รู้ลึก Ivermectin ยากำจัดพยาธิ-ปรสิต ที่ดีที่สุด..? +f

รู้ลึก Ivermectin ยากำจัดพยาธิ-ปรสิต ที่ดีที่สุด..? +f

(1/1)

ช่างเล็ก(LSV):
หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> www.pohchae.com
.
.



         Ivermectin  เป็นผลผลิตที่ได้จากการหมักของเชื้อรา Streptococcus avermitilis ซึ่งถูกค้นพบและพัฒนาโดย Dr. Satochi Omura นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น โดยเขาได้พบต้นกำเนิดของเชื้อราสายพันธุ์นี้ในดินแถวสนามกอล์ฟ การค้นพบในครั้งนี้สร้างความแปลกใจให้เขามากเนื่องจากผลผลิตที่ได้จากหมักของเชื้อราตัวนี้สามารถต้านปรสิตชนิดต่างๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากเชื้อราตัวอื่นอย่างสิ้นเชิง.. ผลผลิตที่ได้จากการหมัก Streptomyces avermitilis คือ Avermectins เป็นสารที่สามารถละลายได้ดีในไขมัน (lipophilic substance) จากการศึกษาพบว่าสารนี้เป็นสารที่ไวต่อกรด (acid sensitive) เนื่องจากกรดจะเป็นตัวตัดพันธะแล้วทำให้น้ำตาลตัวแรกที่เป็นองค์ประกอบหลุดออกไป ยิ่งถ้าเจอกรดที่แรงขึ้น ก็จะทำให้น้ำตาลตัวที่ 2 หลุดเกิดสารที่เรียกว่า aglycone นอกจากนี้สารตัวนี้ยังมีความไวต่อด่างอีกด้วย เนื่องจาก มีโปรตอนอยู่ในโครงสร้าง ดังนั้นการใส่ด่างลงไปจะมีผลทำให้สูตรโครงสร้างของสารเคมีตัวนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป.. ในการหมักแต่ละครั้งเราจะได้ avermectin ทั้งหมด 8 ตัว คือ A1a, A2a,  B1a, B2a, A1b, A2b, B1b, B2b ซึ่งแตกต่างกันตามโครงสร้างของสูตรเคมี เวลาหมักตัวที่ได้เยอะ คือ A2a  B1a B2a แต่ตัวที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ B1a เพราะเป็นตัวที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านปรสิตทั้งภายในและภายนอกได้มากที่สุด ตัวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ Avermectin B1a ดังนั้นเขาจึงได้นำสารตัวนี้มาเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ 22,23 dihydro avermectin ดังนั้น Ivermectin ที่เราพูดกัน จริงๆแล้วเราก็หมายถึง B1a ตัวเดียวเท่านั้น ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาไอเวอร์เม็กติน ยาไอเวอร์แมกตินมีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันดีจนเรียกติดปากกันว่า ไอโวแมก (Ivomec) ซึ่งผลิตโดยบริษัทเมเรียลเพื่อใช้กับปศุสัตว์เป็นหลัก และได้มีบริษัทอื่นๆผลิตมาขายเป็นจำนวนมาก ยาไอเวอร์แมกตินได้รับความนิยมจากเจ้าของสัตว์ที่พบปัญหาเห็บหมัดรบกวนสัตว์เลี้ยง โดยคิดว่าเป็นวิธีที่สะดวกและง่าย เห็นผลเร็วดี นอกจากจะได้ผลดีในการกำจัดเห็บแล้วยังสามารถกำจัดพยาธิภายในและภายนอกชนิดอื่นๆได้อีกด้วย เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิในปอด ไรขี้เรื้อน ไรในหู หมัด เหา ฯลฯ แต่การใช้ในการกำจัดพวกพยาธิต่างๆและเห็บหมัดนั้นจริงๆแล้วในสุนัขและแมวเป็นการใช้นอกเหนือการรับรอง กล่าวคือไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้อย่างเป็นทางการจาก FDA (Food and Drug Administration) หรือองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา.. สำหรับสุนัขนั้นยาไอเวอร์แมกตินได้รับการรับรองอนุญาตให้ใช้โดย FDA เพื่อใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจเท่านั้น โดยวิธีการกินเดือนละ 1 ครั้ง ในขนาด 6 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมาก แต่ได้มีการนำมาใช้นอกเหนือจากที่ FDA กำหนด เพื่อการรักษาโรคที่เกี่ยวกับพยาธิในสุนัขและแมวหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆหลายโรค เช่น รักษาโรคขี้เรื้อนแห้ง โรคขี้เรื้อนเปียก ฆ่าตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิหนอนหัวใจ ( microfilariacide) โรคไรในหูของสุนัขและแมว หรือแม้แต่ใช้ในการกำจัดเห็บหมัดในสุนัขและแมว แต่เนื่องจากว่าการใช้ยานี้ในการรักษาโรคต่างๆข้างต้นนั้นจะต้องให้ยาในขนาดที่สูงมากๆหลายเท่ากว่าที่ FDA อนุญาตให้ใช้ในสุนัขเพื่อป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ เพราะฉะนั้นการใช้ควรปรึกษาและได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เท่านั้น โดยใช้ได้ตามความจำเป็นและเห็นสมควรของสัตวแพทย์ต่อสัตว์เป็นกรณีๆไป เนื่องจากว่าปริมาณยาที่ใช้ในการรักษานั้นสูงมากๆ ตั้งแต่ 50-100 เท่าของขนาดที่ให้ใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจตามที่ FDA ได้กำหนดไว้ ดังนั้นจึงอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงของท่านได้ถ้าผู้เลี้ยงใช้เองโดยไม่ระมัดระวัง ยาไอเวอร์แมกตินสามารถดูดซึมได้ดีทั้งจากการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและทางเดินอาหารโดยการกิน ลักษณะของตัวยาที่ใช้กันในคลินิกเป็นของเหลวใส ค่อนข้างหนืด มีความเข้มข้นของตัวยาอยู่ 1% เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัตว์จะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน แต่ถ้าให้กินจะมีรสขม เผ็ดร้อน ระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปากเล็กน้อย เมื่อให้สัตว์กินควรผสมกับอาหารหรือทำให้เจือจางก่อน ยาไอเวอร์แมกตินตัวนี้ออกฤทธิ์ทำให้พยาธิตายได้โดยจะมีผลกับระบบประสาทของพยาธิ ทำให้เกิดเป็นอัมพาตและตายในที่สุด ไม่ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เนื่องจากว่าระบบประสาทที่ยาไอเวอร์แมกตินมีผลนั้น จะมีเฉพาะในระบบประสาทส่วนกลางเท่านั้น ซึ่งเป็นที่ๆยาไอเวอร์แมกตินไม่สามารถซึมผ่านไปได้หรือซึมผ่านไปได้ยาก ความปลอดภัยจึงมีมาก แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าสัตว์ได้รับยาในปริมาณที่สูงมาก อาจทำให้เกิดความเป็นพิษกับสัตว์ได้เช่นกัน พบได้บ่อยครั้งในลูกสัตว์หรือตัวที่มีน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งการให้ยากับสัตว์เหล่านี้มักเสี่ยงต่อการให้ในปริมาณที่เกินขนาดได้ง่าย สำหรับสุนัขบางสายพันธุ์นอกเหนือจากการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจโดยการกินเดือนละหนึ่งครั้งแล้ว การใช้ในกรณีอื่นต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่ามีสุนัขบางสายพันธุ์มีความไวต่อความเป็นพิษของยาตัวนี้อย่างสูง สายพันธุ์เหล่านั้นได้แก่ สุนัขพันธุ์คอลลี่ (Collie) พันธุ์เชทแลนด์ ชีพด็อก (Shetland Sheepdog) พันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีพด็อก (Old English Sheepdog) และพันธุ์ออสเตรเลียน ชีพด็อก (Australian Sheepdog) รวมทั้งพันธุ์ผสมของสุนัขสายพันธุ์เหล่านี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ผู้ใช้ต้องเป็นสัตวแพทย์และอยู่ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด พิษของยาไอเวอร์แมกตินต่อสัตว์นั้นส่วนมากมักเกิดจากการที่สัตว์ได้รับยาในปริมาณมากเกินขนาด ซึ่งจะแสดงอาการซึม การยืนและการทรงตัวผิดปรกติ เดินโซเซเหมือนคนเมาเหล้า คอตก น้ำลายไหลยืด รูม่านตาขยายถ้ารุนแรงมากจะมีอาการสั่น ชัก หมดสติ และอาจถึงตายในที่สุด สัตว์ที่แสดงอาการพิษบอกได้เลยว่าต้องทำใจ เนื่องจากไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะหรือไม่มียาแก้พิษโดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาตามอาการเพื่อประคับประคอง อาการ โดยการให้น้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะ ยาบำรุง หรืออาจใช้ยา Picrotoxin หรือ Physostigmine ร่วมด้วย เคยมีรายงานว่าสามารถช่วยลดความเป็นพิษของไอเวอร์แมกตินลงได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน เพราะว่ายาทั้งสองตัวนี้มีความปลอดภัยในการใช้ต่ำ สำหรับไอเวอร์แมกตินสามารถขจัดออกจากร่างกายของสัตว์เองอย่างช้าๆ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นสัตว์ที่ป่วยจากความเป็นพิษของของยาชนิดนี้ ถ้ามีชีวิตรอดได้เกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น่าจะมีโอกาสรอดมากขึ้นตามลำดับ ตัวยาไอเวอร์แมกตินนั้นจะไม่สามารถละลายได้ในน้ำ ตัวทำละลายที่ใช้กับตัวยาไอเวอร์แมกตินมีอยู่ 4 ชนิดคือ 1. DMSO (มักใช้ในยาไม่มีทะเบียน) 2. Diethylene glycol 3. Propylene glycol 4. Oil-base (ไม่แสบ) วิธีการให้ยา 1. ชนิดฉีด ให้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น ห้ามฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพราะจะไม่ให้ผลการรักษาในระยะยาว เนื่องจากฉีดเข้าใต้ผิวหนังฤทธิ์ของยาจะอยู่ได้หลายวันมากกว่า เราฉีดโดยการดึงหนังขึ้น (โดยมากใช้บริเวณหลังคอ) แล้วฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ตัวอย่างการอ่านฉลากยา ยาฉีด Ivermectin 1.0% w/v หมายถึง ในน้ำยา 100 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 1.0 กรัม (หรือ 1,000 มิลลิกรัม หรือ 1,000,000 ไมโครกรัม) ยาฉีด Ivermectin 2.5% w/v หมายถึง ในน้ำยา 100 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 2.5 กรัม (หรือ 2,500 มิลลิกรัม หรือ 2,500,000 ไมโครกรัม)
สาเหตุที่ต้องผลิตมาแบบเจือจาง เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวนน้ำยา (ซีซี) ที่ต้องการ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด เพราะถ้าผลิตมาแบบเข้มข้นจะต้องใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ ยากต่อการวัด จะทำให้เกิดการใช้ยาเกินขนาดหรือน้อยกว่าขนาดที่ต้องการ ตัวอย่างการคำนวนปริมาณยาฉีด (ซีซี) ยาฉีด Ivermectin 1.0% w/v หมายถึง ในน้ำยา 100 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 1.0 กรัม (หรือ 1,000 มิลลิกรัม หรือ 1,000,000 ไมโครกรัม) ดังนั้นในน้ำยา 1 ซีซี จะมีปริมาณยาอยู่ 0.01 กรัม (หรือ 10 มิลลิกรัม หรือ 10,000 ไมโครกรัม) สมมุติสุนัขหนัก 20 กิโลกรัม จะต้องใช้ยา 1.0% = 450 (ไมโครกรัม/กิโลกรัม) x 20 (กิโลกรัม) / 10,000 (ไมโครกรัม/ซีซี) = 0.9 ซีซี หรือ 1.0 ซีซี สมมุติสุนัขหนัก 78 กิโลกรัม จะต้องใช้ยา 2.5% = 450 (ไมโครกรัม/กิโลกรัม) x 78 (กิโลกรัม) / 25,000 (ไมโครกรัม/ซีซี) = 1.4 ซีซี หรือ 1.5 ซีซี

สรุปสูตรปริมาณยาฉีด จำนวนยาที่ใช้ฉีด (ซีซี) =  450 (ไมโครกรัม/กิโลกรัม) x น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ------------------------------------- ความเข้มข้น (%) x 10,000 (ไมโครกรัม/ซีซี)

  ขนาดของ "ไอเวอร์แมกติน" ที่ใช้กันในทางสัตวแพทย์นั้น แตกต่างกันตามแต่วัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้คือ 6 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / เดือน ใช้สำหรับป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ โดยสามารถเริ่มป้องกันได้ตั้งแต่สุนัขมีอายุ 2 เดือน 200 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / ครั้ง ใช้สำหรับฆ่าพยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อในกระแสเลือด (microfilariacide) ใช้กำจัดพยาธิภายใน (endoparasite) เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า เป็นต้น 300-600 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / วัน ใช้สำหรับกำจัดพยาธิภายนอก (miticide) หรือกำจัดเห็บ หมัด ไร เหาชนิดต่างๆ ถ้าเป็นยากิน ให้กิน 5 - 10 วันติดต่อกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หลังจากนั้นให้กินป้องกันทุกเดือนเป็นเวลา 5 วัน ถ้าเป็นยาฉีด ใช้ประมาณ 1 cc / 20 กิโลกรัม / 15 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น หลังจากนั้นให้ฉีด 1 cc / 20 กิโลกรัม / 30 วัน เพื่อป้องกัน 600 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / วัน ใช้กำจัดไรขึ้เรื้อนสุนัขชนิดแห้ง ถ้าเป็นยากิน ให้กิน 20 - 30 วันติดต่อกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นยาฉีด ใช้ประมาณ 1 cc / 20 กิโลกรัม / 10 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 30 วัน 600-900 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / วัน ใช้กำจัดไรขึ้เรื้อนสุนัขชนิดเปียก ถ้าเป็นยากิน ให้กิน 20 - 30 วันติดต่อกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ถ้าเป็นยาฉีด ใช้ประมาณ 1 cc / 20 กิโลกรัม / 10 วัน จนกว่าอาการจะดีขึ้น ซึ่งอาการจะดีขึ้นภายใน 30 วัน
  2. ชนิดกิน เป็นผงผสมในอาหาร   การให้ยาฉีดไอเวอร์เม็กติน ทางอาหาร ตัวยาไอเวอร์เม็กตินสามารถถูกดูดซึมได้ทางระบบทางเดินอาหารได้ด้วย เราจึงสามารถให้ยาไปพร้อมกับอาหารได้โดยใช้สูตรคำนวนปริมาณยาเช่นเดียวกับวิธีฉีด คือ สำหรับยาฉีดความเข้มข้น 1% จะใช้ 1 มิลลิลิตร (ซีซี) ต่อน้ำหนักตัวสุนัข 20 กิโลกรัม ให้ทดลองดูว่า สุนัขของท่านชอบขนมชนิดใด จากนั้นจึงฉีดไอเวอร์เม็กตินเข้าไปในขนม แล้วให้สุนัขรับประทาน วิธีนี้สะดวกมากสำหรับสุนัขจรจัดและสุนัขที่มีนิสัยดุร้าย ทั้งนี้ควรเปลี่ยนเข็มใหม่ทุกครั้งที่ดูดยา เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าไปในขวดยา ยาฉีดไอเวอร์เม็กตินแต่ละยี่ห้อจะมีรสขมไม่เท่ากัน เวลาฉีดบางยี่ห้อก็แสบมากแสบน้อยแตกต่างกันไป ยาฉีด Ivermectin สามารถถูกดูดซึมได้ที่ทางเดินอาหารด้วย จึงสามารถให้สุนัขทานได้ ปริมาณยาที่ใช้สำหรับกำจัดพยาธิภายนอก (miticide) หรือกำจัดเห็บ หมัด ไร เหาชนิดต่างๆ คือ 300 - 600 ไมโครกรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ เดือน
ข้อควรระวังในการซื้อยาไอเวอร์แมกตินสำหรับสุนัขและแมว เนื่องจากยาไอเวอร์แมกตินทั้งหมดจะผลิตมาเพื่อใช้ในปศุสัตว์เป็นหลัก ดังนั้นจึงมียาบางรุ่นเป็นยาสูตรผสม เพิ่มสรรพคุณฆ่าพยาธิใบไม้ในตับ  เหมาะสำหรับใช้กับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่กินหญ้าและน้ำตามแหล่งสาธาณะหนองบึง  โดยบางบริษัท ได้พัฒนาตัวยา ที่มีตัวย่อว่า F ตามท้าย เช่น IVERMEC-F จะสามารถถ่ายพยาธิใบไม้บางตัวได้อีกด้วย (ต่อย่อ F = Fluke แปลว่าพยาธิใบไม้) แต่ยา IVERMEC-F นี้จะมีผลเสียต่อสุขภาพของสุนัข คือสุนัขจะเป็นโรคลำใส้อักแสบได้ ดังนั้นจึงห้ามซื้อยาสูตรผสมมาใช้กับสุนัขและแมวอย่างเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น Ivomec (ธรรมดา) ประกอบไปด้วยตัวยา Ivermectin 1.0 w/v Ivomec-F ประกอบไปด้วยตัวยา Ivermectin 1.5 w/v + Clorsulon 15 w/v ตัวยาที่ 1 คือ Ivermectin เพื่อกำจัดพยาธิต่างๆ ตัวยาที่ 2 คือ Clorsulon สรรพคุณฆ่าพยาธิใบไม้ในตับ มีผลเสียต่อสุนัขทำให้ลำใส้อักแสบ   Ivermectin - ผลข้างเคียง อัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้น ผิวแห้ง ไอ อาการคัน เจ็บคอ ความเมื่อยล้า
ยาไอเวอร์เมคติน โทษของมันคือ ถ้าใช้เกินขนาด จะทำให้สัตว์เกิดอาการเป็นพิษทางระบบประสาท (เหมือนพยาธินั่นเอง) ก็คือ สัตว์จะมีโอกาสเป็นอัมพาต ขาอ่อนแรง ล้มลงนอน บางตัวตาเป็นฝ้า จนถึงตาบอด และห้ามใช้ในสัตว์เด็ก ที่อายุต่ำกว่า 1.5 เดือน มีพิษต่อตับสูง   จากการใช้งานจริง หลายฟาร์มจะพบปัญหาว่าเมื่อฉีดในแพะที่กำลังท้องในระยะแรก มีผลทำให้แท้ง หรือลูกที่คลอดออกมาไม่สมบูรณ์ ..ดังนั้นเกษตรกรที่ใช้ยาตัวนี้ควรระมัดระวังการใช้ยาในเรื่องนี้ด้วย บริษัทผู้นำยา มาจำหน่ายภายใต้ชื่อยี่ห้อต่างๆกัน แต่ตัวยาหลักชนิดเดียวกัน.. VIRBAMEC - 1F 25/2541 บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด IVERTIN - 1F 65/2541 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด CEVAMEC - 1F 26/2542 บริษัท ซาโนฟี่-ซินเตลาโบ (ประเทศไทย) จำกัด ECOMECTIN - 1F 40/2542 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด IVOMEC - 1F 86/2543 บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จำกัด IVOMEC - 1F 87/2543 บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จำกัด VIRBAMEC LA - 1F 93/2543 บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด - Vet Agritech Co., Ltd. - ไม่แสบ FENOMAX LA - 1F 25/2544 บริษัท อินเตอร์เว็ท (ประเทศไทย) จำกัด - Intervet (Thailand) Co., Ltd. (www.intervet.co.th) - ไม่แสบ EUVECTIN - 1F 73/2544 บริษัท พีวีจี เทรดดิ้ง จำกัด BOMECTIN - 1F 51/2545 บริษัท อโกรเมด จำกัด BIMECTIN - 1F 94/2545 บริษัท พีคพ้อยท์ เพอร์มาเน้นท์ จำกัด CEVAMEC - 1F 108/2545 บริษัท ซีวา แอนิมัล เฮลธ์ (ประเทศไทย) จำกัด - (www.ceva.com) IVERIPRA-I - 1F 12/2546 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด IVERVET - 1F 60/2546 บริษัท พีวีจี เทรดดิ้ง จำกัด IVERTIN - 1F 64/2546 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด ECOMECTIN - 1F 65/2546 บริษัท ไบโอเท็ค แอ็กกริ-บิซเน็ส จำกัด - Ecovet Co., Ltd. (www.ecovett.com) NOROMECTIN - 1F 33/2547 บริษัท ฟิลลิปส์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด - (www.norbrook.com) - อาจเลิกผลิต IVERMECTIN - 1F 35/2547 บริษัท เอ็ม.จี ฟาร์มา จำกัด PROMECTINE - 1F 1/2548 บริษัท ปีเตอร์ แฮนด์ (ประเทศไทย) จำกัด PANDEX - 1F 13/2549 บริษัท อินเตอร์เว็ท (ประเทศไทย) จำกัด OVERTIN - 1F 34/2549 บริษัท ยูเนียน อกรีฟาร์ จำกัด PANDEX - 1F 20/2551 บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด BAYMEC - 1F 61/2551 บริษัทไบเออร์ไทย จำกัด IVERMEC-KOS - 1F 76/2551 บริษัท คอส อินโทรเท็ค จำกัด IVOMEC - 1F 25/2552 บริษัท เมเรียล (ประเทศไทย) จำกัด - Merial (Thailand) Co., Ltd. (th.merial.com) - แสบมาก IVOTAN LA - 1F 32/2552 บริษัท เชอริ่ง-พลาว แอนิมัล เฮ็ลธ จำกัด - น่าจะไม่แสบ VERMAX - 1D 15/2541 บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด IVOTIC - 1D 55/2541 บริษัท โรงงานเภสัชกรรม แอตแลนติค จำกัด IVERSAT - 1D 72/2546 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ - Unovet Network Co., Ltd. (www.unovetgroup.com) IMAC - 1D 238/2546 บริษัท สามัคคีเภสัช จำกัด DEVECTIN - 1D 40/2547 บริษัท ไทยนาโอกะ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด IVERCIN - 1D 41/2547 บริษัท ไทยนาโอกะ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด IDECTIN - 1D 42/2547 บริษัท ไทยนาโอกะ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด B-MECTIN - 1D 137/2547 - บริษัท บุคคโล เทรดดิ้ง จำกัด IVERMECTIN - 1D 138/2547 - บริษัท บุคคโล เทรดดิ้ง จำกัด B-VERMEC - 1D 139/2547 - บริษัท บุคคโล เทรดดิ้ง จำกัด MERVECTIN - 1D 14/2548 - ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ VESCOMEC - 1D 198/2549 - ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล IVERPAC - 1D 199/2549 - ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล IVERMECTIN - 1D 228/2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล ECOMECTIN - 1D 229/2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เวสโก ฟาร์มาซูติคอล - Ecovet Co., Ltd. (www.ecovett.com) NOVAMECTIN - 1D 66/2550 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด V-OMEC - 1D 94/2550 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด - Vet Inter Product Co.,Ltd. IVERMECTIN - 1D 186/2550 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด VERSOL - 1D 14/2551 บริษัท ที.พี. ดรัก แลบบอราทอรี่ส์ (1969) จำกัด - T.P. Drug Laboratories (1969) Co., Ltd. (www.tpdrug.com) BEVERMEC - 1D 102/2551 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ BETMECTIN - 1D 112/2551 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอล.บี.เอส. แลบบอเรตอรี่ ZOOTAMEC - 1D 117/2551 บริษัท โนวา เมดิซีน จำกัด DECTOMAX (ตัวยา doramectin) - 1F 10/2547 บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด - ไม่แสบ   1A ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ผลิตในประเทศ (ยาเดี่ยว) 1B ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบ่งบรรจุ (ยาเดี่ยว) 1C ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (ยาเดี่ยว) 1D ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ผลิตในประเทศ (ยาเดี่ยว) 1E ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์แบ่งบรรจุ (ยาเดี่ยว) 1F ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์นำเข้าฯ (ยาเดี่ยว) 2A ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์ผลิตในประเทศ (ยาผสม) 2B ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบ่งบรรจุ (ยาผสม) 2C ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ (ยาผสม) 2D ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ผลิตในประเทศ (ยาผสม) 2E ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์แบ่งบรรจุ (ยาผสม) 2F ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์นำเข้าฯ (ยาผสม) G ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์ผลิตในประเทศ H ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์แบ่งบรรจุ K ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ L ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับสัตว์ผลิตในประเทศ M ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับสัตว์แบ่งบรรจุ N ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ   ขอบคุณ https://en.wikipedia.org/wiki/Ivermectin https://www.google.co.th/search?newwindow=1&safe=active&client=firefox-b&dcr=0&biw=1138&bih=562&tbm=isch&sa=1&ei=ZH4XWt7BEsfpvATmnoiIAw&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&q=ivermectin+ เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน   ซื้อ-ขายแพะ https://www.tabletwise.com/medicine-th/ivermectin   Ever Miss a Dose of Your Medicine? Cancer.Net (2014). The Importance of Taking Your Medication Correctly Schachter, S.C., Shafer, P. O. &; Sirven, J.I. (2013). Missed Medicines. Epilepsy Foundation National Institute of Drug Abuse (2010). Prescription Drugs: Abuse and Addiction. Report Research Series eMedicinehealth (2016). Drug Overdose Overview Centers for Disease Control and Prevention (2010). Unintentional drug poisoning in the United States Centers for Disease Control and Prevention. December 12, 2011. Put your medicines up and away and out of sight  

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ