HOME THEATER SYSTEM ( รู้จักกับระบบเสียง DOLBY )
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 12:08:13 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: HOME THEATER SYSTEM ( รู้จักกับระบบเสียง DOLBY )  (อ่าน 12225 ครั้ง)
BenQ
member
*

คะแนน214
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4790


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2007, 11:44:48 PM »

HOME THEATER SYSTEM  by wijit

บริษัท DOLBY LABORATORIES Inc นั้น มีจุดเริ่มต้นจาก มิสเตอร์ เรย์ ดอลบี้ ( Mr. Ray Dolby ) ซึ่งยุคที่เขาเป็น นักศึกษา ก็ทำงานกับบริษัท AMPEX ไปด้วย ที่นั่นคือแหล่งสร้างสมประสบการณ์ของดอลบี้ เรย์ เป็นหนึ่งในทีมเล็ก ๆ ของเอมเพ็กซ์ ในการคิดค้น วีดิโอเทปเรคคอร์ดเดอร์ เครื่องแรกของโลกซึ่งนำมาใช้กับ สถานีโทรทัศน์เมื่อปี 1956 ต่อมาเขาได้เข้าไปศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริจด์ที่อังกฤษ จนกระทั่งได้รับปริญญาเอก ทางด้านฟิสิกส์ โดยใช้เวลาในการศึกษาวิจัยอยู่ 6 ปีเต็ม
ดร. เรย์ ดอลบี้ เข้าร่วมงานกับ UN. สองปีในอินเดีย ก่อนจะกลับสู่ประเทศอังกฤษอีกครั้ง และก่อตั้งบริษัทของตนเอง ขึ้นมา คือ DOLBY LABORATORY ในปี 1965 เขาให้ความสนใจใน เรื่องของระบบลดเสียงรบกวน NOISE REDUCTION โดยนำเอาเทปวีดีโอในสติวดิโอ มาศึกษาถึงเสียง HISS (ซ่า) จากเนื้อวัสดุที่ใช้ผลิตเป็นเส้นเทป มีแนวคิดหลายแนววิถีทาง ที่จะนำไปสู่การลดเสียงรบกวนต่าง ๆ แรกสุดคือ DOLBY A TYPE ซึ่งมีการใช้วงจร กดเสียงซ่า 4 ย่านความถี่ สำหรับใช้ในฟิลม์ภาพยนตร์ และสติวดีโอเทป แต่การใช้งานมิได้แพร่หลายไปสู่ตลาด ของผู้บริโภคทั่วไป ดอลบี้ ได้ตั้งสถานที่ทำการเพิ่มเติมที่ ซานฟรานซิสโก อเมริกา เพื่อค้นหานักฟิสิกส์ ผู้สามารถมาร่วม งานวิจัยค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ
คนแรกสุดที่ เรย์ ได้เข้ามาร่วมงานคือ เฮนรี่ ครอสส์ ( Henry Cross ) นักออกแบบลำโพง - เครื่องเสียง ผู้โดดเด่นที่สุด คนหนึ่งขงอเมริกา ในขณะนั้น ครอสส์ ทำงานให้กับบริษัท KLH ซึ่งเขามีหุ้นส่วนอยู่ การร่วมงานกับดอลบี้ เพื่อผลิตระบบ ลดเสียงรบกวน ได้ผลในปี 1968 เราได้วงจร DOLBY B TYPE ซึ่งจะทำหน้าที่ กดทับเสียงที่ขยายเอาไว้ก่อนล่วงหน้า ของปลายเสียงแหลมให้ลดลงมา เพื่อสามารถกดบีบ NOISE ได้ ระบบลดเสียงรบกวนชนิดนี้ จึงง่ายต่อการนำมาใช้กับ เทปคาสเซ๊ต กระบวนการที่ใช้กับการลดเสียงรบกวน เราเรียกว่า COMPRESSION / EXPONSION
สำหรับเทปคาสเซ๊ตเด็ค เครื่องแรกที่ใช้ระบบลดเสียงรบกวน DOLBY NR (B) คือ HARMAN / HARDON เมื่อปี 1970 ส่วน KLH นำมาใช้กับเทปประเภท โอเพ่นรีล ม้วนใหญ่ก่อนหน้าสองปี การทำงานของ DOLBY B ได้ผลพอสมควร ไม่ถึงกับดีเลิศ เนื่องจากข้อจำกัดหลายประการ อาทิ ความแคยของเส้นเสียงเพียง 1 / 8 นิ้ว สปีด 17/8 นิ้วต่อวินาที ดังนั้นการลดเสียงบกวนที่สามารถทำได้ดีที่สุด คือช่วงปลายเสียงแหลม ห้องวิจัยของ DOLBY ใช้วิธีบันทึกเสียงจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงผ่านวงจร DOLBY สู่คาสเซ๊ตเด็ค ทดลองอยู่นานหลายเดือน กว่าจะประกาศผล ถึงความสำเร็จของ DOLBY - B TYPE ซึ่งมีใช้งานในเทปคาสเซ็ตทุกเครื่องในปัจจุบัน ไม่เว้นแม้แต่ซาวด์อเบ็าท์ขนาดจิ๋ว

แรกสุดบริษัท นากามิชิ แห่งประเทศญิ่ปุ่นเป็นผู้ผลิตวงจร DOLBY เพื่อ OEM ให้กับบริษัทผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่ต้องการ ขอไลเซ่นต์ ของ DOLBY การปรากฎตัวของคาสเซ๊ตเด็คยี่ห้อ HARMAN / KARDOR, FISHER, ADVENT ช่วยจุดประกายให้กับบริษัทอื่นๆ ต้องหันมาใช้วงจรของ DOLBY อาจเป็นวิธีหนึ่งของนักธุรกิจอเมริกัน ที่ต้องการ เผยแพร่ผลงานออกไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยไม่จำกัดถิ้นที่อยู่ และก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า บริษัทผู้ผลิต CASSETTE นั้น เกินกว่า 80 % มีสัญชาติญี่ปุ่น
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ขอไลเซ่นต์ จะได้รับการทดสอบในห้องแล็ป ของดอลบี้ในซานฟรานซิสโก นับจำนวนเป็นร้อยๆ ตัวอย่างต่อปี ที่ดอลบี้ต้องออกใบอนุญาติให้นำไปผลิตได้

การก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์ ตั้งแต่เริ่มแรกทำให้ดอลบี้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ทุกราย ที่ต้องการแข่งขัน ในเรื่องระบบลดเสียง รบกวน และระบบเสียงรอบทิศทางในฟิลม์แบบ อนาล๊อกสเตอริโอ ด้วยการเอาระบบเสียง แชนแนล QUADRAPHONIC ในอดีตมาปัดฝุ่นปรับปรุงกันใหม่ ขยายขอลเขตของสเตอริโอธรรมดา ให้เป็น 4 แชนแนล โดยใช้ สัญญาณข้างซ้าย ( L ) มาลบออกจากสัญญาณด้านขวา ( R ) ซึ่งเขียนเป็นสมการเซอร์ราวนด์จะได้ SURROUND =L - R หมายถึงว่า เราสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากช่องเสียงเดิม หักกลบลบกันออกมาเป็นเสียงใหม่ๆ ได้โดยไม่จำเป็น ต้องเพิ่มแชนแนลของเสียงด้านหลัง

DOLBY SURROUND นำมาใช้กับภาพยนตร์เรื่อง A CLOCK WORK TOWER และหนังเพลงเรื่อง A STAR IS BORN เป็นช่วงของการทดลองสิ่งใหม่ๆ ในเวลาต่อมา ดอลบี้ก็นำมาใช้กับภาพยนตร์ STAR WARS ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับระบบเสียงมากขึ้น ตราสัญญลักษณ์ตัว "D" หันหลังชนกัน คือเครื่องหมายการค้าที่ฮิตที่สุด ในรอบหลายปีที่ผ่านมา นับแต่ช่วงที่ STAR WARS ออกฉายปี 1987 ระบบเสียงรอบทิศทาง "สังเคราะห์" DOLBY SURROUND ได้รับความนิยมทันที หนังแทบทุกเรื่องต้องใช้ระบบดังกล่าว เป็นมาตราฐานของภาพยนตร์ ที่สร้างขึ้นมาในฮอลลี่วู้ด

ต่อมาดอลบี้ได้นำเอาระบบ DIGITAL มาใช้กับการบันทึกเสียงของภาพยนตร์ ก่อนที่จะมีการนำเอามาใช้กับ HOME THEATER ระบบเสียงที่ทางดอลบี้คิดค้นขึ้นมานั้น ถ้าจะนำมาแสดงในที่นี้แบบย่นย่อโดยสรุปได้แก่
A - TYPE นี่คือระบบลดเสียงรบกวนของ DOLBY ระบบแรก ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1965 ออกแบบสำหรับ งานโปรเฟสชั่นแนล การบันทึกเสียงในสติวดิโอ เช่น มาสเตอร์เทป และในปี 1970 ก็ได้นำมาใช้ กับระบบเสียงของ โรงภาพยนตร์ เพื่อลดเสียงรบกวนในฟิลม์ ขณะทำการพิมพ์หรือบันทึกเสียงที่ร่องเสียง แบบสเตอริโอโฟนิค ทั้งระบบของ DOLBY TYPE ดอลบี้เป็นผู้ออกแบบ และผลิตเครื่องด้วยตนเองทั้งหมด นึ่คือระยะเริ่มแรก
B - TYPE ระบบลดเสียงรบกวนภายในเนื้อเทปคาสเซ๊ต ซึ่งมีความสามารถกดเสียง NOISE หรือเสียงซ่า จากเนื้อเทปลงไปได้ถึง 10 เดซิเบล โดยจะมีผล ที่ย่านความถี่เสียงแหลม เป็นระบบที่ดอลบี้คิดค้น และมอบลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทผู้ผลิตคาสเซ๊ตเด็คทั้งหลาย นำไปบรรจุในวงจรเครื่องของตน มีการแบ่งแยกระบบดอลบี้ B ออกเป็นสองแบบ

-แบบแรก เพื่อการบันทึกในสติวดิโอ ในกรณีของการบันทึกเทป เพื่องานอุตสาหกรรม
-แบบที่สอง เพื่อการใช้งานในบ้าน หรือระบบโฮมยูสด์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป

ดอลบี้จะออกใบอนุญาตให้กับโรงงานผู้ผลิตเป็น 2 แบบ

-แบบเรก คือการซื้อ IC ของดอลบี้ไปใช้งานแบบสำเร็จรูป หรือ
-แบบที่สอง คือการซื้อพิมพ์เขียวของวงจรไปผลิตชิพด้วยต้นเอง

ระบบ DOLBY - B นับว่ามีความแพร่หลายอย่างมาก ตั้งแต่เครื่องบันทึกเทป ชนิด คาสเซ็ตเด็ค คาร์ออดิโอ ซาวนด์อเบ๊าท์ ระบบการบันทึกและเล่นกลับ เป็นไปอย่างสะดวกง่ายดาย ไม่สลับซับซ้อน ผู้บริโภคสามารถ ใช้งานได้ด้วยตนอง สำหรับการบันทึก และการเล่นกลับ
C - TYPE ดอลบี้ - ซี เป็นผลิตผลที่ต่อเนื่องจากดอลบี้ - บี ได้รับการนำเสนอต่อสาธารณชนเมื่อปี 1981 เป็นเจนเนอร์เรชั่นที่ 2 สำหรับการใช้งานในระบบคาสเซ๊ตเทป โดยนำเอาวงจรดอลบี้ B สองวงจรมาขนานกัน ปรับแต่งระบบให้ลดเสียงรบกนได้ถึง 20 db เป็นการสะกัดกั้นคู่แขางอย่าง DBX ซึ่งกำลังมาแรงในขณะนั้น ดอลบี้เลือกที่จะไม่เก็บค่าไลเซ่นต์เพิ่มเติม บริษัทใดก็ตามที่ใช้ระบบ DOLBY - B อยู่แล้ว ก็จะได้รับใบอนุญาตในการผลิต และใช้งานดอลบี้ - ซี โดยอัตโนมัติ
นอกจากการนำไปใช้งานกับระบบคาสเซ็ตเทปตามบ้านแล้ว ระบบ C - TYPE ยังถูกนำไปใช้กับสติวดิโออีกด้วย มีอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ห้องบันทึกเสียงได้ใช้มาตรฐาน DOLBY - C บันทึกเทปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ระดับออดิโอไฟล์ (AUDIOPHILE) การทำงานของ C - TYPE ไม่แตกต่างจาก B - TYPE แต่อย่างใด เน้นความสะดวกในการใช้งานเหมือนเดิม
SR (SPECTRAL RECORDING) เปิดตัวเมื่อปี 1986 เป็นระบบซึ่งทำงานในลักษณะเพิ่มค่าไดนามิคเร็นจ์ สำหรับการบันทึกเสียงลงในฟิล์มภาพยนตร์ รวมตลอดจนถึงการบันทึกเสียงสดๆ จากการแสดงภาพยนตร์ การผลิตมาสเตอร์ การผสมเสียงต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบก่อนพิมพ์ลงบนฟิลม์หนัง ใช้งานอย่างได้ผลดียิ่ง กับระบบดอลบี้เซอร์ราวนด์ - อนาล็อก ที่ทางดอลบี้คิดค้นขึ้นมาใช้งานก่อนหน้านี้ นี่คือระบบ PROFESSIONAL ที่มิได้มีการดัดแปลง มาใช้กับระบบโฮมยูสด์ในระยะแรกๆ ท่านคงจะเคยเห็นตรา LOGO ของ SR ในสิ่งพิมพ์โฆษณา การฉายภาพยนตร์มาบ้างแล้ว ระบบSR ยังคงเป็นอนาล็อกอยู่
S - TYPE เป็นการนำเอาประโยชน์ของ DOLBY SR มาใช้งานกับโฮมยูสด์ ด้วยการทำงานของสองวงจรหลัก

หนึ่งคือ ลดการอิ่มตัวของสัญญาณที่บันทึกลงในเนื้อเทป
สองคือ การคอนโทรลซึ่งระบบลดเสียงรบกวน

เป็นการพัฒนาระบบลดเสียงรบกวนได้อย่างถึงที่สุดในระบบการบันทึกแบบอนาล็อก เมื่อเปรียบเทียบกันระบบ DOLBY - B แล้ว DOLBY - S สามารถลดเสียงรบกวนได้มากว่าถึง 24 db ในย่านความถี่สูง และ 10 db ในย่านความถี่ต่ำ วงจรจะแยกแยะการทำงานระหว่างความถี่ทั้งสองย่าน S - TYPE นั้นเป็นผลผลิตจากการค้นคว้าของทีมวิศวกรดอลบี้ เพื่อให้การบันทึกเสียงเพลงจาก CD มีความใกล้เคียงต้นฉบับอย่างที่สุด รวมทั้งสามารถรับสัญญาณ แผ่วเบาในเพลง CLASSICAL ได้
DOLBY - S คือการพัฒนาลำดับสุดท้ายสำหรับคาสเซ๊ตเทป หลังจากนั้นก็เข้ายุคดิจิตอล ระบบลดเสียงรบกวนในแบบ S มีผู้ผลิตขึ้นมาจำหน่ายไม่มากนัก เนื่องจากระบบมีความซับซ้อนมาก และค่าไลเซ่นต์ จะสูงกว่า DOLBY - B และ DOLBY - C
HX PRO เป็นอีกหนึ่งในบรรดาระบบลดเสียงรบกวนของดอลบี้ เพียงแต่มันเป็นวงจรช่วยเพิ่มค่าอิ่มตัว ในเนื้อเทปแต่อย่างเดียว หมายถึงเราสามารถบันทึกเสียงได้แรงขึ้น โดยปราศจากความพร่าเพี้ยนของเสียง เพิ่มค่าไดนามิค เฮดรูม 3 db ความดีเด่นของวงจรนี้ คือไม่มีผลเอ็ฟเฟ็กใดๆ เมื่อคุณนำเอาไปใช้กับเทปรุ่นอื่นๆ ที่มิได้ใช้ระบบ HX PRO มันจะทำงานเฉพาะขั้นตอนการบันทึกเท่านั้น

เราได้ทำความรู้จักกับระบบเสียงของ DOLBY มาแล้ว 6 ระบบ ซึ่งเป็นแบบอนาล็อก และมีใช้กับการบันทึกเสียง ในสติวดิโอ และ โฮมยูสด์ แต่ยังคงมีรูปแบบต่างๆ ของ DOLBY อีกหลายระบบ ซึ่งควรค่าแก่การสนใจ ในฐานะที่ DOLBY เป็นผู้นำเรื่องระบบเสียงตลอดช่วงเวลา ของการพัฒนาในวงการออดิโอ และภาพยนตร์
เมื่อพิจารณาตามลำดับในการกำเนิดของระบบเสียง DOLBY ลำดับถัดไปคือ DOLBY STEREO ที่นำมาใช้ กับการบันทึกเสียงในฟิลม์ภาพยนตร์
DOLBY STEREO หลังจากมีการแนะนำระบบเสียง A - TYPE สเตปต่อมาของดอลบี้ คือการเพิ่มศักยภาพ จากระบบลดเสียงรบกวน เข้าสู่เสียงรอบทิศทางโดยการสังเคราะห์เสียง จากแชนแนลหลัก ซ้าย - ขวา แบบสเตอริโอ ขั้นเป็น LEFT, RIGHT, CENTER, SURROUND ซึ่งเป็นระบบแมททริกซ์สัญญาณ โดยใช้ความแตกต่างของ แชนแนล ซ้าย - ขวา มาหักลบออกจากกัน เพื่อเป็นเสียงแชนแนลหลัง และนำเอาสัญญาณหลักมาบวกกัน เพื่อให้เป็นเสียง CENTER ดังนั้นระบบเสียงของ DOLBY STEREO จะมีสัญญาณ ซ้าย - ขวา - กลาง และเซอร์ราวนด์ บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ได้ใช้เป็นมาตรฐาน การบันทึกภาพยนตร์อนาล็อกต่อมาอย่างยาวนาน
DOLBY SURROUND คืออีกความหมายหนึ่งของ DOLBY STEREO แต่เป็นการนำมาใช้กับ การบันทึกเสียง ในอุตสาหกรรม ผู้ผลิตวีดีโอเทประบบ VHS และเลเซอร์ดิสก์ ในระยะต้นๆ ใช้ระบบการทำงานดุจเดียวกันคือเป็น แมททริกซ์ 4 สัญญาณ ตามปกติจะมีการถอดต้นแบบมาจาก มาสเตอร์ที่ใช้พิมพ์ลงบนฟิลม์ภาพยนตร์ เครื่องเล่นวีดีโอเทประบบสเตอริโอธรรมดา ก็สามารถให้เสียงดอลบี้เซอร์ราวนด์ได้ เมื่อมีการบันทึกจากมาสเตอร์ ของสติวดิโอเจ้าของภาพยนตร์
DOLBY PRO LOGIC เป็นเจเนอร์เรชั่นที่สองของระบบเสียงรอบทิศทาง ชนิดดอลบี้เซอร์ราวนด์ การทำงานของระบบนี้สามารถครีเอทเสียงเซ็นเตอร์ แบบ PHANTOM ซึ่งหมายถึงคุณไม่จำเป็นต้องมีลำโพงเซ็นเตอร์ ก็ได้ เสียงของ "แฟนธัม" จะทำให้ลำโพง ซ้าย - ขวา หน่วงสัญญาณไดอาล็อก ให้ปรากฎอยู่ตรงกลางเสมือนว่า เสียงของเซ็นเตอร์ ออกมาจากตรงจุดดังกล่าว และในการใช้โหมด NORMAL คุณจะได้เสียงพูดของตัวละคร ที่แจีมชัดมากขึ้น มีการนำเอาระบบดิจิตอลบางส่วนมาใช้ด้วยหลัก จิตวิทยาการได้ยินเสียง คือ วงจรจะทำการว่า เมื่อมีเสียงดังแรงขึ้นกว่าปกติที่แชนแนลใด ก็จะทำการลดเสียงของแชนแนลอื่นๆ ลงไป เพื่อเน้นความชัดเจนของช่องเสียงเมนหลักในขณะนั้น มีการนำเอาวงจรสเตียริ่ง (STEERING) สัญญาณ เพื่อความชัดเจนของเซ็นเตอร์ให้ดีกว่าที่เคยเป็นมา

ระบบ DOLBY PRO LOGIC ได้รับความนิยมสูงสุดในระบบเสียงรอบทิศทาง ที่ดอลบี้ผลิตสู่ท้องตลาด
AC - 1 นี่คือระบบเสียงแบบดิจิตอลของดอลบี้อันดับแรก เมื่อปี 1984 เป็นการเข้ารหัส และถอดรหัสทางดิจิตอล ออดิโอ เพื่อใช้งานกับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม หรือระบบแซทเทิลไล้ท์ ซึ่งยังมีการส่งผ่านสัญญาณในระดับบิตเรท ที่ไม่สูงมากนัก เหมาะกับการส่ง เอฟ เอ็ม สเตอริโอ หรือ งานแพร่ภาพของระบบเคเบิลทีวีผ่านดาวเทียม
AC - 2 เป็นการเข้ารหัสด้วยบิตเรทต่ำๆ ในทางเทคนิคมีความสลับซับซ้อนของการจัดช่วงเวลา เพื่อคุณภาพเสียงที่ดี โดยไม่จำเป็ฯต้องใช้ค่าบิตเรทสูงมากนัก ทำงานด้วยความถี่ หรือหลายช่วงความถี่ (BAND) ระบบอำพรางเสียง (MASKING) ซึ่งทำให้ลดรูปของการเช้ารหัสสัญญาณได้มากถึงกว่า 80 % ยังคงใช้สำหรับงานแพร่สัญญาณ เสียงดิจิตอล เอฟ เอ็ม และระบบแซทเทิลไล้ท์เช่นเดิม

AC - 3 (DOLBY DIGITAL) เป็นการหยิบยกเอาชื่อ AC - 3 มาใช้ชั่วคราว เนื่องจากเป็นระบบเสียง ดิจิตอล 5.1 ช่องเสียง ซึ่งเคยใช้ในโรงภาพยนตร์ ถูกดัดแปลงมาใช้กับระบบเสียงโฮมเธียเตอร์ ต่อมาจึงได้ชื่อ AC - 3 ให้ไปใช้ในเจเนอร์เรชั่นของ AC DECODING เหมือนเดิม

การทำงานของระบบ DOLBY DIGITAL คือการบันทึกเสียงต้นฉบับ ด้ยสัญญาณเสียงแยกอิสระ 5.1 ช่องเสียง ได้แก่ แชนแนลซ้าย - กลาง - ขวา, เซอร์ราวนด์ซ้าย - ขวา อิสระไม่มีส่วนผูกพันกัน สามารถเชื่อมโยง ส่งผ่านการ "โยนเสียง" ข้ามแชนแนลได้ชัดเจนที่สุด ไม่คลุมเครือเหมือนระบบอนาล็อก แถมยังมีช่องความถี่ต่ำ - 1 แชนแนล เข้ามาเสริมอีกต่างหาก กระบวนการทำงานเข้ารหัส จะมีการลดรูปข้อมูลดิจิตอลในระดับ 12:1 เพื่อคอมเพรสลงไปในร่องเสียงระหว่างรูหนามเตย ขนาดเนื้อที่ .1x .1นิ้ว ด้วยอัตราส่งผ่านสัญญาณ 320 กิโลบิตต่อวินาที ระบบของโรงภาพยนตร์ ได้ถูกนำมาใช้กับโฮมเธียเตอร์ด้วย โดยการบันทึกสัญญาณ DOLBY DIGITAL ลงในแผ่นเลเซอร์ดิสก์ ดีวีดีซอฟท์แวร์ เป็นการเปลี่ยนครั้งสำคัญ ของวงการเสียงรอบทิศทาง จากอนาล็อก มาสู่ดิจิตอล
ในปัจจุบันระบบ DOLBY DIGITAL ได้ใช้ชื่อนี้เป็นทางการ ทดแทน AC - 3 ที่เคยยืมมาใช้งานชั่วคราว มีการนำเอาวิธีการบันทึกเสียงแบบ DOLBY DIGITAL ไปพัฒนาใช้งานในระบบการแพร่ภาพโทรทัศน์ชนิด HDTV (HIGH DEFINITION TELEVISION) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงปี 1998 แล้ว
DOLBY - E คือการปรับเอาระบบ DOLBY DIGITAL มาใช้งานกับการแพร่ภาพ และเสียงของดิจิตอลทีวี เริ่มมีการแนะนำตัวเมื่อช่วงฤดูร้อนปี 1999 ที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาระบบเสียงที่นับว่าก้าวหน้าที่สุด ระบบ DOLBY -E ต้องการพื้นที่การบันทึกเพียงแต่เทปดิจิตอล 2 แทร็กธรรมดาในวีดีโอเทป มันจะทำการบีบอัดสัญญาณมัลติแชนแนล ลงไปได้อย่างครบถ้วน
ตามปกติระบบเสียง DOLBY DIGITAL ที่ใช้ในภาพยนตร์ DVD หรือ LD นั้น ไม่เหมาะต่อการส่งผ่านสัญญาณ จากสถานีไปยังบ้านเรือน เนื่องจากตัวของมันเองมีการลดรูปข้อมูล และถอดรหัสที่ปลายทางเครื่องรับ การตัดต่อ และการส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ ไม่สามารถนำเอาระบบเสียงดอลบี้แต่เดิมมาใช้งานแบบเพียวๆ ได้ จึงต้องนำมาดัดแปลงเป็น DOLBY - E
DOLBY - E จะมีดาต้าบิตเรทที่สูงกว่า สามารถเอ็นโค๊ด หรือเข้ารหัสสัญญาณได้ 10 ครั้งต่อหนึ่งคลื่น หรือภาษาเทคนิค เรียกว่า เอ็นโค๊ดแบบ TANDEM ได้ 10ครั้งต่อหนึ่งไซเคิล ข้อดีของ DOLBY - E ก็คือ สามารถนำมาตัดต่อได้ ไม่ทำให้สูญเสียข้อมูลอื่นๆ ที่ส่งแพร่ภาพพร้อมๆ กัน
ระบบ DOLBY - E กำลังถูกทดลองใช้งานในการส่งสัญญาณ DTV ที่อเมริกา การบันทึกตัดต่อมาสเตอร์ในสติวดิโอ ด้วยเทปวีดีโอโปรเฟสชั่นแนล ก่อนส่งแพร่สัญญาณไปยังบ้านเรือน ซึ่งก็สะดวกต่อการที่ปลายทางจะถอดรหัสเสียงแบบ STEREO หรือ 5.1 แชนแนลได้ทั้งสองประการ

ทั้งหมดคือการพัฒนาการระบบเสียงของบริษัทดอลบี้ ซึ่งมีกระบวนการผลิต และการออกแบบมาตั้งแต่ปี 1965 แต่ทางวิศวกรของ
ดอลบี้ มิได้หยุดยั้งลงแค่ระบบเสียงที่เราเรียนรู้ พวกเขายังมีการออกแบบระบบเสียงแบบใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ที่กำลังได้รับความสนใจมาก คือ ระบบเสียงรอบทิศทางจากหูฟังของ DOLBY โดยทำการสาธิต ทั้งในงานแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเสียง AUDIO EXPO ที่ประเทศญี่ปุ่น และในงาน CES ที่ลาสเวกัส โดยใช้เครื่องเล่น DVD - AUDIO ของ TECHNICS รุ่น DVD - A10
กล่องอีเล็คทรอนิกส์ของ DOLBY จะทำการสร้างสัญญาณเสียงรอบทิศทางแบบเทียมๆ คือ VIRTUAL SURROUND ที่มีเสียงชัดเจนเทียบเท่ากับ DOLBY DIGITAL 5.1 โดยผู้ฟังใช้เพียงหูฟังที่มีคุณภาพ ระบบเสียง DOLBY HEADPHONE จะทำการสร้างสัญญาณตันฉบับ ให้กลับคืนมาในรูปของเสียงรอบทิศ โดยที่คุณไม่ต้องใช้ ลำโพงถึง 5 ตู้เหมือนก่อน ใช้เพียงหูฟังสเตอริโออันเดียวเท่านั้น คาดว่าระบบหูฟังเสียงรอบทิศของ DOLBY คงจะได้รับการตอบรับจากนักเล่น โฮมเธียเตอร์เป็นอย่างดี เนื่องจากคุณภาพใกล้เคียงกับการแยกแชนแนลอิสระของ DOLBY DIGITAL มาก

DOLBY SURROUND EX ซึ่งเป็นระบบการร่วมมือคิดค้นกับทาง LUCUS FILM เพื่อกำเนิดร่องเสียงเซ็นเตอร์ เซอร์ราวนด์ด้านหลัง ในภาพยนตร์เรื่อง STAR WARS เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ดอลบี้ กล่าวว่า มันไม่ใช่ 6.1 แชนแนล อย่างที่ใครๆ เข้าใจ ระบบดอลบี้เซอร์ราวนด์ อี เอ็กซ์ แค่นำเอาวิธีการของแมททริกซ์ของระบบเสียง DOLBY PRO LOGIC มาใช้กับแชนแนลหลังของระบบเสียง DOLBY DIGITAL เท่านั้นเอง จึงยังคงเป็นระบบเสียง 5.1 แชนแนลเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มลำโพงเซอร์ราวนด์ "กลาง" ขั้นมาอีกหนึ่งช่องเสียง สำหรับตามบ้านแล้ว ระบบนี้อาจไม่จำเป็นนัก ถ้าห้องชมภาพยนตร์โฮมเธียเตอร์ของคุณ มิได้กว้างขวางเกิน 8 - 9 เมตร
DOLBY LABORATORIES จะยังคงก้าวหน้าต่อไปในการผลิตคิดค้น ระบบเสียงแบบใหม่ๆ ในโลกดิจิตอล ออดิโอ แค่รับเงินค่าใบอนุญาตใช้ระบบเสียงดอลบี้ หรือขายไลเซ่นต์ ก็รวยไปหลายชาติ ไม่รู้จบแล้วละครับ..

http://www.wijitboonchoo.com/techcorner/index.php?subaction=showfull&id=1052290252&archive=&cnshow=news&start_from=


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!