พิมพ์หน้านี้ - ยาอะไรบ้าง ที่ต้องเตรียมไว้ให้วัว-แพะของเราในฤดูฝน

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => การเลี้ยงแพะ-แกะ => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มิถุนายน 03, 2019, 04:05:24 PM



หัวข้อ: ยาอะไรบ้าง ที่ต้องเตรียมไว้ให้วัว-แพะของเราในฤดูฝน
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ มิถุนายน 03, 2019, 04:05:24 PM
หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> เว็บไซต์ใหม่ของพวกเรา w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!! https://www.pohchae.com/2019/06/03/drug/

❤รวมความคิดเห็นจาก เฟซบุ๊ค เลี้ยงแพะยั่งยืน
-นิวแลนด์ฟาร์มแกะ ยืนยง ต้นฝน มีพยาธิ เตรียมตัวถ่าย ใช้ ไอเวอร์เม็กเอฟ ตามdose 1cc ต่อ 30-35 กิโล
โดยส่วนใหญ่ตอนท้องเขาจะไม่นิยมฉีดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแท้งแต่เอาจริงๆฉีดได้ครับหรือแนะนำให้เป็นยากินความเข้มข้นของยาจะน้อยกว่ายาฉีด… ประสบการณ์ของผมนะครับ ผมใช้ 1:30 .. แต่ส่วนใหญ่ผมจะมีเทคนิคเสริมในการถ่ายเช่นอดอาหารและไม่ถ่ายตอนที่สัตว์ท้องครับ
หน้าฝน ดูแลกีบเท้าสัตว์ด้วย.. กีบเท้าคือจุดที่สะสม สิ่งสกปรก ควรตัดแต่งกลีบ และทำความสะอาดคอก บ่อยๆ ..ใช้ปูนขาวหว่านลงพื้นให้ทั่วๆ และกำจัด แมลงต่างๆ ที่มารบกวนสัตว์ ทำบริเวณรอบคอกให้โล่งอย่าให้รก เป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษและแมลงกัดต่อย
ขอบคุณคับ หนึ่งนิวแลนด์
-Isaraman Thippayanonหน้าฝน เป็นฤดูปราบเซียน การจัดการฟาร์มที่ดี เป็นเรื่องสำคัญ ก่อนที่จะใช้ยา ต้องเตรียมพร้อม ดังนี้
1. ตรวจหลังคา กันสาด ให้พร้อม อย่าให้รั่ว และฝนหรือลมโกรก เข้าปะทะตัวแพะได้
2. เตรียมฟางแห้ง สำหรับปูพื้นให้ลูกแพะ หรือ แพะป่วยสร้างความอบอุ่น อาจต้องเตรียมหลอดไส้ ขนาด 60-100 วัตต์ หรืออาจสูงกว่านั้น เพื่อกกให้ความอบอุ่นแก่แพะ ที่ป่วย
3. จัดการร่องระบายน้ำบริเวณรอบคอก อย่าให้น้ำไหลผ่านเข้าใต้พื้นคอก หรือ ในคอกกรณีคอกพื้นดิน ไม่ได้ยกพื้น และควรเตรียมไม้พาเลท/แคร่ สำหรับแพะนอนด้วย
4. ถ่ายพยาธิ เพื่อเตรียมรับการระบาดของพยาธิที่มากับหน้าฝนชุดใหญ่
#ยาที่ต้องเตรียม ซึ่งเป็นยาประจำฟาร์มที่ต้องมีเช่นกัน
1. เพ็นไดสเตร็ป แอลเอ. (เพ็น&สเตร็ป) หรือ อะม๊อกซี่ลิน เป็นยาปฏิชีวนะฆ่าแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและลบ รักษาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ และแผลที่เป็นหนองติดเชื้อ
2. อ๊อกซี่เต็ดตร้าไซคลีน เป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถซึมเข้าในกระแสโลหิตได้ ถือว่าเป็นครอบจักรวาล รักษาระบบทางเดินหาย แผลหนอง ตาอักเสบ เป็นต้น
3. คลอรามีน เป็นยาแก้แพ้ อากาศและแมลง-สัตว์พิษกัดต่อย (ยกเว้นพิษงู) ลดน้ำมูก และ การหลั่งของน้ำลาย
4. ยาปฏิชีวนะ(เลือกตัวใดตัวหนึ่ง)ที่รักษา
#ระบบทางเดินหายใจ ที่เหมาะสม เพื่อลดอาการไอ จาม
– เจนต้ามันซิน
– กาน่ามันซิน
– ลินโคมัยซิน
– เซฟไตรอะโซน
#รักษาระบบทางเดินอาหารและระบบหายใจ เช่น ถ่ายเหลว ท้องเสียจากการติดเชื้อ และประเภทหายใจแรง ไอ จาม
– เอ็นโรฟล็อกซาซิน เช่น เอ็นโรการ์ด , เอ็นโร-100 เป็นต้น
– ซัลฟาฯ เช่น อินเตอร์ทริม , ไบรีน่า เป็นต้น
– ไทโลซิน เช่น แม็คโครแลน 200
***กรณีลูกแพะถ่ายเหลว อาจจะต้องเตรียมยาชนิดน้ำ ด้วย เช่น ไบทริล , ไบท๊อก , เอ็นโร-100 , ไดเซนโต้(ยาน้ำเด็กชนิดน้ำของคน)
5. ยาลดไข้แก้ปวด
– โนวาซีแลน (ลดไข้อย่างเดียว)
– เยนเนอยิ่น (ลดไข้แก้ปวด)
– บิวต้าซิล (ลดไข้ แก้ปวด ลดอาการบวมบางส่วน)
#ยาอื่นๆซื้อเมื่อพบอาการเบื้องต้นใช้ยาดังกล่าวข้างต้นรักษาก่อน แล้วค่อยหายาเฉพาะโรคที่พบ เพื่อรักษาต่อไป
-Isaraman Thippayanon ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง มีฝนและลมกระโชก สิ่งที่ต้องปฏิบัติ คือการป้องกัน ส่วนการรักษา เป็นเรื่องปลายเหตุ ควรปฏิบัติดังนี้
1. กวาดคอก ให้พื้นคอกสะอาดอยู่เสมอ
2. พื้นคอกต้องแห้ง ควรโรยปูนขาว ชนิดร้อน(ใส่น้ำจะมีฟองอากาศพุดๆ) อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง
3. มีแสลนหรือผ้าใบป้องกันฝนสาดและลมโกรก
4. ควรมีอ๊อกซี่โซลูเบิล (อ๊อกซี่ผง) หรือ เยนเนอร์มัยซินและ มัลติวิตามิน ผสมละลายน้ำให้ดื่มกิน ติดต่อกัน 3 วัน (ควรผสมเปลี่ยนน้ำทุกวัน)
***กรณีแพะ-แกะ มีอาการเป็นหวัด มีน้ำมูก ควรรีบรักษาอย่าปล่อยให้เรื้อรัง จนทำให้เป็นปอดติดเชื้อ และน้ำท่วมปอด จนรักษาไม่ได้
#การรักษาเบื้องต้น
1. ฉีดอ๊อกซี่คลีน ติดต่อกัน 3-5 วัน หรือ อ๊อกซี่เต็ดตร้า แอลเอ. 1-2 เข็ม โดยแต่ละเข็มห่างกัน 3 วัน (72 ชม.) อัตรา 1:10
2. ฉีดคลอรามีน หรือ คลอเฟนิรามีน 1:10 ติดต่อกัน 3-5 วัน
3. กรณีมีไข้ ให้ฉีดยาลดไข้ด้วย เช่น โนวาซีแลน , เยนเนอยิ่น , บิวต้าซิล อัตรา 1:10 ติดต่อกัน 3-5 วัน