พิมพ์หน้านี้ - ประวัติของ "ซุนวู" ปราชญ์แห่งพิชัยยุทธ์

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => ศึกษาชีวิตคนดัง => ข้อความที่เริ่มโดย: nongtop ที่ เมษายน 10, 2016, 01:41:11 PM



หัวข้อ: ประวัติของ "ซุนวู" ปราชญ์แห่งพิชัยยุทธ์
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 10, 2016, 01:41:11 PM
หลายคนอาจจะเคยได้ยินและคุ้นชื่อกันมาบ้างแล้วนะครับ แต่บุคคลผู้นี้มีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร หากใครไม่รู้ก็มาดูกันครับ  lsv-smile


หัวข้อ: Re: ประวัติของ "ซุนวู" ปราชญ์แห่งพิชัยยุทธ์
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 10, 2016, 01:55:04 PM
(http://upic.me/i/c4/sun-tzu-biz-tips-article.jpg) (http://upic.me/show/58265596)

ข้อมูลที่มีหลงเหลืออยู่เกี่ยวกับชีวประวัติของซุนวูคือชีวประวัติที่เขียนขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยซือหม่าเชียน นักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ได้บรรยายถึงซุนวูว่าเป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐอู๋ ในช่วงประมาณ 600 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยุ่ในยุคเดียวกันกับ ขงจื๊อ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามชีวประวัตินี้ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆ ของยุคนั้น รวมทั้งลักษณะการเขียนและเนื้อหาของ "ตำราพิชัยสงครามของซุนวู" ก็บ่งชี้ว่าไม่น่าจะเป็นงานที่เขียนขึ้นในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล

"ตำราพิชัยสงครามของซุนวู" ได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัยๆ ถึงชีวิตของซุนวู เช่น รถม้าใช้ในการสงครามที่อธิบายโดยซุนวูนั้น มีการใช้เพียงแค่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในช่วงยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าบางส่วนของงานเขียนนี้ก็อยู่ในช่วงเวลานั้น โดยคาดว่าซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ตำราพิชัยสงครามของซุนวูได้มีการกล่าวถึงหลายคราในนิยายเรื่อง สามก๊ก
ในเลียดก๊ก ซุนวูเป็นสหายกับอู๋จื่อซี อู๋จื่อซีได้ชักชวนซุนวูให้มารับราชการในแคว้นอู๋ โดยทำหน้าที่ฝึกทหารให้แก่ อู๋อ๋องเหอหลี อ๋องแห่งแคว้นอู๋ ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บรรพ แต่อู๋อ๋องเหอหลียังไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอฝึกนางสนมของอู๋อ๋องเหอหลี อู๋อ๋องเหอหลีก็อนุญาต ในการฝึกมีนางสนม 2 นางได้หัวเราะอย่างสนุกสนานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของซุนวู ซุนวูจึงสั่งประหารสนม 2 นางนี้ทันที เพื่อให้เห็นถึงความเอาจริง ท้ายที่สุด อู๋อ๋องเหอหลีจึงได้เชื่อมั่นในตัวซุนวูและตำราพิชัยสงครามอย่างเต็มที่ ในก่อนคริสต์ศักราช 507 ปี อู๋อ๋องเหอหลีแต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพ อู๋จื่อซีและป๋อผีเป็นรองแม่ทัพ ยกพลหนึ่งแสนไปตีแคว้นฉู่ สามารถตีแคว้นฉู่ที่ใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ แต่ต่อมาสถานการณ์พลิกผลัน เพราะฉู่เจาอ๋อง อ๋องแคว้นฉู่ได้หลบหนีไปเสียก่อน เย่วอ๋องยุ่นฉาง อ๋องแห่งแคว้นเยว่ ฉวยโอกาสที่แคว้นอู๋ว่างเปล่ายกทัพมาตีแคว้นอู๋ อู๋อ๋องเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับทันที เย่วอ๋องยุ่นฉางจึงหนีไป ทำให้อู๋อ๋องเหอหลีผูกใจเจ็บคิดจะล้างแค้นเย่วอ๋องยุ่นฉางตลอดไป

ต่อมาในก่อนคริสต์ศักราช 497 ปี เย่วอ๋องยุ่นฉางถึงแก่กรรม โกวเจี้ยนผู้บุตรได้ขึ้นครองแคว้นแทน จึงคิดฉวยโอกาสไปตีตอนนี้ ซุนวูและอู๋จื่อซีคัดค้าน แต่อู๋อ๋องเหอหลีไม่ฟัง ยกทัพสามหมื่นไปตีแคว้นเยว่ ผลคือทั้งคู่ปะทะกันที่จุ้ยหลี่ ในที่สุดอู๋อ๋องเหอหลีกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และตนเองก็ถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่กรรมระหว่างการเดินทางกลับแคว้นอู๋ อู๋อ๋องฟูซาจึงได้ขึ้นครองแคว้นสืบต่อจากอู๋อ๋องเหอหลีผู้บิดา อู๋อ๋องฟูซาแรกทีเดียวดำเนินการอย่างเข้มแข็งหมายจะล้างแค้นให้บิดาให้ได้ รบชนะแคว้นเย่วถึงขั้นจับเย่วอ๋องโกวเจี้ยนได้ แต่ต่อมาความประพฤติกลับเหลวไหล หลงแต่สุราและนารีจากแผนนางงามไซซี ของเย่วอ๋อง จนในที่สุดต้องฆ่าตัวตาย อู๋จื่อซือได้ฆ่าตัวตายเมื่อก่อนคริสต์ศักราช 485 ปี ส่วนซุนวูเมื่อได้รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของอู๋อ๋องฟูซา คิดว่าต่อไปภายภาคหน้าแคว้นอู๋ต้องล่มสลายแน่ จึงลาออกจากราชการในก่อนคริสต์ศักราช 495 ปี


หัวข้อ: Re: ประวัติของ "ซุนวู" ปราชญ์แห่งพิชัยยุทธ์
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ เมษายน 10, 2016, 01:58:14 PM
(http://upic.me/i/ml/art_of_war.jpg) (http://upic.me/show/58265602)

       ตำราพิชัยสงครามของซุนวูเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนวูถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลง
เงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย

          ตำราพิชัยสงครามซุนวู ซึ่งตกทอดมาถึงเดี๋ยวนี้มี 13 บรรพด้วยกัน ได้ประมวลหลักปรัชญาการต่อสู้และทฤษฎีการปกครองไว้อย่างครบครัน หนังสือเล่มนี้เบื้องโบราณสมัย
หลัง ๆ ต่อมา แม้ ขงเบ้ง, พระเจ้าถังไท้จงฮ่องเต้ ตลอดจนนักการทหารและนักการปกครองอันมีชื่อของจีนอื่น ๆ ก็ได้ถือเป็นตำราเล่าเรียนตลอดมา ชาวโลกก็นิยมว่าเป็นแม่บท
ของตำราวิชาการทหารซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่ง ถ้อยคำสำนวนเดิมสั้น, รัดกุม, แน่นแฟ้น และเป็นคำยากด้วยเป็นคำโบราณ เท่าที่ทราบกันว่าได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ แล้ว มี ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เชคโก, เยอรมัน ฯลฯ หลายภาษาด้วยกัน

          บรรดาหนังสือแนวปรัชญาของจีน จำได้ว่ามีอยู่ไม่กี่เล่มที่ได้รับการยกย่องหรือถือว่าเป็น "คัมภีร์" เช่น คัมภีร์เหลาจื๊อ-ขงจื๊อ และ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู ก็เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ถูกยกเป็น "คัมภีร์" เช่นกัน สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงคุณความดีของ "ตำราพิชัยสงครามซุนวู" ก็คือภาษาหนังสือของ "ซุนวู" ถูกยกย่องว่าเป็นภาษาหนังสือที่ดีที่สุด มีทั้ง
ความเฉียบคม ดุเดือด เข้มแข็ง เด็ดขาด และลีลาที่สง่างามทางภาษา ซึ่ง โจโฉ ก็กล่าวยกย่องไว้มาก

          ประการต่อมา-เนื้อหาซึ่งถือเป็นตำราพิชัยสงครามนั้น มีคุณค่าสูงส่งโดยปราศจากข้อสงสัย แม้ "ขงเบ้ง" ก็ยกย่องและยอมรับนับถือ บรรดาแม่ทัพนายกองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจีนจำนวน 13 คน ได้ทำ "หมายเหตุ" บรรยายหรือขยายความเพื่อให้คนรุ่นต่อมาได้เข้าถึงอย่างลึกซึ้ง หนังสือ "ตำราพิชัยสงครามชุนวู" เล่มนี้ยังได้ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวาง แม้แต่คำกราบบังคมทูลของขงเบ้งก็อ้างถึงว่า โจโฉมีความสามารถเทียบเท่าซุนวู

ขอขอบคณที่มาดีๆจาก th.wikipedia.org,stou.ac.th