“ซีเซียม-137” ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าสุดอันตราย เพียงครึ่งช้อนกาแฟ สัมผัสจะป่วยหนัก
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 19, 2024, 02:08:38 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ซีเซียม-137” ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าสุดอันตราย เพียงครึ่งช้อนกาแฟ สัมผัสจะป่วยหนัก  (อ่าน 1151 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18600


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 20, 2023, 09:37:03 AM »

https://www.pohchae.com/2023/03/20/caesium-137/
“ซีเซียม-137” ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าสุดอันตราย แค่ครึ่งช้อนกาแฟ สัมผัสจะป่วยหนัก เป็นมะเร็ง
#ซีเซียม137  #หายไปจากโรงไฟฟ้า   #สุดอันตราย #สัมผัสจะป่วยหนัก #มะเร็ง
-------


เลขาธิการปส.เชื่อคนหิ้วท่อบรรจุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” หายออกไปจากโรงไฟฟ้า อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ปูพรมร้านขายของเก่า-โรงหลอมเหล็ก เตือนสุดอันตราย..

กรณีท่อบรรจุสารซีเซียม-137 จากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำที่ จ.ปราจีนบุรี หายปริศนา และมีข้อกังวลว่าจะถูกนำไปกำจัดไม่ถูกวิธี มีผลกระทบต่อสุขภาพ และปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม

..14 มี.ค.2566 เวลา 15.00 น. นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และผู้แทนจากโรงไฟฟ้า ร่วมแถลงข้อมูลกรณีวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 หายออกไปจากโรงไฟฟ้า อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี

นายณรงค์ กล่าวว่า หลังจากทราบว่าท่อบรรจุสารซีเซียม-137 วัสดุกัมมันตรังสี หายไป แจ้งประชาสัมพันธ์ชาวบ้าน และร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ให้ช่วยสังเกตและตรวจสอบท่อเหล็กดังกล่าวให้แจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที

ส่วนนายกิตติพันธ์ จิตต์เป็นธรรม ผู้แทนบริษัทเนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 A จำกัด ระบุว่า สารซีเซียม-137 วัสดุกัมมันตรังสี ติดตั้ง 14 ชิ้น ห่อหุ้มด้วยท่อเหล็กกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม ใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับของขี้เถ้าในไซโลของโรงไฟฟ้า ติดตั้งใช้งานเมื่อปี 2538

    “..ที่รู้ว่าหายไปเพราะวันที่ 10 มี.ค.นี้ ตามตารางต้องตรวจสอบดูว่ามีระดับรังสี จึงพบว่าหายจากตำแหน่งไป และเริ่มหาในพื้นที่ใกล้เคียง ยืนยันในโรงงานมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด แต่ไม่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ บุคลภายนอกเข้าไปแต่ต้องมีบัตร ไม่แน่ใจชัดเจน ..”

นอกจากนี้ บริษัทฯ เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สภ.ศรีมหาโพธิ โดยห่วงว่าจะเป็นอันตรายถ้ามีผู้ไปสัมผัส เพราะถือเป็นสารอันตราย พร้อมตั้งรางวัลนำจับไว้ 50,000 บาท สำหรับผู้ชี้เบาะแสจนนำไปสู่การติดตามกลับคืนมา

ขณะนี้ได้ปูพรมในการค้นหา และติดตามอย่างต่อเนื่อง และจะขยายพื้นที่ออกไป แต่ในโรงงานได้มีการติดตามประสานและบุคลากรสอบสวนข้อเท็จจริงกับพนักงาน..

ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์เวอร์ชั่นใหม่ของพวกเราได้ที่ >  https://www.pohchae.com/2023/03/20/caesium-137/


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18600


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 21, 2023, 10:13:45 AM »

https://www.pohchae.com/2023/03/21/caesium-137-2/
เตือนหายนะ ซีเซียม137โดนหลอมเป็น“ฝุ่นแดง”ลอยไกลไปได้นับร้อยกิโลเมตร คนเสี่ยงมะเร็ง
#เตือนหายนะ   #ซีเซียม137 #หลอม #ฝุ่นแดง   #เสี่ยงมะเร็ง
---------------



บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18600


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มีนาคม 22, 2023, 08:43:07 AM »

https://www.pohchae.com/2023/03/22/caesium-137-3/
ใครโดน ซีเซียม137 จะเป็นอย่างไร? ไปหาหมอตอนไหน? แนะเฝ้าระวัง 5 ปี!
#ซีเซียม137  #ไปหาหมอ   #สุดอันตราย #สัมผัสจะป่วยหนัก #มะเร็ง
----------------


20 มีนาคม 66 กรมควบคุมโรค ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับ ซีเซียม-137 รวมทั้งเผยอาการที่พบเมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 รวมทั้ง ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัส โดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้..

ซีเซียม-137 คืออะไร

ซีเซียม-137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้า และแกมมา ใช้ในโรงงาน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์รักษามะเร็ง

อาการที่พบเมื่อสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137

– ไข้

– คลื่นไส้

– อาเจียน

– เบื่ออาหาร

– ถ่ายเหลว

– ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง

– ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้

ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัส ซีเซียม-137

– ลดการปนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าใส่ถุงปิดปากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่

– ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนด ให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี

– ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย

การป้องกันและการปฏิบัติตน

– หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสีหรือกล่องเหล็กต้องสงสัย

– ถ้าอยู่ในที่เกิดเหตุให้ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสียังหน่วยงานที่กำหนด

– รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่คาดว่าอาจมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนนำไปใช้

– ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

– ติดตามข้อมูลสถานการณ์การเกิดเหตุ และปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด

– อย่างไรก็ตาม ให้สังเกตอาการที่ควรพบแพทย์ ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายในหนึ่งสัปดาห์หลังโดนรังสี หรือมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137

ทั้งนี้ หากสงสัยมีอาการดังกล่าว ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี โทร 037-211626 ต่อ 102 และเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน พร้อมทั้งแจ้งประวัติสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137

ดร.สนธิ ชี้ ซีเซียม-137 หากปนเปื้อนอาจกระทบระยะยาว ต้องเฝ้าระวังอย่างน้อย 5 ปี

ขณะที่ สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat หัวข้อความจริงที่ต้องยอมรับเพื่อนำไปสู่การจัดการสำหรับ ซีเซียม-137 ที่ถูกหลอมไปแล้ว ระบุว่า..

1. ข้อมูลกรมโรงงานแท่งซีเซียม-137 ถูกหลอมกับเศษเหล็กแล้วที่โรงงานหลอมเหล็กใน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี แล้วได้นำฝุ่นแดง 12.4 ตันในโรงงานไปสู่กระบวน การรีไซเคิล ที่ จ.ระยอง ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2566

2. กระบวนการหลอมเหล็กในเตาหลอม จะนำเศษเหล็ก (ซึ่งกรณีนี้มีแท่งซีเซียม-137 มารวมด้วย) มาอัดกันเป็นก้อนแล้วเทเข้าสู่เตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,200 องศาฯ ขณะที่เพิ่มความร้อนจะมีฝุ่นเหล็กละเอียดออกมาลอยผ่าน Hood ขึ้นไปสู่ถุงกรองฝุ่นหรือ Baghouse filter ซึ่งจะทำการกรองฝุ่นละเอียดไว้ได้ถึง 90% อีก 10% จะลอยออกไปที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศ ขณะที่ก้นเตาหลอมจะมีตะกรันเหล็กหรือ Slag ที่เผาไหม้ไม่หมดกองอยู่ด้วย

3. ดังนั้นที่ปลายปล่องมีฝุ่นละเอียดกับซีเซียม-137 ระบายออกไปสู่บรรยากาศรอบ ๆ โรงงานหลอมเหล็กซึ่งอาจไปไกลมากกว่า 5 กิโลเมตร ส่วนฝุ่นแดงกับซีเซียม-137 ในถุงกรองหรือ Baghouse filter จะถูกบรรจุในถุงขนาดใหญ่นำไปรีไซเคิลยังโรงงานใน จ.ระยอง เพื่อสกัดธาตุสังกะสีออกมา ซึ่งการสกัดต้องใช้การถลุงที่ใช้ความร้อนสูงจึงอาจมีซีเซียม-137 ปนเปื้อนออกมาที่ปลายปล่องสู่บรรยากาศรอบ ๆ โรงงานนั้นใน จ.ระยองด้วย ส่วนตะกรันเหล็กหรือ Slag ทราบว่าโรงงานหลอมเอาไปฝังกลบไว้รอบ ๆ โรงงาน ดังนั้นจึงอาจมีสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนในดิน น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินได้

4. สิ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตหากสารซีเซียม-137 ปะปนในสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ ดินและอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศวิทยา เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทั้ง การหายใจและทางอาหาร เช่น ซีเซียม-137 ลงในน้ำเข้าสู่ตัวปลาและมนุษย์จับปลามากิน เป็นต้น ..

หรือหายใจเอาฝุ่นของซีเซียม-137 เข้าไปจะสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งสารซีเซียม-137 จะปล่อยรังสีแกมมาและเบตาออกมา การสลายตัวครึ่งชีวิตใช้เวลาถึง 30 ปี รังสีที่แผ่ออกมาจากฝุ่นซีเซียม-137 จะทำให้เซลล์ในร่างกายเกิด กลายพันธุ์ หรือกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ บางส่วนของรังสีจะไปกระตุ้นโครโมโซมในยีนส์ให้เปลี่ยนรูป สุดท้ายประมาณ 5-10 ปี ก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้

5. ผลกระทบต่อสุขภาพในปัจจุบันอาจไม่ค่อยเห็น แต่ระยะยาวหากรับสารนี้เข้าไปไม่ว่าทางการหายใจหรือการกินมีผลกระทบแน่ ดังนั้นภาครัฐต้องเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชนรวมทั้งในสิ่งแวดล้อมและในอาหารสัตว์น้ำ พืช ผัก ผลไม้ที่ปลูกใกล้เคียงโรงงานอย่างน้อย 1-2 ปี ให้แน่ใจว่าไม่มีสารซีเซียม-137 ตกค้างในห่วงโซ่อาหารแล้วจึงค่อยวางมือ ขณะเดียวกันภาครัฐฯต้องบอกความจริงเกี่ยวกับผลของการตรวจวัดรังสีและผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบ รวมทั้งเฝ้าระวังสุขภาวะประชาชนกลุ่มเสี่ยงในรัศมี 5 กิโลเมตรอย่างน้อย 5 ปีด้วย

ติดตามคลิปภาพและเนื้อหาทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์เวอร์ชั่นใหม่ของพวกเราได้ที่ >  https://www.pohchae.com/2023/03/22/caesium-137-3/
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13176


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มีนาคม 22, 2023, 08:48:36 AM »

ซีเซียม 137 คืออะไร มีอันตรายอย่างไร?

ภายหลังจากที่ ท่อเก็บสารกัมมันตรังสี
“ซีเซียม-137” (Sesium-137) หายไป
จากโรงงานไฟฟ้าพลังงานไอน้ำแห่งหนึ่งใน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
และยังค้นหาไม่พบ ( ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่หายไป )
(พบแล้วในโรงหลอม 22/3/2566)
อาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสี
ที่อาจรั่วไหลหากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน
ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับด้วย
แล้วสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 คืออะไร มีอันตรายอย่างไร
ส่งผลให้เกิดโรคภัยอะไรได้บ้าง

ซีเซียม-137 คืออะไร

ซีเซียม 137 คือ สารไอโซโทปของซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี
ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต 30 ปี
สลายโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา
เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเครียสและซีเซียม 137
ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต้องได้รับสารปนเปื้อน
เมื่อได้รับเข้าไปจะกระจายไปทั่ว ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับ และไขกระดูก

ประโยชน์จากซีเซียม

ส่วนใหญ่ ซีเซียม 137 จะถูกใช้ในงานหรือเครื่องมือเฉพาะ
แต่ปริมาณรวมของการใช้ไม่มากนัก
มีการใช้ในทางการแพทย์ มาตรวัดกระแสน้ำในท่อโรงงานอุตสาหกรรม
และโรงงานนิวเคลียร์ ดังนี้( 395 โรงงาน/ในประเทศไทยใช้สารนี้)

    1. ใช้ในการผลิต photoelectric cell เพราะเป็นธาตุที่ถูกอิออไนซ์โดยแสงได้ง่าย
         (เปลี่ยนเป็นอิออนบวกโดยแสงได้อย่างง่ายดาย)
    2. ใช้ผลิต cesium vapor thermionic converter
    3. ใช้ในระบบการผลิตพลังงานและ magnetohyhrodynamic
    4. ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาไฮโดรพิเนชันและเชื้อเพลิงจรวด
    5. ซิเซียมไฮดรอกไซด์ (CsOH) ใช้เป็นอิเลกโตรไลต์
        ของเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบด่าง (alkaline stronge batteries)
    6. ซีเซียมคาร์บอเนต (Cs2CO3) ใช้ทำแก้วที่ใช้งานเฉพาะ

อันตรายจากซีเซียม

สารซีเซียม-137 เป็นกัมมันตภาพรังสี (radioactivity)
หากสัมผัสในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจจะไม่มีผลต่อร่างกายที่ชัดเจน
แต่หากสัมผัสในระยะเวลานานและปริมาณสูงขึ้น
 จะเริ่มมีผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย
หากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน
อาจเกิดพังผืดที่ปอด เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
เกิดต้อกระจกขึ้นในนัยน์ตา ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับ
ปริมาณรังสีที่ได้รับ

โดยมีคุณสมบัติดังนี้

    • สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (cesium hydroxide)
       ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ
    • มีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium)
       และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย
       ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก
    • ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย
       ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue)
       ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม
       ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

การควบคุมดูแลซีเซียม-137 ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมพอ
อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของรังสีไอโซโทปและ
เกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ ซึ่งซีเซียมที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา
จะถูกเก็บอยู่ในภาชนะโลหะ
อาจจะถูกทิ้งปะปนไปกับโลหะเก่าและถูกนำไปหลอม
ทำให้เกิดโลหะผสมที่มีกัมมันตภาพรังสี

นอกจากนี้ หากปนเปื้อนลงไปในน้ำ
จะส่งผลให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์
ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการรับและการสะสม
หากสัตว์รับสารรังสีเข้าไปจะเพิ่มความเข้มข้นสะสมในห่วงโซ่อาหาร
แต่ยังไม่มีผลยืนยันที่ชัดเจนว่าจะถึงขั้นเปลี่ยนระบบนิเวศน์ใต้ทะเลได้

อุบัติเหตุจาก ซีเซียม-137 เคยเกิดที่ไหนบ้าง

    1. อุบัติเหตุที่ Goiania accident ที่มีการทิ้งสารกัมมันตรังสี
จากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ประเทศบราซิล
ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ
เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
และเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนหลายคน

    2. อุบัติเหตุที่ Acer inox accident ในปี 1988
เมื่อบริษัท Acer inox ซึ่งดำเนินกิจการแปรรูปของเก่า (recycling company ) ของสเปน
ได้เกิดอุบัติเหตุโดยทำการหลอมซีเซียม-137 จากต้นกำเนิดรังสีแกมมา

    3. ในปี 2009 บริษัทซีเมนต์ของประเทศจีน ในจังหวัด Shaanxi
ได้รื้อโรงงานผลิตซีเมนต์เก่าที่เลิกใช้แล้ว
โดยไม่ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานกับสารรังสี
ทำให้ซีเซียม-137 บางส่วนที่ใช้ในเครื่องมือตรวจวัดซีเมนต์
ถูกส่งไปหลอมรวมไปกับโลหะที่ไม่ใช้แล้ว 8 คันรถที่โรงงานหลอมเหล็ก

สงสัยว่าเจอ “ซีเซียม-137” ทำอย่างไร

ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ให้คำแนะนำว่า วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย
 มีลักษณะเป็นแท่งทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว
มีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นในและห่อหุ้มด้วยเหล็ก
หากยังอยู่ในสภาพเดิมจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
และจากการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า
วัตถุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย
ได้หลุดออกจากเครื่องกำบัง จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
ของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 ดังนั้นหากเจอวัตถุต้องสงสัย โดยเฉพาะชนิดที่เป็นโลหะ
มีสัญลักษณ์รูปใบพัด มีคำเตือนภาษาอังกฤษ Dangerous หรือคำว่า Radio Active และอื่นๆ
ขอให้อยู่ให้ห่างและแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ
ทั้งนี้หากบังเอิญว่ามีการสัมผัสโดยไม่รู้ตัว ให้ถอดเสื้อผ้า ชำระร่างกาย
นำเสื้อผ้าชุดนั้นใส่ถุงมัดปากไว้ในที่ปลอดภัยห่างไกล
แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบปริมาณรังสีและเพื่อนำไปทำลายต่อไป

โค๊ด:
Cr: https://www.smk.co.th/newsdetail/3012
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1882
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13176


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 22, 2023, 09:22:00 AM »



สัญลักษณ์สารกัมมันตรังสี

ในประเทศไทย

รัฐออกใบอนุญาติให้มีสารซีเซียม-137 = 1,546  ใบ
873 หน่วยงานมี ซีเซียม-137 อยู่ในมือ
โรงงานอุตสาหกรรมมีใบอนุญาติ 694 ฉบับ
395 โรงงาน มีสาร ซีเซียม-137

ใน Australia ที่พบสารตัวนี้ ประเทศไทยมากกว่า 50 เท่า

Cr: ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย

น่าสะพรึง! หมอเผยถ้าซีเซียม-137 ถูกเผา ปลิวไกลถึงพันกิโลฯ แค่หายใจก็เสี่ยงมะเร็ง

 Wink
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!