พิมพ์หน้านี้ - ไทยเปิด AEC กับผลกระทบต่อปาล์มน้ำมันอย่างไรบ้าง

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●ปาล์มน้ำมัน => ข้อความที่เริ่มโดย: ปื้น ปากพนัง ที่ สิงหาคม 06, 2014, 07:54:20 AM



หัวข้อ: ไทยเปิด AEC กับผลกระทบต่อปาล์มน้ำมันอย่างไรบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ปื้น ปากพนัง ที่ สิงหาคม 06, 2014, 07:54:20 AM
จาก http://www.108kaset.com/index.php?topic=63

----------------------------

(http://www.108kaset.com/up-pic/palm7.jpg)

จริงๆ แล้วธุรกิจปาล์มน้ำมันของเราเริ่มมีมาตั้งแต่ตอนที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 หรือ 7 บอกว่าเราควรต้องผลิตปาล์มน้ำมันให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศให้ได้ แต่ในปัจจุบันเราสามารถผลิตได้มากกว่าการบริโภคภายในประเทศไปแล้ว

 หากจะมาเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของเรากับประเทศที่ถือว่าเป็นผู้นำในตลาดโลกเหมือนกันอย่างประเทศมาเลเซียแล้ว จะเห็นว่ามาเลเซียเขาสามารถผลิตได้ 4 ตันต่อไร่ต่อปีโดยเฉลี่ย ในขณะที่เราผลิตได้ 2 ตันกว่าต่อไร่ต่อปี ถ้าจะถามว่าเราจะอยู่ได้ไหม ผมคิดว่าอยู่ได้ถ้ามีการปรับตัว ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้ผลิตผลเราต่ำมีมาจากหลายปัจจัยประกอบกัน แต่ผมเชื่อว่าภาคเอกชนไทยเองอย่างสวนใหญ่ๆ บางสวน เขาก็สามารถผลิตได้ 4 ตันต่อไร่ต่อปี เขายังทำได้ทั้งๆ ที่ก็ปลูกในประเทศไทยเหมือนกัน

ส่วนธุรกิจน้ำมันปาล์ม ปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียอยู่ที่ประมาณ 1,300 ริงกิตต่อตัน หรือประมาณ 14-15 บาทต่อกิโลกรัม แต่บ้านเราตอนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม สมมุติว่าถ้าเราเกิดเปิดเสรีการค้าวันนี้ ราคาน้ำมันปาล์มของเราก็จะต้องตกไปอยู่ที่ราคาเดียวกับตลาดโลกคือราคาของมาเลเซีย เกษตรกรไทยจำเป็นต้องปรับตัวทันที โดยถ้ามีการปรับตัว เกษตรกรไทยเราก็น่าจะอยู่ได้ ยกตัวอย่างเช่นในภาวะปัจจุบัน มาเลเซียอาจจะได้กำไร 10 บาท ส่วนเราได้กำไร 5 บาท แต่หากภาวะตลาดเปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันสูงขึ้น มีพืชทดแทนอย่างอื่นเกิดขึ้น มาเลเซียอาจจะมีกำไรลดลงเหลือแค่ 2 บาท เขาก็ยังอาจจะอยู่ได้ แต่เราจะติดลบทันทีหากไม่มีการปรับตัวก่อน


หัวข้อ: Re: ไทยเปิด AEC กับผลกระทบต่อปาล์มน้ำมันอย่างไรบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ปื้น ปากพนัง ที่ สิงหาคม 06, 2014, 07:58:17 AM
(http://www.108kaset.com/up-pic/palm8.jpg)

ถามว่าเกษตรกรไทยจะปรับตัวอย่างไร เพื่อที่จะลดต้นทุนการผลิตของเราซึ่งยังสูงกว่าของเขา ผมมองว่าภาครัฐยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยเหลือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือด้านงานวิจัยและพัฒนา ที่จะต้องมีมากกว่าในปัจจุบัน ซึ่งมีเพียงแค่การแนะนำว่าเกษตรกรควรจะปลูกปาล์มอย่างไร ใส่ปุ๋ยกันอย่างไร มันคงต้องมีตั้งแต่เรื่องว่า จะเอาผลผลิตของตัวปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนเกษตรกรเองก็ต้องมีการปรับตัวโดยการบริหารจัดการต่างๆ

และผมยังอยากให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การที่รัฐจะนำพืชผลตัวนี้และตัวอื่นๆ เข้าไปสู่การทำ FTA รัฐจะต้องคำนึงถึงเกษตรกรและผู้ผลิตในประเทศด้วยว่า เรามีศักยภาพและความพร้อมในการแข่งขันมากน้อยแค่ไหน ผมคิดว่านโยบายของรัฐหลายๆ นโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันอาศัยการสร้างกระแสโดยที่ยังไม่ได้มีการคิดอย่างถี่ถ้วนทั้งหมด

อย่างกรณีกระแสของไบโอดีเซลเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมบางตัวก็กำลังมาแรง ในเมื่อรัฐจับกระแสได้ถูกว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อไร่ต่อปีสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ ในโลก แต่การที่รัฐจะแนะนำให้เอาปาล์มเข้าไปปลูกที่ภาคอีสานและภาคเหนือ มันต้องดูกันว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

ในแง่ของนักเกษตรและนักปรับปรุงพันธุ์ ผมเชื่อว่าเป็นไปได้ถ้ามีการปรับปรุงพันธุ์ แต่ในปัจจุบันผมยังไม่เชื่อว่ามีพันธุ์ปาล์มพันธุ์ใดที่จะไปตอบสนองได้ และผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นก็จะไปตกอยู่กับเกษตรกรผู้ปลูก ทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เป็นสิน อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นกันแล้วคือในกรณีที่เราเอายางเข้าไปปลูกในภาคอีสาน แต่ผลผลิตต่อไร่ของเราต่ำมาก

ผมมองว่า FTA ทำให้เกิดผลกระทบทั้ง 2 แง่ ในแง่หนึ่งจะช่วยเร่งให้เราปรับตัว เพราะอย่างไรก็ตามเราคงหนีการค้าเสรีไปไม่พ้น แต่ในอีกแง่หนึ่ง ผมไม่เชื่อว่าประเทศเล็กๆ อย่างเราจะได้เปรียบประเทศใหญ่จากการทำ FTA ระหว่างกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ปาล์มน้ำมัน แต่ยังรวมไปถึงพืชและธุรกิจอื่นๆ ด้วย

และหากพูดถึงผลกระทบจากความตกลงการค้าเสรีอื่นๆ ตอนนี้เราเริ่มได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีตามกรอบ WTO แล้ว เพราะว่าเราจะต้องมีการเปิดให้มีการนำเข้าปาล์มได้ แม้ว่าจะยังมีเงื่อนไขของพิกัดภาษี ซึ่งอาจจะยังไม่ถึง 0% ก็จริง


หัวข้อ: Re: ไทยเปิด AEC กับผลกระทบต่อปาล์มน้ำมันอย่างไรบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: ปื้น ปากพนัง ที่ สิงหาคม 06, 2014, 08:01:56 AM
(http://www.108kaset.com/up-pic/palm9.jpg)

โดยสรุปแล้ว ในฐานะที่ผมอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ผมยังเชื่อว่าเราสามารถสู้กับคู่แข่งที่สำคัญอย่างมาเลเซียได้โดยการเพิ่มผลผลิต หรือที่เรียกกันว่าผลิตภาพ (productivity) ให้สูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยการผลิตปาล์มน้ำมันของเราหลายตัวมีราคาถูกกว่า เช่น ที่ดินซึ่งผมไม่เชื่อว่าที่ดินเรามีราคาสูงกว่าของมาเลเซีย  และเรายังมีแรงงานพม่าที่จะนำเข้ามาใช้ในภาคเกษตรได้อีกมาก จากการที่ตอนนี้รัฐก็ค่อนข้างจะผ่อนปรนเรื่องแรงงานนี้มากขึ้น ถึงแม้ว่าปุ๋ยเคมีของเราจะแพงกว่าเขาแน่นอน เพราะมาเลเซียเป็นผู้ผลิตปิโตรเลียม ซึ่งปุ๋ยก็เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

ในเมื่อปัจจัยต่างๆ เราสามารถสู้ได้ แต่ทำไมปัจจุบันผลผลิตเราถึงได้ต่ำกว่า ต้องมามองว่าโครงสร้างการผลิตของเราเป็นเกษตรกรรายย่อยถึง 80% และเป็นรายใหญ่แค่ 20% ซึ่งตรงข้ามกับมาเลเซีย ผมไม่ได้มองว่ารายย่อยจะสู้รายใหญ่ไม่ได้ แต่เพียงมองว่ารายย่อยต้องมีการปรับตัว เกษตรกรรายย่อยไทยมีพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่ผมอยากจะให้ข้อคิด บางครั้งเกษตรกรมีสวนอยู่ 40-50 ไร่ แต่ไม่ได้ทำอะไรเองเลย จ้างคนอื่นเข้าไปตัดปาล์มให้ ใส่ปุ๋ยให้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่านายคนนี้จะทำอย่างไร หากปรับพฤติกรรมนี้ได้ผมเชื่อว่าเราจะไม่แพ้มาเลเซีย ตอนนี้มาเลเซียมีต้นทุนการผลิตน้ำมัน 1 ตันอยู่ที่ 800 ริงกิด เขาขาย 1,300-1,400 ริงกิตได้กำไรตั้งกี่เปอร์เซ็นต์ และถ้าราคาขายลดลงไปถึง 1,000 ริงกิต เขาก็ไม่กลัว แต่ผลผลิตของเราได้ต่ำกว่า ดังนั้นต้นทุนต่อหน่วยก็ต้องแพงกว่าอย่างแน่นอน