การเติมน้ำยาแบบคว่ำถังกับไม่คว่ำต่างกันยังไงครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 27, 2024, 03:12:08 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเติมน้ำยาแบบคว่ำถังกับไม่คว่ำต่างกันยังไงครับ  (อ่าน 7723 ครั้ง)
hang_th
member
*

คะแนน0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2009, 11:59:00 AM »

การเติมน้ำยาแบบคว่ำถังกับไม่คว่ำต่างกันยังไงครับ


บันทึกการเข้า

henrytum
member
*

คะแนน20
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 115

คนเรามีชีวิตอยู่ได้แค่ 3,300 สัปดาห์จะทำอะไรก็ทำซะ


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2009, 01:15:31 PM »

ก็ต่างกันที่ คว่ำถัง กับ หงายถังงัยครับ 5555++ อ่าล้อเล่นครับ
การเติมน้ำยาที่ถูกต้องจะต้องเติมน้ำยาสถานะที่เป็นแก็สครับนั่นก็คือการหงายถังนั่นล่ะครับ
การคว่ำถังคือการเติมน้ำยาในสถานะที่เป็นของเหลว เพราะในถังน้ำยา น้ำยาที่เป็นแก็สจะอยู่ด้านบน น้ำยาเหลวจะอยู่ด้านล่างของถัง
ถ้าเติมโดยการคว่ำถัง น้ำยาเหลวจะเข้าคอมฯโดยตรงทำให้ลิ้นคอมฯเสียหายได้ครับ ไม่ควรเติมแบบคว่ำถังครับ เยี่ยมมาก
บันทึกการเข้า
TS-KK
member
*

คะแนน24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 180


« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2009, 02:32:04 PM »

จะคว่ำถังหรือหงายถัง อยู่ที่ชนิดของน้ำยาครับ ควรศึกษาก่อนทำการเติมน้ำยา
บันทึกการเข้า
songkram
member
*

คะแนน4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2009, 03:07:50 PM »

พวกคนติดตั้งแอร์ทั่วไปที่มักง่ายเอาเร็วเข้าว่ามักจะเติมแบบคว่ำถังนี่แหละครับ ส่วนชนิดของน้ำยานั้นเดี๋ยวนี้ถังบรรจุน้ำยาที่ต้องเติมแบบของเหลวนั้นก้านของท่อปล่อยน้ำยาจะยาวลงไปถึงก้นถังจุ่มกับส่วนที่เป็นของเหลวครับไม่ต้องคว่ำถังครับ
บันทึกการเข้า
santipp
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631


« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2009, 08:26:09 PM »

ถังน้ำยาที่เติมเป็นแบบของเหลว โดยที่ไม่คว่ำถัง ที่ข้างถังเขาจะเขียนคำว่า Siphon Tube(ไซป้อน)
แต่ถ้าคว่ำถังก็จะเติมเป็นแบบแก๊ส ซึ่งมันกลับกัน กับถังธรรมดา
สารทำความเย็น R-410A(ถังสีชมพู) ที่ใช้อยู่ในแอร์ อินเวอร์เตอร์ ของ PANA สารทำความเย็น
เบอร์นี้ต้องเติมแบบของเหลว สาเหตุที่ต้องเติมเป็นแบบของเหลว ก็เพราะว่าสารทำความเย็นเบอร์ R-410Aนี้
ประกอบไปด้วยสารทำความเย็น R-32และR-125 ถ้าเติมแบบแก๊ส ก็จะไม่ได้ตามสูตรของผู้ผลิต
และถ้าท่อรั่ว สารทำความเย็นเหลือน้อย หลังจากซ่อมรั่วเรียบร้อยแล้วต้องปล่อยสารทำความเย็นออก
จากระบบจนหมด แว๊คเติมสารทำความเย็นใหม่ โดยเติมเป็นขนาดน้ำหนัก ซึ่งก็ต้องดูตามเนมเพลท
แต่ละรุ่น ต่อไปนี้ช่างแอร์ก็ต้องพกกิโลไปด้วยละครับ
 Smiley
บันทึกการเข้า
nattawat
member
*

คะแนน9
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 145

รอยยิ้มนักสู้


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2009, 09:01:08 PM »

มันยุ่งยากขนาดนั้นเลยหรือครับ พกกิโลไปด้วย  Cool Cool
บันทึกการเข้า
santipp
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน180
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 631


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 10:41:06 PM »

ที่จริงแล้ว การเติมสารทำความเย็น ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศ
ถ้าเรามีตราชั่งก็ใช้ตราชั่ง ชั่งถังสารทำความเย็น แล้วเราก็เติมตามที่เนมเพลท
ก็จะแม่นยำที่สุด เดี๋ยวนี้เขาใช้เป็นกิโลดิจิตอล เมื่อก่อนจะใช้กระบอกเติมสารทำความเย็น
แต่ต้องใช้หลายอัน เพราะว่าสารทำความเย็นเบอร์นึง ก็ใช้กระบอกนึง แยกกัน ไม่ใช้รวมกัน
มันก็เปลื่อง ช่างอย่างเราๆไม่มีปัญญาซื้อหามาใช้ แต่เดี๋ยวนี้เป็นแบบตราชั่ง เอาสายเกจต่อที่ฐาน
ตราชั่งแล้วเอาถังขึ้นชั่ง และกำหนดเลยว่าน้ำหนักรวมเท่าไร เราต้องการเติมสารทำความเย็นเท่าไร
เราก็เซ็ทตราชั่งพอน้ำหนักลดลงไปตามที่เราตั้ง วาล์วที่ตราชั่งก็ตัด ซึ่งมันง่ายมากแม่นยำมาก ถ้าหามาใช้
ได้ก็ควรจะมี ผมว่าประหยัดไม่เปลื่องสารทำความเย็น และที่สำคัญมันเป็น REF ให้เราอ้างอิงได้
ของอะไรต่างๆถ้ามีตัวอ้างอิงก็จะดี อย่างเช่นสัญญาณอ้างอิงการหมุนของหัว V.D.O. เทป เอะยังไง
คุยเรื่องเครื่องเย็น ไปๆมาเลยไปเรื่อง V.D.O เทปไปได้ Smiley
บันทึกการเข้า
lexsa
member
*

คะแนน15
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161


เพื่อชีวิต....ครับพี่น้อง


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2009, 06:35:33 PM »

ถ้าเป็นตู้แช่ตู้เย็นขนาดใหญ่หรือแนวอุสาหกรรม จะเริ่มใช้น้ำยา 404A  กันมากขึ้นแล้ว ห้องเย็นก็แช่นกัน ชึ่งการเติมน้ำยาก็เติมแบบของเหลว จะคว่ำถังหรือหงายก็แล้วแต่ชนิดของถังที่ระบุไว้
บันทึกการเข้า

สิ่งที่ผมไม่รู้ยังมีอีกเยอะ ถ้าผิดพลาดโปรดชี้แนะ
  จากช่างมือใหม่
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!