พิมพ์หน้านี้ - 'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●การเกษตร => ข้อความที่เริ่มโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2008, 07:03:09 AM



หัวข้อ: 'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล
เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2008, 07:03:09 AM
'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล

(http://www.dailynews.co.th/web/images/logo.gif)

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/region/2/15/154702_68938.jpg)

'อบต.ทับมา' ขานรับพระราชดำรัสไบโอดีเซล ปลูกสบู่ดำพัฒนาพลังงานทดแทน สร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง

ปัจจุบันภาวะน้ำมันราคาสูงทำให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยเฉพาะค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นทุกปี กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานจึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตการใช้ไบโอดีเซลในระดับชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถผลิตไบโอดีเซลจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ได้แก่ น้ำมันพืชใช้แล้ว หรือน้ำมันพืชอื่นที่มีอยู่ในชุมชนนำมาใช้ประโยชน์หรือหากมีเหลือสามารถขายเพื่อนำรายได้ ซึ่ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง ในเวลานั้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 กลุ่มได้รวมตัวกันจัดประชุมสำหรับผู้สนใจ ณ ที่ตั้งวิสาหกิจชุมชนฯ เลขที่ 54/9 หมู่ที่ 6 ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีแนวคิดให้ชาวบ้านมีที่ว่างนำต้นสบู่ดำไปปลูก แล้วนำเมล็ดมาร่วมกันหีบเพื่อให้ได้ น้ำมันสบู่ดำ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลัง งาน มีโครงการเกี่ยวกับสบู่ดำ และน้ำมันใช้แล้วเพื่อทำ ไบโอดีเซล  ชุมชนขึ้น กลุ่มวิสาห กิจชุมชน พลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยองได้รับการติดต่อ โดยทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจาก  สบู่ดำ จ.ระยอง อย่างถูกต้อง

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/region/2/15/154702_68939.jpg)

นายสุกิจ ตั้งไพบูลย์วณิช ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง  เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาปี พ.ศ. 2549 จนถึง ปี พ.ศ. 2550 เป็นช่วงของการพัฒนาของวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ อย่างมาก มีการพัฒนา การจัดการ การบริหาร การจัดระบบ และการจัดทำในเรื่องของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นการใช้ประสบการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งสภาพความเป็นจริงของชุมชนเองเป็นที่ตั้งกลุ่มสมาชิกได้มีการประชุม วิเคราะห์ และวางแผนเป็นระยะในช่วงปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากน้ำมันราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองก็ให้ความสนใจมาก เพราะนอกจากระยองจะมีทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำไบโอดีเซล ชุมชนแล้ว ยังได้มีการปลูกสบู่ดำมาก่อนคนอื่นอีกด้วย ต่อจากนั้นจึงมีการประสานงานจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนมาตลอด โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำ บลทับมา ได้เข้าร่วมสนับสนุนเป็นหน่วยประสานงานโครงการเข้าเยี่ยมชมและดูงานจาก อบต.ทั่วประเทศ   จึงเกิดเป็นความร่วมมือแบบบูรณาการขึ้น โดยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพลังงาน    ทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง เป็นแกนหลัก ได้ร่วมดำเนินงานและการสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งมีคณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินการ

(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/region/2/15/154702_68940.jpg)

อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าว อบต. ทับมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งด้านกำลังคน และวิชาการบางส่วนทำกลุ่มขึ้นมาภายใต้โครงการเดียวกันนี้ คือ กลุ่มส่งเสริมอาชีพผู้ปลูกสบู่ดำ โดยมีคุณขวัญเรือน เฉียบแหลม เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ และกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสบู่ดำ ซึ่งมีหัวหน้ากลุ่มคือ คุณกิตติ ราชวัฒน์ เพราะฉะนั้นวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง ภายใต้โครงการพัฒนาและสาธิตการทดลองผลิต  ไบโอดีเซลจากสบู่ดำ ของกระ ทรวงพลังงาน จึงเป็นองค์ กรที่มีความเข้มแข็ง เพราะมีการทำงานแบบบูรณาการ ซึ่งจะสามารถบริหารได้จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ
 
สำหรับการจัดหาวัตถุดิบนอกจากจะใช้น้ำมันจากสบู่ดำแล้ว ยังมีการจัดหาจากน้ำมันใช้แล้ว ในท้องตลาด จ.ระยอง ไม่ว่าจะเป็นในตลาดสด หรือกลุ่มผู้ผลิตของทอดต่าง ๆ ที่สำคัญก็คือ มีวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ มีกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตทุเรียนทอด ซึ่งก็มีน้ำมันใช้แล้วเป็นจำนวนพอสมควร วิสาหกิจชุมชนฯจึงมีการจัดระบบ โดยการ จัดสรรต่าง ๆ ผู้ส่ง น้ำมันใช้แล้ว มาก็จะใช้หรือเติม น้ำมันไบโอดีเซล กลับคืน จึงเป็นระบบที่เรียกว่าเกิดวงจรทั้งเรื่องของพลังงานและธุร กิจในชุมชน ซึ่งการจัดทำน้ำมันไบโอดีเซลของชุมชนนี้ ตั้ง แต่มีการติดตั้งเครื่องมือก็ได้ดำเนินงานมาโดยตลอดแทบไม่มีวันหยุดเลย ช่วงไหนมีน้ำมันมากก็ผลิตมาก การทำไบโอดีเซลชุมชนนี้ยังได้มีการส่งตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความมั่นใจกับผู้ใช้น้ำมันที่ผลิตได้ตัวแรกที่เรียกว่า B100 นั้นจะถูกส่งเข้าตรวจสอบคุณภาพ แต่เมื่อชุมชนมีปริมาณความต้องการของสมาชิกที่จะเติมเครื่องยนต์มีจำนวนมาก ก็เลยต้องแย่งกันใช้โดยวิสาห กิจชุมชนฯ ได้ทำการผสมกับ น้ำมันดีเซล 50% จึงเป็นน้ำมัน B50 ขึ้น ปัจจุบันนอกจากที่จะมีหัวจ่ายที่เรียกว่า ปั๊มหลอด ในวิสาหกิจชุมชนพลัง งานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง เพื่อให้บริการแก่สมาชิกเองแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเติมได้ในราคาประหยัดกว่าดีเซล (หลายเท่า) ซึ่งแนวคิดที่จะจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปก็เพียงเพื่อการให้บริการที่มีการขยายตัวมากขึ้นกับการประชาสัมพันธ์หรือการรณรงค์ให้คนทั่วไปได้รับทราบ
 
ไบโอดีเซลที่เป็นสูตร B50 ของวิสาหกิจชุมชนพลังงานทดแทนจากสบู่ดำ จ.ระยอง ตั้งแต่เริ่มโครงการมาปีหนึ่งจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงหลายแสนบาท แต่ยังมีผลดีด้านอื่นอีกหลายเรื่อง นั่นคือทำให้ประชาชนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับไบโอดีเซลมีจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน แต่ที่สำคัญที่สุด คือ วิสาหกิจชุมชนฯจะเป็นตัวจุดประกายในเรื่องพลังงานทดแทนแห่งชาติและคำตอบสุดท้ายก็คือเป็นการช่วยชาติโดยการอนุรักษ์พลังงาน ลดการนำเข้า เกิดความยั่งยืนในการใช้พลังงานของประเทศต่อไปในอนาคต.



(http://ads.dailynews.co.th/news/images/2008/region/2/15/154702_68941.jpg)