ปวดหลัง ไม่รู้ใครเคยลงไว้รึยัง
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 29, 2024, 03:44:00 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปวดหลัง ไม่รู้ใครเคยลงไว้รึยัง  (อ่าน 2669 ครั้ง)
ถาวร-LSVteam
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน955
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7987



อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2007, 12:02:30 PM »

ปวดหลัง : ภัยเงียบของคนทำงาน
นายแพทย์ธวัช ปราสาทฤทธา


          ปวดหลังเป็นอาการไม่ใช่โรคโดยสำนักงานกองทุนแงินทดแทน พบได้บ่อยมาก และผู้ป่วยประมาณร้อยละ 80-90 มักจะหายได้เองในระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ กลุ่มคนที่พบว่ามีอาการปวดหลังได้บ่อยคือ กลุ่มคนทำงาน และคนสูงอายุโดยแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันถึงต้นเหตุของอาการปวดหลังได้ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้นที่อาจมีสาเหตุที่ยืนยันได้ เช่น ความพิการแต่กำเนิด การติดเชื้อ โรคมะเร็ง การบาดเจ็บ และโรคที่มีความผิดปกติในระบบเมตาบอลิซั่มของร่างกาย

          ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการยืนยันสาเหตุของการปวดหลัง คือ แพทย์ผู้ตรวจรักษายังขาดความเข้าใจถึงลักษณะงานและกลไกการเกิดอาการปวดหลังจากการทำงาน ผลที่ตามมาคือ การให้การรักษาพยาบาลที่เกินความจำเป็น เช่น การให้ยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด เป็นต้น

          อาการสำคัญที่บ่งชี้ความรุนแรงของการปวดหลัง เช่น ปวดหลังรุนแรง ปวดหลังร้าวลงขา ปวดหลังรุนแรงร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการชาของขาและเท้า ระบบขับถ่าย ปัสสาวะ อุจจาระผิดปกติ เป็นต้น

          ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้แก่

          1. ลักษณะงาน เป็นงานหนัก งานที่ก่อให้เกิดการผิดท่าทาง การบิดหมุนเอว การสั่นสะเทือนในอาชีพ ขับรถ ขุดเจาะ ยกของหนักเกินกำลัง นอกจากนี้ลักษณะงานบางอย่างก็ทำให้เกิดการปวดหลังได้ คือ ลักษณะงานที่ไม่ตื่นเต้น ไม่เกิดการเรียนรู้ และไม่ได้ฝึกฝนทักษะ

          2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและสังคมอุปนิสัยส่วนตัว อาจทำให้เกิดการปวดหลังได้ เช่น การเป็นคนวิตกกังวล ซึมเศร้า เก็บกดคิดในทางลบเสมอ ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ไม่ช่วยเหลือผู้อื่น เห็นแก่ตัว อารมณ์ร้อน ไม่เข้าสังคม ความไม่พึงพอใจในงานที่ทำ

          3. บุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด หรือสารกระตุ้น

          4. ในคนสูงอายุ การเสื่อมในโครงสร้างของกระดูกสันหลังตั้งแต่กล้ามเนื้อ เอ็นยึดกระดูกพรุนหมอนกระดูกสันหลังเสื่อมและกระดูกงอกหนา เหล่านี้เป็นต้นเหตุ ของอาการปวด แต่ยืนยันถึงตำแหน่งที่แน่ชัดของอาการปวดได้ไม่ชัดเจน

          สำหรับการวินิจฉัยการปวดหลังนั้นมีองค์ประกอบ ดังนี้

          1.การซักประวัติ

          *อาการสำคัญของอาการปวดหลัง : ความรุนแรง ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปวด ลักษณะการปวด โดยต้องแยกโรคหรือหาสาเหตุของอาการปวดหลังจากอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น หลอดเลือดใหญ่ในช่องท้อง กระเพาะอาหาร โรคไต โรคมะเร็ง โรคทางนารีเวช

          *ประวัติการบาดเจ็บที่รุนแรง (กระดูกหัก , ติดเชื้อ) อาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารน้ำหนักลด ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันต่ำหรือบกพร่อง การฉายแสงรักษามะเร็งได้รับยาเคมีบำบัด

          2.การตรวจร่างกาย

         *ตรวจร่างกายทั่วไปและเฉพาะ

          3.การตรวจภาพรังสี

          *ภาพถ่ายรังสีธรรมดา

          4.การตรวจเลือด

          *เพื่อแยกโรคเลือด เบาหวาน ไขมัน ไต ตับ เอดส์ ฯลฯ

          การตรวจพิเศษ (การฉีดสีเข้าไขสันหลังสแกนกระดูก ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบซีทีสแกน หรือ MRI) การวินิจฉัยโรคมีราคาแพงและอาจไม่ยืนยันถึงต้นเหตุที่แท้จริงของอาการปวดได้

          การรักษาเริ่มต้นด้วยการรักษาแบบอนุรักษ์ ตั้งแต่การนอนพัก การให้ยา การบริหารกล้ามเนื้อหลัง การปรับเปลี่ยนท่าทาง การเปลี่ยนงาน เป็นต้น การรักษาด้วยการดึงหลังถ่วงหลัง การใช้เครื่องมือให้ความร้อนลึก อาจจะได้ผลดีในบางรายเท่านั้น

          ทางเลือกสำหรับการผ่าตัดคือ

          1.เมื่อการรักษาแบบอนุรักษล้มเหลว
          2.เมื่อมีข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดหรือทราบต้นเหตุที่ชัดเจนของอาการปวด สิ่งที่แพทย์ผ่าตัดทำได้เพื่อลดอาการปวด คือ

          1.การขจัดเอาสิ่งแปลกปลอมหรือเคลื่อนผิดที่ของเนื้อเยื่อต่างๆ ที่กดทับเส้นประสาท

          2. การเปิดโพรงกระดูกให้กว้าง

          3.การเชื่อมยึดข้อกระดูกสันหลัง แพทย์ไม่สามารถลดการเสื่อมของโครงสร้างกระดูสันหลังได้ การผ่าตัดรักษาที่ผิดพลาดหรือไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนสำหรับการผ่าตัด อาจทำให้อาการปวดหลังเรื้อรังได้ การป้องกันอาการปวดหลัง

          ก.การป้องกันก่อนที่จะเกิดอาการปวดหลัง
          เป็นการป้องแบบปฐมภูมิ (Primary prevention)
          ปัญหาสำคัญของการป้องกัน

          1. ในคนส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหลังมักไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง

          2. ยังไม่พบหลักฐานที่จะยืนยันถึงสาเหตุของอาการปวดหลังที่เกิดจากการบาดเจ็บสะสม หรือจากงานหนักที่ทำในแต่ละวัน

          3. มีปัจจัยด้านจิตใจ ด้านสังคมการชดเชยและสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง

          4. คนที่ปวดหลังสามารถทำงานได้แต่บางคนอาจไม่ยอมทำงานเพราะยังได้เงินเดือน

          วิธีการป้องกันประกอบด้วย

          1. การลดปัจจัยเสี่ยง

          2. ลดความเสี่ยงการเกิดอาการขณะทำงาน การผิดท่าผิดทาง

          3. สร้างภูมิสำหรับการทำงาน เพื่อให้คนทำงานมีความรู้และแนวคิดที่ถูกต้องต่ออาการปวดหลัง

          4. สุขภาพทั้งทางกายและจิตใจที่เข้มแข็ง

          ข. การป้องกันเมื่อเกิดอาการปวดหลังแล้วเป็น
          การป้องกันแบบทุติยภูมิ (Secondary prevention)
          ปัญหาสำคัญของการป้องกัน

          1. ยังไม่สามารถคัดกรองคนทำงานที่อาจเสี่ยงต่อการปวดหลังเรื้อรัง

          2. ยังไม่มีตัวบ่งชี้ที่บ่งบอกถึงการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง

          3. ปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบเป็นสิ่งที่จะปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ยาก เช่น อายุ สภาพจิตใจ ปวดหลังที่เคยเกิดในอดีต ฯลฯ

          4. ปวดหลังพบได้ง่าย ส่วนใหญ่มักจะไม่รุนแรง คนที่เคยมีอาการปวดหลังมักจะไม่ตระหนักถึงการป้องกัน เพื่อมิให้เกิดอาการปวดหลังอีก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ แม้รู้ว่าบุหรี่ไม่ดี มีการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่แต่ก็ยังคงมีคนสูบบุหรี่ บุหรี่ยังคงขายดี

          วิธีป้องกันประกอบด้วย

          1. เมื่อเกิดอาการปวดหลังจากการทำงานแบบเฉียบพลันถึง 4 สัปดาห์ อาการปวดหลังมักหายเอง คนงานไปพบแพทย์ทั่วไปเพื่อสั่งการรักษา โดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

          2. อาการปวดหลังที่เกิดระหว่าง 4 สัปดาห์ การรักษาที่สำคัญคือ การบริหารกล้ามเนื้อ การปรับเปลี่ยนท่าทางขณะทำงานการให้คำแนะนำที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจว่าอาการปวดหลังที่เป็นอยู่ไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปทำงาน

          3. อาการปวดหลังที่เกิด 3 เดือนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนท่าทางทำงานหรือลักษณะงานที่ทำประจำหรือสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสม มีการสื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้คนงานกลับเข้าทำงาน คนงานควรได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ในระดับหนึ่ง เพื่อกรองโรคต่างๆ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลังและควรมีมาตรฐานแนวทางการรักษาอาการปวดหลังที่เกิดจากงาน เจ้าของโรงงานหรือเจ้าของกิจการควรให้ความสนใจใน

          1. การปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานหรือจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสม
          2. ส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของคนงานให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด
          3. การเน้นจริยธรรมของผู้ประกอบการ มิให้เน้นผลกำไรเพียงประการเดียว แต่ควรเน้นสุขภาพแบบองค์รวมของคนงานด้วย โดยเฉพาะคนงานที่ปวดหลังจากการบาดเจ็บจากการทำงาน ควรมีมาตรการเหมาะสมไว้รองรับ
          4. การคัดกรองคนทำงาน


--------------------------------------------------------------------------------


เอกสารอ้างอิง นายแพทย์ธวัช ปราสาทฤทธา สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิศสิน
ที่มา : สารสัมพันธ์ประกันสังคม ปีที่ 7 ฉบับที่ 36 ตุลาคม - ธันวาคม 2544


บันทึกการเข้า

ยังสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยไมพอกันอีกหรือ 
 ผู้ใดคิดร้ายให้ร้ายพระองค์ มันจงพินาจฉิบหายในเวลาอันใกล้

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!