ความต้องการอาหารของแพะ(1)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 06:12:42 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความต้องการอาหารของแพะ(1)  (อ่าน 2611 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2016, 01:58:49 PM »




ความต้องการอาหารของแพะ


  แพะเป็นสัตว์กระเพาะรวม (Ruminant) เช่นเดียวกับโค กระบือ และแกะจึงสามารถใช้หญ้าและอาหาร
หยาบต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน แพะมีความสามารถหาอาหารกินได้เก่งเป็นพิเศษ เช่น หากินใบไม้ตามพุ่มไม้ต่างๆ ได้
เป็นอย่างดี และยังมีความสามารถกินอาหารได้มากคิดเป็นน้้าหนักวัตถุอาหารแห้งถึง 2 – 5 เปอร์เซ็นต์ของ
น้้าหนักตัว ซึ่งก็เป็นการเพียงพอ แต่ควรจะมีอาหารแร่ธาตุเสริมให้บ้างเล็กน้อย

  ในทางปฏิบัตินั้นจะไม่ให้แพะกินอาหารหยาบสดล้วนๆ ตลอดวัน แต่จะจัดอาหารหยาบแห้ง เช่น หญ้าแห้งฟางแห้ง
ต้นข้าวฟางแห้ง หรือต้นข้าวโพดแห้งสับเป็นท่อนเล็กๆ สั้นๆ ให้แพะกินส่วนหนึ่งเสียก่อน ก่อนที่จะปล่อยลงเลี้ยงในแปลงหรือนำหญ้าสดให้กิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคท้องอืด ท้องร่วงหรือท้องเสีย เพราะแพะเป็นโรคท้องอืดเนื่องจากอาหารหยาบสดได้ง่ายมาก


   ในฤดูแล้งขาดแคลนหญ้าสด อาจจะให้อาหารผสม คือ อาหารข้นช่วยบ้าง การให้อาหารข้นเสริมผู้เลี้ยง
ต้องระมัดระวัง คือ จัดให้ตามความจ้าเป็น เพื่อให้สัตว์ได้รับโภชนะพอตามความต้องการเท่านั้น เช่น แพะรีดนม
ต้องการโภชนะเพื่อการด้ารงชีพและเพื่อการผลิตน้้านม หากให้อาหารกินมากเกินไปจะท้าให้ แพะอ้วนง่ายมาก
และมักจะผสมพันธุ์ไม่ค่อยติด และจะไม่มีแพะได้รีดนมในฤดูถัดไปได้อาหารข้นหรืออาหารผสม ..โดยทั่วไปจะใช้
เมล็ดธัญพืช ซึ่งหาได้ง่าย เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด ร้าละเอียด พวกถั่วต่างๆ เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง เมล็ด
ถั่วเขียว มันเส้นใบกระถินป่น ฯลฯ นำมาผสมโดยคิดค้านวณสูตรอาหาร เช่น อาหารผสมส้าหรับแพะพ่อพันธุ์หรือ
แม่พันธุ์ที่ไม่ให้นม มีโปรตีนประมาณ 10-12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแพะรุ่นก้าลังเติบโตและแพะรีดนม อาหารควรมี
โปรตีน 14 – 20 เปอร์เซ็นต์เป็นต้น


ความต้องการอาหารของแพะ

1. ความต้องการน้้า แพะต้องการน้้าสะอาดเพื่อการเจริญเติบโต และการสร้างขน แพะเนื้อต้องการน้้า
น้อยกว่าแพะนม และแพะมีความสามารถในการอดน้้าได้เป็นเวลานาน โดยการใช้น้้าอย่างมีประสิทธิภาพ ในตอน
กลางวันแพะของไทย และมาเลเซียจะกินน้้าประมาณ 550 ซีซี. ซึ่งมากเป็นสี่เท่าของปริมาณน้้าที่กินในตอน
กลางคืน (135 ซีซี.)
...แพะเนื้อพันธุ์กัตจังของมาเลเซียที่เลี้ยงในคอกจะกินน้้าวันละประมาณ 680 ซีซี. หากปล่อยให้
แพะออกหากินในแปลงหญ้าแพะจะต้องการน้้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 – 3 เท่า   แพะจำเป็นจะต้องได้รับน้้าอย่าง
เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อแพะต้องกินอาหารหยาบแห้ง หรืออยู่ในวันที่อากาศร้อนจัด โดยทั่วๆไป แพะควรได้รับน้้า
4 – 5 ส่วนต่อวัตถุแห้งที่กิน 1 ส่วน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรจะจัดน้้าให้แพะตัวละ 1 – 2 ลิตรต่อวัน


2. การกินวัตถุแห้ง (dry matter intake: DMI) ปริมาณการกินอาหารของแพะขึ้นอยู่กับพันธุ์ (เนื้อหรือ
นม) และสภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ไป แพะนมในเขตหนาวอาจกินอาหารที่เป็นวัตถุแห้งถึง 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ของ
น้้าหนักตัว แต่แพะนมในเขตร้อนจะกินวัตถุแห้งเพียง 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัว แพะเนื้อในเขตร้อนจะกิน
วัตถุแห้ง ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้้าหนักตัวและพบว่าแพะพันธุ์กัตจังกินวัตถุแห้ง 2.2 – 2.8 เปอร์เซ็นต์ของ
น้้าหนักตัว


3. ความต้องการพลังงาน โปรตีนและโภชนะอื่นๆ ในแพะ แพะต้องการพลังงานโปรตีน เพื่อการด้ารงชีพ
และการเจริญเติบโต การผลิตนม
   แพะจำเป็นต้องได้รับแร่ธาตุและวิตามินสำหรับการด้ารงชีพและการเจริญเติบโตตามความ
ต้องการที่ก้าหนด แต่พืชอาหารสัตว์โดยทั่วไปมักจะมีแร่ธาตุอยู่ในระดับต่ำ หรือขาดแร่ธาตุที่จำเป็นบางชนิด
สำหรับแพะเสมอ ...โดยเฉพาะการขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส แพะที่ขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส จะทำ
ให้การเจริญเติบโตลดลงกว่าปกติ กระดูกไม่แข็งแรง หรืออ่อนแอต่อโรคบางชนิด ดังนั้นจึงควรให้แพะได้รับธาตุ
ชนิดนี้บ้าง โดยการเติมลงไปในอาหารแหล่งที่มาของแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส คือ กระดูกป่น เหลือกหอย
ป่น เนื้อป่น และเกลือแกง เป็นต้น
    สำหรับวิตามิน แพะจะได้รับอย่างเพียงพอจากอาหารที่กินอยู่ในยามปกติหรือแพะอาจ
สังเคราะห์เองได้ แต่ในบางครั้งแพะอาจขาดบ้าง ผู้เลี้ยงจึงต้องจัดหาวิตามินให้แพะกินโดยเติมลงในสูตรอาหาร
เช่น เติมน้้ามันตับปลา วิตามินเอ บี ดีและ อี ..หรือหาอาหารก้อนเกลือแร่ให้แพะเลียกินเองด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้
แพะขาดวิตามินพวกนี้





โดยสรุป แพะมีความต้องการโภชนะดังต่อไปนี้

1. น้้า ประมาณวันละ 500 – 1000 ซีซี

2. วัตถุแห้ง ตามน้้าหนักตัวและอัตราความเจริญเติบโต การอุ้มท้องหรือการให้นม
   ซึ่งโดยทั่วๆ ไป  แพะที่หนัก 10 – 30 กิโลกรัมจะต้องการวัตถุแห้งอยู่ระหว่าง 400– 1,200 กรัม/วันโดย แพะ
น้้าหนักมากกำลังเติบโต หรือก้าลังให้นม ย่อมต้องการวัตถุแห้งมากขึ้นด้วย

3. พลังงาน ซึ่งวัดในรูปของโภชนะย่อยได้รวม (TDN) ส้าหรับแพะที่หนัก 10 – 30 กิโลกรัมจะอยู่ระหว่าง
0.26 – 00.80 กก./วัน

4. โปรตีนที่ย่อยได้สำหรับแพะหนัก 10 – 30 กิโลกรัม อยู่ระหว่าง 23 – 70 กรัม/วัน

5. แคลเซียม สำหรับแพะหนัก 10 – 30 กิโลกรัม อยู่ระหว่าง 0.9 – 4.0 กรัม/วัน และฟอสฟอรัสอยู่
ระหว่าง 0.7 – 2.8 กรัม/วัน

6. วิตามิน เอ สำหรับแพะหนัก 10 – 30 กิโลกรัม อยู่ระหว่าง 400 – 4,700 หน่วยสากล/วัน และวิตามิน
ดีอยู่ระหว่าง 85 – 950 หน่วยสากล/วัน





พืชอาหารสำหรับแพะ

อาหารหยาบ ถือเป็นอาหารหลักที่สำคัญของสัตว์กระเพาะรวม โดยเป็นอาหารที่ให้เยื่อใยสูงเนื่องจากมี
แหล่งที่มาจากพืชอาหารสัตว์เช่น หญ้าสด หญ้าแห้ง พืชตระกูลถั่ว ใบไม้พืชผักต่างๆ ผลพลอยได้หรือเศษเหลือ
จากการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพดฟักอ่อน ต้นข้าวโพดหลังจากเก็บฝัก เปลือกสับปะรด เปลือกถั่ว
เหลืองและ เปลือกถั่วลิสง รวมถึงอาหารหยาบที่เกษตรกรจัดทำขึ้นเอง เช่น หญ้าหมัก เป็นต้น ในการเลี้ยงแพะมี
แหล่งที่มาของพืชอาหารสัตว์ที่ใช้ในการเลี้ยงแพะมีอยู่ 2 แหล่ง คือ

- การปล่อยแพะเข้าแทะเล็มในแปลงหญ้าธรรมชาติซึ่งเป็นวิธีที่นิยมของเกษตรกรที่เลี้ยง แพะแบบปล่อย
เลี้ยงเป็นฝูงให้หากินเอง แต่แปลงหญ้าแบบนี้ถือว่ามีคุณภาพต่้า คุณค่าทางโภชนะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
ของแพะ จึงมักพบว่าแพะให้ลูกน้อยและมีอัตราการตายสูง โตช้า (วันละ 13 กรัม/วัน) เมื่อเทียบกับแพะในกลุ่มที่
ได้รับอาหารคุณภาพดีจะมีอัตราการเจริญเติบโตวันละ 50-100 กรัม/วัน

- แปลงหญ้าปลูก ซึ่งเป็นแปลงหญ้าที่เกษตรกรจัดหาพื้นที่ในการปลูกหญ้าขึ้นเองทำให้มีความสะดวกใน
การควบคุมคุณภาพของแปลงหญ้าได้ โดยการเลือกชนิดของหญ้าที่มีคุณค่า มีความน่ากินสูง เช่น หญ้าเนเปียร์
หญ้ากินนีหญ้าขน หญ้าซิกแนล เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถเพิ่มคุณค่าของแปลงหญ้าได้โดยการปลูก
หญ้าผสมกับการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วสไตโล ถั่วลาย เป็นต้น รวมถึงควรจะมีการจัดการแปลงหญ้าให้มีอายุ
การใช้งานนาน โดยการจัดพื้นที่ในการลงแทะเล็มของแพะให้เป็นสัดส่วน หรือจะถนอม แปลงหญ้าไว้โดยการตัด
หญ้ามาให้แพะกินในคอกก็ได้เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าแพะเป็นสัตว์ที่มีความสามารถในการแทะเล็มเก่งและจะ
กินหญ้าได้เกือบทั้งหมดทุกส่วนของต้นหญ้าและต้นไม้อื่นๆ ทำให้ต้นหญ้าและแปลงหญ้าที่ปล่อยให้แพะลงแทะ
เล็มนั้นอาจจะมีอายุการใช้งานสั้น

ก. พืชตระกูลหญ้า เป็นพวกที่มีลำต้นและใบอ่อนนิ่ม ต้นไม่โตนัก หญ้าพันธุ์พื้นเมือง หรือหญ้าตามธรรมชาติหญ้า
พื้นเมืองมีโปรตีนตั้งแต่ 3-14 เปอร์เซ็นต์ (วินัย, 2542) ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าพันธุ์ดีการปลูก
หญ้าพันธุ์ดีเลี้ยงสัตว์และจัดการแปลงหญ้าอย่างถูกต้องทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ได้
และสัตว์ก็จะมีสุขภาพดีไปด้วย หญ้าอาหารสัตว์พันธุ์ดีที่ได้รับความสนใจจากเกษตรผู้เลี้ยงแพะและแกะทั่วไป
ได้แก่





1. หญ้าขน (Brachiaria mutica) เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปีลักษณะลำต้นเป็นแบบกึ่งเลื้อย ต้นสูง
ประมาณ 1 เมตร ลำต้นทอดขนานไปกับพื้นดิน มีรากขึ้นตามข้อ มีระบบรากเป็นรากฝอย และตื้น ไม่ติดเมล็ด
ขยายพันธุ์ด้วยเหง้าและล้าต้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงในที่มีฝนชุก ทนต่อสภาพพื้นที่ชื้นแฉะ
หรือมีน้้าท่วมขังการปลูกใช้ระยะปลูก 50x50 ซม. อาจปลูกโดยหว่านท่อนพันธุ์แล้วไถกลบหรือปลูกแบบปักด้าข้าว
หญ้าขนเป็นหญ้าที่เจริญเติบโตเร็ว เหมาะสำหรับบริเวณพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวโดยไม่ใส่ปุ๋ยจะได้ผลผลิต 3,100
กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 4,370 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรีย 40 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 1
ตัน/ไร่ ปริมาณโปรตีนเฉลี่ยประมาณ 7.2 เปอร์เซ็นต์






2. หญ้าเนเปียร์ ปัจจุบันมีหลายสายพันธุ์คือ เนเปียร์ธรรมดา (Pennisetum purpureum) เนเปียร์
แคระ (P. purpureum cv.Mott.) เนเปียร์ยักษ์ (King grass; P. purpureum cv.Kinggrass) เนเปียร์ใต้หวัน
หรือเนเปียร์ปากช่อง (P. purpureum xPennisetum americanum) หญ้าเนเปียร์มีทรงต้นเป็นกอค่อนข้างตั้งตรง
คลำยอ้อย หญ้าเนเปียร์แคระมีลักษณะทรงต้นเป็นพุ่มค่อนข้างตั้ง (bunch type) สูงเพียง 1.60 เมตรแต่มี
สัดส่วนของใบต่อต้น และแตกกอดีส่วนหญ้าเนเปียร์ธรรมดาสูงประมาณ 3 เมตร และหญ้าเนเปียร์ยักษ์เมื่อโต
เต็มที่จะสูงประมาณ 3.80 เมตร

หญ้าเนเปียร์ใต้หวัน เป็นหญ้าข้ามปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูง 2.5-3.5 เมตร และเมื่อออกดอกมีความสูง
ถึงปลายช่อดอก 3.5-4.5 เมตร ให้ผลผลิตน้ำหนักสด 12-15 ตัน/ไร่/รอบ 60 วัน และน้ำหนักแห้ง 2-2.5 ตัน/ไร่/รอบ

หญ้าเนเปียร์สายพันธุ์ต่าง ๆ มีเหง้า (rhizome) อยู่ใต้ดิน เป็นหญ้าอายุหลายปี เจริญเติบโตได้ในดินหลาย
ชนิดที่มีการระบายน้ำค่อนข้างดี ตอบสนองต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำได้ดี เหมาะสำหรับปลูกบริเวณ
พื้นที่ที่มีฝนชุก ทนแล้งได้พอสมควร ไม่ทนน้ำท่วมขังและไม่ทนต่อการเหยียบย่ำของสัตว์  ติดเมล็ดน้อยและมีความ
งอกต่ำ จึงต้องปลูกขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ์2–3 ท่อน ต่อหลุม ระยะระหว่างหลุม 75x75 เซนติเมตร ต้นพันธุ์
หญ้าเนเปียร์1 ไร่ สามารถปลูกขยายพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ การบำรุงรักษา ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 40 กิโลกรัม/
ไร่/ปีโดยใส่ครึ่งหนึ่งก่อนปลูกหญ้า ส่วนที่เหลือแบ่งใส่ 2 ครั้ง หลังจากตัดหญ้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สำหรับในพื้น
ที่ดินร่วนปนทรายถึงดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 40–80 กิโลกรัม/ไร่/ปี  นอกจากนี้ยัง
จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกด้วย ควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์ครั้งแรก
หลังปลูก 60 วัน และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 30 วัน จะได้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 2–4.2 ตันต่อไร่/ปี  มีโปรตีน
ประมาณ 8–10 เปอร์เซ็นต์





3. หญ้ารูซี่ (Ruzi Grass) หญ้ารูซี่เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปีเจริญเติบโตเร็ว แตกกอดีใบอ่อนนุ่มสัตว์ชอบ
กิน ลักษณะลำต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยมีรากตามข้อ ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดและลำต้น เนื่องจากติดเมล็ดได้ดีมีความงอก
สูง นิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดจัดเป็นพืชวันสั้น เจริญเติบโตได้ดีในดินหลายชนิด ทั้งดินอุดมสมบูรณ์ในที่ดอนน้ำไม่
ขัง และในดินที่มีธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง ไม่ทนต่อ การเหยียบย่ำอย่างรุนแรง
    หญ้ารูซี่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี กล่าวคือให้ผลผลิต 2,584 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยสูตร 12–24–12 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่
    ถ้าปลูกในดินทรายชุดโคราชได้ผลผลิต 3,400 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรีย 140 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีมีปริมาณ
โปรตีนประมาณ 8.2 เปอร์เซ็นต์





4. หญ้าแพงโกลา (Pangola grass) เป็นหญ้าอายุที่มีหลายปี ต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย ลำต้นเล็ก ไม่มีขน ใบเล็ก
เรียวยาว ใบดกอ่อนนุ่มเหมาะสำหรับทำหญ้าแห้ง ทนน้ำท่วมขัง เจริญเติบโตดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทานการปลูกใช้ท่อนพันธุ์อัตรา 250-300 กิโลกรัม/ไร่ พื้นที่ลุ่ม ทำเทือกแบบนา
หว่านน้ำตม ปรับระดับน้ำให้สูง 10-15 เซนติเมตร หว่านท่อนพันธุ์ให้ทั่วแปลง แล้วนาบกดท่อนพันธุ์ให้จมน้ำ แช่
ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วระบายน้ำออก
...พื้นที่ดอน หลังจากไถพรวนแล้ว ชักร่องห่างกัน 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร วางท่อนพันธุ์3-5 ท่อน
เรียงต่อกันเป็นแถว ใช้ดินกลบเล็กน้อยและเหยียบให้แน่น

การบำรุงรักษา

ใส่ปุ๋ยก่อนปลูกด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอก
ร่วมด้วย ในแต่ละรอบของการตัดควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 2 ครั้ง ๆ ละ 10 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งแรกหลังตัด 1 วัน
และครั้งที่ 2 หลังตัด 10-15 วัน การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีการ ตัดปรับทุก ๆ 45-60 วัน 2-3 ครั้ง

การใช้ประโยชน์

ควรตัดหญ้าครั้งแรก 60 วันหลังปลูก และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 40 วัน โดยตัดสูงจาก
พื้นดิน 5-10 เซนติเมตร การปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มครั้งแรกควรปล่อยเมื่อหญ้าอายุ90 วัน หญ้าแพงโกล่าเหมาะ
สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 5.0-7.0 ตัน/ไร่/ปีโปรตีน 7-11
เปอร์เซ็นต์





5. หญ้ากินนีสีม่วง (Purple guinea) และกินนีธรรมดาเดิม (Guinea Grass) กินนีสีม่วงจะมีลำต้นและใบ
สูงใหญ่กว่ากินนีธรรมดา ดอกมีสีม่วง ใบอ่อนนุ่มกว่ากินนีธรรมดาเป็นหญ้าที่มีอายุหลายปีลักษณะเป็นกอตั้งตรง
แตกดีใบดก ทนต่อสภาพร่มเงาได้ดีเหมาะสำหรับปลูกบนพื้นที่ดอนมีดินเหนียวจนถึงดินทรายและในพื้นที่เขต
ชลประทาน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหน่อพันธุ์ตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ยได้ดี การปลูกโดยการหว่านเมล็ด
อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ไร่ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ไม่ควรกลบเมล็ด ส่วนการเพาะ
กล้าใช้เมล็ด 1กิโลกรัม เพาะในพื้นที่ 200 ตารางเมตรเมื่ออายุต้นกล้า 1 เดือน ให้ย้ายปลูกหลุมละ 3 ต้น ระยะ
ปลูก 50x50 เซนติเมตรจะปลูกได้3 ไร่ หรือใช้แยกหน่อจากต้นเก่ามาปลูกใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตรเช่นกัน
แต่ต้นหญ้าจะโตช้ากว่าการปลูกด้วยต้นกล้า

การบำรุงรักษา

 ก่อนปลูกควรมีการใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
นอกจากนี้อาจมีการใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน หลังการตัดทุกครั้งควรใส่
ปุ๋ยยูเรียในอัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ การกำจัดวัชพืชครั้งแรก 3-4 สัปดาห์หลังปลูก และหากมีวัชพืชขึ้นมากอาจ
กำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 2 เดือน

การใช้ประโยชน์

การตัดหญ้ากินนีสีม่วงเพื่อน้าไปให้สัตว์กินควรตัด
ครั้งแรกเมื่อหญ้ามีอายุ 60 วัน หลังจากนั้นจึงจะทำการตัดทุก ๆ 30-40 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดิน 10-15
เซนติเมตรเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปหญ้าสด ทำหญ้าหมักหรือปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มได้ให้ผลผลิตน้ำหนัก
แห้งประมาณ 2.5-3 ตัน/ไร่/ปี มีโปรตีนประมาณ 8–10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง

การจัดการแปลงหญ้า

เนื่องจากพืชอาหารสัตว์จัดเป็นแหล่งอาหารหยาบที่สำคัญที่สุดของสัตว์เคี้ยวเอื้องและถือว่าเป็น
อาหารหลักที่ใช้ในการเลี้ยงแพะที่มีต้นทุนต่ำ หาง่าย อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถ จัดการปลูกแปลงหญ้าเพื่อใช้เป็น
แหล่งที่ให้สัตว์ลงแทะเล็มหากินหญ้าได้เองอีกด้วย การจัดการพื้นที่ในการปลูกแปลงหญ้าให้มีประสิทธิภาพและได้
คุณค่าทางอาหารของหญ้าสูง โดยการใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดินแปลงหญ้า เพื่อให้พืชอาหารสัตว์มีการเจริญเติบโตที่ดี
มีการดูดซึมแร่ธาตุที่ได้จากดินและปุ๋ยไว้มาก ซึ่งแพะก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากต้นหญ้าที่กินเข้าไป อีกทั้ง
วิธีการปลูกหญ้าแล้วตัดสดมาให้แพะกินในคอกก็จะช่วยลดปัญหาการสูญเสีย พลังงานในการเดินหากิน หรือ
ความเครียดจากความร้อนที่จะตามมาจากการปล่อยแทะเล็มใน ทุ่งหญ้า


การจัดการแปลงหญ้ามีหลักการที่ต้องคำนึงถึงดังนี้

1. ควรปลูกหญ้าไว้หลายๆชนิดเพื่อเพิ่มความน่ากิน และทำให้มีคุณค่าทางอาหารที่ หลากหลายในแปลงหญ้า
หรืออาจเพิ่มคุณค่าทางอาหารของแปลงหญ้าโดยการ ปลูกพืชตระกูลถั่วผสมกับหญ้า
2. ทำการใส่ปุ๋ยลงในแปลงหญ้าเพื่อการบำรุง และเร่งการเจริญเติบโตให้พืชอาหาร สัตว์ที่ปลูกไว้เช่น การใส่ปุ๋ย
คอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (ใส่ภายหลังการตัดแต่ละครั้ง)
3. มีการจัดการปล่อยให้แพะลงแทะเล็มในแปลงหญ้าอย่างถูกเวลา คือ เน้นปล่อยใน ช่วงที่หญ้ามีการ
เจริญเติบโตที่ดีมีคุณค่าทางอาหารสูง หรืออยู่ในระยะก่อนออก ดอก รวมถึงต้นพืชมีความแข็งแรงพอที่จะทน
ต่อสภาวะการถูกเหยียบย่ำได้
4. ควรทำการไถ คราด พรวนดินแปลงหญ้าเป็นครั้งคราวเพื่อบำรุงรักษาหน้าดินและ เกลี่ยมูลแพะให้ทั่วแปลง
 ช่วยให้เป็นปุ๋ยใส่แปลงหญ้าไปด้วยในตัว


ข. พืชแห้งหรือพืชหมัก โดยปกติแล้วไม่นิยมให้แพะกินอาหารพืชหมัก เนื่องจากมีน้ำปนอยู่มากถึง 65-70% ถ้าให้
แพะกินพืชหมัก 1.25-1.5 กิโลกรัม เท่ากับกินหญ้าแห้ง 0.5 กิโลกรัม จึงจะแทนกันได้  แพะที่โตเต็มที่จะกินพืช
หมักได้มากที่สุดวันละ 0.75-1 กิโลกรัม อย่าให้อาหารพืชหมักเลี้ยงลูกแพะ เพราะจะทำให้ท้องเสีย รอจนกระทั่ง
อวัยวะระบบย่อยอาหารทำงานได้เต็มที่แล้วจึงจะกินได้




การทำหญ้าหมัก

หญ้าหมัก หรือ พืชหมัก (Silage) เป็นอาหารที่มีกรรมวิธีจัดการเพื่อให้สามารถ เก็บถนอมหญ้าหรือพืชนั้น
ไว้ในสภาพอ่อนนิ่มคล้ายกับหญ้าที่ยังสดอยู่ หญ้าหมักมีประโยชน์ดีในหลายประการนั่นคือ หญ้าหมักสามารถที่จะ
จัดทำขึ้นได้ทุกโอกาส แม้ในฤดูที่สภาพอากาศไม่อำนวยให้ทำหญ้าแห้งเพื่อการเก็บไว้ใช้นานๆ ซึ่งหญ้าหมัก
สามารถใช้พืชได้หลายชนิด เช่น ต้นข้าวโพด พืชผัก หญ้าชนิดต่างๆ หรืออาจใช้เศษพืชทิ้งเปล่า รวมถึงเศษเหลือ
ทิ้งทางการเกษตร

การทำพืชหมักเพื่อเป็นอาหารเสริมแพะมีหลายสูตรเช่น สูตรใช้เกลือ 1 กก./หญ้าสับ 100 กก. สูตรใช้
กากน้ำตาล 4 กก./น้ำ 5 ลิตร/หญ้าสับ 100 กก. สูตรใช้เกลือ 500 กรัม กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม/หญ้า100
กิโลกรัม สูตรไม่มีการเสริมอาหารเลย ฯลฯ ใช้หญ้าสดพันธุ์ที่อวบน้ำ หรือต้นข้าวโพดสดสับผสมกับอาหารเสริม
หรือไม่ผสมอาหารเสริม บรรจุภาชนะ เป็นถุงพลาสติคอย่างหนา ถังพลาสติค หรือหลุม อัดให้แน่นอย่าให้อากาศ
เข้า  ครบ21 วันเริ่มเปิดทยอยให้สัตว์กินได้ หญ้าหมักที่ได้จะมีกลิ่นของกรดเกิดขึ้น โดยกลิ่นกรดที่ดีควรมีความหอมและ
มีรสชาติที่ออกเปรี้ยว เล็กน้อย ซึ่งความเปรี้ยวนี้เองที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความน่ากิน (Paratability) เมื่อแพะ
ได้กินแล้วจะเกิดความอยากกินเพิ่มมากขึ้น


การทำหญ้าแห้ง

เป็นวิธีการถนอมอาหารหยาบไว้ให้มีใช้ได้นานๆ โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่มีสภาวะการขาดแคลนพืชอาหาร
สัตว์ วิธีทำหญ้าแห้งไว้ใช้เลี้ยงสัตว์อาจทำได้หลายรูปแบบ คือ การ ทำหญ้าแห้งชนิดตากแดด จะใช้เวลานาน
ประมาณ 2-3 วัน แล้วแต่ชนิดของหญ้าหรือพืชที่น้า มาตากแห้งว่ามีความหนาบางของลำต้นและใบมากน้อย
เพียงใด นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและแสงแดดเอง

หญ้าแห้งที่ดีจะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสียหายหรือบูดเน่านั้น ควรจะต้องลด ความชื้นให้เหลือน้อย
ที่สุดโดยให้มีความชื้นได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 15 หญ้าแห้งที่เก็บไว้ในโรงเก็บหญ้าที่มีอากาศชื้นเกินไปอาจทำให้หญ้า
แห้งขึ้นราและเสียหายจนใช้เป็นอาหารสัตว์ไม่ได้คุณภาพและผลผลิตที่ได้ของการทำหญ้าแห้งจะขึ้นอยู่กับชนิดของ
พืชที่ใช้ทำหญ้าแห้ง คือพืชที่น้ามาใช้ควรเป็นพืชที่มีคุณภาพดีมีคุณค่าทางอาหารสูงหรืออยู่ในช่วงก่อนออก ดอก
ออกผล ซึ่งจะเป็นช่วงอายุที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีปริมาณเยื่อใยที่มากพอ นอกจากนี้ถ้าใช้พวกพืชตระกูลถั่ว
ผสมก็จะได้หญ้าแห้งที่มีคุณภาพดีกว่าพืชตระกูลหญ้าอย่างเดียว

หญ้าแห้งที่มีคุณภาพสูงควรมีลักษณะดังนี้คือ เป็นหญ้าแห้งที่มีคุณภาพดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น มี
โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสูง การใช้พืชที่อยู่ในช่วงออกดอก มาทำหญ้าแห้งก็จะช่วยให้เกิดความน่ากินและมีค่า
การย่อยได้ของวัตถุแห้งที่สูง ทั้งนี้จะต้องได้จากพืชตระกูลถั่วหรือหญ้าอ่อนที่มีใบมาก หญ้าแห้งที่ดีควรมีสีเขียวจัด
ซึ่งแสดงถึงแคโรทีนที่มีอยู่ในใบพืชถูกทำลายไปน้อยที่สุด และหญ้าแห้งต้องมีกลิ่นหอมหวาน ชวนให้สัตว์มีความ
อยากกิน (Sweet smelling)

ค. พืชตระกูลถั่ว มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งถั่วกอตั้ง และถั่วต้นเลื้อยและไม้ยืนต้นกระกูลถั่ว (Tree legume) เช่น
ถั่วลาย ถั่วฮามาต้า กระถินยักษ์และโสน ซึ่งอาจจะปลูกพืชตระกูลถั่วปนหญ้าชนิดอื่น หรือปลูกแต่ถั่วแล้วตัดมัด
เป็นฟ่อน ๆ ให้แพะกินก็ได้




1. ถั่วลาย (Butterfly pea) ลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อยขนานกับผิวดิน อาจเลื้อยพันหลักที่อยู่ใกล้เคียง มี
อายุหลายปีใช้เป็นพืชคลุมดินในสวนยางพาราภาคใต้เป็นเวลานานแล้ว มีลำต้นเลื้อยยาวประมาณ 0.5–1.5 เมตร
อาจมีรากตามข้อของลำต้นที่อยู่ชิดผิวดินมีระบบรากแก้วที่หยั่งลึกลงไปในดิน เป็นถั่วอาหารสัตว์ที่มีความน่ากิน
และมีคุณค่าทางอาหารสูง คือมีปริมาณโปรตีน 17 เปอร์เซ็นต์ทนต่อการแทะเล็มของสัตว์นอกจากนี้ยังสามารถ
ปรับตัวได้ดีภายใต้สภาพที่มีร่มเงาปลูกร่วมกับหญ้า เนเปียร์หญ้าขน หญ้ากินนี หญ้าโร้ด และหญ้ากรีนแพนิคได้
ปลูกดินในมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง ได้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 900 กิโลกรัม/ไร่






2) ถั่วฮามาต้า (Hamata) เป็นถั่วค้างปีลำต้นกึ่งตรง ลักษณะแผ่และตั้งไม่มีขน หลังจากออกดอกแล้ว
ยังคงเจริญเติบโตต่อไปจนถึงปลายฤดูมีความทนแล้งได้ดีไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง ปรับตัวได้ดีในดินกรด สามารถ
ปลูกร่วมกับหญ้ากินนีกินนีสีม่วง ซิกแนล และรูซี่ได้การปลูกควรปลูกต้นฤดูฝนระหว่างพฤษภาคม–กรกฎาคม
เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควรจะเร่งความงอกด้วยการแช่น้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาทีในอัตรา 2 กิโลกรัม/ไร่
ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 6–16 กิโลกรัม/ไร่ และยิบซั่มอัตรา 1.6–3.2 กิโลกรัม/ไร่เป็นปุ๋ยรองพื้น ทำการ
ปลูกโดยหว่านเมล็ดให้สม่้าเสมอ หรือปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตรควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์สูงจาก
พื้นดิน 10 เซนติเมตร ครั้งแรก 70–90 วัน หลังปลูกและตัดครั้งต่อไปทุก 45 วัน ได้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ
1.3–1.9 ตัน/ไร่ โปรตีนประมาณ 18เปอร์เซ็นต์





3) กระถิน (Leucaena) มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ พันธุ์ที่นิยม คือ พันธุ์ฮาวาย เป็นพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย สูง
ประมาณ 5 เมตร ออกดอกขณะที่ต้นยังอ่อน ออกดอกตลอดปีมากกว่าจะออกเป็นฤดู มีความคงทนต่อ
สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีแม้ในที่มีความแห้งแล้งหรือพื้นที่มีน้ำท่วมเป็นระยะการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดนิยมมาก
ที่สุด นำเมล็ดที่เก็บจากฝักที่เปิดอ้า สีน้ำตาล แช่ในน้ำเดือด 10-20 นาทีก่อนนำไปเพาะ หากพื้นที่นั้นไม่อุดม
สมบูรณ์โดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15   อายุ1 ปีใช้ปุ๋ยประมาณ 100 กรัม/ต้น ใบกระถินมีส่วนประกอบของสารไมโม
ซิน (mimosine) ซึ่งทำให้สัตว์เกิดอาการขนร่วง ไม่อยากกินอาหาร น้ำหนักตัวลดลง ถ้าให้กระถินมากกว่าครึ่งของ
อาหารและให้สัตว์กินติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนแล้ว ผลที่เกิดขึ้นสัตว์อาจมีอาการไม่สบาย มีการเจริญเติบโตช้า
อย่างไรก็ตามในกระเพาะหมักของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีจุลินทรีย์บางชนิด เช่น Synergistes jonesii สามารถ
ทำลายพิษของสารไมโมซินได้ ส่วนการนำใบกระถินไปตากแดดหลังจากเก็บมาทันทีสารไมโมซินจะลดลง 50%
และลดลง 2-9% โดยการล้าง การแช่น้ำ การต้ม และหมัก ใบกระถินสดมีโปรตีน 8.4% ใบแห้งป่นมีโปรตีนสูง
ประมาณ 17-24%





4. โสน เป็นพืชที่อยู่ในจีนัส Sesbania เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบประกอบแบบขนนก นิยมปลูกเพื่อใช้เป็น
ปุ๋ยพืชสดในนาข้าวเนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่ว ที่มีไรโซเบียมในปมรากสามารถตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศได้
(นันทกร และสุวรรณี, 2536) จึงช่วยเพิ่มปริมาณไนโตรเจน (N) และอินทรีย์วัตถุแก่ดิน จากการศึกษาของ ยุทธ
ชัย (2531) พบว่าการปลูกพืชจำพวกโสน เช่น โสนอินเดีย (Sesbania speciosa) โสนอาฟริกัน (Sesbania
rostrata) โสนคางคก (Sesbania aculeata) และโสนจีนแดง (Sesbania cannabina) ในพื้นที่ที่ดินมีระดับ
ความเค็มต่าง ๆ โสนเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ดี ทนต่อโรคและแมลง

การใช้ใบโสน เพื่อเป็นแหล่งของโปรตีนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องในเขตร้อนชื้น เพื่อทดแทนอาหารข้น
เนื่องจากมีโปรตีนสูงและเยื่อใยต่ำพบว่าโสนสามารถตัดสดให้แกะกินได้ (Khan et al., 1990) และจากการศึกษา
การใช้ใบโสน 2 สายพันธุ์ (โสนอัฟริกัน และ โสนคางคก) เป็นอาหารเพียงแหล่งเดียวในการเลี้ยงแพะเพศผู้พันธุ์
Bengal อายุประมาณ 5 เดือน เป็นระยะเวลา 56 วัน โดยแพะได้รับใบโสนอย่างเต็มที่ โดยการใบโสนเมื่อปลูกได้
70 วัน พบว่าคุณค่าทางโภชนะของใบโสนอัฟริกันประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน เยื่อใยรวม วัตถุแห้งและโภชนะที่
ย่อยได้รวม (total digestibility of nutrients) เท่ากับ 32.7, 8.7, 15.5, 21.0, และ 70.3% ตามลำดับ ส่วนใน
โสนคางคกมีค่าเท่ากับ 25.4, 7.4, 16.7, 23.6, และ 64.7% ตามลำดับ แพะที่กินใบโสนอัฟริกัน และโสนคางคก
พบว่าปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้ง (dry matter intake) มีค่าเท่ากับ 259 และ 229 กรัม/วัน ตามลำดับ และมี
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 38.1 และ 9.5 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง (dry matter
digestibility) อินทรีย์วัตถุ (organic matter digestibility) โปรตีน (crude protein digestibility) และ
metabolizable energy ของใบโสนอัฟริกันมีค่าสูงกว่าใบโสนคางคกอย่างชัดเจน (p<0.05) จึงแนะนำว่าใบ
โสนอัฟริกันเหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงแพะมากกว่าใบโสนคางคก (Shahjalal and Topps, 2000)

ดังนั้นใบโสนอินเดียมีความเป็นไปได้ในการใช้เป็นแหล่งเสริมโปรตีนหรือใช้ในอาหารสูตรรวมสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ในประเทศไทย





ง. ใบมันสำปะหลัง
 ประเทศไทยสามารถผลิตหัวมันสำปะหลังได้ ประมาณ 22 ล้านตัน (สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย, 2553)
ปริมาณยอดและใบมันสำปะหลังประมาณ 20% ของต้นมันสำปะหลังประมาณ 1,212,291.36 ตัน ยังไม่มีการ
น้าไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร (มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย, 2550) ใบมันสำปะหลังมีโปรตีน 15-
25% โดยน้ำหนักแห้ง
ดังนั้นใบมันสำปะหลังที่ตากแดดให้แห้ง สามารถใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์พวกเคี้ยวเอื้องได้
เป็นอย่างดี นอกจากนี้ใบมันสำปะหลังยังมีสารแทนนิน (tannin) ที่สามารถจับกับโปรตีน เป็นสารประกอบ
โปรตีน-แทนนิน คอมเพล็กซ์(protein-tannin complex) มีความสามารถในการไหลผ่านกระเพาะรูเมนลงไปยัง
ลำไส้เล็ก (bypass) เป็นอย่างดีทำให้เกิดการย่อย และดูดซึมเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้
แม่โคที่ได้รับใบมันสำปะหลังแห้งเป็นอาหาร จะปริมาณสารไธโอไซยาเนทในน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นซึ่งช่วยกระตุ้นการ
ทำงานของระบบแลคโตเพอร์ออกซิเดส เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญ หรือทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำนมดิบได้

http://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,124.0.html


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!