ไฟเขียวขึ้นภาษีสุรา-เบียร์-ยาสูบ อีก 2% เพิ่มรายได้4 พันล้าน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 02:15:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟเขียวขึ้นภาษีสุรา-เบียร์-ยาสูบ อีก 2% เพิ่มรายได้4 พันล้าน  (อ่าน 1221 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 08:55:10 AM »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com


ครม. ไฟเขียวเพิ่มภาษีสุรา-เบียร์-ยาสูบ 2% นำเงินเข้ากองทุนคนชรา คาด มีผลบังคับใช้ต้นปี 2561 พร้อมกำหนดเพดานไม่เกิน 4 พันล้านต่อปี

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ โดยอนุมัติหลักการส่วนการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนผู้สูงอายุเพิ่มจากภาษีสุรา ยาสูบ และเบียร์ ในอัตรา 2% เพื่อไปเพิ่มกับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยเพราะเงินในกองทุนปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการเพิ่มเบี้ยยังชีพ อย่างไรก็ตามได้กำหนดเพดานการจัดสรรหาเงินไม่เกิน 4 พันล้านบาทต่อปี มีผลตั้งแต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บังคับใช้ คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงต้นปี 2561

  ทั้งนี้ การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะไม่เบียดบังการจัดเก็บรายได้เดิมของกรมสรรพสามิตที่ปัจจุบันเก็บรายได้จาก 3 ประเภทนี้ 2.13 แสนล้านบาท แบ่งเป็นยาสูบ 6.5 หมื่นล้านบาท, สุรา 6.2 หมื่นล้านบาท และเบียร์ 8.6 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังมีมาตรการให้ผู้สูงอายุฐานะดีสละสิทธิ์รับเบี้ยคนชรา เป็นการบริจาคเข้ากองทุน คาดว่าน่าจะได้เงินกลับมาราว 4 พันล้านบาท ซึ่งผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยจะได้รับเบี้ย 900-1,300 บาทต่อราย หรือเพิ่มจากเดิมราว 200 บาทต่อเดือน มีอยู่ประมาณ 2-3 ล้านราย ส่วนผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้มีรายได้น้อยจะได้รับเบี้ยตามเดิม.

ขอบคุณ นสพ.แนวหน้า.




บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 30, 2017, 07:38:55 AM »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>www.pohchae.com


.
  รัฐบาลจัดทำร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ เก็บภาษีผู้ใช้น้ำในการเกษตร และอุตสาหกรรม เตรียมบังคับใช้อีกไม่เกิน 2 เดือนนี้.. วันที่ 29 กันยายน 2560 นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงถึงการจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ โดยระบุว่า รัฐบาลต้องมีกลไกบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ที่รัฐบาลผลักดัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่าในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน จะมีผลบังคับใช้ สำหรับ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ กำหนดประเภทการใช้น้ำไว้ 3 ประเภทได้แก่ ประเภทที่ 1 : ใช้น้ำเพื่อการดำรงชีพ ซึ่งหมายถึงประชาชนทั่วไป ไม่ต้องเสียค่าใช้น้ำ ประเภทที่ 2 : ใช้น้ำเพื่อประกอบธุรกิจการเกษตร, เลี้ยงสัตว์ และเพื่อการพาณิชย์ เสียค่าน้ำอัตราลูกบาศก์เมตรละไม่เกิน 50 สตางค์ / การอุตสาหกรรม, การท่องเที่ยว, การผลิตพลังงานไฟฟ้า, การประปา หรือกิจการอื่น เก็บค่าน้ำในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 1-3 บาท ประเภทที่ 3 : กิจการขนาดใหญ่ ได้แก่ สนามกอล์ฟ, โรงไฟฟ้า, นิคมอุตสาหกรรม และธุรกิจขายน้ำดิบเชิงพาณิชย์ จะเก็บค่าน้ำอัตราลูกบาศก์เมตรละ 3 บาท ...ทั้งนี้หลังบังคับใช้ ภายใน 180 วันจะออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนทั่วประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องอัตราการเก็บค่าน้ำ ก่อนจะออกเป็นกฎกระทรวง ส่วนวิธีการคำนวณปริมาณน้ำแต่ละประเภท เบื้องต้นผู้ประกอบการที่เข้าข่ายเสียค่าน้ำจะต้องแจ้งมายังหน่วยงานว่าจะมีการใช้น้ำสาธารณะในปริมาณเท่าใด ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะมีวิธีการประเมิน ตรวจสอบอย่างเป็นธรรม.. อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก https://money.kapook.com/view180430.html https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0.. ,    
บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!