ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ทำไมต้องมีมุมห่างกัน 120 องศา?
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
พฤษภาคม 29, 2024, 01:00:56 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ทำไมต้องมีมุมห่างกัน 120 องศา?  (อ่าน 9844 ครั้ง)
dos2012
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 10:45:41 AM »

- อยากทราบว่า ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ทำไมต้องมีมุมห่างกัน 120 องศา
- ถ้าเราทำให้มุมห่างกัน 30 องศาจะมีผลอย่างไรครับ? (กระแสจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างครับ)

ขอบคุณล่วงหน้าครับ..


บันทึกการเข้า

litledoll
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 32


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 11:15:14 AM »

เพราะ 1 รอบ เท่ากับ 360 องศา เมื่อหาร 3 จะได้ 120 ครับ

ถ้าเปลี่ยนเป็น 30 องศา จะได้เฟส เท่ากับ 360/30 = 12  จะได้เป็น 12 เฟส (ที่ 360 องศา)
บันทึกการเข้า
BIRD4K33
Full Member
member
**

คะแนน25
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 02:38:13 PM »

อันนี้ต้องมองลักษณะทางกายภาพดูครับ  โดยปกติกับมอเตอร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเฟสเดียว จะมีตัวเหนี่ยวนำเพียงตัวเดียว เมื่อมันหมุน 1รอบ(หมุนเป็นวงกลม) หรือ 1 cycle  มันก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าที่คาบเวลา 1รอบ ที่ 360 องศา (ถ้าทำให้มันหมุน 50 รอบต่อวินาที ก็จะได้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตออกมาที่ 50 Hz)  ที่นี่เรามามองแบบ 3 เฟสบ้าง  การออกแบบ 3 เฟสเขาทำมาก็เพิ่มกำลังงานระบบให้มันสูงขึ้น(ชดเชยกำลังงานช่วงคาบเวลาที่กระแสไฟฟ้าในตัวเหนี่ยวนำลดลง)  ในเมื่อต้องกระแสไฟฟ้า 3 เฟส ก็ต้องใช้ตัวเหนี่ยวนำ 3 ตัว  การวางตัวเหนี่ยวนำจำเป็นต้องวางตำแหน่งต่างมุมกัน 120 องศา (360 หาร 3)  ทั่งนี้เพื่อให้ 1 รอบการหมุน ก็ให้ผลิตกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องกันพอดี ที่นี้ลองมานึกดูน่ะครับ ถ้าเราสมมุติมาวางใหม่ที่มุม 90 องศา จะเกิดอะไร   
ให้เฟสแรกทำงานที่ 0 องศา  กระแสไฟฟ้าขาลงก็จะไปจบที่ 360 องศา
ให้เฟสที่2 ทำงานที่ 90 องศา กระแสไฟฟ้าขาลงก็ะไปจบที่ 90 องศาใน cycle ถัดไป
ให้เฟสที่3 ทำงานที่ 180 องศา กระแสไฟฟ้าขาลงก็ะไปจบที่ 180 องศาใน cycle ถัดไป
ครบตามเรากำหนดแล้ว  แต่ว่ากระแสไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำที่มุม ระหว่าง 270 - 360 ไม่มีการเหนี่ยวนำ ก็จะทำให้กำลังงานในช่วงนี้ลดน้อยลง  ถ้าจะสังเกตเห็นว่ากำลังงานเฉลี่ยในทุกคาบของเวลา ก็จะสูงๆต่ำๆ  กำลังงานจะไม่คงที่และไม่ต่อเนื่อง คล้ายลักษณะกระพืมวูบวาบ จึงไม่เหมาะสมจ่ายเป็นกำลังงานออกไปครับ
บันทึกการเข้า

เราสามารถแสวงหาความสุขได้ด้วยการวางตนแบบมัชฌิมาปฏิปทา
dos2012
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 03:22:28 PM »

ขอบคุณมากเลยครับ แบบว่าชัดเจนเลย

ว่าแต่ถ้าวางตัวนำห่างกัน 30 องศา กำลังไฟฟ้าจะมีค่า รูท12xUxIxcosเซต้า หรือเปล่าครับ

แล้วทำไมเราถึงเลือกใช้ระบบ 3 เฟส หรือว่าเพราะมันสเถียรที่สุดแล้วครับ

ขอบคุณครับ..
บันทึกการเข้า
BIRD4K33
Full Member
member
**

คะแนน25
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 126


« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 10:36:29 PM »

ปกติแล้วสูตร 3 เฟส เขาใช้ P=SQRT of 3 .V.I .cosΘ  ฟอร์มเดียวกับคุณดอส  แต่กรณีการวางตัวนำให้ห่างกัน 30 องศานี้ ผมไม่ัมั่นใจเลยว่าจะใช้สูตร SQRT of 12 ...... ไหมครับ  เพราะเวลาใช้งานจริงแล้ว ขดลวดทั้งหมดจะถูกรวมเข้าด้วยกัน  ซึ่งไม่เหมือนกับแบบ 3 เฟส ที่มีแค่ตัวนำ 3 ตัว เลยครับ (1 4 7 10,  2 5 8 11  ,3 6 9 12)

ผู้ที่เลือกใช้ระบบ 3 เฟส ส่วนใหญ่ก็คำนึกถึงการที่ระบบสามารถจ่ายกำลังได้สูง ระบบแบบไม่มีขีดจำกัด อันนี้ก็เพื่อมุ่งหวังให้ระบบสามารถรองรับภาระ load ที่ดึงกระแสสูงๆได้   ดังนั้นในตามโรงงาน  และห้างร้านใหญ่ๆ  ก็จะเลือกใช้ไฟฟ้าแบบ 3 เฟส  อีกอย่างก้ด้วยเพราะระบบแบบนี้จะมีกำลังสูญเสียน้อยกว่าเฟสเดียว  เรียกได้ว่ามีประสิทธภาพสูงมากกว่าเฟสเดียวอยู่มาก  แต่ถ้าหากพูดถึงเรื่องเสถียรภาพแล้ว เรื่องการทำงานโดยสนองต่อ load ได้ตลอดเวลาของระบบ  จะเรียกว่ามันมีเสถียรภาพสูง ก็มิผิด ไม่แปลกเลยครับ   
บันทึกการเข้า

เราสามารถแสวงหาความสุขได้ด้วยการวางตนแบบมัชฌิมาปฏิปทา
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!