รวมพื้นที่ ภัยแล้ง ปี 2556...ตรังประกาศพิบัติภัยแล้ง 3 อำเภอ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 24, 2024, 03:11:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมพื้นที่ ภัยแล้ง ปี 2556...ตรังประกาศพิบัติภัยแล้ง 3 อำเภอ  (อ่าน 2969 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18651


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 12, 2013, 07:13:14 PM »



ตรังประกาศพิบัติภัยแล้ง 3 อำเภอ 10 ตำบลชาวบ้านเดือดร้อน 1 หมื่นคน

นายสรลักษณ์ เทียบพุฒ รักษาราชการแทน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง กล่าวว่า  ขณะนี้จังหวัดตรังได้ประกาศพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว จำนวน 3 อำเภอ  ซึ่งที่รุนแรงมากที่สุดก็คือ อ.หาดสำราญ โดยมีผู้ได้รับผลกระทบทั้ง 3 ตำบล  ประกอบไปด้วย ต.หาดสำราญ บ้าหวี และ ตะเสะ  โดยเฉพาะที่บริเวณหมู่บ้านปากปรน หมู่ที่ 1 ต.หาดสำราญ  เนื่องจากมีสภาพพื้นที่อยู่ติดกับฝั่งทะเลอันดามัน  ขณะที่บ่อน้ำจืดที่มีอยู่ก็ค่อนข้างจะแห้งขอดลงไปบ้าง  จึงเกิดความเดือดร้อนในเรื่องของน้ำเพื่อการบริโภค-อุปโภค  แต่หลายฝ่ายได้เข้าไปทำการช่วยเหลือและแจกจ่ายน้ำให้แล้ว
                   
ขณะที่อ.ปะเหลียน ก็มีผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งแล้ว 5 ตำบล  ประกอบไปด้วย ท่าข้าม  ลิพัง ทุ่งยาว แหลมสอม และ บ้านนา  ส่วน อ.กันตัง มีผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งแล้ว 2 ตำบล  ประกอบไปด้วย คลองชีล้อม และ โคกยาง  รวมผู้ได้รับผลกระทบทั้งจังหวัดตรัง ประมาณ 1 หมื่นคน  แต่ถือว่าสถานการณ์ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง  เพราะแม่น้ำลำคลองโดยทั่วไปยังพอมีน้ำเหลืออยู่อีก  และเกิดปัญหาเฉพาะน้ำเพื่อการบริโภค-อุปโภค  ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังสามารถรับมือได้ไหว  แต่คงต้องรอดูต่อไปว่าฝนจะทิ้งช่วงยาวนานแค่ไหน อย่างไร

-----------------------
http://www.108kaset.com/board/index.php?topic=1541.0


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18651


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 18, 2013, 12:33:16 PM »

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกษตรกรปลูกถั่วฝักยาว ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงกลับถอดใจและเตรียมรื้อแปลงถั่วฝักยาว ที่ปลูกและเริ่มให้ผลผลิต แต่ไม่ได้เป็นดั่งเช่นทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย แปลงถั่วฝักยาวขาดน้ำ ซ้ำเกิดโรคระบาด แปลงบางส่วนเริ่มยืนต้นตาย
นางรุ่ง นวลเขียว กล่าวว่า เลือกปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อย ช่วงหน้าแล้ง พร้อมขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ แต่ด้วยปีนี้ภัยแล้งรุนแรง น้ำที่เก็บไว้ในสระแห้งขอด ไม่เพียงพอ แม้จะพยายามเจาะบ่อบาดาลไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมารดแปลงถั่วฝักยาวที่ปลูกไว้ 1 ไร่ ที่อยู่ในช่วงบำรุงฝักที่กะลังเริ่มให้ผลผลิตที่ใกล้เก็บขาย โดยถั่วฝักยาวปลูกเพียง เดือนครึ่งก็สามารถให้ผลผลิตเก็บขายได้ แต่ปีนี้น้ำไม่เพียงพอ ช่วงดอกปรับเป็นฝัก ทำให้ฝักไม่ได้ขนาด ประกอบกับเกิดโรคระบาดไรขาว ไรแดง เกาะตามต้นถั่ว ทำให้ใบเหลือง ต้นทรุดโทรมเร็วกว่าปกติ ดอกล่วงผลผลิตลดลง
จากปกติเก็บผลผลิตขายทุกวันเฉลี่ย วันละ 70-80 กิโลกรัม แต่ปีนี้ต้องเก็บวันเว้นวัน ได้ผลผลิตครั้งละ 30 กิโลกรัม หากต้องบุรงต้นทั้งน้ำและกำจัดศัตรูด้วยสารเคมีต้องมีต้นทุนเพิ่มสูง จึงยอมขาดทุนเลือกเก็บผลผลิตที่พอได้ส่งขายและปล่อยให้ยืนต้นตาย รอฝนเพื่อปลูกพืชอย่างอื่นแทน

----------------------
http://www.108kaset.com/board/index.php?topic=1541
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18651


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 19, 2013, 10:48:48 AM »

ภัยแล้งน้ำเขื่อนสิริกิติ์ต่ำสุด กระทบแพท่องเที่ยว


วันที่ 19 มีนาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ฝนที่ทิ้งช่วง ทำให้น้ำที่ไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาณวันละ 3 ล้าน ลบ.เมตร และมีปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานได้ร้อยละ 20 หรือ 1,316 ล้าน ลบ.เมตร ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำสุดในรอบ 36 ปีของการก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ด้วยปริมาณน้ำที่ลดต่ำกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ยึดอาชีพแพท่องเที่ยวและสร้างแพเป็นที่อยู่อาศัยที่เขื่อนดินช่องเขาขาด บ้านท่าเรือ หมู่ 9 ตำบลบท่าปลา อำเภอท่าปลา

นายเกียรติพันธ์ รังสีสาคร นายก อบต.ท่าปลา กล่าวว่า สภาพของเขื่อนดินช่องเขาขาด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีแพท่องเที่ยวให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อชมความสวยงามของเขื่อนสิริกิติ์ ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปริมาณน้ำเขื่อนที่มีน้อยมาก จนสามารถมองเห็นเนินดินและชาวบ้านบางส่วนนำโค กระบือ ลงไปเลี้ยง ประชาชนนำรถยนต์ ขับลงไปยังบริเวณอ่างเก็บน้ำดังกล่าวได้

ทั้งนี้ น้ำลดลงต่ำ ส่งผลเจ้าของแพไม่สามารถลากจูงแพท่องเที่ยวกว่า 100 ลำไปตามระดับน้ำที่ลดลงได้ทัน เนื่องจากต้นทุนในการลากจูงที่สูง บางรายจำใจปล่อยแพพุพังอยู่บนเนินดิน ปีนี้ระดับน้ำต่ำอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนจากที่เคยลากแพออกจากพังไปตามความลึกของน้ำประมาณ 10 กิโลเมตร แต่ปีนี้เกือบ 20 กิโลเมตร ผู้ประกอบการยังต้องลงทุนเดินสายไฟจากฝั่งไปยังแพ จัดทำป้ายบอกทาง เมื่อสู้ต้นทุนลากจูงไม่ต่ำกว่า 5,000 ต่อลำไม่ไหวจึงต้องทิ้งแพ แพที่พังเสียหายหากต้องสร้างใหม่ต้องทุนสูงถึง 200,000 บาทต่อแพหนึ่งลำ

"ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึง หากยังไม่มีฝนตก และปริมาณน้ำยังลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จากที่แพท่องเที่ยวมีรายได้จากนักท่องเที่ยวและประชาชนที่หลั่งไหลมาเที่ยวสงกรานต์ รับประทานอาหารบนแพ ปีนี้รายได้คงหดหาย"นายก อบต.ท่าปลากล่าว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!