พิมพ์หน้านี้ - ท่านใดทราบวิธีดัดไม้ไผ่ให้โค้งและให้อยู่ตัวไม่งอกลับบ้างครับ...

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●การเกษตร => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ กรกฎาคม 20, 2009, 11:54:29 AM



หัวข้อ: ท่านใดทราบวิธีดัดไม้ไผ่ให้โค้งและให้อยู่ตัวไม่งอกลับบ้างครับ...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็กๆ(เล็กซาวด์) ที่ กรกฎาคม 20, 2009, 11:54:29 AM
จะนำมาตกแต่งสวนครับ  :D HAPPY2!!


หัวข้อ: Re: ท่านใดทราบวิธีดัดไม้ไผ่ให้โค้งและให้อยู่ตัวไม่งอกลับบ้างครับ...
เริ่มหัวข้อโดย: พรเทพ-LSV team♥ ที่ กรกฎาคม 20, 2009, 12:03:43 PM
ก็เหมือนดัดเหล็กนั้นเหละพี่เล็ก แต่เหล็กดัดแล้วใช้ได้เลย แต่ใผ่ ต้องใช้เวลาดัดค้างไว้หลายวัน หรือเอาไฟลนก็ช่วยได้ครับหมายถึงช่วยย่นเวลาได้ครับ

อีกอย่างดัดตั้งแต่ต้นใผ่ยังเล็กๆเลย จะให้ได้ทรงไหนก็ดัดเอา พอใผ่โตก็ตัดมาใช้ได้เลย (ตอนเด็กๆทำบ่อย เวลาว่างมีมากไม่มีอะไรทำ) lsv-smile


หัวข้อ: Re: ท่านใดทราบวิธีดัดไม้ไผ่ให้โค้งและให้อยู่ตัวไม่งอกลับบ้างครับ...
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ กรกฎาคม 20, 2009, 12:17:21 PM
ที่พอหาซื้อได้ส่วนมากเป็นไม้ไผ่บางๆครับไม่หนาเหมือนภาคเหนือ มัดละ10ท่อน80-90บาท ...ไม้ไผ่สดหรือแห้งอย่างไหนดัดง่ายลงอยู่ตัวดีกว่าครับ  :D HAPPY2!!


หัวข้อ: Re: ท่านใดทราบวิธีดัดไม้ไผ่ให้โค้งและให้อยู่ตัวไม่งอกลับบ้างครับ...
เริ่มหัวข้อโดย: b.chaiyasith ที่ กรกฎาคม 20, 2009, 02:53:27 PM
ารเก็บรักษา   ทำได้ 2 วิธี คือ วิธีธรรมชาติและวิธีเคมี  วิธีธรรมชาติ คือ โดยการแช่น้ำและการใช้ ความร้อน  การแช่น้ำเป็นวิธีป้องกันมอดเจาะที่ทำกันแพร่หลายทั้งยังเป็นการถนอมรักษาไม้ไผ่อย่าง ง่าย ๆ แต่ได้ผลดีพอสมควร เพื่อให้แป้ง น้ำตาล  และสารละลายน้ำอื่น ๆ ถูกชะล้างออกไปจนแมลงไม่ สนใจใช้เป็นอาหาร วิธีนี้ทำได้ทั้งไม้ไผ่สดและไม้ไผ่แห้ง โดยนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำให้ท่วม ถ้าเป็นน้ำไหล ได้ยิ่งดี หรือแช่ในน้ำเค็มก็ได้ถ้าบริเวณนั้นไม่มีเพรียงอยู่ด้วย เพราะเพรียงจะเกาะไม้ไผ่ภายในระยะ เวลาอันสั้น นอกจากนี้ ถ้าน้ำไม่สะอาดพอก็จะทำให้ไม้ไผ่นั้นสกปรกตามไปด้วย ระยะเวลาการแช่น้ำ ไม้ไผ่สดแช่ตั้งแต่ 3 วันถึง 3 เดือน ส่วนไม้ไผ่แห้งจะได้ผลดีที่สุดต้องเพิ่มเวลาอีกไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์  การสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ ไม้ไผ่จะต้องนำมาสกัดน้ำมันออกก่อนที่จะนำไปลงน้ำยาป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ เพื่อให้การลงน้ำยาได้ผลจริง ๆ ซึ่งประโยชน์จากการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ คือทำให้ไม้ ไผ่แข็งแรงทนทาน มีผิวภายนอกสวยงาม ก่อนนำไม้ไผ่ที่ตัดแล้วมาสกัดน้ำมัน ควรตั้งพิงเอาโคนขึ้น ข้างบน หรือวางกองบนม้านั่งในที่ร่ม เพื่อมิให้ไม้ไผ่แห้งเร็วเกินไป และควรผึ่งไว้ประมาณ 1 เดือน การสกัดน้ำมันออกจากไม้ไผ่ทำได้ 2 วิธี คือ ให้ความร้อนด้วยไฟและด้วยการต้ม ทั้ง 2 วิธีนี้เรียกว่า ทำ การผ่านให้ความร้อนดังกล่าวแล้ว เรียกว่า "ไผ่สุก" ซึ่งมีประโยชน์ที่จะใช้ในการก่อสร้างและ อุตสาหกรรมประเภทศิลปะ เมื่อคำนึงถึงของการผ่านกรรมวิธีเพื่อรักษาเนื้อไม้นั้นแล้ว จึงเห็นว่าวิธีให้ ความร้อนด้วยไฟทำให้ไม้ไผ่แข็งแรงและแข็งแกร่ง โดยการเอาไม้ไผ่ปิ้งในเตาไฟ ซึ่งอาจใช้ถ่านไม้ หรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงก็ได้ ระวังอย่าให้ไหม้ไฟ และรีบขัดน้ำมันที่เยิ้มออกจากผิวให้หมดเพราะเมื่อ เย็นลงแล้วจะเช็ดไม่ออก ส่วนอุณหภูมิและระยะเวลาในการให้ความร้อนนั้นใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในอุณหภูมิ 120-130 องศาเซลเซียส การให้ความร้อนอาจกระทำซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ความร้อนกระจาย ได้ทั่วถึง เพราะการให้ความร้อนครั้งเดียวมาก ๆ อาจทำให้ไม้แตกได้  ส่วนการให้ความร้อนโดยการ ต้มจะทำให้เนื้อไม้ ไผ่อ่อนนุ่ม โดยการต้มในน้ำธรรมดาเท่านั้น ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง เนื่องจาก วิธีนี้ความร้อนจะต่ำกว่าการสกัดความร้อนด้วยไฟ แต่ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจก็อาจใช้โซดาไฟ 10.3 กรัม หรือโซเดียมคาร์บอเนต 15 กรัม ละลายในน้ำ 18.05 ลิตร ต้มนานประมาณ 15 นาที หลังจากต้ม เสร็จแล้วให้รีบเช็ดน้ำมันที่ซึมออกมาจากผิวไม้ไผ่ก่อนที่จะแห้ง เพราะถ้าเย็นแล้วจะเช็ดไม่ออกจากนั้น ล้างน้ำให้สะอาดและทำให้แห้งต่อไป การรมควันไม้ไผ่ เป็นวิธีง่าย ๆ โดยการรมควันผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ด้วยกำมะถัน ในห้องที่ปิดสนิทประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้ในห้องอีก 1 วันจึงนำออกจำหน่ายหรือใช้ งานต่อไป หรือใช้รมควันด้วยหญ้าหรือฟางข้าวให้มีควันขึ้นสม่ำเสมอ วิธีนี้ต้องคอยระวังอย่าให้ ผลิตภัณฑ์ไหม้ไฟ ดังนั้น  จึงควรเลือกเอาวิธีที่พอเหมาะพอดีกับความประสงค์ที่จะใช้งาน ทั้งในแง่ ของการคุณภาพและขนาดของการผลิต  วิธีเคมี คือ เป็นการใช้สารเคมีอาบหรืออัดเข้าไปในเนื้อไม้ วิธี นี้สามารถรักษาเนื้อไม้ไผ่ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าวิธีธรรมชาติ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ โดยการจุ่ม ปกติจะใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่นาที ซึ่งดีกว่าวิธีทาหรือพ่น เพราะสิ้นเปลืองน้ำยาน้อย กว่า ใช้ได้ทั้งไม้ไผ่สดและไม้ไผ่แห้ง โดยจุ่มในน้ำยาดีดีทีเข้มข้น 5% ผสมกับน้ำมันก๊าดนานประมาณ 10 นาที จะป้องกันเนื้อไม้ไผ่ได้นานถึง 1 ปี แต่ถ้าจุ่มให้นานขึ้นจะสามารถทนได้ยาวนานถึง 2 - 2 1/2 ปี การอาบน้ำยาแบบนี้สำหรับไม้ไผ่ที่ใช้งานชั่วคราว ไม้ไผ่ที่ใช้ในที่ร่มหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทาสี เสร็จแล้วทาน้ำมันชักเงาทับอีกที  โดยการทา น้ำยาจะซึมเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่โดยผ่านทางผิวไม้ไผ่   จะ ซึมมากน้อยเพียงใดย่อมแล้วแต่ชนิดของไม้ไผ่ที่อาบน้ำยา สารเคมีที่ใช้สำหรับป้องกันมอดและแมลงมี ัดังนี้ คอปเพอร์ซัลเฟต จำนวน 5-10% ใช้เวลาทา 30 นาที , ซิงค์ซัลเฟต จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , ลีดแอซีเตต จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , บอแรกซ์ จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , โซดา ไฟ จำนวน 1% ใช้เวลาทา 6 นาที , สารส้ม จำนวน 5-10% ใช้เวลาทา 6 นาที , แนปทาลีนคลอไรด์ จำนวน 3% ใช้เวลาทา 30 นาที , แพนทาโคลโรฟีโนล จำนวน 1% ใช้เวลาทา 30 นาที , โซเดียมคาร์ บอเนต จำนวน 3% ใช้เวลาทา 30 นาที  โดยการแช่ด้วยน้ำยาเชลล์ไดรต์ วิธีนี้ง่ายและเสียค่าใช้จ่าย น้อยที่สุด แต่มีข้อเสียคือ เสียเวลานาน ส่วนผสมน้ำยาเชลล์ไดรต์ 3 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร แช่ไม้ไผ่ไว้ ประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากแช่น้ำยาแล้วนำออกผึ่งแดดให้แห้ง จึงเก็บไว้ใช้งานต่อไป (ถ้าไม้ไผ่สด ต้องใช้เวลาแช่นานกว่าไม้ไผ่แห้ง 1 เท่าตัว)  โดยการฟอกขาว คือ ไม้ไผ่ที่ผ่านการให้ความร้อนและ สกัดเอาน้ำมันออกแล้ว จะปรากฏเป็นสีเหลือง เมื่อต้องการให้ผิวไม้ไผ่เป็นสีขาวหรือย้อมสีให้สวย มีวิธี ปฏิบัติ ดังนี้  ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซค์ 40 กรัม โซเดียมซิลิเคต 4 กรัม โซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 กรัม นำโซเดียมซิลิเคตผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ำอุ่น 700 ซีซี และไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ผสมให้ เข้ากัน นำไม้ไผ่ลงไปต้มในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นานประมาณ 20-40 นาที หลังจากนั้นผสม กรดแอซีติก 5 ซีซี กับน้ำ 500 ซีซี แช่ไว้ประมาณ 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำ

                        การแปรรูป  นิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน หรือใช้ในการตบแต่งบ้านเพราะไผ่รวกมีความสวยงามขึ้นเป็นกอ ลำเรียวเปลา ตรง กิ่งใบน้อย และอยู่เฉพาะตอนปลายของลำเท่านั้น ในด้านอุตสาหกรรมเหมาะสำหรับใช้ทำเยื่อกระดาษ เพราะเยื่อไม้ไผ่รวกมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ลำที่ยังสดอยู่สามารถนำมาดัดให้ตรงได้โดยใช้ความร้อน ลำไผ่รวกที่ผ่านการคัด ดัด ตรง และขัดผิวแล้ว มีการส่งเป็นสินค้าออกสำหรับเป็นไม้ค้ำพืชหน่อทางการเกษตร เช่น องุ่น หน่อเมื่อปอกทำความสะอาดหน่อแล้ว ต้มอัดใส่ปี๊บทำให้มีการทำหน่อไม้ปี๊บออกจำหน่ายปีละหลายร้อยล้านบาทจากป่าต่าง ๆ ทั่วประเทศ
http://www.dnp.go.th/EPAC/bamboo_rattan/bamboo19.htm (http://www.dnp.go.th/EPAC/bamboo_rattan/bamboo19.htm)
http://www.dnp.go.th/EPAC/bamboo_rattan/indexbamboo.htm (http://www.dnp.go.th/EPAC/bamboo_rattan/indexbamboo.htm)