พิมพ์หน้านี้ - เกร็ดความรู้ ประเทศอินเดีย

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => ภูมิศาสตร์,ประวัติศาสตร์,สังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: Touch2557 ที่ เมษายน 29, 2014, 04:52:50 PM



หัวข้อ: เกร็ดความรู้ ประเทศอินเดีย
เริ่มหัวข้อโดย: Touch2557 ที่ เมษายน 29, 2014, 04:52:50 PM

(http://2.bp.blogspot.com/-riUNPuuM2Nc/Ui37HDi1wgI/AAAAAAAAADo/nQvxJkB2Zcw/s1600/india.gif)

ประเทศอินเดีย (อังกฤษ: India; ฮินดี: भारत) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (อังกฤษ: Republic of India; ฮินดี: भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา มีบังกลาเทศล้อมรอบทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก 



หัวข้อ: ภูมิศาสตร์ ประเทศอินเดีย
เริ่มหัวข้อโดย: Touch2557 ที่ เมษายน 29, 2014, 05:05:14 PM

(http://images.thaiza.com/118/118_20120319132339..jpg)

ประเทศอินเดียเกิดขึ้นบนอนุทวีปอินเดียน (Indian subcontinent) ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian tectonic plate) ซึ่งในอดีตนั้นเคยเชื่อมอยู่กับแผ่นออสเตรเลีย การรวมตัวทางภูมิศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอินเดียนั้นเกิดขึ้นราว 75 ล้านปีก่อน เมื่ออนุทวีปอินเดียซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแห่งตอนใต้ คือ มหาทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านที่บริเวณมหาสมุทรอินเดียซึ่งในขณะนั้นยังไม่เกิดขึ้น

(http://www.travellifethailand.com/images/column_1308730736/Himalai(2).jpg)

เทือกเขาหิมาลัย

โดยกินเวลารวมทั้งหมดประมาณ 55 ล้านปี หลังจากนั้นอนุทวีปอินเดียนได้ชนเข้ากับแผ่นทวีปยูเรเชีย อันเป็นที่มาของการเกิดเทือกเขาที่มีความสูงที่สุดในโลก คือ เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตอนใต้ของเทือกเขาซึ่งเคยเป็นท้องทะเลอันกว้างขวางได้ค่อยๆกลายมาเป็นผืนดินราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาตอนเหนือของอินเดีย (Indo-Gangetic Plain) ทางภาคตะวันตกนั้นติดกับทะเลทรายธาร์ ซึ่งถูกกั้นกลางด้วยทิวเขาอะราวัลลี

(http://www.mfa.go.th/business/contents/images/text_editor/images/Gujarati%20ports.jpg)

อนุทวีปอินเดียนนั้นได้คงอยู่จนกลายมาเป็นคาบสมุทรอินเดียในปัจจุบัน ซึ่งจัดเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดทางธรณีวิทยา และยังเป็นบริเวณที่มีความคงที่ทางภูมิศาสตร์ที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดีย โดยกินพื้นที่กว้างขวางจรดเทือกเขาสัทปุระ (Satpura)ทางตอนเหนือ และเทือกเขาวินธยะ (Vindhya) ในภาคกลางของอินเดีย โดยมีลักษณะคู่ขนานกันไปจรดชายฝั่งทะเลอาหรับในรัฐคุ
ชราตทางทิศตะวันตก

(http://board.trekkingthai.com/board/upload/photo/2006-02/d4KAgVaX.jpg)

และที่ราบสูงโชตนาคปุระ (Chota Nagpur Plateau) ที่เต็มไปด้วยแร่ถ่านหินในรัฐฌาร์ขัณฑ์ทางทิศตะวันออก ส่วนทิศใต้นั้นประกอบด้วยแผ่นดินคาบสมุทรบนที่ราบสูงเดคคาน (Deccan Plateau) ซึ่งถูกขนาบโดยเทือกเขาริมทะเลทั้งสองฝั่งที่เรียกว่า เทือกเขากัทส์ทิศตะวันตก และตะวันออก(Western and Eastern Ghats) ในบริเวณนี้จะพบหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งมีอายุถึง 1 พันล้านปี