การทำเกษตรอินทรีย์
ธันวาคม 13, 2024, 02:59:12 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การทำเกษตรอินทรีย์  (อ่าน 74886 ครั้ง)
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 10:15:10 am »

ผลิตพืชอินทรีย์
หลักการผลิตพืชอินทรีย์
•   ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
•   มีการพัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์
•   มีการพัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
•   มีการฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง
•   โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์ม หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
•   ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่มีประโยชน์ (ตัวห้ำ ตัวเบียน) เช่น การปลูกพืชให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และแมลงที่เป็นประโยชน์ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์ม และลดปัญหาการระบาดศัตรูพืช
•   เลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
เจ้าของไร่นา หรือผู้ทำการผลิต มีความพยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมี และมลพิษจากภายนอก
•   สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตามพฤติกรรมธรรมชาติ ไม่ควรเลี้ยงในที่คับแคบแออัด
•   การแปรรูปผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรเลือกวิธีการแปรรูปที่คงคุณค่าทางโภชนาการให้มากที่สุด โดยไม่ต้องใช้สารปรุงแต่งหรือใช้น้อยที่สุด
•   การผลิตและการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรคำนึงถึงวิธีที่ประหยัดพลังงานและควรพยายามเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สมุนไพรกำจัดโรค-แมลง
   กระเทียม      ดีปรี         พริก         มันแกว
   ขมิ้นชัน         ตะไคร้หอม      พริกไทย      ยี่โถ
   ข่า         น้อยหน่า      ไพล         ละหุ่ง
   คูณ         บอระเพ็ด      มะรุม         ลางสาด
   ดาวเรือง      ผกากรอง      มะละกอ      เลี่ยน

กระเทียม
   เพลี้ยอ่อน      
   เพลี้ยไฟ         
   หนอนกระทู้ผัก         
   ด้วยปีกแข็ง         
   ราน้ำค้าง      
   ราสนิม
1. ใช้กระเทียม 1 กิโลกรัม โขลกให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเบนซิน 200 ซีซี ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นน้ำสบู่ ละลายน้ำเล็กน้อยเติมลงไป คนให้เข้ากัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใส ก่อนนำไปใช้เติมน้ำลงไปอีก 20 เท่า หรือประมาณ 5 ปี๊บ (100 ลิตร)
2. บดกระเทียม 3 หัวใหญ่ให้ละเอียด แช่ลงในน้ำมันก๊าดประมาณ 2 วัน แล้วกรองเอาสารละลายมาผสมกับน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ก่อนนำไปใช้ให้เติมน้ำลงไปอีก ครึ่งปี๊บ (10 ลิตร)
3. ใช้กระเทียม 1 กำมือ โขลกให้ละเอียด เติมน้ำร้อนครึ่งลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วกรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำ 4 ลิตร เติมสบู่ครึ่งช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 2 วัน ในตอนเช้า
        4. บดกระเทียมแกะกลีบ 1 กำมือ ตากแดดให้แห้งเพื่อนำไปโขลกให้เป็นผง ใช้โรยบนพืชผักที่มีปัญหา โดยโรยตอนพืชผักไม่เปียก

ขมิ้นชัน
•   หนอนกระทู้ผัก
•   หนอนผีเสื้อ
•   ด้วงงวงช้าง
•   ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว
•   มอด
•   ไรแดง

เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด
1. ขมิ้นครึ่งกิโลกรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
2. ตำขมิ้นให้ละเอียด ผสมกับน้ำปัสสาวะวัว (ใช้ว่านน้ำตำละเอียดแทนได้) อัตราส่วน 1 ต่อ 2
3. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง ถ้าจะใช้กำจัดหนอนให้เติมน้ำผสมลงไปอีก 6 เท่า
4. บดขมิ้นให้เป็นผง ผสมเมล็ดถั่วในอัตรา ขมิ้น 1 กก. ต่อเมล็ดถั่ว 50 กก.
5. เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเมล็ดถั่วป้องกันไม่ให้แมลงมาทำลายเม็ดถั่ว

ข่า
•   แมลงวันทอง

น้ำคั้นจากเหง้า มีสารดึงดูด สารไล่แมลง สารฆ่าแมลง สามารถไล่แมลงวันทองไม่ให้วางไข่ได้ 99.21% และทำให้โรคใบจุดสีน้ำตาลในนาข้าวหายไป
   1. นำเหง้าแก่สดหรือแห้ง มาบดเป็นผง ละลายน้ำ
   2. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง




คูน
•   หนอนกระทู้ผัก
•   หนอนกระทู้หอม
•   ด้วง

เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภท Antraquinounes เช่น Aloin, Rhein Sennoside A, B และมี Organic acid
สาร Antra quinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
1.   นำฝักคูนมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร
2.   หมักทิ้งไว้ 3 – 4 วัน นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง

ดาวเรือง
•   เพลี้ยกระโดด
•   เพลี้ยจักจั่น
•   เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน
•   เพลี้ยไฟ
•   แมลงหวี่ขาว
•   แมลงวันผลไม้
•   หนอนใยผัก
•   หนอนผีเสื้อ
•   หนอนกะหล่ำ
•   ด้วยปีกแข็ง
•   ไส้เดือนฝอย

1.   นำดอกมาคั้นเอาน้ำผสมน้ำ 3 ต่อ 1 ส่วน สามารถกำจัดหนอนใยผักได้ดี
2.   นำดอกมาคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำ 1 ต่อ 1 ส่วน สามารถกำจัดเพลี้ยอ่อนได้ผลดี
3.   นำดอกดาวเรือง 500 กรัม ต้มในน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาแต่น้ำ ไปผสมน้ำเปล่าอีก 4 ลิตร น้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นวันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2 วัน

ดีปรี
•   แมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ

1.   นำดีปลีไปอบในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส จำนวน 450 กรัม
2.   แล้วนำไปบดให้ละเอียด แช่ในแอลกอฮอล์ 1,500 ซีซี หมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่น

ตะไคร้หอม
•   หนอนกระทู้ผัก
•   หนอนไยผัก
•   ไล่ยุง / แมลงสาป

มีสาร Verbena oil, Lemon oil, Indian molissa oil มีฤทธิ์ในการไล่แมลง
1.   ** สูตรกำจัดหนอน ** นำตะไคร้หอมทั้งต้น มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ บดหรือตำให้ละเอียด
2.   ** สูตรสำหรับไล่แมลงและยุง ** นำตะไคร้หอมมาบดหรือตำให้ละเอียด นำไปวางไว้ตามมุม
ห้องหรือตู้เสื้อผ้า

น้อยหน้า
•   ตั๊กแตน
•   เพลี้ยอ่อน
•   เพลี้ยจักจั่น
•   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
•   เพลี้ยหอย
•   ด้วยเต่า
•   หนอนใยผัก มวน

มีพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร
   1. นำเมล็ดน้อยหน่าแห้ง 1 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักไว้นาน 24 ชม.
   2. ใช้ใบสด 2 กก. ตำให้ละเอียด ผสมน้ำ 10 ลิตร หมักนาน 24 ชม. นำมากรองเอาแต่น้ำ
   3. แล้วนำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ ฉีดพ่นทุก 6 - 10 วัน ช่วงเวลาเย็น

บอระเพ็ด
•   เพลี้ยกระโดดน้ำตาล
•   เพลี้ยจักจั่น
•   หนอนกอ
•   โรคข้าวตายพราย
•   โรคยอดเหี่ยว
•   โรคข้าวลีบ

ใช้ได้ดีกับนาข้าวรสขมเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในพืช จะทำให้แมลงไม่ชอบ


1. ใช้เถาหนัก 5 กก. สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทุบให้แหลก แช่ในน้ำ 12 ลิตร นาน 1 - 2 ชม. กรองเอาแต่น้ำฉีดพ่นแปลงเพาะกล้า
2. ใช้เถา 1 กก. สับหว่านลงไปในแปลงเพาะกล้าขนาด 4 ตารางเมตร
3. ใช้เถาตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด 6 - 10 นิ้ว ประมาณ 10 กก. หว่านในนาข้าวพื้นที่ 1 ไร่ หลังปักดำหรือหว่านข้าวแล้ว 7 วัน ควรทำอีกครั้งหลังข้าวอายุ 2 เดือน

ผกากรอง
•   หนอนกระทู้ผัก

เมล็ดมีสาร Lantadene มีผลต่อระบบประสาทของแมลง
1.   บดเมล็ด 1 กก. ผสมกับน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำนำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
ไม่ให้มาวางไข่ในแปลงผัก
2.   ใช้ดอกและใบบดละเอียด หนัก 50 กรัม ผสมน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำ
นำมาผสมน้ำ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง

พริก
•   มด
•   เพลี้ยอ่อน
•   หนอนผีเสื้อกะหล่ำ
•   ไวรัส
•   ด้วงงวงช้าง
•   แมลงในโรงเก็บ

ผลสุกมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมีสารยับยั้งการขยายตัวของไวรัส
1.   นำพริกแห้งป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน
2.   กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำสบู่ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นทุก 7 วัน
3.   ควรทดลองแต่น้อย ๆ ก่อน และให้ใช้อย่างระมัดระวังเพราะอาจระคายเคืองต่อผิวหนังของ
ผู้ใช้
4.   ใบและดอกของพริก นำมาคั้นผสมน้ำไปฉีดพ่น เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส โดยฉีดก่อนที่จะมีการระบาดของไวรัส






พริกไทย
•   มด
•   เพลี้ยอ่อน
•   หนอนผีเสื้อกะหล่ำ
•   ด้วยปีกแข็ง
•   หนอนกะหล่ำปลี
•   ด้วงในข้าวไวรัส

น้ำมันหอมระเหย และอัลกาลอยด์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท
1.   ใช้เมล็ด 100 กรัม บดละเอียด ผสมน้ำ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน
2.   หมักทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมแชมพูซันไลต์ 1 หยด
3.   ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง ทุกๆ 7 วัน

ไพร
•   เชื้อรา

ใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราในข้าวบาร์เลย์
   1. บดไพลแห้งให้ละเอียด แล้วละลายในแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วนร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก แล้วนำไปฉีดพ่น

มะรุม
•   เชื้อรา
•   แบคทีเรีย
•   โรคเน่า

ในใบจะสารพวกผลึกของอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง Pythium debangemum กำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ โรคโคนต้น และผลเน่าของตระกูลแตง โรคผลเน่าใกล้พื้นดินของมะเขือเทศ โรคเน่าคอดินของคะน้ โรงแง่งขิงเน่า
1.   นำใบมะรุมรูดเอาแต่ใบมาคลุกเคล้ากับดินที่เตรียมไว้ สำหรับเพาะกล้าหรือปลูกพืชผัก
2.   ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ใบมะรุมย่อยสลายไปกับดิน
3.   สารที่อยู่ในใบของมะรุมจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี



มะละกอ
•   โรคราสนิม
•   โรคราแป้ง

ใบของมะละกอมีสารออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคราแป้ง
1.   นำใบมะละกอมาหั่นประมาณ 1 กก. แล้วนำไปผสมกับน้ำ 1 ลิตร
2.   จากนั้นให้คั้นเอาน้ำและกรองโดยใช้ผ้าขาวบาง แล้วเติมน้ำ 4 ลิตร
3.   เติมสบู่ลงไปประมาณ 16 กรัม ละลายให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่น

มันแกว
•   เพลี้ยอ่อน
•   หนอนกระทู้
•   หนอนกะหล่ำ
•   หนอนใยผัก
•   ด้วงหมัดกระโดด
•   มวนเขียว
•   หนอนผีเสื้อ
•   แมลงวัน

เมล็ดแก่มีสาร Pachyrrhrgin เป็นพิษต่อแมลงทางสัมผัสและทางกระเพาะอาหาร
1.   นำเมล็ดมาบดให้เป็นผง ประมาณ 0.5 กก. ละลายในน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 – 2 วัน
2.   ใช้เมล็ดมันแกว 2 กก. บดให้ละเอียด ละลายกับน้ำ 400 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วัน
3.   กรองเอาแต่น้ำ ใช้ฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยและหนอน

ยี่โถ
•   มด
•   แมลงผลไม้
•   หนอน

เปลือกและเมล็ดจะมีสาร glycocid, neriodorin ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลง
1.   ใช้ดอกและใบมาบดให้ละเอียด นำมาผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 10 หมักทิ้งไว้ 2 วัน
2.   นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง ใช้ใบและเปลือกไม้ ไปแช่น้ำนาน 30 นาที
3.   นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง


ละหุ่ง
•   ปลวก
•   แมงกะชอน
•   ไส้เดือนฝอย
•   หนู

มีประสิทธิภาพในการป้องกันศัตรูพืช
1.   เพียงแค่ปลูกละหุ่งเป็นแนวรอบสวนก็สามารถป้องกันหรือขับไล่ศัตรูพืช เช่น แมลกะชอน หนู
ปลวก และไส้เดือนฝอย
2.   หรือปลูกหมุนเวียนในไร่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอย

ลางสาด
•   หนอนหลอดลม

เมล็ดมีสาร Acid Alkaloid ซึ่งเป็นพิษกับแมลงและหนอน
1.   นำเมล็ดครึ่ง กก. บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. นำมากรองเอาแต่น้ำ
ไปฉีดพ่นกำจัดแมลง

เลี่ยน
•   หนอนกระทู้
•   หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
•   หนอนเจาะผลโกโก้
•   ด้วงงวง
•   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
•   ไรแดงส้ม
•   เพลี้ยอ่อนกะหล่ำ
•   หนอนผีเสื้อกะหล่ำ

เปลือกของต้น ใบ ผล เมล็ด มีสารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง ขับไล่แมลง ยับยั้งการดูดกิน
การเจริญเติบโต
1.   นำใบเลี่ยนสด 150 กรัม หรือใบแห้ง 50 กรัม นำมาแช่น้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม.
2.   นำมากรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง



ว่านน้ำ
•   ด้วงหมัดผัก
•   หนอนกระทู้ผัก
•   แมลงวันทอง
•   แมลงในโรงเก็บ
•   ด้วงงวงช้าง
•   ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว

เหง้าจะมีน้ำมันหอมระเหย ชนิด Calamol aldehyde มีพิษต่อระบบประสาทของแมลง
1.   นำเหง้ามาบดเป็นผง 30 กรัม ผสมกับน้ำ 4 ลิตร หมักทิ้งไว้ 24 ชม. หรือต้มนาน 45 นาที
2.   นำมาผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ นำไปฉีดพ่น 2 วัน ๆ ละ 1 ครั้ง

























เกษตรอินทรีย์
   ใบรับรอง      
   ชีววิธีกำจัดโรคพืช
   สมุนไพร-โรคพืช
   ผลิตพืชอินทรีย์

สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ  (International Organic Agriculture Movement : IFOAM) 
ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ได้ให้คำนิยามเกษตรอินทรีย์ไว้ว่า คือระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงช่วยลดการใข้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง

หลักการเกษตรอินทรีย์นี้ เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหภาพยุโรป เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศให้ความสนใจในเรื่องอาหารและสุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ก็ได้ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคในแต่ละประเทศเริ่มเล็งเห็นความสำคัญ ในเรื่องสุขภาพอนามัยของตนเอง โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หันมาสนใจในเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารที่มีความปลอดภัย ทั้งนี้จากสถิติของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่าความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ของตลาดส่งออกที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ในปี 2541 มีมูลค่า 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าอัตราการขยายตัวของสินค้าเกษตร ในแต่ละปีจะมีประมาณร้อยละ 20

ประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่รายหนึ่งของโลก จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรของตน หลังจากที่มีการใช้สารเคมี และปุ๋ยเคมีมานาน เพื่อรองรับความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ของตลาดโลกที่มีมากขึ้นแต่ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนตัวเองในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์

สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ การเตรียมการในเรื่องของมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศก่อน


การผลิตข้าวอินทรีย์

ข้าวอินทรีย์คืออะไร
    ข้าวอินทรีย์เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิดหรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีในทุกขั้นตอน เกษตรกรสามารถใช้วัสดุจากธรรมชาติ และสารสกัดต่าง ๆ จากพืชที่ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ทำให้ผลิตผลข้าวมีคุณภาพดี

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการทำอย่างไร
   1. พื้นที่ปลูก เป็นพื้นทที่ขนาดใหญ่ติดต่อกัน หากเป็นพื้นที่ใช้สารเคมีมาก่อนควรตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดิน
   2. พันธุ์ข้าว มีคุณภาพดี เช่น พันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เจริญเติบโตและผลผลิตดี
   3. เมล็ดพันธุ์ ได้จากการปลูกโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ ไม่คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เมล็ดสะอาดปราศจากโรคแมลง และสิ่งเจือปนต่าง ๆ ในกรณีที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ได้ อนุญาตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปกติ
   4. การเตรียมดิน ไถดะไถแปร ตากแดดไม่ใช้สารควบคุมวัชพืช
   5. วิธีปลูก ควรพิจารณาสภาพพื้นที่และการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าการปลูกโดยวิธีปักดำและหว่านข้าวแห้งเป็นวิธีการที่เหมาะสม
   6. การจัดการดิน ไม่เผาฟางข้าวและตอซัง ควรไพกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
   7. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้อินทรียวัตถุ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ที่เกษตรกรทำเองในพื้นที่
   8. การจัดการน้ำ ตามระยะเวลาเจริญเติบโตของต้นข้าว
   9. จัดระบบการปลูกพืชในนาข้าว ปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว
   10. การควบคุมวัชพืช โดยการเตรียมดินอย่างดี
11. การควบคุมศัตรูพืช การใช้วิธีเขตกรรม ใช้พันธุ์ต้านทาน กำหนดช่วงปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์และระยะปลูกที่เหมาะสมและการปลุกวงจรชีวิต เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชในนาข้าว
12. การเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บเกี่ยวในระยะพลับพลึงเป็นช่วงที่เหมาะสม และนวดลดความชื้นทำความสะอาดเมล็ด
13. การเก็บรักษาผลผลิต ควรแยกจากข้าวธรรมดา ตากแดด ลดความชื้นเมล็ดข้าวเปลือกให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์  และเก็บรกัษาไว้ในสภาพแวดล้อมที่ดีในยุ้งฉางเฉพาะ ไม่ปะปนกับข้าวธรรมดา ควรเก็บข้าวอินทรีย์ในรูปของข้าวเปลือก แปรสภาพเป็นข้าวกล้องหรือข้าวสารตามที่ต้องการ
14. การแปรสภาพข้าว จากข้าวเปลือกอินทรีย์เป็นข้าวสาร โดยใช้เครื่องสีสำหรับการสีข้าวอินทรีย์โดยเฉพาะ หากจำเป็นต้องใช้โรงสีแปรสภาพข้าวธรรมดา ควรทำความสะอาดเครื่องสี และ/หรือแปรสภาพข้าวอินทรีย์ก่อนข้าวธรรมดา
15. การบรรจุหีบห่อ บรรจุในถุงพลาสติก ขนาด 1 - 5 กิโลกรัม โดยใช้วิธีอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเฉื่อย หรือสูญญากาศ
การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการผลิตที่เป็นระบบและต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบการปฏิบัติและคุณภาพผลผลิต ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องมีการปฏิบัติเสมอตลอดฤดูการผลิตและเกษตรกรควรหาความรู้ เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลาดข้าวอินทรีย์ /
ประเทศ การผลิตข้าวอินทรีย์จึงต้องมีการตรวจสอบรับรองระบบการผลิต ตามมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์

   มาตรการกำกับดูแล ตรวจสอบคุณภาพและการรับรองผลผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นการกำกับดูแลให้การผลิตข้าวอินทรีย์ในทุกขั้นตอนเป็นไปตามมาตรฐานและคุณภาพของผลผลิต เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้าวอินทรีย์ที่วางขายหรือผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากว่าเป็นอินทรีย์นั้น เป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่แท้จริง เริ่มการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค

   ปัจจุบันเกษตรกรและผู้ผลิตสามารถยื่นคำขอรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ได้จาก 3 องค์กรดังต่อไปนี้
   1. กรมวิชาการเกษตร
    เป็นผู้ออกใบรับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ในนามหน่วยงานของรัฐบาล ผู้ประสงค์จะได้รับใบรับรอง ต้องยื่นคำขอหนังสือรับรองได้ที่สถาบันพืชอินทรีย์ จตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2579-7520 กรอกใบสมัครตามแบบที่กำหนด กรมวิชาการเกษตร
   2. สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)
       เป็นหน่วยงานเอกชนผู้ออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ผู้ประสงค์จะได้ใบรับรองให้ติดต่อไปที่ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เลขที่ 801/8 ซ.งามวงศ์วาน /      โทร. 0-2580-0934
   3. หน่วยงานตรวจสอบรับรองของต่างประเทศ
       ปัจจุบันมีหน่วยงานตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ของต่างประเทศที่มาดำเนินกิจการในประเทศไทย คือ
      1. บริษัท OMIC จำกัด  โทร. 0-2288-4120-3
      2. บริษัท P & S AGRO CONTROL จำกัด  โทร. 0-2361-1910
      3. บริษัท BCS จำกัด  โทร. 0-5322-0863
      4. บริษัท BIOAGRICERT จำกัด  โทร. 0-2619-5353

เรียบเรียง    สมคิด  โพธิ์พันธุ์
   สุพจน์  ชัยวิมล
   กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์
   ส่วนส่งเสริมและบริการพัฒนาคุณภาพสินค้า
   สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
   กรมส่งเสริมการเกษตร
               ที่ปรึกษา   ดร.ทวี  คุปต์กาญจนากุล สถาบันวิจัยข่าว
                     ไพฑูรย์  พูลสวัสดิ์  กรมวิชาการเกษตร
               ศิลปกรรม   จักรพงษ์  พุทธทอง

เกษตรอินทรีย์คืออะไร

เกษตรอินทรีย์คืออะไร เป็นคำที่ไม่แน่ใจว่าผู้คนจะลึกซึ้งมากน้อยเพียงใดดังที่กล่าวมาแล้วว่าเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในยุโรป ดังนั้นนิยามของเกษตรอินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างจากผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ และผักอนามัย ดังนี้

เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาเกษตร)

ผักไร้สารจากสารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกัน เพื่อปราบศัตรูพืช หรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใด ๆ ทั้งสิ้น ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538

ผักอนามัย คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความถูกต้องตามกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง และการบรรจุหีบห่อ ได้คุณสมบัติมาตรฐาน

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์
การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุ และกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูยหายและไร้สมรรถภาพ ความไม่สมดุลนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้นได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลิตผลมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำ เป็นผลทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองของพืช พืชจะอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้การคุกคามของแมลงเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจะนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช  ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหารและระบบการเกษตรของเรา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน จากรายงานการสำรวจขององค์กรการอาหารและการเกษตรแห่งประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลก แต่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ใช้ฮอร์โมนเป็นอันดับ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตร เป็นเงินสามหมื่นล้านบาทต่อปี เกษตรกรต้องมีปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูก ทำให้เกิดการลงทุนสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปีไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลให้เกษตรกรขาดทุน มีหนี้สิน การเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ การเกษตรสมัยใหม่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมาก ดังนี้
1. ความอุดมสมบูรณ์ลดลง
2. ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม
3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด ทำให้เกิดความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด
4. แม่น้ำและทะเลสาบปนเปื้อนด้วยสารเคมีและความเสื่อมโทรมของดิน
5. พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณที่กำหนด ทำให้เกิดพิษภัยแก่ผู้บริโภค
6. สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิม

นอกจากนั้นการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย จึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมาก ทำให้ตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อผู้บริโภค โรควัวบ้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหมือนสัญญาณอันตรายที่บอกให้รู้ว่าการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรม ไม่เพียงเป็นการทรมานสัตว์ แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย

ผลเสียจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร
ในโลกของเรานี้มีสารเคมีที่มนุษย์เราผลิตขึ้นประมาณ 600,000 ชนิด ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ 60,000 ชนิด ใช้ในชีวิตประจำวัน และมีสารเคมีเกิดขึ้นใหม่ปีละ 1,000 ชนิด สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรพบว่าเป็นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 150 ชนิด องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้สำรวจพบว่ามีคนป่วยด้วยสารเคมีปีละ 750,000 คน และเสียชีวิตปีละประมาณ 50,000 คน เสียชีวิตเนื่องจากน้ำไม่สะอาดปีละ 25,000 คน ผลเสียที่พบว่าเกิดจากการใช้สารเคมี คือทำให้ภูมิต้านทานลดลงอันเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จากข้อมูลการเสียชีวิตในประเทศไทย ปี 2540 พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุต่าง ๆ เรียงตามลำดับได้ดังนี้
อันดับที่ 1 อุบัติเหตุ 18 เปอร์เซนต์
อันดับที่ 2 โรคหัวใจ 14 เปอร์เซนต์
อันดับที่ 3 โรคมะเร็ง  9 เปอร์เซนต์
อันดับที่ 4 โรคตับ     3 เปอร์เซนต์ 

แต่ในระยะสองปีที่ผ่านมา (2544 - 2545) พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากมะเร็งมากเป็นอันดับ 1 สองปีติดต่อกันแล้ว ปีละประมาณ 50,000 ราย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานอาหารที่ผิด ๆ และมีสารปนเปื้อน นอกจากสารเคมีหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็งแล้ว ยังมีพิษต่อระบบประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้ผู้ชายมีอสุจิอ่อนแอ ทำให้มีบุตรยาก

นอกจากมีผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตแล้วการใช้เคมีนาน ๆ ยังทำให้แมลงมีความต้านทานต่อยาปราบศัตรูพืชด้วยโดยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2539 ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าพบแมลงมากกว่า 500 ชนิด ต้านทานต่อยาฆ่าแมลงที่ฉีด ทำให้ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่มากขึ้น

ผลเสียอีกประการที่ตามมาคือทำให้พันธุ์พืชดั้งเดิมสูญหายโดยในประเทศสหรัฐอเมริการายงานว่าจากเดิมมีพันธุ์พืชดั้งเดิม อยู่ประมาณ 80,000 ชนิด ปัจจุบันพบเหลืออยู่เพียง 150 ชนิด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ในประเทศเยอรมัน  ตลอดระยะ 20 ปี ที่ผ่านมาไม่พบสาหร่ายน้ำในแม่น้ำเกิดขึ้นเลย ในประเทศแคนนาดาในพื้นที่ 6 ไร่ 1 งาน จะพบว่ามีต้นไม้ขึ้นอยู่เพียง 1-5 ชนิดเท่านั้น  ประเทศออสเตรเลีย ปีพ.ศ. 2537 พบโลหะหนักปนเปื้อนในผักและผลไม้ที่ปลูกในนครซิดนีย์สูงกว่าปริมาณที่ยอมรับได้ 11 เท่า นอกเหนือจากนั้นยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือสารเคมีบางอย่างตกค้างอยู่ในระบบนิเวศนาน บางชนิดอยู่นานถึง 3 ปี

ทำไมถึงห้ามใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม
เพราะไม่แน่ใจว่าพันธุ์พืช หรือสัตว์ที่เกิดจากการดัดแปลงจากพันธุกรรมจะปลอดภัยหรือไม่ อย่างเช่นกว่าจะรู้ว่าบุหรี่มีอันตรายต่อมนุษย์คือสาเหตุของโรคมะเร็ง ต้องใช้เวลาในการศึกษาถึงร้อยปี จึงทราบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

ทำไมจึงห้ามใช้ปุ๋ยเคมี 
หลายคนเชื่อว่าปุ๋ยเคมีไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแต่ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะปุ๋ยไนเตรทตกค้างในพืชผักหรือปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน ถ้าเราบริโภคไนเตรทเข้าไป สารดังกล่าวจะแปรรูปเป็นไนเตรท และไนเตรทเป็นสารก่อมะเร็งในกระเพาะอาหาร ตับ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นในประเทศที่พัฒนาแล้วจึงได้มีการกำหนดปริมาณสารไดเตรทตกค้างในผักและน้ำดื่มไว้ด้วย

ทำไมผู้คนจึงสนใจอาหารอินทรีย์
ยุโรปพบสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม เกิดโรควัวบ้าระบาด พบสารไดออกซิน พันธุ์พืช GMOs นอกเหนือจากการเกิดโรคมะเร็งกับมนุษย์เป็นจำนวนมาก ในประเทศออสเตรเลียมีการศึกษามานานกว่า 12 ปี พบว่าอาหารอินทรีย์มีวิตามินซี ธาตุเหล็กและธาตุอื่น ๆ มากกว่าอาหารที่ผลิตจากการเกษตรเคมีโดยทั่วไป นอกจากนั้นยังพบว่าผักอินทรีย์มีรสชาติที่หวานกรอบกว่าผักสารเคมี ในประเทศอเมริกามีการประชุมสมาคมนักเคมีประมาณ 400 คน เข้าร่วมประชุมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2545 มีผลนำเสนอผลงานส้มอินทรีย์ว่า ถึงรูปร่างจะไม่สวยแต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะวิตามินซีจะมีมากกว่าส้มที่ผลิตโดยใช้สารเคมีถึง 30 เปอร์เซ็นต์

กล่าวโดยสรุป  อาหารอินทรีย์ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า ให้ต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า ให้พื้นดินที่อุดมสมบูรณ์กว่า และสุดท้ายคือให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะมีรูปร่างที่สมส่วนตามธรรมชาติ สีสวยเป็นปกติ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ มีโครงสร้างของเนื้อนุ่ม กรอบ แน่น มีรสชาติดี ไม่มีสารตกค้าง เก็บรักษาได้นาน และให้สารอาหารและพลังงานชีวิตที่ดีที่สุด
เป็นเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างไร
o   การเกษตรปัจจุบันสามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาความรู้จากธรรมชาติ เมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน เมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับประเภทเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิต ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ข้อสำคัญนั้นอยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้ มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อถอยต่อปัญหา หรืออุปสรรคใด ๆ มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง เมื่อเป็นเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอเอกสารรับรองมาตรฐานจากภาครัฐ หรือเอกชน จึงจะนับว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์ เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน
o   ปัญหาในการทำเกษตรอินทรีย์
1. ผลผลิตจะไม่ออกทั้งปี แต่ออกตามฤดูกาล เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นการทำการเกษตรที่พึ่งพา 
    อาศัยธรรมชาติมากกว่าการฝืนธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ต้องการใช้สารเคมีมากขึ้นตามไปด้วย
2. ราคาผลผลิตจะสูงกว่า เพราะแม้จะใช้ปัจจัยในการผลิตลดลงแต่ต้องใช้แรงงานในการดูแลและ
    เอาใจใส่มากขึ้น

แหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์
สำหรับแหล่งผลิตสินค้าพืชอินทรีย์นั้น ประกอบด้วยแหล่งผลิตข้าวอินทรีย์อยู่ที่จังหวัดพะเยา เชียงราย สุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ผักอินทรีย์อยู่ที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สระแก้ว สุพรรณบุรี เชียงใหม่ ลำพูน

หลักพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย์
1. ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมน
2. เน้นการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคแมลง
3. รักษาความสมดุลของธาตุอาหารภายในฟาร์ม โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. ป้องกันมิให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีจากภายนอกฟาร์ม ทั้งจากดิน น้ำ และอากาศ โดยจัดสร้างแนวกันชนด้วยการขุดคู หรือปลูกพืชยืนต้น และพืชล้มลุก
5. ใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่มีความต้านทาน และมีหลากหลาย ห้ามใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุ์กรรม 
6.การกำจัดวัชพืชใช้เตรียมดินที่ดี และแรงงานคนหรือเครื่องมือกล แทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช
7. การป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้สมุนไพรกำจัดพืชแทนการใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืช

8. ใช้ฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น จากน้ำสกัดชีวภาพแทนการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
9. รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการรักษาไว้ซึ่งพันธุ์พืช หรือสัตว์ สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตลอดจนปลูกหรือเพาะเลี้ยงขึ้นมาใหม่
10. การปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปให้ใช้วิธีธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน
11. ให้ความเคารพสิทธิมนุษย์และสัตว์
12. ต้องเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อรอการตรวจสอบ

ภาวะการทำเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ
ประเทศออสเตรเลียและสวิสเซอร์แลนด์ มีการทำการเกษตรอินทรีย์ 10 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐอเมริกามีคนทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ ทุกปี และทำมากว่า 28 ปีแล้ว ประเทศสวีเดนระหว่างปี 2513 -2523 ได้เกิด green wave โดยคนในเมืองอพยพเข้าไปทำเกษตรอินทรีย์ในชนบท และได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำเกษตรให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2523 และ 20 เปอรเซ็นต์ ในปี 2548

ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในตลาดโลก ปัจจุบันมีการทำไวน์อินทรีย์ที่ผลิตจากองุ่นอินทรีย์ ช็อคโกแล็ต ที่ทำจากโกโก้อินทรีย์ นมอินทรีย์ ฝ้ายอินทรีย์ กาแฟอินทรีย์ ชาอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ ถั่วเหลืองอินทรีย์ หน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ ข้าวโพดอ่อนอินทรีย์ สัปปะรดอินทรีย์ ส้มอินทรีย์ และแอปเปิ้ลอินทรีย์ เป็นต้น

   ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์
สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ บริษัทในเครือนครหลวงและบริษัทในเครือสยามวิวัฒน์ ผลิตข้าวอินทรีย์ในท้องที่จังหวัดพะเยาและเชียงราย เนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 1,200-1,500 ตัน ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ภายในการควบคุมขององค์กรตรวจสอบคุณภาพประเทศอิตาลี  ซึ่งเป็นสมาชิกสมาพันธ์การเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ (IFOAM) มีการผลิตกล้วยหอมอินทรีย์ส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับ สหกรณ์ผู้บริโภคโตโต้ประเทศญี่ปุ่น มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 259 รายในพื้นที่ 1,500 ไร่ ผลผลิตของสมาชิกในโครงการประมาณ 2,000-2,500 ตัน/ปี นอกจากนั้นในหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เช่น จังหวัดสุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ เป็นต้น ก็ได้มีการผลิตข้าวอินทรีย์ส่งไปขายยังสหภาพยุโรป ภายใต้เครือข่ายของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน จังหวัดอุบลราชธานี ส่งออกในนามเกษตรก้าวหน้า เป็นต้น ปี พ.ศ. 2542-2546 กรมการส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการนำร่องการเกษตรเพื่อการส่งออกโดยร่วมกับผู้ส่งออกจำนน 6 บริษัท ตั้งเป้าหมายผลิตอินทรีย์ 6 ชนิด เพื่อการส่งออก คือ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฟักอ่อน กล้วยไข่ สัปปะรด ขิง และกระเจี๊ยบเขียว เพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา




สำหรับสถานการณ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศนั้น ในปี พ.ศ. 2544 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกมีมูลค่าประมาณ 716,800 ล้านบาท โดยตลอดส่วนใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา 320,000 ล้านบาท สหภาพยุโรป 296,800 ล้านบาท ญี่ปุ่น 100,000 ล้านบาท  โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี ประเทศที่มีการซื้อขายเกษตรอินทรีย์มากที่สุด 10 อันดับแรก คือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยทั่วไปจะสูงกว่าสินค้าปกติร้อยละ 25-50 อย่างไรก็ตามปริมาณสินค้าเกษตรอินทรีย์รวมทั่วโลกในปัจจุบันร้อยละ 1 ของปริมาณสินค้าทั้งหมด และคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเติบโตขึ้นร้อยละ 10 ดังนั้นในโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในตลาดโลกของประเทศไทยยังมีอยู่มาก

   สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออก
พืช ที่มีศักยภาพในการส่งออก ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวโพดฟักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ขิง สมุนไพร และเครื่องเทศ ชา กล้วยไข่ กล้วยหอม ลำไย และสัปปะรด เป็นต้น
ประมง สินค้าประมงอินทรีย์ที่มีศักยภาพในการส่งออกได้แก่ กุ้งกุลาดำ ปลาสลิด
ปศุสัตว์ สินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ที่มีศักยภาพในการส่งออกได้แก่ ไก่ สุกร ไข่ไก่
อื่น ๆ  ได้แก่ น้ำผึ้ง

   สนใจปลูกพืชแบบอินทรีย์จะทำอย่างไร
การเลือกพื้นที่
1. ควรเลือกพื้นที่เหมาะสม โดยอยู่ห่างโรงงาน ห่างแปลงปลูกที่ใช้สารเคมี มีแหล่งน้ำสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน
2. ศึกษาประวัติพื้นที่ เช่น เคยปลูกพืชอะไร การใช้ปุ๋ยและสารเคมี ย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
3. เลือกปลูกพืชให้เหมาะกับดิน โดยให้พิจารณาว่าดินมีทั้งดินร่วน ดินเหนียว หน้าดินตื้น หน้าดินลึก ดินเป็นกรด ดินเป็นด่าง ดินเค็ม เป็นต้น จึงควรพิจารณาเลือกปลูกพืชที่ขึ้นอยู่เดิม
4. สังเกตจากพืชที่ขึ้นอยู่เดิม เก็บตัวอย่างดิน น้ำ ไปทำการวิเคราะห์

การวางแผนจัดการ
1. วางแผนป้องกันสารพิษจากภายนอก ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การป้องกันทางน้ำโดยขุดคูรอบแปลง การป้องกันทางอากาศโดยปลูกพืชกันชน ทั้งไม้ทรงสูง ทรงสูงปานกลาง ต้นเตี้ย บนคันกั้นน้ำรอบแปลง
2. วางแผนป้องกันภายในจัดระบบการระบายน้ำ การเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และการเข้าออกไร่นา
3. วางแผนระบบการปลูกพืช เลือกฤดูปลูกที่เหมาะสม ใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค-แมลง พืชบำรุงดิน พืชไล่แมลง

การปรับปรุงบำรุงดิน
1. เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง (ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)
2. ถ้าดินเป็นกรดจัด ใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด
3. ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบ ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น (โสน ควรปลูกในนา ถั่วต่าง ๆ ควรปลูกในไร่)
4. ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษซากพืช เพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน และให้ธาตุอาหารพืช
5. ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต
6. ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน

   แผนการจัดการศัตรูพืชก่อนปลูก
1. กรณีใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก
- ควรใช้เมล็ดพันธุ์ต้านทานต่อโรค-แมลง และวัชพืช ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากศัตรูพืช (โรค-แมลง   
   และวัชพืช)
- แช่เมล็ดในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 10-30 นาที (แล้วแต่ชนิดเมล็ด
  พันธุ์) เพื่อกำจัดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย บางชนิดที่ติดมากับเมล็ด
- คลุกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อไตรโคเดอร์ม่า เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส สัปทิลิส
2. การเตรียมแปลงเพาะกล้า อบดินแปลงเพาะกล้า อบดินแปลงเพาะด้วยไอน้ำหรือคลุกดินด้วยเชื้อราปฏิปักษ์ในระยะกล้า
3. การเตรียมแปลงปลูก ไถตากดิน 1-2 สัปดาห์ ให้เมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบใช้พลาสติกที่ไม่ย่อยสลาย คลุมแปลงกำจัดวัชพืชในดินที่ต้องการแสงแดด ใช้ปูนเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ลงในดินป้องกันการระบาดของเชื้อราบางชนิด

   ระยะพืชเจริญเติบโต
การควบคุมโรคพืช โรยเชื้อราปฏิปักษ์รอบโคนต้น เก็บเผาทำลายชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรค ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส สัปทิลิส ทาแผลที่พ่นที่ต้นพืช

   สารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน
1. กากตะกอนโสโครก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผัก)
2. สารเร่งการเจริญเติบโต
3. จุลินทรีย์ และผลิตผลจากจุลินทรีย์ที่ได้มากจากการตัดต่อสารพันธุกรรม
4. สารพิษตามธรรมชาติ เช่น โลหะหนักด่าง
5. ปุ๋ยเทศบาล หรือปุ๋ยหมักจากขยะในเมือง

   สารที่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน
1. ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ผลิตจากวัตถุในไร่นา เช่น
- ปุ๋ยหมัก จากเศษซากพืช ฟางข้าว ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เศษไม้ และวัตถุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่น ๆ   
   เป็นต้น
    - ปุ๋ยคอก จากสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ ไม่ใช้อาหารจากจีเอ็มโอ (สารตัดต่อพันธุกรรม) ไม่ใช้สารเร่ง
       การเจริญเติบโตและไม่มีการทรมานสัตว์
    - ปุ๋ยพืชสด เศษซากพืชและวัตถุเหลือใช้ในไร่นารูปสารอินทรีย์


2. ดินพรุ ที่ไม่เติมสารสังเคราะห์
3. ปุ๋ยชีวภาพ หรือจุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ
4. ขุยอินทรีย์ สิ่งที่ขับถ่ายจากไส้เดือนและแมลง
5. ดินอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
6. ดินชั้นบน (หน้าดิน) ที่ปลอดจากการใช้สารเคมีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
7. ผลิตภัณฑ์จากสาหร่าย และสาหร่ายทะเล ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
8. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากพืชและสัตว์
9. อุจจาระและปัสสาวะ ที่ได้รับการหมักแล้ว (ใช้ได้กับพืชที่ไม่เป็นอาหารของมนุษย์)
10. ของเหลวจากระบบน้ำโสโครก จากโรงงานที่ผ่านกระบวนการหมักโดยไม่เติมสารสังเคราะห์ และไม่
เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
11. ของเหลือใช้จากกระบวนการในโรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานมันสำปะหลัง โรงงานน้ำปลา โดยกระบวนการเหล่านั้นต้องไม่เติมสารสังเคราะห์ และต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ
12. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือสัตว์ ซึ่งได้จากธรรมชาติ

   สารอนินทรีย์
หินและแร่ธาติ  ได้แก่
-   หินบด
-   หินฟอสเฟต
-   หินปูนบด (ไม่เผาไฟ)
-   ยิบซั่ม
-   แคลเซียม
-   ซิลิเกต
-   แมกนีเซียมซัลเฟต
-   แร่ดินเหนียว
-   แร่เพอร์ไลท์
-   ซีโอไลท์
-   เบนโทไนท์
-   หินโพแทส
-   แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล และสาหร่ายทะเล
-   เปลือกหอย
-   เถ้าถ่าน
-   เปลือกไข่บด
-   กระดูกป่น และ เลือดแห้ง

-   เกลือสินเธาว์
-   โบแร็กซ์
-   กำมะถัน
-   ธาตุอาหารเสริม (โบรอน ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบดินัม และสังกะสี)

สารอนุญาตให้ใช้ควบคุมโรคพืช
สารที่อนุญาตให้ใช้ควบคุมโรคพืช ได้แก่ กำมะถัน บอร์โดมิกซเจอร์ พืชสมุนไพรและสารสกัดจากสมุนไพร คอปเปอร์ซับเฟต คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ คอปเปอร์ออกซี คลอไรด์

การควบคุมแมลง
สำรวจแมลงศัตรูพืชในแปลงปลูก หากพบแมลงศัตรูพืชให้ปฏิบัติได้ดังนี้
1. ถ้าแมลงมีจำนวนน้อย ให้ใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพจากพืช หรือสารสกัดจากพืชสมุนไพร เช่น ดาวเรือง ว่านน้ำ พริก สาบเสือ หางไหลแดง สะเดา เป็นต้น ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อไวรัสเอ็นพีวี เชื้อแบคทีเรียบีที ไส้เดือนฝอย ศัตรูธรรมชาติ เชื้อราเมตาไลเซี่ยม ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน น้ำสบู่ สารทำหมันแมลง
2. หากแมลงระบาด ใช้กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ เพื่อลดปริมาณแมลง ใช้ไว้ท์ออยล์ พรอมิเนอรัล ออยล์

การควบคุมวัชพืช
1. ควรควบคุมก่อนวัชพืชออกดอก
2. ควบคุมโดยวิธีทางกายภาพ เช่น อบ ตาก บด ถอน ตัด ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ใช้พลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลง
3. ใช้สารสกัดจากพืช
4. ใช้ชีววิธี เช่น แมลง สัตว์ หรือจุลินทรีย์

ระบบมาตรฐานและการตรวจสอบรับรอง
เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตที่เกษตรกรจะต้องยึดถือปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่กำหนด และมีการตรวจสอบรับรองจากองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองสินค้าชนิดนั้นจึงได้รับอนุญาตให้ติดตราเพื่อแสดงว่า เป็นสินค้าเกษตรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 2 ฉบับ คือ มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์โดยมีองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ 2 องค์กร คือ
-   สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร
-   สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชน







การขอใบรับรองพืชอินทรีย์
1. กรมวิชาการเกษตร เป็นออกใบรับรองผลิตผลเกษตรอินทรีย์ในนามหน่วยงานของรัฐบาล ผู้ประสงค์จะได้ใบรับรองต้องปฏิบัติดังนี้
- ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองได้ที่สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร.0-2579-7520
- กรอกข้อความตามแบบที่กำหนด
- กรมวิชาเกษตร จะส่งเจ้าหน้าที่ที่ไปตรวจสอบกระบวนการผลิต พร้อมเก็บตัวอย่างดิน น้ำ และผลิตผลมาวิเคราะห์
- หากได้มาตรฐานตามที่วางไว้จะออกใบรับรองให้
- ขณะนี้ยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
2. สำนักงานมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ เป็นผู้ออกใบรับรองผลิตผลเกษตรอินทรีย์ในนามของภาคเอกชน ผู้ประสงค์จะได้ใบรับรองให้ติดต่อไปที่ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เลขที่ 801/8 ซอยงามวงศ์วาน อ.เมือง จ.นนทบุรี  โทร. 0-2580-0934

ระบบมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองของต่างประเทศ
ปัจจุบันมีองค์กรตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ของต่างประเทศที่มาดำเนินการตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยดังนี้ คือ
1. บริษัท Omic                 ติดต่อคุณเคน           โทร. 0-2288-4120-3
2. บริษัท P&S AGRO CONTROL    ติดต่อคุณเดชา           โทร. 0-2288-4120-3
3. บริษัท BSC                 ติดต่อคุณยอร์ค โรเสนเครันส   โทร. 0-2288-4120-3
 
การเก็บรักษาและการขนส่งผลิตผล
1. ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ต้องแยกออกจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์อย่างชัดเจน และต้องทำตลอดทุกกระบวนการ
2. ต้องป้องกันไม่ให้สัมผัสและปนเปื้อนวัสดุสังเคราะห์ต้องห้ามในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
3. การเก็บรักษาและขนส่ง ต้องรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด

การแปรรูป
วัตถุดิบต้องมาจากกระบวนการผลิตโดยเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองแล้ว กระบวนการผลิตต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐานของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในการบรรจุหีบห่อ ควรใช้วัสดุที่มีความปลอดภัยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของประเทศเป้าหมายที่จะส่งออก

รายชื่อวัสดุ ที่อนุญาตให้ใช้ในการแปรรูปสารเสริมแต่งอาหารและวัสดุเสริมแต่ง ตามข้อกำหนดของมาตรฐานระหว่างประเทศ
-   กรดกำมะถัน
-   กรดแอสคอร์บิค
-   โซเดียมแอสคอร์เบท และโพแทสเซียมแอสคอร์เบท
-   กรดทาร์ทาริก และเกลือของกรดนี้
-   กรดแลคติค
-   กรดมาลิก
-   กรดซิตริก และเกลือของกรดนี้
-   กรดอะซิตริก
-   กรดแทนนิก
-   ขี้ผึ้ง
-   ไขคาร์นอบา
-   คาร์บอนไดออกไซด์
-   เคซีอีน
-   เครื่องเทศ
-   แคลเซียมคลอไรด์
-   แคลเซียมไฮดรอกไซด์
-   แคลเซียมคาร์บอเนต
-   แคลเซียมซัลเฟต
-   โซเดียมคลอไรด์
-   เกลือทะเล
-   ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
-   เจลาติน
-   โวเดียมคาร์บอเนต
-   โซเดียมไฮดรอกไซด์
-   ดินเบา
-   ดินเบนโทไนท์
-   ถ่านพัมมันต์
-   ไนโตรเจน
-   น้ำผึ้ง
-   เปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
-   แป้งจากข้าว ข้าวโพด มันสัมปะหลัง มันฝรั่ง เป็นต้น
-   โพแทสเซียมคลอไรด์
-   โพแทสเซียมคาร์บอเนต
-   ผงฟูที่ปลอดจากอลูมินัม
-   เพคติน
-   แมกนีเซียมคลอไรด์
-   แมกนีเซียมคาร์บอเนต
-   ยางไม้
-   วุ้นจากสาหร่ายทะเล
-   สารเตรียมจากจุลินทรีย์ และเอนไซม์ ซึ่งช่วยในการแปรรูป
-   สารให้สีธรรมชาติ
-   สมุนไพร
-   สารทำขันคาร์แรจีแนน
-   ส่าหมักจุลินทรีย์
-   แอมโมเนียมคาร์บอเนต
-   อาร์กอน
-   ออกซิเจน
-   โอโซน
-   ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

สารที่อนุญาตให้ใช้ในการทำความสะอาด
-   กรดฟอสฟอริก
-   คอนติกโพแทช
-   จาเวลวอเตอร์
-   โซเดียมไบคาร์บอเนต
-   น้ำส้มหมักจากพืช
-   ผลไม้
-   น้ำด่าง
-   ปูนขาว
-   ผงซักฟอกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
-   สารละลายทับทิม
-   สารฟอกขาวถึง 10%
-   ไอโอดีน
-   ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์







Organic Life

ประวัติความเป็นมา
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ได้นำเอาเทคโนโลยีการเกษตรมาใช้อย่างแพร่หลาย เกิดธุรกิจการค้าขายปุ๋ยเคมี นำเข้าปีละ 15,000-20,000  ล้านบาท และสารเคมีนำเข้าปีละ 5,000-6,000 ล้านบาท สามารถเพิ่มผลผลิต เป็นสินค้าส่งออกทำรายได้เข้าประเทศไทยได้ทางหนึ่ง แต่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำลายสุขภาพแก่ผู้ผลิต และผู้บริโภคมากขึ้น ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ และทางบริษัทได้มองเห็นภัยจากวิธีการเกษตรที่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภคบางรายเจ็บป่วย บางรายเสียชีวิต จึงได้พยายามส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ที่เราพยายามส่งเสริมนี้ เป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจัดระบบการจัดการนิเวศวิทยา ที่คล้ายคลึงธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ที่ก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะเป็นผลดีแก่ผู้บริโภคอย่างแท้จริง

กิจกรรมของเรา
ในแต่ละวันที่ไร่ของเรา จะมีผู้มาเยี่ยมชม และของศึกษาหาความรู้จากไร่ของเรา ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เราสามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้แก่ประชาชนทั่วไป หรือรวมไปถึงนักวิชาการต่าง ๆ
“เราภาคภูมิใจในไร่ทนเหนื่อยของเรา”  ท่านโภคินมาเยี่ยมชมไร่ สอนความรู้ให้กับเด็กๆ ถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนทั่วไป

เกษตรอินทรีย์  (Organic Farming)
มาตรฐานตรารับรองเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
ความเป็นมาของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
   ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ (Organic food Production Act-OFPA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) และมีการแก้ไขในปีพ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)
   ตลาดร่วมกลุ่มประเทศในยุโรป (European Unity : EU.) ได้มีการรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของสภาตลาดร่วมยุโรป (EEC No. 2092/91) และฉบับแก้ไข ข้อกำหนดส่วนใหญ่ให้คำแนะนำในการนำเข้าอาหารอินทรีย์ที่ผลิตจากประเทศอื่นภายใต้มาตรฐานการผลิต และมาตรการการตรวจสอบที่เหมือนกันทุกประการ

ประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ประกาศใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยอ้างอิงกฎหมายมาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น (Japan Agriculture Standard – JAS)

ประเทศไทย ได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ หลังจากผ่านการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยและผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM) ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรป
สมาคมดินแห่งสหราชอาณาจักร  (Soi Association UK) เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้พัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร
องค์กรเครือข่าย (Pesticide Network Action : PNA) เป็นองค์กรเครือข่ายของสหราชอาณาจักร และประเทศเนเธอแลนด์ ที่กำลังปฏิบัติการเคลื่อนไหว ซึ่งจะทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยมีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
•   ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
•   พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
•   ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
•   ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
•   ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
•   ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
•   กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
•   ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม
•   ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการ

การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ม.ก.ท.)
   สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ม.ก.ท.) ได้ขอรับการรับรองระบบจาก “สถาบันเกษตรอินทรีย์นานาชาติ” หรือ International Federation of Organic Agriculture Movement (IFOAM) จากประเทศเยอรมันนี เป็นเครื่องยืนยันว่ามาตรฐานดังกล่าวได้ถูกพัฒนาขึ้น อย่างถูกต้องและเป็นที่น่าเชื่อถือในระดับสากลและในเดือนพฤศจิกายน 2544 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกจัดวางขึ้นโดย ม.ก.ท. นี้ ก็ได้ถูกรับการรับรองระบบอย่างเป็นทางการจากสถาบัน IFOAM โดยทาง ม.ก.ท. ได้จัดทำกลไกการให้บริการตรวจสอบและให้การรับรองแก่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ กิจการแปรรูปผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์


   การรับรองของ ม.ก.ท. เป็นการรับรองตลอดทั้งระบบการผลิต การตรวจสอบจะครอบคลุมตั้งแต่เริ่มปลูก ดูแลรักษา จนกระทั่งเก็บเกี่ยว และเมื่อนำผลผลิตมาสู่ขั้นตอนการแปรรูป การตรวจสอบจะเริ่มตั้งแต่การได้มาและการจัดการวัตถุดิบ กรรมวิธีการแปรรูป การบรรจุ และการขนส่ง จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคด้วยเหตุนี้ผู้บริโภคจึงสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีความปลอดภัยอย่างแท้จริง

Organic Thailand
อันเนื่องมาจากการประกาศใช้มาตรฐาน การผลิตพืชอินทรีย์กรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2544 เพื่อให้เกิดการผลิตพืชอินทรีย์ภายในประเทศเป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมั่นใจในระบบการผลิต การตลาดและการบริโภค จึงจำเป็นต้องสร้างกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติให้ได้มาตรฐานการผลิต มีระบบการตรวจสอบและออกใบรับรอง โดยรัฐมีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล รวมทั้งกำหนดบทลงโทษ

ระบบการตรวจสอบและออกใบรับรองที่กรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ เกิดจากการลอกเลียนแบบจากประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เป็นมาตรฐานและดำเนินกิจการยาวนานเป็นที่เชื่อถือทั่วโลก และได้มีการปรับปรุงแก้ไขกรรมวิธีบางประการเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตการเกษตรและวันะรรมการผลิตของเกษตรกรในประเทศไทย เพื่อสามารถดำเนินการให้ได้ระดับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประเทศทั่วโลก

ฟาร์ม
“ไร่ทนเหนื่อย” เป็นโครงการขยายผลอันเนื่องมาจากพระราชดำริสหกรณ์เมืองลพบุรี ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เป็นไร่ที่เป็นแหล่งศูนย์กลางให้ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยมี อ.สมหมาย หนูแดง ผู้เป็นผู้นำความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศ คอยให้องค์ความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์แก่ผู้มาเยี่ยมชม และผู้มาศึกษา

ผลิตภัณฑ์ของเรา
ผักใบ (Green Vegetable)     
ผักสลัด (Salad)     
ผักผล (Fruit Vegetable)     
ผักหัวและฝัก (Roots, Beans And Peas)     
ผักดอก (Flower Vegetable)     






 
ผักใบ (Green Vegetable) 
ชื่อไทย   English
กระเพรา
กะหล่ำปลี
คึ่นฉ่าย
ชะอม
ต้นหอม
ตำลึง (ยอดอ่อน)
ใบแมงลัก
ปวยเล้ง
ผักกวางตุ้ง (ต้น)
ผักกวางตุ้งฮ่องเต้
ผักกาดขาวเบา
ผักกาดขาวปลี
ผักขมจีน
ผักคะน้า (ยอด)
ผักชี
ผักบุ้งจีน
ผักบุ้งไทย
ผักปลัง
ยอดมะระขี้นก
โหระพา                      Holy Basil
Cabbage
Celery
Acacia
Green Shaliot
Ivy Gourd
Hairy Basil
Spinach
Flowering Cabbage
Kwangtung Province in China
Chinese Cabbage Chinese Cabbage-Michilli
Chinese Cabbage-Michilli
Ammaranthus or Boerhavia
Chinese Kale
Coriander
Chinese Water Convolvulus Flowering Cabbage
Thai Water Convolvulus Flowering Cabbage
Ceylon Spinach
Tops of Bitt Cumcumber
Sweet Basil

 ผักสลัด (Salad)     
 ชื่อไทย   English
คอสลีพ (เขียว)
คอสลีพ (แดง)
ผักกาดหอม
สลัดม่วง
โอ๊คลีพ (เขียว)
โอ๊คลีพ (แดง)                  Cos Leaf (Green)
Cos Leaf (Red)
Lettuce
Lollo Rosso
Oke Leaf (Green)
Oke Leaf (Red)
 





ผักผล (Fruit Vegetable)   
ชื่อไทย   English
แตงกวา (กลาง)
แตงกวาญี่ปุ่น 
บวบงู
บวงเหลี่ยม
พริกขี้หนู
พริกชี้ฟ้าเขียว 
พริกหยวก
มะเขือกรอบ
มะเขือเปราะ
มะเขือพวง
มะเขือม่วงญี่ปุ่น
มะเขือยาวเขียว
มะระจีน
มะละกอดิบ                         Cucumber     
Japanese Cucumber
Snake Loofah
Angled Loofah
The Bird Pepper Chinese Butter Gourd
The Larger Variety of The Bird Pepper
The Bell Pepper
Small Bitter Groud
Brinjal
Plate Brush
Japanese Purple Egg Plant
Long Egg Plant
Chinese Butter Gourd
Green Papaya
 
ผักหัวและฝัก (Roots, Beans And Peas)     
ชื่อไทย   English
กระเจี๊ยบสด       
ข้าวโพดฝักอ่อน
ถั่วแขก
ถั่วฝักยาว
ถั่วพู
บัตเตอร์เฮด
หัวไชเท้า           Reselle       
Baby Corn     
French Bean
Yard Long Bean
The Winged Bean
Butter Head
Chinese Radish

ผักดอก (Flower Vegetable)     
ชื่อไทย   English
บร๊อคโคล 
ผักกวางตุ่ง (ดอก)
ยอดฟักทอง   Broccoli   
Flowering Cabbage
Pumkin Flower





สถานที่จัดจำหน่าย
Top ซุปเปอร์มาร์เก็ต  สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว
Top ซุปเปอร์มาร์เก็ต  สาขาเซ็นทรัลซิตี้บางนา
Top ซุปเปอร์มาร์เก็ต  สาขารัตนาธิเบศร์   
Top ซุปเปอร์มาร์เก็ต  สาขาสุขาภิบาล 3   
The Mall บางกะปิ               
The Mall งามวงศ์วาน
The Mall ท่าพระ               
The Mall บางแค

ติดต่อเรา
Organic Life Co., Ltd.
1478 ซอย 49 ถนนศรีบูรพา แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ  กรุงเทพมหานคร  10240
โทร.0-1850-8988 , 0-1638-0557

ผู้ส่งออกและแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์
1. ข้าว ข้าวโพด มะตูม ชา รางจืด ลำไย ผัก น้ำผึ้ง
สหกรณ์กรีนเนท จำกัด  กรุงเทพฯ   
โทร. 02-651-9055-6      โทรสาร 02-651-9072

2. ข้าว
บริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด  กรุงเทพฯ
โทร. 02-439-4848 , 01-668-0090      โทรสาร 02-439-4883-4

3. หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว
บริษัท ทานิยามา สยาม จำกัด   จังหวัดนครปฐม
โทร. 01-831-1207 , 034-302-234-8   โทรสาร 034-302-170
 
4. ข้าวโพดฝักอ่อน พริกเขียวหัวเรือ ข้าวโพดหวาน
บริษัท แอกโกร-ออน จำกัด  จังหวัดนนทบุรี
โทร. 02-984-1489   โทรสาร 02-984-1490
จังหวัดสุพรรณบุรี   โทรสาร 035-571-095
 



5. ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดหวาน กระเจี๊ยบเขียว พืชผัก สมุนไพร ตะไคร้
บริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด  จังหวัดกาญจนบุรี
โทร. 02-231-2934-3      โทรสาร 02-231-2944-5
โทร. 034-653-323-4      โทรสาร 034-653-390-1
 
6. หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน มังคุด ทุเรียน ผักกินใบ สมุนไพร ตะไคร้ ใบมะกรูด
บริษัท สวิฟท์ จำกัด  จังหวัดนครปฐม
โทร. 034-351-025-6 , 01-643-3500   โทรสาร 034-352-639
 
7. กล้วยไข่ มะละกอ
บริษัท ไทยฮงผลไม้ จำกัด  จังหวัดระยอง
โทร. 038-671-547 , 01-828-5740 , 02-929-5470-4   โทรสาร 02-929-5475-6
 
8. สับปะรดกระป๋องส่งออก
บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน)  กรุงเทพฯ
โทร. 02-661-3440-7 , 02-661-3422-3 , 01-812-5001   โทรสาร 02-661-3422-3
 
9. ผักต่าง ๆ
บริษัท ไทยออแกนนิกออกริ จำกัด  จังหวัดเชียงใหม่
โทร. 053-248-137 , 01-602-3807      โทรสาร 053-306-281

10. ผักต่าง ๆ สมุนไพร
บริษัท ไทยออแกนิกโปรดักซ์ จำกัด  จังหวัดเชียงใหม่
โทร. 053-399-211-2 , 01-287-7457   โทรสาร 053-399-211
 
11. ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วพุ่ม ข้าวโพดฝักอ่อน
บริษัท ลานนาเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด  จังหวัดเชียงใหม่
โทร. 053-421-389-97   โทรสาร 053-420-790
 
12. ผักสลัด คะน้า กะหล่ำ
ฟาร์มผักอินทรีย์โบราณธรรมานุสาร  จังหวัดเชียงใหม่
โทร. 053-421-389-97   โทรสาร 053-420-790
 
13. ผักต่าง ๆ
รังสิตฟาร์ม  จังหวัดปทุมธานี
โทร. 02-577-2682 , 01-814-8296      โทรสาร 02-577-2782
 
14. ข้าว พืชผัก สับปะรด สมุนไพร
บ้านสวนยั่งยืน  จังหวัดเชียงราย
โทร. 01-889-8889   โทรสาร 02-973-4937
 
15. ชา
สวนชาวิรุฬห์ ชาไทย  จังหวัดเชียงราย
โทร. 053-721-007   โทรสาร 053-752-864
 
16. มะม่วง
สวนเอสเอ็ม สุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี
โทร. 01-942-8580   โทรสาร 035-521-530
 
17. ข้าวหอมมะลิ
บริษัท พีเอสเอส ออแกนิก จำกัด  จังหวัดศรีสะเกษ
โทร. 045-612-650   โทรสาร 045-612-650
 
18. ผัก สมุนไพร
บริษัท ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ จำกัด  กรุงเทพฯ
โทร. 02-889-9214   โทรสาร 02-889-9691
 
19. พืชอินทรีย์ในไร่นาสวนผสม
ไร่หะวานนท์  จังหวัดปทุมธานี
โทร. 02-531-2659
 
20. ข้าว
สมาคมเกษตรก้าวหน้า  จังหวัดอุบลราชธานี
โทร. 045-481-144-5      โทรสาร 045-481-150
 
21. ข้าวโพดฝักอ่อน
บริษัท กำแพงแสน คอมเมอรเชียล จำกัด  จังหวัดนครปฐม
โทร. 034-351-556-8 , 01-867-0111   โทรสาร 034-351-555
 
22. ข้าวโพดหวาน ขิงอ่อน ผัก ผลไม้ ไก่ สุกร
บริษัท ริช แฟมิลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด  จังหวัดนนทบุรี
โทร. 02-984-5181 , 01-732-9255      โทรสาร 02-984-5182


เวบที่เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
1. www.doa.go.th
2. www.doae.go.th
3. www.wta.siamindustr y.com
4. www.thaiorganicagri .com
5. www.organicagcentre .com
6. www.greennetorganic .com
7. www.raktawan.com
8. www.organicfoodfory ou.com
9. www.thaiorganicherb al.com
10. www.impthailand.org
11. www.thaiorganicprod ucts.com
12. www.capitalrice.com
13. www.ifoam.org
14. www.soilassociation .org.uk
15. www.ccof.org
16. www.ams.usda.gov/nop
17. www.ota.com
18. www.ocia.org
19. www.maff.go.jp
20. www.newfarm.org
21. ww.unescaporg
22. www.purefoods.co.jp














เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming)
เกษตรอินทรีย์ คืออะไร
   เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ในความหมายของสหพันธ์เกาตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM)
คือ “ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้ เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย” ดังนั้นการไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงมิได้หมายความว่าเป็นเกษตรอินทรีย์โดยอัตโนมัติและในขณะเดียวกัน “การเกษตรแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ” ก็มิใช่เกษตรอินทรีย์เช่นกัน.

ทำไม? ต้องเกษตรอินทรีย์
   การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหาย และไร้สมรรถภาพความไม่สมดุลนี้เป็นอันตรายยิ่ง กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้น ได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลง และเชื้อราเพิ่มขึ้น ดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น จะเร่งการเจริญเติบโตของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร และระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง ในโลกปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปี ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้น มีผลทำให้เกษตรกรขาดทุน มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

ผลของการทำการเกษตรอินทรีย์
o   ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า
o   ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า
o   ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า
o   ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า
o   ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า





ผลผลิตพืชอินทรีย์เป็นอย่างไร
o   มีรูปร่างดีสมส่วน
o   มีสีสวยเป็นปกติ
o   มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
o   มีโครงสร้างของเนื้อนุ่มกรอบแน่น
o   มีรสชาติดี
o   ไม่มีสารพิษตกค้าง
o   เก็บรักษาได้ทนทาน
o   ให้สารอาหารและพลังชีวิต

ขั้นตอนการผลิต
1.   การเตรียมการ
1.   เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.   เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง
3.   อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม
4.   อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี
5.   ห่างจากถนนหลวงหลัก
6.   มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ
2.   ขั้นตอนการทำแปลง
1.   เก็บตัวอย่างดิน ดินบนและดินล่างอย่างละ 1 กิโลกรัม นำไปวิเคราะห์พร้อมกัน หาชนิดและปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน
2.   แหล่งน้ำจะต้องเป็นแหล่งน้ำอิสระเก็บตัวอย่างน้ำ 1 ลิตร นำไปวิเคราะห์เพื่อหาสารปนเปื้อนที่ขัดต่อหลังการผลิตพืชอินทรีย์
3.   เมื่อทราบข้อมูลของดินและน้ำแล้วว่าไม่มีพิษต่อการปลูกพืชอินทรีย์ก็เริ่มทำการวางรูปแบบแปลงผลิตพืชอินทรีย์ การวางแบบแปลงจะต้องทำการขูดร่องล้อมรอบแปลง เพื่อเป็นการดักน้ำหรือป้องกันน้ำที่มีสารปนเปื้อนไหลบ่ามาท่วมแปลงในฤดูฝน ร่องคูรอบแปลงควรกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร พร้อมกับทำการปลูกหญ้าแฝกริมร่องโดยรอบทั้งด้านในและด้านนอก รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกรองน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี ซึมเข้าไปในดินที่ปลูกพืชอินทรีย์ ส่วนใบของหญ้าแฝกก็ตัดไปใช้ปรับสภาพดินหรือใช้คลุมแปลงพืชผักอินทรีย์ต่อไป  ในการเตรียมแปลงในครั้งแรกอนุโลมให้ใช้รถไถเดินตามได้ แต่ในครั้งต่อไปให้ใช้คนขุดพรวนดิน ถ้าใช้รถไถบ่อย ๆ แล้วมลพิษจากเครื่องยนต์จะตกค้างอยู่ในดิน และจะปฏิบัติกิริยาที่เป็นพิษต่อพืช จึงต้องระวังห้ามสูบบุหรี่ในแปลงพืชอินทรีย์
4.   ในการเตรียมแปลงจะต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้ง พร้อมที่จะวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลงจะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชผักไม่ทันก็ให้นำเอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะ มาหว่านคลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะวางไข่ในพงหญ้าด้วย
5.   เมื่อเตรียมแปลงแล้วก็หันมาทำการปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลงก่อนที่จะปลูกพืชหลัก คือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) ทางน้ำ ทางอากาศ และทางพื้นดิน พืชสมุนไพรที่กันแมลงรอบนอก เช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำ โดยปลูกพืชสมุนไพรเตี้ยลงมา เช่น ดาวเรือง กะเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่าง ๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้คือจะต้องปลูกตะไคร้หอมทุก ๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย
6.  หลังจากปลูกพืชสมุนไพรเพื่อกันแมลงแล้วก็ทำการยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะ
     ปลูกจะต้องทำการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) การใส่ปุ๋ยคอก
     นั้นจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ขี้วัว 
     ต้องเป็นวัวที่กินพืชตามธรรมชาติ) ทำการพรวนคลุกกันให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วันก่อนปลูก การ
     ปลูกให้ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลงที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ้ยฉ่าย ขึ้นฉ่าย และระหว่างแปลง
     ที่ทำการปลูกกะเพรา โหระพา พริกต่าง ๆ  เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก
     พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่าน แต่เมล็ดพันธุ์พืช
     ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมี จึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่
     มีความร้อน 50-55 องศาเซลเซียส วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วจุ่มลงไป
     ถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับ
     กากสะเดา หรือสะเดาผง แล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้ คลุมฟางและรดน้ำ ก่อนรด
     น้ำทุกวันควรขยำขยี้ใบตะไคร้หอมหล้วใช้ไม้เล็ก ๆ ตีใบกะเพรา โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้
     เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่นสารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3-7 วัน
     กันก่อนแก้ ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้วจะแก้ไขไม่ทัน เพราะว่าไม่ได้ใช้สารเคมี ควรดูแล
     เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด พอถึงอายุเก็บเกี่ยวควรเก็บเกี่ยวผลผลิต ถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสาร
     สมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ ในระยะแรกผลผลิตจะได้น้อยกว่าพืชเคมีประมาณ 30-
     40% แต่ราคานั้นมากกว่าพืชเคมี 20-50% ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้อง
     เสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืน
     อย่างต่อเนื่อง ผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชเคมีเลย
7.  หลังจากที่ทำเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้ว ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรก เช่นในแปลงที่   
1 ปลูกผักกาดเขียวปลีได้ผลผลิตดี หลังเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีกจะไม่ได้อะไรเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเขียวปลี แล้วตามด้วยผักบุ้งจีน เก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้ทุก ๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี
        8.  การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรห่อนและ
ต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ ต้องทำให้พืชสมุนไพรต่าง ๆ เกิดการซ้ำจะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉย ๆ การปลูกพืชแนวตั้งคือพืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วฝักยาว มะระจีน ฯ และแนวนอนคือ พืชผักต่าง ๆ เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ควรทำเช่นนี้ทุกครั้งที่ปลูกพืชในแปลงเกษตรอินทรีย์
     9.  การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลงยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่ม
          รายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่
ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอกแปลง ส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป   

มาตรฐานของเรา  Organic Thailand
อันเนื่องมาจากการประกาศใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2544 เพื่อให้เกิดการผลิตพืชอินทรีย์ภายในประเทศเป็นไปตามมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมั่นใจในระบบการผลิต การตลาดและการบริโภค จึงจำเป็นต้องสร้างกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติให้ได้มาตรฐานการผลิตมีระบบการตรวจสอบและออกใบรับรองโดยรัฐมีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล รวมทั้งกำหนดบทลงโทษ

ระบบการตรวจสอบและออกใบรับรองที่กรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ เกิดจากการลอกเกลียนแบบจากประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่เป็นมาตรฐานและดำเนินกิจการยาวนานเป็นที่เชื่อถือทั่วโลก และได้มีการปรับปรุงแก้ไขกรรมวิธีบางประการ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตการเกษตรและวัฒนธรรมการผลิตของเกษตรกรในประเทศไทย ซึ่งสามารถดำเนินการให้ได้ระดับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของประเทศทั่วโลก

การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (ม.ก.ท.)
สำนักงานมาตรฐานเกาตรอินทรีย์ (ม.ก.ท.) ได้ขอรับการรับรองระบบจาก “สถาบันเกษตรอินทรีย์นานาชาติ” หรือ  International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM) จากประเทศเยอรมันนี เป็นเครื่องยืนยันว่ามาตรฐานดังกล่าวได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างถูกต้องเป็นที่น่าเชื่อถือในระดับสากลและในเดือนพฤศจิกายน 2544 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกจัดวางขึ้นโดย ม.ก.ท. นี้ ก็ได้รับการรับรองระบบอย่างเป็นทางการจากสถาบัน IFOAM โดยทาง ม.ก.ท. ได้จัดทำกลไกการให้บริการตรวจสอบและให้การรับรองแก่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ กิจการแปรรูปผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์

การรับรองของ ม.ก.ท. เป็นการรับรองตลอดทั้งระบบการผลิต การตรวจสอบจะครอบคลุมตั้งแต่เริ่มปลูก ดูแลรักษา จนกระทั่งเก็บเกี่ยว และเมื่อนำผลผลิตมาสู่ขั้นตอนการแปรรูป การตรวจสอบจะเริ่มตั้งแต่การได้มาและการจัดการวัตถุดิบ กรรมวิธีการแปรรูป การบรรจุ และการขนส่งจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคด้วย7เหตุนี้ผู้บริโภคจึงสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีความปลอดภัย

ข้อแตกต่างระหว่างเกษตรอินทรีย์
 พืช (ผัก) อินทรีย์  คือพืชหรือผลิตผลจากระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์หรือที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs) ผลผลิตไม่มีสารพิษตกค้างใด ๆ เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีการใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ และหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พืช (ผัก) อนามัย  คือพืชหรือผลิตผลจากระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีปฏิบัติก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่งและบรรจุหีบห่อที่ได้มาตรฐาน

พืช (ผัก) ปลอดภัยจากสารพิษ  คือพืชหรือผลิตผลจากระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538

กระบวนการผลิต   ผักอินทรีย์   ผักปลอดภัยจากสารพิษ
หรือผักอนามัย   ผักปลอดสารพิษ
การใช้ปุ๋ยเคมี
การใช้สารเคมีกำจัดแมลง
การใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา
การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช
การใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
การใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม(GMOs)   ไม่ใช้
ไม่ใช้
ไม่ใช้
ไม่ใช้
ไม่ใช้
ไม่ใช้
   ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ไม่มีข้อมูล   
   ใช้ได้
ไม่ใช้
ใช้ได้
ไม่ใช้
ใช้ได้
ไม่มีข้อมูล

ระดับชั้นและขั้นตอนของกระบวนการเกษตรยั่งยืน 4 ระดับ
ระดับที่ 1 เกษตรอินทรีย์
สามารถพัฒนากระบวนการผลิตแบบครบวงจร เลิกใช้สารเคมีทุกประเภท

ระดับที่ 2 เกษตรไร้สารพิษ
เลิกใช้สารเคมีกำจัดโรค และศัตรูพืช แต่อาจมีการใช้ปุ๋ยเคมีบ้างเล็กน้อยตามความจำเป็นของพืช เพื่อจัดการธาตุอาหารให้สมดุล

ระดับที่ 3 เกษตรปลอดสารพิษ
ยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีอยู่บ้าง ผสมผสานกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อจัดการธาตุอาหารให้สมดุล และยังใช้สารเคมีกำจัดโรคและศัตรูพืชอยู่บ้าง แต่ไม่มาก และใช้ในช่วงระยะเวลาที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ระดับที่ 4 เกษตรเคมี 100%
มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาเคมีกำจัดโรคและศัตรูพืช ในปริมาณมากเกินความจำเป็นจนเป็นอันตรายต่อพืช, มนุษย์, สัตว์ และสิ่งแวดล้อม



เกษตรอินทรีย์  (ORGANIC AGRICULTURE)
การเกษตรนับได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหารที่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงบริโภค อีกทั้งยังเป็นตัว


บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724

worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 10:20:50 am »

ต่อครับ.............

เกษตรอินทรีย์  (ORGANIC AGRICULTURE)
การเกษตรนับได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของห่วงโซ่อาหารที่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงบริโภค อีกทั้งยังเป็นตัวแปรของความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หากเรามองย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่าวิถีชีวิตของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ได้มีการพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวไกล มีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป เรียกกันว่าเป็นยุคแห่งความศิวิลัย ที่สำคัญมีการผลิตสารเคมีสังเคราะห์ในรูปต่าง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ถูกนำเข้ามาใช้ในระบบห่วงโซ่อาหาร ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการนี้ เมื่อเปรียบเทียบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแล้วนับได้ว่าไม่คุ้มค่า เริ่มตั้งแต่การนำเอาปุ๋ยเคมีมาใช้ดินก็เสื่อมสภาพลง พืชจะขาดความสมบูรณ์ ขาดภูมิต้านทานโรค และง่ายต่อการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช เกษตรกรต้องใช้สารเคมีอันตรายเพื่อกำจัดแมลงและโรคพืช เพื่อผลประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนทั้งหมด ส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลายจนสูญเสียสมดุลทางธรรมชาติไป และทำให้ผลผลิตจากการเกษตรที่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงนำมาบริโภคขาดธาตุอาหารที่สมบูรณ์และล้วนปนเปื้อนสารพิษที่ตกค้างอยู่มากบ้างน้อยบ้าง อันก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์เลี้ยง เกิดโรคที่แพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้หลายโรคมาก อีกทั้งเกิดปัญหาโรคระบาดในสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงเพื่อนำมาเป็นอาหาร ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นถึงปัญหาของห่วงโซ่อาหารที่กำลังเกิดขึ้น โดยเริ่มที่การควบคุมการทำเกษตรกรรมไปจนถึงการแปรรูปและการวางจำหน่าย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและป้องกันไม่ให้ระบบห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อมเลวร้ายไปมากกว่านี้ เราพบว่ามีทางเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดนี้ได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยการทำเกษตรอินทรีย์เท่านั้นที่จะพลิกฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่สรรพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในโลกของเราได้อย่างถาวร

กระแสความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเป็นไปอย่างแพร่หลายและความต้องการนี้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์อาหารจากเกษตรอินทรีย์ถูกยกขึ้นมาเป็นอาหารที่ดีที่สุด มีการวิจัยพบว่าในพืชผักที่ได้จากเกษตรอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารที่มากกว่าถึง 10 เท่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับพืชผักที่หาได้จากตลาดทั่วไป อีกทั้งยังมีกลิ่นและรสที่ดีกว่ามาก ซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส และที่สำคัญไม่พบสารพิษตกค้างอยู่เลย ความต้องการอาหารจากเกษตรอินทรีย์ในตลาดผู้บริโภคสูงขึ้นคิดเป็นอัตราเฉลี่ยประมาณ 30% อย่างต่อเนื่องทุกปี ผู้บริโภคที่มีความเข้าใจยินดีที่จะซื้อไปบริโภคทั้งที่ราคาของผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์สูงกว่า จากการสำรวจพบว่ายังมีเกษตรกรและผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำเกษตรอินทรีย์และหรือคุณประโยชน์จากผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์อย่างแท้จริง จึงมีการเคลื่อนไหวโดยองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินการผลักดันเกษตรอินทรีย์ขึ้นในหลายรูปแบบ แสดงให้เห็นได้ว่าเกษตรอินทรีย์จะมีอนาคตที่สดใสต่อไปอย่างแน่นอน

การผลิตเกษตรอินทรีย์นั้นก็คือ การนำเอาองค์ความรู้ที่มนุษย์ได้เรียนรู้จากธรรมชาติมาช้านาน กลับมาใช้ในการเกษตรกรรม โดยปฏิบัติตามข้อบังคับในมาตรฐานที่บังคับใช้ควบคุมการผลิตและจำหน่ายในแต่ละประเทศ การผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญที่สุดคือศักยภาพของพื้นที่ผลิต และองค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีทางธรรมชาติ ประเทศที่มีความได้เปรียบในการที่จะผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ดีกว่าเป็นจะเป็นกลุ่มประเทศที่มีภูมิประเทศที่มีความเหมาะสมและอุดมไปด้วยความสมบูรณ์แห่งสมดุลทางธรรมชาติ เพราะเหตุที่ว่าเครื่องมือที่จะทำให้เกิดการผลิตเกษตรอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิผลก็คือความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างเช่นประเทศไทยเรา เรามีความได้เปรียบในหลายด้าน เรามีภูมิประเทศที่มีศักยภาพ เรามีผืนแผ่นดินและแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์ เรามีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย เรามีองค์ความรู้จากประวัติการทำเกษตรกรรมอันยาวนาน เรามีทรัพยากรที่มีประสบการณ์ด้านการเกษตรกรรมอยู่มากมาย องค์ประกอบเหล่านี้นับได้ว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประเทศไทย ซึ่งหาได้ยากในโลก เพียงแต่เรามีความพร้อมแล้วหรือยังที่จะหันมาศึกษาระบบการทำเกษตรอินทรีย์ในโลกปัจจุบันให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล และประกอบเอาองค์ความรู้เดิมมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เราเคยคิดกันไปว่าอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่เหนื่อยยาก ล้าสมัย และไม่มีเกียรติ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเราคงลือไปแล้วว่าอาชีพเกษตรกรรมนั้นเป็นกระดูกสันหลังของชาติมาช้านาน เป็นอาชีพที่นำรายได้เข้ามาพัฒนาประเทศจนเติบใหญ่ได้ถึงทุกวันนี้ แม้กระทั่งในปัจจุบันอาชีพการเกษตรก็ยังเป็นกระดูกสันหลังของชาติอยู่อย่างเช่นที่เป็นมา แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การเกษตรของเรามุ่งเน้นไปในเชิงธุรกิจมากจนเกินไป เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เป็นผลให้ผลิตผลการเกษตรของเราไม่ได้มีการพัฒนาคุณภาพเท่าที่ควร ผลผลิตด้อยคุณภาพลง และทำให้ขาดความเชื่อถือในตลาดผู้บริโภค ในที่สุดการที่จะหันกลับมาเป็นประเทศผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์คุณภาพดีเป็นเรื่องไม่สาย เนื่องจากความได้เปรียบของภูมิประเทศและทรัพยากรที่มีศักยภาพของเรา นับได้ว่ายังคงเป็นทุนเดิมที่มีค่าอยู่อย่างมหาศาล เพียงแต่เรามาร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาการอย่างเป็นระบบและถูกวิธี ก็จะสามารถนำเอาทรัพยากรอันมีค่าเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงได้อย่างยั่งยืนด้วยเกษตรอินทรีย์ และเราก็จะเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารที่มีคุณค่าดีที่สุด ซึ่งเป็นที่ต้องการได้ในไม่ช้าและหากเพียงแต่เราหันมายอมรับอาชีพการเกษตรอินทรีย์ให้เป็นอาชีพที่มีเกียรติเป็นที่ยกย่องในฐานะผู้ผลิตอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เราก็จะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีสุขภาพดีและมีคุณภาพ ประกอบกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้อย่างถาวรสืบไป เพียงแต่เกษตรกรผู้ผลิตประพฤติปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ได้ทรงดำรัสไว้ว่า “อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่เสริมสร้างความสุขสมบูรณ์ให้แก่บ้านเมือง โดยส่วนรวม ผู้ที่มีอาชีพการเกษตรจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความรู้จักสังเกต ความขยันหมั่นเพียร และความมานะบากบั่น อดทน”

การผลิตเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยมีมาตรฐานการผลิตที่ได้ถูกกำหนดและควบคุมโดยรัฐ เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคไปด้วย โดยมีหน่วยตรวจสอบรับรองมาตรฐานที่ได้รับรองจากรัฐ แปลงเพาะปลูกของผู้ที่รับการตรวจสอบรับรองแล้วเท่านั้น ผลผลิตที่จึงสามารถเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยหน่วยตรวจสอบรับรองจะอนุญาตให้ใช้ตราผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ได้ หากจะกล่าวถึงการผลิตพืชอินทรีย์ ก่อนที่จะมีการรับรองมาตรฐานพืชอินทรีย์ จะมีการตรวจสอบจากหน่วยตรวจสอบที่รัฐให้การรับรอง โดยจะตรวจสอบตั้งแต่พื้นที่เพาะปลูก แหล่งน้ำ ที่นำมาใช้ในการเพาะปลูก เมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้เพาะปลูก ปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก การบรรจุ การติดฉลาก การจัดเก็บ การขนส่ง และการวางจำหน่าย ตลอดจนระบบการบันทึกข้อมูลที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ซึ่งทั้งหมดจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด

จะเห็นได้ว่าการผลิตเกษตรอินทรีย์มีมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวดมาก ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจและยินดีที่จะซื้อไปบริโภคในราคาที่สูงกว่า เนื่องจากยอมรับว่าเป็นอาหารที่มีสมบัติดีที่สุด ที่จะสามารถหาซื้อมาบริโภคได้ และทราบดีว่าเกษตรกรผู้ผลิตได้มาด้วยความตั้งใจผลิตสำหรับการบริโภคเพื่อสุขภาพ พร้อมกับรักษาและเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่สรรพชีวิต ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ยกย่องและให้เกียรติผู้ผลิตที่ใช้ความอุตสาหะในการผลิตอาหารที่มีสมบัติดีเช่นนี้ให้บริโภค และสำหรับตัวเกษตรกรผู้ผลิตเองก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดภัยจากสารเคมีอันตราย ได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพดีต่อสุขภาพตลอดเวลา และเป็นการบำรุงรักษาผืนดินที่ใช้เพาะปลูกให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนสืบต่อไปจนถึงลูกหลาน อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน ในต่างประเทศ เกษตรอินทรีย์ได้รับการเกื้อหนุนเป็นอย่างดี ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภารเอกชน รวมไปถึงผู้บริโภคล้วนให้การส่งเสริม โดยการสนับสนุนทางด้านการเงิน การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้ผลิต เช่นในบางประเทศ รัฐเองนอกจากจะสนับสนุนด้านการผลิตด้วยการกันเขตเพาะปลูกเกาตรอินทรีย์เป็นการเฉพาะและให้ความรู้แก่เกษตรกรแล้ว ยังลดหย่อนภาษีในการซื้อเครื่องมือการเกษตรแก่เกษตรกร อีกทั้งยังเป็นผู้จัดหาตลาดมารองรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ ส่วนภาคเอกชนที่มีฐานะการเงินดี ก็ช่วยสนับสนุนด้านการเงิน ด้วยการบริจาคเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ส่วนผู้ที่สนใจและไม่สามารถช่วยเหลือทางด้านการเงินได้ ก็อุทิศตนเพื่อเข้าไปช่วยทำงานในแปลงเพาะปลูก เป็นกำลังสนับสนุนแก่เกษตรกรเสมือนสมาชิกในครอบครัว โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน เพียงขอให้มีที่พักอาศัยและอาหารเพื่อบริโภค ส่วนผู้บริโภคก็ยินดีซื้อผลผลิต อย่างแน่นอนชัดเจน โดยไม่ต่อรองราคาและยังเดินทางไปรับผลิตผลถึงฟาร์มที่ผลิตด้วย เป็นผลให้เกษตรอินทรีย์ทั้งระบบเติบโตอย่างมั่นคงได้ หากพวกเรามาช่วยกันให้ความร่วมมือในการสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ใสนประเทศไทยได้ดังเช่นที่กล่าวมาแล้วนี้ เกษตรอินทรีย์ของเราจะพัฒนาไปได้อย่างกว้างขวาง เกษตรกรก็จะมีความภาคภูมิใจที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญต่ออาชีพเกษตรอินทรีย์มีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคงขึ้น และมีกำลังใจที่จะสรรสร้างอาหารที่มีสมบัติดีพิเศษนี้ให้พวกเราได้มีโอกาสบริโภค และยังสามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศเพื่อนำเงินตราเข้ามาพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าให้แก่ส่วนรวมอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

ปุ๋ยหมักพระราชทาน (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี)
ต้นไม้ทุกชนิดต้องการอาหารเพื่อการเจริญเติบโต พูดง่าย ๆ เราต้องใส่ปุ๋ย ไร่ นา สวนของเรา พืชผล จึงจะงามดี เดี๋ยวนี้ปุ๋ยที่ซื้อตามท้องตลาดแพงเหลือเกินนี่ ! เรามาทำปุ๋ยหมักใช้เองดีกว่า

วิธีทำ และของที่ต้องเตรียม
1.   ซากพืช ได้แก่ ใบไม้ ผักตบชวา หญ้าแห้ง ลำต้นถั่ว ลำต้นข้าวโพด ใบและต้นมันสำปะหลัง กระดูกป่น ตามที่มี สับเป็นท่อน ๆ สั้น ๆ ให้เปื่อยเร็ว
2.   ปุ๋ย
ก.   ปุ๋ยคอก คือ มูลสัตว์ ขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อะไรก็ได้
ข.   ปัสสาวะคน หรือสัตว์
ค.   กากเมล็ดนุ่น, กากถั่ว, ซากต้นถั่วชนิดต่างๆ (พืชตระกูลถั่ว)
3.   ดินร่วน พอสมควร  ถ้าเป็นหน้าดินยิ่งดี



การกองปุ๋ย
1.   กองในหลุม ต้องขุดหลุมขนาดกว้างราว 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร ระวังดินพังทลายลงในหลุม ถ้ามีการระบายน้ำได้ยิ่งดี
2.   กองในคอก ปรับดินบริเวณที่จะกองปุ๋ยหมักให้แน่น ใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่นที่หาได้ กั้นเป็นคอกกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1 เมตร แบ่งคอกเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งไว้ใส่ปุ๋ยหมัก ครึ่งหนึ่งไว้กลับกองปุ๋ย ทำหลังคาใบจากหรือใบมะพร้าวคลุมหลังคา ถ้าเป็นถุงพลาสติกคลุมกันฝนชะปุ๋ยก็ดี
3.   เอาซากพืชที่เตรียมไว้ กองเกลี่ยในคอก (หรือในหลุม) ให้เป็นชั้น เหยียบตามขอบให้แน่นขนาด คนเหยียบแล้วไม่ยุบอีก ชั้นหนึ่ง ๆ สูงราว 1 คืบครึ่ง (30 เซนติเมตร) ราดน้ำให้ชุ่มแล้วเอาปุ๋ยคอกโรยทับให้ทั่วกันสูง 2 องคุลี (5 เซนติเมตร) ถ้ามีปุ๋ยเคมี (สูตร 16-20-0 หรือ 14-14-14 แอมโมเนียมซัลเฟตหรือยูเรีย) ก็โรยบาง ๆ ให้ทั่วแล้วทับด้วยดินละเอียดหนาประมาณ 1 องคุลี สลับด้วยซากพืชแล้วรดน้ำ ทำเป็นขั้น ๆ อย่างนี้ จนปุ๋ยเต็มคอก (น้ำที่รดจะผสมด้วยปัสสาวะก็ได้)

ข้อควรระวัง
1.   อย่าให้มีน้ำขัง การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้ระยายอากาศไม่ดี
2.   ปุ๋ยกองใหญ่เกินไปจะเกิดความร้อนสูง ปุ๋ยจะเสีย ถ้าในกองปุ๋ยมีความร้อนสูงเกินไป ให้เติมน้ำลงไปบ้าง
3.   ปุ๋ยกองเล็กไป จะสลายตัวช้า
4.   อย่าใช้ปุ๋ยเคมี พร้อมกับใส่ปูนขาว จะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัว

ควรกลับปุ๋ยทุก 30 วัน ควรกลับกองปุ๋ยโดยเอาชั้นบนสุดของกองนำไปเกลี่ยในอีกส่วนของคอกเป็นชั้นล่างสุด แล้วเอาชั้นสองเกลี่ยกับแล้วรดน้ำ ควรกลับปุ๋ย (ทุก 30 วัน) จนกว่าซากพืชจะเปื่อยผุหมดทั้งกอง ในเวลา 3-4 เดือน เมื่อปุ๋ยใช้ได้ สังเกตจากความร้อนในกองจะใกล้เคียงกับความร้อนของอากาศ ปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาลแก่ เอาตะแกรงร่อนปุ๋ยหมักเก็บไว้

การใช้และประโยชน์ ประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่ง ทำให้ดินร่วน อุดมสมบูรณ์ เพิ่มธาตุไนโตรเจน ไม่เป็นอันตราย รักษาความชุ่มชื้นของดิน

หมายเหตุ  ถ้าพื้นที่ที่เพาะปลูกเป็นดินทราย ให้ใช้อิฐกรุในหลุม จะทำให้ได้ผลดีขึ้น








บทบาทของจุลินทรีย์กับเกษตรอินทรีย์
คำนำ
ในยุคโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีวะนั้น มีการแข่งขันสูงมาก ทั้งในประเทศอุตสาหกรรม และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ สำหรับประเทศไทยนั้น เทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลินทรีย์ได้รับความสนใจ และการส่งเสริมจากรัฐบาลเป็นอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันประเทศไทยมีความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องไปในระดับหนึ่ง ดังนั้นความต้องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในภาคเกษตรกรรม จึงมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีววิทยาแก้ไขปัญหาด้านมลภาวะและด้านการป้องกันสิ่งแวดล้อม อันเกิดการผลิตทางการเกษตรและการอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดในการดำเนินการตามกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่อง “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้น้อมเกล้า รับมาเป็นแนวทางดำเนินงานกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งมีโครงการเกษตรปลอดสารพิษเป็นหนึ่งในมาตรการ

จึงใคร่ขอเสนอ 2 แนวทาง การนำจุลินทรีย์มาใช้ในโครงการเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อการเข้าใจถูกต้องตรงกัน เพื่อการปฏิบัติงานและการประสานงานของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเขียนนี้ประกอบด้วยข้อมูลด้านทฤษฎี ข้อเสนอแนะ จากประสบการณ์วิจัย และการบริหารเทคโนโลยีชีวภาพ หวังว่าข้อมูลด้านวิชาการนี้จะเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการ และผู้สนใจที่จะผลิตพืชผลในระบบเกษตรอินทรีย์

การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ เพื่อเกษตรอินทรีย์
ในการนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ และเป็นหัวเชื้อเร่งการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก
ได้แก่
1.   จุลินทรีย์ ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์  แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ 3 ประเภท ดังนี้
1.1   ปุ๋ยชีวภาพที่ให้ไนโตรเจน
1.2   ปุ๋ยชีวภาพที่ให้ฟอสฟอรัส
1.3   จุลินทรีย์ที่เร่งการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ
 
2.   จุลินทรีย์ ที่ใช้ในการปราบศัตรูพืชและวัชพืช  แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ 3 ประเภท ดังนี้
2.1   จุลินทรีย์ปราบแมลงศัตรูพืช
2.2   จุลินทรีย์ที่ใช้ปราบโรคพืขและไส้เดือนฝอย
2.3   จุลินทรีย์ใช้ปราบวัชพืช




3.   จุลินทรีย์ ที่ผลิตสารปฏิชีวนะและสารที่สามารถฆ่าแมลงได้ มี 3 ประเภท ดังนี้
3.1   ป้องกันโรคพืชจากเชื้อรา
3.2   ป้องกันโรคพืชจากแบคทีเรีย
3.3   ป้องกันแมลง

4.   จุลินทรีย์ ที่ใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์และการกำจัดมลภาวะต่าง ๆ มีดังนี้
4.1   เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ต่าง ๆ
4.2   การทดสอบความสะอาดของน้ำ
4.3   กำจัดมลภาวะ

แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ ที่ควรได้รับความสนใจและส่งเสริมการใช้ในการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง ในโครงการเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อความสำเร็จและความยั่งยืนของเกษตรอินทรีย์
1.   ปุ๋ยชีวภาพ
ในกลุ่มนี้มีจำนวนจุลินทรีย์เป็นจำนวนมากที่ควรได้รับความสนใจในการวิจัยและพัฒนา เพราะเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ในลักษณะยั่งยืน
เทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีววิทยาที่ใช้ในการเกษตรอินทรีย์
จุลินทรีย์ ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ที่ให้ไนโตรเจน
กลุ่มของจุลินทรีย์   ประเภทและชื่อ
จุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้
- อยู่อย่างอิสระ


- อยู่ร่วมกับพืชอื่น    
ก. สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Anabaena, Nostcc, etc)
ข. แบคทีเรีย (Azotobacter, Azospirillum,     
                  Rhodopseudomonas)
ก. สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Azolla-Anabaena
                                     azollae)
ข. แบคทีเรีย (Rhizobium sp.)

   

ปุ๋ยชีวภาพ ที่ให้ฟอสฟอรัส
กลุ่มของจุลินทรีย์   ประเภทและชื่อ
จุลินทรีย์ที่ละลายหินฟอสเฟต
- feel Living

 

- symbiosis
   
ก. แบคทีเรีย (Bacillus sp., Scherichia freundii,
                  Pseudomonaa ap. Etc.)
ข. ฟังไจ (Aspergillus sp., Penicillium sp.,     
                  Fusarium oxysporum etc.)
ก. ฟังไจ (Mycorrhizal fungi)                                   
    - Vescicular-Arbuscular Mycorrhizae
    - Ectomycorrhizae
2.   จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
กลุ่มนี้ใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและสารสกัด
กลุ่มของจุลินทรีย์   ประเภทและชื่อ
จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ

   Trichoderma virede, Chaetomium abuanse,
Myrothecium roridum, Aspergillus niger, A. terreus,     
Cellulomonas., Cytophaga sp., Bacillus sp. Etc.
3.   จุลินทรีย์ที่ป้องกันพืชและกำจัดวัชพืช
-   กำจัดแมลง
-   กำจัดโรคพืช
-   กำจัดวัชพืช
 กลุ่มของจุลินทรีย์   ประเภทและชื่อ
1. จุลินทรีย์ที่กำจัดแมลงศัตรูพืช








2. จุลินทรีย์ที่ควบคุมโรคพืช




   ก. ไวรัส (DNA viruses, RNA viruses)
ข. แบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis, B. popilliae,     
                  B. lentimorbus, B. sphaericus etc.)
ค. ฟังไจ (Entomophthora, Masospora, Cordyceps,
             Aschersonia etc.)
ง. โปรตัวซัว  (Nosema locstae, N. bombycis etc.)
จ. ไส้เดือนฝอย  (Neosplectona, Carpocasae,   
                      Romanomernos culicivorax, etc.)
a) Bacteroal Pathogens Control (Agrobacteroum radiobacter, Pseudomonas Fluorescens, Streptomyces scabiobies etc.)
b) Fungal Pathogens Conteol (Peniophora giganta, Pseudomonas fluorescens etc.)
c) Nematode Pathogens Control (Bacillus Penetrain, Nematophthora gymophilla, etc.)
กลุ่มของจุลินทรีย์   ประเภทและชื่อ
3. จุลินทรีย์ที่ควบคุมวัชพืช
   Cercospora rodmanoo, Celletotrichum glocoaporipeds, Puccinia chroundrillina etc.)
4.   จุลินทรีย์ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ
- ป้องกันโรคและแมลง กำจัดศัตรูพืช
 กลุ่มของจุลินทรีย์   ประเภทและชื่อ
1. เชื้อรา ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ

2. แบคทีเรีย ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ

3. แมลง ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ    Cychohexinide (Streptomyces griseus) Blasticidins
(S. griseochromogenes) Polyoxins (S. cacaoi)   
Streptomycin (S. griseus) Oxytetracycline (S.viridfaciens)
Tetranactin (S. aureus) 

5.   จุลินทรีย์ที่ใช้ในด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อลดมลภาวะทางกลิ่น จากคอกสัตว์และใช้ปรับคุณภาพน้ำในบ่อกุ้ง

6.   จุลินทรีย์ที่ใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ
กลุ่มของจุลินทรีย์   ประเภทและชื่อ
1. เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์



2. ใช้ในการวิเคราะห์   ก. สาหร่ายและแพลงตอน (Sprieulina, Nostoc etc.)
ข. ยีสต์   
ค. โปรตีนจากเห็ดรา (Fusarium graminearum, 
    Choetomium cellulolyticum)
ก. สาหร่าย (Pullutanis)
ข. แบคทีเรีย  (Amino acids, Vitamins, Pollutanis)

 เกษตรอินทรีย์ กับตลาดโลก
จากรายงานของ  International Trade Center UNCTAD/WTO ประมาณว่าตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์โลกมีมูลค่าประมาณ 13,500 ล้านดอลลาร์ต่อปี (ข้อมูลปี 1998) โดยมีอัตราการเติบโตรวดเร็วมากที่สุดคือประมาณ 30% ต่อปี และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะเป็นกระแสโลกที่โดดเด่นและมีมูลค่าทางการค้าที่มหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้ การที่สังคมโลกได้ตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ทำให้นานาชาติยอมรับว่าผลิตผลิตเกษตรอินทรีย์เป็นผลผลิตที่ดีที่สุดทั้งต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

ประเทศในแถบยุโรปมีกระแสสำคัญเกี่ยวกับอาหารคือ “TRUE FOOD IS ORGANIC” ในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงกับมีคำกล่าวว่า “จากนี้ต่อไปสิ่งเรียกว่าอาหารได้นั้นจะต้องเป็นอาหารแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น” จากการศึกษาวิจัยโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐ (USDA) พบว่า กว่าร้อยละ 60 ของแม่บ้านในสหรัฐ นิยมซื้อพืชผลและสินค้าอาหารแบบเกษตรอินทรีย์มาบริโภคในครัวเรือนแทนอาหารแบบที่เคยบริโภคมาแต่เดิม

ตลาดอาหารเกาตรอินทรีย์ของสหรัฐจากปี 1980 มีมูลค่า 180 ล้านเหรียญ ขยายเป็น 4,200 ล้านเหรียญในปี 1997 และ 6,600 ล้านเหรียญในปี 2000 ในประเทศญี่ปุ่นมียอดจำหน่ายรวมประมาณปีละ 300,000 ล้านเยน (2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ) ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก จนเปรียบเสมือนห้องครัวของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการผลิต และตลาดการค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการผลิตและการส่งออกสินค้าทางเกษตรแบบเดิมนั้นส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การส่งออกก็มีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นและถูกกีดกันทางการค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อการทำเกษตรแบบยั่งยืน ที่สำคัญได้รับการยอมรับจากตลาดโลก

นอกจากนี้ตลาดยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก ดังนั้นประเทศไทยมีโอกาสที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดการค้าเกษตรอินทรีย์โลก ซึ่งเป็นตลาดใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรและอาหารของไทยเป็นอย่างดี การประชุมนานาชาติทั้ง 2 งานคือ“FAO & IFOAM’s Seminar” (3-5 Nov. 2003) และ The 7th IFOAM International Conference on Organic Trade”
(6-8 Nov.2003) นับเป็นเวทีที่สำคัญมากที่ประเทศต่าง ๆ จากทั่วโลกจะได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ข้อคิดเห็น และแสวงหาความร่วมมือ รวมทั้งโอกาสและช่องทางการค้าระหว่างกัน การจัดงานครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในเอเซีย ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่ประเทศไทยจะได้ก้าวเข้าสู่เวทีการค้าเกษตรอินทรีย์โลก ซึ่งเป็นตลาดใหม่และจะเป็นตลาดที่สำคัญยิ่งในอนาคต
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 10:25:35 am »




เกษตรอินทรีย์ กับตลาดโลก


จากรายงานของ International Trade Center UNCTAD/WTO ประมาณว่าตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์โลกมีมูลค่าประมาณ 13,500 ล้านดอลลาร์ต่อปี (ข้อมูลปี 1998) โดยมีอัตราการเติบโตรวดเร็วมากที่สุดคือประมาณ 30% ต่อปี และมีแนวโน้มที่จะขยาย ตัวอย่างต่อเนื่อง จนคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์เกษตร อินทรีย์จะเป็นกระแสโลกที่โดดเด่นและมีมูลค่าทางการค้าที่มหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้ การที่สังคมโลกได้ตื่นตัวและ ให้ความสำคัญต่อเรื่องสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากทำให้นานาชาติยอมรับว่า ผลผลิตเกษตร อินทรีย์เป็นผลผลิตที่ดีที่สุดทั้งต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

ประเทศในแถบยุโรปมีกระแสสำคัญเกี่ยวกับอาหารคือ "TRUE FOOD IS ORGANIC" ในประเทศสหรัฐอเมริกาถึงกับมีคำกล่าวกันว่า "จากนี้ต่อไปสิ่งเรียกว่าอาหารได้นั้นจะต้องเป็นอาหารแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น" จากการศึกษาวิจัยโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐ (USDA) พบว่า กว่าร้อยละ 60ของแม่บ้านในสหรัฐนิยมซื้อพืชผลและสินค้าอาหารแบบเกษตรอินทรีย์มา บริโภคในครัว เรือนแทนอาหาร แบบที่เคยบริโภคมาแต่เดิม

ตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐจากปี 1980 มีมูลค่า 180 ล้านเหรียญ ขยายเป็น 4,200 ล้านเหรียญในปี 1997 และ 6600 ล้านเหรียญในปี 2000 ในประเทศญี่ปุ่นมียอดจำหน่ายรวมประมาณปีละ 300,000 ล้านเยน (2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ)ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก จนเปรียบเสมือนห้องครัวของโลก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องให้ความ สำคัญต่อการผลิต และตลาดการค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการผลิตและการส่งออก สินค้าทางเกษตรแบบเดิมนั้นส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม การส่งออกก็มีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และถูกกีดกันทางการค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากสินค้า เกษตรอินทรีย์ที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เอื้อต่อการทำเกษตรแบบยั่งยืน ที่สำคัญได้รับการยอมรับจากตลาดโลก

นอกจากนี้ตลาดยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมากดังนั้นประเทศไทยมีโอกาสที่จะเจาะเข้าสู่ตลาดการค้าเกษตรอินทรีย์โลกซึ่งเป็นตลาดใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรและอาหารของไทยเป็นอย่างดี การประชุมนานาชาติทั้ง 2 งานคือ "FAO & IFOAM's Seminar" (3-5 Nov 2003) และ "The 7th IFOAM International Conference on Organic Trade" (6-8 Nov 2003) นับเป็นเวทีที่สำคัญมากที่ประเทศต่างๆจากทั่วโลกจะ ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ข้อคิดเห็น และแสวงหาความร่วมมือ รวมทั้งโอกาสและช่องทางการค้าระหว่างกัน การจัดงานครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในเอเซีย ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่ประเทศไทยจะได้ก้าวเข้าสู่เวทีการค้าเกษตรอินทรีย์โลก ซึ่งเป็นตลาดใหม่และจะเป็นตลาดที่สำคัญยิ่งในอนาคต

บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 10:42:06 am »


บทบาทของจุลินทรีย์ กับเกษตรอินทรีย์
โดย ดร.พงศ์เทพ อัตนะริกานนท์


คำนำ


ในยุคโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีวะนั้น มีกันแข่งขันสูงมาก ทั้งในประเทศอุตสาหกรรม และ ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ สำหรับประเทศไทยนั้น เทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลินทรีย์ได้รับความสนใจ และ การส่งเสริมจากรัฐบาลเป็น อย่างมาก ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ปัจจุบันประเทศไทยมีความก้าวหน้า ในอุตสาหกรรมด้านการเกษตร และ อุตสาหกรรม ที่ต่อเนื่องไป ในระดับหนึ่ง ดังนั้น ความต้องการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ในภาคเกษตรกรรม จึงมีมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด รวมทั้ง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ด้านจุลชีววิทยาแก้ไขปัญหา ด้านมลภาวะ และ ด้านการป้องกันสิ่งแวดล้อมอันเกิดการผลิตทางการเกษตร และ การอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัด ในการดำเนินการตามกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่อง "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" ซึ่ง กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมเกล้า รับมาเป็นแนวทาง ดำเนินงานกำหนด ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งมีโครงการ เกษตรปลอดสารพิษเป็นหนึ่ง ในมาตรการ

จึงใคร่ขอเสนอ 2 แนวทาง การนำจุลินทรีย์มาใช้ ในโครงการ เกษตรปลอดสารพิษ เพื่อการเข้าใจถูกต้องตรงกัน เพื่อการปฏิบัติงาน และ การประสานงาน ของหน่วยงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเขียนนี้ประกอบด้วยข้อมูลด้านทฤษฎี ข้อเสนอแนะ จากประสบการณ์วิจัย และ การบริหารเทคโนโลยีชีวภาพ หวังว่าข้อมูลด้านวิชาการนี้ จะเป็นแนวทาง และ เป็นประโยชน์ ต่อนักวิชาการ และ ผู้สนใจ ที่จะผลิตพืชผล ในระบบเกษตรอินทรีย์

 การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ เพื่อเกษตรอินทรีย์


ในการนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ และ เป็นหัวเชื้อเร่งการสลายตัว ของอินทรีย์วัตถุ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก ได้ แก่

1. จุลินทรีย์ ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ และ ปุ๋ยอินทรีย์

แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ 3 ประเภท ดังนี้

1.1 ปุ๋ยชีวภาพ ที่ให้ไนโตรเจน
1.2 ปุ๋ยชีวภาพ ที่ให้ฟอสฟอรัส
1.3 จุลินทรีย์ ที่เร่งการสลายตัว ของอินทรีย์วัตถุ

2. จุลินทรีย์ ที่ใช้ ในการปรับศัตรูพืช และ วัชพืช

จุลินทรีย์ ที่นำมาใช้ ในการปราบศัตรูพืช และ วัชพืช แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ 3 ประเภท ดังนี้

2.1 จุลินทรีย์ปราบแมลงศัตรูพืช
2.2 จุลินทรีย์ ที่ใช้ปราบโรคพืช และ ไส้เดือนฝอย
2.3 จุลินทรีย์ใช้ปราบวัชพืช

3. จุลินทรีย์ ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ

จุลินทรีย์ ที่ใช้ ในการผลิตสารปฏิชีวนะ และ สาร ที่สามารถฆ่าแมลงได้ มี 3 ประเภท ดังนี้

3.1 ป้องกันโรคพืชจากเชื้อรา
3.2 ป้องกันโรคพืชจากแบคทีเรีย
3.3 ป้องกันแมลง

4. จุลินทรีย์ ที่ใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ

นอกจากนี้จุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ ในการนำมาใช้เป็นแหล่งอาหาร ของสัตว์ และ การกำจัดมลภาวะต่างๆ มีดังนี้

4.1 เป็นแหล่งอาหาร ของสัตว์ต่างๆ
4.2 การทดสอบการสะอาด ของน้ำ
4.3 กำจัดมลภาวะ
 
 
 
 
 
   แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์ ที่ควรได้รับความสนใจ และ ส่งเสริมการใช้ ในการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียง ในโครงการเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อความสำเร็จ และ ความยั่งยืน ของเกษตรอินทรีย์

 1. ปุ๋ยชีวภาพ


ในกลุ่มนี้มีจำนวนจุลินทรีย์เป็นจำนวนมาก ที่ควรได้รับความสนใจ ในการวิจัย และ พัฒนา เพราะเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ในลักษณะยั่งยืน

เทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีววิทยา ที่ใช้ ในการเกษตรอินทรีย์
จุลินทรีย์ ที่ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ ที่ให้ไนโตรเจน

กลุ่ม ของจุลินทรีย์
 ประเภท และ ชื่อ
 
จุลินทรีย์ ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้
- อยู่ อย่างอิสระ
 

ก. สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Anabaena, Nostcc, etc)
ข. แบคทีเรีย (Azotobacter, Azospirillum, Rhodopseudomonas)
 
- อยู่ร่วม กับพืชอื่น
 ก. สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Azolla-Anabaena azollae)
ข. แบคทีเรีย (Rhizobium sp.)
 

ปุ๋ยชีวภาพ ที่ให้ฟอสฟอรัส

กลุ่ม ของจุลินทรีย์
 ประเภท และ ชื่อ
 
จุลินทรีย์ ที่ละลายหินฟอสเฟต

- free living
 

ก. แบคทีเรีย (Bacillus sp., Scherichia freundii,
Pseudomonaa ap. Etc.)
ข. ฟังไจ (Aspergillus sp., Penicilium sp., Fusarium oxysporum etc.)
 
- symbiosis
 ก. ฟังไจ (Mycorrhizal fungi)
- Vescicular-Arbuscular Mycorrhizae
- Ectomycorrhizae
 

 2. จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ


กลุ่มนี้ใช้ ในการผลิตปุ๋ยหมัก และ สารสกัด

กลุ่ม ของจุลินทรีย์
 ประเภท และ ชื่อ
 
จุลินทรีย์ ที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
 Trichoderma viride, Chaetomium abuanse, Myrothecium roridum, Aspergillus niger, A. terreus, Cellulomonas., Cytophaga sp., Bacillus sp. Etc.
 

 3. จุลินทรีย์ ที่ป้องกันพืช และ กำจัดวัชพืช


- กำจัดแมลง
- กำจัดโรคพืช
- กำจัดวัชพืช

กลุ่ม ของจุลินทรีย์
 ประเภท และ ชื่อ
 
1. จุลินทรีย์ ที่กำจัดแมลงศัตรูพืช ก. ไวรัส (DNA viruses, RNA viruses)
ข. แบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis,B. popilliae, B. lentimorbus,
B. sphaericus etc.)
ค. ฟังไจ (Entomophthora, Masospora, Cordyceps, Aschersonia etc.
ง. โปรตัวซัว (Nosema locstae, N. bombycis etc.)
จ. ไส้เดือนฝอย (Neosplectona, Carpocasae, Romanomernos
culicivorax, etc.)
 
2. จุลินทรีย์ ที่ควบคุมโรคพืช a) Bacteroal Pathogens Control (Agrobacteroum radiobacter, Pseudomonas fluorescens, Streptomyces scabiobies etc.)

b) Fungal Pathogens Conteol (Peniophora giganta, Pseudomonas fluorescens etc.)

c) Nematode Pathogens Control (Bacillus Penetrain, Nematophthora gymophilla, etc.)
 
3. จุลินทรีย์ ที่ควบคุมวัชพืช  Cercospora rodmanoo, Celletotrichum glocoaporipeds, Puccinia chroundrillina etc.) 

 4. จุลินทรีย์ ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ


- ป้องกันโรค และ แมลงกำจัดศัตรูพืช

กลุ่ม ของจุลินทรีย์
 ประเภท และ ชื่อ
 
1. เชื้อรา ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ Cyclohexinide (Streptomyces griseus) Blasticidins
(S. griseochromogenes) Polyoxins (S. cacaoi)
2. แบคทีเรีย ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ Streptomycin (S. griseus) Oxytetracycline (S. viridifaciens)
3. แมลง ที่ผลิตสารปฏิชีวนะ
 Tetranactin (S. aureus)
 

 5. จุลินทรีย์ ที่ใช้ ในด้านสิ่งแวดล้อม


เพื่อลดมลภาวะทางกลิ่นจากคอกสัตว์ และ ใช้ปรับคุณภาพน้ำ ในบ่อกุ้ง

 6. จุลินทรีย์ ที่ใช้ประโยชน์ ในด้านอื่นๆ 


กลุ่ม ของจุลินทรีย์
 ประเภท และ ชื่อ
 
1. เป็นอาหารมนุษย์ และ สัตว์ ก. สาหร่าย และ แพลงตอน (Sprieulina,
Nostoc etc.)
ข. ยีสต์
ค. โปรตีนจากเห็ดรา (Fusarium graminearum,
Choetomium cellulolyticum)
 
2. ใช้ในการวิเคราะห์
 ก. สาหร่าย (Pullutanis)
ข. แบคทีเรีย (Amino acids, Vitamins, Pollutanis)
 
จาก... วารสารชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 1 ฉบับที่ 1เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2545
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 

   
 
 
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 10:51:58 am »

 


ปุ๋ยหมักพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี



ต้นไม้ทุกชนิดต้องการอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตพูดง่ายๆ เราต้องใส่ปุ๋ยไร่ นา สวน ของเรา พืชผล จึงจะงามดี เดี๋ยวนี้ปุ๋ย ที่ซื้อตามท้องตลาดแพงเหลือเกินนี่ ! เรามาทำปุ๋ยหมักใช้เองดีกว่า

 วิธีทำ 


ของ ที่ต้องเตรียม

1. ซากพืช ได้ แก่ ใบไม้ ผักตบชวา หญ้าแห้ง ลำต้นถั่ว ลำต้นข้าวโพด ใบ และ ต้นมันสำปะหลัง กระดูกป่น ตาม ที่มี สับเป็นท่อนๆ สั้นๆ ให้เปื่อยเร็ว

2. ปุ๋ย
ก. ปุ๋ยคอก คือ มูลสัตว์ ขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้ค้างคาว อะไรก็ได้
ข. ปัสสาวะคน หรือสัตว์
ค. กากเมล็ดนุ่น,กากถั่ว,ซากต้นถั่วชนิดต่างๆ (พืชตระกูลถั่ว)

3. ดินร่วน พอสมควร ถ้าเป็นหน้าดินยิ่งดี

 การกองปุ๋ย 


1. กอง ในหลุม ต้องขุดหลุมขนาดกว้างราว 1 เมตร ยาว 1 เมตร ลึก 1 เมตร ระวังดินพังทลายลง ในหลุม ถ้ามีการระบายน้ำได้ยิ่งดี

2. กอง ในคอก ปรับดินบริเวณ ที่จะกองปุ๋ยหมักให้แน่นใช้ไม้ไผ่หรือไม้อื่น ที่หาได้ กั้นเป็นคอกกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1 เมตร แบ่งคอกเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งไว้ใส่ปุ๋ยหมัก ครึ่งหนึ่งไว้กลับกองปุ๋ยทำหลังคาใบจากหรือใบมะพร้าวคลุมหลังคา ถ้าเป็นถุงพลาสติกคลุมกันฝนชะปุ๋ยก็ดี

3. เอาซากพืช ที่เตรียมไว้ กองเกลี่ยในคอก (หรือในหลุม) ให้เป็นชั้น เหยียบตามขอบให้แน่นขนาด คนเหยียบแล้วไม่ยุบอีกชั้นหนึ่งๆ สูงราว1 คืบครึ่ง (30 เซนติเมตร) ราดน้ำให้ชุ่มแล้วเอาปุ๋ยคอกโรยทับให้ทั่วกันสูง 2 องคุลี (5 เซนติเมตร) ถ้ามีปุ่ยเคมี (สูตร 16-20-0 หรือ 14-14-14 แอมโมเนียมซัลเฟตหรือยูเรีย) ก็โรยบางๆ ให้ทั่วแล้วทับด้วยดินละเอียด หนาประมาณ 1 องคุลี สลับด้วยซากพืชแล้วรดน้ำทำเป็นขั้นๆ อย่างนี้จนปุ๋ยเต็มคอก (น้ำ ที่รดจะผสมด้วยปัสสาวะด้วย ก็ได้)

 ข้อควรระวัง


1. อย่าให้มีน้ำขัง การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้ระบายอากาศไม่ดี

2. ปุ๋ยกองใหญ่เกินไปจะเกิดความร้อนสูง ปุ๋ยจะเสีย ถ้าในกองปุ๋ยมีความร้อนสูงเกินไปให้เติมน้ำลงไปบ้าง

3. ปุ๋ยกองเล็กไป จะสลายตัวช้า

4. อย่าใช้ปุ๋ยเคมีพร้อม กับใส่ปูนขาวจะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัว

ควรกลับปุ๋ย ทุก 30 วัน ควรกลับกองปุ๋ย โดยเอาชั้นบนสุด ของกองนำไปเกลี่ย ในอีกส่วน ของคอกเป็นชั้นล่างสุด แล้วเอาชั้นสองเกลี่ยทับแล้วรดน้ำ ควรกลับปุ๋ย (ทุก 30 วัน) จนกว่าซากพืชจะเปื่ยผุหมดทั้งกอง ในเวลา 3-4 เดือน เมื่อปุ๋ยใช้ได้สังเกตจากความร้อน ในกองจะใกล้เคียง กับความร้อน ของอากาศ ปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาล แก่ เอาตระแกรงร่อนปุ๋ยหมักเก็บไว้

การใช้ และ ประโยชน์ ประหยัดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ครึ่งหนึ่งทำให้ดินร่วน อุดมสมบูรณ์ เพิ่มธาตุไนโตรเจนไม่เป็นอันตราย รักษาความชุ่มชื้น ของดิน

 หมายเหตุ  ถ้าพื้นที่ที่เพาะปลูกเป็นดินทราย ให้ใช้อิฐกรุ ในหลุม จะทำให้ได้ผลดีขึ้น
 

 จาก... วารสารชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 1 ฉบับที่ 1เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2545
 
 

 
 
 
 
 

 
 
 
 
 

   
 
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
dachar
วีไอพี
member
***

คะแนน47
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 525


ไม่เคยมีคำว่าสายเกินไปที่จะเป็นในสิ่งที่คุณอยากจะเ


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2008, 12:45:28 pm »

มีเกี่ยวกับการทำนาไหมครับ
 
บันทึกการเข้า
kan
Full Member
member
**

คะแนน78
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 659



« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2008, 12:27:53 pm »

   Cheesyดีๆ วันข้างหน้าอาจมีประโยชน์
บันทึกการเข้า
smilly
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 38


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 10:09:49 pm »

     แล้ววิทยุเก่าๆโทรทัศน์เก่าๆ เอาทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ไหมพี่เทพ นานๆเข้ามาแซวเล่นพี่
บันทึกการเข้า
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 22, 2008, 05:16:11 am »

วิทยุเก่าๆ ทำรีไซเคิลได้เกือบทุกชิ้นครับ อิอิ.......แซวบ้าง
บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724
dokmadue ♥
งานระบบเสียงตามสาย-ไร้สาย
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน71
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 506

ใจเขามาใส่ใจเรา เรียนรู้ด้วยตัวเอง


เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 23, 2009, 05:59:44 pm »

 Cheesy มากครับ มีกำลังใจครับ
บันทึกการเข้า

www.kwachapenchang. com    https://www.facebook.com/sathit.dokmadue 

นายสถิต  ดอกมะเดื่อ 164 ม.8 ถ.สินประดิษฐ์ ต.น้ำอ้อม อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 33110  บัญชี ร้านสถิตอิเล็กทรอนิกส์ 312-0-17184-0 ออมทรัพย์ กรุงไทย สาขากันทรลักษ์
0827548204 ดีแทค LINE 0827548204 สถิตอิเล็กทรอนิกส์
supoj007
member
*

คะแนน286
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1555



อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2010, 08:47:12 am »

เกษตรอินทรีย์ ครบวงจร รายแรกของโลกครับผม


สนใจศึกษาได้จากเวปผมครับ http://nikonclub.fix.gs/index.php

#       เป็นสารอินทรีย์ ใช้ยับยั้งการเจริญของ วัชพืช ทุกชนิด หญ้าลิเกในนาข้าว หญ้าในไร่อ้อย ไร่มัน ไร่ข้าวโพดตายสนิด สุดยอดจริงๆ
     
#          ทำลาย เชื้อราที่อยู่ในดิน ยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อราที่อยู่ในดิน ไม่ให้ไปสู่พืช ยอดเยี่ยมอีก
     
#          ทำลายไข่ของตัวหนอน เพี้ย ที่เป็นศัตรูพืช ได้ 100 %  เป็นอินทรีย์ เจ้าแรกของโลก
     
#          ทำลายไข่หอยเชอรรี่ ตายภายใน 12 ชั่วโมง เป็นครั้งแรกของประเทศและของโลก

บันทึกการเข้า
amy99
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 58


« ตอบ #11 เมื่อ: เมษายน 29, 2017, 09:27:43 pm »

ทำมาหลายอย่างเลย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จุลินย์จากกล้วย น้ำหมักสับปะรส ฮอร์โมนไข่ ใช้ดีมากๆอยากบอก ลงรูปไม่เป็นครับ ลงเป็นจะลงให้ชม
บันทึกการเข้า
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: เมษายน 29, 2017, 09:33:29 pm »

วิธีแนบภาพในเว้บบอร์ดครับ
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php/topic,96415.0.html
บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!