เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรับมือปรากฏการณ์"ลานีญา" 30 พย. 2553
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 29, 2024, 05:15:39 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรับมือปรากฏการณ์"ลานีญา" 30 พย. 2553  (อ่าน 1864 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 10:10:50 AM »

เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรับมือปรากฏการณ์"ลานีญา"
 
   
30 พย. 2553 09:44 น.  สนับสนุนโดย NECTEC

    นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลา นำเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่อำเภอระโนด สทิงพระ สิงหนคร เมืองสงขลา จะนะ เทพา และอำเภอหาดใหญ่ เข้ารับฟังความรู้ด้านการเลี้ยงกุ้งอย่างมีประสิทธิภาพ จากนายพินิจ กังวานกิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาธุรกิจต่างประเทศ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล มากว่า 30 ปี
    หลังประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์ “ลานีญา” ต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2554 ย่อมส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมกุ้งไทย จะต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกัน สาเหตุจากปริมาณน้ำฝนสูงกว่าปรกติและอุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงลดต่ำลง ทำให้การกินอาหารของกุ้งลดลง ส่งผลให้กุ้งเจริญเติบโตช้า และอาหารตกค้างในบ่อทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม ส่งผลต่อสุขภาพกุ้ง กุ้งอาจป่วยและตายในที่สุด
    แนวทางการป้องกันและแก้ไขในช่วงปรากฏการณ์ “ลานีญา” ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จะต้องปรับโครงสร้างฟาร์มให้เหมาะสม โดยทำคูหรือทำนบกันน้ำรอบฟาร์ม เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ทำคิ้วขอบบ่อให้สูงรอบบ่อ ปรับปรุงเส้นทางหลักที่ใช้ในการขนส่งในฟาร์ม หมั่นตรวจสอบและปรับระบบการให้อากาศในบ่อเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการ ให้อากาศมากที่สุด และสูบน้ำในบ่อออก เพื่อรักษาระดับน้ำในบ่อไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ปรับเปลี่ยนโปรแกรมการให้อาหารให้เหมาะสมต่อพฤติกรรมการกินอาหารของกุ้งและ ควรเสริมแร่ธาตุลงในบ่อให้มากกว่าปรกติ เพื่อให้แร่ธาตุที่สำคัญในน้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสม และเติมปูนขาวลงในบ่อเพื่อปรับสภาพน้ำด้วย และสุดท้ายต้องตรวจสอบระบบป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คงประสิทธิภาพอยู่เสมอ ทำให้สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้
    หาก เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีการเตรียมความพร้อมและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยมีระบบรองรับความเสี่ยงโดยเฉพาะระบบป้องกันโรค รวมทั้งระบบจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพแล้ว สุดท้ายการเลี้ยงกุ้งก็จะประสบความสำเร็จได้ผลผลิตตามเป้าหมายส่งผลให้ได้ รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด
http://breakingnews.nationchannel.com


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!