พิมพ์หน้านี้ - วิธีนั่งสมาธิเบื้องต้น

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 28, 2013, 08:43:19 PM



หัวข้อ: วิธีนั่งสมาธิเบื้องต้น
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ ตุลาคม 28, 2013, 08:43:19 PM
วิธีนั่งสมาธิเบื้องต้น (อานาปานสติ กรรมฐาน) • อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าสอน มีในพระไตรปิฎก • ทำง่าย-ได้สมาธิลึก-ละเอียด-พัฒนาไปได้ถึง "ฌาน-อภิญญา-ญาณ-วิมุตติ" • เป็นการ "เพ่งลมหายใจ เข้า-ออก" • ปฎิรูปเทสวาโส แปลว่าการอยู่ในสถานที่อันสมควร • ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ต้องเลือกทำเลที่เหมาะสม • จะอ่านหนังสือยังต้องหาที่เงียบๆ-อ่านคนเดียว จะจำง่ายเข้าใจง่าย • ประสาอะไรกับ การนั่งสมาธิ • ยิ่งต้องการความสงบที่สุดๆ • อย่าไปนั่งเป็นกลุ่ม จะได้แค่ความอบอุ่น • ไม่ได้สมาธิหรอก • ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างให้หมด • เลิกคิด เลิกสนใจ • ถ้ามีเวลาจำกัด ควรตั้งนาฬิกาปลุกไว้ • ควรเลือกนั่งในที่มุง-บัง กันแดด ลม น้ำค้าง แมลงฯลฯ อากาศถ่ายเทสะดวก • ทำความสะอาดร่างกาย-สถานที่ จะได้ไม่คัน • • นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางบนขา • หลังตรง คอตรง (หลังอาจงอ โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อไม่ให้หงายหลัง) • อย่าเกรงตัว-มือ-ขา • ทำตัวสบายๆ • ทำใจให้ผ่อนคลาย • ระหว่างหลับตา อาจเห็นภาพ สารพัด อย่าได้สนใจเป็นอันขาด เพราะเป็นความฟุ้งซ่านอย่างหนึ่ง • (ขอเตือนว่า มึคนจำนวนมากเสียสติ เพราะเชื่อในสิ่งที่เห็น ขณะหลับตานั่งสมาธิ) • เริ่มต้น ให้หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ยาวๆ (ไม่เกินพอดี) • เมื่อเข้าที่แล้ว การหายใจให้ "ปล่อยตามธรรมชาติ" • (ไม่ควรใช้วิธี "ยุบหนอ-พองหนอ" ซึ่งเป็นการเพ่งที่กล้ามเนื้อกระบังลม) • วิธีนี้ใช้ได้เมื่อยังหายใจแรง • แต่จะขัดขวางการได้สมาธิลึกๆ ซึ่งการหายใจจะเบา • กล้ามเนื้อกระบังลมแทบไม่เคลื่อนไหว • พระพุทธเจ้าเปรียบจิตเหมือนลูกแกะ ที่ชอบวิ่งไปทั่ว-กระโดดโลดเต้น • การเพ่งลมหายใจเปรียบเหมือนเอาเชือกล่ามลูกแกะไว้กับเสา • จิตที่ถูกบังคับให้เพ่งเฉพาะลมหายใจ จะดิ้นรน-ขัดขืน-ต่อสู้ • ถ้าเราไม่หวั่นไหว-มั่นคง สุดท้าย จิตจะเป็นหนึ่ง มีสมาธิ • • เวลานั่งสมาธิ จึงอย่าสนใจอย่างอื่น • ให้สนใจแค่ "ลมหายใจ" ที่สัมผัสจมูกเพียงอย่างเดียว • ถ้าฟุ้งซ่านจนเอาไม่อยู่ ให้บริกรรม"พุท - โธ"ตามจังหวะหายใจเข้า-ออก • หักห้าม/ควบคุมความคิดให้ " ไม่คิด " • โดยมุ่งความสนใจไปที่ "ลมหายใจ / พุท - โธ"แล้วแต่กำลังเพ่งอะไร • ถ้าไม่ฟุ้งซ่าน / ไม่คิดสะเปะสะปะ แล้ว • หยุดบริกรรม "พุท - โธ" • เพ่งลมหายใจอย่างเดียว • จะสงบกว่า • ได้สมาธิลึกกว่า • อย่าใช้วิธี "ดูความคิด"ไปเรื่อยๆ • เท่ากับเป็นการปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน เตลิดเปิดเปิง • ไม่มีวันได้ "ขณิกสมาธิ"หรอก ไม่ต้องพูดถึง"อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ" • • อีกอย่างที่ขอแนะนำคือ • การรักษาอารมณ์ในชีวิตประจำวัน • ต้องสงบกาย-สงบใจ-สงบกิเลส • สงบกายอย่างไร? อยู่ในที่ๆมีคนน้อย-ไม่วุ่นวาย-ไม่อึกทึก-ไม่พูดมาก-ไม่ฟังมากฯลฯ • สงบใจอย่างไร? ไม่คิดมาก-ไม่ฟุ้งซ่าน-ไม่อารมณ์อ่อนไหว -ไม่วุ่นวายใจ-ไม่กลุ้มใจฯลฯ • สงบกิเลสอย่างไร? ลด-ละ-เลิก ราคะ โทสะ โมหะ • สิ่งสำคัญ ต้องนอนให้พอ ขาดไม่ได้ เพราะนั่งเป็นง่วง / หลับ • ถ้าเกิดวูปไป/หมดความรู้ตัว จงรู้ว่า คุณหลับแล้ว! • ถ้าเห็นอะไรต่อไป จงรู้ว่า คุณฝันแล้ว! • • อย่าเข้าใจว่า คุณได้"ญาณวิเศษ"ใดๆ • เพราะตามหลักของ พระพุทธเจ้า • คนจะได้ญาณวิเศษ ต้องผ่านขั้นตอน • "ปราศจาก อุปกิเลส/นิวรณ์ ๕" ไปแล้ว • ลองทำตามที่แนะนำ • ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน แต่ต้องทำสม่ำเสมอ • ด้วยประสบการณ์ • ขอรับรองว่า การทำสมาธิจะก้าวหน้า อย่างแน่นอน • ถ้าอยากพัฒนามากๆ • ขอแนะนำให้อ่านพระไตรปิฎก และ คัมภีร์วิสุทธิมรรค • โดยดูเพิ่มเติมที่ อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร • ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก • http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181> • • อาการ-ความรู้สึกของร่างกาย ขณะได้ ฌาน ๔ +อภิญญาญาณอื่นๆ(ยาวมาก) • [๓๔๓] ดูกรอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวก ทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่. ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. ดูกรอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือล —
ที่มา วัดศรีชมภูดาลัย
ขบคุณเพื่อนที FB