วิธีการขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM..
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 04:20:27 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์ EM..  (อ่าน 1099 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18612


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2018, 02:35:44 PM »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!!  www.pohchae.com
.
.
     
ตัวอย่างหัวเชื้อEM แบบเข้มข้นจากโรงงานผลิต ยี่ห้อหนึ่ง ..ราคาประมาณ60บาท/1ลิตร .. ท่านเกษตรกรสามารถนำมาขยายเพิ่มได้อีกหลายเท่าตัว ทำให้ประหยัดต้นทุนยิ่งขึ้น
น้ำจุลินทรีย์ชีวภาพ (EM) ย่อมาจาก Effecttive MicroOrganism
ตัวอย่างกากน้ำตาล ที่วางขายกันในท้องตลาด ภาคใต้จะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าอื่นๆ เพราะอยู่ห่างไกลจากโรงงานทำน้ำตาล
กากน้ำตาล (Molasses) น้ำข้นๆหนืดๆสีน้ำตาล เปิดฝามา กลิ่น หอมๆ เหมือนซีอิ้วดำ กากน้ำตาล เป็นกากที่ได้จากการผลิต น้ำตาลอ้อย โมลาสจะมีกลิ่นหอมหวาน ตัวนี้ใช้เป็นอาหารจุลินทรีย์
(ใครที่หากากน้ำตาลยาก ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนก็ได้ เพราะน้ำตาล เป็นอาหารให้แก่จุลินทรีย์ รา ยีสต์ สัดส่วนการ ปรุงก็เปลี่ยนไป ถ้าใช้กากน้ำตาล 1 ส่วน เราใช้น้ำตาลแค่ครึ่งนึง)
การขยายหัวเชื้อ
-ใช้ EM 1 ส่วน
-กากน้ำตาล 1 ส่วน
-น้ำสะอาด 20 ส่วน( ควรเป็นน้ำฝน แต่ถ้าใช้น้ำประปาควรใส่อ่างทิ้งไว้ 1-2 วัน)
หมักไว้ในภาชนะที่มีผาปิดมิดชิดอย่าให้อากาศเข้าได้เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำมาใช้ให้หมดภายใน 7 วัน

ใช้เวลา 2-3 วัน ให้เปิดฝาเพื่อระบายแก๊สออก คนให้เข้ากันเล็กน้อยแล้วปิดฝาตามเดิม พอหมักครบ 2 สัปดาห์ ...ถ้าเปิดดูมีฝ้าขาว ๆ แสดงว่าจุลินทรีย์ขยายตัวแล้ว

*เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำ และกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
 
วิธีใช้น้ำหมัก EM
  1. ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)ผสม น้ำในอัตรา 1:1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร) ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชต่าง ๆ ให้ทั่ว เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ลงดิน การใช้จุลินทรีย์สดในดิน ควรมีอินทรีย์วัตถุปกคลุมด้วย เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง เพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์
  1. ใช้ในการทำปุ๋ยหมักแบบต่าง ๆ ,ปุ๋ยอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์
  2. ใช้กับสัตว์ ให้ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตร ให้สัตว์กินทำให้แข็งแรงผสม และEM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร ใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่นหากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับอาหารให้สัตว์กิน
  3. ใช้ดับกลิ่นในคอกสัตว์ ห้องน้ำ แม่น้ำลำคลองที่เน่าเสีย
 
การเก็บรักษาอีเอ็ม (EM) เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ถึง 45 องศาเซลเซียส (อย่าเก็บในตู้เย็น)
โดยปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ ถ้าเปิดใช้แล้วต้องรีบปิดทันที เก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 6-8 เดือน
////////////////////////////////////////
E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัย ริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ
จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย
ลักษณะโดยทั่วไปของ EM 1. เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) 2. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ 3. ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ 4. ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 5. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
ลักษณะการผลิต เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง o กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค o กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน o กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์ o กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วย ปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป ด้านการเกษตร 1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ 2. ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ 3. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี 4. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ 5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น 6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ 7. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม. 8. ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ 9. ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน 10. ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้ 11. ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ.
ด้านการประมง 1. ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ 2. ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้ 3. ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้ 4. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่าง ๆ ได้อย่างดี.
ด้านสิ่งแวดล้อม 1. ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้ 2. ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย 3. ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมม มานานได้
การเก็บรักษาจุลินทรีย์ 1. สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น 2. ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท 3. การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม.
ข้อสังเกต 1. หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย 2. E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียอย่าทิ้ง...ใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้) 3. กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่พักตัวเมื่อเขย่าหรือคนแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม.
ก่อนจากกัน อยากให้ท่านเกษตรกรดูฉลากวันหมดอายุด้วยนะครับ..
ตามลูกศรสีเหลืองชี้ ..
EXP หรือ Exp.date ย่อมาจากคำว่า expiration date แปลว่า วันที่หมดอายุ เช่น..
Exp 210618 หมายถึง E.M.นี้หมดอายุวันที่ 21 เดือน6หรือเดือนมิถุนายน พ.ศ.2018 (หรือ2561)
ขอขอบคุณที่ติดตามครับ ปื้น ปากพนัง www.108kaset.com
////////////////////////////////////////
เรียบเรียงจาก http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php/topic,775.0.html https://www.kroobannok.com/17137 https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sasiseesom&month=12-11-2014&group=12&gblog=67 https://www.organicfarmthailand.com/how-to-make-effective-microorganisms/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!