คลังสรุปจำนำข้าวขาดทุน 5 แสนล้าน ข้าวสารหายอีก 3 ล้านตัน
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 08:57:42 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คลังสรุปจำนำข้าวขาดทุน 5 แสนล้าน ข้าวสารหายอีก 3 ล้านตัน  (อ่าน 6392 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2014, 11:07:14 AM »

ผู้จัดการรายวัน - คสช.ถกผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง ผงะผลตรวจสอบบัญชีพบตัวเลขขาดทุนจำนำข้าวพุ่งสูง 5 แสนล้านบาท ส่วนตัวเลขข้าวสารหายจากสต๊อกอีก 2.8 ล้านตัน ตรวจสอบแล้วไม่มีข้าวอยู่จริง เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี ซ้ำมีข่าวเสื่อมคุณภาพรอตีราคาอีก คาดยอดขาดทุนจริงเกิน 5 แสนล้านแน่
       
       วันนี้ (26 พ.ค.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารกระทรวงการคลัง และผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 ว่า คสช.ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป โดยเน้นด้านการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนผ่านทางการจ่ายเงินให้ชาวนาโดยเร็วที่สุดจากจำนวนที่ค้างทั้งสิ้น 9.2 หมื่นล้านบาท โดยจะใช้เงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ส่วนหนึ่งและใช้เงินกู้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งน่าจะช่วยดันให้จีดีพีขยายตัวได้อีก 0.2% หรืออย่างน้อยอยู่ที่ 2.2% รวมทั้งให้เข้าไปสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ชาวนาสำหรับการปลูกข้าวฤดูการผลิตใหม่ที่จะถึงนี้ด้วยทั้งปุ๋ย พันธุ์ข้าวและอื่นๆ
       
       นอกจากนั้น อีกเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน คือ การผลักดันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2557 ที่ค้างอยู่ออกไปโดยเร็ว และเริ่มให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อเริ่มกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ทันทีเพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันวันที่ 1 ต.ค. 2557 นี้ โดยเบื้องต้นจะมีวงเงินไม่มากนักเพื่อไม่ให้ผูกพันในระยะยาว โดยให้เน้นที่โครงการจำเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐานและรักษาวินัยการเงินการคลังเป็นหลัก
       
       ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่า ธ.ก.ส.พร้อมจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่รอเงินรับจำนำข้าวกว่า 800,000 ราย วงเงินกว่า 90,000 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยจะทยอยจ่ายเงินดังกล่าวตามคิวใบประทวนที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วตามลำดับก่อนหลังอย่างเคร่งครัดโปร่งใสตั้งแต่วันนี้ และคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 1 เดือนนับจากนี้ ซึ่งเงินที่จะนำมาใช้หมุนเวียนจะมาจาก เงินกองทุนช่วยเหลือชาวนา และเงินกู้ยืมที่กระทรวงการคลังจัดหามาให้ในวงเงินไม่เกิน 92,431 ล้านบาท ทั้งนี้ ในระหว่างที่รอการกู้เงิน ธ.ก.ส.จะสำรองจ่ายไปก่อนในวงเงินไม่เกิน 40,000 ล้านบาท เพื่อให้เงินถึงมือเกษตรกรอย่างรวดเร็ว ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันและรับผิดชอบชำระคืนต้นเงิน ดอกเบี้ยตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานทั้งหมด
       
       สำหรับผลการดำเนินงาน โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ณ วันที่ 23 พ.ค. 2557 มียอดใบประทวนรวมทั้งสิ้น 1,671,720 ราย ข้าวเปลือก 11.64 ล้านตัน จำนวนเงิน 192,950 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินไปแล้ว ณ ปัจจุบันจำนวน 833,182 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 6.29 ล้านตัน จำนวนเงิน 103,019 ล้านบาท จากยอดจัดสรรทั้งหมด 105,500 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินงบประมาณและเงินจากการระบายข้าว ของกระทรวงพาณิชย์ 75,000 ล้านบาท เงินกองทุนช่วยเหลือชาวนา 10,500 ล้านบาท และงบกลางที่รัฐบาลยืมจาก กกต.อีก 20,000 ล้านบาท
       
       ผงะ! ขาดทุนบักโกรก 5 แสนล้าน
       
       มีรายงานว่า คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้ตรวจสอบผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในช่วง 2 ปีกว่า (2554/2555, 2555/2556, 2556/2557) พบว่ามีผลขาดทุนสูงขึ้นกว่าเท่าตัว หรือขาดทุนกว่า 5 แสนล้านบาท เนื่องจากราคาขายต่ำกว่าราคาต้นทุน 1.5 หมื่นบาทต่อตัน โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้คำนวณต้นทุนข้าวเปลือกที่แปรสภาพเป็นข้าวสารไว้เฉลี่ยที่ราคา 2.3 หมื่นบาทต่อตัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวไปที่ราคา 1.2-1.4 หมื่นบาทต่อตัน และเมื่อเป็นรัฐบาลรักษาการได้ขายข้าวไปด้วยราคาเพียงตันละ 8 พันบาทเท่านั่น ทำให้มีส่วนต่างราคาขายกับราคาต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งทำให้โครงการรับจำนำข้าวขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 5 แสนล้านบาท
       
       นอกจากนี้ ยังพบว่าข้าวสารหายไปจากสต๊อกอีกราว 2.8 ล้านตันนั้น ปรากฏว่าในสต๊อกไม่ได้มีข้าวอยู่จริง เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น และยังพบว่ามีข้าวเสื่อมคุณภาพอีกจำนวนมากที่ยังรอให้เซอร์เวเยอร์ตีราคา ซึ่งหากมีการตีราคาแล้ว คาดว่าจะทำให้ผลขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวจะเพิ่มมากกว่า 5 แสนล้านบาท


บันทึกการเข้า

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2014, 09:22:49 PM »

เงินจากภาษีพวกเราทั้งนั้น มันเอาไปทำเล่นกัน ไม่เอา เศร้าจัง
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12083

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2014, 07:53:02 AM »

มันยังบอกว่ามันไม่ผิดอีก

มันยังบอกว่าข้าวไม่ได้หายมากอย่างนั้น

แค่ 1ล้านตันก็ขนกันไม่ไหวแล้ว

ไอ้ควาย มันไม่ได้หายแบบนั้น

มันหายเพราะมันไม่เคยมีต่างหาก

มันมีแต่ตัวเลข

มันไม่เคยมีข้าวตั้งแต่แรกแล้ว
บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออนไลน์ ออนไลน์

กระทู้: 18613


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 12:23:53 PM »



คลังระบุ ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5-6 ปี ในการชำระหนี้ 5 แสนล้านบาทจากโครงการจำนำข้าว ระบุถือเป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี เผยเฉพาะดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้แต่ละปีสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ดันระดับหนี้สาธารณะเพิ่มกว่า 6% นับจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาบริหารประเทศ

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ประเมินภาระผลขาดทุนจากโครงการจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในช่วง 5 ฤดูการผลิต พบว่าสร้างภาระหนี้ถึง 5 แสนล้านบาท จะต้องใช้เวลาการชำระหนี้อย่างน้อย 5-6 ปี ในจำนวนนี้ถือเป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายที่ต้องจ่ายสำหรับดอกเบี้ยและเงินต้นในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก

"ผลขาดทุนของโครงการจำนำข้าว และภาระดอกเบี้ยเงินกู้นั้น รัฐบาลจะต้องตั้งงบประมาณในแต่ปีเพื่อชำระ ขณะที่ในแต่ละปี รัฐบาลมีภาระต้องตั้งงบชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยจากการกู้เงินไม่ถึงปีละสองแสนล้านบาท โดยปีงบประมาณ 2557 ตั้งงบชำระหนี้เงินต้น 5.28 หมื่นล้านบาท และงบชำระดอกเบี้ย 1.33 แสนล้านบาท" แหล่งข่าว กล่าว

ทั้งนี้ โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์และรัฐบาลก่อนหน้านั้น ได้ใช้เงินกู้ไปแล้วรวม 7.3 แสนล้านบาท มีดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 3 % จะมีภาระดอกเบี้ยปีละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท และผลขาดทุนต้องตั้งงบประมาณชำระหนี้ในแต่ละปีด้วย

สำหรับผลขาดทุนของโครงการจำนำข้าวก่อนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รวม 13 โครงการ มีภาระขาดทุนกว่า 1 แสนล้านบาท ส่วนผลขาดทุนของโครงการรับจำนำข้าวภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่นักวิชาการคาดว่า จะมีผลขาดทุนไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท และอาจสูงถึง 5 แสนล้านบาท จากการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดกว่า 40 % รวม 5 ฤดูกาลผลิต

หากรัฐบาลระบายข้าวในสต็อกล่าช้า ภาระหนี้เงินกู้ของโครงการนี้ ก็จำเป็นต้องต่อายุหนี้หรือ ROLL OVER ออกไป โดยในแต่ละปีจะมีภาระหนี้ของโครงการรับจำนำที่จะต้อง ROLL OVER ออกไปราว 1.5 แสนล้านบาท

"การ ROLL OVER หนี้ก้อนนี้ออกไป ก็จะมาเบียดวงเงินที่กระทรวงการคลัง จะสามารถค้ำประกันให้แก่รัฐวิสาหกิจ ซึ่งตามพ.รบ.บริหารหนี้สาธารณะ มาตรา 28 ระบุว่า ในปีงบประมาณหนึ่ง กระทรวงการคลัง จะค้ำประกันได้ไม่เกิน 20 % ของงบประมาณรายจ่ายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม" แหล่งข่าว ระบุ

ปัจจุบัน ภาระการค้ำประกันของกระทรวงการคลัง ยังอยู่ในระดับไม่ถึง 10 % ของงบประมาณรายจ่าย โดยในปีงบประมาณ 2557 อยู่ที่ 9.88 % ทำให้ยังมีช่องว่างเพียงพอที่จะรองรับการ ROLL OVER

ทั้งนี้ ปัจจุบัน หนี้สาธารณะของรัฐบาลอยู่ที่ 46.07% หรือประมาณ 5.550 ล้านล้านบาท สูงขึ้นกว่าช่วงปลายปี 2554 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ ซึ่งอยู่ที่ 40.78% โดยภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นมาส่วนใหญ่ มาจากโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล

ส่วนในการจัดหาเงินกู้มาชำระเงินค่าข้าวให้กับชาวนา ตามโครงการจำนำข้าวรอบที่สอง วงเงิน 4 หมื่นล้านบาทนั้น กระทรวงการคลังได้ส่งหนังสือเชิญชวนสถาบันการเงินจำนวน 32 แห่ง เพื่อเข้าร่วมประมูลเงินกู้ในลักษณะ Term Loan อายุ 3 ปี เพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าวรอบที่สองวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท โดยกำหนดวงเงินขั้นต่ำในการประมูลที่ 2 พันล้านบาท เปิดประมูลวันที่ 12 มิ.ย.นี้ และ กำหนดการเบิกเงินกู้ทั้งจำนวนในวันที่ 19 มิ.ย.นี้

ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ดำเนินการจัดหาเงินและค้ำประกันให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ในลักษณะTerm Loan โดยธนาคารออมสินชนะการประมูลทั้งจำนวน ด้วยอัตราดอกเบี้ย BIBOR -0.1% หรือ 2.1792%



ขอบคุณ .bangkokbiznews.com
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!