ตะขาบ...พิษร้ายอาจถึงตาย คนบ่ยั่น...จับมาเปิบ เป็นยาโด๊ป
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 27, 2024, 08:03:26 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตะขาบ...พิษร้ายอาจถึงตาย คนบ่ยั่น...จับมาเปิบ เป็นยาโด๊ป  (อ่าน 9921 ครั้ง)
แวมไพร์-LSVteam♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน912
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3712


..เรียนให้รู้เป็นครูเขา.Learning by doing


« เมื่อ: เมษายน 29, 2008, 06:57:19 AM »

ตะขาบ...พิษร้ายอาจถึงตาย คนบ่ยั่น...จับมาเปิบ เป็นยาโด๊ป





ช่วงฝนตกพรำๆ อันทำให้อากาศมีความชุ่มชื่นเย็นฉ่ำเช่นนี้ “บรรดา” พวกแมงป่อง ตะขาบ มักออกมาเดินเพ่นพ่านไต่ผนังยั้วเยี้ย จับแมลงเล็กๆกินเป็นอาหารและหาที่อบอุ่นซุกหลับนอน

ฉะนั้น เวลาหยิบจับผ้ามาสวมใส่ หรือจะเข้าพักผ่อนบนฟูกอันอ่อนนุ่ม ควรตรวจตราความเรียบร้อยให้ดีก่อน ไม่อย่างนั้นอาจ “ดวงซวย” มีสิทธิ์โดนพิษร้าย ยิ่งเป็นแมงป่องแม่ลูกอ่อนต่อยเข้า บอกได้อย่างเดียวว่าเจ็บปวดไปทั่วสรรพางค์กาย

หรือบางรายที่ค่อนข้าง “อภิมหาซวย” อาจเจอ “ตะขาบ” ที่มีพิษไม่แพ้แมงป่องขบกัดเอาได้ง่ายๆ เช่นกัน อย่างเช่นเมื่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา นายสมโพด นูพัฒน์ อายุ 41 ปี ชาวบ้านหมู่ 6 ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ไม่รู้ไปทำอีท่าไหน จึงถูก “ไอ้แสนขา” ไต่เข้าไปฝังเขี้ยวพิษกับ “กล่องดวงใจภายในร่มผ้า”

ด้วยที่คิดว่าตนเองแกร่งและอดทนกับสัตว์ตัวน้อยๆที่เข้ามารบกวนแค่นี้เพียงเจ็บๆคันๆ ช่วงแรกๆ “จึงมินำพา” ไม่ไปหาหมอ เพราะอาการเพียงแค่ “ไม่สามารถ” ขึ้นคร่อม (มอเตอร์ไซค์คู่ชีพ) ได้......

สิ้นฤดูเทศกาลจะกลับกรุงเทพฯจำเป็นต้องนั่งรถโดยสาร แล้วก็ต้องยอมแพ้อาการที่อดทนเพราะเกิดปวดหัวรุนแรง ศรีภรรยาจำต้องพาส่งโรงพยาบาล...สุดท้ายก็ จบชีวิตลง!...

แพทย์ ระบุว่าการเสียชีวิตนั่นเกิดจาก “ไวรัสขึ้นสมอง” ในขณะที่เมียยืนยันว่าสามีถูก “ตะขาบกัดไข่” แต่ดันลืมไม่ได้แจ้งสาเหตุ

ความสูญเสียครั้งนี้จึงยังเป็นปม ไม่กล้าฟันธงว่าเกิดจากพิษสงของ “เขี้ยวตะขาบ” หรือเป็นเพราะเชื้อโรคกันแน่ “หลายชีวิต” นำมาบอกกล่าวเพียงต้องการยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนเตือนให้หลาย ๆ คนพึงระวังและรอบคอบให้มากขึ้น!...




“ตะขาบ” (Centipede) พบได้ในเขตร้อนชื้น อาศัยอยู่บนบกตามสภาพพื้นที่เย็น มีขนาดลำตัวยาว 3-8 ซม. พันธุ์ที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดก็คือ Scolopendra gigantea มีชื่อเรียกสามัญว่า “ตะขาบยักษ์ขาเหลืองเปรู” หรือ “ตะขาบยักษ์อเมซอน” โดยเผ่าพันธุ์นี้อาศัยอยู่ทางแถบเหนือและตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ และตามเกาะแก่งของประเทศตรินิแดดและจาเมกา มันเป็นสัตว์กินเนื้อ ทั้งจิ้งจก กบ นก หนู และแม้แต่ค้างคาว

ตะขาบยักษ์อเมซอน เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 10 นิ้ว แต่บางตัวก็อาจโตได้ 12 นิ้ว สายพันธุ์นี้มีปล้อง 15-100 ปล้อง แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ส่วนหัวแยกจากลำตัวชัดเจน หนวด 1 คู่ มีเขี้ยวพิษ 1 คู่ เชื่อมต่อกับต่อมพิษ ซึ่งดัดแปลงมาจากปล้องแรกของลำตัว

ทั้งนี้ ใช้เวลาเจริญเติบโตนาน ในช่วงชีวิตหนึ่งจะลอกคราบ 10 ครั้ง ตัวเต็มวัยมี อายุ 3-5 ปี จึงเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ และ สภาพพื้นที่มันชอบวางไข่ จะเป็นที่ชื้นหรือต้นพืชหญ้า โดยในเวลากลางวันจะซ่อนอยู่ในที่เย็นๆ ใต้ก้อนหิน ออกหาเหยื่อคือแมลงตัวเล็กในเวลากลางคืนกินเป็นอาหาร

ในรายที่โดนตะขาบกัดจะมีรอยเขี้ยว ลักษณะ เป็นจุดเลือดออก มันจะปล่อยพิษซึ่งประกอบด้วยสารก่อปฏิกิริยาอักเสบต่อร่างกาย ได้แก่ 5 hydroxytryptamine หรือ cytolysin ทำให้มีการอักเสบ ปวดบวมแดงร้อน ชา

และ...อาจเกิดอาการแพ้ เช่นกระวนกระวาย อาเจียน หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มึนงง ปวดศีรษะ ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตรงบริเวณที่ถูกกัด อาจเป็นแผลไหม้อยู่ 2-3 วัน และเป็นอัมพาตได้ในบางราย ทั้งนี้มีรายงานแจ้งว่ามีเด็กหญิงฟิลิปปินส์ อายุ 7 ขวบ ถูกตะขาบพันธุ์ Scolopendra subspinipes ขนาดยาว 23 เซนติเมตร กัดที่บริเวณศีรษะ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

แม้ว่ามันจะมีพิษสงอันเจ็บปวดซักปานใด แต่ก็หารอดพ้นที่จะกลายเป็นอาหารของมนุษย์ อาทิ ตะขาบผัดพริกเกลือ เปิบแอ้มสุรา อย่างที่หมู่ เกาะหูจิ่ง แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลชื่อดัง ตั้งอยู่ทางตะวันตกของไต้หวัน ผู้คนถิ่นนี้นิยมจับตะขาบพันธุ์ Scolopendra subspinipes mutilans...มาทำยาดองเหล้า

เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นเชื่อว่ากินแล้วปึ๋งปั๋งจึงขายดี... และเป็นของฝากข้ามน้ำข้ามทะเล!...


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!