พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 28, 2024, 05:02:30 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต  (อ่าน 12926 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 17, 2009, 05:29:02 PM »

พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต   
 


สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้

พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์)   ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต    ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง     แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ  เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

          พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา

ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
-พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
-พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
-ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
-พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
-พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
-พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล

           พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
-ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
-ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
-การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
-ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
-การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง

น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
-กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
-คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
-สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
-ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
-ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
-ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
-สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
-ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
-เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
-เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
-ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
-สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
-ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
-วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
-กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง

พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ

โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
-ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
โกโธ สตฺถมลํ โลเก
-ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
-ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข

พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์

ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
-ความจนเป็นทุกข์ในโลก
อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
-การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
-เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
-สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย

อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
-เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
-ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
-มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว
นตฺถิ พาเล สหายตา
-ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล
ภริยา ปรมา สขา
-ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง

 พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน
อสชฺฌายมลา มนฺตา
-มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
-เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
-ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
-ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
 
พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
-ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
-ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
-พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ

สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
-ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
-ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
-ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี
อสาธุง สาธุนา ชิเน
-พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
-พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
สจฺเจนาลิกวาทินํ
-พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น

อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
-ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
มนาปทายี ลภเต มนาปํ
-ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
-ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
-บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ
ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
-คนควรให้ทาน
ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
-พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่

พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
-เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ
อนุฏฺฐานมลา ฆรา
-เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ
โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
-โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ

 พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา


ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
-ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
-ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
-ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
-ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
-ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
สมฺภตํ อนุรกฺขติ
-ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
-ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
-บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
 
พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

หทยสฺส สทิสี วาจา
-วาจาเช่นเดียวกับใจ
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
-ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน
ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
-คนโกรธมีวาจาหยาบคาย
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
-คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
-คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
-ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์
ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
-ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
-ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย
สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
-ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ
วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
-ควรเปล่งวาจางาม
โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
-เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
-ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
นามนุญฺญํ กุทาจนํ
-ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
-ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล
 
พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร

หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
-หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
-เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
อรติ โลกนาสิกา
-ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
-อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ
นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
-ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
-ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
 
พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ

หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
-โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
-สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย

พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน

อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
-คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
-ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
-ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน
นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
-ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่
 
 


บันทึกการเข้า

srithaimax ♥1,510
ซุปเปอร์ วีไอพี
member
*

คะแนน262
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 585

ลูกอีสาน หลานย่าโม


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 02, 2009, 11:50:48 PM »

 เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก เยี่ยมมาก
บันทึกการเข้า

คิดดี  ทำดี   ย่อมได้รับสิ่งดีๆ
Suchat  sriwicha  โทร D tac  0869486776  6หมู่3 บ้านน้ำบ่า(สระวัด)  ต.ดอนตะหนิน อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120
....ผมไม่รู้ทุกเรื่อง.....
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 10:19:27 AM »

พุทธสุภาษิต ทั้งหมด 1517 สุภาษิตนี้ ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดยธรรมสภา

ขอให้ทุกท่านเจริญรุ่งเรืองยิ่งในธรรม และ ช่วยกันนำธรรมะที่ดีงามมาสู่สังคมไทยเราให้มาก ๆ นะครับ

No หมวด สุภาษิต
1 หมวดธรรมเบื้องต้น ตนเป็นที่พึ่งของตน
2 หมวดธรรมเบื้องต้น ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์
3 หมวดธรรมเบื้องต้น คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
4 หมวดธรรมเบื้องต้น คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ
5 หมวดธรรมเบื้องต้น ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า
6 หมวดธรรมเบื้องต้น พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น
7 หมวดธรรมเบื้องต้น คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
8 หมวดธรรมเบื้องต้น การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
9 หมวดธรรมเบื้องต้น บัณฑิตย่อมฝึกตน
10 หมวดธรรมเบื้องต้น ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
11 หมวดธรรมเบื้องต้น จงเตือนตน ด้วยตนเอง
12 หมวดธรรมเบื้องต้น ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
13 หมวดธรรมเบื้องต้น บิดามารดา เป็นบูรพาจารย์ของบุตร
14 หมวดธรรมเบื้องต้น คนเห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก
15 หมวดธรรมเบื้องต้น ความมีสติป้องกันความเลวร้ายได้
16 หมวดธรรมเบื้องต้น คนโกรธย่อมฆ่าได้แม้มารดาของตน
17 หมวดธรรมเบื้องต้น ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา
18 หมวดธรรมเบื้องต้น เมื่อคบคนดีกว่าตน ตนเองก็ดีขึ้นมาทันที
19 หมวดธรรมเบื้องต้น อยู่ร่วมกับคนชั่ว ย่อมมีแต่ความทุกข์
20 หมวดธรรมเบื้องต้น คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบความสุข
21 หมวดธรรมเบื้องต้น สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
22 หมวดธรรมเบื้องต้น ความเป็นเพื่อนไม่มีในคนพาล
23 หมวดธรรมเบื้องต้น ผู้ฝึกตนได้เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์
24 หมวดธรรมเบื้องต้น พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
25 หมวดธรรมเบื้องต้น วาจาของคน ย่อมส่องเห็นน้ำใจ
26 หมวดธรรมเบื้องต้น ปราชญ์ว่า มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาประเสริฐที่สุด
27 หมวดธรรมเบื้องต้น ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
28 หมวดธรรมเบื้องต้น ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้
29 หมวดธรรมเบื้องต้น ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง
30 หมวดธรรมเบื้องต้น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
31 หมวดธรรมเบื้องต้น ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
32 หมวดธรรมเบื้องต้น ความชั่วเมื่อทำแล้ว ย่อมเดือนร้อนภายหลัง
33 หมวดธรรมเบื้องต้น คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
34 หมวดธรรมเบื้องต้น บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร
35 หมวดธรรมเบื้องต้น คบคนดี ย่อมเจริญขึ้น
36 หมวดธรรมเบื้องต้น ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
37 หมวดธรรมเบื้องต้น ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
38 หมวดธรรมเบื้องต้น ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะย่อมนำสุขมาให้
39 หมวดธรรมเบื้องต้น การไม่คบคนชั่วเป็นมิตร เป็นมงคลอันอุดมยิ่ง
40 หมวดธรรมเบื้องต้น ความอดทน นำสุขมาให้
41 หมวดธรรมเบื้องต้น กินคนเดียว ย่อมไม่ได้ความสุข
42 หมวดธรรมเบื้องต้น เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก (กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)
43 หมวดธรรมเบื้องต้น พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต พึ่งสละ ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และ ชีวิต เพื่อรักษาธรรม (ความถูกต้อง)
44 หมวดบุคคล คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
45 หมวดบุคคล ผู้มีความรู้ในทางที่ชั่ว เป็นผู้เสื่อม
46 หมวดบุคคล ผู้มีความรู้ในทางที่ดี เป็นผู้เจริญ
47 หมวดบุคคล พวกโจร เป็นเสนียดของโลก
48 หมวดบุคคล ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม
49 หมวดบุคคล ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ
50 หมวดบุคคล สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์
51 หมวดบุคคล ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง
52 หมวดบุคคล ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น
53 หมวดบุคคล ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย
54 หมวดบุคคล คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง เพราะขอมาก
55 หมวดบุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก
56 หมวดบุคคล คนเมื่อโกรธแล้ว มักพูดมาก
57 หมวดบุคคล คนเมื่อรักแล้ว มักพูดมาก
58 หมวดบุคคล พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
59 หมวดบุคคล วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ
60 หมวดบุคคล บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก
61 หมวดบุคคล ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง
62 หมวดบุคคล คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย
63 หมวดบุคคล บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี
64 หมวดบุคคล พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
65 หมวดบุคคล สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
66 หมวดบุคคล กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย
67 หมวดบุคคล สัตบุรุษ ไม่ปราศรัยเพราะความได้กาม
68 หมวดบุคคล ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ
69 หมวดบุคคล มีบางคนในโลกที่ยับยั้งการกระทำด้วยความละอาย
70 หมวดบุคคล คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ และ ความประพฤติ
71 หมวดบุคคล อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร
72 หมวดบุคคล คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์
73 หมวดบุคคล บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์
74 หมวดบุคคล พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า
75 หมวดบุคคล สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก
76 หมวดบุคคล บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง
77 หมวดบุคคล ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ
78 หมวดบุคคล บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย
79 หมวดบุคคล บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
80 หมวดบุคคล สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ
81 หมวดบุคคล คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย
82 หมวดบุคคล ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
83 หมวดบุคคล ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
84 หมวดบุคคล คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ
85 หมวดบุคคล คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง
86 หมวดบุคคล ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย
87 หมวดบุคคล คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข
88 หมวดบุคคล สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
89 หมวดบุคคล ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
90 หมวดบุคคล ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับการสักการะ
91 หมวดบุคคล ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน
92 หมวดบุคคล คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
93 หมวดบุคคล คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น
94 หมวดบุคคล มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
95 หมวดบุคคล สตรี เป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย
96 หมวดบุคคล ผู้รักษา ควรมีสติรักษา
97 หมวดบุคคล ได้สิ่งใด พึงพอใจในสิ่งนั้น
98 หมวดบุคคล สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี
99 หมวดบุคคล อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก
100 หมวดบุคคล ผู้บูชา ย่อมได้รับการบูชา
101 หมวดบุคคล สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
102 หมวดบุคคล สติจำเป็นในที่ทั้งปวง
103 หมวดบุคคล คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ
104 หมวดบุคคล พระราชา เป็นประมุขของประชาชน
105 หมวดบุคคล ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
106 หมวดบุคคล อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
107 หมวดบุคคล ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย
108 หมวดบุคคล ผู้ประกอบด้วยทมะ และ สัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ
109 หมวดบุคคล พึงตามรักษาความสัตย์
110 หมวดบุคคล สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
111 หมวดบุคคล บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
112 หมวดบุคคล ปราชญ์ มีกำลังบริหารหมู่ให้ประโยชน์สำเร็จได้
113 หมวดบุคคล ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้
114 หมวดบุคคล คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ
115 หมวดบุคคล พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น
116 หมวดบุคคล ความสงัดของผู้สันโดษมีธรรมปรากฎ เห็นอยู่ นำสุขมาให้
117 หมวดบุคคล สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
118 หมวดบุคคล ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
119 หมวดบุคคล มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหมของบุตร
120 หมวดบุคคล สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม
121 หมวดบุคคล ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ
122 หมวดบุคคล คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ
123 หมวดบุคคล บรรพชิตฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย
124 หมวดบุคคล คนโง่ มีกำลังบริหารหมู่ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์
125 หมวดบุคคล คนฉลาด ย่อมละบาป
126 หมวดบุคคล พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี
127 หมวดบุคคล ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบากที่จะได้ประโยชน์นั้น
128 หมวดบุคคล ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
129 หมวดบุคคล คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย
130 หมวดบุคคล ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
131 หมวดบุคคล คนแข็งกระด้างก็มีเวร
132 หมวดบุคคล กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหวนทวนลมได้
133 หมวดบุคคล ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ย่อมประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่
134 หมวดบุคคล ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามี และ คนที่ควรเคารพทั้งปวง
135 หมวดบุคคล มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)
136 หมวดบุคคล ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ
137 หมวดบุคคล สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม
138 หมวดบุคคล ผู้ปราศจากทมะ และ สัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ
139 หมวดบุคคล อสัตบุรุษย่อมไปนรก
140 หมวดบุคคล คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ
141 หมวดบุคคล ผู้มีความดีจงรักษาความดีของตนไว้
142 หมวดบุคคล มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร
143 หมวดบุคคล สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
144 หมวดบุคคล ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข
145 หมวดบุคคล สัตบุรุษ ยินดีในการเกื้อกูลสัตว์
146 หมวดบุคคล สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์
147 หมวดบุคคล สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ
148 หมวดบุคคล ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
149 หมวดบุคคล คนมีปัญญา ย่อมแนะนำในทางที่ควรแนะนำ
150 หมวดบุคคล บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
151 หมวดบุคคล พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์
152 หมวดบุคคล พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด
153 หมวดบุคคล คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง
154 หมวดบุคคล บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
155 หมวดบุคคล บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ส่องทางสว่าง
156 หมวดบุคคล บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่ สตรีคิดการได้ฉับไวก็เป็นบัณฑิต
157 หมวดบุคคล ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ
158 หมวดบุคคล ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
159 หมวดบุคคล ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
160 หมวดบุคคล ชนเหล่าใดฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี ชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคคติ
161 หมวดบุคคล ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้ได้บอกแล้ว ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ เหมือนพ่อค้า ถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น
162 หมวดบุคคล ผู้ใดรีบในกาลที่ควรช้า และ ช้าในกาลที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย
163 หมวดบุคคล ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
164 หมวดบุคคล ผู้ใดช้าในการที่ควรช้า และ รีบในการที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย
165 หมวดบุคคล ผู้บรรลุธรรมอย่างสูงสุดไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศกในความตาย เหมือนผู้ออกพ้นจากเรือนที่ถูกไฟใหม้
166 หมวดบุคคล ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
167 หมวดบุคคล ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ
168 หมวดบุคคล ใคร่ครวญติ คนฉลาดจะประพฤติไม่ขาด ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท
169 หมวดบุคคล ผู้ใดยกย่องตน และดูหมิ่นผู้อื่น เป็นคนเลว เพราะการถือตัวเอง พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
170 หมวดบุคคล ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และ ไม่มีเวรกับใคร ๆ
171 หมวดบุคคล ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ สงบระงับ และ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน
172 หมวดบุคคล มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก
173 หมวดบุคคล ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้, ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
174 หมวดบุคคล ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว จึงชื่อว่าชนะมาร พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด
175 หมวดบุคคล ผู้ที่มารดาบิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดาย่อมเข้าถึงนรก
176 หมวดบุคคล ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา
177 หมวดบุคคล ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา และประทุษร้ายภริยาของคนอื่น นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม
178 หมวดบุคคล คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชค ย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น
179 หมวดบุคคล ราคะ โทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว, ผู้นั้นเป็นผู้คงที่ มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น
180 หมวดบุคคล นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำบาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคคติ
181 หมวดบุคคล ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้นเป็นคนเลว
182 หมวดบุคคล บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี
183 หมวดบุคคล บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หาในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และ ประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน
184 หมวดบุคคล บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่, แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน
185 หมวดบุคคล ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต, ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง
186 หมวดบุคคล คนเขลาคิดว่าเรามีบุตร เรามีทรัพย์ เขาจึงเดือนร้อน ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์มาแต่ไหนเล่า
187 หมวดบุคคล ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้ว หาความสงสัยมิได้ เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะบรรลุประโยชน์แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์
188 หมวดบุคคล คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น
189 หมวดบุคคล บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาดล้างบาปแล้ว ท่านว่าเป็นผู้สะอาด
190 หมวดบุคคล ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ
191 หมวดบุคคล ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น
192 หมวดบุคคล ผู้เป็นคนขัดเคืองเหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และ ไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
193 หมวดบุคคล บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเครือง เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และ ไม่ติดในรสทั้งหลาย
194 หมวดบุคคล เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ ยากทีอสัตบุรุษจะประพฤติตาม
195 หมวดบุคคล บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐเพราะการกระทำ
196 หมวดบุคคล คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
197 หมวดบุคคล บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป, ส่วนสมณะนำไปย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ
198 หมวดบุคคล ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ, เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
199 หมวดบุคคล สัตบุรุษย่อมปรากฎได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนกับลูกศรที่ยิงไปกลางคืน
200 หมวดบุคคล ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร ถูกลาภและความเสื่อมย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ
201 หมวดบุคคล ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน, ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตน และ ผู้อื่นทั้ง 2 ฝ่าย
202 หมวดบุคคล ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ, สังโยชน์ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้นย่อมเบาบาง
203 หมวดบุคคล ความปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด, เขาย่อมสร้างบาป เพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบายเพราะเหตุนั้น
204 หมวดบุคคล ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่แว้นแคว้น ตำบล หรือ เมืองหลวงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
205 หมวดบุคคล ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศึล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
206 หมวดบุคคล มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
207 หมวดบุคคล ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ
208 หมวดบุคคล กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์
209 หมวดบุคคล ผู้ไม่ระเริงในอารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ประกอบในความดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม ย่อมไม่เชื่อง่าย ไม่หน่ายแหนง
210 หมวดบุคคล สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี, ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าในอากาศ
211 หมวดบุคคล ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น
212 หมวดบุคคล พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์
213 หมวดบุคคล คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียน ทั้งตน และ คนอื่น
214 หมวดบุคคล เหตุอย่างหนึ่ง ทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญ เหตุอย่างเดียวกันนั้น ทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา
215 หมวดบุคคล แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมด ได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ฉันนั้น
216 หมวดบุคคล ผู้ใด วิญญูชนพิจารณาดูอยู่ทุกวัน ๆ แล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้น ใครเล่าจะควรติเตียนเขาได้
217 หมวดบุคคล คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี
218 หมวดบุคคล คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า
219 หมวดบุคคล สิ่งเดียวกันนั่นแหละดีสำหรับคนหนึ่ง แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งใด ๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด และ ก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด
220 หมวดบุคคล บุคคล รู้แจ้งธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น
221 หมวดบุคคล ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบ อันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจ ต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว และ ผู้มีสติเหล่านั้น
222 หมวดบุคคล ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และ ไม่ประกอบตนในสิ่งที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสียถือตามชอบใจ ย่อมเป็นที่กระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ
223 หมวดบุคคล ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไป เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม, เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์
224 หมวดบุคคล การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น
225 หมวดบุคคล บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่ามีในที่สุด
226 หมวดบุคคล กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณจาล และ คนงานชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด
227 หมวดบุคคล ผู้ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหวนั้นรู้ที่สุด ทั้ง 2 แล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นละตัณหา เครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว
228 หมวดบุคคล ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเรา ในนามรูปโดยประการทั้งปวง และ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ
229 หมวดบุคคล นรชนใดไม่เชื่อ (ตามเขาว่า) รู้จักพระนิพพาน อันอะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว และ คายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด
230 หมวดบุคคล ผู้ติดใจในการบริโภคกาม ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้น
231 หมวดบุคคล ผู้ฉลาดหลักแหลม แสดงเหตุและไม่ใช้เหตุได้แจ่มแจ้ง และ คาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมเปลี้องตน (จากทุกข์) ได้ฉับพลัน อย่ากลัวเลย เขาจักกลับมาได้
232 หมวดบุคคล ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความครั้นคร้าม ขนพองสยองเกล้าจักไม่มี
233 หมวดบุคคล ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู
234 หมวดบุคคล ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษ และ ของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดา และ มนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และ เป็นมุนี
235 หมวดบุคคล ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา ได้รับสรรเสริญ ก็ไม่ควรเหิมใจ พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่ ความโกรธ และ ความส่อเสียดเสีย
236 หมวดบุคคล คนบางจำพวกเหล่าใดไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป
237 หมวดบุคคล โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมของตนฉันใด ประชาชนผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น
238 หมวดบุคคล บัณฑิตละราคะ โทสะ และ โมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียวในการสิ้นชีวิต, พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
239 หมวดบุคคล เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส
240 หมวดบุคคล บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน, สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้องแม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติ และ โทสาคติ
241 หมวดบุคคล ผู้ฉลาดละเครื่องกั้นจิต 5 ประการ กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด ตัดรักและชังแล้ว อันตัณหา และทิฏฐิอาศัยไม่ได้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
242 หมวดบุคคล เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ , ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
243 หมวดบุคคล ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ ดุจน้ำฝาดแล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด ควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
244 หมวดบุคคล ผู้ใดปราศจากการติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ ผู้นั้นจะพึงอยู่ในอากิญจัญญานตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม
245 หมวดบุคคล เมื่อใดบัณฑิตรู้ว่าชรา และ มรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุขน มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น
246 หมวดบุคคล คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตน มีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาป เพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล ว่าสมณะในโลก
247 หมวดบุคคล ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นโรค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้
248 หมวดบุคคล บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์
249 หมวดบุคคล ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้
250 หมวดบุคคล ผู้ติดในส่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า ความรำพัน และ ความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้
251 หมวดบุคคล ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ 6 ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความซื่อตรง และ ความอ่อนโยน ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด เที่ยวไป, ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้ว และ ได้ฟังแล้ว
252 หมวดบุคคล ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ
253 หมวดบุคคล คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์ อันประจวบด้วยความฝันฉันใด คนผู้อยู่ ย่อมไม่เห็นชน อันตนรักทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น
254 หมวดบุคคล ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม, บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท
255 หมวดบุคคล เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
256 หมวดบุคคล ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ
257 หมวดบุคคล ผู้ครองเรือนขยัน ดีข้อหนึ่ง มีโภคทรัพย์แล้วแบ่งปัน ดีข้อสอง ถึงทีได้ผลสมหมาย ไม่มัวเมา ดีข้อสาม ถึงคราวสูญเสียประโยชน์ ไม่หมดกำลังใจ ดีครบสี่
258 หมวดบุคคล คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี
259 หมวดบุคคล คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
260 หมวดบุคคล ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือน สม่ำเสมอ ตลอดเวลาร้อยปี การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร การยกบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้ว คนหนึ่งแม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า
261 หมวดบุคคล มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา มิใช่การบำเพ็ญตบะ นอนในโคลนตม มิใช้การอดอาหาร มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก ที่จะทำคนให้บริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น
262 หมวดบุคคล ส่วนผู้ใด ถึงจะตกแต่งกาย สวมใส่อาภรณ์ แต่หากประพฤติชอบ เป็นผู้สงบ ฝึกอบรมตนแน่วแน่ เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ เลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้ว ผู้นั้นแล จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ หรือ เป็นภิกษุ ก็ได้ทั้งสิ้น
263 หมวดการศึกษา ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา
264 หมวดการศึกษา บิดามารดาพึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา
265 หมวดการศึกษา สรรพวิทยา ควรเรียนรู้ให้หมด
266 หมวดการศึกษา ปัญญา ย่อมเกิดเพราะการฝึกฝน
267 หมวดการศึกษา ปัญญานั่นแหละ ประเสริฐกว่าทรัพย์
268 หมวดการศึกษา ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา
269 หมวดการศึกษา ปัญญา เปรียบเสมือนเครื่องประดับแห่งตน
270 หมวดการศึกษา ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
271 หมวดการศึกษา คนโง่ มักตกอยู่ในอำนาจแห่งมาร
272 หมวดการศึกษา คนไม่พินิจพิจารณา เป็นคนไม่มีปัญญา
273 หมวดการศึกษา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา นั้นไม่มี
274 หมวดการศึกษา คนย่อมเห็นแจ้งเนื้อความอย่างเด่นชัดด้วยปัญญา
275 หมวดการศึกษา คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
276 หมวดการศึกษา คนไร้ปัญญา ไม่มีความพินิจพิจารณา
277 หมวดการศึกษา ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ดีทั้งนั้น
278 หมวดการศึกษา คนมีปัญญา เมื่อถึงคราวตกทุกข์ ก็ยังหาสุขได้
279 หมวดการศึกษา คนเรียนน้อย เจริญแต่เนื้อหนังมังสา
280 หมวดการศึกษา มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ปราชญ์กล่าวว่าประเสริฐสุด
281 หมวดการศึกษา คนเรียนน้อย แก่เปล่า เหมือนโคถึก
282 หมวดการศึกษา คนเรียนน้อย ปัญญาย่อมไม่พัฒนา
283 หมวดการศึกษา ปัญญาเป็นเครื่องปกครองคน
284 หมวดการศึกษา พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ
285 หมวดการศึกษา ผู้รู้จักประโยชน์แล้ว ย่อมนำสุขมาให้
286 หมวดการศึกษา คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ที่มียศ
287 หมวดการศึกษา ในหมู่มนุษย์ คนที่ประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว
288 หมวดการศึกษา ความไม่รู้ เป็นมลทินร้ายที่สุด
289 หมวดการศึกษา เมื่ออ่อนปัญญา ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์
290 หมวดการศึกษา บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ
291 หมวดการศึกษา คนไม่มีศิลปวิทยา เป็นอยู่ยาก
292 หมวดการศึกษา สักวันหนึ่ง ความรู้ที่เรียนมาจะให้ประโยชน์
293 หมวดการศึกษา คนมีปัญญา ถึงไร้ทรัพย์ ก็ยังดำรงอยู่ได้
294 หมวดการศึกษา ปราชญ์กล่าวว่าปัญญา ประเสริฐสุด
295 หมวดการศึกษา บรรดาความอิ่มทั้งหลาย อิ่มปัญญาประเสริฐสุด
296 หมวดการศึกษา ปัญญาเป็นเครื่องตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนมา
297 หมวดการศึกษา คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา
298 หมวดการศึกษา สิ่งที่ควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด
299 หมวดการศึกษา บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชาความรู้ประเสริฐสุด
300 หมวดการศึกษา ปัญญาช่วยให้รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์
301 หมวดการศึกษา ความรู้ที่เรียนมา เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
302 หมวดการศึกษา การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
303 หมวดการศึกษา พึงเป็นคนชอบไตร่ถามเพื่อหาความรู้
304 หมวดการศึกษา บรรดาสิ่งที่โรยราร่วงหายทั้งหลาย ความไม่รู้หมดไปได้เป็นดีที่สุด
305 หมวดการศึกษา คนมีปัญญาย่อมงอกงาม ดังพืชในนาที่งอกงามด้วยน้ำฝน
306 หมวดการศึกษา อัสดร อาชาไนย สินธพ กุญชร และช้างหลวง ฝึกดีแล้ว ล้วนดีเลิศ แต่คนฝึกตนแล้ว ประเสริฐยิ่งกว่านั้น
307 หมวดการศึกษา ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น
308 หมวดการศึกษา คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
309 หมวดการศึกษา เล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติ แต่ฝึกอบรมด้วยจริยธรรมแล้วต่างหาก จึงจะสบสันติสุข
310 หมวดการศึกษา คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียรมีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ก็รุ่งเรืองได้เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืด ก็สว่างไสว
311 หมวดการศึกษา ความใฝ่เรียนสดับ เป็นเครื่องพัฒนาความรู้ ความรู้จากการเรียนสดับนั้น เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา บุคคลที่อยู่ด้วยปัญญา ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้
312 หมวดการศึกษา ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบวินัย คนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า
313 หมวดการศึกษา อันความรู้ ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ สูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมาย เข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์
314 หมวดการศึกษา คนมีปัญญา แม้มีปัญหา และถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใดก็หลุดได้ในเรื่องนั้น
315 หมวดวาจา วาจาเช่นเดียวกับใจ
316 หมวดวาจา ไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย
317 หมวดวาจา คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกผูกมัดในเรื่องนั้น
318 หมวดวาจา คนกล่าววาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
319 หมวดวาจา ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
320 หมวดวาจา คนโกรธมีวาจาหยาบ
321 หมวดวาจา คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย
322 หมวดวาจา คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
323 หมวดวาจา ควรเปล่งวาจางาม
324 หมวดวาจา ควรเปล่งวาจาไพเราะ ที่มีประโยชน์
325 หมวดวาจา พูดดี เป็นมงคลอย่างสูงสุด
326 หมวดวาจา พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น
327 หมวดวาจา ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
328 หมวดวาจา ในกาลไหนๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
329 หมวดวาจา เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
330 หมวดวาจา ระมัดระวังวาจา เป็นความดี
331 หมวดวาจา ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
332 หมวดวาจา วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ปฎิบัติ เหมือนดังดอกไม้งาม ที่มีทั้งสีสวย และกลิ่นอันหอม
333 หมวดวาจา คนเกิดมาชื่อว่ามีขวานเกิดติดปากมาด้วย สำหรับให้คนพาลใช้ฟันตนเอง ในเวลาพูดคำชั่ว
334 หมวดวาจา ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป ควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือ ควรกล่าวให้พอดีๆ เมื่อถึงเวลา
335 หมวดวาจา คนใดเมื่อถูกอ้างเป็นพยาน เบิกความเท็จ เพราะตนก็ด ีเพราะผู้อื่นก็ดี เพราะทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
336 หมวดวาจา พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
337 หมวดวาจา คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษ ทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถ และเป็นธรรม
338 หมวดวาจา ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ
339 หมวดวาจา คนเขลา เมื่อกล่าวในเรื่องใดไม่ถูกผูก ก็ติดในเรื่องนั่น คนฉลาด เมื่อกล่าวในเรื่องใด แม้ถูกผูก ก็หลุดในเรื่องนั่น
340 หมวดวาจา ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว
341 หมวดวาจา ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น เพราะคนดีไม่นำพาคำชั่วของผู้อื่น คนดีจะกล่าวแต่คำไพเราะ
342 หมวดวาจา บุคคลพึงกล่าววาจา ที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต
343 หมวดวาจา ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความแม้ตั้งพัน ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แล้ว ข้อความที่เป็นประโยชน์เพียงบทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ย่อมประเสริฐกว่า
344 หมวดวาจา จะทำสิ่งใดพึงพูดสิ่งนั้น สิ่งใดไม่ทำไม่พึงพูดถึง บัณฑิตย่อมจะหมายเอาได้ว่า คนไม่ทำดีแต่พูด
345 หมวดวาจา บุคคลทำสิ่งใดควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใดไม่ควรพูดสิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด
346 หมวดวาจา พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ย่อมเป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย
347 หมวดวาจา ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมเก็บโทษของตนไว้ด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษแห่งปากนั้น
348 หมวดวาจา ผู้มีภูมิปัญญาย่อมไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชา ในท่ามกลางชุมชน ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ
349 หมวดวาจา ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
350 หมวดอดทน ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร
351 หมวดอดทน ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข
352 หมวดอดทน ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
353 หมวดอดทน ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
354 หมวดอดทน ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต
355 หมวดอดทน ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน
356 หมวดอดทน สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง
357 หมวดอดทน ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น
358 หมวดอดทน ความอดทน ย่อมตัดแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่า ย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้ เป็นต้น
359 หมวดอดทน ผู้มีความอดทนนับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
360 หมวดอดทน ผู้มีความอดทน ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนแก่ผู้อื่น, ผู้มีความอดทน ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และไปนิพพาน
361 หมวดอดทน ผู้มีความอดทน ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา, และ ผู้มีความอดทน ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยการบูชาอันยิ่งใหญ่
362 หมวดอดทน ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ความอดทนเป็นตบะของผู้พากเพียร ความอดทนเป็นกำลังของนักพรต ความอดทนนำประโยชน์สุขมาให้
363 หมวดอดทน ความอดทนเป็นประธาน เป็นเหตุแห่งคุณ คือศีล และ สมาธิ, กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะความอดทนเท่านั้น
364 หมวดความเพียร อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์
365 หมวดความเพียร คนไม่ประมาท ไม่มีวันตายในกาลอันไม่ควรตาย
366 หมวดความเพียร คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดวันมะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม
367 หมวดความเพียร ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตายในกาลยังควรไม่ตาย
368 หมวดความเพียร คนไม่เกียจคร้าน ย่อมพบแต่ความสุข
369 หมวดความเพียร คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า
370 หมวดความเพียร จงมีความพยายามในหน้าที่ของตน
371 หมวดความเพียร ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
372 หมวดความเพียร คนประมาท เปรียบเสมือนคนตายแล้ว
373 หมวดความเพียร ที่ควรช้า จงช้า ที่ควรเร่ง จงเร่ง
374 หมวดความเพียร ทำงานไม่คั่งค้าง เป็นอุดมมงคล
375 หมวดความเพียร ค่อย ๆ ตั้งตัว เหมือนค่อย ๆ ก่อไฟจากกองน้อย
376 หมวดความเพียร คนผลัดวันประกันพรุ่ง มีแต่จะเกิดความเสื่อม
377 หมวดความเพียร คนพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร
378 หมวดความเพียร ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก
379 หมวดความเพียร การงานใด ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
380 หมวดความเพียร พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
381 หมวดความเพียร ไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง
382 หมวดความเพียร จงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
383 หมวดความเพียร ประโยชน์งามตรงที่ความพยายามสำเร็จ
384 หมวดความเพียร ไม่พึงวิตกกังวลถึงอนาคต
385 หมวดความเพียร พึงระแวงสงสัยสิ่งที่ควรระแวงสงสัย
386 หมวดความเพียร ฤกษ์ยามและดวงดาว จักช่วยอะไรได้
387 หมวดความเพียร ความคืนผ่านไป ๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่
388 หมวดความเพียร พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง
389 หมวดความเพียร อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต
390 หมวดความเพียร คนขยัน ได้ความสงบใจ
391 หมวดความเพียร อย่ามัวประมาทอยู่เลย
392 หมวดความเพียร ไม่ควรให้แต่ละวันผ่านไปเปล่า
393 หมวดความเพียร รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้
394 หมวดความเพียร ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง
395 หมวดความเพียร ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
396 หมวดความเพียร บัณฑิต ไม่ควรท้อแท้
397 หมวดความเพียร โภคทรัพย์ มิใช่มีมาได้ด้วยเพียงคิดเอา
398 หมวดความเพียร ไม่พึงหวนคำนึงถึงอดีต
399 หมวดความเพียร พึงแสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม
400 หมวดความเพียร ใครเล่ารู้ว่าจะตายวันตายพรุ่ง
401 หมวดความเพียร คนที่พากเพียรไม่หยุด เทวดาก็กีดกันไม่ได้
402 หมวดความเพียร เกิดเป็นคน ควรพยายามเรื่อยไป
403 หมวดความเพียร คนประมาท เสมือนคนตายแล้ว
404 หมวดความเพียร คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้
405 หมวดความเพียร ประโยชน์ เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง
406 หมวดความเพียร เกิดเป็นคน ควรมีความหวังเรื่อยไป
407 หมวดความเพียร เมื่อต้องการความสุข ไม่พึงสิ้นความหวัง
408 หมวดความเพียร จงเตรียมการให้พร้อม สำหรับอนาคต
409 หมวดความเพียร ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย
410 หมวดความเพียร ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่
411 หมวดความเพียร คนมีกิจธุระ ตั้งใจทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
412 หมวดความเพียร ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
413 หมวดความเพียร ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ประเสริฐกว่า
414 หมวดความเพียร เมื่อทำหน้าที่ของลูกผู้ชายแล้ว จังไม่ต้องเดือนร้อนใจในภายหลัง
415 หมวดความเพียร คนขยันทั้งคืนทั้งวัน จักไม่ซึมเซา เรียกว่าแต่ละวันมีแต่นำโชค
416 หมวดความเพียร เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่ปรารถนาจะสำเร็จ
417 หมวดความเพียร รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ
418 หมวดความเพียร พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม
419 หมวดความเพียร ผู้ปรารถนาประโยชน์ด้วยวิธีการอันผิด จะต้องเดือดร้อน
420 หมวดความเพียร ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย
421 หมวดความเพียร ประโยชน์คือตัวฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้
422 หมวดความเพียร ถ้ามัวล่าช้า ทำกิจล้าหลัง จะจมลงในห้วงอันตราย
423 หมวดความเพียร จงทำประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท
424 หมวดความเพียร อันความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
425 หมวดความเพียร คนฉลาดไม่ถูกเรื่อง ถึงจะพยายามทำประโยชน์ ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลให้เกิดสุข
426 หมวดความเพียร การงานที่ทำโดยผลีผลาม ทำให้คนอ่อนปัญญาต้องเดือนร้อนภายหลัง
427 หมวดความเพียร ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี
428 หมวดความเพียร เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง
429 หมวดความเพียร เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย เหมือนคนมีจักษุ เว้นเดินทางอันไม่สะดวกเรียบร้อย
430 หมวดความเพียร ผู้ไม่สำคัญความหนาว และ ความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้าบุรุษเมื่อทำกิจ ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
431 หมวดความเพียร ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น
432 หมวดความเพียร ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้วจักพ้นจากเครื่องผูกของมาร
433 หมวดความเพียร อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เมื่อขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และ ความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร
434 หมวดความเพียร ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการงาน เลี้ยงชีวิตพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
435 หมวดความเพียร คนมีปัญญา ถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์ ก็ไม่ยอมสิ้นหวังที่จะได้ประสบความสุข
436 หมวดความเพียร ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
437 หมวดความเพียร ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น
438 หมวดความเพียร เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัว เมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า
439 หมวดความเพียร เมื่อได้เพียรพยายามแล้ว ถึงจะตาย ก็ชื่อว่าตายอย่างไม่มีใครติเตียน ไม่ว่าในหมู่ญาติ หมู่เทวดา หรือว่าพระพรหมทั้งหลาย
440 หมวดความเพียร สิ่งใดเป็นหน้าที่ กลับทอดทิ้งเสีย ไพล่ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ คนเหล่านั้นมัวประมาทอยู่ ความหมักหมมภายในตัวเขา ก็พอกพูนยิ่งขึ้น
441 หมวดความเพียร เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น
442 หมวดความเพียร ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือนร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก
443 หมวดความเพียร ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้วปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในธรรม ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
444 หมวดความเพียร คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี
445 หมวดความเพียร ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านว่าเป็นภัย และ เห็นการปรารภความเพียรว่าปลอดภัย แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
446 หมวดความเพียร คนใดไม่ว่าจะหนาวหรือร้อน มีลมแดด เหลือบยุงก็ไม่หรั่น ทนหิวทนกระหายได้ทั้งนั้น ทำงานต่อเนื่องไปไม่ขาด ทั้งคืนวัน สิ่งที่เป็นประโยชน์มาถึงตามกาล ก็ไม่ปล่อยให้สูญเสียไป คนนั้นย่อมเป็นที่ชอบใจของสิริโชค สิริโชคจะพักพึงอยู่กับเขา
447 หมวดความเพียร มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า
448 หมวดความเพียร ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา ทั้งโดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จ มีชัยอย่างไพบูลย์
449 หมวดความโกรธ ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
450 หมวดความโกรธ พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
451 หมวดความโกรธ ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
452 หมวดความโกรธ ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว (เพราะความโกรธได้เข้าพำนักหมดสิ้นแล้ว)
453 หมวดความโกรธ ความโกรธย่อมทำจิตให้กำเริบ
454 หมวดความโกรธ ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ
455 หมวดความโกรธ ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม
456 หมวดความโกรธ ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
457 หมวดความโกรธ พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
458 หมวดความโกรธ ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
459 หมวดความโกรธ ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์
460 หมวดความโกรธ ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย
461 หมวดความโกรธ คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง
462 หมวดความโกรธ ผู้มืนเมาด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
463 หมวดความโกรธ ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อนั้น
464 หมวดความโกรธ ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
465 หมวดความโกรธ ความโกรธก่อความพินาศ
466 หมวดความโกรธ ฆ่าความโกรธได้ ไม่โศกเศร้า
467 หมวดความโกรธ คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
468 หมวดความโกรธ โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน
469 หมวดความโกรธ ความโกรธน้อยแล้วมาก มักเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
470 หมวดความโกรธ ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี
471 หมวดความโกรธ ความโกรธไม่ดีเลย
472 หมวดความโกรธ อย่าลุแก่อำนาจความโกรธ
473 หมวดความโกรธ ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้
474 หมวดความโกรธ ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
475 หมวดความโกรธ ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้
476 หมวดความโกรธ คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์
477 หมวดการชนะ การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
478 หมวดการชนะ รสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง
479 หมวดการชนะ ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
480 หมวดการชนะ พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
481 หมวดการชนะ พึงชนะคนตระหนึ่ด้วยการให้
482 หมวดการชนะ ผู้ชนะย่อมก่อเวร
483 หมวดการชนะ พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
484 หมวดการชนะ พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
485 หมวดการชนะ ความชนะใด ที่ชนะแล้ว ไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี
486 หมวดการชนะ ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
487 หมวดการชนะ ความชนะใด ที่ชนะแล้ว กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
488 หมวดความประมาท ความประมาท เป็นทางแห่ง ความตาย
489 หมวดความประมาท ความประมาท บัณฑิต ติเตียนทุกเมื่อ
490 หมวดความประมาท ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา
491 หมวดความประมาท ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
492 หมวดความประมาท ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท
493 หมวดความประมาท อย่ามัวประกอบความประมาท
494 หมวดความประมาท คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
495 หมวดความประมาท คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
496 หมวดความประมาท ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
497 หมวดความประมาท ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
498 หมวดความประมาท เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
499 หมวดความประมาท คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวมัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
500 หมวดความประมาท หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น
501 หมวดวาจา ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินควรแก่กาล
502 หมวดความไม่ประมาท ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตาย
503 หมวดความไม่ประมาท ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
504 หมวดความไม่ประมาท ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
505 หมวดความไม่ประมาท ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
506 หมวดความไม่ประมาท บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท
507 หมวดความไม่ประมาท บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
508 หมวดความไม่ประมาท บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง
509 หมวดความไม่ประมาท ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
510 หมวดความไม่ประมาท ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด
511 หมวดความไม่ประมาท คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาให้ท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ
512 หมวดความไม่ประมาท ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
513 หมวดความไม่ประมาท ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
514 หมวดความไม่ประมาท ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน
515 หมวดความไม่ประมาท คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งผู้ประมาท (คนโง่) เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น
516 หมวดความไม่ประมาท ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
517 หมวดความไม่ประมาท ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความนับถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้
518 หมวดความไม่ประมาท ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท
519 หมวดตน- ฝึกตน บุคคลไม่ควรลืมตน
520 หมวดตน- ฝึกตน ตนนั่นแหละเป็นที่รักยิ่ง
521 หมวดตน- ฝึกตน ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ
522 หมวดตน- ฝึกตน ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
523 หมวดตน- ฝึกตน ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
524 หมวดตน- ฝึกตน ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก
525 หมวดตน- ฝึกตน รู้ตนว่าเป็นคนเช่นใด เหล่าเทพไท้ก็รู้เช่นนั้น
526 หมวดตน- ฝึกตน ผู้ฝึกตนได้ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์
527 หมวดตน- ฝึกตน ไม่ควรพร่าประโยชน์แห่งตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้จะมีมาก
528 หมวดตน- ฝึกตน แน่ะ บุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวท่านเองย่อมรู้
529 หมวดตน- ฝึกตน ฝึกตนได้แล้วจึงควรฝึกคนอื่น
530 หมวดตน- ฝึกตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
531 หมวดตน- ฝึกตน ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น
532 หมวดตน- ฝึกตน ได้ยินมาว่า ตัวเราฝึกได้ยาก
533 หมวดตน- ฝึกตน ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว
534 หมวดตน- ฝึกตน ควรรักษาตนนั้นไว้ให้ดี
535 หมวดตน- ฝึกตน ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
536 หมวดตน- ฝึกตน จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าให้เดือดร้อน
537 หมวดตน- ฝึกตน อย่าฆ่าตัวเองเสียเลย
538 หมวดตน- ฝึกตน บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต
539 หมวดตน- ฝึกตน เป็นที่รู้กันว่า ตนนี่แหละ ฝึกได้ยาก
540 หมวดตน- ฝึกตน ความผิดของตน มองเห็นได้ยาก
541 หมวดตน- ฝึกตน ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
542 หมวดตน- ฝึกตน ไฉนจึงดูถูกตัวเองเล่า
543 หมวดตน- ฝึกตน ทุกท่านสามารถทำดีได้
544 หมวดตน- ฝึกตน พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
545 หมวดตน- ฝึกตน ตนมีทางไป เป็นของตน
546 หมวดตน- ฝึกตน ติตนด้วยข้อใด อย่าทำข้อนั้นเสียเอง
547 หมวดตน- ฝึกตน บัณฑิต ย่อมฝึกตน
548 หมวดตน- ฝึกตน บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตนเอง
549 หมวดตน- ฝึกตน รักอื่นเสมอด้วยรักตน นั้นไม่มี
550 หมวดตน- ฝึกตน ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ
551 หมวดตน- ฝึกตน คนชั่วฆ่าตัวเองก่อน ภายหลังจึงฆ่าคนอื่น
552 หมวดตน- ฝึกตน ความผิดของผู้อื่นเห็นได้ง่าย
553 หมวดตน- ฝึกตน จงเตือนตนด้วย ตนเอง
554 หมวดตน- ฝึกตน บุรุษ ไม่พึงสละเสียซึ่งตัวเอง
555 หมวดตน- ฝึกตน ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความโชติช่วงแห่งคน
556 หมวดตน- ฝึกตน ตนแล เป็นคติของตน
557 หมวดตน- ฝึกตน ความรักอื่น เสมอด้วยความรักตนเองไม่มี
558 หมวดตน- ฝึกตน คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้
559 หมวดตน- ฝึกตน จงพิจารณาตนด้วยตนเอง
560 หมวดตน- ฝึกตน ไม่ควรเอาตัวไปพัวพันกับความชั่ว
561 หมวดตน- ฝึกตน คนมิได้เป็นโจรเพราะคำของคนอื่น มิได้เป็นมุนีเพราะคำของคนอื่น
562 หมวดตน- ฝึกตน ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
563 หมวดตน- ฝึกตน ผู้มีตน ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก
564 หมวดตน- ฝึกตน ชื่อว่าที่ลับ ไม่มีในโลก
565 หมวดตน- ฝึกตน บัณฑิตไม่ควรขุดโค่นความดีของตนเสีย พึงรักษาตนไว้ให้ได้ทุกเมื่อ
566 หมวดตน- ฝึกตน กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัด แล้วพึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตนนั้น
567 หมวดตน- ฝึกตน ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันได้รับการรักษาด้วย
568 หมวดตน- ฝึกตน ท่านเอ๋ย ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย
569 หมวดตน- ฝึกตน การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ถึงจะมากก็ไม่ควรให้เป็นเหตุ ทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน
570 หมวดตน- ฝึกตน จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง
571 หมวดตน- ฝึกตน ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง
572 หมวดตน- ฝึกตน มัวพะวงอยู่ว่า นี่ของเราชอบ นี่ของเรารัก แล้วปล่อยปละละเลยตนเองเสีย คนอย่างนี้จะไม่ได้ประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่รักเลย
573 หมวดตน- ฝึกตน โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้
574 หมวดตน- ฝึกตน โทษคนอื่น เห็นง่าย แต่โทษตนเองเห็นยาก
575 หมวดตน- ฝึกตน ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว
576 หมวดตน- ฝึกตน บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง
577 หมวดตน- ฝึกตน ชัยชนะใดกลับแพ้ได้ ชัยชนะนั้นไม่ดี ชัยชนะใดไม่กลับแพ้ ชัยชนะนั้นแลเป็นชัยชนะที่ดี
578 หมวดตน- ฝึกตน ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึ่งทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
579 หมวดตน- ฝึกตน สิ่งที่รักอื่นเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์อื่นเสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี แสงสว่างอื่นเสมอด้วยปัญญาไม่มี ฝนแลเป็นสระที่ใหญ่
580 หมวดตน- ฝึกตน กรรมไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์ กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง
581 หมวดตน- ฝึกตน ถึงผู้ใดจะชนะเหล่าชนได้พันคนพันครั้งในสงคราม ก็หาชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมไม่ ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียว ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมในสงคราม
582 หมวดตน- ฝึกตน ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำ ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนนี่แหละ ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่กระทำ
583 หมวดตน- ฝึกตน ตนเองนี่แหละสำคัญกว่า สำคัญกว่าเป็นไหนๆ ตระเตรียมตนไว้ให้ดีก่อนแล้ว ต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก
584 หมวดมิตร มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมารยาทเลวและที่เที่ยวเลว
585 หมวดมิตร เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้
586 หมวดมิตร ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
587 หมวดมิตร ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
588 หมวดมิตร มารดาเป็นมิตรในเรือนตน
589 หมวดมิตร มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นพรหม
590 หมวดมิตร คนคุ้นเคย ไว้ใจกันได้ เป็นญาติอย่างยิ่ง
591 หมวดมิตร หมู่เกวียน เป็นมิตรของคนเดินทาง
592 หมวดมิตร ถ้าได้สหายเป็นผู้รอบคอบ พึงพอใจและมีสติเที่ยวไปกับเขา
593 หมวดมิตร สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นเนืองๆ
594 หมวดมิตร ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้
595 หมวดมิตร ภริยาเป็นเพื่อนสนิท
596 หมวดมิตร ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง
597 หมวดมิตร ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่พึงทำความชั่ว
598 หมวดมิตร ความดีที่ทำไว้เอง เป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า
599 หมวดมิตร ประโยชน์ที่มุ่งหมายทุกอย่างของผู้มีมิตรพรั่งพร้อม ย่อมจะสัมฤทธิ์ผลเหมือนโชคช่วย
600 หมวดมิตร ลูกที่ไม่เลี้ยงพ่อแม่เมื่อแก่เฒ่า ไม่นับว่าเป็นลูก
601 หมวดมิตร มารดาบิดา เป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร
602 หมวดมิตร บุตร คือฐานรองรับของมวลมนุษย์
603 หมวดมิตร มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นบูรพาจารย์ (ครูคนแรกของบุตร)
604 หมวดมิตร ความเคารพรักบำรุงมารดา นำมาซึ่งความสุขในโลก
605 หมวดมิตร มิตร เมื่อระลึกถึงธรรมแล้ว ไม่ยอมทอดทิ้งมิตร ในยามมีทุกข์ภัยถึงชีวิต ข้อนี้เป็นธรรมของสัตบุรุษโดยแท้
606 หมวดมิตร เดินร่วมกัน 7 ก้าว ก็นับว่าเป็นมิตร เดินร่วมกัน 12 ก้าว ก็นับว่าเป็นสหาย อยู่ร่วมกันสักเดือนหรือ กึ่งเดือน ก็นับว่าเป็นญาติ ถ้านานเกินกว่านั้นไป ก็เหมือนกับเป็นตัวเอง แล้วเช่นนี้ จะให้เราละทิ้งนายกาฬกัณณีที่คุ้นเคยกันมานานแล้ว เพราะเห
607 หมวดมิตร มีญาติพวกพ้องมาก ย่อมเป็นการดี เช่นเดียวกับต้นไม้ในป่าที่มีจำนวนมาก ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ถึงจะงอกงามใหญ่โตสักเท่าใด ลมก็พัดให้โค่นลงได้
608 หมวดมิตร บัณฑิตย่อมปราถนาบุตรที่เป็นอภิชาต หรืออนุชาต ย่อมไม่ปราถนาอวชาตบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล
609 หมวดคบหา คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น
610 หมวดคบหา ควรคบมิตรที่ดี
611 หมวดคบหา แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
612 หมวดคบหา อยู่ร่วมกันนานเกินไป ที่เคยรักก็มักหน่าย
613 หมวดคบหา เป็นเพื่อนเพียงเพื่อดื่มเหล้าก็มี
614 หมวดคบหา ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวไปด้วย
615 หมวดคบหา เมื่อเขาไม่มีเยื่อใย ป่วยการอยู่กินด้วย
616 หมวดคบหา อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ
617 หมวดคบหา โจรพาลอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น
618 หมวดคบหา ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลว
619 หมวดคบหา คบคนดี ก็พลอยมีส่วนดีด้วย
620 หมวดคบหา ควรระแวงในศัตรู
621 หมวดคบหา ปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ
622 หมวดคบหา เมื่อคบคนที่ดีกว่า ตัวเองก็ดีขึ้นมาฉับพลัน
623 หมวดคบหา ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
624 หมวดคบหา คนเป็นมิตรแต่ปากก็มี
625 หมวดคบหา นักปราชญ์มีการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นสุข
626 หมวดคบหา ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
627 หมวดคบหา มิตรชั่วไม่ควรคบ
628 หมวดคบหา ไม่ควรไว้ใจคนที่แสร้งทำสงบเสงี่ยม
629 หมวดคบหา ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
630 หมวดคบหา ผู้ไม่คบหาคนชั่ว ย่อมได้รับสุขแต่ส่วนเดียว
631 หมวดคบหา อยู่ในพวกข้าศึกศัตรูเพียงคืนเดียวหรือสองคืน ก็เป็นทุกข์
632 หมวดคบหา คนที่ทำดีแต่ภายนอก ภายในมักไม่บริสุทธิ์
633 หมวดคบหา มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นคนพาล
634 หมวดคบหา ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อยๆ
635 หมวดคบหา ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย แม้ในคนคุ้นเคยก็ไม่ควรไว้ใจ
636 หมวดคบหา คนพาล คบเป็นเพื่อนไม่ได้
637 หมวดคบหา ไม่ควรสนิทสนมกับคนชั่ว
638 หมวดคบหา ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป
639 หมวดคบหา เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย
640 หมวดคบหา เพียงเห็นกันชั่วครู่ชั่วยาม ไม่พึงไว้วางใจ
641 หมวดคบหา สมาคมกับสัตบุรุษย่อมนำสุขมาให้
642 หมวดคบหา คบคนเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้น
643 หมวดคบหา สมาคมกับคนพาลย่อมนำทุกข์มาให้
644 หมวดคบหา เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
645 หมวดคบหา ศัตรูจำนวนมาก คบหาแฝงมาในรูปมิตร
646 หมวดคบหา สมาคมกับคนชั่ว ไม่ดีเลย
647 หมวดคบหา ถึงคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรวางใจ
648 หมวดคบหา เมื่อเกิดเรื่องราวขึ้น สหายช่วยให้เกิดสุข
649 หมวดคบหา การอยู่ร่วมกับคนชั่ว เป็นทุกข์
650 หมวดคบหา คบคนดี มีแต่ความเจริญ
651 หมวดคบหา ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว
652 หมวดคบหา ไม่ควรไว้ใจ ในคนไม่คุ้นเคย
653 หมวดคบหา ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
654 หมวดคบหา ไม่ควรคบคนเลวทราม นอกจากเพื่อให้ความช่วยเหลือ
655 หมวดคบหา คนเป็นเพื่อนแต่เวลาดื่มเหล้า ก็มี เป็นเพื่อนแต่ปากว่า ก็มี
656 หมวดคบหา อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ
657 หมวดคบหา ส่วนผู้ใดเป็นสหายในเมื่อเกิดเรื่องต้องการ ผู้นั้นแล คือเพื่อนแท้
658 หมวดคบหา คนพาล ถึงอยู่ใกล้บัณฑิต จนตลอดชีวิต ก็ไม่รู้แจ้งธรรม เสมือนทัพพี ที่ไม่รู้รสแกง
659 หมวดคบหา การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูตลอดเวลา
660 หมวดคบหา คนจำพวกที่งามแต่ภายนอก ภายในไม่สะอาด มีบริวารกำบังตัวไว้ ก็ยังแสดงบทบาทอยู่ในโลก
661 หมวดคบหา ถ้าไม่ได้สหายที่มีปัญญาปกครองตน พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว
662 หมวดคบหา ถ้าได้สหายผู้มีปัญญาปกครองตน พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
663 หมวดคบหา คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็หอมไปด้วยฉันนั้น
664 หมวดคบหา ภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน คลอนแคลน อาศัยมิตรชั่ว ถูกคลื่นท่วมทับ (อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้) ย่อมจมลงในห้วงน้ำใหญ่
665 หมวดคบหา บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบแต่สัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมนำไปสู่สุคติ
666 หมวดคบหา ควรคบกับคนที่คบตน ไม่ควรคบคนที่ไม่คบตน ผู้ใดไม่คบคนที่คบตน ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีธรรมของสัตบุรุษ
667 หมวดคบหา ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้ เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น
668 หมวดคบหา ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน
669 หมวดคบหา ปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งชาติ
670 หมวดคบหา พึงสมาคมกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ ผู้นั้นรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
671 หมวดคบหา บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น
672 หมวดคบหา คบคนเช่นใดเป็นมิตร เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น
673 หมวดคบหา พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม ทรงไว้ซึ่งสุตะเป็นผู้สอบถาม เข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้มีศีล และเป็นพหุสูตโดยเคารพ
674 หมวดคบหา จิตจอดอยู่กับใคร ถึงไกลกัน ก็เหมือนอยู่ชิดใกล้ ใจหมางเมินใคร ถึงใกล้กัน ก็เหมือนอยู่แสนไกล
675 หมวดคบหา วิญญูชน หากเข้าใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว ก็รู้ธรรมได้ฉับพลัน เสมือนลิ้นที่รู้รสแกง
676 หมวดคบหา คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็เป็นคนพาลฉันนั้น
677 หมวดคบหา ไม่ควรไว้ใจคนที่ทำชั่วมาแล้ว ไม่ควรไว้ใจคนที่พูดพล่อยๆ ไม่ควรไว้ใจคนที่เห็นแก่ตัว (คนที่มีปัญญาแต่เพื่อประโยชน์ของตัว) ถึงคนที่ทำสงบเสงี่ยมเกินไป ก็ไม่ควรไว้ใจ
678 หมวดคบหา พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงพร่ำสอนเถิด พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ และไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ
679 หมวดคบหา ผู้ใด แม้หากมิได้กระทำความชั่ว แต่คบหาเกลือกกลั้วกับผู้กระทำบาป ผู้นั้นย่อมพลอยถูกระแวงในกรรมชั่ว อีกทั้งเสียงเสื่อมเสียย่อมเกิดขึ้นแก่เขา
680 หมวดคบหา พึงมองเห็นคนมีปัญญาที่ชอบชี้โทษ พูดจาข่มขี่ เสมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์ พึงคบคนที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้นแหละ เมื่อคบคนเช่นนั้นย่อมมีแต่ดี ไม่มีเสียเลย
681 หมวดคบหา ในกาลไหนๆผู้คบคนเลว ย่อมเลว คบคนเสมอกันไม่พึงเสื่อม คบหาคนประเสริฐย่อมพลันเด่นขึ้น เหตุนั้นควรคบคนที่สูงกว่าตน
682 หมวดคบหา บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดีเป็นความเจริญ
683 หมวดคบหา บัณฑิตไม่ควรทำความเป็นเพื่อนกับคนส่อเสียด คนมักโกรธ คนตระหนี่ และคนเพลิดเพลินในสมบัติ เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความเลวทราม
684 หมวดคบหา ปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ไม่ชวนทำสิ่งที่มิใช่ธุระ การแนะนำดี เป็นความดีของปราชญ์ ปราชญ์ถูกกล่าวว่าโดยชอบก็ไม่โกรธ ปราชญ์ย่อมรู้วินัย การสมาคมกับปราชญ์จึงเป็นการดี
685 หมวดคบหา ถ้าใจรักแล้ว ถึงอยู่ห่างคนละฝั่งฟากสมุทร ก็เหมือนอยู่สุดแสนใกล้ ถ้าใจชังแล้ว ถึงอยู่สุดแสนใกล้ ก็เหมือนอยู่ไกลคนละฟากมหาสมุทร
686 หมวดสร้างตัว บุคคลตั้งตัวให้ได้ เหมือนก่อไฟจากกองน้อย
687 หมวดสร้างตัว บุคคลพึงหาเลี้ยงชีพ โดยทางชอบธรรม
688 หมวดสร้างตัว บุคคลพึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม
689 หมวดสร้างตัว บุคคลไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง
690 หมวดสร้างตัว จงทำงานให้สมกับอาหารที่บริโภค
691 หมวดสร้างตัว จงเก็บรวบรวมทรัพย์สิน เหมือนผึ้งเที่ยวรวมน้ำหวานสร้างรัง
692 หมวดสร้างตัว ถึงไม่ได้ แต่ชอบธรรม ยังดีกว่าได้โดยไม่ชอบธรรม
693 หมวดสร้างตัว ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้
694 หมวดสร้างตัว ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก
695 หมวดสร้างตัว การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอย่างสูงสุด
696 หมวดสร้างตัว โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ที่จะสำเร็จเพียงด้วยคิดเอา ย่อมไม่มี
697 หมวดสร้างตัว ความอุบัติแห่งผล ย่อมมีได้ด้วยการกระทำของตน
698 หมวดสร้างตัว ชีวิตจะอยู่ได้ที่ไหน พึงไปที่นั้น ไม่พีงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย
699 หมวดสร้างตัว คนที่ขยันในหน้าที่ ไม่ประมาท เอาใจใส่สอดส่อง ตรวจตรา จัดการงานให้เรียบร้อย เป็นอันดี จึงควรเข้ารับราชการ
700 หมวดสร้างตัว ขยันงาน ไม่ประมาท ฉลาดในวิธีจัดการ เลี้ยงชีวิตแต่พอดี ย่อมรักษาทรัพย์สมบัติ ให้คงอยู่ และเพิ่มทวี
701 หมวดสร้างตัว การได้ยศ การได้ลาภ การเลี้ยงชีพ ด้วยการยอมลดคุณค่าของชีวิต หรือด้วยการประพฤติอธรรม เป็นสิ่งน่ารังเกียจ
702 หมวดสร้างตัว ผลประโยชน์ทั้งปวง ตั้งอยู่ที่หลัก 2 ประการ คือการได้สิ่งที่ยังไม่ได้ และการรักษาสิ่งที่ได้แล้ว
703 หมวดสร้างตัว คนมีปัญญา ประกอบด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดงาน รู้จักกาล รู้จักสมัย จึงควรเข้ารับราชการ
704 หมวดสร้างตัว คนใดชอบนอน ชอบมั่วสุม ไม่เอางาน เกียจคร้าน เอาแต่โกรธ งุ่นง่าน นั้นคือปากทางของความเสื่อม
705 หมวดการปกครอง ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย
706 หมวดการปกครอง ถ้าผู้ปกครองทรงธรรม ประเทศชาติก็เป็นสุข
707 หมวดการปกครอง การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น
708 หมวดการปกครอง พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง
709 หมวดการปกครอง ผู้ปกครองชอบธรรมจึงจะดี
710 หมวดการปกครอง ผู้บริหารโง่ ถึงจะเข้มแข็ง ก็ไม่ดี
711 หมวดการปกครอง พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง
712 หมวดการปกครอง เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม
713 หมวดการปกครอง เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง
714 หมวดการปกครอง สักการะฆ่าคนชั่วได้
715 หมวดการปกครอง พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
716 หมวดการปกครอง อิสรภาพ เป็นสุขทั้งสิ้น
717 หมวดการปกครอง คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้
718 หมวดการปกครอง เมื่อมีความมัวเมา ก็เกิดความประมาท
719 หมวดการปกครอง ยกย่องผู้ควรยกย่องเป็นอุดมมงคล
720 หมวดการปกครอง ผู้บริหารฉลาดและเข้มแข็ง จึงจะดี
721 หมวดการปกครอง พึงข่มคนที่ควรข่ม
722 หมวดการปกครอง ผู้ปกครองที่ฉลาด พึงแสวงสุขเพื่อประชาชน
723 หมวดการปกครอง ผู้ถือความถูกต้องเป็นใหญ ได้ชื่อว่าผู้เที่ยงธรรม
724 หมวดการปกครอง ผู้เป็นใหญ่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ย่อมตกจากอำนาจ
725 หมวดการปกครอง โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง
726 หมวดการปกครอง ถึงจะเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา ก็ควรมีความถ่อมตน
727 หมวดการปกครอง ท่านผู้ครองแผ่นดิน ทั้งหลาย การที่ทำโดยผลีผลามจะแผดเผาตัวได้
728 หมวดการปกครอง อย่าสำคัญตนว่า เรามีอำนาจยิ่งใหญ่ แล้วทำให้ประชาชนพลอยพินาศ
729 หมวดการปกครอง คนที่เป็นใหญ่ จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน จึงลงโทษ
730 หมวดการปกครอง อำนาจเป็นใหญ่ในโลก
731 หมวดการปกครอง ถึงมีกำลังพลน้อย แต่มีความคิด ก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้
732 หมวดการปกครอง ราชา เป็นสง่าแห่งแคว้น
733 หมวดการปกครอง ผู้บริหารหมู่ชน เป็นปราชญ์ และมีกำลังเข้มแข็งจึงจะเป็นผลดี
734 หมวดการปกครอง ผู้บริหารหมู่คณะ ถึงจะมีกำลังอำนาจ แต่เป็นคนพาลย่อม ไม่เป็นผลดี
735 หมวดการปกครอง ผู้ปกครองต้องทราบรายได้รายจ่ายด้วยตนเอง ต้องทราบกิจการที่ทำแล้ว และยังมิได้ทำด้วยตนเอง
736 หมวดการปกครอง ในแว่นแคว้นของราชาผู้มีเมตตา มีธรรมมั่นคง ประชาชนจะนอนเป็นสุข เหมือนนอนอยู่ในบ้านของตัว ในร่มเงาอันเย็นสบาย
737 หมวดการปกครอง ผู้ครองแผ่นดินที่เจ้าสำราญ แส่หาแต่กามารมณ์ โภคทรัพย์จะพินาศหมด นี่แลที่เรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน
738 หมวดการปกครอง เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท โภคทรัพย์ในรัฐทั้งหมดย่อมพินาศ นี่แลเรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน
739 หมวดการปกครอง ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้โดยพลัน ผู้นั้นจะหลงเข้าไปในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง
740 หมวดการปกครอง เมื่ออนารชนก่อกรรมชั่ว อารชนใช้อาชญาหักห้าม การกระทำนั้น เป็นการสั่งสอน หาใช่เป็นเวรไม่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าใจกันอย่างนี้
741 หมวดการปกครอง ดูเถิดมหาราช พระองค์จงเสด็จเที่ยวสดับ ดูความเป็นอยู่ ความเป็นไปในแว่นแคว้นแดนชนบท ครั้นได้เห็นได้ฟังแล้ว จึงปฎิบัติราชกิจนั้นๆ
742 หมวดการปกครอง เริ่มแรก แก้ไขข้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้เสร็จ ระงับความโกรธกริ้วและความบันเทิงไว้ก่อน จากนั้นจึงสั่งงาน ข้อนี้นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นวัตร(ระเบียบปฎิบัติ) ของผู้ปกครอง
743 หมวดการปกครอง ชาวชนบทไม่ได้รับการพิทักษ์รักษา ถูกกดขี่ด้วยค่าธรรมเนียมโดยไม่ชอบธรรม กลางคืนโจรปล้น กลางวันข้าราชการข่มเหง ในแว่นแคว้นผู้ปกครองชั่วร้าย ย่อมมีคนอาธรรม์มากมาย
744 หมวดการปกครอง เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำโคฝูงไปตรง โคทั้งหมดย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอ
745 หมวดการปกครอง เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้านำฝูงไปคด โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าประพฤติอธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือ ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมด
746 หมวดการปกครอง ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญตัวว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ครั้นทำแล้ว ก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลาย ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่ แม้เทพทั้งหลาย ก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม
747 หมวดสามัคคี สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข
748 หมวดสามัคคี จงสามัคคีมีน้ำใจต่อกัน
749 หมวดสามัคคี ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข
750 หมวดสามัคคี สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว
751 หมวดสามัคคี ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ
752 หมวดสามัคคี พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
753 หมวดสามัคคี ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
754 หมวดสามัคคี ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม
755 หมวดสามัคคี ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงละเมิด 1 ผู้ใดย่อมรับรู้โทษ ที่เขามาสารภาพ 1 คนทั้งสองนี้ย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น มิตรภาพของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย
756 หมวดสามัคคี ถ้าแม้สัตบุรุษวิวาทกัน ก็กลับเชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ได้ความสงบเวรกันเลย
757 หมวดเกื้อกูลสังคม พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ
758 หมวดเกื้อกูลสังคม พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
759 หมวดเกื้อกูลสังคม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เพื่อรักษาความถูกต้อง
760 หมวดเกื้อกูลสังคม ผู้ฉลาดควรสละสุขเล็กน้อย เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
761 หมวดพบสุข ผู้ไม่มีอะไรให้กังวล ย่อมมีแต่ความสุข
762 หมวดพบสุข ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน
763 หมวดพบสุข ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ
764 หมวดพบสุข คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่
765 หมวดพบสุข ตราบใดยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้นก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง
766 หมวดพบสุข ความโศกนำสิ่งล่วงแล้วคืนมาไม่ได้ ความโศกไม่อาจนำมาซึ่งความสุขในอนาคต
767 หมวดพบสุข พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา
768 หมวดพบสุข ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส
769 หมวดพบสุข ผู้ที่มัวเพลินประมาทอยู่กับสิ่งที่ชอบใจ สิ่งที่รัก และสิ่งที่เป็นสุข จะถูกสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่รักและความทุกข์ เข้าครอบงำ
770 หมวดพบสุข มัวเศร้าโศกอยู่ก็ซูบผอมลง อาหารก็ไม่อยากรับประทาน ศัตรูก็พลอยดึใจ ในเมื่อเขาถูกลูกศรแห่งความโศกเสียบแทงย่ำแย่อยู่
771 หมวดพบสุข ชนทั้งหลายผู้ยังอ่อนปัญญา เฝ้าแต่เพ้อฝัน สิ่งที่ยังไม่มาถึง และหวนละห้อยถึงความหลังอันล่วงไปแล้วจึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนขึ้น ทิ้งไว้ในกลางแดด
772 หมวดพบสุข ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช้กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์
773 หมวดพบสุข ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และ ทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ไม่มีความเที่ยงแม้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม
774 หมวดพบสุข คนฉลาด พึงรู้จักกาลอันสมควร กำหนดเอาคนที่มีความคิด ที่ร่วมใจกันได้แล้ว จึงบอกทุกข์ร้อน โดยกล่าววาจาสละสลวย ได้ถ้อยได้ความ
775 หมวดพบสุข เราเดินทางไปในแดนสัตว์ร้าย ก็ไม่หวาดหวั่น ถึงจะนอนหลับในที่เช่นนั้น ก็ไม่กลัวเกรง คืนวันผ่านไปไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อน เรามองไม่เห็นว่ามีอะไรที่จะเสีย ณ ที่ไหน ในโลก เพราะฉะนั้น เราจึงนอนสบาย ใจก็คิดแต่จะช่วยเหลือปวงสัตว์
776 หมวดพบสุข ดอกบัว เกิดและเจริญงอกงามในน้ำแต่ไม่ติดน้ำ ทั้งส่งกลิ่นหอม ชื่นชูใจให้รื่นรมย์ฉันใด พระพุทธเจ้าทรงเกิดในโลก และอยู่ในโลก แต่ไม่ติดโลก เหมือนบัวไม่ติดน้ำฉันนั้น
777 หมวดทาน ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก
778 หมวดทาน ของที่ให้แล้ว ชื่อว่านำออกไปอย่างดีแล้ว
779 หมวดทาน ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
780 หมวดทาน การเลือกให้ พระสุคตทรงสรรเสริญ
781 หมวดทาน เป็นคนควรให้ปันบ้าง ไม่มากก็น้อย
782 หมวดทาน คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาน
783 หมวดทาน คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน
784 หมวดทาน คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
785 หมวดทาน คนใจการุณ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า
786 หมวดทาน เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี
787 หมวดทาน ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
788 หมวดทาน ผู้บูชา ย่อมได้บูชาตอบ
789 หมวดทาน ผู้ใดสั่งสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย
790 หมวดทาน จงช่วยเหลือคนเดือนร้อน ด้วยความตั้งใจ
791 หมวดทาน ให้ของดี ย่อมได้ของดี
792 หมวดทาน ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา
793 หมวดทาน คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
794 หมวดทาน คนดีจัดการโภคทรัพย์ ทำประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 10:22:17 AM »

795 หมวดทาน ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน
796 หมวดทาน คนควรให้ของที่ควรให้
797 หมวดทาน ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
798 หมวดทาน เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น
799 หมวดทาน กินคนเดียว ไม่ได้ ความสุข
800 หมวดทาน ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ
801 หมวดทาน ในโลกนี้ เวรระงับด้วยเวร ไม่เคยมี
802 หมวดทาน ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
803 หมวดทาน ไม่พึงบริโภคของอร่อยแต่ผู้เดียว
804 หมวดทาน คนมีปัญญาอยู่ครองเรือน ก็เป็นประโยชน์แก่คนจำนวนมาก
805 หมวดทาน นอกจากการแบ่งปันเผื่อแผ่กันแล้ว สัตว์ทั้งปวงหามีที่พึ่งอย่างอื่นไม่
806 หมวดทาน ของที่ให้แล้ว ชื่อว่าออกผลเป็นความสุขแล้ว ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้ ยังไม่มีผลเช่นนั้น
807 หมวดทาน พึงนำสมบัติออกด้วยการให้, วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว, วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีผลเป็นสุข, ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ก็ไม่เป็นอย่างนั้น
808 หมวดทาน คนใด มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง มีของกินของใช้มาก แต่บริโภคของอร่อยคนเดียว นั้นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม
809 หมวดทาน คนใด มารดาบิดาแก่เฒ่า ล้วงพ้นวัยหนุ่มวัยสาวไปแล้ว ตนเองสามารถก็ไม่เลี้ยงดู นั้นคือปากทางแห่งความเสื่อม
810 หมวดทาน บัณฑิตสามารถปัดเป่าความเศร้าโศกของคนอื่นได้ จึงจัดว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย
811 หมวดทาน การให้ทานนั้นปราชญ์สรรเสริญกันโดยมากอย่างแน่นอน แต่ กระนั้น บทธรรมก็ยังประเสริฐกว่าทาน
812 หมวดทาน ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด, ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น
813 หมวดทาน ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในภพที่ตนเกิด
814 หมวดทาน ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหณะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ
815 หมวดทาน ผู้ใดไม่ให้ทานในคนที่ไม่ควรให้ ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นประสบความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมได้สหาย
816 หมวดทาน ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
817 หมวดทาน เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรต สุข และกำลังอันเลิศ ก็เจริญ
818 หมวดทาน ให้ทานเป็นเบื้องต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย
819 หมวดทาน ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย
820 หมวดทาน ชนเหล่าใด สร้างสวน ปลูกป่า ให้โรงประปา บ่อน้ำ และ ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้นย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ ทั้งคืนทั้งวัน
821 หมวดทาน ตรวจดูด้วยจิต ทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครที่ไหน เป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย คนอื่นก็รักตนมากเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น
822 หมวดทาน ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้านุ่งห่ม ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสะดวก ผู้ใดให้ที่พำนักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้ทั้งหมด
823 หมวดทาน ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ
824 หมวดทาน นกชนิดหนึ่งเที่ยวบินอยู่ตามช่องเขา และ ไหล่เขา มีชื่อว่านกมัยหกะ มันบินไปสู่ต้นเลียบอันมีผลสุก แล้วร้องว่า *ของข้า ๆ* เมื่อนกมัยหกะร้องอยู่อย่างนั้นฝูงนกทั้งหลายก็พากันบินมาจิกกินผลเลียบ แล้วก็พากันบินไป นกมัยหกะก็ยังพร่ำอยู่อย่างเดิมนั้นเอง คนบางคนในโล
825 หมวดทาน สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวความตาย สัตว์ทั้งปวง ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของทุกคน เราฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้ฉันใด เราก็ฉันนั้น นึกถึงเขา เอาตัวเราเข้าเทียบแล้ว ไม่ควรเข่นฆ่า ไม่ควรให้สังหารกั
826 หมวดศีล ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
827 หมวดศีล ศีลพึงรู้ได้เมื่ออยู่ร่วมกัน
828 หมวดศีล ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
829 หมวดศีล นักปราชญ์พึงรักษาศีล
830 หมวดศีล เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น
831 หมวดศีล ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี ท่านว่าศีล เป็นความดี
832 หมวดศีล ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี, ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสิรฐกว่า
833 หมวดศีล เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้, ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้
834 หมวดศีล เมื่อภิกษุมีมานะ ประมาทแล้ว มีความหวังในภายนอก, ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์
835 หมวดศีล ผู้มีปรีชา มั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง
836 หมวดศีล ถ้าเป็นพหุสูต มั่นคงดีในศีล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขา ด้วยคุณ 2 ประการ คือ ด้วยศีล และ ด้วยสุตะ
837 หมวดศีล ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
838 หมวดศีล คนเขลา ไม่มั่นคงในศีล ถูกติเตียนในโลกนี้ และ ละไปแล้วย่อมเสียใจในอบายชื่อว่าย่อมเสียใจในที่ทั้งปวง
839 หมวดศีล คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลธรรม ได้รับชื่อเสียง และ ความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
840 หมวดศีล มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบช่องทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะความรู้ชอบของท่าน
841 หมวดศีล ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมาก ด้วยความสำรวม ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
842 หมวดศีล ศีลนั้นเทียวเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะศีลและปัญญา
843 หมวดศีล พึงรักษาศีลในโลกนี้ เพราะศีลที่รักษาดีแล้ว เสพแล้วในโลกนี้ ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง
844 หมวดศีล ศีลเป็นกำลัง ไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริญสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
845 หมวดศีล ศีลเป็นสะพานอันมีศักดิ์ใหญ่ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ ซึ่งเป็นเครื่องขจรไปทั่วทุกทิศ
846 หมวดศีล ผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาสุข 3 อย่าง คือ ความสรรเสริญ ความได้ทรัพย์ และ ความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล
847 หมวดศีล ศีลเป็นคุณรวมกำลังอย่างเลิศ ศีลเป็นเสบียงทางอย่างสูงสุด ศีลเป็นผู้นำทาง อย่างประเสริฐสุด เพราะศีล มีกลิ่นขจรไปทั่วทุกทิศ
848 หมวดศีล ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
849 หมวดศีล ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจา และ ใจ ไม่ทำบาปอะไร และ ไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน , ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีศีล
850 หมวดจิต ธรรมทั้งหลาย มีจิตนำหน้า
851 หมวดจิต การฝึกจิตเป็นความดี
852 หมวดจิต จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้
853 หมวดจิต พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน
854 หมวดจิต ผู้ประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมลำบาก
855 หมวดจิต เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
856 หมวดจิต ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ
857 หมวดจิต โลกอันจิตย่อมนำไป
858 หมวดจิต จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
859 หมวดจิต จงตามรักษาจิตของตน
860 หมวดจิต คนฉลาด ทำจิตของตนให้ซื่อตรง
861 หมวดจิต เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
862 หมวดจิต พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน
863 หมวดจิต จิตของเรามีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
864 หมวดจิต จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่
865 หมวดจิต ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร
866 หมวดจิต สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ประเสริฐอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว
867 หมวดจิต ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด, ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น
868 หมวดจิต จิตของท่านย่อมเดือนร้อน เพราะเข้าใจผิด, ท่านจงเว้นเครื่องหมายที่สวยงามประกอบด้วยความรัก
869 หมวดจิต สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์, ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว
870 หมวดจิต ผู้ใดมักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ
871 หมวดจิต ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย
872 หมวดจิต จิตเกื้อกูลที่อบรมบริบูรณ์ดีแล้ว เป็นจิตหาประมาณมิได้, กรรมใดที่ทำแล้วพอประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลือในจิตนั้น
873 หมวดจิต เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
874 หมวดจิต จิตนี้ถูกยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ เพื่อละที่ตั้งแห่งมาร ย่อมดิ้นรน เหมือนปลาถูกจับขึ้นจากน้ำโยนไปบนบกฉะนั้น
875 หมวดจิต ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่ประเสริฐล้วนก็ดี ขันติ และ โสรัจจะ ก็ดี จะเป็นผู้สนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้างด้วยน้ำ
876 หมวดจิต โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว
877 หมวดจิต การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, เพราะว่าจิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
878 หมวดจิต โจรกับโจร หรือ ไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน, ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เสียหายยิ่งกว่านั้น
879 หมวดจิต ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด, บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น
880 หมวดจิต คนมีปัญญาทำจิตที่ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศร ทำลูกศรให้ตรงได้ฉะนั้น
881 หมวดจิต ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, เพราะว่าจิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
882 หมวดจิต ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีกายเป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกมารได้
883 หมวดจิต จิตที่ตั้งไว้ถูกต้อง ทำคนให้ประเสริฐ ประสบผลดี ยิ่งกว่าที่มารดาบิดา หรือ ญาติทั้งหลายใด ๆ จะทำให้ได้
884 หมวดจิต คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุที่เกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้
885 หมวดจิต ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิด และความเสื่อมแห่งโลกแล้ว มีใจดี ไม่ถูกกิเลศอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้
886 หมวดจิต ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์พี่น้อง พ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
887 หมวดจิต ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะ อันเศร้าหมองตั้งร้อยปี จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้ เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้
888 หมวดจิต เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้, เพราะว่าเวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลัง ย่อมสงบระงับ
889 หมวดจิต บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธ คือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่
890 หมวดปัญญา ผู้มีปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
891 หมวดปัญญา ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบด้วยหลายประการ
892 หมวดปัญญา ปัญญาเป็นรัตนะแห่งนรชน
893 หมวดปัญญา ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา
894 หมวดปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจพิจารณา
895 หมวดปัญญา คนเราจะมองเห็นอรรถชัดแจ้งได้ด้วยปัญญา
896 หมวดปัญญา ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก
897 หมวดปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว
898 หมวดปัญญา รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา
899 หมวดปัญญา พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ
900 หมวดปัญญา ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ
901 หมวดปัญญา คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา
902 หมวดปัญญา ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ
903 หมวดปัญญา ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา
904 หมวดปัญญา ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด
905 หมวดปัญญา คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
906 หมวดปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ได้เล่าเรียน
907 หมวดปัญญา ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์
908 หมวดปัญญา ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน
909 หมวดปัญญา ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
910 หมวดปัญญา คนมีปัญญา ถึงแม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ
911 หมวดปัญญา ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา
912 หมวดปัญญา คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐสูงสุด
913 หมวดปัญญา คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา
914 หมวดปัญญา เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้
915 หมวดปัญญา ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์
916 หมวดปัญญา ปัญญาย่อมปกครองบุรุษนั้น
917 หมวดปัญญา ผู้มีปัญญา รู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
918 หมวดปัญญา ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วยประการนั้น
919 หมวดปัญญา ราคะ โทสะ ความมัวเมา และ โมหะ เข้าที่ไหน ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น
920 หมวดปัญญา ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง
921 หมวดปัญญา คนมีปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ก็ยังเป็นอยู่ได้
922 หมวดปัญญา คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ถึงจะมียศก็หาประเสริฐไม่
923 หมวดปัญญา คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาจะครอบงำเอาไว้ในอำนาจไม่ได้
924 หมวดปัญญา ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ประเสริฐสุด
925 หมวดปัญญา คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติ เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
926 หมวดปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้, แต่อับปัญญา แม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้
927 หมวดปัญญา ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้
928 หมวดปัญญา ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
929 หมวดปัญญา ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสิ่งที่ฟังแล้ว ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติ และชื่อเสียง คนผู้ประกอบด้วยปัญญาในโลกนี้ แม้ในความทุกข์ก็หาความสุขได้
930 หมวดปัญญา บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ, ผู้อิ่มด้วยปัญญานั้นย่อมไม่เดือนร้อนด้วยกาม, ตัณหาครอบงำ ผู้อิ่มด้วยปัญญาไว้ในอำนาจไม่ได้
931 หมวดปัญญา คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ
932 หมวดปัญญา คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา
933 หมวดปัญญา ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั่นแล
934 หมวดปัญญา คนโง่ถึงมียศ ก็กลายเป็นทาสของคนมีปัญญา เมื่อมีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น บัณฑิตจัดการเรื่องใดอันเป็นเรื่องละเอียดก่อน คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในเรื่องนั้น
935 หมวดปัญญา ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ ทั้งที่ยังหนุ่มแน่น มีกำลัง กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิดให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่ ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา
936 หมวดปัญญา เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ย่อมมองเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และ ฝูงปลาได้ ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว ย่อมมองเห็นประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ฉันนั้น
937 หมวดปัญญา คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งกว่าพันคน พวกเขาไม่มีปญญา ถึงจะพร่ำคร่ำครวญอยู่ตลอดร้อยปี ก็หามีประโยชน์ไม่ คนมีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิต คนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า
938 หมวดปัญญา สัตบุรุษสรรเสริญปัญญาแน่แท้ คนทั้งหลายชอบทรัพย์สมบัติ จึงใคร่ได้สิริ (ยศ) ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลายชั่งไม่ได้ ทรัพย์จึงเกินกว่าปัญญาไปไม่ได้ ไม่ว่ากาลไหน ๆ
939 หมวดปัญญา คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น
940 หมวดปัญญา ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่วอันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา
941 หมวดศรัทธา ศรัทธาเป็นทรัพย์ ประเสริฐของคนในโลกนี้
942 หมวดศรัทธา ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียงคือกุศล
943 หมวดศรัทธา ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
944 หมวดศรัทธา ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน
945 หมวดศรัทธา ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้
946 หมวดศรัทธา ผู้มีศรัทธาประกอบด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยศและโภคะ จะไปสู่ถิ่นใด ๆ ก็มีคนบูชาในถิ่นนั้น ๆ
947 หมวดศรัทธา ผู้ใดใคร่เห็นผู้มีศีล ปรารถนาฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิลคือความตระหนี่ได้, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา
948 หมวดศรัทธา คนใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวด้วยศรัทธา, คนนั้นย่อมได้ข้าว ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้าเหมือนกัน
949 หมวดศรัทธา ผู้มีศรัทธา มีปัญญา ตั้งในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติ และ พวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา
950 หมวดบุญ บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
951 หมวดบุญ บุญ โจรนำไปไม่ได้
952 หมวดบุญ บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ ในโลกหน้า
953 หมวดบุญ คนสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
954 หมวดบุญ ควรทำบุญอันนำสุขมาให้
955 หมวดบุญ ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
956 หมวดบุญ สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ , บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
957 หมวดบุญ ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้ว ย่อมยินดี ชื่อว่าย่อมยินดีในโลกทั้งสอง, เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไปแล้ว ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น
958 หมวดบุญ ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิง ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง, เขาเห็นความบริสุทธิ์ แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์
959 หมวดบุญ ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อย จักไม่มาถึง, แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด, ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญฉันนั้น
960 หมวดความสุข ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้
961 หมวดความสุข ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว หลับและตื่นย่อมเป็นสุข
962 หมวดความสุข ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
963 หมวดความสุข ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก
964 หมวดความสุข การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้
965 หมวดความสุข ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข
966 หมวดความสุข นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
967 หมวดความสุข จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
968 หมวดความสุข ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
969 หมวดความสุข การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย
970 หมวดความสุข ความดี โจรลักไม่ได้
971 หมวดความสุข คนเรานี้ ถ้ามีอันทำชั่วลงไป ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก
972 หมวดความสุข บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ
973 หมวดความสุข ความชั่ว ไม่ทำเสียเลย จะดีกว่า
974 หมวดความสุข ความดี ทำไว้แล จะดีกว่า
975 หมวดความสุข อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว
976 หมวดความสุข สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
977 หมวดความสุข ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
978 หมวดความสุข ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
979 หมวดความสุข ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข
980 หมวดความสุข ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
981 หมวดความสุข เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม
982 หมวดความสุข ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
983 หมวดความสุข กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
984 หมวดความสุข การสร้างสมความดี นำสุขมาให้
985 หมวดความสุข ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน
986 หมวดความสุข การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้นทำง่าย
987 หมวดความสุข ความดี คนชั่ว ทำยาก
988 หมวดความสุข ความดี คนดี ทำง่าย
989 หมวดความสุข ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข
990 หมวดความสุข ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข
991 หมวดความสุข การไม่ทำความชั่ว ย่อมก่อให้เกิดความสุข
992 หมวดความสุข ความชั่ว คนชั่ว ทำง่าย
993 หมวดความสุข เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้
994 หมวดความสุข ความดีที่ทำไว้เองนี้แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ
995 หมวดความสุข ตายเพราะชอบธรรมดีกว่า อยู่อย่างไม่ชอบธรรม จะมีค่าอะไร
996 หมวดความสุข กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทราม และประณีต
997 หมวดความสุข ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า
998 หมวดความสุข ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี
999 หมวดความสุข อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น การสั่งสมความชั่ว เป็นการก่อความทุกข์
1000 หมวดความสุข ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลไม่ดี
1001 หมวดความสุข ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม
1002 หมวดความสุข ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี
1003 หมวดความสุข การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง
1004 หมวดความสุข พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
1005 หมวดความสุข การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1 การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม 1 การชำระจิตของตนให้ผ่องใส 1 สามนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
1006 หมวดความสุข คนมีความชั่วย่อมเดือนร้อน เพราะกรรมของตน
1007 หมวดความสุข ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่า ถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร
1008 หมวดความสุข บัณฑิตไม่ประกอบความชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
1009 หมวดความสุข บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบ ถึงพลาดพลั้งลงก็คงสงบอยู่ได้ และ ไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง
1010 หมวดความสุข ช่างดอกไม้ ร้อยพวงมาลัยได้มากมาย จากดอกไม้กองหนึ่ง ฉันใด คนเรา เกิดมาแล้วก็ควร สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น
1011 หมวดความสุข บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้วกลับตัวได้ หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก
1012 หมวดความสุข บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้น ย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก
1013 หมวดความสุข พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม
1014 หมวดธรรม ธรรม เหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
1015 หมวดธรรม สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
1016 หมวดธรรม ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า
1017 หมวดธรรม ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
1018 หมวดธรรม ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี
1019 หมวดธรรม ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก
1020 หมวดธรรม พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต
1021 หมวดธรรม สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารสทั้งหลาย
1022 หมวดธรรม บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว
1023 หมวดธรรม ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
1024 หมวดธรรม บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย
1025 หมวดธรรม เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ
1026 หมวดธรรม ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
1027 หมวดธรรม การระมัดระวังกาย เป็นความดี
1028 หมวดธรรม การระมัดระวังใจ เป็นความดี
1029 หมวดธรรม ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
1030 หมวดธรรม ปราชญ์ พึงรักษาศีล
1031 หมวดธรรม คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
1032 หมวดธรรม ทำได้แล้วค่อยพูด
1033 หมวดธรรม ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา
1034 หมวดธรรม โลก ถูกจิตนำไป
1035 หมวดธรรม การฝึกจิต เป็นการดี
1036 หมวดธรรม เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ
1037 หมวดธรรม ศีล ยอดเยี่ยมในโลก
1038 หมวดธรรม พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น
1039 หมวดธรรม ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี
1040 หมวดธรรม ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
1041 หมวดธรรม ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน
1042 หมวดธรรม ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
1043 หมวดธรรม ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษควรรักษา
1044 หมวดธรรม ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
1045 หมวดธรรม ควรเคารพสัทธรรม
1046 หมวดธรรม ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
1047 หมวดธรรม ทำไม่ได้ อย่าพูด
1048 หมวดธรรม ศรัทธา เป็นเพื่อนแท้ของคน
1049 หมวดธรรม ความสะอาด รู้ได้ด้วยคำพูด
1050 หมวดธรรม คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคอยู่ตลอดเวลา
1051 หมวดธรรม ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
1052 หมวดธรรม พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
1053 หมวดธรรม ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป
1054 หมวดธรรม ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
1055 หมวดธรรม ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข
1056 หมวดธรรม ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข
1057 หมวดธรรม ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
1058 หมวดธรรม ผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
1059 หมวดธรรม เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
1060 หมวดธรรม คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน
1061 หมวดธรรม สติ คือความตื่นในโลก
1062 หมวดธรรม ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และ แม้ตนเอง
1063 หมวดธรรม ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป ฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
1064 หมวดธรรม ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล ย่อมงดงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
1065 หมวดธรรม สัจจะ ธรรมะ อหิงสะ สัญญมะ และ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก
1066 หมวดธรรม ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
1067 หมวดธรรม ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
1068 หมวดธรรม ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก
1069 หมวดธรรม ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี, ผู้นั้นย่อมห่างจากประสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น
1070 หมวดธรรม ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
1071 หมวดธรรม โสรัจจะ และ อวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติ และ สัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า
1072 หมวดธรรม ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษด้วยดอกไม้คือวิมุติติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน
1073 หมวดธรรม ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า
1074 หมวดธรรม ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ
1075 หมวดธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก, พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
1076 หมวดธรรม นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ปัญญา สติ และนามรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ
1077 หมวดธรรม กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง 2 นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ
1078 หมวดธรรม ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน
1079 หมวดธรรม กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
1080 หมวดธรรม พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
1081 หมวดธรรม คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้
1082 หมวดธรรม ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลศเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน
1083 หมวดธรรม ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด (อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม สำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก
1084 หมวดธรรม บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
1085 หมวดธรรม ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก
1086 หมวดธรรม พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม
1087 หมวดธรรม ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
1088 หมวดธรรม เราตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และ การสละสิ่งทั้งปวง
1089 หมวดธรรม พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
1090 หมวดธรรม มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ
1091 หมวดธรรม เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก
1092 หมวดธรรม ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
1093 หมวดธรรม กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา
1094 หมวดธรรม ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
1095 หมวดธรรม ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
1096 หมวดธรรม ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม 3 อย่าง
1097 หมวดธรรม บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว, ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
1098 หมวดธรรม บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท 4 ประเสริฐสุด, บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด, และ บรรดาสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด
1099 หมวดธรรม ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษ กับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
1100 หมวดธรรม จงเด็ดเยื่อใยของตนเองเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
1101 หมวดธรรม พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ
1102 หมวดธรรม สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมุติของตน ๆ ว่าเป็นจริง
1103 หมวดธรรม เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และ ฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ กับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น
1104 หมวดธรรม ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด
1105 หมวดกรรม ทำดี ได้ดี
1106 หมวดกรรม ทำชั่ว ได้ชั่ว
1107 หมวดกรรม ความดี อันคนดีทำง่าย
1108 หมวดกรรม ความดี อันคนชั่วทำยาก
1109 หมวดกรรม ความชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
1110 หมวดกรรม ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู
1111 หมวดกรรม ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า
1112 หมวดกรรม คนเราจะเลวเพราะการกระทำ
1113 หมวดกรรม ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
1114 หมวดกรรม คนเราจะดีเพราะการกระทำ
1115 หมวดกรรม สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
1116 หมวดกรรม ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ)
1117 หมวดกรรม กรรมชั่วของตน นำตนไปสู่ทุคติ
1118 หมวดกรรม พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ
1119 หมวดกรรม กรรมที่เป็นประโยชน์และดี ทำได้ยากยิ่ง
1120 หมวดกรรม กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีเลวแตกต่างกัน
1121 หมวดกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
1122 หมวดกรรม คนชั่ว ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมชั่วของตน
1123 หมวดกรรม พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว
1124 หมวดกรรม ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
1125 หมวดกรรม สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย
1126 หมวดกรรม การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
1127 หมวดกรรม อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย
1128 หมวดกรรม การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
1129 หมวดกรรม พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
1130 หมวดกรรม รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว
1131 หมวดกรรม คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง
1132 หมวดกรรม ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
1133 หมวดกรรม บัณฑิตไม่ทำชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
1134 หมวดกรรม ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้
1135 หมวดกรรม ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย, จึงควรอยู่ในราชการ
1136 หมวดกรรม เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือนร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
1137 หมวดกรรม ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
1138 หมวดกรรม บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
1139 หมวดกรรม ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น
1140 หมวดกรรม ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
1141 หมวดกรรม ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนแต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
1142 หมวดกรรม สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
1143 หมวดกรรม สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
1144 หมวดกรรม ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือนร้อนในภายหลัง ดุจมานพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
1145 หมวดกรรม อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ
1146 หมวดกรรม คนพาลทรามปัญญา ย่อมดำเนินชีวิตโดยมีตนเองนั้นแหละเป็นศัตรู
1147 หมวดกรรม กรรมใด ทำไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ ด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป
1148 หมวดกรรม การงาน 1 วิชา 1 ธรรม 1 ศีล 1 ชีวิตอันอุดม 1 คนบริสุทธิ์ด้วยสิ่งทั้ง 5 นี้ หาใช่ด้วยตระกูลหรือ ด้วยทรัพย์ไม่
1149 หมวดกรรม ธัญญาหาร ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสมบัติที่ครอบครอง ไม่ว่าอย่างใดที่มีอยู่ คนรับใช้ คนงาน คนอาศัยทั้งหลาย ทุกอย่างล้วนพาเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด
1150 หมวดกิเลส คนทั้งหลาย อันถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
1151 หมวดกิเลส ความอยาก ละได้ยากในโลก
1152 หมวดกิเลส กรรมทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์
1153 หมวดกิเลส ความอยาก มีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย
1154 หมวดกิเลส ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี
1155 หมวดกิเลส แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี
1156 หมวดกิเลส ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี
1157 หมวดกิเลส ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
1158 หมวดกิเลส โกรธแล้ว ย่อมมองไม่เห็นธรรม
1159 หมวดกิเลส ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก
1160 หมวดกิเลส ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน
1161 หมวดกิเลส คนโกรธฆ่าได้ แม้แต่มารดาของตน
1162 หมวดกิเลส คนมักโกรธย่อมมีผิวพรรณไม่งาม
1163 หมวดกิเลส กามทั้งหลายที่ทำให้อิ่มได้ ไม่มีในโลก
1164 หมวดกิเลส ฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข
1165 หมวดกิเลส ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่าง ๆ
1166 หมวดกิเลส ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มี เพราะฝนคือ กหาปณะ (คือกามไม่มีที่สิ้นสุด)
1167 หมวดกิเลส ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือนร้อน เหมือนถูกไฟใหม้
1168 หมวดกิเลส คนโกรธจะผลาญสิ่งใด แม้สิ่งนั้นทำยาก ก็เหมือนทำง่าย
1169 หมวดกิเลส ผู้บริโภคกามเป็นอันมาก ไม่สิ้นทะเยอทะยาน เป็นผู้พร่อง อยู่เทียว ละร่างกายไปแท้ (ตายไปทั้งที่หื่นกระหายกาม)
1170 หมวดกิเลส ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
1171 หมวดกิเลส คนโลภไม่รู้ทันว่าความโลภนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง
1172 หมวดกิเลส ท่านที่ตัดความอยากเสียได้ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้
1173 หมวดกิเลส ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย
1174 หมวดกิเลส ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
1175 หมวดกิเลส โลภเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม เมื่อความโลภเข้าครอบงำคน เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ
1176 หมวดกิเลส ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
1177 หมวดกิเลส ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
1178 หมวดกิเลส ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
1179 หมวดกิเลส ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก
1180 หมวดกิเลส โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์
1181 หมวดกิเลส ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก, สัตว์เป็นอันมาก ถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนาจนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น
1182 หมวดกิเลส โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้ เพราะกำจัดความอยาก, เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
1183 หมวดกิเลส ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่
1184 หมวดกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น
1185 หมวดกิเลส คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ
1186 หมวดกิเลส ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา
1187 หมวดกิเลส หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้
1188 หมวดกิเลส สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราปิดล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ
1189 หมวดกิเลส ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
1190 หมวดกิเลส โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป เพราะละตัณหาเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด
1191 หมวดกิเลส กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ กามทั้งหลายเป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาล
1192 หมวดกิเลส ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขาในโลก, ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลศเครื่องฟูขึ้น
1193 หมวดกิเลส ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภ เข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
1194 หมวดกิเลส คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงาม ในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
1195 หมวดกิเลส บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
1196 หมวดกิเลส เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่นในธรรม 2 อย่าง เมื่อนั้นกิเลศเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
1197 หมวดกิเลส ผู้ใดไม่มีกังวลว่านี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้นเมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
1198 หมวดกิเลส ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น และมีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด
1199 หมวดกิเลส กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั้งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล
1200 หมวดกิเลส ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก, ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก, ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี
1201 หมวดกิเลส คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้, ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว
1202 หมวดกิเลส เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้
1203 หมวดกิเลส พราหมณ์ .. พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน, เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
1204 หมวดกิเลส ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลศ) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่าและสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่า เถิด
1205 หมวดกิเลส ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์
1206 หมวดกิเลส โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก เป็นทุกข์ภัยใหญ่ของโลกนั้น
1207 หมวดกิเลส สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาล้าไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า
1208 หมวดกิเลส ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว, ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
1209 หมวดกิเลส ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ
1210 หมวดกิเลส กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
1211 หมวดกิเลส บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
1212 หมวดกิเลส บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
1213 หมวดกิเลส ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และ เมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย
1214 หมวดบาป-เวร บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น
1215 หมวดบาป-เวร คนมักทำบาปเพราะความหลง
1216 หมวดบาป-เวร บาปไม่มี แก่ผู้ไม่ทำ
1217 หมวดบาป-เวร คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน
1218 หมวดบาป-เวร พึงละเว้นบาปทั้งหลาย
1219 หมวดบาป-เวร การไม่ทำบาป นำสุขมาให้
1220 หมวดบาป-เวร ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้
1221 หมวดบาป-เวร คนพูดเท็จ จะไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี
1222 หมวดบาป-เวร คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว
1223 หมวดบาป-เวร ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน
1224 หมวดบาป-เวร สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ (ตบะ)
1225 หมวดบาป-เวร เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน
1226 หมวดบาป-เวร แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด, คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วบบาปฉันนั้น
1227 หมวดบาป-เวร ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้
1228 หมวดบาป-เวร คนพูดเท็จ ล่วงสัตยธรรมเสียอย่างหนึ่ง ไม่คำนึงถึงโลกหน้า จะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี
1229 หมวดบาป-เวร ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
1230 หมวดบาป-เวร ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และ เหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น
1231 หมวดบาป-เวร บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
1232 หมวดบาป-เวร เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
1233 หมวดบาป-เวร เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ
1234 หมวดบาป-เวร ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย
1235 หมวดบาป-เวร ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง, เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือนร้อน
1236 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์
1237 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การพบเห็นสิ่งที่ไม่รัก ทำให้เกิดทุกข์
1238 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
1239 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ความจน เป็นทุกข์ในโลก
1240 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ทุกเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี
1241 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
1242 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ คนไม่มีที่พึ่ง.. อยู่เป็นทุกข์
1243 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ผู้แพ้.. ย่อมอยู่เป็นทุกข์
1244 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
1245 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
1246 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
1247 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ผู้ดื่มธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
1248 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การสะสมบุญ นำสุขมาให้
1249 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี
1250 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
1251 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ปฏิบัติชอบต่อมารดา เป็นความสุขในโลก
1252 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ปฏิบัติชอบต่อบิดา เป็นสุขเช่นกัน
1253 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การแสดงธรรม ทำให้เกิดสุข
1254 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ผู้ไม่มีอะไรให้กัลวล สุขจริงหนอ
1255 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ครองเรื่อนไม่ดี ก็เป็นทุกข์
1256 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ย่อมเป็นสุข
1257 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างสุขจริงหนอ
1258 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ศีลก่อให้เกิดสุขตราบเท่าชรา
1259 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ทุกข์ เท่านั้นเกิด
1260 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ศรัทธาที่มั่นคง ทำให้เกิดสุข
1261 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ โลกตั้งอยู่บนฐานแห่งความทุกข์
1262 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ คนมีตัณหาเป็นทุกข์บ่อยและนาน
1263 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข
1264 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ เป็นคน พึงทำทุกข์ให้หมดไปได้
1265 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
1266 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข
1267 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การสะสมบาป เป็นทุกข์
1268 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์
1269 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ไม่พบคนที่รักก็เป็นทุกข์
1270 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข
1271 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ผู้ฉลาด พึงละทุกข์ในโลกนี้ให้ได้
1272 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การไม่เบียดเบียนกัน เป็นทุกข์ในโลก
1273 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ คนโง่ ย่อมได้รักทุกข์บ่อย ๆ
1274 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ กามมีความคับแค้นเป็นราก มีทุกข์เป็นผล
1275 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้
1276 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี
1277 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ บุญให้ความสุขเมื่อถึงคราวตาย
1278 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การไม่พบคนชั่วเลย มีความสุขทุกเมื่อ
1279 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ทุกข์ เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
1280 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
1281 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์
1282 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การไม่ทำชั่ว ทำให้เกิดสุข
1283 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ความทุกข์ เกิดขึ้นบ่อย ๆ
1284 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
1285 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ความจนเป็นทุกข์ในโลก
1286 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ กามทั้งหลายมีสุขน้อย ทุกข์มาก
1287 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดสุข
1288 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
1289 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ อยากได้สุข เมื่อปฏิบัติถูกทาง ก็ย่อมได้สุข
1290 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
1291 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
1292 หมวดทุกข์-พ้นทุกข์ ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก
1293 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน
1294 หมวดชีวิต-ความตาย วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย
1295 หมวดชีวิต-ความตาย หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย
1296 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย
1297 หมวดชีวิต-ความตาย ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้
1298 หมวดชีวิต-ความตาย คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย
1299 หมวดชีวิต-ความตาย สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย
1300 หมวดชีวิต-ความตาย คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
1301 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก
1302 หมวดชีวิต-ความตาย วันและคืนย่อมผ่านไป
1303 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา
1304 หมวดชีวิต-ความตาย เกิด ก็เป็นทุกข์
1305 หมวดชีวิต-ความตาย จะตาย ก็ตายไปคนเดียว
1306 หมวดชีวิต-ความตาย กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป
1307 หมวดชีวิต-ความตาย ตาย ก็เป็นทุกข์
1308 หมวดชีวิต-ความตาย แก่ ก็เป็นทุกข์
1309 หมวดชีวิต-ความตาย สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น
1310 หมวดชีวิต-ความตาย จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)
1311 หมวดชีวิต-ความตาย สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม
1312 หมวดชีวิต-ความตาย เจ็บ ก็เป็นทุกข์
1313 หมวดชีวิต-ความตาย จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว
1314 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว
1315 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย
1316 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน
1317 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
1318 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก
1319 หมวดชีวิต-ความตาย คนที่ร้องให้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย
1320 หมวดชีวิต-ความตาย ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
1321 หมวดชีวิต-ความตาย เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย
1322 หมวดชีวิต-ความตาย ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง
1323 หมวดชีวิต-ความตาย ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก
1324 หมวดชีวิต-ความตาย โลกถูกความตายครอบเอาไว้
1325 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้
1326 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
1327 หมวดชีวิต-ความตาย ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด
1328 หมวดชีวิต-ความตาย ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่ายกายไว้ในโลก
1329 หมวดชีวิต-ความตาย ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้
1330 หมวดชีวิต-ความตาย สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก
1331 หมวดชีวิต-ความตาย ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
1332 หมวดชีวิต-ความตาย ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน
1333 หมวดชีวิต-ความตาย สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม
1334 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
1335 หมวดชีวิต-ความตาย ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
1336 หมวดชีวิต-ความตาย กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย
1337 หมวดชีวิต-ความตาย คนทุกคนต้องตาย
1338 หมวดชีวิต-ความตาย วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
1339 หมวดชีวิต-ความตาย การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม
1340 หมวดชีวิต-ความตาย อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป
1341 หมวดชีวิต-ความตาย ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด
1342 หมวดชีวิต-ความตาย วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที
1343 หมวดชีวิต-ความตาย สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป
1344 หมวดชีวิต-ความตาย สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย
1345 หมวดชีวิต-ความตาย มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่
1346 หมวดชีวิต-ความตาย เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้
1347 หมวดชีวิต-ความตาย สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
1348 หมวดชีวิต-ความตาย ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
1349 หมวดชีวิต-ความตาย วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลักตา ทุกลืมตา
1350 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี
1351 หมวดชีวิต-ความตาย ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า
1352 หมวดชีวิต-ความตาย ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้
1353 หมวดชีวิต-ความตาย ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้
1354 หมวดชีวิต-ความตาย รวยก็ตาย จนก็ตาย
1355 หมวดชีวิต-ความตาย ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้
1356 หมวดชีวิต-ความตาย สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป
1357 หมวดชีวิต-ความตาย วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า
1358 หมวดชีวิต-ความตาย มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้
1359 หมวดชีวิต-ความตาย ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย
1360 หมวดชีวิต-ความตาย ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
1361 หมวดชีวิต-ความตาย วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง
1362 หมวดชีวิต-ความตาย อายุย่อมหมดไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา
1363 หมวดชีวิต-ความตาย คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย
1364 หมวดชีวิต-ความตาย แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
1365 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี
1366 หมวดชีวิต-ความตาย กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
1367 หมวดชีวิต-ความตาย คนใดร้องให้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้อนนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน
1368 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
1369 หมวดชีวิต-ความตาย วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ
1370 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
1371 หมวดชีวิต-ความตาย ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
1372 หมวดชีวิต-ความตาย รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโครตไม่เสื่อมสลาย
1373 หมวดชีวิต-ความตาย อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน หรือ เดินอยู่ก็หาไม่
1374 หมวดชีวิต-ความตาย สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
1375 หมวดชีวิต-ความตาย เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
1376 หมวดชีวิต-ความตาย ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้
1377 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต
1378 หมวดชีวิต-ความตาย กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ
1379 หมวดชีวิต-ความตาย อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์
1380 หมวดชีวิต-ความตาย น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
1381 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น
1382 หมวดชีวิต-ความตาย ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่
1383 หมวดชีวิต-ความตาย วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น
1384 หมวดชีวิต-ความตาย ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้
1385 หมวดชีวิต-ความตาย อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติดุจคนมีศรีษะถูกไฟใหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี
1386 หมวดชีวิต-ความตาย ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
1387 หมวดชีวิต-ความตาย ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ
1388 หมวดชีวิต-ความตาย ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม่สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น
1389 หมวดชีวิต-ความตาย ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
1390 หมวดชีวิต-ความตาย ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น
1391 หมวดชีวิต-ความตาย การร้องให้ ความโศกเศร้า หรื การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง
1392 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี
1393 หมวดชีวิต-ความตาย ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
1394 หมวดชีวิต-ความตาย การร้องให้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม
1395 หมวดชีวิต-ความตาย คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน
1396 หมวดชีวิต-ความตาย จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง
1397 หมวดชีวิต-ความตาย คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น
1398 หมวดชีวิต-ความตาย ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเห็นบางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น
1399 หมวดชีวิต-ความตาย ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
1400 หมวดชีวิต-ความตาย แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
1401 หมวดชีวิต-ความตาย ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
1402 หมวดชีวิต-ความตาย ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่ละต้องร่วงหลุ่นไปตลอดเวลา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น
1403 หมวดชีวิต-ความตาย อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศรีษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย
1404 หมวดชีวิต-ความตาย ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา
1405 หมวดชีวิต-ความตาย ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
1406 หมวดชีวิต-ความตาย เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
1407 หมวดชีวิต-ความตาย ดูซิ.. ถึงคนอื่น ๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น
1408 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้
1409 หมวดชีวิต-ความตาย วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบท ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา
1410 หมวดชีวิต-ความตาย จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี
1411 หมวดชีวิต-ความตาย กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยล่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้
1412 หมวดชีวิต-ความตาย เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิดพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์
1413 หมวดชีวิต-ความตาย ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องให้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา
1414 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
1415 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
1416 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี
1417 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
1418 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้
1419 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ศรี เป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์
1420 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
1421 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
1422 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก
1423 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พึงศึกษาความสงบนั้นแล
1424 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
1425 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก
1426 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก
1427 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก
1428 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป การได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เป็นการยาก
1429 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป วัยย่อมผ่านพ้นไปทุกขณะทีเดียว
1430 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
1431 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
1432 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
1433 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา
1434 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
1435 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
1436 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก
1437 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น
1438 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด
1439 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย
1440 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก
1441 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป อำนาจ เป็นใหญ่ในโลก
1442 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
1443 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
1444 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
1445 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
1446 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่ม ผู้ทอดทิ้งการงาน
1447 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
1448 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก
1449 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว
1450 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
1451 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สิ่งใดที่เข้าไปยึดถืออยู่จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก
1452 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย
1453 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวถือฤกษ์อยู่
1454 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
1455 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก
1456 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม
1457 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
1458 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น
1459 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง
1460 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความริษยา เป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
1461 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ขณะเวลา อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
1462 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต
1463 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความเกียจคร้าน เป็นมลทินแห่งผิวพรรณ
1464 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
1465 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
1466 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า
1467 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
1468 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป บรรดาทางทั้งหลาย ทางที่มีองค์ 8 (มรรค) เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม
1469 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับจากทุกข์
1470 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
1471 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
1472 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป รูปโฉม พอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหาพระนิพพานไม่ได้เลย
1473 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
1474 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
1475 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
1476 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ
1477 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
1478 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ
1479 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
1480 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
1481 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
1482 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
1483 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรมอยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม
1484 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ พึงกำจัดใจที่ละโมภเสีย
1485 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ไม่มีผู้ต้านทาน ย่อมเดือนร้อยเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษ ต้องทำตามอาชญาฉะนั้น
1486 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป กามคุณ 5 ในโลก มีใจเป็นที่ 6 อันท่านชี้แจงไว้แล้ว, บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
1487 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
1488 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น, ผู้นั้นชื่อว่าพัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร
1489 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
1490 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สัตว์โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ ธรรมารมณ์นั้น ล้วนเป็นโลกามิสอันร้ายกาจ
1491 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป คนรู้จักขนบธรรมเนียม ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ ในชาตินี้ก็มีผู้สรรเสริญ ชาติหน้าก็ไปดี
1492 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้, โภคะของสตรีหรือบุรุษ ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
1493 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป คนใด จักทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก
1494 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
1495 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีในโลก, คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ
1496 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดีที่ไม่ประทุษรายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
1497 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง 2 เพราะกลัวต่ออนาคต
1498 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ คำพูดและการกระทำก็สงบ
1499 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัยได้, ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก
1500 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา เขาได้ชนะเรา เขาได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ
1501 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
1502 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
1503 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นควมไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นพุทธาศาสนี
1504 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
1505 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่ออยู่ในต่างประเทศ ก็ควรอดทนคำขู่เข็ญแม้ของทาส
1506 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
1507 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และ ด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง
1508 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ ข้อนั้น เป็นเหตุของผู้ฉิบหาย
1509 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
1510 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ธงเป็นเครื่องปรากฎของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฎของไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฎของแว้นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
1511 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น ที่เขาทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดู แต่การงาน ของตนที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำเท่านั้น
1512 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป คนเขลา มีกำลัง หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน ไม่ดี, นายนิรยบาล ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทราม ผู้คร่ำครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ
1513 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข
1514 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป บุคคลไม่ความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง, ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
1515 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด ดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วนั้น, เพราะความต้องการไม่มีที่สุด, พวกเราจงทำความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด
1516 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ในโลกนี้ พวกที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, คนมีใจไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้, ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้
1517 หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามินเสีย

ที่มา http://gamethai.freehomepage.com/

http://www.kusol.com/
บันทึกการเข้า
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3004


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2009, 10:29:02 AM »

 เยี่ยมมาก อ่านไม่ทันจบ หมดกิเลสซะก่อน สาธุ Smiley Wink
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!