พิมพ์หน้านี้ - รู้จักสารแกลเลียม.. โลหะที่ละลายได้ในฝ่ามือคุณ

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

► อิเล็กทรอนิกส์ ► => รอบรู้อิเล็กทรอนิกส์ => ข้อความที่เริ่มโดย: หลอดไฟ ที่ มีนาคม 19, 2013, 11:35:24 AM



หัวข้อ: รู้จักสารแกลเลียม.. โลหะที่ละลายได้ในฝ่ามือคุณ
เริ่มหัวข้อโดย: หลอดไฟ ที่ มีนาคม 19, 2013, 11:35:24 AM
(http://www.leksound.net/UBMTHAI/wp-content/uploads/2013/03/h_2.jpg)

ถ้าพูดถึงโลหะ ใคร ๆ ก็ต้องคิดถึงวัสดุที่มีความแข็งแรง แต่วันนี้กระปุกดอทคอมขอพาเข้าคลาสเคมีไปรู้จักกับโลหะตัวหนึ่งที่จะทำให้คุณต้องประหลาดใจ เพราะคุณสามารถหลอมละลายมันได้ในมือของตัวเอง ทั้ง ๆ เจ้าสารตัวเดียวกันนี้สามารถทำให้กระป๋องน้ำอัดลมอ่อนตัวยวบยาบลงกลายเป็นแค่กระดาษฟอยล์ธรรมด๊าธรรมดาเท่านั้น สารตัวที่ว่านี้มีชื่อว่า “แกลเลียม” ครับ

เพียงแค่คุณกำธาตุแกลเลียมที่ยังเป็นก้อนแข็ง ๆ ไว้ในมือ เพียงพักเดียวเท่านั้นคุณจะรู้สึกได้ว่าวัตถุแข็ง ๆ นั้นกลับค่อย ๆ อ่อนตัวลงจนเหลว และไหลไปมาได้ เพราะธาตุแกลเลียมมีจุดหลอมเหลวต่ำมาก เพียง 29.76 องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง เมื่อเทียบกับอุณหภูมิปกติของร่างกายคนที่ 37 องศาเซลเซียส คุณสมบัตินี้ของมันทำให้เราดูเป็นมนุษย์ที่มีพลังพิเศษเหนือธรรมชาติไปเลย ;D

แต่ถึงมันจะโอนอ่อนผ่อนตามไหลไปไหลมาในมือของเรา เจ้าแกลเลียมก็มีความสามารถที่ไม่ธรรมดา หากนำมันไปหยดลงบนแผ่นอะลูมิเนียมเช่นกระป๋องน้ำอัดลม ไม่ทันไรเท่านั้นมันจะทำให้โครงสร้างของอะลูมิเนียมอ่อนลง จนแค่ใช้นิ้วกดลงไปเบา ๆ กระป๋องน้ำอัดลมก็ทะลุเป็นรูได้ง่าย ๆ แล้วล่ะ นอกจากนี้หากคุณนำมันไปหยดลงในกรดซัลฟิวริกและสารละลายไดโครเมท เจ้าธาตุแกลเลียมในลักษณะของเหลวก็จะกระดุกกระดิกและเต้นตุบ ๆ ได้ อันเกิดขึ้นเนื่องจากแรงตึงผิวของธาตุที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง มหัศจรรย์จริง ๆ

 ส่วนในอุตสาหกรรม แกลเลียม ถูกนำไปใช้เป็นสารกึ่งตัวนำ ชื่อว่าแกลเลียมอาเซไนน์ ในการผลิตหลอดไดโอดส์หรือหลอดแอลอีดี ซึ่งพบได้ในเครื่องใช้และอุปกรณ์ชิ้นเล็ก ๆ ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา แต่หากใครคิดจะไปงัดแงะแคะเอาเจ้าแกลเลียมมาทดลองเล่นที่บ้าน ก็ต้องขอแสดงความเสียใจเพราะกว่าคุณจะสกัดออกมาได้ก็คงลำบากพอตัว แถมด้วยอุณหภูมิอย่างบ้านเราก็มากพอที่จะทำให้ธาตุแกลเลียมเพียว ๆ ละลายได้ตั้งแต่ยังไม่ถึงมือคุณด้วยซ้ำ นอกจากนี้ แม้ข้อมูลเท่าที่มีจะระบุว่าแกลเลียมไม่ใช่โลหะที่เป็นพิษ แต่ก็ยังไม่มีการสรุปผลแน่ชัดนัก แถมยังมีบางแหล่งรายงานว่าการสัมผัสแกลเลียมติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ ส่วนในสัตว์ที่ได้รับธาตุแกลเลียมเข้าสู่ร่างกายก็จะทำให้เกิดอาการไตเป็นพิษได้ด้วย.. เอาเป็นว่าใครอยากทดลองอะไรสนุก ๆ แบบนี้ก็ต้องเรียนเคมีหรือสาขาที่เกี่ยวข้องล่ะนะคร้าบ

ดูผลการทดลองได้ที่ http://www.leksound.net/UBMTHAI/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B0/