นักวิทยาศาสตร์สวีเดนรีไซเคิลลิเธียมแบตเตอรี่ได้แล้ว ขจัดสารเคมีอันตรายได้ถึง 98%
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 28, 2024, 08:56:09 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิทยาศาสตร์สวีเดนรีไซเคิลลิเธียมแบตเตอรี่ได้แล้ว ขจัดสารเคมีอันตรายได้ถึง 98%  (อ่าน 650 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18656


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 26, 2023, 09:22:12 AM »

www.thaimotocar.com/2023/10/26/recycle-lithium-batteries/
นักวิทยาศาสตร์สวีเดน รีไซเคิลลิเธียมแบตเตอรี่ได้แล้ว ขจัดสารเคมีอันตรายได้ถึง 98%
#นักวิทยาศาสตร์  #สวีเดน   #รีไซเคิล  #ลิเธียม  #แบตเตอรี่  #ev
------------


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีชาลเมอร์ส (Chalmers University of Technology) ประเทศสวีเดน คิดเทคนิคเพื่อรีไซเคิลโลหะมีค่าจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยวิธีการโลหวิทยาการละลาย (Hydrometallurgy) เทคนิคใหม่นี้ช่วยให้สามารถนำอะลูมิเนียมจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ากลับมาใช้ใหม่ได้ 100% และลิเทียม 98% ในขณะเดียวกันก็ลดการสูญเสียนิกเกิล โคบอลต์ และแมงกานีสด้วย..

ทั้งนี้กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีราคาแพงหรือเป็นอันตราย เพราะนักวิจัยใช้กรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ที่พบได้ในพืช เช่น ผักโขม จากนั้นนักวิจัยได้ปรับแต่งกระบวนรีไซเคิลทั้งการปรับอุณหภูมิ ความเข้มข้นของกรด และระยะเวลาระหว่างกระบวนการ

..โลหะทั้งหมดในเซลล์แบตเตอรี่ไฟฟ้าจะถูกละลายในกรดอนินทรีย์ อะลูมิเนียมหรือทองแดงจะถูกละลายทิ้งไปเลย แล้วแยกเอาโลหะอย่างโคบอลต์ นิกเกิล แมงกานีส และลิเทียมออกมา อย่างไรก็ตาม โลหะดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์อีกหลายขั้นตอน เนื่องจากยังหลงเหลือเศษของอะลูมิเนียมและทองแดงอยู่ ซึ่งส่งผลทำให้ปริมาณของลิเทียมลดลง..

แต่ด้วยวิธีการใหม่นี้ จะเรียงลำดับการดำเนินการใหม่ โดยนักวิจัยจะละลายลิเทียมและอะลูมิเนียมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ก่อน ขั้นตอนก็คือนักวิจัยจะนำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามาบดเป็นผงสีดำแล้วใส่ไว้ในตู้ดูดควัน จากนั้นนำผงสีดำนี้ไปแช่ในกรดออกซาลิก อะลูมิเนียมและลิเทียมจะละลายในกรดออกซาลิก ในขณะที่โลหะอื่น ๆ จะเหลือเป็นของแข็ง ซึ่งหนึ่งในทีมวิจัยก็บอกว่า โลหะแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอยู่แล้ว จึงคิดว่าไม่ใช่เรื่องยากที่จะแยกมันออกจากกันได้

สำหรับลิเทียม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาทำแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพื่อใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งมีบทบาทอย่างมากในโลกปัจจุบัน ดังนั้นหากสามารถรีไซเคิลลิเทียมกลับมาใช้ใหม่ได้ มันก็จะมีประโยชน์ทั้งในเรื่องลดต้นทุน และส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรอีกด้วย.


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!