พิมพ์หน้านี้ - อ.‘ระพี สาคริก’

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => บุคคลดีเด่นงานเกษตรและแนวคิดพัฒนา => ข้อความที่เริ่มโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 03, 2010, 07:49:24 PM



หัวข้อ: อ.‘ระพี สาคริก’
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 03, 2010, 07:49:24 PM
(http://img530.imageshack.us/img530/6382/rapeezi1.jpg)

ชื่อนี้คงมีคนจำนวนไม่น้อยนักที่จะคุ้นหู
หลายคนรู้จักและเรียกท่านว่าอาจารย์ นั่นเพราะเคยได้รับการทาบทาม
จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้เข้าเป็นอาจารย์ประจำ
รวมทั้งเคยดำรงตำแหนงอธิการบดีของมหาวิทยาลัยด้วย
อีกทั้งยังเคยเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
       
       อีกมุมหนึ่งหลายคนก็รู้จักท่านในฐานะนักเขียน นักคิด นักวิจัย
       
       ขณะที่เมื่อใดที่ว่างด้วยเรื่องของกล้วยไม้
ในฐานะของนักวิชาการเกษตรผู้บุกเบิก
วงการกล้วยไม้ของประเทศไทยให้ก้าวย่างสู่สากล
นี่คือสิ่งที่ท่านได้รับการยอมรับและยกย่องให้ยืนอยู่แถวหน้า
กระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
สาขาเกษตรศาสตร์ ในปีพ.ศ.2511
ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดด้านวิชาการ
นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในปีพ.ศ.2513 อีกด้วย
       
       ทว่าศ.ระพีในวัย 84 ปีที่เราได้เห็นในวันนี้
คือภาพของชายชราธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่วางมือจากชีวิตการทำงาน
ทั้งในภาคราชการ กึ่งราชการและเอกชน เพื่อหันมาใช้ชีวิตที่สงบและเรียบง่าย
เหลือก็แต่เพียงการเป็นที่ปรึกษาให้วิทยาทานด้วยการบรรยาย สัมมนา
โดยเฉพาะด้านการพัฒนาชนบทและเยาวชนที่เน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรม
       
       ดังเช่นคราวนี้ที่ท่านได้รับเชิญให้มาบอกเล่าเรื่องราวของตนเอง
ซึ่งจัดโดยสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ในสไตล์สบายๆแบบ “ปู่คุยกับหลาน”
(http://img85.imageshack.us/img85/442/orchidtd2.jpg)

 “ชีวิตคนไทยส่วนใหญ่รากฐานอ่อนแอ จะเห็นกันง่ายๆคือ
ใช้เงินเป็นตัวชี้วัดแค่เห็นเงินก็ตาโต ตื่นเต้นกัน
เห็นของใหม่ก็อยากได้อยากมี ทั้งๆ ที่ของเก่าก็ยังใช้ได้
อย่างเช่นโทรศัพท์มือถือ หลายต่อหลายรุ่นที่ออกมาวางขาย
ทำให้สภาพจิตใจอ่อนแอลง ความซื่อสัตย์ต่อตัวเองหายไป
อีกทั้งยังตกอยู่ในสภาพที่ประมาท

อย่างเรื่องข้าวหอมมะลิที่ถูกสหรัฐอเมริกาจดลิขสิทธิ์ไปนั้น
ซึ่งถ้าว่ากันจริงๆมันคงไม่มีประโยชน์แล้วที่เราจะไปเรียกร้องทวงสิทธิ์อะไร
แต่อยากให้หันมามองสิ่งที่อยู่รอบตัวเราจะดีกว่า
ให้มองว่าในประเทศไทยของเรายังมีข้าวของอีกมากมาย
ที่ควรจะหันมาใส่ใจและเร่งพัฒนาพร้อมๆกับการเก็บรักษาไว้
นี่คือจุดอ่อนของคนไทยสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราที่สุดเรากลับมองข้าม”
คุณปู่ระพี เริ่มสะท้อนทัศนคติของตนเองอย่างเนิ่บๆ
พร้อมกันกับการแสดงสีหน้าที่แปดเปื้อนไปด้วยรอยยิ้ม
ทำให้คนนั่งฟังรู้สึกคล้อยตามและนับถือในคำพูดของท่าน
       
       ศาสตราจารย์ผู้ผ่านโลกมากว่า 8 ทศวรรษ ยังบอกเล่าต่อไปอีกว่า
หากสังคมใดตกอยู่ในความประมาทสังคมนั้นๆย่อมไปไม่รอด
ดังนั้นความประมาทนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงไปพร้อมๆกันนั่นคือตัวเอง
ถ้าคนทุกคนรู้จักตัวเองก็เท่ากับว่าเรารู้จักผู้อื่นด้วย
รวมทั้งต้องรู้จักที่จะยกย่องผู้อื่นให้เทียบเท่ากับตัวเอง
       
       อย่างเช่นในวงการกล้วยไม้ ระดับพล.ทหารกับนายพลก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้
ไม่มีชนชั้นวรรณะ เรื่องแบบนี้เป็นกันไปทั่วโลก
หากเราคำนึงถึงจิตใจผู้อื่น สังคมก็จะเป็นสังคมที่ดี
แม้เม็ดดินเม็ดทรายสักเม็ดหนึ่งก็มีความสำคัญเท่าเม็ดใหญ่

“ความจนความรวยไม่เคยมีในโลกนั้นเป็นความจริง
เช่น สมมติเรามีเงินอยู่ 10 บาท ถ้าเราบอกตัวเองเสมอว่าเราพอใจแล้ว
เราพอใจตรงนี้ นี่คือความพอเพียงเพราะรากฐานของความพอเพียงคือจิตใจ
ต้องควบคุมจิตใจตัวเองให้ได้เพราะรากฐานจิตใจทำให้เราได้รู้จักกับตนเอง
รวมทั้งใช้ธรรมะคือธรรมชาติในใจเป็นฐานทุกอย่าง
แล้วจากนั้นแม้จะมีเทคโนโลยีใดๆเข้ามาก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้”
       
       นี่คือหนึ่งในแง่คิดที่อาจารย์ระพีสอนให้ทุกคนในสังคมได้รับรู้
ถึงการใช้ชีวิตท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยการแข่งขันกันสูง
ค่าครองชีพยังคงได้ไม่สม่ำเสมอเท่าเทียมกัน
ขณะที่สิ่งล่อหูล่อตาอันเป็นกิเลสก็เข้ามาเบียดเบียนจิตใจ
จนทำให้หลายคนแพ้ราบคาบ
       
       เมื่อเกริ่นมาถึงสภาพบ้านเมืองในปัจจุบัน
ในฐานะผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ได้สัมผัสโลกมามากมาย
ก็อดที่จะให้แง่คิดไม่ได้ว่าปัญหาบ้านเมืองในสมัยก่อน
คำว่าประชาธิปไตย เกิดขึ้นและมีอยู่ในใจคน ข้างนอกจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่
จิตใจคนคือรากฐานของทุกสิ่งอยู่แล้ว
ฉะนั้นจึงแตกต่างจากภาพของประชาธิปไตยที่เราประจักษ์กันในปัจจุบัน

และไม่ว่าปัญหาใดๆก็แล้วแต่ที่เกิดขึ้นเพียงทุกคนมองให้เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ที่ไม่ใช่เป็นธรรมชาติที่เป็นสิ่งแวดล้อมล้อมๆ ตัวเรา
แต่ให้มองว่าเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา
มองว่าเป็นปัญหาที่ตัวเรา แม้ในบางเรื่องจะดูเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ใส่ใจ
แต่บางครั้งก็เป็นตัวเราเองที่ก่อเรื่องโดยที่ไม่รู้ตัว
ทุกอย่างจึงขึ้นอยู่ที่ตัวเราเหมือนดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ที่พระองค์เคยตรัสไว้ว่า

“คนที่จะช่วยบ้านเมืองได้ ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง
แต่จะเป็นใครก็ได้ทั้งนั้น”
       
       ทุกวันนี้ หลังจากที่ได้ปลดระวางตัวเองจากหัวโขนหลากหลายที่ได้รับจากสังคมแล้ว
ศ.ระพี เล่าให้ฟังว่าได้ใช้ชีวิตส่วนหนึ่งหมดไปกับการนั่งเขียนหนังสือ
ถ่ายทอดเรื่องราวและมุมมองผ่านประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวมาตลอดชีวิต
แต่หนังสือจริงๆไม่ได้อยู่ที่บทความหรือรูปเล่มภายนอก ทว่าอยู่ในใจ
ซึ่งการจะเป็นนักฟัง นักอ่าน นักเขียนที่ดีนั้นต้องมีฐานอยู่ที่ตัวเอง
ซึ่งก็สนใจที่จะเขียนทุกสิ่งทุกอย่างอันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ค้นหาความจริง
โดยที่ผลการค้นหาความจริงจากใจตนเองเชื่อว่า
ข้อมูลที่เก็บสะสมเอาไว้ในรากฐานจิตใจ
ถ้าเป็นหนังสือก็คงเป็นตำราเล่มใหญ่
       
       นอกจากนั้น ยังมีโอกาสพบความจริงจากวิถีการดำเนินชีวิตต่อไปอีกว่า
ยิ่งใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลมากเท่าไหร่
ยิ่งทำให้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วแตกฉานยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนมีดที่ยิ่งลับ
ยิ่งนำมาใช้ประโยชน์ก็ยิ่งคม ไม่นำมาใช้เลยมีดก็ทื่อ
       
       “ธรรมชาติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าเราจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่
ก็ขอให้เป็นตัวของตัวเองให้ดีที่สุด อย่างตัวผมก็ไม่ได้เก่งไปกว่าใคร
แต่ผมยืนอยู่บนความหลากหลายของตนเองคือเคารพในตนเอง
ขณะเดียวกันก็เคารพคนอื่นไปพร้อมๆกัน”
และนี่คืออีกมุมหนึ่งของลูกผู้ชายตัวจริงที่ชื่อ “ ระพี สาคริก”

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ได้มาถึงจุดที่เราต่างก็เรียกหา "คุณธรรม" กันอย่างกว้างขวาง

ถ้าจะกล่าวว่า "หากสังคมขาดธรรมาธิปไตยซึ่งควรจะมีอยู่ในพื้นฐาน
แม้เราจะหวังให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยก็คงเป็นไปได้ยาก"

หากหวนกลับไปพิจารณาค้นหาความจริง ว่า
นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2475 ซึ่งเราประกาศว่าต้องการประชาธิปไตย
แต่เราเอา การปฏิวัติ มาเป็นเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลง

มันก็เหมือนนำชนักมาปักติดหลังคนไทยทั้งชาติเอาไว้จนถึงทุกวันนี้

การเปลี่ยนแปลงจากตรงนั้นเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การยกพวกฆ่ากันเองมาโดยตลอด

ผู้เขียนยังจำได้ดีว่า หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่นาน
ช่วงนั้นมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาถึงช่วงที่คุณทวี บุณยเกตุ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 7 วัน
หลังจากนั้นเราก็เริ่มมีการติดตามฆ่ากันเอง
จนกระทั่งฝ่ายที่มีกำลังน้อยกว่าจำต้องหนีหัวซุกหัวซุน


สิ่งดังกล่าวมันสอนให้แต่ละคน ทีหลังอย่าคิดโลภโมโทสัน
เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนไปเองอย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว

การมีอำนาจด้วยความรู้สึกพอเพียงเท่านั้น
ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นไปได้ด้วยความสงบและร่มเย็นเป็นสุข

แทนที่จะอยากได้ประชาธิปไตยจนตัวสั่น
ซึ่ง ณ จุดนี้ทำให้ขาดการรู้ตัวเองได้ถึงเหตุและผล

ทุกวันนี้ หลายคนคิดถึงความสำคัญของ "บ้าน"
ซึ่งหาใช่บ้านที่แต่ละคนอาศัยซุกหัวนอนเท่านั้นไม่
หากควรจะหยั่งรู้ได้อย่างลึกซึ้ง ว่า
คือบ้านเกิดเมืองนอนของแต่ละคน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต

ความหมายของ บ้าน หาใช่หมายถึงบ้านที่แต่ละคนอาศัยอยู่
มีรั้วรอบขอบชิดที่สร้างขึ้นมากันขโมย และการล่วงล้ำของเพื่อนบ้าน
และให้ความสวยงามเป็นการส่วนตัวเท่านั้นไม่

แต่ถ้าเข้าใจความหมายของคำว่า บ้าน ได้อย่างลึกซึ้งว่า
หมายถึงบ้านที่ชีวิตไทยร่วมกันอาศัยอยู่อย่างอบอุ่นตลอดทั้งชาติ

ดังนั้น บ้านซึ่งทุกคนใฝ่ฝันที่จะมีไว้เป็นเจ้าของ
และควรจะรู้ความหมายได้ถึงระดับหนึ่ง มันเป็นความจริงที่ว่า
บ้านอันเป็นสุดที่รักดุจชีวิตของแต่ละคน
กำลังสูญหายไปจากหัวใจคนไทยจำนวนมาก
บ้านหลังนี้หมายถึง ความสำคัญของจิตใจ
ที่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัย
ของจิตวิญญาณเราแต่ละคนที่เชื่อมโยง
ถึงกันและกันอย่างเสมอเหมือนกันหมด

หากมองเห็นความจริงเรื่องนี้เราคงจะต้องสำนึกอยู่ในใจแล้วว่า
"อนิจจาบ้านซึ่งเป็นของคนไทยทุกคน
มันกำลังเหลือแต่เศษหินและดินที่กองอยู่บนพื้นผิวโลก
รวมทั้งวิญญาณคนไทยก็คงจะเปลี่ยนไปเป็นแค่ตำรา
ในประวัติศาสตร์อย่างน่าเศร้าใจที่สุด"

ถึงกระนั้น แม้แต่ตำราดังกล่าว ถ้าจิตใจคนไทยขาดการรู้คุณค่าของตัวเอง
ประวัติศาสตร์มันก็คงกลายเป็นเศษกระดาษที่เผาอยู่ในเปลวไฟได้ไม่ยาก

ก่อนอื่น เราควรเริ่มต้นด้วยการก้มลงมาดูพื้นดินและพิจารณาอย่างรู้เหตุรู้ผลร่วมด้วยว่า
ถึงบัดนี้แผ่นดินไทย ซึ่งเคยเป็นของคนไทย รวมทั้งญาติพี่น้องเราเองอย่างภาคภูมิใจนั้น
มันกลับเป็นเพียงรอยเท้าของฝรั่งมังค่าที่เข้ามาเหยียบย่ำหัวใจคนท้องถิ่น
ซึ่งยังมีจิตสำนึกหลงเหลืออยู่บ้าง

เรื่องนี้อาจจะต้องยอมรับความจริงว่า มีการฆ่าฟันกันเองไปจนถึงจุดหนึ่งแล้ว

ปัจจุบันนี้ผู้เขียนหวนกลับมาค้นหาความจริงใจจากตนเอง
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ค้นหาเหตุผล ทำให้อดรู้สึกไม่ได้ว่า
"ทุกวันนี้ชีวิตคนไทยกำลังดิ้นตายใช่หรือเปล่า?"

"..ฉันนึกถึงภาพแมวตัวหนึ่งซึ่งผ่านเข้ามาในสายตาตัวเองหลายปีมาแล้ว
วันนั้น แมวตัวนั้นกำลังเดินวนไปเวียนมาเพื่อค้นหาเศษอาหารที่อยู่ในครัว
บังเอิญเด็กชายคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในบ้าน มองเห็นเข้า
เขากระโดดไปคว้าไม้พลองที่พิงอยู่ข้างฝา แล้วนำมาหวดลงบนหลังเจ้าแมวตัวนั้น
ฉันมองเห็นภาพมันดิ้นอย่างสุดฤทธิ์
ไม่เพียงเท่านั้นการดิ้นของแมวมันคล้ายกับว่า
เส้นเอ็นซึ่งอยู่ในระบบอันเป็นธรรมชาติกำลังชักกระตุก
จนกระทั่งพาเอาตัวมันเองเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะแน่นิ่งไป
แต่แล้วเด็กชายคนนั้นก็นำไม้มาหวดซ้ำลงไปอีก
ฉันเพิ่งเข้าใจความหมายของคนแต่ก่อนที่กล่าวไว้ว่า
"พื้นที่ดินแปลงนี้มันมีขนาดเท่ากับแมวดิ้นตาย.."(http://img378.imageshack.us/img378/2430/rapee1bu3.jpg)

ความหมายของภาษิตบทนี้ควรจะหมายถึง
ถ้าหวังที่จะได้แผ่นดินซึ่งมีขนาดเท่ากับแมวดิ้นตาย
ก็คงมีความหมายว่ามันคงไม่รู้จักจบลงได้ ณ จุดใดจุดหนึ่ง

ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงคำว่า "บ้าน" แต่ละคนคงใฝ่ฝันที่จะมีบ้านเป็นของตัวเอง
อีกทั้ง ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เอาไว้กิน ไว้ใช้ ให้เกิดความภูมิใจในชีวิต

แต่ถ้ามองบ้านด้วยความรู้ความเข้าใจได้ลึกซึ้งถึงระดับหนึ่ง
อย่างที่พูดกันว่า บูรณาการ
ควรเห็นความจริงได้ว่า บ้านอันเป็นที่รักดุจชีวิตกำลังสูญหายไปจากหัวใจเราเอง

ซึ่งขณะนี้ต่างคนต่างเห็นแก่ตัวกันเป็นส่วนใหญ่

ไม่คำนึงว่าเพื่อนมนุษย์จะสามารถอยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข
หรือว่าใครจะทุกข์แค่ไหนก็ไม่สำคัญ
แต่ฉันหรือตัวกูหวังจะมีความสุขคนเดียวก็พอแล้ว
หากมีใครท้วงติงก็จะสะท้อนให้เห็นภาพถ่ายในจิตใจได้ว่า
แทนที่จะรับฟังด้วยความขอบคุณ กลับขาดความใจกว้าง

ดังนั้น ความหวังที่ว่าสังคมจะได้รับการแก้ไขก็คงเป็นไปได้ยาก

และถ้ายังมองไม่เห็นความสำคัญของบ้านเกิดเมืองนอน
ที่เชื่อมโยงถึงกันและกันได้หมดทั้งประเทศ จนกระทั่งถึงทั้งโลก
วันหนึ่งก็คงจะต้องหวนกลับมานั่งรำพึงถึงชีวิตตัวเองว่า

อนิจจาสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตเราแต่ละคน
มันกำลังจะสูญหายไป จนกระทั่งไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว

ทุกวันนี้ แม้กระทั่งบ้านลูกหลานไทยที่ปลูกอยู่บนแผ่นดินผืนนี้
มันก็เริ่มกลายเป็นของคนท้องถิ่น ซึ่งมีสามีเป็นฝรั่ง ไปทีละแห่งสองแห่ง

และแล้ววันหนึ่งมันก็จะหมดสิ้นไปจนไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่อีก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศักดิ์ศรีของความเป็นคนไทย
ที่ควรจะอยู่บนแผ่นดินผืนนี้ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนสืบไป

วันหนึ่งในอนาคตแผนที่ประเทศไทยหรือประเทศสยาม
ที่ผู้คนสมัยก่อนเคยหลงติดอยู่กับฝรั่งกระทั่ง
ถึงกับเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

ฟังดูแล้วมันน่าอับอายขายหน้าคนชาติอื่นเขาหรือเปล่า
ที่กลุ่มผู้บริหารประเทศนำเอาสิ่งดังกล่าว
ไปขายให้คนต่างชาติเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเอง

แท้จริงแล้วหากรู้สึกได้อย่างลึกซึ้ง ควรสำนึกได้อยู่เสมอว่า
การซื่อสัตย์ต่อตัวเอง มันสำคัญยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมด
แม้จนก็ควรจะภูมิใจว่าเราสามารถถือความซื่อสัตย์ต่อตนเองเอาไว้ให้มั่นคงอยู่ได้

ยิ่งกว่านั้น สิ่งดังกล่าวหากจะต้องแลกด้วยชีวิต ก็ควรยอมได้
แทนที่จะให้คนชาติอื่นเขามาปรามาส ดูถูกเหยียดหยาม

ว่า "คนไทยสามารถใช้คุณค่าของชีวิตเอามาขายกินได้ทุกเรื่อง"
ซึ่งฟังแล้วครั้งใด แทบจะเอาชีวิตแทรกแผ่นดิน
หนีหน้าไปให้พ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้

สภาพที่เป็นอยู่เช่นนี้ ถ้าจะกล่าวจากใจจริงก็ว่า

ทุกวันนี้คนที่รักและซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินไทยกำลังมีหัวอกกลัดหนอง

แล้วคงมีคำถามต่อไปอีกว่า
แล้วใครจะบ่งหนองสิ่งนี้ออกไปจากตัวเรา

แท้จริงแล้วเราก็ไม่ควรจะหวังให้คนอื่นมาช่วย
ถ้าหวนกลับมาพิจารณาถึงสิ่งซึ่งอยู่ในใจเราเอง
เราแต่ละคนควรหาคำตอบได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ

อนิจจาประชาธิปไตยในสังคมไทย มันก็คงล้มลุกคลุกคลาน
อีกทั้งทำให้คนไทยต้องยกพวกฆ่ากันเองอย่างจบสิ้นลงได้ยาก
และแล้วบนแผ่นดินผืนนี้เราจะหวังหาความสุขได้จากที่ไหน

ใครรู้ช่วยกรุณาตอบทีด้วยเถิด
 
ที่มาอรุณสวัสดิ์


หัวข้อ: Re: อ.‘ระพี สาคริก’
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ มีนาคม 03, 2010, 08:03:00 PM
สวนกล้วยไม้
(http://images.yuttana59.multiply.com/image/30/photos/28/500x500/1/2007-07-20-Rapee-Sagarik-Orchid-Garden-001-resize.jpg?et=bxOfcW%2B27SpVGlD7LdpeKw&nmid=51478260)
(http://images.yuttana59.multiply.com/image/13/photos/28/500x500/9/2007-07-20-Rapee-Sagarik-Orchid-Garden-012-resize.jpg?et=pkDXY3MPjGZSqC4tOT0YnQ&nmid=51478260)
ขอบคุณ
http://yuttana59.multiply.com/photos/album/28 (http://yuttana59.multiply.com/photos/album/28)



หัวข้อ: Re: อ.‘ระพี สาคริก’
เริ่มหัวข้อโดย: ปื้น ปากพนัง ที่ กรกฎาคม 27, 2014, 07:25:59 PM
ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ   THANK!!



(http://www.108kaset.com/up-pic/n20101007141031_5088.JPG)
ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก (4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ) ราษฎรอาวุโส นักวิจัย นักวิชาการเกษตรผู้บุกเบิกวงการกล้วยไม้ของประเทศไทยสู่สากล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์

(http://www.108kaset.com/up-pic/200px-RAPEE.JPG)

ชีวิตเมื่อเยาว์วัยและการศึกษา
ศาสตราจารย์ระพี สาคริกเกิดที่วรจักร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตริยสมุห (เนื่อง สาคริก) และคุณแม่สนิท ภมรสูตร เริ่มต้นการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนสามเสนวิทยาคาร และจากนั้นได้ย้ายโรงเรียนอีกหลายแห่ง ตั้งแต่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนนาฏศิลป์ โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรหรือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน จนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ และได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการถึง 2 ใบจากนั้น จึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ต่อมาสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี เมื่อ พ.ศ. 2486) ซึ่งเปิดสอนระดับเตรียมมหาวิทยาลัยที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ (แม่โจ้รุ่น 7) โดยศึกษาในคณะเกษตร ศาสตราจารย์ระพี สาคริกได้เลือกศึกษาด้านกสิกรรมและสัตวบาล สาขาปฐพีวิทยาระดับปริญญาตรีและได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อ พ.ศ. 2490


หัวข้อ: Re: อ.‘ระพี สาคริก’
เริ่มหัวข้อโดย: ปื้น ปากพนัง ที่ กรกฎาคม 27, 2014, 07:32:08 PM
(http://www.108kaset.com/up-pic/hqdefault (1).jpg)


การทำงาน

ศาสตราจารย์ระพี สาคริกได้รับการทาบทามจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่กรุงเทพฯ ให้เข้าเป็นอาจารย์ประจำ แต่เนื่องจากความชอบทำงานค้นคว้าภาคสนามจึงเลือกไปทำงานที่สถานีทดลองกสิกรรมที่แม่โจ้ในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัยพันธุ์ข้าว พันธุ์ผักและยาสูบ ในขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาค้นคว้าด้าน "กล้วยไม้" ไปด้วยด้วยทุนส่วนตัว ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกิจวัตรในชีวิตของท่านทีได้อุทิศให้กับงานค้นคว้าวิจัยด้านกล้วยไม้ตลอดมาจนได้รับการยอมรับจากวงการกล้วยไม้ของโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญมากที่สุดผู้หนึ่ง เมื่อทำงานวิจัยได้ 2 ปี จึงกลับเข้ามารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลงานการค้นคว้าและส่งเสริมกล้วยไม้ทั้งในด้านการปรับปรุงพันุธุ์ ขยายพันธุ์ตลอดจนด้านธุรกิจการส่งออก ทำให้กล้วยไม้ไทยกลายเป็นสินค้าส่งออกด้านเกษตรที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย ด้วยเหตูนี้ ศาสตราจารย์ระพี สาคริกจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. 2511)[1] นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2513) อีกด้วย

ศาสตราจารย์ระพี สาคริกเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ รวมทั้งตำแหน่งอื่นๆ ที่สำคัญอีกมากมาย ปัจจุบัน แม้จะเกษียณอายุราชการนานแล้วก็ตาม ศาสตราจารย์ระพี สาคริกก็ยังได้รับความเคารพยกย่องเป็นปูชนียบุคคล โดยเฉพาะในวงการศึกษาและวงการกล้วยไม้ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น บิดาแห่งกล้วยไม้ไทย

ในปี พ.ศ. 2549 ศาสตราจารย์ระพี ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540


หัวข้อ: Re: อ.‘ระพี สาคริก’
เริ่มหัวข้อโดย: ปื้น ปากพนัง ที่ กรกฎาคม 27, 2014, 07:42:44 PM
(http://www.108kaset.com/up-pic/images (2).jpg)


ชีวิตครอบครัว


ศาสตราจารย์ระพี สาคริกในวัยชรา
ศาสตราจารย์ระพี สาคริกสมรสกับคุณกัลยา มนตริวัตร (บุตรีขุนพิชัยมนตรี หัวหน้าเสรีไทยสายกาญจนบุรีในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2) มีบุตร 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน

เมื่อ พ.ศ. 2533 ศาสตราจารย์ระพี สาคริกได้ลาออกจากตำแหน่งประจำต่างๆ ที่ท่านดำรงทั้งภาคราชการ กึ่งราชการและภาคเอกชน เพื่อหันมาใช้ชีวิตที่สงบและเรียบง่าย เหลือเพียงการเป็นที่ปรึกษาให้วิทยาทานด้วยการบรรยาย สัมมนา โดยเฉพาะด้านการพัฒนาชนบทและเยาวชนที่เน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรม

จาก http://www.108kaset.com/index.php?topic=23