ออกแบบอนาคตตัวเองในแบบของเด็กมัธยมฮอลแลนด์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 30, 2024, 12:41:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ออกแบบอนาคตตัวเองในแบบของเด็กมัธยมฮอลแลนด์  (อ่าน 2080 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13257


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2015, 08:32:59 AM »

Cr. พันทิพ

เท้าความนิดนึงค่ะว่า จขกทเรียนป.ตรีอยู่ที่มหาลัยในเนเธอร์แลนด์
ก็เขียนเรื่องนู่นนี่ที่พบที่เจอมาเรื่อยๆ
แต่ปกติเขียนลงบล็อกตัวเอง
ลองเอามาลงดู หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ ^^

เรื่องมันมีอยู่ว่า.. อีเมล์ฉบับนึงถูกส่งมาหาเราจาก Promotion committee ของคณะ
บอกว่าวันที่ 28-29 พฤษภา มหาลัยจะมีงานโอเพ่นเดย์ ในฐานะที่ภาคเราเปลี่ยนเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ
(แต่เดิมเป็นหลักสูตรภาษาดัตช์ เกือบทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่
ในเนเธอร์แลนด์ยังคงทำการสอนเป็นภาษาดัตช์อยู่นะคะ)แล้ว
เลยอยากขอให้เราไปเป็นสตาฟฟ์ในงานนี้ด้วย เพื่อให้ข้อมูลเด็กม.ปลายในฐานะนักศึกษาต่างชาติ

ตอบตกลงไปแบบไม่ลังเล (เมื่อเห็นประโยคสุดท้ายพูดถึงค่าแรง)

ปีที่แล้วเราก็มางานโอเพ่นเดย์

นั่งรถไฟข้ามเมืองมาสองชั่วโมงกว่า มาถึงก็เดินงงๆไปรอบงาน โบชัวร์ของภาคที่แจก ใบนึงเป็นภาษาอังกฤษ
ในฐานะที่จั่วหัวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่หลักสูตรจะถูกเปลี่ยนเป็น International program, 100% teach in English.
ลองไปเลียบๆเคียงๆถามรุ่นพี่ที่ซุ้มดู เค้าก็บอกว่าได้ยินว่าตอนนี้มีนักเรียนสมัครมาจากต่างประเทศ 6-7 คนมั้ง (ใจแป้วชิบเป๋ง)
ตอนฟังพรีเซนเทชั่นหลักสูตรก็ดันเป็นคนเดียวที่ยกมือขึ้นตอนที่คณบดีถามว่า
ไอควรพูดอังกฤษมั้ย ใครพูดดัตช์ไม่ได้ (ใจยิ่งแป้วขึ้นไปอีก)
แต่ก็มาตื่นเต้นกับตอนไปแจม faculty tour และ campus tour. คือตื่นเต้น
กับบรรยากาศ สถานที่ ห้องแลป lecture hall จนแบบ เห้ย ต้องย้ายมาให้ได้ 5555



กลับมาเรื่องงานปีนี้


ประเด็นหลักๆที่น่าสนใจที่อยากจะเล่าคือ งานโอเพ่นเดย์ของมหาวิทยาลัยในฮอลแลนด์
ไม่ได้มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นนักเรียนไฮสคูลปีสุดท้าย
แต่เป็นนักเรียนไฮสคูลปีแรกหรือก่อนเข้าไฮสคูล พร้อมกับผู้ปกครอง…

ที่เรามองกันว่า ผู้ปกครองเด็กไทยน่ะเข้มงวดกับชีวิตการเรียนลูกมาก
พาไปลงเรียนพิเศษ ไปรับไปส่ง เอาเกรดลูกมาคุยกันในวงผู้ปกครอง ไซโค(หรือบังคับ)
ในการเลือกคณะ เลือกมหาลัย 


ผู้ปกครองคนดัตช์ เค้าก็มีความคล้าย
แต่เป็นความคล้ายในลักษณะของบุคลากรในประเทศที่พัฒนาแล้ว.


นั่นคือ เค้าก็ไม่ได้ปล่อยให้ลูกอิสระไปหมดในการเขียนอนาคตตัวเองเหมือนกัน
แต่สิ่งที่เค้าทำ คือเค้ามารับข้อมูลพร้อมกับลูก มาเรียนรู้พร้อมกับลูก และมาดูความสนใจของลูก


คือไม่ใช่มาถามตอนจะจบม.6ทีเดียวว่า ลูกอยากเป็นอะไร ลูกชอบอะไร
 (ซึ่งเด็กไทยบางคนอาจไม่เคยได้ยินคำถามแบบนี้ด้วยซ้ำไป)
แต่มาอยู่กับลูกตั้งแต่ต้น รับรู้ข้อมูลชุดเดียวกัน


จำนวนผู้เข้าร่วมงานโอเพ่นเดย์ เป็นเด็กนักเรียนสักครึ่งหนึ่ง
อีกครึ่งหนึ่งเป็นผู้ปกครอง   มากันในสภาพเป็นคู่ๆ พ่อลูก แม่ลูก หรือบางทีก็พ่อแม่ลูก


แล้วไม่ใช่ว่าเค้าแค่มาเดินเป็นเพื่อนลูก


คำถามส่วนใหญ่น่ะ มาจากผู้ปกครองมากกว่าเด็กด้วยซ้ำไป อาจจะเรียกได้ว่า
ผู้ปกครองเค้ามา เพื่อช่วย”ถาม”ในสิ่งที่เด็กคงมองข้าม คิดไม่ถึง ให้ลูกได้ข้อมูลแบบครอบคลุม


เค้าไม่ได้เดินตรงดิ่งมาหาที่ซุ้มคณะใดคณะหนึ่งซุ้มเดียว เค้าไล่ดูการนำเสนอของแต่ละซุ้มแบบทั่วๆ ทุกภาคทุกคณะ
เค้าไม่ได้ไซโคลูกว่า เห้ยแด๊ดอยากให้เรียนอันนี้ๆๆ
แต่พอรับรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว สิ่งที่เค้าทำคือถามลูกว่า “สนใจไหม? คิดว่ายังไง?”


โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่ามันเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทีถูกต้องมาก



ย้อนกลับมาที่ไทยแลนด์


ก็สงสัยนะว่า ผู้ปกครองไทยจะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่รู้ว่า สมัยนี้ในมหาลัยเค้าเรียนอะไรกันบ้าง
หลักสูตรมันเปลี่ยนไปจากตอนตัวเองเรียนมากน้อยแค่ไหน มีอะไรก้าวหน้าขึ้นบ้าง
แล้วสิ่งที่อยากให้ลูกเรียน เค้าเรียนอะไรกันยังไง สิ่งที่ลูกอยากเรียน เค้าเรียนอะไรกันยังไง..


การตัดสินใจที่เกิดขึ้น ถ้ามันมีพื้นฐานอยู่บนข้อมูลที่ครบถ้วน ก็คงจะดี.

ส่วนว่าด้วยเรื่องของ Dutch Highschooler..

Background story มันมีอยู่ว่า วิธีการรับเด็กเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศนี้
เขาไม่มีข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย เขาดูกันที่การผ่านคอร์สต่างๆ
ในระดับมัธยม (ผ่าน = เกรด 5.5+ /10 ) ถ้าจำกัดที่นั่ง ก็ไล่เกรด


”คอร์สต่างๆในระดับมัธยม”ที่ว่านี้ เด็กต้องเป็นคนเลือกเอง ว่าจะเรียนอะไรบ้าง
ก็เลยทำให้เด็กที่จะลงเรียนคอร์สต่างๆ ควรจะมีเค้ารางคร่าวๆก่อนว่า
คณะที่อยากเรียนในมหาลัย เค้ามีrequirementอะไรบ้าง จะได้ลงเรียนถูก เช่น
ควรจะลง MathA หรือ Math B ถ้าอยากเรียน Mechanical Eng. ก็ไม่ต้องลง Chemistry etc.


ตัวอย่างเช่น ภาควิชาเรา Applied Earth Sciences, ตอนแรกมีรีไควร์เมนท์แค่ MathB กับ Physics แต่ ผลออกมาว่า
พอเข้าปีหนึ่งมาแล้ว เด็กเรียนเคมีได้อิหลักอิเหลื่อมาก ทางบอร์ดคณะก็อยากจะเพิ่ม Chemistry เป็น requirement อีกวิชา
แต่ปัญหาคือ เค้าไม่สามารถอยู่ดีๆก็เพิ่มrequirement อีกข้อเข้าไปสำหรับเด็กที่จะเข้าเรียนในปีถัดไปได้
ทั้งด้วยเหตุผลทางภาคปฏิบัติ คือต้องประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า ว่าChemistry จะเป็นวิชาบังคับ
ในการสมัครเข้าเรียนในอีกสามปีข้างหน้า เพื่อให้เด็กที่พึ่งเข้าไฮสคูลได้เทคคอร์ส
และเหตุผลทางกฎหมาย ที่การจะเพิ่มเกณฑ์การเข้ารับศึกษาใดๆ ต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน


ย้อนกลับมาที่ไทยแลนด์


เกณฑ์..เปลี่ยนกันรายปีไหม


จริงๆแล้วคงเทียบกันไม่ได้ เพราะเด็กไทยไม่ได้มีอิสระด้วยซ้ำไปว่าจะเลือกเรียนฟิสิกส์หรือเคมี.

กระบวนการที่เด็กVWO4(ม.4) จะต้องทำหลังจากจบงานโอเพ่นเดย์ คือ ตัดสินใจ
เลือกลงเรียนคอร์สที่จะต้องใช้ในการสมัครมหาลัย หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ
เพื่อช่วยในการประกอบการตัดสินใจ เช่น Student for a day คือเปิดให้ลองมาเป็นนักศึกษาของภาคจริงๆหนึ่งวัน
นั่งเรียนกับนักศึกษาจริงๆ ดูว่าต้องเรียนอะไรยังไง หรือ  Shadowing day
เป็นวันที่ภาคเปิดคลาสพิเศษให้เด็กมัธยมมาลองเรียน ทำแล็ป เห็น overview
ของหลังสูตรสามปี พอจะVWO 6 เดือนสุดท้ายก่อนหมดเขตสมัคร ก็จะมีกิจกรรม Last Question Day
เปิดให้นักเรียนเข้ามาสอบถามข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจครั้งสุดท้าย


กิจกรรมแบบนี้ไม่ใช่แค่ต้องรอมหาลัยจัด สำหรับใครก็ตามที่สนใจโปรแกรมการเรียน
สามารถส่งอีเมลล์ติดต่อคณะเพื่อขอเยี่ยมชมได้ทุกเมื่อ เมื่อกลางเดือนมีนาคม
 เราก็ถูก Promotion committee ขอให้ไปช่วยงานเป็นไกด์ให้แม่ลูกเยอรมันคู่นึงที่อยากมาเยี่ยมชมคณะ
 ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงในการอธิบายหลักสูตรคร่าวๆ
 ต่อด้วยเดินดูคณะ ไปพบอาจารย์ที่ปรึกษา
ไปคุยกับ Student committee ตบท้ายด้วยกาแฟและเบเกอรี่ฟรี


ส่วนตัวเห็นว่าเป็นแผนโปรโมตที่ทุ่มทุนสร้างมาก หนูเยอรมันคนนั้นอยู่ชั้น(เทียบเท่ากับ)ม.4 จะไปดูมหาลัยอีกกี่ที่
จะตัดสินใจยังไงก็ไม่รู้ แต่ถ้าคิดเป็นเม็ดเงิน มหาลัยเสียฟรีจ้างเราไปเป็นไกด์เกือบ 20 ยูโร เลี้ยงน้ำเลี้ยงขนม…

อยากจะสรุปเรื่องราวเหล่านี้ว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาไม่ได้สนใจ
แค่จะยัดความรู้เชิงวิชาการให้กับเยาวชนอย่างเดียว
แต่ยังลงทุนและสนับสนุนให้เยาวชนค้นพบความเป็นตัวเอง
แทนที่จะยึดติดอยู่กับค่านิยมของสังคมค่ะ

หลังไมค์ ...ขออนุญาต จขกท. แล้ว ครับ

เห็นว่า มีประโยชน์

สถาบันที่ จขกท. เอามาแชร์

https://www.facebook.com/TUDelft?fref=ts


https://www.facebook.com/Architecture.TUDelft?fref=ts

 ping!


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!