- การวัด C. ELECTROLYTIC ด้วยดิจิตัลมิเตอร์และอนาลอกมิเตอร์

- การวัด C. ELECTROLYTIC ด้วยดิจิตัลมิเตอร์และอนาลอกมิเตอร์

(1/2) > >>

ช่างเล็ก(LSV):
ตามคำเรียกร้องที่นศ.หลักสูตร... เลียนลัดเป็นช่างซ่อมทีวี... บางท่านขอมาครับ
  กระทู้นี้จะเป็นการแนะนำอย่างย่อๆสำหรับการเตรียมเครื่องมือ และการปฏิบัติ  ..ส่วนรายละเอียดของการวัดC. ELECTROLYTIC ด้วยดิจิตัลมิเตอร์และอนาลอกมิเตอร์ จะแยกออกไปอีก 2 กระทู้ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้านะครับ   HAPPY2!!

** อ่านพื้นฐานของ CAPACITOR ได้ที่นี่  http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=16291.0

ช่างเล็ก(LSV):
ตัวอย่างเครื่องมือวัด ...
ดิจิตัลมิเตอร์ ..... สังเกตุง่ายๆว่าจะแสดงผลด้วยตัวเลข อ่านค่าได้ทันที
อนาลอกมิเตอร์ .. จะอ่านค่าของตัวเลขในสเกล ตรงตำแหน่งเข็มชี้      HAPPY2!!

ช่างเล็ก(LSV):
สิ่งที่พึงระลึก การวัด CAPACITOR ทุกครั้งควรฝึกไว้ให้เป็นนิสัย คือต้องคายประจุออกก่อนทุกครั้ง แม้C ตัวนั้นไม่เคยโดนบัดกรีใช้งานมาเลยก็ตาม  ..
  เพราะ C บางตัวจะเก็บประจุไฟฟ้าไว้นานพอควร (C บางตัวค่าความจุสูงๆจะเก็บประจุไว้ได้นานนับเดือน) หากเราเผลอเรอไปวัด C ที่มีประจุไฟฟ้าอยู่ บางครั้งจะทำให้เครื่องมือวัดเสียหายได้   embarrassed7



ภาพแสดงการคลายประจุ(ใช้ในกรณีประจุต่ำๆ ...หากประจุไฟฟ้าสูงๆอาจใช้หลอดไฟไส้40-60วัตต์ มาคายประจุจะปลอดภัยกว่า)..

ช่างเล็ก(LSV):
ตัวอย่างการดิสชาร์จ(คลายประจุ) ใน C ตัวโตๆ ที่ไม่ถูกต้อง
C ค่าความจุสูงๆนี้ จะมีปริมาณของกระแสไฟฟ้าอยู่เยอะ  หากนำสายมาแตะกันเพื่อคลายประจุ  สายไฟที่นำมาต่อคลายประจุอาจสป๊าร์คจนเกิดเป็นอันตราย และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอาจตกใจได้   :P

ช่างเล็ก(LSV):
ดู MV ..แสดงอันตรายจากแรงไฟคงค้างในCapacitor ได้ที่กระทู้นี้ครับ http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=37009.0     HAPPY2!!

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป