พิมพ์หน้านี้ - ☻เรา..จะกระชากค่าครองชีพลงมาค่าาาา พ่อแม่พี่น้อง..☻

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => เส้นทางการเงิน-เศรษฐกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ กันยายน 11, 2013, 08:44:56 AM



หัวข้อ: ☻เรา..จะกระชากค่าครองชีพลงมาค่าาาา พ่อแม่พี่น้อง..☻
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ กันยายน 11, 2013, 08:44:56 AM
(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378859494-9991275208-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378859547-1234522521-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378859570-1234804561-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378859605-1236989555-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378859636-1236998507-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378859683-1378176709-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378860773-1237653520-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378860840-1237121661-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378860523-1378180417-o.jpg)

(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378860726-1174667521-o.jpg)




(http://f.ptcdn.info/557/009/000/1378860435-1378320710-o.jpg)




(https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1185619_297629707043094_818598809_n.jpg)





หัวข้อ: โต้วุ่น ยกเลิกค่าแรง 300 บาท ต.ค.นี้!! ปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ทั่วประเทศ
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มิถุนายน 08, 2015, 04:59:51 PM
(http://www.1009seo.com/+uppic/+2558/5-58/money_1009seo-com_4.jpg)

บอร์ดค่าจ้าง เผยเตรียม 5 แนวทางการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใหม่ทั่วประเทศ พร้อมยกเลิกค่าแรง 300 บาท ให้กำหนดตามพื้นที่จังหวัด คาดสรุปชัดเจน ต.ค.นี้ ล่าสุดโฆษกกระทรวงแรงงานโต้วุ่น ยันยังใช้ฐานค่าแรงเดิม

           เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2558 มีกระแสข่าวว่าจะมีการยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ หลังประกาศใช้อัตราค่าจ้างดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556)

           เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดค่าจ้าง ได้มีการประชุมพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2559 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา เบื้องต้นมีมติให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามพื้นที่จังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งทางอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องส่งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดมาให้พิจารณาภายในเดือนมิถุนายนนี้

           ทั้งนี้มีการศึกษาแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างใหม่ไว้ 5 รูปแบบ คือ

           1. ให้อนุกรรมการค้าจ้างจังหวัดเสนอมาตามปกติ 

           2. ค่าจ้างลอยตัว
 
           3. ค่าจ้างตามการพัฒนาเศรษฐกิจ 18 กลุ่มจังหวัด

           4. ค่าจ้างตามกลุ่มอุตสาหกรรม
 
           5. ค่าจ้างในลักษณะผสมผสานหลายรูปแบบ รวมทั้งจะนำข้อเสนอในเรื่องโครงสร้างค่าจ้างมาพิจารณาประกอบด้วย

           ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อสถานประกอบการ การจ้างงาน หรือสภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม ดังนั้นจึงไม่ควรนำไปผูกกับนโยบายทางการเมือง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถสรุปอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ทั่วประเทศได้ในเดือนตุลาคมนี้

           อย่างไรก็ตาม ล่าสุด (8 มิถุนายน) นายอารักษ์ พรหมมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า จะยังไม่มีการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทแน่นอน ส่วนอัตราค่าจ้างในปี 2559 ยังคงใช้ฐาน 300 บาทเป็นเกณฑ์ ไม่มีต่ำกว่านี้แน่ ส่วนแต่ละจังหวัดจะเป็นอัตราเท่าไหร่อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล และการกำหนดอัตราค่าจ้างลอยตัว ก็ยังอยู่ระหว่างศึกษา และยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด


ขอบคุณ  money.kapook.com/view120824.html


หัวข้อ: วุ่นไม่รู้จบ ขอกันคนละมุมมอง..บอร์ดแรงงาน ขอค่าแรงขั้นต่ำ ปี 59วันละ360
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มิถุนายน 09, 2015, 04:04:43 PM
(http://www.1009seo.com/+uppic/+2558/5-58/money_1009seo-com_11.jpg)



 กระทรวงแรงงาน แจง ไม่มีการยกเลิกค่าแรงวันละ 300 บาท  แต่จะเปลี่ยนเป็นพิจารณาค่าจ้างตามเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ ด้านกรรมการสมานฉันท์แรงงาน ขอขึ้นค่าแรงเป็น 360 บาท ทั่วประเทศ

              วันที่ 9 มิถุนายน 2558 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 รายงานว่า จากกระแสข่าวการยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทนั้น นายอารักษ์ พรหมมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า ไม่มีการยกเลิกค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แต่คณะกรรมการค่าจ้างฯ มีมติให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามพื้นที่จังหวัดให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงของพื้นที่นั้น ๆ โดยคำนึงถึงระบบเศรษฐกิจโดยรวม และใช้อัตรา 300 บาทเป็นฐานในการพิจารณากำหนดค่าจ้าง ทั้งนี้อัตราค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน จะมีการใช้จนถึงปลายปี 2558

สำหรับการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำที่จะกำหนดให้ใช้รูปแบบพิจารณาตามสภาพเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่นั้น นายอารักษ์ กล่าวว่า อนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด จะต้องส่งข้อมูลรายละเอียดสภาพเศรษฐกิจของจังหวัด และข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงมายังอนุกรรมการวิชาการ ภายในเดือนนี้ (มิถุนายน) จากนั้นทางอนุกรรมการวิชาการจะมีการรวบรวมข้อมูลค่าจ้างลอยตัวจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  เพื่อพิจารณาอัตราค่าจ้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดเสนอไปยังอนุกรรมการค่าจ้างซึ่งมีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน เพื่อพิจารณาว่าจะปรับขึ้นอย่างไร

              สำหรับการพิจารณานั้นประกอบไปด้วย

              - อัตราเงินเฟ้อ
              - อัตราค่าครองชีพ
              - มาตรฐานการผลิต
              - ต้นทุนการผลิต
              - ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

              อย่างไรก็ดี นายอารักษ์ กล่าวว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำตามสภาพเศรษฐกิจนั้นจะไม่ต่ำกว่าวันละ 300 บาทอย่างแน่นอน เนื่องจากต้องเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดให้ผู้ใช้แรงงานต้องมีค่าแรงขั้นต่ำ

              สำหรับในปัจจุบันนั้น มีการพิจารณาอัตราค่าจ้าง 3 รูปแบบ คือ

              1. ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

              2. ตามมาตราฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 35 สาขาอาชีพ เช่น ช่างเชื่อง, ช่างก่ออิฐ, พนักงานนวดแผนไทย, ช่างไฟฟ้าในอาคาร เป็นต้น

              3.ค่าจ้างตามกลไกตลาด ซึ่งก็ต้องไม่ต่ำกว่า 300 บาท

              ทางด้าน นางสาววิไลวรรณ แซเตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการพิจารณากำหนดค่าจ้างตามเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด เนื่องจากผู้ใช้แรงงานจะไม่มีอำนาจต่อรองในการขึ้นค่าแรง อำนาจในการพิจารณานั้นตกไปอยู่ในมือของรัฐและนายจ้าง โดยหากใช้การพิจารณาค่าแรงดังกล่าวจะทำให้ชีวิตของผู้ใช้แรงงานเป็นไปอย่างยากลำบากขึ้น

              อย่างไรก็ตาม นางสาววิไลวรรณ ระบุว่า ทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยได้มีมติเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2559 เป็นวันละ 360 บาท โดยเป็นอัตราที่เท่ากันทั้งประเทศ เพราะจากการสำรวจค่าครองชีพในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลนั้น พบว่ามีค่าใช้จ่ายอยู่ในอัตราดังกล่าว นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างค่าจ้างตามอายุงานและ ศักยภาพของการทำงานอีกด้วย





ขอบคุณ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร