'เป็นทุกข์' เพราะข่าวภัยพิบัติ
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'เป็นทุกข์' เพราะข่าวภัยพิบัติ  (อ่าน 1125 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: เมษายน 19, 2011, 06:55:47 PM »

เมื่อได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติโลก
รู้สึกจิตตกมาก เป็นทุกข์มาก ไม่รู้จะทำอย่างไร


ก่อนจะตอบทำอย่างไรกับทุข์ เราอาจต้องหาสาเหตุของทุกข์ก่อน
นั่นคือ เมื่อมีทุกข์ ก็หาสมุหทัย
สาเหตุของทุกข์อาจไม่ใช่ภัยพิบัติ
แต่สาเหตุสำคัญหรือสาเหตุส่วนใหญ่คือ 'ความกลัวตาย'

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับความจริงก่อนว่า 'เรากลัวตาย'
แม้บางคนจะอ้างโน่นอ้างนี่ เช่นว่า ไม่กลัวตายแต่ยังห่วงคนโน้นคนนี้
หรือยังมีภาระ ยังอยากทำโน่นทำนี่ก็ตาม
หากตราบใดเราไม่ยอมรับความจริง
เหมือนวินิจฉัยโรคไม่ตรงแล้วหมอจะรักษาได้ถูกโรคได้อย่างไร

เรื่องนี้น่าจะมีประโยชน์แม้ผู้ที่ไม่กลัวตาย
เพราะอาจนำไปบอกเล่าแก่ผู้ยังมีความกลัวตายให้คลายทุกข์ลงได้


การกลัวตายน่าอายไหม ?
กลัวตายไม่น่าอายหรอก นึกว่าจะอยู่ยั้งค้ำฟ้าต่างหาก
น่าอายที่เข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง (ดังตฤณ)


หากถามว่าการกลัวตายนั้นเป็นสิ่งที่ผิดหรือไม่ ?
ก่อนที่จะตอบว่าผิดหรือไม่ เราขอตอบก่อนว่า 'ไม่ผิดปกติ'

การกลัวตายไม่ใช่สิ่งผิดปกติ
การกลัวความตายนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของสัตว์โลก
ความกลัวตายนั้นเกิดจาก ‘สักกายทิฐิ’ คือการยึดถือขันธ์ 5 หรือร่างกาย
‘สักกายทิฐิ’ นี้เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เหนี่ยวรั้งสัตว์ไว้ในวัฏสงสาร

เราอยู่กับการยึดถือร่างกายว่าเป็นของเรา คือมี ‘สักกายทิฐิ’ นี้มานานนับหลายอสงไขยกับป์
แล้วเหตุไรที่การพยามพร่ำกล่าวว่า “ทำไมต้องกลัวตาย เพราะยังไงก็ต้องตายอยู่ดี” จะช่วยให้หายกลัว

การกล่าวทำนองเพียงเท่านี้ไม่อาจทำให้ปุถุชนหายจากความกลัวตายไปได้

บางครั้งท่านผู้รู้ที่กล่าวปรามไม่ให้ผู้อื่นกลัวตายนั้น
ท่านผู้รู้นั้นอาจลืมไปว่าก่อนหน้าที่ท่านจะไม่กลัวตายเช่นทุกวันนี้นั้นตัวท่านเองต้องผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง
จึงไม่กลัวตายอย่างที่ท่านเป็นเช่นวันนี้

คนที่ไม่กลัวความตาย มีอยู่ 3 พวก คือ

1. พระอรหันต์ เป็นผู้หมดกิเลสแล้ว ท่านตัด ‘สักกายทิฐิ’ ได้เด็ดขาด ความกลัวตายจึงไม่มีแก่ท่าน

2. ผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ที่เตรียมตัวเตรียมใจไว้พร้อมแล้ว ทำความดีไว้พร้อมแล้ว
มั่นใจในตัวเองว่า ได้ทำที่พึ่งไว้ดีแล้ว ถ้ามีการเกิดอีก ก็เชื่อว่าตนต้องเกิดในที่ดี

3. ผู้มีกิเลสหนาตัณหาจัด เช่น โลภจัดกำหนัดกล้า โทสะกำลังแรง หลงจัด
คนที่ตกอยู่ในสภาพนี้ เช่นบางคนที่ บ้าบิ่น หรือ บ้าระห่ำ ก็ไม่กลัวตาย
แต่เมื่อกิเสสตัณหาลดลงก็กลัวตายเช่นกัน
ยังอาจรวมถึงพวกที่ถูกกรรมบีบคั้นด้วยที่ต้องมีเหตุดลใจให้ทำอะไรเสี่ยงๆแบบลืมตาย
คนพวกนี้จัดว่าเป็นคนประมาท คล้ายๆว่าไม่กลัวตายแต่ที่จริงเป็นเพียงการลืมความตายไปชั่วขณะ

หากท่านยังไม่ใช่พระอรหันต์และไม่ใช่คนกิเลสหนาตัณหาจัด
มีทางเดียวที่ท่านจะไม่กลัวความตายคือท่านเป็นผู้ไม่ประมาท
ยกตัวอย่าง เช่นบางท่านนั้นอยู่กับข่าวเรื่องภัยพิบัติมานาน
การค้นคว้ามานานในเว็บแห่งนี้ นับเป็นการเจริญมรณานุสสติโดยที่ท่านไม่รู้ตัวหรือไม่ตั้งใจ
ท่านสั่งสมความดีมาตลอดเวลา แม้แรกๆท่านก็กลัวความตาย
แต่ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาท่านก็ค่อยๆลดความกลัวตายนั้นลงไปเรื่อยๆ
จนอาจไม่เหลือความกลัวต่อไปอีก เป็นเพราะท่านเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วนั่นเอง


วิธีการจัดการ ‘ความกลัวตาย’ นั้นมีอยู่ 2 แบบ
1. แบบชาวบ้าน หรือชาวโลกทั่วไป
2. แบบพระพุทธเจ้า

ชาวบ้านกลัวความตายและไม่ยอมคิดถึงความตาย
ส่วนพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าจงคิดถึงความตายเสมอ

การคิดถึงความตายบ่อยๆ เป็นเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกของชาวบ้าน
เพราะวิธีของชาวบ้านนั้น ถ้ากลัวแล้วต้องหนี คือ หนีไม่ให้พบ ไม่ให้เห็น
แบบทารกเห็นอะไรน่ากลัว ก็ใช้มือปิดตาไม่ให้เห็น ปิดหูไม่ให้ได้ยิน
ชาวบ้านใช้วิธี ไม่ยอมดู ไม่ยอมคิด บอกว่าคิดถึงความตายทำไมเป็นทุกข์เปล่า ๆ

การหมกมุ่นอยู่กับความสนุกสนาน ความบันเทิงเริงรมย์ทางเพศ
การแสวงหาเงินทองชื่อเสียงและอำนาจ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ลืมเรื่องความตายได้
เบนความสนใจออกไปจากสิ่งที่ตนหวาดกลัว แม้หลายคนอาจมองว่านี่คือการใช้ชีวิตให้เต็มที่
เพราะตระหนักว่าจะต้องตาย แต่ก็น่าคิดว่า หลายครั้งการใช้ชีวิตเต็มที่ในแบบนี้
รวมเอาวิธีการทำร้ายตัวเองกลายๆเข้ามาด้วย เช่นดื่มสุรา สูบบุหรี่
ขับรถด้วยความเร็วและประมาท ทำกิจกรรมเสียงภัยต่างๆ


แต่ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนว่า
การระลึกถึงความตาย การพูดถึงความตายบ่อยๆ เป็นเรื่องดี เป็นสิริมงคลกับชีวิต
ใครระลึกถึงความตาย ใครชักชวนคนให้คนอื่นเห็นว่าชีวิตเป็นของไม่เที่ยง สุ่มเสี่ยงต่อความตายอยู่ตลอดเวลา
คนๆ นั้นจะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท
และเป็นผู้ปฏิบัติตามพุทโธวาทอย่างแท้จริง (ธรรมาภิวัฒน์ / ว.วชิรเมธี)


ย้อนกลับมาตอบคำถามที่ว่า การกลัวตายนั้นเป็นสิ่งผิดหรือไม่
การกลัวตายเป็นได้ทั้งสิ่งที่ผิดและสิ่งที่ถูก


การกลัวตายเป็นสิ่งที่ผิด หากการกลัวตายนั้นนำไปสู่การรีบแสวงหาความสุขสนองกิเลสตัณหา
กลัวว่าตายแล้วจะไม่ได้ทำเพื่อสนองกิเลสของตนอย่างนั้นอีก
หรือการเบียดเบียนและคดโกงผู้อื่นเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดด้วยความรักตัวกลัวตาย


การกลัวตายเป็นสิ่งที่ถูก หากการกลัวตายนั้นนำไปสู่การแสวงหาที่พึ่งที่ดีกว่าประเสริฐกว่า
เช่น การเร่งทำกุศลความดี การเร่งสร้างบารมี การเข้าถึงไตรสรณคมม์ มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง


การกลัวตายอย่างถูกต้องที่สุด น่าจะเป็นการกลัวการเวียนว่ายตายครั้งแล้วครั้งเล่าในวัฏฏะสงสารอันน่าสงสารนี้
เกิดเป็นความสังเวชและเบื่อหน่ายความตาย

เมื่อค้นพบต่อไปว่าตราบใดที่ต้องเกิดมามีสังขารร่างกายแบบนี้ย่อมต้องตาย ก็กลัวการเกิดไปด้วย
กลัวการเวียนว่ายเกิดครั้งแรกครั้งเล่า เกิดเป็นความสังเวชและเบื่อหน่ายการเกิดไปด้วย

จากกลัวความตายจึงกลายเป็นกลัวความเกิดด้วย
เมื่อใช้ปัญญาพิจารณานานวันเข้าก็เกิดเบื่อหน่ายการเวียนว่ายตายเกิด

ถ้าจะกลัวตายก็กลัวตายเถอะ ไม่เห็นน่าอาย
แต่ไม่ควรกลัวตายแบบผิดๆ

การจะหายจากความกลัวตาย
คือหมั่นพิจารณาถึงความตาย
จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายทิฐิ ค่อยๆ คลายความยึดมั่นถือมั่น ค่อยๆละ ‘สักกายทิฐิ’

หากท่านต้องการหายจากอาการทุกข์เพราะ 'กลัวตาย'
ขอแนะนำวิธีการง่ายๆ ด้วยการละ ‘สักกายทิฐิ’ คือ
ลองฟังธรรมะของท่านจิตโต ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
เวลาฟังควรหาที่สงบๆ อาจดับไฟในห้อง นั่งทำสมาธิโดยลืมตาหรือหลับตาก็ได้
ฟังแล้วใช้ปัญญาพิจารณาตามไปด้วย ท่านว่าเป็นการฟังโดยใช้ปัญญา ไม่ใช่ฟังโดยใช้สัญญา
ฟังบ่อยๆ ด้วยปัญญา แล้ว ‘สักกายทิฐิ’ และความทุกข์จากความกลัวตายจะลดลง


ลิ้งค์สำหรับดาวน์โหลดธรรมะของท่านจิตโต

http://board.palungjit.com/f69/downl...B0-247792.html

เพิ่มเติม
http://board.palungjit.com/f178/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-287616.html


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: