มาถึงแล้ว! แผ่นโซล่าเซลล์แบบพิมพ์ ปริ้นท์ได้เหมือนหนังสือพิมพ์ ผลิตได้ราคาถูก
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
มีนาคม 19, 2024, 02:09:32 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มาถึงแล้ว! แผ่นโซล่าเซลล์แบบพิมพ์ ปริ้นท์ได้เหมือนหนังสือพิมพ์ ผลิตได้ราคาถูก  (อ่าน 2143 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18600


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2022, 10:56:15 AM »

https://www.eon49.com/2022/10/29/thin-sheet-of-solar-cells/
มาถึงแล้ว! แผ่นโซล่าเซลล์แบบพิมพ์ ปริ้นท์ได้เหมือนหนังสือพิมพ์ ผลิตได้ราคาถูก
#มาถึงแล้ว   #แผ่นโซล่าเซลล์แบบพิมพ์   #ปริ้นท์ได้เหมือนหนังสือพิมพ์   #ผลิตได้ราคาถูก
------------------

ปริ้นท์แผงโซลาร์เซลล์จากเครื่องพิมพ์ แผงบางเท่ากระดาษ ต้นทุนต่ำ 300บาท/ต.ร.ม.

[embed]https://www.pohchae.com/2022/07/13/pv-solarcell/[/embed] [embed]https://youtu.be/xmapntgCg0E[/embed] มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียสร้างแผงโซล่าเซลล์แบบบางเฉียบที่สามารถพิมพ์ได้เหมือนหนังสือพิมพ์ โดยแผ่นโซล่าเซลล์นี้มีความหนาเพียง 0.075 มิลลิเมตร เท่านั้น .. ใช้เทคโนโลยีโพลีเมอร์อินทรีย์ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์และเป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งแผงโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์แบบเดิมจะใช้ซิลิกอนและมีน้ำหนักถึง 15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในขณะที่โซล่าเซลล์แบบพิมพ์ใช้พอลิเมอร์อินทรีย์ทำให้สามารถพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ได้เหมือนกับที่ใช้ในการผลิตหนังสือพิมพ์และหนังสือจำนวนมาก .. นักพัฒนาคาดว่าจะสามารถพิมพ์ได้ประมาณ 100 ชิ้นต่อวัน และคาดว่าราคาแผงจะอยู่ที่ประมาณ 10 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) หรือประมาณ 300 บาทไทย (THB) ต่อตารางเมตร.. [embed]https://youtu.be/kXQKz7YwvyM[/embed] Paul Dastoor ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล กล่าวว่า “เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์แบบพิมพ์นี้สามารถนำมาใช้ได้กับงานที่หลากหลาย เพราะมีน้ำหนักเบา ทำให้พกพาสะดวก มันสามารถแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อไปจ่ายให้กับไฟถนน ปั๊มน้ำ ไฟแคมป์ปิ้ง ที่พักพิงสำหรับภัยพิบัติ การสร้างม่านบังตาอัจฉริยะสำหรับอาคาร หรือแม้กระทั่งการจ่ายไฟให้กับยานพาหนะ และสามารถติดตั้งได้โดยติดเทปกาว ซึ่งแผงโซล่าเซลล์ทำมาจากพลาสติก PET ซึ่งมีความแข็งน้อยกว่าแผงรุ่นก่อนหน้า ทำให้มันมีอายุการใช้งานเพียง 2 ปี จากรุ่นเดิมที่มีอายุการใช้งานที่ประมาณ 20 ปี ซึ่งในอนาคตเราก็มีแผนที่จะพัฒนากันต่อไป” ที่มา https://eon49.com/2022/10/29/thin-sheet-of-solar-cells/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!