พิมพ์หน้านี้ - คนไทยควักเงินเพิ่ม-ค่าแรง 300 ทำพิษ! สหพัฒน์ปิดโรงงานรองเท้า- จ่อขึ้นราคามาม่า

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => เส้นทางการเงิน-เศรษฐกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: sunshine music ที่ มกราคม 20, 2013, 11:48:03 AM



หัวข้อ: คนไทยควักเงินเพิ่ม-ค่าแรง 300 ทำพิษ! สหพัฒน์ปิดโรงงานรองเท้า- จ่อขึ้นราคามาม่า
เริ่มหัวข้อโดย: sunshine music ที่ มกราคม 20, 2013, 11:48:03 AM
จาก http://www.leksound.net/UBMTHAI/?p=4640
ค่าแรง 300 ทำพิษ! สหพัฒน์ปิดโรงงานรองเท้า ราคามาม่าสุดอั้น อาจปรับเพิ่มขึ้นหากแบกรับต้นทุนไม่ได้ เนื่องจาก น้ำมันปาล์ม-แป้งสาลี ราคาสูงขึ้น ขณะที่ ยูนิลีเวอร์-พีแอนด์จี ปรับกลยุทธ์ เน้นสินค้าคุณภาพดี ราคาสูง เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่มากขึ้น

จากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่รัฐบาลประกาศให้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศนั้น นอกจากจะส่งผลไปยังผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME ในแง่ของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีหลายโรงงานที่ต้องปิดกิจการไป ยังส่งผลกระทบผู้ผลิตรายใหญ่อย่างเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย

โดยวานนี้ (19 มกราคม) นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหาร สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเกี่ยวกับค่าแรง 300 บาทว่า ถึงแม้การส่งผลให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่อีกด้วยก็ทำให้ผู้ผลิตปิดตัวโรงงานไปหลายรายเช่นกัน คนงานจำนวนไม่น้อยก็ต้องตกงาน ส่วนโรงงานไหนที่แข็งแรงอยู่ ก็ต้องถึงกับกัดฟันสู้เหมือนกัน

ในส่วนของโรงงานเครือสหพัฒน์นั้น นายบุญชัย กล่าวว่า ส่วนใหญ่ยังสามารถประคองตัวได้ ทุกบริษัทยังสามารถทำกำไรได้ดี มีเพียงอุตสาหกรรมรองเท้าเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากต้นทุนสูงสู้หลาย ๆ ประเทศไม่ได้ และเมื่อเจอค่าแรง 300 บาท ที่ปรับขึ้น 7 จังหวัดเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว โดยเฉพาะ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมศรีราชาของเครือสหพัฒน์ สำหรับเฟส 2 ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย สิ่งที่บริษัททำคือปิดโรงงานรองเท้าให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อควบคุมต้นทุน

นอกจากนี้ นายบุญชัย ยังระบุถึงปัจจัยที่มีผลกระทบชัดเจนต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคว่า สถานการณ์ของแพง ซึ่งค่าแรง 300 บาท ก็อาจจะทำให้ข้าวของแพงขึ้น ราคาอาหารต่าง ๆ ปรับเพิ่มมากขึ้น และสิ่งที่กังวลมากในขณะนี้ก็คือ ราคาวัตถุดิบที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะราคาน้ำมันปาล์ม และแป้งสาลี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  และทางเราก็ไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นได้ ถ้าวัตถุดิบขึ้นเยอะ ๆ แล้วเราไม่สามารถรักษาสภาพต้นทุนไว้ได้ ก็ต้องขึ้นราคา

ขณะที่ นายบาวเค่อ ราวเออร์ส ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ในประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทไม่ได้มีปัญหาเรื่องต้นทุนจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเร่งทำนั้น คือพัฒนาทักษะแรงงานของไทยให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพของการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ เนื่องจากคนมีกำลังซื้อมากขึ้น สังเกตได้จากยุทธศาสตร์ของบริษัทที่ผ่านมา ก็จะเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในราคาที่สูงขึ้น เพื่อเจาะตลาดกลุ่มคนในเมือง

ส่วนทางด้าน นายวรศิษย์ ตุรงค์สมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ประจำประเทศไทย บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า กำลังซื้อของประชาชนกำลังเป็นไปในทางที่ดี โดยแนวทางการทำตลาดของบริษัทนำเสนอกลยุทธ์ คุณภาพสินค้าในราคาที่เข้าถึงได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ ผู้บริโภคยอมที่จะจ่ายแพงเพื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดอุปโภคบริโภคปัจจุบันจึงปรับไปสู่ตลาดพรีเมี่ยม

ด้าน นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตอนนี้สินค้าในกลุ่มอุปกรณ์สำนักงานและสเตชันนารี่ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวแต่อย่างใด  แต่ถ้าหากผู้ผลิตที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าแรง ค่าน้ำมัน รวมถึงค่าไฟฟ้าได้ คาดว่าจะได้เห็นภาพของการปรับราคาขึ้นในไตรมาส 2 โดยทางผู้ผลิตจะแจ้งหนังสือให้ร้านค้าทราบล่วงหน้า 1-2 เดือน เพื่อเตรียมตัวอยู่แล้ว