ไทยออยล์ vs ปตท.
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 01:22:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยออยล์ vs ปตท.  (อ่าน 1818 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 12, 2017, 08:30:42 AM »

http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1457
ความตกต่ำด้วยการขาดทุนอย่างย่อยยับของสุดยอดโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ บริษัทกลั่นน้ำมันที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น very very top ของภูมิภาคเอเชีย เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อสำหรับบุคคลภายนอกที่มองศักยภาพไทยออยล์ในระดับซูเปอร์แมน ไม่ว่าในแง่ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ผลการดำเนินงานที่เติบโตแบบระเบิดพรวดพราดไปพร้อมๆ กับตลาดน้ำมันโลกเข้าสู่ยุครุ่งเรือง หรือแม้แต่ประสบการณ์ที่ช่ำชองของผู้บริหารในแต่ละยุคล้วนแล้วมีฝีมือระดับพระกาฬ ไม่ว่าจะเป็น เชาว์ เชาว์ขวัญยืน, เกษม จาติกวณิช หรือจุลจิตต์ บุณยเกตุ ภาพเหล่านี้ส่งผลให้สถาบันการเงินทั่วโลกยินดียื่นมือเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ ขณะที่ทุนจดทะเบียนมีเพียงไม่กี่หยิบมือ ในที่สุดเมื่อตลาดน้ำมันโลกเริ่ม over supply ราคาน้ำมันดำดิ่งลงพร้อมๆ กับการล่มสลายของเศรษฐกิจเอเชียแล้วลุกลามไปทั่วโลก ไทยออยล์ได้รับบาดเจ็บสาหัส รางวัลซึ่งผู้เกี่ยวข้องที่มองเห็นไทยออยล์เป็นขุมทรัพย์ขนาดมโหฬารจะได้รับ กลับกลายเป็น โศกนาฏกรรม!
ก่อตั้งขึ้นด้วยสุดยอดภูมิปัญญา
ด้วยเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทย สมัย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องการเห็นการเกิดอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศไทยและอยากเห็นคนไทยเป็นเจ้าของโรงกลั่นเอง เพราะว่าขณะนั้นการบริโภคน้ำมันชนิดต่างๆ ล้วนแล้วต้องนำเข้ามา จากต่างประเทศ แม้แต่บริษัทเชลล์ ปิโตรเลียม เอ็นวี จำกัด เองที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยก็ต้องผลิตน้ำ มันจากต่างประเทศแล้วจึงนำเข้ามาจำหน่าย 100%
ยังมีต่อ

ก่อตั้งขึ้นด้วยสุดยอดภูมิปัญญา

ด้วยเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทย สมัย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องการเห็นการเกิดอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศไทยและอยากเห็นคนไทยเป็นเจ้าของโรงกลั่นเอง เพราะว่าขณะนั้นการบริโภคน้ำมันชนิดต่างๆ ล้วนแล้วต้องนำเข้ามา จากต่างประเทศ แม้แต่บริษัทเชลล์ ปิโตรเลียม เอ็นวี จำกัด เองที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยก็ต้องผลิตน้ำ มันจากต่างประเทศแล้วจึงนำเข้ามาจำหน่าย 100%

ดังนั้นรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ จึงมีแนวความคิดเปิดประมูลให้นักลงทุนเข้ามาสร้างโรงกลั่น แต่มีข้อแม้ว่าผู้ที่ชนะการประมูลและเมื่อสร้างโรงกลั่นแล้วต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่รัฐบาล ขณะที่นักลงทุนได้ไปเพียงผลประกอบการที่ได้ทำการตกลงกับรัฐบาลเท่านั้น

เหตุผลที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ มีเงื่อนไขเช่นนั้นเนื่องจากต้องการหาคนมาสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้นในประเทศไทย

และแล้วเมล็ดพันธุ์นั้นได้เจริญ เติบโตกลายเป็น บริษัท ไทยออยล์ จำกัด จากชื่อเดิม คือ โรงกลั่นน้ำมัน ไทย หรือ บกนท. (Thaioil Refinary Company : TORC) ที่มีสัญลักษณ์คล้ายรถไฟใต้ดินของอังกฤษ ผู้ที่ก่อตั้งคือชายชื่อ เชาว์ เชาว์ขวัญยืน วิศวกร หนุ่มชาวไต้หวัน เมื่อสิงหาคม 2504 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เพื่อ ดำเนินกิจการโรงกลั่นน้ำมันจากการประมูลการก่อสร้างโรงกลั่นแห่งแรกของประเทศไทยที่รัฐบาลเป็นผู้เปิดประมูล และเดือนถัดมาไทยออยล์ได้ลงนามสัญญากับกระทรวงอุตสาห-กรรมเพื่อจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน

เบื้องหลังที่ เชาว์ เชาว์ขวัญยืน ชนะการประมูลในครั้งนั้นเกิดจากแนวความคิดที่เสนอให้กับรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ นั่นคือ เงื่อนไขให้ไทยออยล์ดำเนินกิจการเองทั้งหมดเป็นระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันเริ่มดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ (หมายถึงนับจากปี 2507 ที่ก่อสร้างโรงกลั่นฯหน่วยที่ 1 เสร็จ) หลังจากครบกำหนด (คือปี 2517) ไทยออยล์จะต้องมอบความเป็นเจ้าของ สิทธิ์ของโรงกลั่นให้กับรัฐบาล วิธีนี้เรียก ว่า Build Operate Transfer : BOT

"ต้องเข้าใจธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ว่าที่ดินกับทรัพย์สินที่เป็นหน่วยยูนิตถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่อสังหา-ริมทรัพย์ คือ มันมีส่วนควบ หมายถึงสิ่งที่สร้างแล้วสิ่งที่เป็นส่วนควบ ที่เป็นอุปกรณ์ยูนิต เช่น ถังน้ำมัน ท่อส่งน้ำมัน สามารถรื้อหรือนำไปจำนอง ได้ มีแต่เฉพาะสินทรัพย์ถาวร (fixed assets) คือ ที่ดินที่ต้องโอนให้รัฐบาล อย่างไรก็ตามข้อเสนอในรูปแบบ BOT ของคุณเชาว์ ที่ให้ไว้กับรัฐบาลเป็นเวลา 10 ปี ก็โอนทรัพย์สินคืนทั้งโรงกลั่นและที่ดิน ในระยะเวลาดังกล่าวรัฐบาล ก็จะได้รับประโยชน์ ทางด้านรายได้จากไทยออยล์เป็นกำไรสุทธิ 30% ของ ยอดขาย" จุลจิตต์ บุณยเกตุ กรรมการ อำนวยการ ไทยออยล์ กล่าวถึงวิธีการ ของ BOT จากสูตรสำเร็จนี้เองที่ทำ ให้รัฐบาลไม่อาจปฏิเสธที่จะให้สิทธิสัมปทานโรงกลั่นน้ำมันของ เชาว์ เชาว์ขวัญยืน เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย

หลังจากเงื่อนไขระหว่างไทยออยล์กับรัฐบาลลงตัวแล้วโรงกลั่นน้ำมัน หน่วยที่ 1 (TOC-1) ได้เกิดขึ้นมาโดยใช้ ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี และเริ่ม ผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมันออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกเมื่อ 18 กันยายน 2507 ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ด้วยกำลังการกลั่น เต็มที่ 35,000 บาร์เรลต่อวัน (ขณะนั้น ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี)

ต่อมาเมื่อปริมาณความต้องการ ผลิตภัณฑ์น้ำมันภายในประเทศได้เพิ่ม สูงขึ้น ไทยออยล์จึงได้รับอนุมัติจากรัฐบาลขยายโรงกลั่นออกไปอีก ไทยออยล์ได้ทำการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันหน่วยที่ 2 (TOC-2) ด้วยกำลังการกลั่น เต็มที่ 30,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้มีกำลังการกลั่นทั้งสิ้น 65,000 บาร์เรลต่อวัน โดย TOC-2 เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์ น้ำมันออกมาจำหน่ายได้ในเดือนกันยายน 2513

การขยายโรงกลั่นครั้งนี้มีไปพร้อมๆ กับการต่ออายุสัญญาบริหารโรงกลั่นออกไปอีก 7 ปี (ครบกำหนด ปี 2524) โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อครบอายุสัญญาไทยออยล์จะต้องโอนทรัพย์สินและที่ดินของโรงกลั่นทั้งหมดให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล อีกทั้งยังได้เปลี่ยน แปลงการรับรู้รายได้ของรัฐบาลจากเดิมไทยออยล์จ่าย 30% ของกำไรสุทธิ มาเป็นตัวเลข 2.5% ของยอดขาย

แนวความคิดการขยายโรงกลั่น ของไทยออยล์ นอกจากจะสนองตอบความต้องการบริโภคน้ำมันภายในประเทศแล้ว ยังเป็นการขยายเพื่อรองรับกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเพราะช่วงนั้นมีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างมาก เพราะมีเงินลงทุนในอุตสาห-กรรมทดแทนที่ไหลเข้ามาจากนักลงทุน ต่างประเทศสูงมาก

ที่สำคัญผลิตภัณฑ์น้ำมันในส่วนขยายนี้ ไทยออยล์ได้เซ็นสัญญาขายน้ำมันล่วงหน้าและตกลงการเข้ามาถือหุ้นในบริษัทจำนวน 15.05% กับ บริษัท เชลล์ ปิโตรเลียม เอ็นวี จำกัด ไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อไทยออยล์กลั่นน้ำมันออกมาจึงไม่มีปัญหาเรื่องตลาด

หลังจากเปลี่ยนแปลงสัญญาดังกล่าว ส่งผลให้ภายในองค์กรไทยออยล์เกิดปั่นป่วนในทางความคิดเป็นอย่างมาก เนื่องจากสัญญาสัมปทานจะ สิ้นสุดปี 2524 ทำให้คนในไทยออยล์ เริ่มวิตกกังวลกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองหลังจากทุกสิ่งทุกอย่างตกเป็นของรัฐบาล

"ช่วงนั้นมีกระแสออกมาแย่ พอสมควรเกี่ยวกับการที่จะนำกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญของประเทศ ไปให้รัฐบาล ดังนั้นเมื่อไทยออยล์ตกเป็นของรัฐก็จะเข้ารอยความคิดของรัฐบาลในขณะนั้น คือ ยุค 14 ตุลาฯ 2516 พนักงานจึงเข้าใจว่าจุดนั้นน่าจะเป็นจุดจบของไทยออยล์ สุดท้ายเขาต้องตกงาน แต่ในอีกแง่หนึ่งคิดว่าโรงกลั่นจะต้องดำเนินการต่อไปแต่เป็นการ บริหารงานในรูปแบบของรัฐบาล" จุลจิตต์ เล่าถึงบรรยากาศในอดีต

อย่างไรก็ตาม ด้วยบุคลิกที่โดด เด่นของนายใหญ่ไทยออยล์อย่าง เชาว์ เชาว์ขวัญยืน ได้กลบกระแสต่างๆ ได้ อย่างมิดชิด ซึ่งความโดดเด่นของเขานั้นก็คือ การเป็นนักประสานผลประโยชน์ที่ดี ทำให้ปัญหาต่างๆ คลี่คลาย ลงอย่างรวดเร็ว

โดยก่อนที่จะถึงปี 2524 ที่ไทย ออยล์จะเข้าไปสู่อ้อมอกของรัฐบาล เชาว์ เชาว์ขวัญยืน ได้แสดงฝีมือของเขาเอาไว้ด้วยการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ไทย ออยล์ได้ประโยชน์สูงสุด กล่าวคือ ใน ปี 2522 ไทยออยล์ได้รับอนุมัติจาก กระทรวงอุตสาหกรรมให้สามารถขยาย กำลังการกลั่นน้ำมันจาก 65,000 บาร์เรล ต่อวัน เป็น 120,000 บาร์เรลต่อวัน เหตุผลก็เพื่อให้ไทยออยล์เป็นกิจการที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น อีกทั้งความต้องการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเพื่อให้การอนุมัติดังกล่าวสร้างความมั่นใจต่อไทยออยล์และ ธนาคารผู้ให้กู้เงิน รัฐบาลจึงได้ออกหนังสือสนับสนุน (Government Support Letter) ให้แก่ไทยออยล์ และ ที่สำคัญไทยออยล์ยังได้รับการต่อสัญญา เช่าโรงกลั่นออกไปอีกเป็นระยะเวลา 20 ปี ตามข้อตกลงเดิมนับจากวันโอนทรัพย์สิน (ปี 2524)

แต่สิ่งที่เป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับการขยายกำลังการกลั่นครั้งนี้ (ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 3) ของ เชาว์ เชาว์ขวัญยืน ก็คือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยตระกูลเชาว์ขวัญยืน ลดสัดส่วนการถือหุ้นลงจากเดิมถือ 100% เหลือ 49% และให้ ปตท.ซึ่งเป็น หน่วยงานของรัฐเข้ามาถือ 49% อีก 2% ที่เหลือให้สำนักงานทรัพย์สินฯเข้ามา โดยถือว่าเป็นการคานอำนาจระหว่างเอกชนกับหน่วยงานรัฐ

ด้าน ปตท.นั้น ว่าไปแล้วก็เพิ่งตั้งขึ้นในปี 2521 ก่อนหน้าเข้ามาถือหุ้น ในไทยออยล์เพียง 1-2 ปี จุลจิตต์ ลูก หม้อไทยออยล์ที่ดำรงตำแหน่งบริหาร สูงสุดขณะนี้เล่าความหลังให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟังว่า "สมัยนายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้มีการจัดตั้ง ปตท.ขึ้นมา เพราะรัฐบาลต้อง การเห็นการรวมตัวกันขององค์การ เชื้อเพลิง โดย ปตท.ที่จัดตั้งนี้จะเข้า ไปร่วมลงทุนกับโรงกลั่นต่างๆ โดยรัฐบาลไม่จำเป็นต้องยึดกิจการเข้ามาดำเนินการเอง

ในช่วงนั้นคุณเชาว์ก็ไม่มีปัญห า กับแนวความคิดนี้และยังได้เสนอความคิดต่อ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปในขณะนั้น โดยให้การบริหารของไทยออยล์เมื่อตกเป็นของรัฐบาลแล้ว หมายถึงรัฐเป็น เจ้าของโรงกลั่นเฉพาะ 65,000 บาร์เรล ต่อวัน แต่ประเทศไทยจำเป็นต้องขยาย กำลังการกลั่นอีก ฉะนั้นเป็นไปได้หรือ ไม่ที่ควรจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมา คือให้ ปตท.และสำนักทรัพย์สินฯ เข้ามาถือหุ้นในไทยออยล์ คือ บริษัทไม่เป็นเอกชน ไม่เป็นรัฐบาล แต่การบริหารเป็นรูปแบบเอกชน ซึ่งไทยออยล์ ถือว่าเป็นต้นแบบ บริษัทร่วมทุนของประเทศไทย"

จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่ไทยออยล์ เริ่มก้าวย่างและตลอดเวลาที่ทำการขยาย การดำเนินงาน ดูเหมือนว่าองค์กรนี้ มีภาระผูกพันกับรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ

ในสัญญาที่ไทยออยล์ทำกับรัฐบาลครั้งนี้ คือ การตั้งบริษัทร่วมทุน (หมายถึงบริษัทไทยออยล์ จำกัด) เข้าไปบริหารงานในโรงกลั่นและจ่ายค่า เช่า ขณะเดียวกันบริษัทร่วมทุนก็ขยาย กำลังการกลั่นออกไปจาก 65,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นตัวเลขอะไรนั้นจะเป็นสิทธิ์ของไทยออยล์, ปตท. และสำนักงานทรัพย์สินฯ "หมายถึงบริษัทร่วมทุนจะเช่าเฉพาะส่วน 65,000 บาร์เรลกับรัฐบาลเท่านั้น แต่ความจริงแล้วรูปแบบของโรงกลั่นจะต้อง integrate คือ ต้องมารวมกันถึงจะทำให้การกลั่นน้ำมันมีประสิทธิภาพ"

ปัจจัยที่ทำให้ไทยออยล์ประสบ ความสำเร็จอย่างงดงาม คือ ขณะนั้นรัฐบาลมีภาระต้องดำเนินการกับโรงกลั่นบางจาก หลังจากเทกโอเวอร์มาจากกลุ่มซัมมิท ที่เช่ามาจากกรมพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม และภายใต้การบริหารในรูปแบบเดิมของโรงกลั่นบางจากที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงอยากเห็น ปตท. เข้าไปจัดการ ขณะเดียวกันได้เล็งเห็นว่ารูปแบบการร่วมทุนเป็นรูปแบบใหม่และน่าจะมีความเหมาะสมก็ได้ เพราะเป็นการพบ กันครึ่งทางระหว่างผู้ที่ต้องการรวมกิจการมาเป็นของรัฐกับเอกชนที่ต้องการดำเนินการเองทั้งหมด "ดังนั้น รูปแบบใหม่น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมกับไทยออยล์ก็ได้"

ในที่สุดไทยออยล์เลือกแนวทาง บริหารงานแบบบริษัทร่วมทุน เมื่อเป็นเช่นนี้ "ไทยออยล์โฉมใหม่" จึงเกิดขึ้นนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ผู้ถือหุ้น ขณะเดียวกันก็เป็นจุดจบของไทยออยล์เก่า "นี่คือรอยต่อของบริษัทร่วมทุนที่เป็นต้นแบบให้กับอุตสาหกรรมอื่นดำเนินรอยตาม เช่น ปิโตรเคมีแห่งชาติ (NPC) หรือ ปุ๋ยแห่งชาติ (NFC) ที่มีทั้งรัฐบาล สำนัก งานทรัพย์สินฯ และเอกชนเข้าไปถือหุ้น" จุลจิตต์ ชี้ร่องรอยประวัติความเป็นมาของการเกิดบริษัทร่วมทุน 3 ฝ่ายที่รัฐบาลยึดถือเป็นต้นแบบการลงทุนในรัฐวิสาหกิจในเวลาต่อมา

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุนจดทะเบียนของไทยออยล์เพิ่มเป็น 20 ล้านบาทและยืนอยู่ที่ระดับนั้นเรื่อยมา ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของบริษัทไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครือข่าย การพัฒนาเทคโนโลยี การขยายกำลังการกลั่น ก็เจริญเติบโตขึ้นมาภายใต้การอาศัยเงินกู้แทบทั้งสิ้น เพราะไม่มีเงินทุนเพียงพอ และนั่นก็เป็นที่มาของเรื่อง ราวอันมหัศจรรย์ในการก่อหนี้อีกมาก มายในระยะขยายตัวอีก 20 ปีต่อมา

ซุปเปอร์เค : ยุคฟองสบู่

ก่อนที่จะย่างก้าวเข้าสู่ทศวรรษ ที่ 2 โดยเฉพาะช่วงปี 2522-2524 หลัง จากรัฐบาลได้เปิดไฟเขียวให้ทุกอย่าง แล้ว ไทยออยล์พยายามที่จะหลีกหนีการแบ่งรายได้ที่ผูกมัดอยู่กับรัฐบาลให้เร็วที่สุด สิ่งเดียวที่ไทยออยล์ทำได้ คือ การขยายกำลังการกลั่น ดังนั้นใน ปี 2522 ไทยออยล์จึงได้แต่งตั้ง Foster Wheeler (Process Plants) เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมโครงการขยายโรงกลั่นน้ำมัน และต่อมาปี 2524 ไทยออยล์ได้บทสรุปการขยายกำลังการกลั่นเป็น 165,000 บาร์เรลต่อวัน โดยใช้ระบบ Flud Catalytic Cracker ขณะเดียว กันไทยออยล์ก็ได้ผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาเสริมกำลัง คือ คาลเท็กซ์ เทรดดิ้ง แอนด์ ทรานสปอต คอร์ปอเรชั่น จำนวน 4.75% ถัดมาในปี 2525 ปตท.ได้ เปลี่ยนแปลงขนาดและรูปแบบการขยาย โดยลดกำลังการกลั่นเหลือ 120,000 บาร์เรลต่อวัน และให้ใช้ระบบ Hy-drocracking พร้อมๆ กับแต่งตั้งบริษัท ร่วมทุน Technip/Procofrance/Davy Mckee เป็นบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างขยายโรงกลั่น และในปีเดียวกันก็มีการ เปลี่ยนเปลงอีกครั้งเมื่อคณะกรรมการบริษัทแก้ไขโครงการโดยการเพิ่มกำลังกลั่นอีก 55,000 บาร์เรลต่อวัน และใช้ ระบบ Hydrocracker

อย่างไรก็ตามแผนการขยายโรง กลั่นของไทยออยล์จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนก้อนโต แล้วไปหาที่ไหน!!! ถ้าไม่ใช่วิธีการกู้ คำถามต่อมา คือ แหล่ง เงินกู้อยู่ที่ไหนถ้าทำตัวโลว์โพรไฟล์อย่างนี้!!! เมื่อเป็นเช่นนี้ เชาว์ เชาว์ขวัญยืน จึงเริ่มสอดส่องสายตาหาผู้ที่เหมาะสมเข้ามาบริหารไทยออยล์ยุคใหม่ ให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและคนคนนั้นต้องเป็นคนไทย แล้วคนที่เหมาะในสายตา เชาว์ เชาว์ขวัญยืน ไม่ใช่ใครที่ไหน "ซุปเปอร์เค" เกษม จาติกวณิช ยอดนักบริหาร ซึ่งได้เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการอำนวยการบริษัทเมื่อปี 2528 และนับตั้งแต่วันที่ซุปเปอร์เคเดินเข้ามาในไทยออยล์ภาพของบริษัทที่ออกไป สู่สายตาคนทั่วโลก โดยเฉพาะสถาบัน การเงินต่างๆ มีแต่ความงดงามที่ทั้งสองฝ่ายช่วยกันแต่งแต้มขึ้นมา

เมื่อซุปเปอร์เคเข้ามานั่งทำงานในไทยออยล์ได้ไม่นานการขยายโรงกลั่น หน่วยกลั่นที่ 3 (TOC-3) เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2529 และแล้วเสร็จในปี 2532 ด้วยกำลังการกลั่นเต็มที่ 55,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้ไทยออยล์มีกำลังการกลั่นทั้งสิ้น 120,000 บาร์เรลต่อวัน ใน ส่วนขยาย TOC-3 เป็นขั้นตอนแรกของ สัญญาที่เซ็นไว้กับรัฐบาลในโครงการขยายโรงกลั่น ในเรื่องนี้เกษมได้กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ในช่วงนั้นว่า "หากเราไม่สร้างก็ตายเพราะโรงกลั่นหน่วย 1, 2 เลี้ยงตัวเองไม่ได้ ค่าเช่ากินหมด กำไรน้อยเพียงปีละ 1 ล้านบาท กองทุนก็เล็กเพราะกำไรเข้ามาน้อย แล้วจะสร้างได้อย่างไรเมื่อไม่มีเงินสด มันก็ต้องไปกู้เขามา" และโครงการ TOC-3 นี้เองที่ทำให้เกษมกู้เงินเป็นครั้ง แรก แต่แนวคิดการก่อหนี้ของไทย ออยล์มีมาก่อนที่เกษมเข้ามาแล้ว สาเหตุที่บริษัทจำเป็นต้องวิ่งหาแหล่ง เงินกู้ เนื่องจากไม่มีผู้ถือหุ้นไทยออยล์ รายไหนต้องการเพิ่มทุน

ยุคที่ไทยออยล์คิดก่อหนี้อยู่ใน ช่วงรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (เปรม 1) แต่แหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ ปฏิเสธที่จะให้ไทยออยล์กู้ ช่วงนั้นเกษมยังไม่เข้ามาบริหารไทยออยล์ แต่ ทำงานอยู่ในกรรมการพลังงานฯ ที่มี อดีตนายกฯเปรม เป็นประธาน ให้คำแนะนำว่าควรจะให้มีการประมูลการสร้างโรงกลั่นโดยผนวกไฟแนนซิ่ง แพ็กเกจเข้าไปด้วย เพื่อให้ไทยออยล์ไม่ต้องวิ่งหาไฟแนนซ์ อีกทั้ง TOC-3 ควรเป็นหน่วยกลั่นที่มีระบบเพิ่มคุณค่า น้ำมันสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิ ภาพในการแปรสภาพน้ำมันเตาให้เป็นน้ำมันดีเซลซึ่งมูลค่าสูงกว่า ไทยออยล์ จึงจัดให้มีการประมูล แต่ก็ต้องล้มไป ช่วงนี้เองที่เกษมเข้ามาบริหารงานในไทยออยล์พอดี

สิ่งที่เกษมทำเพื่อให้ TOC-3 เดินต่อไปได้ คือ เขาพยายามวิ่งเต้นอีกครั้งเพื่อทำ re-finance หรือปลดหนี้เงินกู้ของกลุ่มแบงก์ออฟโตเกียว ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 22 พันล้านเยน แหล่ง เงินกู้รายใหม่ที่เกษมสามารถหามาได้เป็นกลุ่มแบงก์ไทยนำโดยแบงก์กสิกรไทยในวงเงิน 5,000 ล้านบาท และจาก เชสแมนฮัตตันแบงก์อีกประมาณ 2,500 ล้านบาท วงเงินกู้ก้อนนี้แม้จะมีจำนวน มากแต่เกษมสามารถกู้มาได้ในลักษณะ clean loan ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประ-กัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ของเกษมและไทยออยล์ที่สามารถเจรจากับ เจ้าหนี้รายใหม่และได้เงื่อนไขดีอย่างนี้ เมื่อได้มาแล้วเกษมจึงให้สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดแบงก์ เขียนเช็คให้จำนวน 22,250,077,900 เยน คืนให้กลุ่มแบงก์ ออฟโตเกียว ที่ญี่ปุ่นทันที

หลังจาก TOC-3 เสร็จได้ไม่นาน ซุปเปอร์เคก็ได้ขยายกำลังการกลั่นออก ไปทันทีด้วยการสร้างหน่วยกลั่นที่ 4 (TOC-4) มีกำลังการกลั่นเพิ่มอีก 100,000 บาร์เรลต่อวัน แล้วเสร็จในปี 2535 ส่ง ผลให้ไทยออยล์มีกำลังการกลั่นทั้งสิ้นสูงถึง 220,000 บาร์เรลต่อวัน

การดำเนินการทางด้านการเงินของไทยออยล์ที่อาศัยเงินกู้และไม่มีหลัก ทรัพย์ค้ำประกันนับว่ามีความเสี่ยงกับผู้ให้กู้พอสมควร แต่ด้วยในขณะนั้นฐานะไทยออยล์ที่เป็นธุรกิจน้ำมันและมีอนาคต ดังนั้นคำว่า "ความเสี่ยงจึงไม่อยู่ในหัวของเจ้าหนี้ไทยออยล์" เรื่อง นี้จุลจิตต์อธิบายว่า การปล่อยเงินกู้ให้ ไทยออยล์ไม่มีความเสี่ยง "เพราะเรามีเงินซื้อน้ำมันดิบเข้ามากลั่นแล้วอีก 48 ชั่วโมงข้างหน้าจากน้ำมันดิบก็กลาย เป็นน้ำมันสำเร็จรูปและมีคนรับซื้อหมด อีกทั้งประสิทธิภาพกระขบวนการกลั่น ไทยออยล์ดีมาก เพราะเราเลือกกระขบวนการกลั่นแบบ conversion process หรือ secondary process ที่สามารถ เปลี่ยนสภาพจากน้ำมันเตาเป็นน้ำมันดีเซลได้มาก ปัจจุบันเหลือผลิตน้ำมันเตาเพียง 14% พูดกันง่ายๆ คือ มีโรงกลั่นซ้อนอยู่ในโรงกลั่น กระบวนการจึงค่อนข้างเข้มข้น"

ดังนั้นรายได้ของไทยออยล์ต่อบาร์เรลจึงมีสูง ขณะที่น้ำมันเตามีราคา ต่ำกว่าน้ำมันดีเซล บางช่วงเวลาราคาน้ำมันเตาต่างจากน้ำมันดีเซลถึง 5-10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล "เมื่อไทย ออยล์มุ่งไปทางด้านการปรับปรุง value added จึงอยู่ในสถานะที่ดีมาก ซึ่งเหตุผลต่างๆ เหล่านี้แหล่งเงินทุนเขาเห็น ต้นทุนการกลั่นต่ำแต่ได้ value สูง กำไรดี และเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เหมือน กับเป็นวัฏจักร โดยเจ้าของทุนไม่ควักกระเป๋าและไม่ต้องค้ำประกัน แหล่งเงินทุนจึงไม่ลังเลที่จะให้เงินแก่ไทย ออยล์" และหลังจากนั้นเป็นต้นมาบรรทัดฐานที่ไทยออยล์ถือปฏิบัติกันต่อมา คือ การกู้เงินแบบ clean loan และเกิดเป็นเครดิตของเกษมและไทยออยล์ ซึ่งถ้านับจำนวนเงินกู้ตั้งแต่อดีต จนถึงประมาณต้นปี 2536 ไทยออยล์ สร้างหนี้ก้อนโตถึง 37.4 พันล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) อยู่ที่ระดับ 15.5 : 1 เท่า

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เจ้าหนี้ของไทยออยล์รู้อยู่เต็มอก คือ โครงสร้างของผู้ถือหุ้นและทุนจดทะเบียนของบริษัทผิดมาตั้งแต่ต้น แต่นั่นเป็นเรื่องความรู้สึกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะ สิ่งที่มาปิดบังความรู้สึกนั้นคงจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นเรื่องความเชื่อมั่น "ฉะนั้นสมมติว่าเราติดหนี้อยู่แล้วต้องผ่อนชำระ ก็สามารถไป re-finance ได้ กู้เงินมาใหม่แล้วไปใช้หนี้เก่า ไทยออยล์ทำตรงนี้ได้ เพราะตราบใดที่มีเงินจ่ายเงินต้น ดอกเบี้ย sturcture loan ได้ดี ซึ่งการทำ sturcture ด้าน finance เรา ทำได้ค่อนข้างเก่ง" จุลจิตต์ กล่าว

การประสบความสำเร็จของไทยออยล์ในช่วงฟองสบู่ด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 20 ล้านบาท เมื่อเทียบ กับยอดเงินกู้ แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานในแต่ละปีว่าดีเพียงใด โดยในปี 2532-2536 ไทยออยล์มีกำไร เบื้องต้นก่อนหักผลกำไรให้รัฐและภาษี จำนวน 785 ล้านบาท, 1,397 ล้านบาท, 876 ล้านบาท, 650 ล้านบาท และ 1,105 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่หนี้สินรวมมีจำนวน 14,811 ล้านบาท, 19,299 ล้านบาท, 24,290 ล้านบาท, 41,653 ล้านบาท และ 42,782 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่ง ก็สมเหตุสมผลว่าทำไมบรรดาสถาบันการเงินต่างๆ จึงยอมให้ไทยออยล์เป็น ลูกหนี้ ก็คือ ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของบริษัท ที่มีเกษมเป็น ผู้นำและความมั่นใจในธุรกิจน้ำมัน

การเข้ามาของเกษมดูเหมือนว่า เป็นช่วงที่มีการขยายงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งยืนยันได้จากจุลจิตต์ "นับตั้งแต่ผมเข้ามาทำงานเมื่อปี 2507 จนถึงปัจจุบัน ไทยออยล์ขยายงานเกือบทุกวัน" แต่การขยายงานไทยออยล์ก็มีภาระผูกพัน กับรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องหนักใจของเกษมในด้านการบริหารเงิน เรื่องนี้เกษมเคยให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าสถานการณ์การเงินของไทยออยล์เป็นแบบ "ไต่เส้นลวด" หรือเป็นโครงสร้างการเงินที่ เหลือขอ" ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากมาก เนื่องจากรัฐบาลได้ยกเลิกค่ารอยัลตี้จากที่บริษัทเคยจ่าย 2.5% ของ ยอดขาย เป็นจ่ายเงินให้รัฐบาล 65% ของรายรับ ใน 65% นี้ 40% เป็น Corporate Income Tax อีก 25% เป็น Profit Sharing

"หมายถึงทุก 100 บาทที่เราหา มาได้จะต้องให้รัฐ 65 บาท ในรูปของ ภาษีและส่วนแบ่งกำไร รวมทั้งเคยมีค่า รอยัลตี้ด้วย แต่มายกเลิกในช่วงที่โรงกลั่นไม่มีกำไรแล้ว" จุลจิตต์ กล่าว

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีภาระผูกพันกับรัฐบาลมาก แต่กิจการของไทยออยล์ก็ดำเนินการไปได้ด้วยดีเสมอ มา แต่ปัญหาที่เกษมห่วงใยเป็นอย่างมาก คือ ปัญหาโครงสร้างทางการเงิน ที่มีสัดส่วนเงินกู้สูง ซึ่งมีผลต่อความคล่องตัวในการขยายงานในอนาคต เพราะขณะนั้นเกษมขยายงานได้เพียงอย่างเดียวที่เกี่ยวกับการขยายกำลังการ กลั่นน้ำมัน ดังนั้นเขาจำเป็นต้องรีบหาทางแก้ไข ซึ่งแนวทางหนึ่งที่ถูกกำหนด ไว้แล้วในมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ ปี 2522 คือ การนำไทยออยล์เข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ในปี 2531 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินและการถือหุ้นโดย เพิ่มทุนจดทะเบียนตามความเหมาะสม และในปี 2533 ไทยออยล์ยื่นเรื่องต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ได้รับคำตอบกลับ มาว่าขาดคุณสมบัติบางประการโดยเฉพาะสัญญาเช่าโรงกลั่นเหลืออยู่เพียง 11 ปี เนื่องจากธุรกิจใดที่ต้องการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้อง มีอายุสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า 30 ปี จาก คำตอบดังกล่าวทำให้ไทยออยล์ต้องแก้ไขสัญญาด้วยการทำเรื่องขอซื้อโรงกลั่น TOC-1 และ TOC-2 รวมทั้งขยาย สัญญาเช่าที่ดินด้วย ซึ่งกระทรวง อุตสาหกรรมในฐานะเจ้าของเรื่องก็ยืนยันเห็นชอบเมื่อปี 2534 แต่ท้ายที่สุดกลับไม่ผ่านการพิจารณาของ ครม.

อย่างไรก็ตามปี 2535 กระทรวง อุตสาหกรรมได้เสนอเรื่องเข้าไปอีก แต่ ครม.ชุดนายกฯอานันท์ ปันยารชุน (อานันท์ 1) ไม่มีเวลาสำหรับการพิจารณา จึงแนะนำให้เสนอ ครม.ชุดต่อไปเป็น การเร่งด่วน เพราะหากปล่อยให้ยืดเยื้อ ต่อไป ไทยออยล์มีปัญหาแน่ และเมื่อ ถึงยุคอานันท์ 2 หลังเหตุการณ์พฤษ-ภาทมิฬ เรื่องของไทยออยล์จึงได้เข้า ครม.เป็นครั้งที่ 3 และก็ประสบความ สำเร็จในการอนุมัติตกลงให้มีการซื้อขายโรงกลั่นไทยออยล์พร้อมกับขยาย เวลาเช่าที่ดินออกไปอย่างน้อย 20 ปี

การต่อสู้เพื่อสู่อิสรภาพใน ครั้งนั้น ไทยออยล์ต้องใช้เงินไปถึง 8,764,245,647.86 ล้านบาท !!!

หลังจากประกาศอิสรภาพแล้ว สิ่งต่อไปที่ไทยออยล์เร่งดำเนินการ คือ การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ วัตถุประ-สงค์ที่บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกเหนือจากการสนองนโยบายรัฐบาล แล้วอีกประการหนึ่ง คือ ต้องการเงินทุนและลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนลง เพื่อทำให้บริษัทสามารถระดมทุนจากตลาดเพื่อขยายงานต่อไปได้ในอนาคต แต่บังเอิญมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสัญญาเดิมที่เขียนไว้ว่าเมื่อไทยออยล์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ปตท.ต้องลดสัดส่วนการถือหุ้น ลง 25% ของหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมด แต่ ปตท.ไม่ยอมลดและยืนยันจะถือหุ้น 49% เหมือนเดิม ซึ่งกลายเป็นอุปสรรค สำคัญที่ไทยออยล์ยังอยู่นอกตลาดหลัก ทรัพย์ฯ จนถึงปัจจุบัน

"ถ้าจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปตท.เสนอให้ไปคุยกับผู้ถือหุ้นรายอื่นให้ลดการถือหุ้นลง และ ปตท.จะขอซื้อ หุ้นส่วนนี้เอง โดยขอซื้อในราคาพาร์" จากวันนั้นถึงวันนี้ก็ยังไม่มีผู้ถือหุ้นราย ไหนขายหุ้นให้กับ ปตท.ดังนั้นโครง สร้างผู้ถือหุ้นในไทยออยล์ปัจจุบัน ก็ยังเป็นศึก 3 เส้าระหว่าง ปตท.-เชลล์, คาลเท็กซ์-ตระกูลเชาว์ขวัญยืน ที่ต่างฝ่ายต่างเล่นแง่กัน เหตุผลสั้นๆ คือ ผลประโยชน์ไม่ลงตัว

อาการยังดี

เมื่อไทยออยล์อกหักจากการไม่ สามารถเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่กิจการก็ยังดำเนินต่อไปอย่าง ต่อเนื่องดังนั้นการระดมเงินลงทุนจึง มีต่อไปเช่นเดียวกัน โดยในปี 2537-2540 มีหนี้สินรวมค้างอยู่ในแต่ละปีจำนวน 44,130 ล้านบาท, 52,045 ล้าน บาท, 55,199 ล้านบาท และ 83,238 ล้านบาท ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามไทยออยล์มีผล การดำเนินงานที่นับว่าสร้างความมั่นใจ ให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายอยู่ เพราะ สามารถทำกำไรเบื้องต้นก่อนหักผลกำไรให้รัฐและภาษีได้ในปี 2537-2539 จำนวน 1,070 ล้านบาท, 322 ล้านบาท และ 1,005 ล้านบาท ตามลำดับ

สาเหตุที่ผลการดำเนินงานยังมีอาการดีอยู่ เนื่องจากในช่วงปี 2535-2539 บริษัทมีกำไรเบื้องต้น (Gross Refinary Margin : GRM) ยังอยู่ใน ระดับสูง คือ อยู่ที่ระดับ 3.74 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล, 4.03 เหรียญสหรัฐต่อ บาร์เรล, 3.84 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล, 3.71 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 4.48 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ถ้าคิดเป็นมูลค่าแล้วไทยออยล์มี GRM ต่อปี 4,426 ล้านบาท, 7,219 ล้านบาท, 7,492 ล้านบาท, 7,243 ล้านบาท และ 8,316 ล้านบาท ตามลำดับ

อนึ่ง ค่า GRM หรือกำไรเบื้องต้น ของโรงกลั่นนั้นเป็นตัวเลขที่ใช้ดูผลการดำเนินงานของโรงกลั่นว่าดีหรือไม่เพียงใด ตัวเลขนี้คำนวณจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายลบด้วยราคาน้ำมันดิบ ที่นำมากลั่น ส่วนต่างที่ได้คือค่า GRM และเมื่อจ่ายค่าดำเนินงานหรือ operating cost แล้ว ผลที่เหลือจะเป็นกำไรหรือขาดทุนสุทธิ (ก่อนอัตราแลกเปลี่ยน)


ยุคล่มสลาย

ครั้นในปลายปี 2539 ประเทศ ไทยเข้าสู่ความล่มสลายทางด้านเศรษฐ-กิจ ประกอบกับราคาน้ำมันโลกเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2539 ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 17.05 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่ปี 2541 ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 14.80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และลดลงมาเรื่อยๆ เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 12.03 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และล่า สุดเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ราคาน้ำมันโลกตกลงมาอยู่ที่ระดับ 10.18 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ค่า GRM ที่ไทยออยล์เคยได้ในระดับ 3.71 เหรียญ สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2538 และ 4.48 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2539 และ 3.52 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2540 แต่มาในปี 2541 GRM เหลือเพียง 1.84 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้ไทยออยล์ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุดไทยออยล์มีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 10,823 ล้านบาท ในปี 2540 และ 7,306 ล้านบาท ในปี 2541

"ปัญหาโรงกลั่นที่เจออุปสรรคใหญ่ๆ คือ กำลังการผลิตในประเทศล้น กำลังการผลิตในภูมิภาคล้น และราคาน้ำมันหดตัว ทำให้ GRM ลดลงไปด้วย" จุลจิตต์ ให้เหตุผลในยุคไทย ออยล์ซบเซา และปัญหาต่างๆ ที่สั่งสม มาตั้งแต่อดีตจึงกลายเป็นปัญหาดินพอกหางหมูไม่ว่าจะเป็นหนี้สิน ผลการ ดำเนินงานย่ำแย่ ผู้ถือหุ้นไม่ลงรอยกัน ในที่สุดยุคแห่งความยากลำบาก ก็มาเยือนไทยออยล์พร้อมกับเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อเกษม หรือ ซุปเปอร์เค ได้ลงจากเก้าอี้ที่สำคัญของ ไทยออยล์ เหตุผลที่เขาให้ไว้ คือ ปัญหาสุขภาพ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องจริง แต่อีกหลายๆ เหตุผลที่เสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าการที่เกษมถอนตัวในครั้งนั้น เพราะทนเห็นไทยออยล์ที่จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้ก้อนโตที่ตัวเองสร้างขึ้นมาไม่ไหว ถ้าเป็นเช่นนี้เครดิตที่เขาสร้างไว้ต้องพังพินาศแน่นอน ดังนั้นถ้าไทยออยล์ต้องปรับโครงสร้างหนี้ ก็จำต้องไม่มีคนชื่อเกษมรวมอยู่ในสมาคมด้วย และมีการคาดเดากันว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการดำเนินการครั้งนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน... ปตท. นั่นเอง

ความเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน


บางเรื่องบางอย่างที่มีความสำคัญ เช่นวิธีการจัดซื้อจัดหาจากต่างประเทศ ที่ทำให้ราคาต้นทุนสูงลิ่ว เป็นช่องทางที่ทำให้บริษัทฯดูเหมือนไม่มีกำไร หรือมีน้อยเขาก็หลีกเลี่บงที่จะไม่พูด
ถึงวิธีการ ซึ่งต่อมาปตท.ก็เรียนรู้วิธียักย้ายถ่ายเทไปไว้ต่างประเทศ บริษัทฯต่างชาติที่อยู่ในไทยเกือบทั้งหมดใช้วิธีซื้อโนฮาวในต่างประเทศราคาแพงมาก เพื่อให้ต้นทุนสูง โอนเงิน
ไปชำระค่าสินค้าตัวเอง กำไรเหลือนิดเดียว บางบริษัทฯบัญชีขาดทุนแต่ก็อยู่ได้ ใครจะเป็นคนตามเรื่องเหล่านี้ได้ ประเทศไทยเป็นที่หอมหวนของนักลงทุนเพราะง่ายต่อ
การสร้างบัญชีปลอม ขาดทุนกันตลอดแต่อยากมาลงทุน
   


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!