อาชีพวิศวะพลังงานมาแรงสุด..จ้างชั่วโมงละ 1,282 บาท
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 25, 2024, 05:21:41 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อาชีพวิศวะพลังงานมาแรงสุด..จ้างชั่วโมงละ 1,282 บาท  (อ่าน 2162 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2015, 01:02:57 PM »



จาก  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

วิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ มีความต้องการจ้างงานที่สูงขึ้น

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงความต้องการบุคลากร ล้วนมาจากการเจริญเติบโตของประเทศส่วนหนึ่ง นอกจากนั้น คงเป็นเรื่องของการแข่งขันในการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ที่องค์กรระดับโลกมีการแข่งขันกันโดยรวมที่ไม่เฉพาะในส่วนของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้นที่ต้องการส่งเสริมอาชีพเสรีใน8 สาขา ได้แก่ วิศวกรรม, การสำรวจ, สถาปัตยกรรม, แพทย์, ทันตแพทย์, พยาบาล, บัญชี และการบริการ/การท่องเที่ยว ที่สามารถเดินทางไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มสายงานวิศวกรรม

    "สุธิดากาญจนกันติกุล"ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย บอกว่าจากผลสำรวจภาพรวมของตลาดแรงงาน กลุ่มสายงานวิศวกร ในปี 2015 ในไตรมาสแรก มีความร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของกลุ่มสายงานด้านนี้จะเติบโต และเป็นที่แย่งชิงมากในไตรมาสหลัง ๆ ซึ่งช่วงที่กลุ่มสายงานวิศวกรบูมที่สุดในอดีตที่ผ่านมา คือ ช่วงนโยบายรถคันแรกจากรัฐบาล หลังจากนั้นอัตราความต้องการลดลงตามลำดับ แต่ถึงกระนั้น กลุ่มสายงานวิศวกรยังคงเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

    "โดยปี 2015 กลุ่มสายงานวิศวกรรม ติดอันดับเป็นอาชีพสุดฮอต ที่มีการลงประกาศรับสมัครงานต่อเดือนประมาณ 26,031 อัตรา แต่รับจริงเพียง 7,880 อัตรา ทำให้เกิดการขาดแคลนวิศวกรสูงถึง 18,151 อัตรา แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงสูงกว่าพยาบาลอาชีพ เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ $38.96 หรือประมาณ 1,282 บาทต่อชั่วโมง และมีอัตราการเติบโตในปี 2010-2014 ที่สูงกว่าคือ 9 เปอร์เซ็นต์ รวมอัตราการจ้างงานของวิศวกรทั้งหมดในปี 2014 คือ 235,817 คน"

   ปัจจุบันความต้องการแรงงานสายงานวิศวกร โดยเฉพาะในช่วงก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปี 2558 บุคลากรที่ถูกดึงไปทำงานต่างประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนักศึกษาจบปริญญาตรีที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ 3-4 ปี โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่กำลังเร่งพัฒนา และขยายความเจริญภายในประเทศ

    กลุ่มสายงานวิศวกรของไทย ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งในอัตราความต้องการ เนื่องจากคุณภาพของวิศวกรฝีมือดี ใส่ใจรายละเอียด ทั้งค่าแรงยังถูกกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสายงานวิศวกรของสิงคโปร์ ที่มีเนื้องานเทียบเท่ากัน

     นอกจากนี้ กลุ่มสายงานวิศวกร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ มีความต้องการจ้างงานที่สูงขึ้น

คาดว่า ในไตรมาส 3-4 จะมีความคึกคักในตลาดกลุ่มสายงานวิศวกรมากขึ้นตามลำดับ กระนั้น กลุ่มสายงานวิศวกรที่มีความต้องการสูงในประเทศไทย และต้องดึงตัวบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามา ได้แก่ บุคลากรด้านน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

   "สุธิดา" กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันนายจ้างต้องการแรงงานที่มีทักษะเชิงลึก พร้อมกับทักษะรอบด้าน อีกทั้งยังมองหาผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน เพราะงานในกลุ่มสายงานวิศวกร บางทักษะต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน หรืออาจเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ น้ำมัน และก๊าซ, งานเหมืองแร่ และงาน Construction เป็นต้น

"ประเทศไทยจึงดึงตัวบุคลากรที่มีทักษะโดยตรงจากประเทศอื่นเข้ามา อาทิ ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศมาเลเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ จึงเป็นที่มาของการขาดแคลนบุคลากร ทั้ง ๆ ที่มีแรงงานเข้ามาในตลาดเยอะ"

"องค์กรธุรกิจใหญ่ ๆ ในประเทศ มีการจองตัวนักศึกษาในมหา′ลัย Top 5 และเน้นที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ในสาขาที่มีความต้องการ ดังนั้น การเลือกเข้าเรียนของนักศึกษา ในสาขาต่าง ๆ ของกลุ่มสายงานวิศวกร จึงมีความสำคัญที่ควรศึกษาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน เพราะส่งผลในการหางานทำเมื่อนักศึกษาเรียนจบ โดยสังเกตได้จากนโยบายของรัฐบาล, เศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนการหาข้อมูลจากบริษัทจัดหางานต่าง ๆ ซึ่งสาขาที่มีความต้องการสูงตลอดมา คือ สาขา Mechanical, สาขา Logistics ที่มาแรงใน 3-5 ปีนี้ และสาขา Electrical รวมถึง Network Engineer ที่หลัง ๆ มีการพัฒนาเป็นยุคดิจิทัล จึงทำให้สาขานี้ค่อนข้างมาแรง"

"ด้านของนักเรียนสายอาชีพอย่าง ปวช.-ปวส. ยังมีความต้องการในตลาดสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนอาชีวะหันมาเรียนปริญญาตรีทางสายวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้นทำให้มีทั้งความรู้ และประสบการณ์ตรงสามารถทำงาน Engineer ได้เลย แต่ถ้าเรียนจบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์จะมีความเสียเปรียบในด้านประสบการณ์ เนื่องจากไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนเหมือนสายอาชีพ ในจุดนี้แรงงานสายอาชีพในประเทศไทย จึงมีความต้องการในตลาดสูง และถือว่าขาดแคลนในช่วง 3-5 ปีนี้ เนื่องจากค่านิยมที่เปลี่ยนไป ผู้คนนิยมเรียนปริญญาตรีมากกว่าสายอาชีพ"

นับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่ง


จาก  http://www.1009seo.com/


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!