พิมพ์หน้านี้ - วงจรชีวิตของปลวก

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 05, 2014, 02:28:46 PM



หัวข้อ: วงจรชีวิตของปลวก
เริ่มหัวข้อโดย: nongtop ที่ พฤษภาคม 05, 2014, 02:28:46 PM
 lsv-smile วงจรชีวิตของปลวก

(http://www.chiangmaithree.com/private_folder/pest.jpg)

            ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนแล้วสิ่งที่เราต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นคือการที่ปลวกจะเข้ามาผสมพันธุ์และใช้พื้นที่ในบ้านของเราในการสร้างรังของมัน ปลวกเป็นแมลงสังคมเพราะภายในรังจะมีการแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ซึ่งเราก็ได้รู้จักปลวกในแต่ละวรรณะกันแล้วในคราวก่อน ในครั้งนี้เรามารู้ถึงวงจรชีวิตของปลวกกันเพื่อเป็นการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีพของปลวกและเพื่อเป็นการป้องกันกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

            เริ่มจากปลวกตัวเต็มวัยจะมีปีกหรือที่เรารู้จักกันว่า ”แมลงเม่า” เราจะพบแมลงเม่ามากในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน) หรืออีกช่วงหนึ่งจะเป็นช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ ถ้าในช่วงดังกล่าวมีฝนตกผิดฤดู ช่วงดังกล่าวจะมีปริมาณความชื้นสูง จึงเป็นระยะที่เหมาะกับการผสมพันธุ์เราจึงสามารถพบเห็นแมลงเม่าได้มากในระยะดังกล่าว

(http://i796.photobucket.com/albums/yy248/racharose/108_20110720114142.jpg)

แมลงเม่าเป็นปลวกทั้งเพศผู้และเพศเมียที่ไม่เป็นหมัน เมื่อบินออกจากรังจะจับคู่กันแล้วจะสลัดปีกทิ้ง จากนั้นจะพากันไปหาสถานที่ที่เหมาะสมในการที่จะเป็นรังใหม่ของมันต่อไปนั่นคือที่ที่มีความชื้นสูงและมีอาหารคือไม้อยู่อย่างพอเพียง  ขั้นตอนการผสมพันธุ์เริ่มจากเพศเมีย ซึ่งเป็นราชินีปลวกจะชูส่วนท้องและปล่อยกลิ่นฟีโรโมนเพศ ทำให้ปลวกราชาเคลื่อนที่เข้าไปหาและเริ่มการผสมพันธุ์ เมื่อสร้างรังเสร็จตัวเมียจะเริ่มวางไข่ในระยะต่อมาภายในระยะเวลา 1 เดือน การวางไข่ครั้งแรกจะมีจำนวนน้อยประมาณ 10 ฟองหรือมากกว่า ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนออกมาภายในเวลาหลายสัปดาห์ โดยปลวกรุ่นแรกจะเป็นปลวกงานและปลวกทหาร ในระยะแรกตัวอ่อนจะได้รับอาหารจากปลวกราชินีโดยการกินมูลและอาหาร ซึ่งทำให้ปลวกได้รับโปรโตซัวและแบคทีเรีย

(http://board.postjung.com/data/675/675415-topic-ix-0.jpg)

ต่อมาส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ขึ้นจะเริ่มวางไข่อีกและจะเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนไม่ได้ ในครั้งนี้จะเป็นการผลิตปลวกงานและปลวกทหารให้เพิ่มขึ้น ในระยะ 3-4 ปีต่อมาราชินีจึงวางไข่เพื่อผลิตวรรณะสืบพันธุ์ชุดแรก (primary reproductive)  สำหรับตัวราชาปลวกจะมีรูปร่างขยายขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จะคอยอยู่ใกล้ๆ กับตัวนางพญาปลวกเพื่อทำการผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว

(http://1.bp.blogspot.com/-32pxOAx9ZgM/TkHF5CAGAsI/AAAAAAAABrk/Zlf1hWX3Nu4/s400/1306339861.jpg)

ลักษณะไข่ปลวกมีรูปร่างเรียวยาวหรือค่อนข้างกลม สีขาวนวลมักวางเป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มคล้ายไข่แมลงสาบ เมื่อฟักออกเป็นตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยแต่จะมีขนาดเล็กกว่า ตัวอ่อนจะลอกคราบหลายครั้งและเจริญเป็นตัวเต็มวัยที่ไม่มีปีกและเป็นหมัน คือปลวกงานและปลวกทหาร ส่วนตัวอ่อนที่ลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัยมีปีกหรือแมลงเม่าจะกลายเป็นวรรณะสืบพันธุ์ ระยะเวลาการเจริญของวรรณะสืบพันธุ์จากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 9-10 เดือน ส่วนวรรณะทหารและกรรมกรใช้เวลา 4-6 เดือน ปลวกนางพญาและปลวกราชาจะมีอายุยืนยาวถึง 25-50 ปี


หัวข้อ: Re: วงจรชีวิตของปลวก
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ พฤษภาคม 06, 2014, 06:25:55 AM
เพิ่มเติม
ปลวกไม่ได้กินไม้ ปลวกใช้ไม้เพาะเห็ด แล้วจึงกินเห็ด ไม้ที่เพาะเห็ดไม่
ขึ้น(เช่นไม้สัก)ปลวกจึงไม่กัด :D