คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อบจ.ปทุม ผมจะไม่ยอมให้จังหวัดปทุม มีน้ำท่วมเด็ดขาด
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"
เมษายน 19, 2024, 12:46:48 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อบจ.ปทุม ผมจะไม่ยอมให้จังหวัดปทุม มีน้ำท่วมเด็ดขาด  (อ่าน 1513 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13218


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 10, 2022, 08:56:28 AM »

‘นายกแจ๊ส’ ไม่ยอมให้ปทุมธานีเป็นแก้มลิง ทำงานไม่มีวันหยุด
เรียกกรมชลประชุมร่วมท้องถิ่นป้องกันน้ำท่วม

วันที่ 29 กรกฎาคม 2565
ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี
ได้เรียกประชุมด่วน เรื่องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทักภัย
โดยมีตัวแทนเจ้าหน้าที่โครงการชลประทานปทุมธานี รังสิตเหนือ รังสิตใต้
และพระยาบรรลือ รวมถึงนายก อบต.ในพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
และสจ.ทุกพื้นที่เข้าร่วมประชุม

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)
ได้คาดการณ์สานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา
พบว่าสภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ
และพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2565
เวลาประมาณ 19.00-22.00 น. เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง
ประกอบกับในพื้นที่ตอนมีฝนเพิ่มมากขึ้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้ออกหนังสือด่วน
ถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ผู้อำนวยการทุกอำเภอ
โครงการชลประทานและประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี
เพื่อเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น
อาจส่งผลพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ
ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2565
เป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ส่งผลให้ระดับน้ำ
ในเจ้าพระยาสูงขึ้นจากเดิมอีก 1.90-2.10 เมตร

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า
เนื่องจากท่านณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ได้มีหนังสือเตือนมาจำนวน 2 ฉบับ คือ
เรื่องอุทกภัยเกี่ยวกับมรสุมตั้งแต่วันที่ 25 และวันที่ 27
มีปริมาณน้ำสูงที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา
ผ่านบริเวณบางไทร และเมื่อวานจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเริ่มท่วม
ทำให้พี่น้องชาวปทุมธานีเริ่มตื่นตระหนก
ต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าอย่างสุงในวันนี้
ผมจึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแม้จะเป็นวันหยุด
เพื่อร่วมประชุมหารือโดยเน้นท่านนายก อบต.ที่อยู่พื้นที่
ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด กับ สจ.ทั้งหมด
ต้องขอบคุณท่านชุติมันต์ สกุลพราหมณ์

ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 ที่ท่านได้จัดทีมงานมา
ทั้งรังสิตเหนือ รังสิตใต้และพระยาบรรลือ

มาร่วมประชุมด้วย และตัวท่านก็มารับฟังด้วยตัวเองถึงปัญหา
ที่เราได้นำมา ปรึกษาหารือเนื่องจากชาวปทุมธานี
ตื่นตระหนกมากกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบปี 2554 หรือไม่
และปี 2564 ปริมานน้ำถึงจะเยอะแต่ปีนี้
ปริมาณน้ำจะมากกว่าแต่เป็นรอง54นิดหน่อย

ในส่วนของอุตสาหกรรมจริงอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี
เขามีการเตรียมการอย่างดีแล้ว เพื่อรองรับน้ำเรามีความมั่นใจว่าเขาเอาอยู่
รวมถึงนิคมนวนครที่เขามีการตื่นตัวพยายามที่จะป้องกันน้ำ
รวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่รังสิตเหนือมีหมู่บ้านจัดสรรหลาย1,000หมู่บ้าน
หากท่วมจะมีความเสียหายเยอะมาก

เรายอมไม่ได้ที่จะให้พื้นที่ต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นแก้มลิงรองรับน้ำอีกต่อไป

วันนี้จึงเรียกประชุม เพื่อรับฟังสภาพปัญหา
เอาบทเรียนจากปี 2554 บทเรียนจากปี 2564 เพื่อให้ นายก อบต.ประสาน
ทำงานร่วมกับชลประทานและ สจ. เพื่อตรวจสภาพประตูน้ำทั้งหมด
ที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ในความรับผิดชอบของทางชลประทาน
ให้ร่วมกันสำรวจประตูน้ำ ให้มีความเข้มแข็ง
และแข็งแรงพอที่จะป้องกันน้ำได้ มีความพร้อมที่จะรับน้ำ
เพราะปีที่แล้วพบว่ามีจุดอ่อนเยอะ ต้องไปแก้ไขฉุกเฉิน
แต่ปีนี้ยังมีเวลาที่จะต้องรีบดำเนินการ
สิ่งไหนที่ทางชลประทานทำได้ให้รีบทำ
สิ่งไหนทำไม่ได้ให้บอกมา เราจะทำ

นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาเราได้ทำการขุดลอกคูคลองทั้งหมด
ภายในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีแล้ว
โดยเฉพาะคลองทางอำเภอลาดหลุมแก้ว คลองไหว้พระ
คลองลากค้อน คลองชลประทาน
ซึ่งเป็นของที่รับน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อน้ำไหลผ่านมาก็สามารถผ่านไปได้เลยโดยที่ไม่ติดผักตบชวา
ไม่ติดวัคพืชต่าง ๆ ต่อมาเรามาทราบปัญหาอีกว่า
คลองแยกและคลองแอนต่างๆ เป็นจุดอ่อนที่น้ำไหลไม่สะดวก
จึงได้ประสานทางชลประทาน ซึ่งเขาก็รับจะมีการดำเนินการโดยเร็ว
ส่วนคลองไหนดำเนินการไม่ได้ ทาง อบจ.จะดำเนินการเพื่อ
ให้น้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีจะสามารถไหลผ่านไปได้
แต่เมื่อปีที่แล้วได้เกิดปัญหาการปล่อยน้ำที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์
เนื่องคลองประตูน้ำจุฬาลงกรณ์รีบผันน้ำให้ออกเจ้าพระยาให้เร็ว
แต่ก็ติดขัดประตูน้ำระบายนี่จะสูบออกไปยังเจ้าพระยา
ตรงนั้นมีเครื่องสูบน้ำของชลประทานจำนวน 20 เครื่อง
ตอนนี้ใช้ได้ 15 เครื่อง ส่วนประตูน้ำมีอยู่ 3 บาน
แต่สามารถเปิดขึ้นได้พียง 1 บาน อีก 2 บานเสียซึ่งเขามีแนวโน้มว่า
จะมีการสร้างประตูระบายน้ำแบบถาวร
จึงมีการหารือเพื่อไม่ให้น้ำไปขังอยู่พื้นที่อาศัย
เพื่อให้รีบระบายน้ำออกให้เร็ว เราก็ได้ประสานงานกัน
สิ่งไหนที่ชลประทานติดขัด ทาง อบจ.พร้อมเป็นแม่งาน
โดยความร่วมกับกับทาง อบต. และสจ.
ส่วนปัญหาที่มีไฟฟ้าลัดวงจรมีคนแกล้งยกประตูน้ำ
เข้าทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อน ปีนี้ต้องไม่ให้เกิด
จุดอ่อนอยู่ที่ผู้ที่ดูแลประตูน้ำ หากผู้ที่ดูแลประตูน้ำ
เป็นลูกจ้างชั่วคราวของชลประทาน
ในนาทีที่วิกฤตเขาอาจจะมีภารกิจส่วนตัวจนหาตัวเขาไม่เจอ
ปีนี้ได้ย้ำให้ทางนายก อบต.ประสานกับผู้ที่ดูแลประตูน้ำ
เชิญมาขอให้เฝ้าระวังร่วมกัน กับคนของ อบต.หรือ สจ.
เราพร้อมจะจัดเบี้ยเลี้ยงนอกเวลา
เพื่อให้แก้ปัญหาให้ทันเหตุการณ์ หากปล่อยไปแล้วจะมาแก้ไขที่หลังไม่ได้
เมื่อเราเตรียมความพร้อมแต่เนิ่นๆ

ผมมั่นใจว่าปทุมธานีจะรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้

จากการที่ได้พูดคุยกับหลายๆฝ่ายพบว่าปริมาณน้ำ
อาจจะมากกว่าปีที่แล้ว แต่จะไม่ถึงกับปี 2554
เราก็ต้องเฝ้าระวังทั้งหมด ซึ่งจุดอ่อนของถนน
เพราะปทุมธานีมีถนนกั่นเป็นแนวเขื่อนป้องกันน้ำ
หากน้ำข้ามถนนไปได้ก็จะท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ
จุดไหนเป็นแนวถนนที่ต่ำ ของให้ อบต.กับ สจ. สำรวจแล้วรีบรายงานเข้ามา
ทาง อบจ.จะไปเสริมจุดอ่อนเหล่านั้น เราพร้อมที่จะเอาแบริเออร์ไปเสริม
เอากระสอบทรายไปอัด และมีเบอร์โทรกองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี 02-975-8940-8 ต่อ 161-164
และ 09-975-8558 เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เพื่อให้พี่น้องประชาชนแจ้งเข้ามาได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับแจ้งตลอดเวลา
รวมถึงขณะนี้เราได้ให้ตั้งกลุ่มไลน์ขึ้นมาระหว่างชลประทาน
รังสิตเหนือ รังสิตใต้ อบต. สจ. และปภ. พร้อมที่จะลงไปแก้ปัญหาได้ทันที

โดยในส่วนของการแก้ไขปัญหาลุ่มน้ำบางปะกง
เนื่องจากระบบการระบายน้ำได้มีการเชื่อมกันอยู่แล้ว
จากคลองรังสิตประยูรศักดิ์มีการสูบน้ำออกเจ้าพระยาแล้ว
ยังมีการสูบทางด้านตะวันออกเพื่อผันน้ำไปทาง จ.นครนายก
และผันน้ำออกไปลงแม่น้ำบางปะกง
ผมจึงเป็นตัวเชื่อมและประสานระหว่างคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง
ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้น้ำไหลออกปากอ่าว
การประสานงานต่อเร็วและได้ผล

โค๊ด:
https://siamrath.co.th/n/369396

คำพูด เป็น นาย

5-6-7-8 กันยายน 2565



บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13218


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 11, 2022, 09:52:22 AM »



ไขคำตอบทำไมน้ำท่วมรังสิต-กรุงเทพฯ

"นายโบว์แดง ทาแก้ว" ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้
ผู้ดูแลสายคลองรังสิตฯ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในคลองรังสิตฯว่า

"..ข้างบนเนี่ย ถ้าเป็นไปได้ ถ้าน้ำในคลองยังต่ำกว่าตลิ่ง
ก็ช่วยพยายามกดบานประตูให้เราหน่อย
แต่ถ้าทุกคนเปิดคลองเร่งระบายมากันหมด
ปลายทางก็จะมาลงคลองรังสิตฯ ก็จะแย่ ..ช่วยเรากันหน่อย.."

"..ตอนนี้ คลองรังสิตฯ รับน้ำจากนครนายกร้อยละ 60
ซึ่งฝั่งนครนายกน้ำสูงกว่าเรา 1.50 เมตร
 น้ำก็จะไหลมาทางเรา ..ทางคลองรังสิตฯ ตรงนี้”

“อีกอย่างเราต้องช่วย กทม.ด้วย ตรงคลองเปรมฯใต้
ต้องระบายมาย้อนลงคลองรังสิตฯ”
“ส่วนอนุสรณ์สถาน ดอนเมือง คูคต ก็ต้องสูบไปลงปลายคลองสอง
ต้นคลองลาดพร้าว แต่เขาสูบมาลง
เราก็ต้องช่วยสูบย้อนต่อมาลงคลองรังสิตฯอีก”

“ถ้าเล่นบอล ก็เหมือนเป็นมิดฟิลด์ ป้องกัน กทม. ด้วย ช่วยในพื้นที่ด้วย..ฯ"

ในขณะนี้ "คลองรังสิตฯ" รับมวลน้ำ มาจาก 6 แหล่ง

1. "น้ำเหนือ" จากคลองหนึ่ง ถึง คลองสิบสอง
2. "น้ำเหนือ" จากคลองระพีพัฒน์
3. "น้ำเหนือ" จากแม่น้ำนครนายก
4. "น้ำระบายจากกรุงเทพ" ที่สูบจากคลองสอง
5. "น้ำเหนือ" จากคลองเปรมประชากรด้านเหนือ บวก "น้ำระบายจากกรุงเทพ" ที่สูบย้อนไปจากคลองเปรมประชากรด้านใต้
6. "น้ำฝน" ที่ตกในพื้นที่โดยตรง
--------------------------------------------------
ไม่มีที่มา พิจารณาเอา

1) ประตูระบายน้ำพระอินทร์ รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาตัดเข้าคลอง 1-12 แล้วตัดสู่คลองรังสิต

2) คลองระพีพัฒน์ ตัดยอดน้ำบางส่วนเข้าสู่คลองรังสิต

3) แม่น้ำนครนายก ตัดยอดน้ำบางส่วนเข้าสู่คลองรังสิต

4) คลองเปรมประชากร ที่ปกติจะไหลจากอยุธยามากรุงเทพฯ แต่รอบนี้มีการผันน้ำจากกรุงเทพฯ บางส่วนไปไว้ที่คลองรังสิต

5) น้ำจากดอนเมือง ถูกผันไปที่คลองรังสิต

6) บริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ - คูคต - ลำลูกกา มีการผันน้ำไปที่คลองรังสิต
(เนื่องจากบริเวณนี้คือต้นทางของคลองลาดพร้าว ซึ่งถือว่าเปราะบางหากปล่อยน้ำเข้ากรุงเทพฯ ได้)
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13218


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 12, 2022, 07:34:12 AM »

มาชุดเดียวกันเลยกับ แจ๊ส

ปี 54 สมัย ยิ่งลักษ์ ชิน ฯ "เอาอยู่"
มันฝังหัวมาถึงทุกวันนี้
คนมีหน้าที่สมัยนั้น ปลอดประสพ สุฯ

รังสิตปทุมฯ พังพินาศ ฉิบหายวายป่วง
 
เมื่อคืน มึงยังออกมาบ่น อีกว่า

สมัยดิฉันได้สร้างเขื่อนทั้งฝั่งตะวันตกและทางใต้คลองรังสิต
มาถึงวันนี้ดิฉันยังอดเสียดายโครงการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
ที่เคยวางแผนมิได้ หากวั้นนั้นได้มีโอกาสเดินหน้านโยบาย 
วันนี้ปัญหาเช่นนี้คงไม่เกิด


เอาเข้าไป อีเอ๋อ
 ไม่เอา
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1883
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13218


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 21, 2022, 08:06:00 AM »

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ผนึกกำลัง ผู้ว่าฯ หมูป่า หารือแก้ไขปัญหาน้ำ PM2.5 การจราจร และผังเมือง เน้นทำงานไร้รอยต่อ

 ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ผนึกกำลัง ผู้ว่าฯ หมูป่า
หารือแก้ไขปัญหาน้ำ PM2.5
การจราจร และผังเมือง เน้นทำงานไร้รอยต่อ
.
วันนี้ (20 กันยายน) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เข้าพบ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
เพื่อร่วมหารือการบริหารจัดการน้ำ ฝุ่น PM2.5 การจราจร และเรื่องผังเมือง
.
ชัชชาติกล่าวว่า วันนี้เป็นการหารืออย่างไม่เป็นทางการ
เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมให้เป็นไปอย่างไร้รอยต่อ
โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยกัน ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น
เนื่องจากปัจจุบันกรมชลประทานยังเป็นผู้ดูแลการบริหารจัดการน้ำ
ซึ่งมีการหารือการระบายน้ำอยู่ตลอด ส่วนจังหวัดต่างๆ
จะเป็นผู้ควบคุมระเบียบต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และจากนี้จะสื่อสารกันมากขึ้นเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น
และแจ้งเตือนประชาชนได้ทันเวลา
.
ดังนั้น ผู้ว่าฯ กทม. และ 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดปริมณฑล คือ
นนทบุรี, ฉะเชิงเทรา, นครปฐม, ปทุมธานี และสมุทรปราการ
จะมีการพูดคุยกันมากขึ้น อาจจะเดือนละครั้ง
.
ชัชชาติยอมรับว่า ตนกังวลว่าเดือนตุลาคมนี้น้ำจะมีปัญหาอีก
ดังนั้นจะต้องเตรียมรับมือด้วยการพร่องน้ำตามประตูน้ำต่างๆ
และมีแผนรองรับ ถึงแม้ว่าเดือนกันยายนนี้น้ำฝนมีปริมาณมากไปแล้ว
 ซึ่งข้อมูลเฉพาะเดือนกันยายน กรุงเทพฯ มีฝนตกสะสม 1,642 มิลลิเมตร
โดยที่ผ่านมาข้อมูลฝนเฉลี่ยทั้งปีของกรุงเทพฯ อยู่ที่ 1,690 มิลลิเมตร
จะเห็นได้ว่าอีกไม่เท่าไรฝนเดือนเดียวจะเท่ากับฝนที่ตกสะสมทั้งปีแล้ว
 ดังนั้นต้องถอดบทเรียนกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
.
ส่วนเรื่องฝุ่น PM2.5 ณรงค์ศักดิ์เคยมีประสบการณ์
ในเรื่องการแก้ปัญหาการเผาชีวมวลมาแล้ว
ขณะนี้กรุงเทพฯ ก็มีปัญหาในพื้นที่หนองจอก-มีนบุรี
ทางณรงค์ศักดิ์ก็ให้คำแนะนำว่าจะต้องให้ความรู้
กับเกษตรกรไม่ให้มีการเผา แต่ถ้าฝ่าฝืนจะต้องใช้ไม้แข็ง
ดำเนินคดีทางกฎหมาย จะได้เป็นเยี่ยงอย่าง
.
สำหรับเรื่องของโรงงานอุตสาหกรรม จะมีการปรับคุณภาพ
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะฝุ่นที่เกิดในจังหวัดปทุมธานี
อาจจะลอยไปสู่กรุงเทพฯ ได้ จึงต้องร่วมมือกันทั้งในเรื่องของการจราจร
นิคมอุตสาหกรรมจังหวัด ซึ่งคาดหวังว่าจากนี้จะมีความร่วมมือที่เข้มข้นขึ้น
.
ชัชชาติยังกล่าวถึงปัญหาจราจรที่ติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ
และปทุมธานีว่า จุดรถติดขัดหนักหลักๆ มี 2 จุด
ตั้งแต่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เชื่อมต่อถนนนิมิตใหม่-ลำลูกกา
 ดังนั้นจะต้องประสานการควบคุมการจราจร
.
ส่วนเรื่องผังเมืองทั้ง 2 พื้นที่เป็นจังหวัดที่เชื่อมต่อกัน
วันนี้ทีมงานได้พูดคุยกัน ให้ผังเมืองทั้ง 2 จังหวัดมีความต่อเนื่อง
และการพัฒนาเมืองอย่างไร้รอยต่อ
.
ด้านณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า ความสำคัญที่สุดที่หารือกันคือการทำงานอย่างไร้รอยต่อ
โดยเฉพาะเรื่องน้ำ ทั้ง 2 จังหวัดมองตรงกันว่าช่วงเดือนตุลาคม
น้ำทะเลจะหนุนสูงที่สุด และทุกปีโดยเฉลี่ยประเทศไทยจะมีพายุเข้า 2 ลูก
ซึ่งกังวลว่าถ้าน้ำทะเลหนุนสูงและมีพายุเข้าจะทำให้เกิดปัญหา
.
ทางชัชชาติรับปากว่าจะเป็นเจ้าภาพในการพูดคุย
กับทีมงานจังหวัดข้างเคียงทั้งหมด ให้การทำงานไร้รอยต่อ
รวมถึงการผันน้ำด้วย การปล่อยน้ำต้องช่วยกันดู
ไม่ให้กระทบกับจังหวัดไหนเป็นพิเศษ
และเมื่อระดับผู้ว่าฯ คุยกันเรียบร้อยแล้ว
ลูกทีมก็จะสามารถคุยกันเองได้ ทำให้การทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น
.
ขณะที่ณรงค์ศักดิ์ได้กล่าวถึงเรื่องผังเมืองว่า
ผังเมืองปทุมธานีกับกรุงเทพฯ แตกต่างกัน
จึงทำให้การทำงานไม่สอดคล้องกัน
ปทุมธานีกำลังปรับผังเมืองเพื่อจะได้รองรับนโยบาย
ที่ประสานงานให้เป็นโซนต่อเนื่อง เมื่อได้กำหนดผังเมือง
อย่างเป็นแบบแผนจะสามารถทำงานได้ดีขึ้น
.
ส่วนตัวยอมรับว่าปัญหาเรื่องการจราจรอาจจะแก้ไขได้ยาก
เพราะโครงการก่อสร้างจำนวนมาก แต่จะเร่งรัดการก่อสร้างในพื้นที่ปทุมธานีให้เร็วขึ้น
เพราะในช่วงฤดูฝนปีนี้อาจจะยาวไปถึงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน
ถ้ารถติดก็จะทำให้ติดถึงถนนดินแดงของกรุงเทพฯ
ต้องเร่งรัดไม่ให้เป็นคอขวดในถนนวิภาวดีรังสิต
.
ในช่วงท้ายผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นการสื่อสารที่เคยเกิดความไม่เข้าใจกัน
เกี่ยวกับเรื่องการผันน้ำของ 2 จังหวัดว่า ในวันนี้ได้มีการพูดคุยกันหรือไม่
.
ชัชชาติกล่าวว่าไม่เคยได้ยินเรื่องนี้
และฝ่ายปฏิบัติงานก็ทำงานได้ตลอด ซึ่งอาจจะมีการเข้าใจผิด
ก็พยายามให้ทุกคนมองถึงประชาชนเป็นที่ตั้ง
และปัญหาเรื่องน้ำท่วมที่ผ่านมา มีน้ำมาจาก
จังหวัดนครนายกไหลผ่านคลองรังสิต ปทุมธานี
ถ้าหากออกแม่น้ำเจ้าพระยาได้เยอะ
ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งเรื่องนี้
จะต้องพูดคุยกับกรมชลประทานมากขึ้น
.
ขณะที่ณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า จังหวัดปทุมธานีได้จัดเตรียม
ความพร้อมและถอดบทเรียนเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนที่ฝนตก
ในพื้นที่ปทุมธานีค่อนข้างเยอะ ปริมาณฝนตกมากกว่าปริมาณน้ำในกว๊านพะเยา
จึงต้องนำบทเรียนที่เกิดขึ้นมาทบทวน
ประสานกรมชลประทานและ กทม. อย่างใกล้ชิด
ตอนนี้ปทุมธานีเคลียร์พื้นที่ทั้งหมดแล้ว
และจะเพิ่มระบบสูบน้ำเข้าไปรองรับมวลน้ำในเดือนตุลาคม
แต่หวังว่าถ้าน้ำไม่มาตามนัดก็จะดีกว่า

VIDEO

โค๊ด:
https://www.facebook.com/100078014251325/videos/1250537162406588/?idorvanity=223177056114232

----------------------------------------------------------------------------
โค๊ด:
Cr:https://thestandard.co/chadchart-sittipunt-200965/?fbclid=IwAR1kFyQ_CCfHuhyOqEAUlsg40t29K70Xpouor365sXkaH6hVS3nXcfeRalU
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!