พิมพ์หน้านี้ - รถเมล์ขาว

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => เล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิต => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 22, 2011, 03:37:14 PM



หัวข้อ: รถเมล์ขาว
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กันยายน 22, 2011, 03:37:14 PM
รถเมล์ขาว(นายเลิศ) คั้นนี้ไม่ทันได้ขึ้น เคยขึ้นตอนเป็นรถเบ็นซ์ จากประตูน้ำไปประทุมวัน
(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTt5I2wiTj6bF55WEaRLSdZe-XI3CtdfR_abLx3VDPcwkggqc43vQ)
รถราง
(http://bp1.blogger.com/_5cj3SyZdlEs/R4GmQZWVtsI/AAAAAAAAAZI/e5NaOfLLLaY/s320/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%A1.jpg)
รถเมล์นายเลิศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รถเมล์นายเลิศ หรือ รถเมล์ขาว เป็นรถโดยสารประจำทางสายแรกของไทย ผู้ริเริ่มคือพระยาภักดีนรเศรษฐ หรือนายเลิศ เศรษฐบุตร เริ่มจากกิจการบริการรถม้าเช่า ซึ่งนายเลิศเป็นผู้ออกแบบตัวรถเอง โดยคิดค่าโดยสารสำหรับรถม้าเดี่ยวชั่วโมงละ 75 สตางค์ รถม้าคู่ชั่วโมงละ 1 บาท [1] แต่นายเลิศเห็นว่าเป็นการทรมานสัตว์ จึงคิดเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2453
[แก้]ลักษณะของรถ

รถเมล์นายเลิศมีลักษณะเฉพาะคือ ทาสีขาวทั้งคัน มีตราประจำรถเป็นรูปขนมกง นายเลิศเป็นผู้ออกแบบตัวถังรถเมล์ด้วยตัวเอง โดยเขียนแบบด้วยชอล์กบนพื้นปูน ให้ช่างไม้ชาวเซี่ยงไฮ้เป็นผู้ต่อ โดยใช้เครื่องยนต์ที่สั่งซื้อมาจากประเทศอังกฤษ นายเลิศมีนโยบายในการเดินรถว่า "สุภาพ ซื่อสัตย์ ประหยัด ทันใจ เอากำไรแต่น้อย บริการผู้มีรายได้น้อย" [2]
รถเมล์สายแรกของนายเลิศ วิ่งจากประตูน้ำไปสี่พระยา เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าจึงขยายออกไปจนเกือบทั่วกรุงเทพมหานคร คนทั่วไปเรียกรถของท่านว่า "รถเมล์ขาว" ตามสีของรถ ต่อมานายเลิศได้ริเริ่มบริการเรือเมล์ที่ชาวบ้านเรียก "เรือขาว" รับส่งผู้โดยสารตามคลองแสนแสบ ผ่านหนองจอก มีนบุรี แล้วมาสุดทางที่ประตูน้ำ เชื่อมโยงกับเส้นทางของรถเมล์ขาว กิจการนี้เป็นที่ประทับใจของคนทั่วไป และสร้างชื่อเสียงให้ท่านมาก
[แก้]การสิ้นสุดกิจการ

กิจการรถเมล์นายเลิศ ดำเนินการมานานถึง 70 ปี ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในกรุงเทพฯ ถึง 36 สาย มีรถประมาณ 700 คัน มีพนักงาน 3,500 คน นับเป็นบริษัทรถเมล์ที่ใหญ่ที่สุด แต่ได้เลิกกิจการลงในปี พ.ศ. 2520 [2] เมื่อรัฐบาลมีนโยบายรวมกิจการรถเมล์ทุกสายในกรุงเทพมหานครมาอยู่ในความดูแลของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ