พิมพ์หน้านี้ - ถามถึงผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ โจทย์ใหญ่ที่ไม่มีใครพูดถึง ?

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => หน้าที่พลเมือง => ข้อความที่เริ่มโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 20, 2022, 09:18:07 AM



หัวข้อ: ถามถึงผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ โจทย์ใหญ่ที่ไม่มีใครพูดถึง ?
เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ พฤษภาคม 20, 2022, 09:18:07 AM
“ติดหนี้” BTS 40,000 ล้าน
ดอกอีกปีละ 2.8 พันล้าน จะแก้ยังไง?

ช่วงหาเสียงขับเคี่ยวกันที่ผ่านมา
ก็ได้รู้กันไปแล้วว่าแต่ละคนชูนโยบายอะไรบ้าง
จะเข้ามาทำอะไรกันหลังได้ตำแหน่ง
แต่แทบจะไม่มีใครพูดถึงปัญหาภาระ “หนี้ กทม.”
โดยเฉพาะหนี้ที่กรุงเทพมหานคร และ
บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทในสังกัด กทม.
ติดค้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS อยู่เฉียดๆ 40,000 ล้าน !!!

ถามว่า หนี้ก้อนนี้ มาจากไหน?

ตอบว่า ก็มาจากการให้บริการเดินรถในส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า
“สายสีเขียว” ของกรุงเทพมหานครเองนั่นแหละ
โดยภาระหนี้ประกอบด้วยสองส่วน คือ
ส่วนที่เป็นค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา กับ
อีกส่วนเป็นค่าขบวนรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสาร และ ระบบตั๋ว

หนี้สองส่วนนี้ เริ่มสตาร์ทตั้งแต่ปี 2559 และ 2560 ตามลำดับ
ตั้งแต่ตอนนู้นจนถึงบัดนี้ ผ่านมา 5-6 ปี ทั้ง กทม.และ กรุงเทพธนาคม
ทำเป็นแบะๆ ไม่รู้ไม่ชี้ หนี้ก็พอกหางหมูขึ้นมาเรื่อยๆ ทุกวัน
ว่ากันว่า อย่างต่ำๆ ก็วันละประมาณ 24 ล้านบาท

งานนี้ก็ต้องบอกว่า “บีทีเอส” เป็นบริษัทเอกชน
มีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา กรุงเทพมหานครว่าจ้างให้เดินรถ
และ บีทีเอส ก็ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนตลอด
ทำไมต้องมาแบกรับภาระที่ตัวเองไม่ได้ก่อ

บีทีเอส จึงทำเท่าที่ทำได้ มีการทวงถามหนี้กับกรุงเทพมหานครหลายครั้ง
พร้อมกับยื่นฟ้องเพื่อให้กรุงเทพมหานครจ่าย แต่ก็ยืดเยื้อกันมา

ฟังว่า “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” และผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร
เคยนำเรื่องเข้าที่ประชุม เพื่อจะขออนุมัติงบประมาณมาชำระหนี้
และเพื่อจะดำเนินโครงการต่อ แต่สภา กทม. ไม่เห็นชอบ
ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะไม่มีงบประมาณเพียงพอ

ครั้นถามไปที่มหาดไทย ที่กำกับดูแล กทม.
“พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา” รมว.มหาดไทย
ก็เล่นบท “เสือเงียบ” ไม่รู้ๆ ไม่อนุมัติงบมาให้
กลายเป็นเรื่องคาราคาซังที่ไม่มีทางออกให้เอกชน

เช็กยอดหนี้ กทม. ที่เป็นหนี้ บีทีเอส ยอด
ณ วันที่ 22 พ.ค. เมื่อปีที่แล้ว
เห็นว่ามีจำนวน 33,222 ล้านบาท

แบ่งเป็น ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา 12,218 ล้านบาท
ขณะที่ค่าขบวนรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสาร
และ ระบบตั๋ว 21,004 ล้านบาท

ถึงวันนี้ก็ลองคำนวณทบต้นทบดอกกันดู
เฉียดๆ 40,000 ล้านดังว่า ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง
ถ้าปล่อยไว้ให้เป็นแบบนี้ต่อไป เจอดอกเบี้ย 7% ต่อปี
ก็ตกอีกปีละ 2,800 ล้านอย่างต่ำๆ
หนี้โดยรวมจะบานตะไทแค่ไหน คิดดูกันได้

หากปล่อยไว้อีก 10 ปี แค่ดอกเบี้ยอย่างเดียว
ก็จะร่วมๆ 3 หมื่นล้านแล้วจ้า

ว่ากันว่า ทุกวันนี้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายของ BTS
ยังขาดทุนอยู่ราว 5-6 พันล้านบาท ต่อปี
เมื่อบวกกับหนี้ก้อนท่วมหัว ถามว่าผู้ว่าฯ กทม.และมหาดไทย
จะประสานสะสางเรื่องนี้กันยังไง ?

นี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ไม่มีใครพูดถึง!!

โค๊ด:
https://mgronline.com/politics/detail/9650000047304
----------------------------------------------------------------------------

ผู้บริหาร กทม. ต้องมีวิสัยทัศน์ ในการแก้ปัญหา ?
เป็นทั้ง นักบริหาร/นักประสานงาน /นักปฏิบัติที่ดี /มือประสานสิบทิศ
ทางออกของหนี้รถไฟฟ้าBTS ที่ไม่เจ็บตัวทุกฝ่าย คือ?

ตั้ง 3 บริษัท โฮลดิ้งคอมพานี บริหารร่วมกัน
ถ้าแก้สายสีเขียวได้มันจะวางโครงข่ายใยแมงมุมได้ทันที

จับ BTS กับ เงินกู้ที่กู้รัฐบาล และ กทม.
ตั้ง  โฮลดิ้งคอมพานี
บริหารสายนี้ใหม่ ให้ถือหุ้นให้หมด
แปลงหนี้เป็นทุน ไม่ต้องมี  "สัมปทาน"
ที่ติดหนี้ ก็ใช้หนี้ให้หมด มันก็ จบ
ทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน


นี่คือ? ทางออกของหนี้ ที่ก่อกันมา

บริษัทโฮลดิ้ง (holding company) หมายถึง
บริษัทที่มีการประกอบธุรกิจโดยมีรายได้
จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก
และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง
ซึ่งอาจเป็นการลงทุนในบริษัทในประเทศหรือบริษัทในต่างประเทศ
โดยต้องไม่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุน
(Investment Company) 
โดยบริษัทโฮลดิ้งจะถือหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมด
หรือมากกว่าร้อยละ 50 ของบริษัทอื่น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการควบคุมยิ่งกว่าเพื่อการลงทุน
บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อควบคุมดูแลบริษัทอื่นโดยเฉพาะ
จัดว่าเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง (Pure Holding Company)
ส่วนบริษัทที่ทำธุรกิจของตนเองพร้อมกับดูแลบริษัทอื่นด้วยเรียกว่า
บริษัทผู้ถือหุ้นแบบผสม (Mixed Holding Company or Holding-operating Company)