ชื่อว่าการให้
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชื่อว่าการให้  (อ่าน 1591 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 02:59:22 PM »

พระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
กินททสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ ว่า
อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท
โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสยํ อมตนฺทโท จ โส โหติ โย ธมฺมมนุสาสติ
แปลว่า
บุคคลให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง
ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้ยาน ชื่อว่าให้ความสุข
ให้ประทีป ชื่อว่าให้จักษุ
และผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนที่พร่ำสอนธรรม ชื่อว่าให้อมตะ
อธิบายขยายความ
๑. บุคคลให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง (อันนะโท พะละโท โหติ) ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชีวิต                ดำเนินไปได้ คือ อาหาร ถ้าขาดอาหารแล้วก็จะเป็นอยู่ไม่ได้ ต้องอาศัยการบริโภคอาหาร  (กวฬิงการาหาร แปลว่า อาหาร คือคำข้าว) จึงจะทำให้ร่างกายมีกำลัง
๒. ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ (วัตถะโท โหติ วัณณะโท) คนรูปงาม แต่สวมใส่เสื้อผ้าสกปรก             ดังผ้าขี้ริ้ว และคนที่ไม่มีเสื้อผ้า ย่อมเป็นผู้น่าเกลียด ถูกเหยียดหยาม ไม่น่าดู คนที่ใส่เสื้อผ้าเรียบร้อย ปกปิดมิดชิดดี ทำให้ผิวพรรณของผู้สวมใส่ดูเปล่งปลั่ง มีสง่าราศรี มีเสน่ห์
๓. ให้ยาน ชื่อว่าให้ความสุข (ยานะโท สุขะโท โหติ) คำว่า “ยาน” หมายถึง สิ่งที่ยังการไปให้สำเร็จ มีรองเท้า ไม้เท้า และร่ม เป็นต้น เป็นความจริง คนผู้ได้สวมรองเท้าแล้วเดินไปใน         พื้นที่ร้อน มีไม้เท้าช่วยพยุงกาย และกางร่มเพื่อกันแดดกันฝน ย่อมได้รับความสุข
๔. ให้ประทีป ชื่อว่าให้จักษุ (ทีปะโท โหติ จักขุโท) คนมีตาดี ไม่สามารถมองเห็นที่มืดได้          ถ้าไม่ได้ ประทีป (โคมไฟ, ไฟฉาย หรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแสงสว่าง) เมื่อได้ประทีปแล้ว              จึงทำกิจธุระต่าง ๆ ได้
๕. และผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง (โส จะ สัพพะทะโท โหติ โย ทะทาติ           อุปัสสะยัง) คนเข้าที่พักอาศัยเมื่อได้พักผ่อนย่อมได้กำลัง เมื่อเที่ยวไปภายนอก ผิวพรรณย่อมหมองคล้ำไปด้วยลมและแดด เมื่อเข้าที่พักนอนหลับสักครู่ ผิวพรรณก็สดใส อันตรายที่เกิดจากสัตว์ร้ายมีงูเป็นต้น และโจรภัย ย่อมไม่มีในเมื่อเข้าสู่ที่พัก เมื่อสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา กำหนดนามรูป (รูปยืน, รูปเดิน, รูปนั่ง, รูปนอน) หรือ อารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ความสุขย่อมเกิดขึ้น
๖. ส่วนที่พร่ำสอนธรรม ชื่อว่าให้อมตะ (อะมะตันทะโท จะ โส โหติ โย ธัมมะมะนุสาสะติ)
ผู้สอนธรรม สอนบาลี สอนอรรถกถา แก้ปัญหาที่ถูกถามแล้ว สอนกรรมฐาน ชื่อว่าพร่ำสอนธรรม การให้ธรรมนี้เท่านั้น เป็นเลิศกว่าการให้ทั้งหมด สมจริงดังพระพุทธพจน์ว่า
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
แปลว่า
การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง
รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
ขออนุโมทนาต่อคุณโยมผู้มีจิตศรัทธาประกอบด้วยปัญญาได้ตั้งใจถวายอาหารบิณฑบาต           
ผ้าไตรจีวร รองเท้า ร่ม ถวายความสะดวกแก่พระภิกษุ-สามเณร ถวายค่าน้ำ-ค่าไฟบำรุงวัด         
สร้างเสนาสนะถวายสงฆ์ และช่วยกันสอนธรรมะ บอกกล่าวสิ่งที่ถูกต้องตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
วันนี้ ! เราได้เริ่ม “ให้” แล้วหรือยัง ?

ข้อมูลจากพระอาจารย์มหาสุรศักดิ์ ธนปาโล ปธ. 9 วัดชลประทาน
โดย  ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี (tvb)  ๘ ก.พ. ๒๕๕๔


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: