พิมพ์หน้านี้ - แก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว และเทคนิคการใส่ปุ๋ย

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ข้าว => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤษภาคม 14, 2012, 10:30:06 PM



หัวข้อ: แก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว และเทคนิคการใส่ปุ๋ย
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤษภาคม 14, 2012, 10:30:06 PM
วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มาทำลาย ข้าว ใน แปลงนา ของเรา
                  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของคนทำนาปลูกข้าว ชาวนาทุกคนรู้จักแมลงชนิดนี้ดี เพราะบางทีแมลงชนิดนี้สร้าง ความเสียหายได้ในชั่วข้ามคืน ถึงกับหมดเนื้อหมดตัว เรามาทำความรู้จัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล กันก่อน
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรสีน้ำตาล มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Brown planthoppeพ และชื่อวิทยาศาสตร์: Nilaparvata lugens (Stal) ) เป็นแมลงศัตรูพืช ชนิดปากดูด โดยมักทำลาย ข้าว โดยดูดน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทุกระยะการเจริญเติบโตจนทำให้ข้าวแห้งตาย เป็นจุดๆ ในแปลงนา และขยายตัวเป็นวงกว้าง ออกไปตามปริมาณของเพลี้ยกระโดดที่เพ่ิมขึ้น ทำให้บริเวณที่มีเพลี้ยเกาะอยู่ มีลักษณะคล้ายใบโดนน้ำร้อนลวก ใบเหลือง แดงและต้นข้าวตาย หากข้าวที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงไม่ตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดโรคใบหงิก หรือโรคจู๋ ข้าวไม่ออกรวง สร้างความเสียหาย แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างมาก

                   วิธีการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ให้มาทำลายต้นข้าวในแปลงนาที่เราปลูกมีหลายวิธีการ แต่ในที่นี้จะแนะนำวิธีการ แบบง่ายๆ แต่เรา ไม่ค่อยจะทำกัน เรียกว่าเป็นการ ป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ
                     วิธีแรก เริ่มจากการเตรียมแปลงนาปลูกข้าวให้สะอาด ปราศจากวัชพืช ซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูข้าว เนื่องจากในบางครั้งหลังจากเราเก็บเกี่ยงผลผลิตข้าว รุ่นก่อนหน้านี้แล้ว อาจมีแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวอาศัยอยู่ เราต้องตัด และเผาทำลายทิ้งให้หมด ให้เผาเฉพาะ วัชพืชตามคันนา ส่วนฟางข้าว ให้หมักด้วยจุินทรีย์สำหรับย่อยสลายตอซัง และฟางข้าว ดินในนาของเราจะได้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น

                      วิธีที่สอง การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ใช้ อัตราส่วน 30- 40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ในบางแปลงปลูกข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวมากถึง 60 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์โดยใช่เหตุ ไม่ควรมากกว่านี้ เนื่องจากจะทำให้ ต้นข้าวขึ้นอย่าง แออัด หนาแน่นเกินไป แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง โคนต้นข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบมาอาศัยและวางไข่ และดูดน้ำเลี้ยงต้นข้าว รวมทั้งทำให้การเชื้อรา ได้ง่ายๆ

                      วิธีที่สาม การใส่ปุ๋ยให้กลับแปลงนาปลูกข้าว ควรแบ่งระยะการใส่เป็นช่วงๆ หากเป็นไปได้ แนะนำให้ใส่ 4 ระยะ ของการเจริญเติบโตของข้าวดังนี้
                                        ระยะที่ 1 หลังจากไขน้ำเข้านา ข้าวอายุ 10-20 วัน ใส่ปุ๋ย ยูเรีย แบบ หว่านลงแปลงนาข้าว
                                        ระยะที่ 2 ข้าวอายุ 35- 45 วัน  ใส่ ปุ๋ยเต็มสูตร ที่ีมี N P K โดยให้ ปุ๋ยตัวแรก สูงที่สุดและไล่ตามมา ต่ำสุด ที่ตัวท้าย
                                        ระยะที่ 3 ข้าว อายุ 55-65 วัน   ใส่ปุ๋ยผสมทางใบ N และ K โดยให้ มีสูตร N ต่ำกว่า K  3-5เท่า เช่น สูตร 11-0-52 โดยการฉีดพ่นทางเครื่อง อัดแรงดัน แบบลากสาย อัตตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อ น้ำ 200 ลิตร ซึ่งปุ๋ยสูตรนี้ จะมีส่วนทำให้ ข้าวมีการพัตนาตาดอก สร้างระแง้ เพื่อรองรับเมล็ด ออกมาเป็นจำนวนมาก เป็นเคล็ดลับในการเพิ่มผลผลิตข้าว ที่ชาวนา หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว น้อยคนที่จะรู้ ข้อสำคัญเราต้องคาดคะเนเวลาให้เหมาะสมในช่วงที่ข้าวกำลังสร้างตา ดอก ก่อนการตั้งท้อง
                                         ระยะที่ 4 ข้าว ตั้งท้อง ใส่ปุ๋ยผสมเต็มสูตร N P K โดยให้มี  K สูงที่สุด ในจำนวน ธาตุอาหาร 3 ตัว ร่วมกับการใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 11-0-52 
                                   ในที่นี้ จะยัง ไม่ขอกล่าวรายระเอียดลึกๆ เกี่ยวกับ ปุ๋ยข้าว แต่ที่นำเสนอเรื่องวิธีการใส่ปุ๋ยข้าว มามากพอสมควรเพราะว่าตามปกติ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมักจะใช้ ปุ๋ย ยูเรีย( N )  เป็นจำนวนมาก ตลอดอายุ การเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งทำให้ ต้นข้าวมีความอ่อนแอ เนื่องจากปุ๋ยยูเรีย จะไปเร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นข้าวเพียงอย่างเดียว ทำให้ใบเขียว ต้นสูง แต่ผลเสียที่ตามมาคือ แมลงแทบทุกชนิดชอบต้นข้าวที่มีลักษณะอวบอ้วนที่เกิดจากการใช้ N เกินความจำเป็น โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  ทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพลี้ยกระโดด เพิ่มขึ้น หากรอดจากเพลี้ยกระโดด ข้าวที่ให้ผลผลิตระยะ ก่อนการเก็บเกี่ยว อาจล้มง่าย ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าหากข้าวล้มพังพาบกับพื้นนาเสียแล้ว การเก็บเกี่ยว ก็จะไม่ได้ผลลิตเต็มที่ พอๆกับการถูกทำลายด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

                     วิธีการวิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายข้าวในแปลงนาของเรา ดังกล่าวมาเป็นวิธีการที่ต้องมีการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพแปลงนาของแต่ละคน รวมถึงสายพันธุ์ข้าวที่ทำการปลูกด้วย


หัวข้อ: Re: แก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว และเทคนิคการใส่ปุ๋ย
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤษภาคม 14, 2012, 10:32:35 PM
จากการลงพื้นที่ล่าสุด พบว่า การกำจัดเพลี้ยกระโดดที่ได้ผลดีที่สุด คือการใช้วิธีการควบคุมน้ำในแปลงนาข้าว ให้แห้ง ในแปลงนาที่มีเพลี้ยกระโดดระบาด พบว่าในแปลงที่ ไขน้ำให้แห้ง การทำลายของเพลี้ยจะลดลงอย่างมาก เรียกว่าอพยพหนีออกไปจากแปลงข้าวนั้นทันที ส่วนในแปลงที่น้ำดี จะพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นเวลาพบการระบาดของเพลี้ยให้ทำการ ไขน้ำออกจากแปลงนาทันที ให้แห้ง เพลี้ยจะหายไปทันที

ข้อดี และการปฎิบัติ
ทำได้ตั้งแต่ สัปดาห์ที่สอง –เว้นช่วงข้าวตั้งท้อง –ปล่อยให้แห้งก่อนการเก็บเกี่ยว 15-20 วัน

1.ความชื้นที่โคนกอข้าว ต่ำ อุณหภูมิหน้าผิวดิน จะสูงๆ ต่ำ ๆ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ชอบ (เหมือนคนหลบร้อนเข้าหาหลังคา)

2.ต้นข้าว จะไม่อวบน้ำ ผนังเซลล์จะแข็งแรง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ไม่ชอบอีก

3.หน้าดินแตกระแหง รากข้าวได้ออกซิเจนมากขึ้น ทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานโรคและเเมลง

4.ระบบราก ทำงานอย่างเต็มที่ มีการแตกกอดี

5.หน้าดินได้มีเวลา เซทตัว ลดปริมาณน้ำในแปลงนาข้าวลง ช่วยลดปัญหานาหล่ม ดูแล และทำงานในเเปลงนาได้ง่าย ไม่หน่ายแรงงาน

6.หลังจากหน้าดินแตก ก็ค่อยใส่ปุ๋ยลงไปในนา ปุ๋ยจะลงไปในรอย crack (เหมือนกับการฝังปุ๋ยไว้ในดิน ทำให้รากข้าวดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น) ดีกว่าการหว่านแบบเดิม ที่เม็ดปุ๋ยอยู่หน้าดิน รากไม่เจอปุ๋ย และทำให้รากข้าวลอย มีการคายประจุ ออกไปในอากาศ ข้าวไม่ได้สารอาหารเต็มที่
7.เติมน้ำลงในแปลงนา ปุ๋ยที่อยู่ในดิน ละลายน้ำ ต้นข้าว กินอย่างหิวกระหาย –ต้นข้าวแข็งแรง
8.หากมีหญ้าขึ้นระหว่างแถว ก็พรวนดิน เพิ่มออกซิเจนให้รากข้าว กำจัดหญ้า พร้อมฝังปุ๋ยไว้ในนา ไปในตัว ด้วย Rotary weeder ครับ (ทำหลังจากปล่อยน้ำเข้านาให้ซึมเข้าหน้าดิน)


9. เลี้ยงเป็ด ในร่องนาดำ (บ้านที่มีคนอยู่ปลวก แมลงไม่ขึ้นบ้าน แปลงนามี เป็ดอยู่ ก็จะมีเสียง และคลื่นความร้อน รบกวนการอยู่ของแมลง)

10.ต้นข้าวจะโตทางข้าง (แตกกอ) และล่าง (รากลงล่าง ช่วยหากินเลี้ยงลำต้น) ทำให้ไม่ต้องยืดตัว "หนีน้ำ" ต้นข้าว ไม่ล้ม เวลาเก็บเกี่ยว ชาวนาก็ได้ข้าวเพิ่มขึ้น !!!


             และมีอีกวิธีในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้ามาทำลายต้นข้าว ของชาวนา ซึ่งเป็นปัญหาที่กำลังมีการระบาดอย่างรุนแรงในแปลงปลููกข้าวขณะนี้  หากเป็นพื้นที่ มีน้ำสะดวก ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว นาปรัง ช่วงนี้ทำการไขน้ำเข้าแปลงนาเมื่อพบว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีการเข้าทำลาย เป็นปริมาณมาก เรียกว่าทำให้น้ำท่วมต้นข้าวไปเลย เป็นเวลา 2-3 วัน แล้วไขน้ำออกจากแปลงนาข้าว ก็จะช่วยทำให้ แมลงเกือบทุกชนิดที่เข้ามาทำลายข้าวของเรา หนีไปหมด หรือที่ไม่หนีไปเช่น พวกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชนิดที่มีปีกสั้น จะจมน้ำตาย ข้าวของเราก็จะกลับมางอกงามให้ผลผลิตข้าวเปลือกสูงๆต่อไป
http://www.ข้าวฯ.com