EM คืออะไร?
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 19, 2024, 03:12:06 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: EM คืออะไร?  (อ่าน 32388 ครั้ง)
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 10:02:12 AM »

สาระน่ารู้
รวบรวมโดย
งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี
1. เกษตรทฤษฎีใหม่
2. E.M คืออะไร
3. การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ในงานต่างๆ
4. การใช้ E.M. 5 ร่วมกับสมุนไพร
5. การใช้ E. M. 5 ในงานเลี้ยงสัตว์
6. การทำปุ๋ยหมักดิน
7. การทำปุ๋ยคอกหมัก
8. การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์จากเศษอาหาร
9. เชื้อหมัก E.M. 5 สารขับไลแมลง
10. เชื้อหมักขับไล่แมลงสูตรเข้มข้น
11. การทำปุ๋ยหมักฟาง
12. การทำปุ๋ยหมักสูตร 24 ชั่วโมง
13. การทำฮอร์โมนพืชด้วย E.M.
14. ปุ๋ยหมักมูลสัตว์
15. หลักการในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน
16. การใช้ E.M. กับการเลี้ยงไก่
17. การใช้ E.M.กับการเลี้ยงสัตว์
18. การใช้โตจุ E.M. 5 กับการเลี้ยงสัตว์
19. การทำซุปเปอร์โปกาฉิอาหารสัตว์
20. การใช้จุลินทรีย์ในการประมง
21. การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
22. การใช้ E.M. ในการประมง
23. การประยุกต์ใช้อีเอ็มในนาข้าว
 
1.เกษตรทฤษฎีใหม่
ถ้าสมมติมีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ แรงงาน 2 – 3 คน จะดำเนินการอย่างไร จึงจะเป็นไปตามแนวเกษตรทฤษฏีใหม่ โดยจัดแบ่งพื้นที่เป็น 30: 30 : 30 : 10
1.   30 % แรก จัดเป็นพื้นที่สำหรับแหล่งน้ำ ขุดสระหรือบ่อน้ำ 1.5 ไร่
2.   30% สอง เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลพืชไร่ 1.5 ไร่
3.   30% สาม เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 1.5 ไร่
4.   10% ที่เหลือ จัดเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ไม้ใช้สอย 0.5 ไร่
ทั้งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและสภาพพื้นที่ความจำเป็น และ
ความต้องการของเกษตรกร
พื้นที่ส่วนแรก เนื้อที่ 1.5 ไร่ จัดเป็นแหล่งน้ำ
โดยการขุดบ่อ หรือสระน้ำ แต่การกระทำควรจะเริ่มต้นฤดูฝนเพื่อจะสามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ได้ทัน ถ้าขุดบ่อในเนื้อที่ 1.5 ไร่ ลึกประมาณ 4 เมตร จะได้น้ำประมาณ 9,600
ลูกบาศก์เมตร ดินที่ขุดมาปรับให้เป็นบริเวณที่ใช้ปลูกไม้ผล พืชไร่ ที่อยู่อาศัย บริเวณ บริเวณขอบบ่อปรับพื้นที่ให้สามารถปลูกพืชได้ เช่น มะพร้าวหอม , มะละกอ, สะเดา ฯลฯ สำหรับความกว้างและความลึกของบ่อนั้น อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม หากเกษตรกรยังสามารถเลี้ยงปลาเพื่อเป็นรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่ง
 
พื้นที่ส่วนที่สอง เนื้อที่ 1.5 ไร่ จัดเป็นสวน
ใช้ปลูกไม้ผล พืชไร่ พืชสวน สำหรับไม้ผลนั้น ควรจะเป็นผลไม้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ อย่างสภาพพื้นที่แห้งแล้ง ปริมาณฝนน้อยแปรปรวนและไม่แน่นอน ควรพิจารณาปลูกไม้ผลที่ค่อนข้างทนแล้ง และอยู่ในความต้องการของตลาด และราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น มะม่วง ขนุน มะขาม มะพร้าว ระหว่างแถวของไม้ผล สามารถปลูกแซมด้วยกล้วย มะละกอ และพืชไร่เศรษฐกิจอายุสั้น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ในระหว่างไม้ผลในช่วง 3 – 4 ปีแรกก่อนไม้ผลจะให้ผลผลิต แต่หลังจากไม้ผลแผ่พุ่มกว้างจะเกิดการบังแสงจนปลูกพืชแซมไม่ได้ผล นอกจากจะปลูกไม้ผลพืชไร่แล้ว ควรจะมีแปลงปลูกพืชผัก เพื่อให้มีรายได้ระยะสั้นหมุนเวียนเลี้ยงตัวเองได้
การปลูกพืชผัก ควรจะยกร่อง เพราะจะช่วยในเรื่องการระบายน้ำไม่ให้ขังแฉะในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะทำให้ผักเน่าตาย พืชผักที่ปลูกควรจะหมุนเวียน จะช่วยลดความเสียหายอันเกิดจากการทำลายของโรคแมลง การเตรียมแปลงควรจะรองพื้นด้วย ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หินฟอสเฟตและปูนขาว เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชผัก การใช้สะเดาในการป้องกันกำจัดหนอนและแมลงไม่ให้วางไข่ และกัดกินต้นอ่อน นอกจากจะลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยให้ความปลอดภัยกับเกษตรกร ลดมดพิษทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น
 
พื้นที่ส่วนที่สาม เนื้อที่ 1.5 ไร่
 
ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว การปลูกข้าวควรใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้น และปลูกโดยวิธีการหยอดซึ่งจะเหมาะกับสภาพแห้งแล้งใช้น้ำน้อยสามารถอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หลักงจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วสามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจที่มีอายุสั้น เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เพื่อเป็นรายได้เสริมโดยอาศัยน้ำจากบ่อกักเก็บน้ำไว้
 
พื้นที่ส่วนที่เหลือ เนื้อที่ 0.5 ไร่
จัดเป็นที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ใช้สอยไม่โตเร็ว ซึ่งจะเป็นรายได้ในระยะต่อไป
*************************************
2.E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร
E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัย
ริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ
จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย
ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
1.   เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.)
2.   เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้
3.   ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์
4.   ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
5.   เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
ลักษณะการผลิต
เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
o   กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
o   กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
o   กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์
o   กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วย
ปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
ด้านการเกษตร
1.   ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
2.   ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
3.   ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
4.   ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
5.   ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
6.   ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
7.   ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
8.   ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
9.   ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
10.   ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
11.   ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ
ด้านการประมง
1.   ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
2.   ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
3.   ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
4.   ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่าง ๆ ได้อย่างดี
ด้านสิ่งแวดล้อม
1.   ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
2.   ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
3.   ช่วยดับกลิ่นเหมํนจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
การเก็บรักษาจุลินทรีย์
1.   สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น
2.   ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท
3.   การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
ข้อสังเกต
1.   หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น
จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย
2.   E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน
กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้)
3.   กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ
E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม
3.การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์
การงานต่าง ๆ ดังนี้
1.   งานด้านเกษตร
E.M.ผสมน้ำ 1 : 1,000 – 2,000 ฉีดพ่นรดราดต้นไม้ สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
 
การขยายจุลินทรีย์
เมื่อต้องการใช้จุลินทรีย์ในงานเกษตรที่มีเนื้อที่มาก ๆ ควรใช้จุลินทรีย์ที่ได้ขยายปริมาณให้มากขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน โดยให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ได้แก่ กากน้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลทรายแดง นมแดง นมข้นหวาน หรือน้ำซาวข้าว เป็นต้น การขยายจุลินทรีย์ให้กับพืช
วัสดุ
จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร
วิธีทำ
1.   ผสมกากน้ำตาลกับน้ำที่สะอาด คนให้ทั่วจนกากน้ำตาลละลายหมด
2.   น้ำ E.M. ผสมในน้ำคนจนเข้ากันทั่ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 – 3 วัน ภาชนะที่ใช้ต้องสะอาดจะใช้ถังพลาสติกหรือตุ่ม
 
วิธีใช้
1.   เมื่อหมักไว้ตามกำหนดที่ต้องการแล้ว นำ E.M. ที่ขยายไปผสมกับน้ำละลายอีกในอัตรา EM1/น้ำ 2,000 ลิตร ฉีดพ่นรดต้นไม้ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง
2.   ใช้หญ้าแห้วหรือใบไม้แห้งหรือฟางคลุมดินบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อรักษาความชื้นและ
EM ย่อยสลายเป็นอาหารของพืช และเพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นด้วย
ข้อสังเกต
1. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำ และกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2 – 3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
2. EM ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน หลังจากหมักได้ที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ ที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของน้ำ ภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศเฉพาะเชื้อ EM ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ
3.   การใช้จุลินทรีย์กับงานปศุสัตว์
การขยาย EM กากน้ำตาลอย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 100 ลิตร
วิธีทำ
เหมือนกับของขยายที่ใช้งานพืช
 
วิธีใช้
1.   นำ EM ที่ขยายแล้วไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา 1/5,000 – 10,000 ใช้ล้างคอกและบำบัดน้ำเสียในฟาร์มหรือให้สัตว์กิน
2.   หรือจะใช้ EM ที่ขยายแล้ว โดยไม่ต้องผสมน้ำไปฉีด เพื่อบำบัดน้ำเสีย บำบัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มและจุดที่มีกลิ่นเหม็นในที่ต่าง ๆ
3.   อัตราความเข้มข้นของ EM ขยายที่ไปใช้ จะมากน้อยตามความต้องการของลักษณะการใช้ในแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ
4.การใช้ E.M. 5 ร่วมกับสมุนไพร
การใช้เชื้อหมักขับไล่แมลงร่วมกับพืชสมุนไพรต่าง ๆ เช่นสะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ ดีปลี พริกขี้หนู ฯลฯ จะทำให้มีประสิทธิภาพในการขับไล่แมลงศัตรูพืช ได้ผลอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
วิธีทำ
1.   นำพืชสมุนไพร มาผึ่งลมหรืออบให้แห้ง แล้วนำมาสับหรือใช้เครื่องบด ให้ละเอียด
2.   ใช้ผงสมุนไพร 2 – 5 ช้อนแกง ใส่ในน้ำสะอาด 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน
3.   ใช้ผ้าหรือตะแกรงอย่างละเอียด กรองผงสมุนไพรออกเหลือแต่น้ำสมุนไพรส่วนกากาหรือตะกอนสมุนไพร นำไปผสมน้ำใส่บัวรดแปลงพืชผัก หรือบริเวณทรงพุ่มต้นพืชได้
วิธีใช้
นำน้ำสมุนไพร 2 – 5 ช้อนแกงแล้วฉีดพ่นพืชผักและต้นไม้ผลได้
หมายเหตุ
1.   สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อน ควรใช้อัตราส่วนผสม E.M. 5 เจือจาง
2.   ว่านหางจระเข้เป็นพืชสมุนไพรที่ใช้แทนสารจับใบได้เป็นอย่างดี โดยปลอกเปลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นทำการบดหรือปั่น แล้วนำผสมกับ E.M.5 และน้ำ อัตราส่วน 1 : 1 : 50 หรือ 1 : 2 : 50
3.   เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการขับไล่แมลงได้เต็มที่ ควรใช้ E.M.5 และ สมุนไพรที่ผสมน้ำแล้วให้หมดภายใน 12 ชม.
5. การใช้ E.M.5 กับงานเลี้ยงสัตว์
นำไปใช้ป้องกันหรือกำจัดไร เห็บ หมัด หรือแมลงที่มารบกวนสัตว์เลี้ยง ดังนี้
1.   ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์ (โรงเรือนโค คอกหมู เล้าไก่) ให้ทั่วสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
2.   หลังอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง (วัว ควาย สุนัข) ทุกครั้ง ควรใช้ E.M.5 ผสมน้ำ ลูบตัวสัตว์เลี้ยงให้ทั่ว
 

6.การทำปุ๋ยหมักดิน
วัสดุและส่วนประกอบ
1. ดินแห้งทุบละเอียดแล้ว 5 ส่วน
2. รำละเอียด 2 ส่วน
3. แกลบเผา 2 ส่วน
4. มูลสัตว์ (ชนิดใดก็ได้) 2 ส่วน
5. อื่น ๆ
6. E.M.กากน้ำตาล อย่างละ 10 – 20 ซี.ซี
7. น้ำ 10 ลิตร
 
วิธีทำ
1.   ผสมดิน แกลบ มูลสัตว์และอื่น ๆ คลุกจนเข้ากัน
2.   นำรำละเอียดลงผสมคลุกเคล้าลงไป
3.   ผสม E.M.กากน้ำตาล และน้ำ รดบนกองปุ๋ยหมัก ดินให้ได้ตามความชื้นพอดี 50%
4.   นำส่วนผสมทั้งหมดกองบนพื้นซีเมนต์ หรือพื้นธรรมดาทั่วไป หนาประมาณ 10 ซ.ม. คลุมทับด้วยกระสอบป่าน
5.   ถ้าคอยกลับบ้างจะใช้เวลาหมัก 3 – 4 วัน
ข้อสังเกต
1.   หลังจากหมักไว้ 1 คืน จะมีราขาว ๆ เกิดขึ้นเป็นเชื้อราที่ประโยชน์ เกิดจาก
สปอร์ของจุลินทรีย์
2.   ปุ๋ยหมักดิน ที่ใช้ได้จะไม่ร้อน ไม่มีกลิ่นเหม็น แต่จะมีราขาวขึ้นเต็ม
วิธีใช้
1.   ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกพืชผัก หรือผลไม้ ไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด
2.   ใช้ได้ผลดีสำหรับดินที่ใช้เพาะต้นกล้าและเพาะชำกล้าไม้ จะได้กล้าไม้ที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยมีส่วนผสมสำหรับเพาะกล้า ดังนี้
ปุ๋ยหมักดิน 1 ส่วน
ดินร่วนธรรมดา 1 ส่วน
แกลบเผา 1 ส่วน
ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าจนเข้ากันดีก่อนนำไปใช้
7. การทำปุ๋ยคอกหมัก
ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ เช่น วัว ควาย หมู ไก่ ฯลฯ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรค และแมลงต่อพืชก่อนนำไปใช้ควรนำไปหมักด้วยจุลินทรีย์ อี.เอ็ม. ก่อน
วัสดุและส่วนผสม
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
แกลบเผา 1 ส่วน
รำละเอียด 1 ส่วน
อื่น ๆ
จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 10 – 20 ซีซี
น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ
 
1.   ผสมปุ๋ยคอก แกลบเผา รำละเอียด อื่น ๆ เข้าด้วยกัน
2.   รดน้ำจุลินทรีย์ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีจนได้ความชื้นพอเหมาะไม่เกิน 50%
3.   นำไปกองเกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ หนาไม่เกิน 15 ซ.ม.
4.   ปุ๋ยคอกหมักที่มีคุณภาพดี จะไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีก๊าซแอมโมเนีย ไม่ร้อน แต่จะมีราขาว ๆ ขึ้นจำนวนมาก
วิธีใช้
ใช้ได้ดีกับพืชผักทุกชนิด เช่นเดียวกับปุ๋ยคอกทั่วไป
8. การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่ สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้
อุปกรณ์
1.   ถ้าพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ
2.   เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน
3.   ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รู เพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้ หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ได้ หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้
4.   นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย
5.   ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1 ก.ก. และใส่จุลินทรีย์ 10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ยทุกวันจนเต็มถุง
6.   ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก
7.   ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน
8.   ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี
9.   กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี
 
ข้อสังเกต
1.    
1.   ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็น แต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว
2.   ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าหมักไม่ได้ผล
3.   ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง
 
 
9.เชื้อหมัก อี.เอ็ม. 5 (สารขับไล่แมลง)
เป็นส่วนผสมของเหล้า น้ำส้มสายชู จุลินทรีย์ กากน้ำตาลและน้ำ ที่หมักไว้เพื่อใช้
ป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืชต่าง ๆ พร้อมทั้งช่วยกำจัดโรคพืชต่าง ๆ ด้วย
 
อัตราส่วน
1.   จุลินทรีย์ กากน้ำตาล น้ำสัมสายชูกลั่น 5% เหล้าขาว อย่างละ 1 ลิตร
2.   น้ำ 8 ลิตร
วิธีทำ
1.เอากากน้ำตาลผสมกับน้ำจนละลายดีแล้ว ใส่เหล้าขาวและน้ำสัมสายชูชนิด 5%
2.เอาจุลินทรีย์ใส่คนจนเข้ากันดี
3. ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 15 วัน ภาชนะที่ใช้หมักนั้นควรใช้ถังพลาสติก
4. ในระหว่างการหมักให้เขย่าทุกวันเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น แล้วปิดฝาเพื่อระบายก๊าซออก วันละ 2 ครั้ง
5. เมื่อครบกำหนดก็นำไปใช้ได้ สามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือน แต่ต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว
 
วิธีใช้
1.   เชื้อหมักขับไล่แมลงผสมกับน้ำสะอาด ดังนี้
- EM 5 10 – 15 ซีซี (1 – 5 ช้อนโต๊ะ)
- กากน้ำตาล 10 – 15 ซีซี (1 – 5 ช้อนโต๊ะ) เพื่อเป็นการจับใบ
- น้ำสะอาด 8 ลิตร
2.   นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ทุกวันหรืออาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง ตามความต้องการ
3.   ทำการฉีดพ่นให้ชุ่มและทั่วถึงทั้งนอกและใบทรงพุ่ม
4.   หรือจะใช้เชื้อขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดเลยก็ได้ โดยไม่ต้องเติดกากน้ำตาลอีก
10.เชื้อหมักขับไล่แมลง สูตรเข้มข้น
วัสดุและส่วนผสม
1. จุลินทรีย์ กากน้ำตาล น้ำส้มสายชูกลั่น อย่างละ 1 ลิตร
2. เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี อย่างละ 2 ลิตร
 
วิธีทำ
ละลายกากน้ำตาลกับน้ำส้มสายชูก่อน จึงค่อยเติมเหล้าขาวลงไปคนจนเข้ากัน แล้วเติม EM นให้เข้ากันปิดฝาให้สนิทหมักไว้ 24 ชั่วโมง
วิธีใช้
ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืชที่ปราบได้ยาก เช่น หนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ ในปริมาณ 200 –300 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร หรือมากน้อยกว่านี้ตามความเหมาะสม
11.การทำปุ๋ยหมักฟาง
วัสดุและส่วนผสม
1. ฟางแห้งตัดเป็นท่อนสั้นประมาณ 2 เซนติเมตร 1 ส่วน
2. แกลบดิบ 1 ส่วน
3. รำละเอียด 1 ส่วน
4. กากน้ำตาล 10 – 20 ซีซี (1 – 2 ช้อนโต๊ะ)
5. อี.เอ็ม. 10 – 20 ซีซี
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ
1.   คลุกฟางและแกลบให้เข้ากันแล้วแบ่งออกเป็ฯ 3 กองเท่า ๆ กัน ผสมกองที่ 1 และ 2 เข้าเป็นกองเดียวกัน
2.   ผสม E.M.และกากน้ำตาลกับน้ำ 1 ลิตร ที่เตรียมไว้ใส่ในบัวรดน้ำ
3.   นำน้ำผสม E.M. รดลงบนกองฟาง กับแกลบกองใหญ่ให้ชุ่มแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดี
4.   ผสมผางและแกลบกองเล็กที่เหลือเข้าด้วยกันกับกองใหญ่คลุกเคล้าจนเข้ากันดี
5.   เอารำละเอียดลงไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันจนได้ความชื้นพอดี (50%) โดยการทดลองทำแล้วบีบดู ถ้าน้ำไม่ไหลออกมาตามง่ามมือ เมื่อแบมือยังจับกันเป็นก้อนแสดงว่าใช้ได้
6.   ถ้าความชื้นสูงเกินไป คือ เมื่อกำแล้วจะมีน้ำซึมออกมาตามง่ามนิ้วมือให้เติมวัสดุคือ ฟาง แกลบ และรำ ในอัตราส่วนเท่ากันผสมลงไปคลุกให้เข้ากันจนความชื้นพอดี
7.   เกลี่ยฟางรองพื้นให้เป็นแนวราบและหนาพอสมควร จากนั้นปูด้วยกระสอบป่านบนฟาง
8.   ตักปุ๋ยหมักลงเกลี่ยบนกระสอบป่านอย่าให้สูงเกิน 1 ฟุต แล้วคลุมให้มิดด้วยกระสอบป่านหมักไว้ 5 ชั่วโมง เพื่อให้ อี.เอ็ม ทำงาน
9.   เมื่อครบ 5 ชั่วโมง ให้เริ่มตรวจวัดความร้อนทุก ๆ ชั่วโมง ด้วยการใช้ปรอทเสียบลงในกองปุ๋ยหมัก ทิ้งไว้คอยควบคุม ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 45 C หรือร้อนเกิน 45 C ต้องรีบกลับกองปุ๋ยทันที ถ้าความร้อนไม่เกินไม่ต้องกลับ
10.   ทิ้งไว้ 2 – 3 วัน ความร้อนจะลดลงเป็นปกติ ประมาร 37 C
11.   เปิดกระสอบที่ปิดไว้ออก ทิ้งให้โบกาฉิแห้งดีแล้ว จึงนำไปบรรจุกระสอบเก็บไว้ อย่าให้โดยความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้
วิธีใช้
1.   ใช้ผสมเตรียมดินสำหรับปลูกพืชทุกชนิด โดยการโรยปุ๋ยโบกาฉิฟาง ประมาณ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าบางหรือฟางแห้ง คลุมทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วรดด้วยน้ำผสม อี.เอ็ม. 10 –20 ซีซี/น้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงค่อยปลูกผักหรือพืชต่าง ๆ ได้
2.   ในกรณีที่ใช้กับแปลงผักที่ปลูกแล้ว ใช้ปุ๋ยหมักฟางโรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม (ระวังอย่าให้โดยใบและโคนต้นผัก) คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้าแล้วรดด้วยน้ำ อี.เอ็ม. อีกครั้ง ใช้เดือนละ 1 – 2 ครั้งก็พอ
3.   สำหรับไม้ผล และพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ให้ใช้หมักฟาง โรยรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กิโลกรัม/ต่อปี จะใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้นใส่ปีละ 1 กิโลกรัม
ข้อสังเกต
1.   ถ้าผสมหมักปุ๋ยให้ได้ความชื้นพอดี หมักไว้ประมาณ 3 วัน ตามความร้อนของกองปุ๋ยจะเย็นเป็นปกติ แต่ถ้าความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูง ต้องใช้มากกว่า 3 วัน จึงจะเย็นเป็นปกติ
2.   ปุ๋ยหมักที่หมักได้ผลดี จะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด และจะมีราขาว ๆ ปะปน แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่า หรือมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าปุ๋ยหมักใช้ไม่ได้
3.   ปุ๋ยหมักที่หมักแล้วใหม่ ๆ จะมีคุณภาพและใช้ได้ผลดีมากกว่าปุ๋ยหมักที่ทำแล้วเก็บไว้นาน ๆ หากใช้แล้วเหลือควรเก็บไว้ในร่ม อย่าให้โดนความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้ (ควรเก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน
 
12.การทำปุ๋ยหมัก สูตร 24 ชั่วโมง
วัสดุและส่วนผสม
1. หญ้าฟางแห้งตัดท่อน (5 – 10 เซนติเมตร) 10 ส่วน
2. ปุ๋ยหมักฟางหรือมูลสัตว์ 1 ส่วน
3. รำละเอียด 0.5 – 1 ส่วน
4. E.M.และกากน้ำตาลอย่างละ 10 – 20 ส่วน/น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ
1.   ผสม อี.เอ็ม. กากน้ำตาล และน้ำใส่ในกาละมังไว้
2.   นำหญ้าหรือฟางแห้งที่ตัดไว้เป็นท่อน ๆ ลงจุ่มในน้ำผสม E.M. จนชุ่มแล้วยกขึ้นกองรอไว้
3.   ผสมรำละเอียดกับปุ๋ยหมักฟางหรือมูลสัตว์ ให้เข้ากันดีแล้วนำไปคลุกกับหญ้าหรือฟางเปียกที่กองรองไว้จนเข้ากันทั่วดี
4.   นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ หรือบนผ้าพลาสติกเป็นกองกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ อย่าให้หนาเกินไป (1 ฟุต) แล้วคลุมทับด้วยกระสอบป่านให้มิด
5.   หมักไว้ 18 เซนติเมตร คุ้ยกลับ 1 ครั้ง แล้วคลุมด้วยกระสอบหมักต่ออีก 6 ชั่วโมง
6.   เมื่อครบ 24 ชั่วโมง เปิดกระสอบออกเกลี่ยปุ๋ยหมักบาง ๆ ผึ่งไว้จนแห้งจึงนำไปใช้
วิธีใช้
1.   ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ดอก และไม้ประดับทุกชนิด
2.   ใช้ผสมดินเตรียมแปลงปลูกผัก ผสมหญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมแปลงผักคลุมโคนต้นไม้ ไม้ผลทุกชนิด
3.   ใช้เป็นหัวเชื้อขยายทำเป็นปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง ต่อได้อีกและปุ๋ยใหม่ที่ได้สามารถนำไปทำต่อไปได้อีกเรื่อย ๆ ดังนี้
- ปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง 1 ส่วน
- หญ้าหรือฟางแห้ง 10 ส่วน
- รำละเอียด 0.5 ส่วน
- E.M.กากน้ำตาล 10 –20 ซีซี
- น้ำ 10 ลิตร
13.การทำฮอร์โมนพืชด้วย อี.เอ็ม.
วิธีทำ
วิธีทำและนำไปใช้ก็เช่นเดียวกับปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมงครั้งแรก
วัสดุ
1.   กล้วยน้ำว้า, ฟักทองแก่จัด, มะละกอสุก, อื่น ๆ อย่างน้อย 2 กิโลกรัม
2.   E.M. 20 ซีซี
3.   กากน้ำตาล 40 – 50 ซีซี
4.   น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ
1.   สับวัสดุทั้งหมดเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกันจนละเอียดผสมด้วย อี.เอ็ม. และกากน้ำตาล น้ำ คลุกให้เข้ากันดี
2.   บรรจุลงในถุงปุ๋ยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาไว้ 18 วัน
วิธีใช้
1.   นำส่วนที่เป็นน้ำฮอร์โมน 20 – 30 ซีซี ผสมกับน้ำสะอาด 5 ลิตร แล้วนำไปใช้ดังนี้
o   ใช้ฉีดพ่นต้นไม้ผล ในช่วงระยะก่อนแทงช่อดอก จะทำให้ต้นไม้แทงช่อดอกเพิ่มมากขึ้น
o   ใช้ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ผล ช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี
1.   ใช้แทนน้ำยาฮอร์โมนเร่งราก เพื่อทำให้รากพืชงอกได้เร็วขึ้นโดยใช้ในเรื่อง
o   การชำกิ่ง โดยนำกิ่งพันธุ์ไม้ที่ต้องการขยายพันธุ์แช่ในน้ำฮอร์โมนที่ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 100 – 200 ลิตร แช่ไว้นานประมาณ 30 นาที แล้วนำไปเพาะชำในเรือนเพาะชำ
o   การตอนกิ่ง โดยนำส่วนที่เป็นไขเหลืองทาบบริเวณที่ปอกเปลือกกิ่งพันธุ์เพียงเล็กน้อย (แล้วดำเนินการต่อตามขั้นตอนในการตอนกิ่ง)
14.ปุ๋ยหมักมูลสัตว์
วัสดุและส่วนผสม
1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน
2. แกลบดิบแห้ง 1 ส่วน
3. รำละเอียด 1 ส่วน
4. E.M.และกากน้ำตาล 10 – 20 ซีซี
5. น้ำ 10 ลิตร
6. อื่น ๆ
 
วิธีทำ
1.   ผสม EM กากน้ำตาลกับน้ำที่เตรียมไว้
2.   นำแกลบลงแช่น้ำผสม EM แล้วเอาขึ้นผสมกับมูลสัตว์
3.   นำรำละเอียดคลุกเคล้าความชื้นไม่เกิน 50%
4.   นำไปกองในพื้นที่ที่เตรียมไว้
5.   เมื่อครบ 5 ชม. เริ่มตรวจสอบความร้อนทุก ๆ ชม. ควบคุมอย่าให้เกิน 50 C ใช้หมัก 3 – 4 วัน
6.   เมื่อปุ๋ยหมักมูลสัตว์ ได้ผลดีจะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ดนำไปใช้ได้ หรือบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่ไม่โดนความชื้น
วิธีใช้
1.   ใช้ผสมเตรียมดินสำหรับปลูกพืชทุกชนิด โดยการโรย 2 กำมือ (200 กรัม) ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง แล้วรดด้วยน้ำผสม EM อัตราส่วน 10 – 20 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงค่อยปลูก
2.   ในกรณีที่ใช้กับแปลงผักที่ปลูกแล้วให้โรยรอบ ๆ ทรงพุ่ม คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้าแห้งแล้วรดด้วยน้ำผสม EM
3.   สำหรับไม้ผลและพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ให้โรยรอบทรงพุ่มต้นละประมาณ 2 – 3 กก./ปี จะใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้นใส่ปีละ 1 กก.
15.หลักการในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน
ในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดินนั้น เราสามารถเพิ่มให้ได้หลายอย่าง ข้อสำคัญคือ อินทรีย์
วัตถุแต่ละอย่างมีอัตราส่วนองค์ประกอบของธาตุคาร์บอน และไนโตรเจน (C/N ratio) แตกต่างกัน C/N ratio นี้เป็นตัวควบคุมบทบาทของไนโตรเจน เช่น ฟางข้าว มี C/N ratio ประมาณ 90 นับว่ากว้างมากไม่ควรที่จะได้กลบลงดินไปในดิน ควรนำมาหมักให้เป็นปุ๋ยเสียก่อน เพื่อปรับระดับให้เหลือ 20 หรือต่ำกว่า มิฉะนั้นแล้ว C/N ratio กว้าง ๆ เมื่อใส่ลงในดินจะทำให้ดินขาดไนโตรเจน เนื่องจากการสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ คือ จุลินทรีย์ จะเพิ่มขยายตัวมันเองอย่างรวดเร็ว และดึงไนโตรเจนในรูปของไนเตรทไปจากดินไปใช้ในการเพิ่มกิจกรรมและจำนวนของจุลินทรีย์จึงเป็นการแย้งไนโตรเจนจากพืช ทำให้ขาดไนโตรเจน โดยพืชจะแสดงอาการเหลืองซีด ขณะเดียวกันจุลินทรีย์ที่ใช้คาร์บอนเป็นพลังงานและปลดปล่อยให้หนีไปในอากาศ ในรูปก๊าซคาร์บอนไนออกไซด์ เมื่อคาร์บอนลดลงเรื่อย ๆ กิจกรรมของจุลินทรีย์จะลดลง ฉะนั้นเมื่อมีการใส่อินทรีย์ลงในดินขณะที่อินทรีย์วัตถุยังไม่สลายตัวเต็มที่แล้ว คือในระยะที่มี C/N ratio ยังกว้างนั้นดินจะขาดไนโตรเจนอยู่ระยะหนึ่ง จนกว่าจะสิ้นการสลายตัว อัตราความเร็วของการสลายตัวขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรีย์วัตถุดิบ อุณหภูมิ ความชื้นเพื่อช่วยในการสลายตัวเร็วขึ้น จึงควรเพิ่มไนโตรเจนลงในดินเพื่อปรับ C/N ratio ให้แคบลง
วิธีใช้
1.   นำ E.M. ที่ขยายแล้วไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา 1/น้ำ 5,000 – 10,000 ส่วนให้สัตว์กิน ล้างคอก และบำบัดน้ำเสียในฟาร์ม
2.   หรือจะใช้ E.M. ที่ขยายแล้วโดยไม่ต้องผสมน้ำนำไปฉีด เพื่อบำบัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มสัตว์ และจุดที่มีกลิ่นเหม็นในที่ต่าง ๆ
3.   อัตราความเข้มข้นของ E.M. ขยายที่นำไปใช้ จะมากน้อยตามความต้องการของลักษณะการใช้ใบ แต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ
116.การใช้ อี.เอ็ม. กับการเลี้ยงไก่
1.   ใช้ E.M. ที่ขยายแบ้วฉีดพ่นตามพื้นที่กำจัดกลิ่นแก๊สและกลิ่นเหม็นจากมูลไก่ ทุก ๆ 3 วัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง มูลไก่ เหล่านี้นำไปใช้ทำปุ๋ยหมัก หรือนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่บริเวณทรงพุ่มต้นไม้และแปลงผักต่าง ๆ
2.   ผสม อี.เอ็ม. (หัวเชื้อ) กับน้ำกลั่น อัตราส่วน 1 : 1 ใช้แทนวัคซีน หรือหยอดตาหรือหยอดจมูกไก่ ตัวละ 1 – 3 หยด (ทำในช่วงระยะเวลาปกติของการใช้วัคซีนและตามขยาดอายุไก่)
เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหรือป้องกันโรคไก่ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้
17.การใช้ อี.เอ็ม. กับการเลี้ยงสัตว์
1.   ทำการขยาย อี.เอ็ม. ในอัตราส่วน อี.เอ็ม. 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร แล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน (ตามที่กล่าวไว้) นำไปฉีด ล้างให้ทั่วคอกจะสามารถกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อสะอาดปลอดกลิ่นดีแล้ว ต่อไปใช้สัปดาห์ละ 1 – 3 ครั้งก็พอ โดยน้ำล้างคอกที่มี อี.เอ็ม.ผสมอยู่ด้วยจะลงไปช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย
2.   ผสม E.M. 1 ลิตรต่อน้ำสะอาด 5,000 – 10,000 ลิตร โดยประมาณ ให้สุกรกินทุกวัน เพื่อช่วยให้สุกรแข็งแรง และมีความต้านทานโรคและป้องกันกลิ่นเหม็นจากสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย
3.   ผสมสุโตจู 1 ลิตรกับน้ำสะอาด 100 ลิตร เทราดตามบ่อน้ำทิ้ง เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะช่วยลดจำนวนลงได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
4.   ผสมซุปเปอร์โบกาฉิ สำหรับอาหารสัตว์ ประมาณ 2 % กับอาหารที่ให้สุกรกินแต่ละวัน เพื่อเสริมสุขภาพของสุกร
5.   กรณีลูกสุกรที่มีอาการท้องเสียใช้ E.M.5 ซีซี หยอดเข้าทางปากจะช่วยได้
6.   มูลสุกรที่ใช้ E.M.แล้ว สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยหมักต่าง ๆ หรือทำเป็นอาหารปลา กุ้ง กบ ได้ (ขึ้นอยู่กับการไปประยุกต์ใช้)
ข้อสังเกต
1.   ฟาร์มที่ใช้ E.M. ส่วนมากจะไม่พบสุกรมีอาการท้องเสีย
2.   สามารถลดการใช้ยาเสียปฏิชีวนะต่าง ๆ ได้
3.   มีประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ดีขึ้นได้ แม่สุกรในบางฟาร์มให้ลูกถึง 14 – 16 ตัว โดยไม่มีตาย
4.   สุกรขุนที่ให้ E.M. จะให้เนื้อแดงมาก และสุกรมีน้ำหนักมากกว่าที่เคยได้
หมายเหตุ วัว ควาย และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็สามารถนำ E.M. ไปประยุกต์ได้เช่นเดียวกัน
18.การใช้สุโตจู อี.เอ็ม. 5 กับงานเลี้ยงสัตว์
 
ผสมสุโตจู 20 – 50 ซีซี กับน้ำสะอาด 1 ลิตร นำไปใช้ป้องกันหรือกำจัดไร เห็บ หมัด หรือแมลงที่มารบกวนสัตว์เลี้ยงได้ ดังนี้
1.   ฉีดพ่นบริเวณคอกสัตว์ (โรงเรือนโค คอกหมู เล้าไก่) ให้ทั่วสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
2.   หลังอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงทุกครั้งควรใช้สุโตจู ผสมน้ำลูกตัวสัตว์เลี้ยง
19.การทำซุปเปอร์โบกาฉิ อาหารสัตว์
วัสดุและส่วนผสม
1.   เปลือกหอยป่น กระดองปูป่น กระดูกป่น แกลบเผา อย่างละ 0.2 กิโลกรัม
2.   ปลาป่น กากถั่ว อย่างละ 6 กิโลกรัม
3.   รำละเอียด 20 กิโลกรัม
4.   อี.เอ็ม. กากน้ำตาล 10 ซีซี
5.   น้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ
1.   ผสมวัสดุที่ใช้ทั้งหมด เข้าด้วยกันจนเข้ากันดี
2.   ละลาย E.M. กากน้ำตาล , น้ำ, คนจนเข้ากันดี นำไปราดเป็นฝอยบนส่วนผสมในข้อที่ 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันดี และให้ความชื้นไม่เกิน 40%
3.   เอาบรรจุใส่กระสอบป่านผูกปากให้แน่น ใส่ลงไปถุงพลาสติก ดำทึบแสงขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่ง มัดปากถุงให้แน่น อย่าให้อากาศเข้าหมักไว้ 3 วัน ความร้อนจะอยู่ระหว่าง 35 – 40 เซลเซียส
4.   เมื่อหมักครบ 3 วัน เอากระสอบออกจากถุงพลาสติกดำทึบแสง ตั้งทิ้งไว้ในร่มอีก 3 วัน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และจะเย็นลงโดยพยายามกลับกระสอบทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นในกระสอบไปกองอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้จับกันเป็นก้อนได้
ข้อสังเกต
เมื่อหมักได้ที่แล้ว จะมีกลิ่นหอมกว่าโบกาฉิอื่น ๆ
 
วิธีใช้
1.   ใช้ผสมกับอาหารสัตว์ เช่น หมู ไก่ กบ ฯลฯ ในอัตรา 2% ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง จะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงให้ผลผลิตสูง
2.   นำไปละลายน้ำในอัตราส่วน 1 – 2 กิโลกรัม/น้ำสะอาด 100 ลิตร ทำให้เป็นปุ๋ยน้ำหมักทิ้งไว้ 12 – 24 ชั่วโมง ก่อนนไปรดพืชผักต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชผักที่ปลูกใหม่ ๆ จะทำให้ผักฟื้นตัวและโตเร็ว
3.   ใช้หว่านลงไปในบริเวณสระน้ำ เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสีย
20.การทำซุปเปอร์โบกาฉิ สูตร 2
วัสดุ
1.   รำละเอียด 3 ส่วน ปลาป่น กากถั่ว อย่างละ 1 ส่วน
2.   E.M.กาก น้ำ (1 : 1 : 50)
วิธทำ
ผสมวัสดุทุกอย่างเข้าด้วยกัน ให้ได้ความชื้น 40% แล้วหมักตามขั้นตอนสูตร 1
 
วิธีใช้
เช่นเดียวกับสูตร 1
21.การใช้จุลินทรีย์ในการประมง
1.   ใช้ E.M. ที่ขยายแล้วใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 1/10,000 หรือ 1 ลิตร /10 คิวปิกเมตร ของน้ำใส่บ่อทุก ๆ 7 – 10 วัน แล้วแต่สภาพของน้ำและอัตราความหนาแน่นของสัตว์ที่เลี้ยง
2.   ผสมอาหารให้กินโดยใช้ EM ผสมในน้ำอัตรา 1 : 50 หรือ 100 ส่วนคลุกกับอาหารหรือแช่ไว้ก่อน ให้กินก็ได้ในฟาร์มเลี้ยงกบ บางฟาร์ม หลังจากใช้ EM ลงในบ่อเลี้ยงกบครั้งแรก แล้วไม่ต้องใส่อีกเพราะน้ำในบ่อจะได้ EM ควรใช้ EM อย่างเจือจางก่อน
3.   การใช้ EM ด้วยวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้น้ำไม่เสียไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อย ๆ หรือไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะจับสัตว์ขายช่วนให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคสัตว์ โตเร็ว อัตราตายต่ำ
22.การใช้ อี.เอ็ม. ในการประมง (ปลา, กุ้ง)
 
1.   ใช้ อี.เอ็ม. ที่ขยายแล้วใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์ในอัตรา 1: 10,000 หรือ อี.เอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 คิวบิกเมตรของน้ำ ใส่บ่อทุก ๆ 7 – 10 วัน แล้วแต่สภาพของน้ำ และอัตราความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง
2.   ผสมอาหารให้กิน โดยใช้ อี.เอ็ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 50 – 100 ส่วน คลุกกับอาหารหรือแช่ไว้ก่อนให้กินก็ได้ แล้วแต่ชนิดของสัตว์เลี้ยง
ในฟาร์มเลี้ยงกบบางฟาร์ม หลังจากใส่ อี.เอ็ม ลงในบ่อเลี้ยงกบครั้งแรกแล้ว ไม่ต้องใส่อีก เพราะน้ำในบ่อจะได้ อี.เอ็ม เพิ่มทุกวันจากอาหารที่แช่ อี.เอ็ม และควรใช้อย่างเจือจางก่อน
3.   การใช้ อี.เอ็ม ด้วยวิธีการดังกล่าว จะช่วนให้น้ำไม่เหลือง ไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อย ๆ
หรือไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะจับสัตว์ขาย ช่วยให้สัตว์มีสุขภาพดีแข็งแรงไม่เป็นสัตว์โตเร็ว และอัตราการตายต่ำ
การทำอาหารสำหรับเลี้ยงปลา
วัสดุ
1.   เศษอาหาร 50 ส่วน รำละเอียด 20 ส่วน โบกาฉิมูลสัตว์ 1 ส่วน
2.   อี.เอ็ม : กากน้ำตาล : น้ำ 1 : 1 : 50
 
วิธีทำ
1.   ผสมเศษอาหาร รำละเอียด และโบกาฉิ เข้าด้วยกัน แล้วคลุกด้วยน้ำ ผสม อี.เอ็ม หมักทิ้งไไว้ 1 – 2 ชั่วโมง
 
วิธีใช้
นำอาหารปลาที่หมักไว้แล้ว ไปหว่านในบ่อเลี้ยงปลาหรือวางบนตะแกรงหย่อนลงไปให้ปลากิน
23.การขยายจุลินทรีย์ แก้ปัญหาส้วมเต็ม
ใช้ อี.เอ็ม ขยาย (อี.เอ็ม กากน้ำตาล 1/100 ลิตร) หมักไว้ 3 วัน นำมาเทใส่ส้วมชักโครก (เทใส่โดยไม่ต้องผสมน้ำ) ประมาณ 5 –10 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง อี.เอ็ม จะไปย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ในถังพัก กากที่เหลือจะตกตะกอนและน้ำในถังพักจะดูดซึมลงไปได้มากถ้าส้วมไม่เต็มและไม่เหม็น
การขยายจุลินทรีย์ บำบัดกลิ่นเหม็นและกำจัดแมลงวันจากกองขยะ ขยะที่ได้จากครัวเรือน ร้านอาหาร และโรงแรม ส่วนใหญ่จะเป็นขยะเปียก พวกเศษอาหาร ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน จุลินทรีย์จะสามารถบำบัดกลิ่นเหม็น กำจัดแมลงวันได้โดยการตัดวงจรชีวิตของแมลง และ อี.เอ็ม สามารถทำการย่อยสลายเศษอาหารได้ และเป็นปุ๋นแก่พืชผักและผลไม้ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ใช้ อี.เอ็ม ที่ขยายแล้วผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 1,000 ฉีดพ่นบริเวณกองขยะ หรือพ่นให้คลุกเคล้ากับขยะที่จะนำไปทิ้ง หรือนำไปฉีดพ่นขยะบนรถขยะของเทศบาล แล้วจึงนำไปทิ้งในที่ทิ้งขยะ อี.เอ็ม ก็จะทำงานทำให้ขยะไม่มีกลิ่นเหม็นและไม่มีแมลงวัน หลังจากขยะฉีดด้วย อี.เอ็ม แล้วนำไปฝังกลบก็จะยิ่งเป็นผลดี
24.การใช้จุลินทรีย์ในครัวเรือน
ก่อนปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานพืชผัก ผลไม้ (ประเภทรับประทานทิ้งเปลือก) หรืออาหารสดต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารสดจากทะเล (กุ้ง ปู ปลาหมึกสด) ที่ซื้อมาจากตลาด แต่ไม่แนใจว่าปลอดสารพิษหรือไม่ ควรนำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วแช่น้ำในจุลินทรีย์ ที่ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 100 –200 แช่ไว้ประมาณ ½ - 1 ชม. จะทำให้สารเคมีที่ปนเปื้อนหรือตกค้างอยู่ ในพืชผักหรืออาหารสดนั้น ถูก อี.เอ็ม ย่อยสลายหรือชำระล้างออกไปได้เป็นอย่างมาก
25.การใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย
น้ำที่เกิดจากชุมชน
ใช้จุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว นำไปราดตามท่อระบายน้ำลงในถังชำระล้างต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อให้น้ำผสมจุลินทรีย์ทำการบำบัด และไหลลงไปรวมในบ่อบำบัดและไหลลงไปรวมในบ่อบำบัดน้ำต่อไป
 
น้ำเสียจากโรงพยาบาล โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนต่าง ๆ
ใช้จุลินทรีย์ที่ขยายกับระบบบำบัดน้ำเสีย ที่มีอยู่เดิม (ด้วยวิธีใช้เครื่องตีน้ำ เพื่อให้อากาศแก่แบคทีเรียที่ต้องการอากาศทำงาน)
EM เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศในการทำงานจึงสามารถบำบัดน้ำเสีย โดยการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ในน้ำเสียให้สะอาดา ไม่ต้องใช้เครื่องตีน้ำเป็นการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดีมีประสิทธิภาพกว่าและย่อยสลายตะกอนที่เป็นอินทรีย์วัตถุจนหมดได้ สามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นสุดท้ายแล้วไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย
26.การประยุกต์ใช้ อี.เอ็ม ในนาข้าว
ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ใส่โปกาฉิประมาณ 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้ ไถพรวน
1.   หว่าน โปกาฉิ 100 กิโลกรัมให้ทั่ว
2.   ผสม อี.เอ็ม 400 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่แล้วไถพรวนทั่วทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้ อี.เอ็ม ย่อยสลายวัชพืชและฟางข้าว ให้ปุ๋ยธรรมชาติ และเร่งการงอกของเมล็ดหญ้า
3.   15 วัน หลังไถแล้ว ผสม อี.เอ็ม และกากน้ำตาลอย่างละ 400 ซีซี กับน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว และไถกลบเพื่อทำลายหญ้าให้กลายเป็นปุ๋ยพืชสด
4.   ทิ้งไว้อีก 15 วัน จึงไถ และคราดเพื่อดำเนินดำนาต่อไป
ไถคราด
1.   พ่น อี.เอ็ม อัตราส่วนเดิมอีกครั้ง
2.   ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
หลักปักดำ 7 –15 วัน
1.   หว่านโบกาฉิให้ทั่วแปลง 30 กิโลกรัม/ไร่
2.   พ่นตามด้วย EM กากน้ำตาล อย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร
ข้าวอายุ 1 เดือน
1.   หว่านโบกาฉิ 30 กิโลกรัม
2.   พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร
ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย
1.   หว่านโบกาฉิ 40 กิโลกรัม
2.   พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร
 
หมายเหตุ
1.   เฉลี่ยพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปุ๋ยโบกาฉิ 200 กิโลกรัม
2.   ในปีแรกที่ใช้โบกาฉิกับนาข้าว อาจต้องใช้ปริมาณมาก แต่เมื่อดินดีปีต่อไปจึงค่อย ๆ ลดปริมาณการใช้ลง
3.   เพื่อป้องกันเพลี้ยระบาด โรคแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ รบกวนควรฉีดพ่นด้วยสุโตจู (สารขับไล่แมลง) ทุก ๆ 15 วัน ในอัตราส่วนสุโตจู 400 ซีซี กากน้ำตาล 400 ซีซี และน้ำ 200 ลิตร
4.   การปลูกโดยไม่ต้องไถพรวน การไถพรวนเมื่อต้องการให้ดินที่แข็งตัวร่อนขึ้นอุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ การใช้ EM จะช่วยให้ดินไม่จับตัวกันแข็ง แต่จะร่วนซุยอุ้มน้ำได้ และอากาศผ่านได้ จึงไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป เกษตรกรที่ใช้ EM มา 3 ปี และเลิกการไถไปแล้วสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นทุกปีด้วย
27.การใช้ อี.เอ็ม กับการป่าไม้
การปลูกป่าสร้างสวนป่า มักทำการปลูกกันในพื้นที่ดินแหล่งเสื่อมโทรม ดินปุ๋ยธรรมชาติ มีการพังทลายของดินสูง ต้นไม้ที่ปลูกมักมีปัญหา การเจริญเติบโตไม่มีเท่าที่ควร จึงมีการเสริมอินทรีย์วัตถุให้แก่ต้นไม้ และเพิ่มงบประมาณจุลินทรีย์ในดิน ให้มีการสร้างกิจกรรมในดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
1.   การแช่เมล็ดพันธุ์ไม้ก่อนเพาะ (เช่น เมล็ดไม้สัก, ไม้มะค่าโมง ฯลฯ) ควรทำดังนี้
o   แช่เมล็ดในน้ำร้อน (60 – 70 C) นานประมาร 10 – 20 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด 2 – 3 ครั้ง
o   นำเมล็ดไปแช่ใน อี.เอ็ม ผสมน้ำสะอาด อัตราส่วน 1 : 2,000 นานอย่างน้อย ½ - 1 ชั่วโมง ถ้าเมล็ดมีเปลือกหนาควรแช่ไว้นาน 3 – 7 วัน
1.   การเพาะต้นกล้าในแปลงเพาะชำ เพราะเมล็ดพันธุ์ไม้ในถุงดำที่มีดินหมัก อี.เอ็ม ไว้
โดยผสมปุ๋ยหมักดิน + ดินร่วน + แกลบสุก + แกลบดิบ (1 : 1 : 1) เข้าด้วยกันและระหว่างการเพาะชำกล้าไม้ต้องใช้น้ำ อี.เอ็ม (1 : 1,000) รดอาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง
28การใช้ E.M. กับต้นไม้สวนป่า
ใช้ปุ๋ยหมุกโบกาฉิ ฟาง มูลสัตว์ หรือปุ๋ยหมักหญ้า 24 ชั่วโมง โรยเสริมบริเวณพุ่มของต้นไม้ หลังปลูกที่มีอายุ 0 – 3 ปี ใช้อัตราส่วน 2 – 3 กำมือต่อต้น แล้วคลุกด้วยหญ้า/พุ่มแห้ง รดด้วยน้ำ อี.เอ็ม (1 : 1,000) ให้ชุ่ม เดือนละครั้ง โดยเฉพาะในช่วงนอกฤดูฝน จะช่วยให้ต้นไม้ที่ปลูกสร้างเป็นสวนป่า มีความแข็งแรง มีใบเขียว ชูช่อแตกดอกออกใบออกผลอย่างสมบูรณ์ เมื่อต้นไม้แข็งแรงดี ย่อมมีความต้านทานการทำลายของโรคและแมลงได้ดีถ้ามีโรคหรือแมลงรบกวนต้นไม้ ในสวนป่าให้ใช้ สุโตจู (EMS) สูตรทั่วไปหรือซูปเปอร์สุโตจู ฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น จะช่วยป้องกันแมลงพวกเพลี้ย ไร และแมลงมีปีกได้
เมื่อปลูกต้นไม้ได้อายุ 3 ปีขึ้นไป การใช้ อี.เอ็ม หรือปุ๋ยหมัก อี.เอ็ม มีความจำเป็นน้อยลง หรือไม่ต้องใช้เลยก็ได้ เพราะกระบานการทางะรรมชาติจะทำให้ดินในสวนป่าในสวนอุดมสมบูรณ์ขึ้นอยู่แล้ว
 
 ****************************************


บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724

jukkrit
member
*

คะแนน5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 544


ซ่อมในราคาเหมาจ่าย


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 10, 2007, 11:30:45 AM »

 Smiley Wink Wink Wink Wink Sad Embarrassed Undecided สมองใสเลยครับแทงกิ้วครับพี่ช่างทั้งหลาย
บันทึกการเข้า

ซ่อมราคาเหมา
DDP Servisc
69/5 ต.ลำภู อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 39000
0861576639
บริการเครื่องเสียงพร้อมเวที
kom147
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 189

ไม่มีใครแก่เกินเรียนหรอกครับ

sringampong@hotmail.com
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2007, 12:46:23 PM »

ผมกำลังจะทำอยู่พอดีครับ
วันนี้ทำถัง เจาะ เอา ก็อกใส่
แต่ยังไม่ได้หมัก
บันทึกการเข้า
niphitphon
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 33


ชีวิตเป็นเรื่องดีเหลือเกิน


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2008, 09:56:24 AM »

ผมกำลังจะทำอยู่พอดีครับ
วันนี้ทำถัง เจาะ เอา ก็อกใส่
แต่ยังไม่ได้หมัก
ต้องใช้ก๊อกพลาสติกครับ  ถ้าใช้ก๊อกโลหะEMจะกินก๊อกหมดครับ
บันทึกการเข้า
san
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 32


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 16, 2008, 08:15:00 PM »

ขอบคุณครับ ดีจริงๆ
บันทึกการเข้า
smilly
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 10:15:37 PM »

  ตกลงเปิดสอนเกษตรภิวัฒน์พร้อมสอนคอมพร้อมกันเลยดีกว่าพี่เทพ ข้อมูลแน่นดีขะรับ ดีใจจัง ดีใจจัง
บันทึกการเข้า
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 22, 2008, 05:18:57 AM »

ผมเป็นช่างคอม จบเกษตร นะครับ อิอิ........แซวคืน
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
DJUNG
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 122


« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 01:06:46 PM »

เข้ามาเจอ พี่ worathep-LSV team ในหัวข้อ EM งงนิด ๆ แต่เคยได้รับความช่วยเหลือเรื่อง ซ่อมTV จากพี่ ต้องขอขอบคุณอีกทีครับ 
ผมก็หมัก EM ไว้ในถังที่บ้านเหมือนกันเมื่อวันอาทิตย์พึ่งเอามาเจือจางรถต้นไม้
มะม่วงก็ลูกดก แมลงอะไรที่เคยกวนก็ไม่มี จุลินทรีย์พวกนี้แจ๋วจริงๆ ครับยืนยัน
แล้วเข้ามาคุยอีก ขอให้พี่แข็งแรง รวย ๆ ครับ และทุกท่านที่เข้ามาอ่าน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!