เรื่องสายล่อฟ้านะครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 29, 2024, 08:46:56 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องสายล่อฟ้านะครับ  (อ่าน 9913 ครั้ง)
pakit
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 141


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 15, 2009, 03:22:32 PM »

มีใครพอจะทราบไหมครับว่าการติดสายล่อฟ้าต้องทำอย่างไร อย่างเช่นสูงเท่าไหร่ ต่อได้ไหม ผมไม่แน่ใจครับว่าถามผิดกระทู้หรือไม่ถ้าผิดขออภัยครับ อยากได้ข้อมูลเรื่องนี้ครับ ไม่ได้เอาติดครับแต่อาจต้องแก้ไขงานที่ติดไว้(อยากทราบข้อมูลพื้นฐานของระบบ) ขอบคุณครับ ขอบคุณ


บันทึกการเข้า

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 20, 2009, 12:54:44 PM »

ในปัจจุบันนิยมใช้หลักดินเป็นแท่งเหล็กกลมหุ้มด้วยทองแดงเพื่อป้องกันการผุกร่อนของเหล็กตอกลงไปในดิน จำนวนของหลักสายดินมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับค่าความต้านทานทางระบบไฟฟ้าของระบบ และในกรณีที่ต้องการหลักสายดินมากกว่า 1 ต้น National Electrical code (NEC) กำหนดให้มีระยะห่างระหว่างต้นไม่น้อยกว่า 6 ฟุต หรือ 1.80 เมตร ทั้งนี้เป็นการป้องกันการเกิด step voltage ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อยู่ใกล้เคียง กับหลักสายดิน การติดตั้งหลักสายดินให้ห่างกันจะช่วยให้การคายประจุไฟฟ้าสู่ดินได้ดีขึ้น และเป็นวงกว้างทำให้ลดค่า step voltage
โดยปกติมักมีการกำหนดให้ใช้ระยะ 3 เมตร
       การใช้หลักสายดินแบบตาข่ายถักเป็นตารางขนาดไม่น้อยกว่า 2.40x2.40 เมตร(strip electrode)ซึ่งมีข้อกำหนดอยู่ในมาตรฐานอังกฤษ ระบบนี้นอกจากจะช่วยในระบบป้องกันฟ้าผ่าแล้วมีบางท่านแจ้งว่า เป็นระบบที่เหมาะสมกับอาคารที่มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

ระบบป้องกันฟ้าผ่า ในอาคารสูงแบบ Faraday cage

        ระบบป้องกันฟ้าผ่าที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันสำหรับอาคารสูงๆซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านตัวนำลงดินโดยไม่ใช้สายทองแดงหรือสายตัวนำอื่นเพิ่มขึ้นมาอีก มีหลักการดังต่อไปนี้
1.ใช้เหล็กโครงสร้างตามแนวดิ่ง(เหล็กเสริมเสา) เป็นตัวนำลงดิน โดยเหล็กเสริมนี้ต้องต่อเชื่อมอย่างแข็งแรงและมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าตลอดความสูงของอาคารอย่างน้อยต้องเป็นเสาทั้ง4มุมของอาคารแต่ถ้าอาคารมีขนาดความกว้างมากจำเป็นต้องใช้เสาหลายต้นซึ่งมีระยะห่างไม่เกิน 30 เมตรตามมาตรฐานอังกฤษ และระยะห่างไม่เกิน 18 เมตรตามมาตรฐาน NFPA
2.ทุกๆระดับความสูงอาคาร 30 เมตร ต้องมีการเชื่อมเหล็กเสริมคานรอบนอกเป็นวงกลมและเชื่อมต่อเหล็กตามข้อ(1)
3.เสาเข็มซึ่งปกติจะมีเส้นลวดเหล็กเสริมและตอกลึกลงไปไนดินมาก ทำให้ค่าความต้านทานของการลงดินต่ำมาก ดังนั้นเส้นลวดนี้สามารถใช้แทนหลักสายดินได้ดีโดยการเชื่อมเส้นลวดนี้เข้ากับเหล็กเสริมเสาเข็ม


ที่มาจาก หนังสือคู่มือวิศวกรไฟฟ้า(Electrical Engineering Quick Reference)


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
qwer1960
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2009, 10:38:28 PM »

ลอลดูแบบนี้...ขอรับ   http://www.stabil.co.th/  เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!