ดอนเมืองโทลล์เวย์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
กันยายน 11, 2024, 08:03:56 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดอนเมืองโทลล์เวย์  (อ่าน 8470 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 30, 2014, 06:14:36 AM »

เตรียมจ่ายเพิ่ม!

ขึ้นค่าผ่านทางโทลล์เวย์เป็น 70 บ.

ประจิน”ชี้สัญญาบีบอีก 5 ปี ขึ้นอีก


................... ................... .................

“ประจิน”ไม่เบรก “โทลล์เวย์”ขึ้นราคาอีก 10 บาท
รถ 4 ล้อ จาก 60 เป็น 70 บาท


ชี้เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ย้ำไม่ต้องการให้เป็นข้อพิพาทซ้ำอีก
 “อธิบดีทล.”เผย บริษัทฯมีสิทธ์ปรับขึ้นตามสัญญา ทุกๆ 5 ปี
โดยทำหนังสือแจ้งตามขั้นตอนเท่านั้น
เร่งตั้งคณะทำงานเตรียมพรัอมแก้ปัญหาจราจรถ.วิภาวดี
คาดช่วงแรกรถแน่นเหตุเลี่ยงใช้โทลล์เวย์
เผยคนไทยเตรียมตัวอีก 5 ปี

หรือในปี 2562 จะขึ้นเป็น 80 บาท
และปี 2572 ก่อนสิ้นสุดสัญญาจะปรับไปอยู่ที่ 100 บาท

       
       พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า
ได้รับทราบกรณีที่บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
ผู้ได้รับสัมปทานทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์
จะมีการปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางแล้วอย่างไม่เป็นทางการแล้ว
โดยบริษัทระบุว่าเป็นการปรับตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน
และมีขั้นตอนในการดำเนินการที่ชัดเจน
ดังนั้นในขณะนี้ กระทรวงคมนาคมเองคงไม่สามารถก้าวล่วง
และไม่มีเหตุผลใดที่จะคัดค้านเพราะไม่ต้องการให้เกิดข้อพิพาท
ระหว่างกรมทางหลวงกับบริษัทเหมือนที่ผ่านมา
โดยในหลักการ หลังจากนี้ จะให้ฝ่ายกฎหมายและกรมทางหลวง (ทล.)
ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องเท่านั้น
       
       นายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม
รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ได้ทำหนังสือถึงกรมทางหลวง
ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2557 แจ้งให้ทราบถึงการปรับอัตราค่าผ่านทางยกระดับอุตราภิมุข
ช่วงดินแดง-ดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน

ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2557- 21 ธันวาคม 2562
โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2557 เวลา 00.01 น.เป็นต้นไป
โดยช่วงดินแดง-ดอนเมือง (รถ 4 ล้อ) ปรับจาก 60 บาทเป็น 70 บาท
ช่วง ดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน ปรับจาก 25 บาทเป็น 30 บาท
ซึ่งเป็นการปรับตามสิทธิ์ในสัญญาสัมปทาน


โดยบริษัทจะต้องทำหนังสือแจ้งให้กรมทางหลวงรับทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
       
       โดยขั้นตอนหลังจากนี้ กรมทางหลวงจะทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคมให้ทราบ
ส่วนกระทรวงคมนาคมจะมีความเห็นเพิ่มเติมอย่างไรหรือไม่
เป็นเรื่องของนโยบาย อย่างไรก็ตาม
ขณะนี้กรมทางหลวงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด
เพื่อพิจารณาและเตรียมความพร้อมแนวทางในการรองรับปริมาณจราจร
ที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง
เนื่องจากคาดว่าในระยะแรก จะมีรถส่วนหนึ่งลงมาใช้ถนนวิภาวดีรังสิตด้านล่าง
แทนการใช้ทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ ที่มีการปรับขึ้นค่าผ่านทาง
       
       สำหรับการปรับค่าผ่านทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ครั้งนี้
บริษัทระบุว่าเป็นไปตามข้อ 5 ของบันทึกตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลง
สัญญาสัมปทานทางหลวง ฉบับที่ 3/2550

ซึ่งเป็นสัญญาสัมปทานที่ลงนามขยายอายุสัมปทาน 27 ปี

ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2550 อายุสัมปทาน 27 ปี
โดยจะปรับขึ้นทุก ๆ 5 ปี จนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน
ในวันที่ 12 กันยายน 2577

       
       โดยอัตราค่าผ่านทางดอนเมืองโทลล์เวย์

ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2557 - 21 ธันวาคม 2562 ขาออก
ช่วงด่านดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อ ปรับจาก 60 บาท เป็น 70 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 90 บาท เป็น 100 บาท
ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ ปรับจาก 25 บาท เป็น 30 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 35 บาท เป็น 40 บาท

ส่วนขาเข้า
ช่วงอนุสรณ์สถาน-ดินแดง รถ 4 ล้อ ปรับจาก 85 บาท เป็น 100 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 125 บาท เป็น 140 บาท
ส่วนช่วงดอนเมือง-ดินแดง รถ 4 ล้อ ปรับจาก 60 บาท เป็น 70 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 90 บาท เป็น 100 บาท
       
       และตามสัญญา จะปรับขึ้นอีกครั้งในอีก 5 ปีต่อไป

หรือในวันที่ 22 ธันวาคม 2562
โดยช่วง ดินแดง - ดอนเมือง รถ 4 ล้อ ปรับจาก 70 บาท เป็น 80 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 100 บาท เป็น 110 บาท
ช่วง ดอนเมือง - อนุสรณ์สถาน จาก 30 บาท เป็น 35 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 40 บาท เป็น 45 บาท

และ ปรับขึ้นราคาครั้งต่อไปในวันที่ 22 ธันวาคม 2567

ช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อ ปรับจาก 80 บาท เป็น 90 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 110 บาท เป็น 120 บาท
ช่วง ดอนเมือง - อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ ปรับจาก 35 บาท เป็น 40 บาท
รถมากว่า 4 ล้อ ปรับจาก 45 บาท เป็น 50 บาท

และปรับขึ้นราคาอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้าย
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2572 จนสิ้นสุดอายุสัมปทาน
ช่วง ดินแดง - ดอนเมือง รถ 4 ล้อ ปรับจาก 90 บาท เป็น 100 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 120 บาท เป็น 130 บาท
ช่วง ดอนเมือง - อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ ปรับจาก 40 บาท เป็น 45 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 50 บาท เป็น 55 บาท

 cry2!!

Cr.http://www.manager.co.th/

................... ................... .

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกผู้มีอำนาจ

ไม่รับใต้โต๊ะ  ขยายอายุสัมปทาน ให้เอกชน อีกน๊ะ

รัฐไม่ต้องรับผิดชอบ...กำของชาวบ้าน



บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 30, 2014, 06:38:33 AM »


ความสุขที่ คสช คืนให้มาแต่ละอย่าง

อิ่มกันไปถ้วนหน้า

ฤดูกาลปล้นคนไทยโดยสัมปทาน

โดยกฏหมาย

โดยอำนาจเถื่อนของมาเฟีย

และข้าราชการ โดยนายทุน


 เศร้าจัง
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2014, 09:48:08 AM »

ทางด่วนขึันแล้ว!!;วันนี้

สำหรับการปรับขึ้นราคาครั้งนี้ ทำให้อัตราค่าผ่านทางใหม่ (ขาออก)
- ในด่านช่วงดินแดง - ดอนเมืองจากเดิมรถ 4 ล้อ 60 บาท ปรับขึ้นเป็น 70 บาท
ขณะที่รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 90 บาท เป็น 100 บาท
- ส่วนช่วงที่ 2 จากดอนเมือง - อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ จาก 25 บาท เป็น 30 บาท
ขณะที่รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 35 บาท เป็น 40 บาท
- ทำให้ตลอดทั้งเส้นทางขาออก รถ 4 ล้อ ปรับขึ้นราคาจาก 85 บาท เป็น 100 บาท
ขณะที่รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 125 บาท เป็น 140 บาท (ปรับขึ้น 15 บาท)

ส่วนอัตราค่าผ่านทางใหม่ (ขาเข้า)
-ช่วงอนุสรณ์สถาน - ดินแดง รถ 4 ล้อ จาก 85 บาท เป็น 100 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 125 บาท เป็น 140 บาท
- ส่วนช่วงดอนเมือง - ดินแดง รถ 4 ล้อจาก 60 บาท เป็น 70 บาท รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 90 บาท เป็น 100 บาท
- ซึ่งในส่วนเส้นทางขาเข้า อัตราค่าผ่านทางรถ 4 ล้อ ราคา 100 บาท
และรถมากกว่า 4 ล้อ ราคา 140 บาท เป็นการชำระค่าผ่านทางยกระดับฯ
ช่วงอนุสรณ์สถาน - ดอนเมือง และช่วงดอนเมืองดินแดง รวมกันในครั้งเดียว

บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 21, 2015, 09:11:55 AM »

 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 สำนักงานศาลปกครองเผยแพร่
คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง) กรณีเกี่ยวกับการขึ้นราคา
อัตราค่าบริการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์
(ทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงดินแดง-ดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน)
ชี้ชัดถึงการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะของผู้ใช้ทาง

ศาลพิเคราะห์ข้อมูลว่า มติคณะรัฐมนตรี สมัยทักษิณ ชินวัตร 11 เมษายน 2549
และ สมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 10 เมษายน 2550
เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เพียงฝ่ายเดียว
 และการจัดเก็บค่าผ่านทางสร้างภาระให้ประชาชน ผู้บริโภค ผู้ใช้ทางยกระดับเกินสมควร
จึงเป็นการไม่เหมาะสม
ในการยกเลิกผลประโยชน์การตอบแทนรัฐให้แก่เอกชน
ขยายอายุสัมปทานออกไปอีก 27 ปี ยอมให้เอกชนมีอำนาจเหนือรัฐ
กำหนดราคาล่วงหน้า ขึ้นราคาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ทำให้รัฐและประชาชนได้รับความเสียหาย

ศาลปกครองกลางพิพากษาว่า มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 เมษายน 2549 (ยุคทักษิณ)
 เฉพาะส่วนของข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาการขาดทุนของบริษัททางยกระดับดอนเมือง
และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 10 เมษายน 2550 (ยุคพลเอกสุรยุทธ์)
เฉพาะส่วนที่ให้ความเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง
ในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


เรื่องนี้ มีที่มาที่ไป เบื้องลึก-ปูมหลัง อย่างไร?

1) คำพิพากษาของศาลปกครองกลางครั้งนี้ ได้ยืนยันรับรองหลักการสำคัญว่า
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต
แม้จะมีการสร้างทางยกระดับข้างบน ก็ยังมีสถานะเป็นทางสาธารณะที่ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
เพียงแต่ให้เอกชนเก็บค่าผ่านทางได้ มิใช่ทางที่ยกให้เอกชนเด็ดขาด
รัฐจึงไม่สามารถจะไปเอื้อประโยชน์แก่เอกชนหรือสร้างภาระแก่ประชาชนอย่างไรก็ได้

คดีนี้ นายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ เป็นผู้ฟ้องคดีหนึ่ง 
ส่วนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
และประชาชนผู้เสียหายจากการขึ้นค่าผ่านทางโทลล์เวย์
 เป็นผู้ยื่นฟ้องอีกคดีหนึ่ง ก่อนที่ศาลจะให้รวมคำฟ้องกัน

2) เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิชอบ ก็เท่ากับว่า การขึ้นค่าผ่านทางตลอดมา ไม่น่าจะกระทำได้

การขยายอายุสัมปทาน จากเดิมที่จะสิ้นสุด 20 สิงหาคม 2557
เป็น 11 กันยายน 2577 ย่อมไม่น่าจะกระทำได้อีกต่อไป


นอกจากนี้ เงินที่เอกชนเคยเรียกเก็บค่าบริการจากผู้บริโภคเกินไปจากสัญญาเดิม
สร้างภาระเกินสมควรและไม่เหมาะสมแก่ผู้บริโภค
ในระยะเวลา 2,020 วัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,121 ล้านบาท

เพื่อความเป็นธรรม ก็สมควรจะกลับไปใช้อัตราค่าผ่านทางในอัตราเดิม
ก่อนมีการแก้ไขสัญญา นั่นคือ 35 บาทสำหรับรถสี่ล้อ และ 65 บาท
สำหรับรถเกินหกล้อ จนกว่าจนกว่าจะได้ข้อยุติทั้งหมด

3) เบื้องลึกปูมหลัง

ทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ เกิดขึ้นมาในยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
ขณะนั้นรัฐมนตรีคมนาคม ชื่อ “มนตรี พงษ์พานิช” จอมโปรเจกท์คนหนึ่งของการเมืองไทย
 ผู้เคยให้สัมปทานอภิมหาโครงการอย่างโฮปเวลล์
ซึ่งปัจจุบันยังมีเสาตอม่อเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียหาย

เดิมทีเดียว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 คือ ถนนวิภาวดี มีความกว้าง 10 เลน
พื้นที่ 6 เลนตรงกลาง (ขาไป-ขามา ด้านละ 3 เลน) ได้กั้นเป็นทางด่วน
เริ่มต้นที่ดินแดง สิ้นสุดที่สนามบินดอนเมือง ในลักษณะเป็นซุปเปอร์ไฮเวย์
เป็นทางหลวงสาธารณะที่ประชาชนใช้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าผ่านทาง
ส่วนด้านข้างอีกฝั่งละ 2 เลน ก็ให้เป็นทาง
คู่ขนานปกติในลักษณะ local road

ใครรีบ ไม่ต้องการแวะตามแยกตัดผ่าน ก็วิ่งซุปเปอร์ไฮเวย์ได้เลย ยาวๆ

สภาพซุปเปอร์ไฮเวย์เดิม มาจากดินแดงมุ่งไปดอนเมือง จะผ่านจุดตัด 4 จุด ได้แก่
แยกสุทธิสาร แยกลาดพร้าว แยกเกษตร แยกหลักสี่ ก็จะมีสะพานลอยข้ามแยกบริการทุกแยก
ทำให้ไม่ต้องติดไฟแดง ผ่านตลอดทุกแยกไปจนถึงสนามบินดอนเมือง

ปรากฏว่า เมื่อมีการทำสัญญาให้บริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ (หรือบริษัททางยกระดับดอนเมืองฯ ปัจจุบัน)
 ก็นำไปสู่การดำเนินการเพื่อทุบทิ้งสะพานลอยข้ามแยกทั้ง 4 แห่ง
หวังผลเปลี่ยนแปลงถนนด้านล่างทางยกระดับจากซุปเปอร์ไฮเวย์ให้กลายเป็นถนนปกติ
มุ่งจะให้ประชาชนหันไปใช้ทางยกระดับข้างบน เพื่อจะเพิ่มลูกค้า
เพิ่มผู้ใช้บริการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ มีการสร้างด่านเก็บเงินกลางถนน
โดยเมื่อลงจากทางด่วนที่ดินแดง หากขับรถวิ่งตรงไปตามถนนหลวงวิภาวดี
ก็จะเข้าช่องเสียเงินขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ กลายเป็นว่า
หากประชาชนไม่ต้องการจะจ่ายค่าผ่านทางต้องเป็นฝ่ายหลบหลีก
เบี่ยงซ้ายออกไปเอาเอง ทำให้ถูกประชาชนวิจารณ์กันขรมว่า
เป้นพฤติกรรมส่อเจตนาเอาเปรียบประชาชน แปลงซุปเปอร์ไฮเวย์ที่เป็นทางด่วนให้เป็นถนนปกติ
สร้างความไม่สะดวก ส่งคนไปใช้ทางยกระดับข้างบนที่ต้องเสียเงิน
แถมสร้างจุดเก็บเงินผ่านทางเสมือนไซดักปลา ใครเผลอเข้าไปก็ต้องจ่ายเงินขึ้นทางยกระดับ

ในส่วนของการดำเนินการทุบสะพานลอยข้ามแยก เอกชนทุบสะพานลอยสำเร็จไป 2 จุด คือ
ที่แยกหลักสี่ และแยกเกษตร ส่วนสะพานลอยข้ามแยกที่ลาดพร้าวและสุทธิสาร
ประชาชนไม่ยอมให้ทุบ มีการเอาป้ายผ้าขึ้นไปขึง แสดงการคัดค้าน ต่อต้าน
มีคนขึ้นไปนั่งบนสะพานลอยข้ามแยก การทุบสะพานลอยสองแห่งนี้จึงไม่สำเร็จ
ขณะเดียวกัน การก่อสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์
ก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ สร้างปัญหารถติด มีอุบัติเหตุคานหล่น ทำให้มีคนเสียชีวิต

ถึงยุครัฐบาลชวน หลีกภัย รัฐมนตรีคมนาคมชื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ได้พยายามคืนสภาพทางด่วนซุปเปอร์ไฮเวย์ มีการนำเอาอิฐบล็อกมากั้นตรงกลาง
บริเวณสะพานที่ทุบไปแล้ว เพื่อให้รถที่วิ่งตามทางหลวงวิภาวดี 6 เลนตรงกลาง
สามารถเดินทางได้ต่อเนื่องไม่มีจุดตัดข้ามแยก
แล้วใช้วิธีก่อสร้างสะพานลอยกลับทิศทางบนถนนวิภาวดี 2 จุด
อำนวยความสะดวกให้คนสามารถกลับรถบนถนนวิภาวดี
ทั้งที่เกษตรและหลักสี่ ทั้งขาไป-กลับ 4 ตัว

หลังจากนั้น เมื่อมีการจัดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
กระทรวงคมนาคมยุคนั้น โดยนายสุเทพก็ให้สร้าง local road เลียบทางรถไฟ เพื่อให้การจราจรคล่องตัว

พอมาถึงรัฐบาลทักษิณ ก็มีนโยบายย้ายสนามบินดอนเมืองไปรวมอยู่ที่หนองงูเห่า สนามบินสุวรรณภูมิ

กระทั่งก่อนการเลือกตั้งสมัยที่ 2 ทักษิณสั่งให้ดอนเมืองโทลล์เวย์
เก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสาย เพื่อหวังคะแนนนิยมจากประชาชน

ทางฝ่ายเอกชน ดอนเมืองโทลล์เวย์ อ้างเหตุที่ว่าฝ่ายรัฐได้กระทำการทั้งหลายทำให้ตนเสียหาย
ประสบภาวะขาดทุน ตั้งแต่ย้ายสนามบินดอนเมืองไปสุวรรณภูมิ
ทำให้ผู้โดยสารน้อยลง สร้างโลคอลโรด ทำให้คนใช้โทลล์เวย์ลดลง
ไม่ปรับปรุงทางด้วยวิธีทุบสะพานลอยสุทธิสารและลาดพร้าว ฯลฯ
 กล่าวหาการกระทำเหล่านี้เป็นการทำผิดเงื่อนไขสัญญากับเอกชน จะไปฟ้องร้อง

4) รัฐบาลทักษิณสมัยที่ 2 ปรากฏว่า มีมติ ครม. 11 เมษายน 2549
เกี่ยวกับข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาการขาดทุนของบริษัททางยกระดับ
ในเรื่องการขยายเวลาสัมปทานและการกำหนดอัตราค่าผ่านทาง
ผูกต่อมาถึงยุครัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ มีมติ ครม.10 เมษายน 2550
 เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง
ในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต ตอน ดินแดง-ดอนเมือง

หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 กรมทางหลวงและบริษัททางยกระดับดอนเมือง
ได้จัดทำบันทึกแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง
ในทางหลวงหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต ตอนดินแดง-ดอนเมือง ฉบับที่ 3/2550
ปรากฏว่า ให้ทางหลวงสัมปทานเดิมและทางหลวงสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือ
มีอายุสัมปทานเป็นเวลา 27 ปี นับแต่วันที่ลงนามบันทึกข้อตกลง
 (12 กันยายน 2550-11 กันยายน 2577)

เท่ากับว่า ขยายอายุสัมปทานจากเดิมทีเดียวจะสิ้นสุดในปี 2557 ไปเป็นปี 2577

และกรมทางหลวงจะไม่เก็บเงินค่าผ่านทางบนทางด่วนยกระดับช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต
ทั้งขาเข้าและขาออกตลอดอายุสัมปทานนี้ อีกทั้งอัตราค่าผ่านทางที่เรียกเก็บจากยานพาหนะทุกประเภท
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ และมีผลบังคับใช้ได้ทันที
โดยผู้รับสัมปทาน (บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง) ไม่ต้องขออนุญาตกรมทางหลวงอีก

พูดง่ายๆ ว่า มีผลให้ขึ้นค่าผ่านทางได้ทันที ไม่ต้องขออนุญาตรัฐ และขยายสัญญาไปจนถึงปี 2577

หากเทียบกับสัญญาแรกเดิม ค่าผ่านทางรถเก๋ง 20 บาท ขึ้นราคาได้สูงสุดในปี 2577 เป็นถึง 145 บาท

แถมอนุญาตต่อส่วนขยายจากดอนเมืองไปอนุสรณ์สถานของกองทัพอากาศ
เชื่อมเข้าพหลโยธิน ให้สัมปทานต่อ และต่อระยะทางไปอีกด้วย โดยไม่เปิดประมูลแข่งขัน

ยิ่งกว่านั้น การที่รัฐบาลลงทุนอีก 3 พันกว่าล้าน สร้างสะพานลอยต่อไปจากอนุสรณ์สถาน
บนถนนพหลโยธิน ไปจนถึงรังสิต โดยไม่ขอเก็บส่วนแบ่งรายได้
ค่าผ่านทางจากเอกชน อ้างเฉยๆ ว่าสร้างให้ประชาชนโดยไม่เก็บรายได้
ก็ไม่ต่างกับการ “เตะหมูเข้าปากหมา”

เพราะในความเข้าใจของประชาชนทั่วไป รับรู้ว่าเมื่อวิ่งออกจากดินแดง
หากขึ้นทางยกระดับจ่ายเงิน เมื่อถึงดอนเมืองจะต้องจ่ายอีกครั้ง
บริษัทจะเก็บแพงมาก โดยที่ประชาชนเข้าใจว่าระยะทางยาวไปถึงรังสิต ทั้งๆ ที่
ในความเป็นจริง ส่วนที่ยาวต่อไปถึงรังสิตนั้น คือ
เงินของแผ่นดินที่นำมาลงทุนก่อสร้าง มือใช่เงินเอกชน

ในทางกลับกัน ขาเข้า รถที่มาจากทางรังสิต เมื่อเข้าทางต่อขยายมา
 ก็เสมือนช่วยป้อนคนเข้าสู่ระบบเก็บเงินเอกชน บริเวณดอนเมือง

5) เรื่องนี้ หากมองในมุมของเอกชนถือได้ว่าเป็นลาภก้อนโต
เพราะกิจการทางยกระดับเป็นการลงทุนใหญ่ครั้งแรกครั้งเดียว
ที่เหลือก็เพียงบริหารจัดการ เอกชนย่อมคำนวณการลงทุนตามสัญญาที่ทำตอนต้น
ตามราคาค่าผ่านทางที่สามารถคิดได้ตามสัญญาแรกเดิม
ตามระยะเวลาสัญญาแรกเดิม เมื่อเห็นว่ามีกำไรคุ้มค่า
จึงตัดสินใจเข้ามาลงทุน ดังนั้น การไปขอขยายเวลา ก็เท่ากับ
ขอนั่งเก็บเงินบริหารทางหลวงแผ่นดินต่อไปอีก จากปี 2557 ไปถึงปี 2577
แถมได้ขึ้นค่าผ่านทาง แถมได้มีตัวช่วยป้อนผู้ใช้ทางเข้าสู่ระบบอีกต่างหาก

หากเป็นไปตามสัญญาเดิม เมื่อสิ้นสุดสัมปทาน เอกชนจะต้องยกทางยกระดับทั้งหมดให้แก่รัฐทันที
กรมทางหลวงสามารถบริหารจัดการ โดยอาจจะจัดเก็บค่าผ่านทางบ้างเพื่อบำรุงรักษาเส้นทาง
 หรือจะไม่เก็บค่าผ่านทางเลย เหมือนทางยกระดับถนนบรมราชชนนี ฝั่งธนบุรี
 ที่ไม่มีการเก็บค่าผ่านทาง อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เพราะรัฐเป็นเจ้าของก็ย่อมจะทำได้

สิ่งที่เกิดขึ้น กรณีดอนเมืองโทลล์เวย์
จึงเป็นการเอาเปรียบประเทศชาติอย่างชัดเจนที่สุด


6) ทั้งหมดนี้ ดำเนินการโดยอ้างว่า จะแลกกับการดอนเมืองโทลล์เวย์จะไม่ฟ้องรัฐ ทั้งทางแพ่งและอาญา

ปรากฏว่า บริษัทเอกชนคู่สัญญาไม่ฟ้อง แต่บริษัทสัญชาติเยอรมัน “บริษัท วอเตอร์บาวน์ เอจี จำกัด”
ผู้รับเหมาจากประเทศเยอรมนี หนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยทำผิดสัญญา แล้วเหิมเกริมถึงขนาดเคยกับยึดเครื่องบินพระที่นั่งไว้ที่เยอรมนี
จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ (ขณะนั้น) ต้องไปดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องนี้

7) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลปัจจุบันไม่ต้องยื่นอุทธรณ์
 แม้รัฐบาลในอดีตจะถูกศาลปกครองชี้ว่ามติ ครม.ในอดีตไม่ชอบก็ตาม
เพราะเห็นว่าการอุทธรณ์จะทำให้ประชาชนเสียโอกาสได้ประโยชน์

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า“ครม.ก่อนนั้น
 มีความประสงค์อยากได้คะแนนเสียง จึงขอให้ลดอัตราการเก็บค่าผ่านทางลง
และเมื่อได้รับการเลือกตั้ง จึงออกเป็นมติครม.เพื่อให้การชดเชยแก่บริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์
ที่ได้เคยลดค่าผ่านทางไปก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้มีผู้เสียประโยชน์ไปฟ้องร้องคดี
โดยครั้งแรกศาลยกฟ้อง และครั้งที่ 2 มีการฟ้องร้องอีกแต่แพ้คดี
ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดจึงทำหนังสือแจ้งว่าที่ศาลตัดสินมานั้น
ขอให้รับตามนี้ไม่ต้องอุทธรณ์ แต่ที่ประชุมครม.รับทราบ
ตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมว่าเป็นแบบนั้นไม่ได้
 เพราะจะเป็นบรรทัดฐานให้รวนไปทั้งระบบ”

แสดงว่า อัยการสูงสุดเห็นว่าไม่ควรอุทธรณ์
แต่เหตุที่จะยื่นอุทธรณ์เพราะความเห็นของกระทรวงคมนาคม
ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการแก้ไขสัญญาสัมปทานที่เป็นปัญหานั่นเอง

ประเด็นนี้ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ควรพิจารณาให้รอบคอบรอบด้าน
โดยถือประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นหลัก

ผมเห็นว่า ไม่ควรอุทธรณ์ เพราะประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์แล้ว
 หลังจากนี้ ก็ดำเนินการให้กลับไปใช้ตามสัญญาสัมปทานเดิมที่ยังไม่แก้ไข

Cool นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม อ้างว่า “ต้องอุทธรณ์
เราจะไปมีมติเพิกถอนมติ ครม.เดิมไม่ได้ เก็บเงินมาแล้วจะจ่ายเงินคืนใคร”

ผมเห็นว่า เงิน 4,121 ล้านบาท ที่เอกชนเก็บมาจากผู้บริโภคเกินกว่าสัญญาสัมปทานเดิมนั้น
แม้จะไม่สามารถไปหาตัวผู้บริโภคที่จ่ายเงินไปแล้วในรายละเอียดว่าใครจ่ายเท่าใด
เพื่อจะได้คืนเงินเป็นรายคนทั้งหมด แต่มีหนทางที่ทำได้ คือ
การขอฉันทามติจากประชาชน ว่าถ้ารัฐบาลจะนำไปเป็นกองทุนในการพัฒนาการจราจร
ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อช่วยแก้ไขเยียวยาการจราจรใน กทม.ให้คล่องตัวขึ้น
เช่น ลงทุนระบบราง ทางยกระดับข้ามทางแยกทางร่วม ผมเชื่อว่า
ประชาชนจะยืนดี แม้ผมเองเคยใช้บริการอยู่บ้าง
ไม่มากนัก ก็ยินดี และเชื่อว่าคนทั่วไปก็คงยินดี

แนวทางหนึ่งในทางที่รัฐบาลควรพิจารณาหลังจากนี้ คือ
การขอให้มีการบังคับคดี เพื่อให้ดอนเมืองโทลล์เวย์เก็บค่าผ่านทางในอัตราเดิม
ก่อนจะขึ้นราคาโดยมติ ครม.ที่มิชอบ

หากรัฐบาลไปขออุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดแล้ว
ก็น่าจะมีการร้องต่อศาลแพ่งเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวให้ระหว่างนี้ประชาชน
ได้จ่ายค่าผ่านทางในอัตราเดิม ตามแนวทางคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง
ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

นั่นคือ 35 บาทสำหรับรถสี่ล้อ และ 65 บาทสำหรับรถเกินหกล้อ

9) บทเรียนจากกรณีนี้ ทำให้เห็นว่า เป็นโครงการที่มีปัญหาแต่เริ่มต้น
ยุครัฐมนตรีจอมโปรเจกท์ สมัยมนตรี พงษ์พานิช ทำสัญญาสัมปทานที่ดูจะเอื้อประโยชน์
และไม่ยืนข้างประชาชนผู้ใช้ทาง ตั้งแต่จะให้ไปทุบสะพานลอยทั้ง 4 แห่ง
 ประชาชนลุกขึ้นมาขัดขวาง ประชาชนรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ เอกชนยังขึ้นค่าผ่านทาง
ยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจที่จะขึ้นไปใช้บริการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์
ทำให้เอกชนขาดทุน ประชาชนพยายามใช้ด้านล่างของถนนวิภาวดีรังสิต
 ยิ่งทำให้ดอนเมืองโทลล์เวย์ขาดทุนตลอดมา

ยิ่งขึ้นราคา ยิ่งขาดทุน

ยิ่งดำเนินการฟ้องร้อง ตอบโต้กับการที่รัฐเอื้อประโยชน์ให้ประชาชน
อำนวยความสะดวกให้ประชาชน บรรเทารถติด สร้างถนน local road
ก็ยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจเอกชน
เพราะดูเหมือนจะยืนอยู่ตรงกันข้ามกับประโยชน์สาธารณะ

ประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ต่อสู้ไปถึงศาลปกครอง
สะท้อนให้เห็นพลังของภาคประชาสังคม
ยากที่การเมืองสามานย์และทุนสามานย์
จะรวมหัวกันฮุบประโยชน์สาธารณะง่ายๆ

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต

Cr. http://www.naewna.com/
บันทึกการเข้า
e21fnw-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน863
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2225


สนับสนุนคนดีให้ปกครองบ้านเมือง


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 21, 2015, 12:01:44 PM »

ผมทำงานอยู่ที่หอบังคับการ ทางด่วนทางยกระดับอุตรภิมุข
สมัยนั้นเปิดทดลองใช้ และ ต่อมาเก็บค่าผ่านทาง ๑๐ บาท ได้ไม่นาน
รัฐบาลทักษิณทำประชานิยมยกเว้นค่าจัดเก็บในส่วนของกรมทางหลวง
ทำให้รัฐเสียหาย และ ต่อมาก็ยกเลิกด่าน
จบกันสำหรับผมอาชีพหน่วยงานราชการ
อีกทั้งพวกมันแก้ไขสัญญาสัมปทานอวยกันเข้าไป

ทุกท่านรู้ไหมว่าอุปกรณ์ทั้งหมด ระบบทั้งหมดที่ยกเลิกไป
มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ภาษีของทุกท่าน

เพียงเพื่อประชานิยม และ
เอื้อกับกลุ่มทุนดอนเมืองโทล์เวย์ 
และเป็นภาระแก่้ผู้ใช้ทางมาจนทุกวันนี้ 
บันทึกการเข้า

สมาธิมี  ปัญญาเกิด
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2019, 04:17:28 PM »



เตรียมขึ้นค่าทางด่วน"ดอนเมืองโทลล์เวย์"ปลายปีนี้

อัตราค่าผ่านทาง ช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถ 4 ล้อ จะปรับจาก 70 บาท เป็น 80 บาท,
รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 100 บาท  ปรับเป็น 110 บาท
ส่วนช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน รถ 4 ล้อ ปรับจาก 30 บาท เป็น 35 บาท,
รถมากกว่า 4 ล้อ ปรับจาก 40 บาท เป็น 45 บาท
และตลอดเส้นทาง รถ 4 ล้อ จาก 100 บาทปรับ 115 บาท,
รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 140 บาท ปรับเป็น 155 บาท
อีกทั้งจะมีการปรับราคาอีก 2 ครั้ง คือ
วันที่ 22 ธ.ค. 2567 และใน 22 ธ.ค. 2572
***********************************************************

ชำแหละค่าโง่โทลล์เวย์ สัญญารัฐที่ประชาชนเสียเปรียบ

โค๊ด:
https://hilight.kapook.com/view/46373

26 ธันวาคม  2552

******************************************************

สัมปทานจะหมดก็ต่อให้เขาอีก

จำได้ว่าในสัญญาก่อนการก่อสร้างโทลเวย์สมัยนั้น 
มีการบีบไม่ให้สร้างสะพานข้ามแยกตัดวิภาวดี 
และไม่ให้สร้างเส้น Local Road (คู่ขนานวิภาวดี)ในตอนนั้น 
เพื่อต้องการให้เกิดการจราจรที่คับคั่ง
และจุดตัดสี่แยกบนเส้นวิภาวดีพื้นล่าง 
ผู้ใช้รถจะได้เลือกมาขึ้นมาเสียเงินบนโทลย์เวย์


ส่วนในสมัยทักกี้ราคาโทลล์เวย์ลดลงมาเหลือ 20 บาทใกล้หมดสัมปทาน
เรียกว่าได้ใจคนรังสิต ปทุมธานีไปเต็มๆ   
แต่หลังปฎิวัติปี 49 รัฐบาลขิงแก่ต่ออายุสัมปทานให้อีก 30 ปี
ราคาก็เลยดีดขึ้นมาเป็น 85 บาท เต็มๆ ฮ่าๆๆๆ


ถ้ารัฐบาลขิงแก่ไม่ต่ออายุสัมปทาน ป่านนี้คนไทยใช้ฟรีไปแล้ว

**************************************************************
แจงรัฐผิดสัญญาจนต้องขยายสัมปทานโทลล์เวย์

โค๊ด:
https://www.sanook.com/news/870742/

*****************************************************************

เทียบค่าผ่านทาง 'โทลล์เวย์' กับ 'ทางด่วนขั้น 1' แพงกว่าหรือถูกกว่า?

โค๊ด:
https://www.thairath.co.th/content/470417


สัจจะธรรมของ
ประเทศสารขัณฑ์
คนอ่อนแอย่อมเป็นเหยื่อผู้ที่แข็งแรง
เหมือนลูกไก่ อยู่ในกำมือ กู

 try!!
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18879


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2019, 08:14:59 AM »

บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2019, 09:52:00 AM »

ทล. ดันลงทุน ”โทลล์เวย”ต่อขยายรังสิต–บางปะอิน 4 หมื่นล.
ชงPPPปลายปี62-ทะลวงคอขวดพหลโยธิน

“กรมทางหลวง” ดัน PPP
ต่อขยาย”โทลล์เวย” ช่วงรังสิต – บางปะอิน 18 กม.
วงเงิน 4 หมื่นล. เปิดฟังเสียงนักลงทุน ไทย/เทศ
คาดสรุปชงกก.PPPปลายปีนี้ เปิดประมูลก่อสร้างปี 64 ให้บริการปี 68 เก็บ 60 บ.ตลอดสาย
เผยไม่กระทบข้อพิพาททางแข่งขันของกทพ.

เล็งหลังปี 77 เข้าบริหารโทลล์เวย์ตลอดสาย จากดินแดง-บางปะอิน

วันนี้(26ส.ค.)
กรมทางหลวง(ทล.) ได้จัดสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding)
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต – บางปะอิน
เพื่อระดมความเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนในการพิจารณา
รูปแบบการร่วมลงทุนโครงการ โดย นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.)
กล่าวว่า ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข
หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงรังสิต – บางปะอิน
ระยะทาง 18 กม. มูลค่าโครงการ 39,956 ล้านบาท
ประกอบด้วยค่าก่อสร้างงานโยธาและระบบ 28,135 ล้านบาท
และค่าบริหารจัดการ ค่าบำรุงรักษา
ตลอดสัญญา (30 ปี) 11,821 ล้านบาท
ซึ่งคาดว่าจะสรุป เสนอกระทรวงคมนาคม
และคระกรรมการ PPP ปลายปี 2562หรืออย่างช้าต้นปี 2563

เปิดประมูลหาผู้ร่วมทุนในปี 2563 – ต้นปี 2564 ก่อสร้าง 3 ปี (2565-2568)

ทั้งนี้ ตามแผนโครงการจะเปิดให้บริการหลังปี 2568
ซึ่งจะไม่มีผลต่อปัญหาข้อพิพาทเรื่องทางแข่งขัน
ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และ
บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ หรือ NECL แต่อย่างใด
เนื่องจากสัญญา โครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด จะสิ้นสุดช่วงปี 2569

ทั้งนี้ การศึกษาประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR) 13%
ขณะที่ได้เสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แล้ว
ซึ่งอยู่ระหว่างการส่งข้อมูลเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการ
พิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.)คาดว่าจะได้รับการพิจารณาในปีนี้
นอกจากนี้โครงการมีความพร้อมที่จะนำเสนอขออนุมัติ
เนื่องจากมีการออกแบบแล้ว มีการเวนคืนน้อย
เนื่องจากใช้แนวเกาะกลางถนนพหลโยธินก่อสร้าง
โดยจะเวนคืนประมาณ 9 ไร่ (จำนวน 9 แปลง)
บริเวณที่เป็นแลมป์เชื่อมต่อกับโครงการมอเตอร์เวย์ (บางปะอิน-นครราชสีมา)
ที่ปลายสายทาง ค่าเวนคืนประมาณ 100 ล้านบาท

โดยจากการศึกษาแนวโน้ม การร่วมลงทุนกับเอกชน
ในรูปแบบ PPP Gross Cost จะเหมาะสม
และเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน

โดยอัตราค่าผ่านทางสูงสุดที่ 60 บาทตลอดสาย

หรือเฉลี่ย 2-3 บาทต่อกม. เพราะถือเป็นมอเตอร์เวย์ในเมือง
ส่วนนอกเมือง เช่น สายบางปะอิน-นครราชสีมา
คิดค่าผ่านทางเฉลี่ย 1.25 บาทต่อกม.
ส่วนสายบางใหญ่-กาญจนบุรี เฉลี่ยที่ 1.5 บาทต่อกม.

ขณะที่ ปัจจุบันปริมาณจราจรบนถนนพหลโยธิน
ในช่วงดังกล่าวมีจำนวนสูงถึง 2 แสนคันต่อวัน
ซึ่รถติดอย่างมาก และคาดว่า จะมีรถขึ้นไปใช้
ทางยกระดับประมาณ 20% ซึ่งตลอดสายทางมีจุดขึ้น-ลงจำนวน 8 แห่ง
และการที่เชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา
จะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก
และแก้ปัญหาคอขวดบนถนนพหลโยธิน

@ เล็งหลังปี 77 บริหารโทลล์เวย์เองตลอดสาย จากดินแดง-บางปะอิน

นอกจากนี้ ทล.ยังให้ศึกษา เพื่อเตรียมรองรับกรณีสัญญาสัมปทาน
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด
ช่วงดินแดง-อนุสรณ์สถาน ระยะทาง 20.897 กม.
สิ้นสุดในปี 2577

เพื่อจะบริหารจัดการโครงการเองตั้งแต่
ดินแดง- อนุสรณ์สถาน , อนุสรณ์สถาน –รังสิต ระยะทาง 7.327 กม.
และส่วนต่อขยาย จาก รังสิต – บางปะอิน 18 กม.
เป็นโครงการเดียวตลอดสาย 46.224 กม.
ซึ่งจะมีการลงทุนในการปรับปรุงระบบที่เก่าให้ทันสมัย
รวมถึงซ่อมบำรุงทั้งหมด
ดังนั้นเป็นไปได้ที่อาจจะมีการกำหนดอายุสัญญา
ในส่วนต่อขยาย จาก รังสิต – บางปะอิน ระยะ 10-15 ปี
เพื่อให้สิ้นสุดพร้อมๆ กับสัญญาดอนเมืองโทลล์เวย์ ปี 2577

สำหรับ โครงการทางยกระดับอุตราภิมุข
ส่วนต่อขยาย จาก รังสิต – บางปะอิน
มีจุดเริ่มต้นที่ปลายทางยกระดับอุตราภิมุขปัจจุบัน
บริเวณทางแยกต่างระดับรังสิต
(ประมาณ กม.33+924 ของถนนพหลโยธิน)
จุดสิ้นสุดโครงการอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน
(ประมาณ กม.1+880 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32)
ซึ่งสามารถเชื่อมต่อโดยตรงเข้าสู่ทางหลวงพิเศษ
ระหว่างเมืองสายบางปะอิน – นครราชสีมา (M6)
รวมระยะทางประมาณ 18 กม.
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
และอำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โครงการแบ่งขอบเขตการลงทุนออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างโครงการ ภาครัฐ/เอกชน
เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา ช่วงรังสิต-บางปะอิน
และเอกชนติดตั้งงานระบบตลอดทั้งโครงการ
โดยครอบคลุมช่วงรังสิต-บางปะอิน และช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต
(ซึ่งเปิดให้บริการในปัจจุบัน) โดยภาครัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน

ระยะที่ 2 ดำเนินงานและบำรุงรักษา เอกชนเป็น
ผู้ดำเนินงานและบำรุงรักษาทั้งโครงการตลอดระยะเวลาสัญญา
(ครอบคลุมช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต-บางปะอิน)
โดยกำหนดกรอบระยะเวลาร่วมทุนไม่เกิน 33 ปี
แบ่งเป็นระยะออกแบบและก่อสร้างโครงการ 3 ปี
และระยะเวลาดำเนินงานและบำรุงรักษาไม่เกิน 10 - 30 ปี

Cr: https://mgronline.com/business/detail/9620000081689

 ดีใจจัง
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2019, 09:08:27 PM »

พรุ่งนี้ แล้ว ที่ชาวบ้านถูกขูดรีด จากผู้ที่แข็งแรงกว่า
เพราะ พี่ไทย ตัวใครตัวมัน จึงเป็นโอกาส
 "ให้ทุนใหญ่ แสวงหาผลประโยชน์ได้อิ่มหมีพลีมัน"


"บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ขอให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ใช้บริการ
การจัดเก็บค่าผ่านทางตามสัญญาสัมปทาน มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. นี้"

บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือดอนเมืองโทลล์เวย์
ขอให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ใช้บริการ ดังนี้ ตามที่มีการนำเสนอข่าวในทำนองว่า ข่าวดี
ศาลมีคำสั่งรับคำร้องระงับขึ้นค่าผ่านทางดอนเมืองโทลล์เวย์นั้น
ทางโทลล์เวย์ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้ว ขณะนี้ศาลมีคำสั่งรับคำร้องเท่านั้น
แต่ยังไม่มีการพิพากษาออกคำสั่งระงับขึ้นค่าผ่านทางแต่อย่างใด
จึงขอเรียนแจ้งเพื่อมิให้ผู้ใช้ทางเกิดความสับสน โดยทางโทลล์เวย์จะ
มีการจัดเก็บค่าผ่านทางตามสัญญาสัมปทาน
ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2562 เวลา 00:01น. เป็นต้นไป
ตามอัตราที่ได้แจ้งประกาศไว้ล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

ขาออก ช่วงดินแดง-ดอนเมือง
- รถ 4 ล้อ เดิม 70 บาท ปรับเป็น 80 บาท
- รถมากกว่า 4 ล้อ เดิม 100 บาท ปรับเป็น 110 บาท

ขาออก ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน
- รถ 4 ล้อ เดิม 30 บาท ปรับเป็น 35 บาท
- รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 40 บาท ปรับเป็น 45 บาท

ขาเข้า ช่วงอนุสรณ์สถาน – ดินแดง
- รถ 4 ล้อ จาก 100 บาท ปรับเป็น 115 บาท
- รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 140 บาท ปรับเป็น 155 บาท

ขาเข้า ช่วงดอนเมือง – ดินแดง
- รถ 4 ล้อ จาก 70 บาท ปรับเป็น 80 บาท
- รถมากกว่า 4 ล้อ จาก 100 บาท ปรับเป็น 110 บาท

สำหรับ อัตราค่าผ่านทางรถ 4 ล้อ จำนวน 115 บาท/คัน/เที่ยว
และรถมากกว่า 4 ล้อ จำนวน 155 บาท/คัน/เที่ยว
เป็นการชำระค่าผ่านทางยกระดับฯ ช่วงอนุสรณ์สถาน - ดอนเมือง
 และช่วงดอนเมือง-ดินแดง ชำระรวมกันครั้งเดียวที่ด่านดอนเมือง


ทั้งนี้การปรับอัตราค่าผ่านทาง ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือทางด่วนโทลล์เวย์
เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน ระหว่าง บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
กับ กรมทางหลวง (ทล.) โดยก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
จะมีการปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางอีก 2 ครั้ง

คือ วันที่ 22 ธันวาคม 2567
และ วันที่ 22 ธันวาคม 2572
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2019, 09:20:38 PM »



ทำไม ‘โทลล์เวย์’ ถึงไม่ควรขึ้นราคา?

โค๊ด:
https://consumerthai.org/news-consumerthai/consumers-news/product-and-other/4413-621209_tollway.html?fbclid=IwAR150vnQU5SCdYswg7lZP7vQ1QYmm7RIwqog-jHCtwvowZHzGNrzatQ9FWo

ครม ชุดนี้ ที่ต่อสัมปทาน
ต้องเอาไปตัดหัว ทั้งโครต มันรับ เงิน
แล้วให้มาขูดรีดกับชาวบ้าน




ทดลองฝากไฟล์รูปกับ google Photos

เครื่องคอมที่มีแอป google photos
ถึงจะมองเห็นรูปภาพ
ที่ผม ฝากไว้กับ google photos





 cry2!!


บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: มกราคม 09, 2020, 11:37:29 AM »



ต่อสัมปทานทางด่วน ใครได้ ใครเสีย ใครโง่'
.
โดย
สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา
จิณณะ แย้มอ่วม ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
และยุวธิษา ธัญญเจริญ รองประธานฝ่ายวิชาการ
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
.
ณ ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

โค๊ด:
https://www.facebook.com/fconsumerthai/videos/456907041648495/
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 21, 2023, 10:20:26 AM »

5 มี.ค.65 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงกรณีศาลปกครองสูงสุด
มีคำสั่งรับคำขอพิจารณาใหม่ในคดีโฮปเวลล์ มีรายละเอียดดังนี้

'พีระพันธุ์'เปิดตัว'ยิ้ม'เจ้าหน้าที่ รฟท.ผู้ปิดทองหลังพระตัวจริงสู้คดีค่าโง่โฮปเวลล์
ผมโชคดีอย่างยิ่งที่ได้เจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยคนหนึ่ง
มาช่วยงาน คนๆ นี้ชื่อ “สุทธิรักษ์ ยิ้มยัง” ชื่อเล่นว่า “ยิ้ม”
“ยิ้ม” เป็นพนักงานการรถไฟตำแหน่งอนาบาล
เรียกง่ายๆ ว่านิติกร ยิ้มเป็นคนเดียวที่ช่วยงานเรื่องนี้ผมมาตั้งแต่ต้น
งานชิ้นนี้ถ้าไม่ได้ยิ้มก็อาจไม่มีวันนี้
เพราะผมอาจทำงานไม่เสร็จตามกำหนดเวลาตามกฎหมาย
ผลคือ “ยื่นเรื่องไม่ทัน”
หรือไม่อย่างนั้นผมคงไม่ต้องนอนสามสี่วันติดกัน
ในแต่ละเรื่อง เพราะเอกสารและข้อมูลเยอะมาก
กว่าจะเขียนแต่ละเรื่องเสร็จใช้เวลามาก
และต้องค้นเอกสารและข้อมูลแบบท่วมหัว
ปรากฏว่ายิ้มจำได้หมดทุกเรื่อง

ไม่ว่าผมจะติดขัดหรือสงสัยข้อมูลอะไรตรงไหน
ถามปั๊บยิ้มตอบได้ทันทีทุกเรื่องทุกขั้นตอน
ผมสามารถยกร่างเรื่องต่างๆ ได้โดยเว้นว่างข้อความ
หรือข้อมูลที่ยังนึกไม่ออกในเวลานั้น
ไว้ได้โดยไม่ต้องหยุดพักไปค้นข้อมูลก่อน
เสร็จแล้วก็ส่งให้ยิ้มช่วยเติมความให้เต็มได้อย่างถูกต้อง
บางเรื่องผมบอกแนวทางบอกประเด็นให้ยิ้มยกร่างเบื้องต้นมาก่อน
เพื่อที่ผมจะได้ไปทำงานอื่นได้แล้วค่อยกลับมาปรับนิดหน่อยก็เสร็จ
ทำให้ผมสามารถเดินหน้าเตรียมการเรื่องอื่นๆ ได้พร้อมๆ กันมากขึ้น
ผมถามยิ้มว่าทำไมตอบผมได้หมด
 
เขาบอกว่าเขาอ่านและเตรียมการล่วงหน้าไว้หมดนานมาแล้ว
ผมหาแบบนี้มานานครับเพิ่งจะเจอ
ยิ้มเขาบอกผมว่าทุกวันนี้เขาเป็นห่วงการรถไฟ
และบ้านเมืองกับปัญหาคดีนี้มาก
ก่อนจะมารู้จักมาทำงานกับผมเขาได้ศึกษาค้นคว้า
เตรียมข้อมูลตลอดมาแม้ไม่รู้ว่าจะได้ใช้หรือไม่


เขาบอกว่าเขาอยากทำด้วยใจจริงไม่ใช่เพราะตำแหน่งหน้าที่
ทำงานกันมาหลายปีผมก็เห็นยิ้มอยู่ที่เดิมตำแหน่งเดิม
ทั้งๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาโฮปเวลล์ให้การรถไฟต้นสังกัด
และช่วยผมแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้คนทั้งประเทศมานาน
ผมถามยิ้มว่าที่ทำงานไม่มีตำแหน่งว่างที่จะโยกย้ายสูงขึ้นเลยหรือ
เขาบอกว่ามี หัวหน้าเขาเพิ่งจะเกษียณพอดี
ผมบอกว่าคิวคุณขึ้นตำแหน่งนี้ได้ไหมเขาบอกว่าได้

แต่ขอให้อีกคนหนึ่งขึ้นจะดีกว่า
เพราะหากต่อไปต้องสู้คดีโฮปเวลล์ในศาลแล้ว
อีกคนหนึ่งจะทำงานได้ดีกว่าเขา
ผมบอกว่าคุณลองไปคิดดูว่าคุณจะไปไหนได้บ้าง
เขากลับมาบอกผมในเวลาต่อมาว่าคิดได้แล้ว
ว่าจะขอไปอยู่แผนกพยาบาล

ผมงงมากว่าจะไปทำอะไรที่แผนกพยาบาล
คำตอบคือ เขาคิดว่าที่แผนกพยาบาลไม่มีงานอะไรมาก
เขาจะได้ใช้เวลาเตรียมข้อมูลต่างๆ
เรื่องโฮปเวลล์มาช่วยผมได้เต็มที่
ถ้ายังอยู่ที่เดิมก็ต้องทำงานอื่นด้วย
ถ้าเขาทำเรื่องนี้เรื่องเดียวก็ต้องกินแรงเพื่อนให้ทำเรื่องอื่นแทนเขา

ผมถามว่าไปอยู่แผนกพยาบาลแล้วต่อไปจะกลับไปแผนกอื่นได้อย่างไร
เขาบอกว่าไม่เป็นไร ผมบอกว่าแล้วมันจะก้าวหน้าในอาชีพได้อย่างไร
เขาบอกว่าไม่เป็นไร
ผมถามว่าคุณคิดอะไรของคุณ
เขาบอกว่าเขาคิดเพียงว่าขอให้เขามีเวลาทำงาน
เรื่องโฮปเวลล์ให้สำเร็จแค่นั้นเขาก็พอใจแล้ว
แม้เขาต้องหยุดชีวิตราชการไว้ที่แผนกพยาบาลเขาก็ยอม

เชื่อไหมครับว่าคนแบบนี้ยังมีในโลกจริงๆ

เวลายิ้มมารายงานเรื่องต่างๆ กับผม
จะมีเพื่อนมาด้วยคนหนึ่ง แรกๆ ผมคิดว่าเป็นทีมงานของเขา
แต่สังเกตุว่านายคนนี้ไม่ค่อยพูดจาอะไร
ผมเลยถามว่าคนนี้เป็นใคร ?
คำตอบคือเป็นเพื่อนที่ขับรถพาเขามาหาผม
เพราะเขาขับรถไม่เป็นเวลาไปไหนมาไหนเขาใช้รถเมล์
แต่มาหาผมต้องรีบกลัวผมรอนาน
เลยวานเพื่อนให้ขับรถมาให้
หลายครั้งที่ประมาณสี่โมงเย็นผมจะตามยิ้มไม่เจอ
วันหนึ่งผมถามยิ้มว่าคุณหายไปไหนตอนเย็นๆ
เขาบอกว่าต้องขอโทษ
เพราะเขาต้องไปดูแลแม่ที่แถวรังสิต
ผมถามว่าแล้วไปอย่างไร
คำตอบคือนั่งรถไฟแล้วไปต่อรถเมล์

นี่คือ “ยิ้ม” คนที่ทำงานทุ่มเทกับการต่อสู้คดี
ให้บ้านเมืองเป็นหมื่นล้าน
แต่ยังไปไหนมาไหนด้วยรถเมล์ตลอดเวลา


เมื่อวานพอฟังคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเสร็จ
ผมบอกยิ้มว่าเห็นมีนักข่าวรออยู่ข้างล่างเดี๋ยวช่วยอธิบาย
เรื่องราวให้นักข่าวฟังด้วย ยิ้มขอโทษผมบอกว่า
เขาเป็นแค่พนักงานการรถไฟและต้องรีบกลับไปทำงาน

นี่แหละครับที่เรียกว่า “ปิดทองหลังพระ” ตัวจริง

วันนี้หลายคนชื่นชมและชมเชยผม
แต่ผมขอชื่นชมและขอชมเชยยิ้ม
“นายสุทธิรักษ์ ยิ้มยัง”
พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย

พนักงานตัวเล็กๆ ที่มีจิตใจที่ยิ่งใหญ่
ผู้ปิดทองหลังพระเพื่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง


หมายเหตุ : ผมอยากลงรูป "ยิ้ม"ด้วย
แต่เพราะที่ผ่านมามัวแต่ยุ่ง ทำงานกัน
ไม่เคยคิดเรื่องถ่ายรูปกันเลย
วันหลังจะเอารูปยิ้มมาลงให้ดูกันนะครับ
โค๊ด:
https://www.naewna.com/business/639543?fbclid=IwAR0ePOZ0zC81TWaBhnT6pIcxCnwPptRfpDp-Aj4MyOVSby7s_NQSIkDMNcc

 ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 21, 2023, 10:23:39 AM »

สรุป 33 ปี 'โฮปเวลล์' ไทยชนะคดี (มีลุ้น) ไม่ต้องจ่าย ค่าโง่ 2.4 หมื่นล้าน

โค๊ด:
https://www.komchadluek.net/news/economic/558851
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2024, 03:58:54 PM »

โทลล์เวย์ขึ้นค่าผ่านทางอีกครั้ง รถ 4 ล้อจ่ายสูงสุด 130 บาท
เริ่ม 22 ธ.ค.และมีผลถึงปี 72


ดอนเมืองโทลล์เวย์ประกาศขึ้นค่าผ่านทาง 5-10 บาท
ส่งผลทำให้รถ 4 ล้อต้องจ่าย 90-130 บาท
และมากกว่า 4 ล้อจ่าย 120-170 บาท
มีผล 22 ธ.ค.นี้ มีผลไปถึงปี 2572
พบอีก 5 ปีข้างหน้าปรับขึ้นอีกรอบ

จนกว่าสิ้นสุดสัมปทานปี 2577

วันนี้ (20 มิ.ย.) เฟซบุ๊ก Don Muang Tollway ของ
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ผู้ให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุข
ช่วงดินแดง-ดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน
ประกาศและประชาสัมพันธ์ว่า

ในวันที่ 22 ธ.ค. 2567 เวลา 00.01 น.
อัตราค่าผ่านทางที่คู่สัญญาสัมปทานกําหนดตามบันทึกข้อตกลง
แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง ฉบับที่ 3/2550
ลงวันที่ 12 ก.ย. 2550 สําหรับรอบระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 22 ธ.ค. 2567 ถึงวันที่ 21 ธ.ค. 2572
ช่วงดินแดง-ดอนเมือง
จะมีการเปลี่ยนแปลง 10 บาท (ค่าเฉลี่ย 2 บาทต่อปี)
และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน จะมีการเปลี่ยนแปลง 5 บาท
(ค่าเฉลี่ย 1 บาทต่อปี) จากอัตราค่าผ่านทางในปัจจุบัน

ส่งผลทำให้อัตราค่าผ่านทาง ด่านขาออก ได้แก่

ด่านดินแดง ด่านสุทธิสาร ด่านลาดพร้าวขาออก ด่านรัชดาภิเษก
และด่านบางเขน สำหรับรถ 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 80 บาท เป็น 90 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 110 บาท เป็น 120 บาท
 ส่วนด่านหลักสี่ ขาออก สำหรับรถ 4 ล้อ
เพิ่มขึ้นจากเดิม 35 บาท เป็น 40 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 45 บาท เป็น 50 บาท
และเมื่อถึงด่านอนุสรณ์สถาน จะต้องเสียค่าผ่านทางอีกครั้ง
ก่อนไปยังลำลูกกา รังสิต นครนายก และบางปะอิน
สำหรับรถ 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 35 บาท เป็น 40 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 45 บาท เป็น 50 บาท

ส่วนอัตราค่าผ่านทาง ด่านขาเข้า ได้แก่ ด่านดอนเมือง

สำหรับรถ 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 115 บาท เป็น 130 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 155 บาท เป็น 170 บาท
ซึ่งเป็นการชำระค่าผ่านทางช่วงอนุสรณ์สถาน-ดอนเมือง
และช่วงดอนเมือง-ดินแดง รวมกันครั้งเดียว
ส่วนด่านหลักสี่ ขาเข้า ด่านแจ้งวัฒนะ และด่านลาดพร้าว ขาเข้า
สำหรับรถ 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 80 บาท เป็น 90 บาท
รถมากกว่า 4 ล้อ เพิ่มขึ้นจากเดิม 110 บาท เป็น 120 บาท

อนึ่ง สำหรับทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์
เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2537 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร
ขนานไปกับถนนวิภาวดีรังสิต ระยะทาง 21 กิโลเมตร
มีทางขึ้น 15 แห่ง ทางลง 16 แห่ง และ
ด่านเก็บค่าผ่านทาง 11 แห่ง
โดยกรมทางหลวงได้ให้สัมปทานบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
บริหารเส้นทาง โดยได้รับการขยายอายุสัมปทาน
ไปถึงวันที่ 11 ก.ย. 2577
ทั้งนี้ อัตราค่าผ่านทางได้ปรับขึ้นครั้งล่าสุด
เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2562 ซึ่งการปรับขึ้น

อัตราค่าผ่านทางครั้งถัดไปอีก 5 ปีข้างหน้า

จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 ธ.ค. 2572 ถึง 11 ก.ย. 2577

โดยมีอายุสัมปทานเหลือ 4 ปี 8 เดือน


โค๊ด:
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000052795

20 มิ.ย. 2567

เดี๋ยวคอยดูนะพอไกล้หมดสัมปทาน 2577
จะมี ไอ้ส้นตีน ขยายสัมปทานให้
และก็โง่ ต่อให้ง่ายๆ ตลอด ทุกยุค
แล้วไอ้ส้นตีนก็จะรับเงินทอน กัน หลังบ้าน
ฝากไว้ในต่างประเทศ
ประเทศที่มี อาหารตามสั่ง แดก ตลอด
นักการเมืองมันคุ้มที่เสียเงิน
ซื้อตำแหน่ง 100 -1,000 ล้าน
ดูหน้าแต่ละตัวก็บอกยี่ห้อแล้วว่ามันคือพวก "กังฉิน"

ฅนอ่อนแอ ย่อม เป็นเหยื่อ ฅนแข็งแรง มีตังค์
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #14 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2024, 12:00:13 PM »

“สุริยะ" สั่งด่วนกรมทางหลวงหาทางชะลอขึ้นราคา "ดอนเมืองโทลล์เวย์" ช่วยลดภาระ ปชช.

"สุริยะ" สั่งด่วนเร่งหาแนวทางชะลอ
"ดอนเมืองโทลล์เวย์" ขึ้นราคา
ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน
หลังเอกชนประกาศขึ้นค่าผ่านทางช่วงดินแดง-ดอนเมือง
จาก 80 บาท เป็น 90 บาท และ
ดอนเมือง-อนุสรณ์สถานจาก 35 บาทเป็น 40 บาท
รวมตลอดสายเป็น 130 บาท
เริ่ม 22 ธ.ค.นี้ตามสัมปทาน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เปิดเผยว่า จากกรณีที่บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
ผู้ให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุข หรือทางด่วนโทลล์เวย์
ประกาศปรับอัตราค่าผ่านทางทางด่วนโทลล์เวย์ตามบันทึกข้อตกลง
แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง ฉบับที่ 3/2550
ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 ซึ่งเป็นการปรับในรอบระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2567 เวลา 00.01 น. - 21 ธันวาคม 2572
โดยกำหนดอัตราค่าผ่านทาง ช่วงดินแดง-ดอนเมือง
จากปัจจุบัน 80 บาท ขึ้นเป็น 90 บาท
และช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน
จาก 35 บาท ขึ้นเป็น 40 บาทนั้น

ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าว กระทรวงคมนาคม
ได้ห่วงใยต่อผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ประชาชน
ดังนั้น จึงได้สั่งการให้กรมทางหลวง (ทล.)
ในฐานะเจ้าของสัมปทาน และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
ในฐานะหน่วยงานด้านนโยบายของกระทรวงคมนาคม
ไปเร่งพิจารณาแนวทางและความเป็นไปได้ในการ
ชะลอการขึ้นอัตราค่าผ่านทางดังกล่าว
รวมถึงอาจพิจารณาให้ลดค่าผ่านทางอีกด้วย
เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล
และกระทรวงคมนาคมที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
และลดค่าครองชีพของประชาชน
ซึ่งการใช้ทางด่วนโทลล์เวย์จากดินแดงไปถึงอนุสรณ์สถาน
ปัจจุบันต้องเสียค่าผ่านทางในอัตราที่สูงถึง 115 บาท
หากปรับขึ้นค่าผ่านทางตามสัญญาในช่วงปลายปีนี้
จะเพิ่มขึ้นเป็น 130 บาท และก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
จะมีการปรับขึ้นอีกครั้งเป็น 145 บาท ทั้งนี้
หากได้ข้อสรุปหรือมีความคืบหน้าอย่างไร
จะรายงานให้ทราบในทันทีต่อไป

สำหรับสัญญาสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด
ได้รับสัมปทานจากกรมทางหลวง ในปี 2532
โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการจัดหาแหล่งเงินทุน
และกู้เงินมาลงทุนทั้งหมด
เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด
ณ ขณะนั้น โดยเอกชนได้รับสิทธิเก็บค่าผ่านทางตามสัญญา
ทั้งนี้ ต่อมาได้มีการแก้ไขสัญญาทั้งหมด 3 ครั้ง
ซึ่งเป็นที่มาของค่าผ่านทางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
จากการแก้ไขสัญญาครั้งสุดท้าย
จะมีการปรับขึ้นค่าผ่านทางอีก 2 ครั้ง
คือ ในเดือนธันวาคม 2567 และธันวาคม 2572
ก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2577

โค๊ด:
https://mgronline.com/business/detail/9670000053048
------------------------------------------------------
แนวโน้ม บ.ทางด่วนเอาข้ออ้างการประชานิยม
ของรมต.นี้ ต่อสัญญาสัมปทานออกไปอีก หลายปี
ไม่จบไม่สิ้น

มันทำแบบนี้มาหลายรอบแล้ว
คราวก่อนลดค่าผ่านทาง
แล้วแปลงเป็นขยายอายุสัมปทานซะ
กินกัน  เปรมปรีดิ์

อย่าแม้แต่คิดที่จะต่อเวลาสัมปาทาน
เพื่อแลกกับการไม่ปรับราคาค่าผ่านทาง
มุกเก่าๆ ถอยเพื่อรุก เลิกใช้ได้แล้ว
เคยมีประวัติเลวๆเยี่ยงนี้มาแล้ว
อยากปรับไปถึง 200-300 บาท
หรือถึงพันก็ตามใจมัน
ปชช เลือกเองได้อยู่ เดี๋ยวมันก็เฉาเอง
ก็แค่โยนหินถามทาง
เปลือกนอกทำให้ตัวเองดูดี
เบื้องหลังคิดอะไร
อย่าคิดว่า ปชช ไม่รู้





บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2024, 06:14:00 AM »



“สุริยะ”ต่อสายตรง”สมบัติ พานิชชีวะ”ลดราคา”โทลล์เวย์”
แลกต่อสัมปทาน
ใช้สูตรเดียวกับกทพ.ลดค่าทางด่วน คาดเจรจาจบใน 3 เดือน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เปิดเผยว่า จากที่บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT
ผู้ให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์
ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2567 นั้น
จะทำให้ช่วงดินแดง - ดอนเมือง รถ 4 ล้อ ปรับเพิ่มจาก 80 บาท เป็น 90 บาท
และช่วงดอนเมือง - อนุสรณ์สถาน จาก 35 บาท ขึ้นเป็น 40 บาท
ทำให้ค่าผ่านทางตลอดสายปรับจาก 115 บาท เป็น 130 บาท
ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยัน นโยบายในการลดภาระค่าเดินทางกับประชาชน
โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพิ่งมีข่าวดี
คือสรุปการเจรจากับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
หรือ BEM ลดค่าผ่านทางด่วน เหลือ 50 บาทตลอดสาย

ซึ่งแนวทางการปรับลดราคาดอนเมืองโทลล์เวย์นั้นจะ
เป็นรูปแบบเดียวกับที่กทพ.เจรจาลดค่าทางด่วน คือ
ให้เอกชนปรับลดราคาโดยจะมีการขยายสัญญาชดเชยให้เอกชน
ซึ่งให้กรมทางหลวง เร่งศึกษาความเหมาะสมและเจรจากับเอกชน

โดยดำเนินการภายใต้พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562
ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุป ชัดเจนภายใน 2-3 เดือนนี้
หรือเสร็จก่อนเดือนธ.ค. 2567

โค๊ด:
https://mgronline.com/business/detail/9670000053270

นักการเมือง ทุกคน ทุกสมัย
ไม่เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง
เอาเป็นว่า เงินทอน ให้เท่าไหร่ ? ว่ามา !!!!


กูว่าแล้ว นั่นไง อ้ายเฒ่าสารพัดพิษ
 cry2!!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2024, 11:23:29 AM »

มันมาแล้ว อดอยากปากแห้งมานาน

อิ่มหมีพีมัน กันทั่วหน้า มูมมาม ไม่รู้จักพอ
อ้ายตัวดูด ตัวพ่อเลยหละตัวนี้

“สุริยะ”พร้อมดันต่อขยาย”โทลล์เวย์” 3.1 หมื่นล.เข้าครม.อีกรอบ
หลังถอนเรื่องทบทวนรูปแบบ สรุปลงทุน PPP ยังดีที่สุด

โค๊ด:
https://mgronline.com/business/detail/9670000060221

 cry2!!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2024, 06:58:27 AM »

'ชาญชัย อิสระเสนารักษ์' ดักคอ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' รมว.คมนาคม
ปมขอลดค่าโทลล์เวย์เหลือ50บาท
แลกขยายเวลาเก็บค่าผ่านทาง30ปี
ทั้งที่2574จะครบกำหนดสัญญาและตกเป็นของรัฐ
ประชาชนผู้ใช้รถยนต์สามารถใช้ได้ฟรีอยู่แล้ว

กรณีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม
จะต่อสายตรงถึงนายสมบัติ พานิชชีวะ
ประธานกรรมการบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด(มหาชน)หรือDMT
ผู้ให้บริการทางยกระดับอุตราภิมุข หรือทางด่วนโทลล์เวย์
เพื่อขอให้ลดค่าผ่านทางเก็บเงินไม่เกิน50 บาทตลอดสาย
แลกกับการขยายสัญญาสัมปทานให้เก็บค่าผ่านทางเพิ่มอีก 30 ปี
โดยไม่ใช้วิธีการชดเชยเงินเพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ

นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตสส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าว
เกรงว่าเรื่องนี้จะซ้ำรอยกับค่าโง่ทางด่วนในอดีตยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
เมื่อปี 2548-2549 ที่บริษัท DMT อ้างว่า ขาดทุน
เพราะรัฐบาลขณะนั้นไม่อนุมัติให้ปรับขึ้นค่าผ่านทาง
และจัดเงินกู้ผ่อนปรนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน

อีกทั้งมีการย้ายการบริการจากสนามบินดอนเมืองไปสนามบินสุวรรณภูมิ
รวมทั้งรัฐสั่งปรับลดค่าผ่านทาง และเปิดให้ผ่านทางฟรี
โดยอ้างว่าเพื่อแก้ไขปัญหารถติดบนถนนวิภาวดีรังสิต

ต่อมาบริษัทวอเตอร์ บราวน์ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นในบริษัทDMT ที่เป็นบริษัทแม่
ได้นำเรื่องนี้ฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการในวัตที่  21 ก.ย. 2548
จากนั้นจึงมีการเจรจาต่อรองระหว่างกรมทางหลวงกับบริษัทDMT
สามารถเก็บค่าผ่านทางต่อได้เพิ่มอีก27 ปี และ
สามารถเก็บค่าผ่านทางจากผู้ใช้บริการผ่านทางด่วนเพิ่มได้อีก
ตามที่บริษัทเห็นควรโดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทDMT และ
บริษัท วอเตอร์ บราวน์ ต้องถอนฟ้องรัฐบาลไทยทุกเรื่องที่เคยตั้งเงื่อนไขไว้

น่าแปลกใจที่เมื่อรัฐบาลยอมแก้ไขโดยต่อสัญญาให้บริษัทเอกชนนี้
เก็บค่าผ่านทางได้อีก 27 ปีและเก็บเพิ่มค่าผ่านทางได้ทุกๆ 5 ปีแล้ว
กลับไม่มีการถอนฟ้องคดีที่ทั้งสองบริษัทได้ฟ้องร้องรัฐบาลไทย
โดยต่อสู้คดีกันมาถึงยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลลานนท์
ซ้ำยังแพ้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการที่ฮ่องกง

โดยข้อเท็จจริงเมื่อรัฐบาลไทยกระทรวงคมนาคม
ยอมแก้ไขสัญญาให้บริษัท DMT เก็บค่าผ่านทาง
และเพิ่มค่าผ่านทางได้ แต่กลับไม่ยอมถอนคดีที่ฟ้องในขั้นอนุญาโต
โดยกรมทางหลวงมีสิทธิยกเบิกข้อตกลงฉบับนี้
ตามสัญญาข้อที่ 6 จึงถือว่า เป็นการทำผิดสัญญา

"ขอถามนายสุริยะว่า
ครั้งนี้จะขยายเวลาให้บริษัทDMT ทำไมอีก30 ปี
เพราะถึงปี 2574 ทางด่วนโทลล์เวย์เส้นนี้
ก็จะครบสัญญาและตกเป็นของรัฐ
ประชาชนผู้ใช้รถยนต์สามารถใช้ได้ฟรีอยู่แล้ว
อย่าอ้างว่าจะลดค่าบริการให้เหลือ50บาท
แต่ให้บริษัทเอกชนเก็บเงินค่าโง่ได้อีก
คันละ50บาทตลอดอีก30ปี"


โค๊ด:
https://www.posttoday.com/politics/711352

ชาญชัย แนะรัฐบาลแก้ปัญหาค่าโง่ ดอนเมือง โทลเวย์

โค๊ด:
https://youtu.be/HZhQAqzwlYM?si=TC6WZqqn-yNVXVG0

 ไม่เอา
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2024, 08:01:23 AM »

มีความพยายามเอื้อประโยชน์นายทุน
ผ่านการขยายสัมปทานทางด่วนให้กับเอกชนเจ้าเดิม
ที่ถือสัมปทานดังกล่าวมายาวนาน
รวมถึงมีแผนหาสร้างทางด่วน
ตอนใหม่โดยให้กับเอกชนรายเดิม
แบบไม่ต้องประมูลไม่ต้องแข่งขัน
เป็นการหาช่องเพื่อขยายสัมปทาน

ดอนเมืองโทลล์เวย์หรือทางยกระดับอุตราภิมุข
ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าตามข้อตกลงในสัมปทาน
จะมีการขึ้นค่าผ่านทาง โดยอธิบายว่าทางยกระดับนี้ มี 2 ตอน
ได้แก่ ดินแดง-ดอนเมือง และ ดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน
ทั้ง 2 ตอนสร้างและอนุมัติไม่พร้อมกัน
แต่ผู้รับสัมปทานเป็นเจ้าเดียวกัน
โดยในปี 2532 รัฐบาลขณะนั้น
เปิดประมูลสัมปทานตอนที่หนึ่งเป็นเวลา 25 ปี
ตกลงค่าผ่านทางที่ 20 บาทตลอดสาย
แต่ต่อมาเกิดการแก้ไขสัมปทานรวม 3 ครั้ง
ครั้งแรกในปี 2538 ครั้งที่สองในปี 2539

ในการแก้ไขครั้งที่สอง รัฐบาลขณะนั้นอ้างว่า
ต้องการสร้างดอนเมืองโทลล์เวย์ตอนที่ 2
แต่รัฐบาลกลับไม่เปิดประมูล
กลับแก้ไขสัมปทานโดย
(1) ขยายสัมปทานตอนที่หนึ่ง จากเดิมจะจบในปี 2557
เพิ่มอีก 7 ปี รวมเป็น 32 ปี และ
(2) พ่วงสัมปทานตอนที่สอง ระยะเวลา 25 ปี ตั้งแต่ปี 2539-2564
โดยจิ้มเลือกเอกชนรายเดิมที่เป็นเจ้าของสัมปทานตอนที่หนึ่ง
กลายเป็นเอกชนรายเดียวกันได้ทั้งสองสัมปทาน
ต่อมาปี 2550 มีการแก้ไขรอบที่ 3
โดยขยายสัมปทานทั้งสองตอนให้กับเอกชนเจ้าเดิม
เพิ่มไปอีก 13 ปี กลายเป็นไปจบที่ปี 2577 ทั้งคู่

“นี่คือเทคนิคลับลวงพราง ที่พอจะเอื้อประโยชน์ให้กับทุนใหญ่
รายใดก็มักใช้วิธีพ่วงสัมปทานของเดิม
เพิ่มเติมด้วยส่วนต่อขยายใหม่
ผสมกันไปมั่วกันไปหมด อันเป็นการทั้งขยายสัมปทานเดิม
และประเคนสัมปทานใหม่โดยไม่ต้องมีการแข่งขันใดๆ”

ปีนี้ รัฐบาลเพื่อไทยก็เตรียมแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 4
เพื่อขยายสัมปทานให้กับเอกชนเจ้าเก่าอีกรอบ โดย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ปูทางว่าทางด่วนกำลังจะขึ้นราคา ประชาชนจะไม่ไหว
รัฐมนตรีบังเอิญเป็นห่วงประชาชนมาก
ทั้งที่เรื่องสำคัญอย่างอื่นเช่นรถเมล์ก็ไม่เห็นจะสนใจ
แต่พอเป็นเรื่องสัมปทานก็สนใจเป็นพิเศษ
เลยชงมาว่าจะต้องลดราคา ต่อสายเจรจาหาเอกชน
ซึ่งต้องถามว่ารัฐมนตรีคิดไปเองหรืออย่างไรว่า
หรือเอกชนจะใจดีไม่ขึ้นค่าทางด่วนให้ฟรีๆ ซึ่งเป็นไปไม่ได้
เพราะตามสัมปทานตกลงกันว่าต้องขึ้นราคา
แต่เมื่อรัฐมนตรีชง เอกชนก็รับลูกด้วยการบอกว่า
ถ้าไม่อยากให้ขึ้นราคาก็ต้องขยายสัมปทานอีกรอบ
แบบนี้ยิ่งเข้าทางรัฐมนตรี
อ้างเหตุสั่งให้กรมทางหลวงไปศึกษาคำนวณว่า
จะขยายสัมปทานอีกกี่ปี

จนถึงตอนนี้สัมปทานผ่านมาแล้ว 45 ปี จะจบปี 2577
แต่สิ่งที่รัฐบาลจะทำคืออยากขยายอีก
แบบนี้เรียกว่า “ขยายแล้ว ขยายอยู่ ขยายต่อ” หรือไม่
แทนที่เมื่อหมดอายุ ทางด่วนจะตกมาเป็นของรัฐบาล
รัฐบาลกลับสรรหาสารพัดข้ออ้างเพื่อขยายสัมปทานต่อไปเรื่อยๆ
ให้เป็นของเอกชนรายเดิมต่อไปเรื่อยๆ และ
ที่น่ากลัวกว่าคือ
รัฐบาลมีแผนที่จะออกสัมปทานตอนใหม่
คือตอนที่สาม รังสิต-บางปะอิน
ซึ่งอาจถูกนำไปพ่วงเป็นมูลเหตุขยายสัมปทานครั้งใหม่
โดยไม่มีการแข่งขัน

การเอื้อประโยชน์ให้นายทุนด้วยวิธีการแบบนี้
สัมปทานควรหมดแล้วหมดเลย
แล้วค่อยเปิดให้มีการแข่งขันใหม่อย่างเป็นธรรม
จึงขอเรียกร้องให้หยุดขยายสัมปทานเดิม
ประเคนสัมปทานใหม่ ทวงคืนทางด่วนให้ประชาชน


-----------------------------------------------------------------

การก่อสร้างทางด่วนศรีรัชชั้นที่ 2 หรือเรียกว่าโครงการ Double Deck 
อันที่จริงทางด่วนศรีรัชหมดอายุสัมปทานไปแล้ว
แต่ช่วงประมาณปี 2563 ดันมีการขยายสัมปทานออกไปอีก 15 ปี 8 เดือน
เพื่อแลกกับการที่เอกชนถอนฟ้องคดีต่อรัฐ
หรือรู้จักกันในนาม “ค่าแกล้งโง่” และในวันนี้
นายทุนใหญ่หน้าเดิมเล็งจะขยายสัมปทานเพิ่มอีก 22 ปี 5 เดือน
ทำให้สัมปทานทั้งหมดรวมกันจะจบที่ปี 2601

เมื่อหมดอายุสัมปทาน โครงสร้างของทางด่วนก็ควรกลับมาเป็นของรัฐ
รัฐสามารถบริหารจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนได้
เช่นอาจให้ขึ้นทางด่วนฟรี หรืออาจเก็บเงินเพื่อเอารายได้
มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่

แต่ตอนนี้กลับเกิดความดันทุรัง จะเร่งเซ็นสัญญาให้ได้ภายในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังติดปัญหาการประเมินผล
กระทบสิ่งแวดล้อม
(Environmental Impact Assessment – EIA)
และการเวนคืนที่ดิน
เช่นบริเวณใกล้สถานีกลางบางซื่อ
มีประชาชนที่คัดค้านการสร้าง Double Deck
เพราะได้รับผลกระทบจากการสร้างทางด่วนรอบแรก
ปัญหาสำคัญคือเมื่อมีการสร้างทางด่วน พื้นที่ใต้ทางด่วน
ก็จะเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
แทนที่ประชาชนจะได้ใช้พื้นที่ส่วนกลาง
เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน หรือพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ก็ไม่สามารถทำได้

ทั้งสองเรื่องข้างต้นมีความพยายามคล้ายกันที่จะหา “ข้ออ้าง”
เช่นลดราคา เพิ่มส่วนต่อขยาย แต่เนื้อหาที่แท้จริงคือ
การหาเหตุในการขยายสัญญาสัมปทาน
เก็บเงินจากประชาชนเข้ากระเป๋านายทุนมากขึ้นหรือนานขึ้น
โดยผู้มีอำนาจไม่ว่าจะคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีที่กำกับดูแล หรือหัวหน้าหน่วยงานราชการ
ทำไมจึงยอมให้นายทุนหาผลประโยชน์
จากประชาชนมากมายขนาดนี้

“สัมปทานคือสัญญา ในระหว่างสัญญาก็ควรปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญา
ซึ่งเมื่อหมดสัญญาแล้วก็ควรจบเลย
กลับมาเป็นของรัฐแล้วคิดโครงสร้างราคาใหม่ที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
โดยหากจะให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการต่อก็สามารถทำได้
แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรม
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ไม่ใช่ปิดห้องเจรจาลับแล้วหาเหตุขยายสัมปทานให้เจ้าเดิม
ทั้งนี้ หากรัฐบาลอยากลดราคาจริง โดยไม่แอบพ่วงโครงการ Double Deck
ก็สามารถทำได้โดยปรับสัดส่วนการแบ่งรายได้
ระหว่างรัฐกับเอกชน โดยไม่ต้องขยายสัมปทานแม้แต่ปีเดียว

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้คือ
รัฐบาลมีแผนที่จะนำเรื่อง
การขยายสัมปทานทางด่วนชั้นที่ 2 เข้าที่ประชุม ครม.
อันจะเป็นอีกครั้งที่เกิดการเอื้อประโยชน์ครั้งใหญ่ให้นายทุน
เป็นการหาสร้าง Double Deck เพื่อแลกกับ
การขยายสัมปทานออกไปอีก 22 ปี 5 เดือน
ทั้งที่สัญญาสัมปทานปัจจุบันยังเหลืออีกถึง 11 ปี
ทำให้สัมปทานลากยาวไปถึง 31 มีนาคม 2601
โดยไม่มีการแข่งขัน
จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมกันจับตา
รักษาผลประโยชน์ของประเทศ

ปัญหาทางด่วนโดยเนื้อแท้คล้ายกับปัญหารถไฟฟ้า คือ
ที่ผ่านมารัฐเอานายทุนผู้รับสัมปทานเป็นตัวตั้ง
มองทางด่วนเป็นท่อนๆ ทำให้ประชาชนต้องจ่าย
หลายท่อนแล้วรู้สึกแพง ถ้าจะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
ต้องคิดเรื่องโครงสร้าง “ค่าผ่านทางร่วม”
หมดสัมปทานต้องคืนรัฐ หากจะให้เอกชนร่วมดำเนินการ
ก็ต้องเกิดการประมูลใหม่อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส
เลิกหากินกับการปะผุปัญหาด้วยการหาเรื่องขยายสัมปทาน
แต่ต้องร่วมกันแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน

 cry2!!
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2024, 06:56:28 AM »

แจ้งข่าวดี!‘ดร.สามารถ’เผย‘กรมทางหลวง’
ไม่ขยายสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์

แจ้งข่าวดี!‘ดร.สามารถ’เผย
‘กรมทางหลวง’ ไม่ขยายสัมปทาน
ดอนเมืองโทลล์เวย์

10 สิงหาคม 2567 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์
อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า “เฮ ! ทล.
“ไม่ขยายสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์” ดังนี้...

เฮ ! ทล. “ไม่ขยายสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์”

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(สำนักงาน ป.ป.ช.) มีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567
ถึงกรมทางหลวง (ทล.) ให้ชี้แจง 5 ประเด็นคำถาม
เกี่ยวกับการขยายสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์
ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2577
ซึ่งสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต
สำนักงาน ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า
มีความเสี่ยงที่อาจทำให้รัฐเสียผลประโยชน์
และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนคู่สัญญา
โดยให้ ทล. ตอบภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 นั้น

ล่าสุดมีข่าวดีจากวงในแว่วมาว่า
คณะทำงานพิจารณาลดค่าผ่านทางแลกกับการขยายสัมปทาน
ซึ่งแต่งตั้งโดย ทล. ได้สรุปผลการศึกษาว่า
“ไม่เห็นด้วยกับการลดค่าผ่านทางแลกกับการขยายระยะเวลาสัมปทาน”
นั่นหมายความว่า ไม่เห็นด้วยที่จะขยายสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์
หลังสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 11 กันยายน 2577 !


แค่คำวินิจฉัย ผลการศึกษา

อนึ่ง ทล. ได้ให้สัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์แก่บริษัท
ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2532 เป็นเวลา 25 ปี
จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2557
แต่ก่อนสิ้นสุดสัญญามีการขยายสัมปทาน 2 ครั้ง

ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539
ขยายสัมปทานออกไป 7 ปี 3 เดือน 8 วัน
จนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 และ

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550
ขยายสัมปทานออกไป 12 ปี 9 เดือน 14 วัน
จนถึงวันที่ 11 กันยายน 2577
รวมระยะเวลาสัมปทานทั้งหมด 45 ปี 21 วัน !

ขอขอบคุณคณะทำงานฯ ของ ทล.
ที่ได้พิจารณาเรื่องนี้โดยคำนึงถึงประชาชน
ที่ต้องเดือดร้อนและเสียประโยชน์จากการที่รัฐ
จะขยายสัมปทานให้เอกชนผู้รับสัมปทานเป็นสำคัญ

โค๊ด:
https://www.naewna.com/business/821811

อะไรก็เกิดขึ้นได้กับ อำนาจของ "กังฉิน ยุคนี้"
เวลามีอีกนาน เคยได้ยินไหมคำว่า "เงินง้าง เกมส์พลิก"
ข้าราชการไทย ซ้ายหัน ขวาหัน อาหารตามสั่ง

 ไม่เอา
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2024, 07:47:08 AM »

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.)
ทล.กางภารกิจอธิบดีคนใหม่

ลุย PPP ต่อขยายโทลล์เวย์ มูลค่ารวมกว่า 8.7 หมื่นล้าน

โครงการมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ (M5)
สายรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม.วงเงินลงทุน 31,358 ล้านบาท
การลงทุนในรูปแบบ PPP Gross Cost โดย
รัฐเป็นผู้ลงทุนค่าเวนคืนที่ดิน
ส่วนเอกชนลงทุนก่อสร้างงานโยธา
และการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (O&M)
รัฐเป็นผู้ได้รับรายได้ค่าผ่านทาง และ
จ่ายค่าตอบแทนการให้บริการให้แก่เอกชน และ
รัฐใช้คืนค่าก่อสร้างภายหลัง
ใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์
จะเริ่มจ่ายค่างานโยธา
เมื่องานก่อสร้างเสร็จแล้ว


โค๊ด:
https://mgronline.com/business/detail/9670000076811

 พุธ 21 ส.ค. 2567
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 14016


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2024, 05:36:16 PM »

ขยายสัมปทาน ดอนเมืองโทลล์เวย์ขายชาติ ? | คุยกับลุงช่าง

โค๊ด:
https://youtu.be/smGIpzmUia4?si=dhljdBD5XZR0bwMr

 เศร้าจัง

 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18879


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: กันยายน 01, 2024, 09:53:07 AM »

 THANK!! wav!!
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!