พิมพ์หน้านี้ - ขจัดของเสียในตู้ปลา ด้วยการตรึงเซลล์ไนตริไฟอิง

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●การเกษตร => ข้อความที่เริ่มโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2008, 06:12:47 AM



หัวข้อ: ขจัดของเสียในตู้ปลา ด้วยการตรึงเซลล์ไนตริไฟอิง
เริ่มหัวข้อโดย: แวมไพร์-LSVteam♥ ที่ กุมภาพันธ์ 04, 2008, 06:12:47 AM
ขจัดของเสียในตู้ปลา ด้วยการตรึงเซลล์ไนตริไฟอิง

(http://www.thairath.co.th/images/logo.gif)

(http://www.thairath.co.th/2551/agriculture/Feb/library/04/farming1.jpg)

“ปลาตู้” ส่วนใหญ่จะเป็น ปลาสวยงาม...ที่ผู้เลี้ยงมักนิยมตั้งไว้ดูในบ้านเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ

แต่การเลี้ยงสัตว์น้ำในตู้ที่เป็นระบบปิดมีความยุ่งยาก หากน้ำเกิดเน่าเสียหรือดูแล เปลี่ยนถ่ายน้ำไม่ทันท่วงที

ปลาในตู้อาจจะตายได้โดยง่าย...

ด้วยเหตุผลนี้ รศ.ดร.อรุณวรรณ หวังกอบเกียรติ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกับ

นางสาวศิริวัฒน์ คูเจริญไพบูลย์ นิสิตจากภาควิชาจุลชีววิทยาและคณะ ทำการวิจัยในเรื่อง “ตรึงเซลล์ไนตริไฟอิง

แบคทีเรียเพื่อกำจัดของเสียในตู้เลี้ยงสัตว์น้ำระบบปิด”

รศ.ดร.อรุณวรรณ เผยว่า การเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบปิดนั้น ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำใหม่เข้าไป

หรือเติมก็เพียงปริมาณน้อยมากเพื่อทดแทนในส่วนที่น้ำระเหยออกไป ซึ่งการเลี้ยงระบบนี้ มักจะมีสาร แอมโมเนีย และ ไนไตรท์

และหากมีการสะสมมากขึ้นก็จะทำให้ปลาช็อกและ เสียชีวิตในเวลาต่อมา

โดยปฐมวิธี คณะวิจัย ได้ทดลองกับตู้เลี้ยงปลาในระบบปิด ด้วยการใช้ เชื้อไนตริไฟอิงแบคทีเรีย

ตรึงอยู่กับเศษปะการังในตู้เลี้ยงปลา ผลปรากฏเมื่อวัดค่าพบว่ามี แอมโมเนียไนโตรเจน และ ไนไตรท์ไนโตรเจน

มีความเข้มข้นเพียง 0.078+0.05 และ 0.05+0.04 มิลลิกรัมต่อลิตร

(http://www.thairath.co.th/2551/agriculture/Feb/library/04/farming2.jpg)

สำหรับตู้ที่ไม่ใส่ เชื้อไนตริไฟอิงแบคทีเรีย มีการสะสม แอมโมเนียไนโตรเจน กับ ไนไตรท์ไนโตรเจน สูงมาก

จนทำให้ปลาตาย

ต่อมาจึงใช้วิธีการ ตรึงเซลล์ไนตริไฟอิงแบคทีเรีย เข้ากับ แผ่น polyester

เป็นการนำร่องโดยทดลองกับตู้เลี้ยงปลาทองระบบปิดและใช้ตู้อนุบาลลูกกุ้งกุลาดำระบบปิด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

...แต่ก็ยังไม่จบกระบวนการ คณะวิจัยยังทำการ ศึกษาต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งชนิด ขนาดของสัตว์น้ำ และ ขนาดของตู้

หรือ บ่อเลี้ยง ตลอดจนหลากหลาย วิธีการเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดรูปแบบ และ อุปกรณ์การกำจัดแอมโมเนีย และ ไนไตรท์

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่

ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือ สู่ภาคอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้เหมาะสมกับยุคเศรษฐกิจพอเพียง

โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

ผลงานนี้ได้โชว์ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2551 ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี

จนถึงวันพรุ่งนี้ (5 ก.พ.)...

....หรือจะกริ๊งกร๊างถึง รศ.ดร.อรุณวรรณ 08-1932-5488 E-mail:fsciaru@ku.ac.th ขอรายละเอียดก็ได้เช่นกัน.



(http://www.thairath.co.th/2551/agriculture/Feb/library/04/farming3.jpg)