฬวกสูตรที่ ๑๒
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขตเมืองอาฬวี ฯ
ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์เข้าไปใกล้พระองค์ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า
“ท่านจงออกมา สมณะ”ฯ   
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
“ดีแล้วผู้มีอายุ”
แล้วก็เสด็จออกมา ฯ
ยักษ์กล่าวว่า
“ท่านจงเข้าไป สมณะ”ฯ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า

kusol-LSV team:
“ดีแล้วผู้มีอายุ”
แล้วก็เสด็จเข้าไป ฯ   
แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ก็ได้กล่าวพระผู้มีพกะพระพุทธเจ้าเช่นนั้น
ครั้นครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า
“ท่านจงออกมา สมณะ”ฯ
พระพุทธเจ้าว่า
 “ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละท่านจะทำอะไรก็จงทำเถิด”ฯ
อาฬวกยักษ์กล่าวว่า
“สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เราจักทำจิตของท่านให้ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่านหรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น”ฯ
พระพุทธเจ้าว่า
“อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่
สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเราให้ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด”ฯ
อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
“อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนในโลกนี้ อะไร
หนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้  อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด”ฯ
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
“ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมอันบุคคลประพฤติ
ดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความสัตย์แลเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด”ฯ
อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
“คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ข้ามอรรณพได้อย่างไร ล่วงทุกข์ได้อย่างไร
บริสุทธิ์ได้อย่างไร”
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
“คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วง

kusol-LSV team:
ทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา”ฯ
อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า
“คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์ได้ คนได้ชื่อเสียง
อย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้ คนละโลกนี้ไปสู่โลกหน้า
ทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศก”ฯ
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
“บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้
ปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะเจาะ ไม่ทอดธุระ
เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้
ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม
๔ ประการนี้คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลก
นี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่า
อื่นดูซิว่าในโลกนี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะและขันติ”ฯ
อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า
“ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจึงจะต้องถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากในบัดนี้
วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงสัมปรายิกประโยชน์ พระพุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เมือง
อาฬวี เพื่อประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงทานที่บุคคล
ให้ในที่ใดมีผลมาก ข้าพเจ้าจักเที่ยวจากบ้านไปสู่บ้าน จากบุรีไปสู่บุรี
พลางนมัสการพระสัมพุทธเจ้าและพระธรรมซึ่งเป็นธรรมที่ดี”ฯ

จบยักขสังยุตบริบูรณ์
__________
รวมพระสูตรแห่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร คือ
อินทกสูตรที่ ๑ สักกสูตรที่ ๒ สูจิโลมสูตรที่ ๓ มณิภัทสูตรที่ ๔สานุสูตรที่ ๕
ปิยังกรสูตรที่ ๖ ปุนัพสุสูตรที่ ๗ สุทัตตสูตรที่ ๘ สุกกาสูตร ๒ สูตร จีราสูตร ๑๑
 อาฬวกสูตร ๑ รวม ๑๒ สูตร ฯ



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว