หัวข้อ: กาแฟ.. เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ พฤศจิกายน 02, 2017, 10:34:34 am หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> www.pohchae.com
. . (https://www.pohchae.com/wp-content/uploads/2017/11/coffee-11-2-1.jpg)
วงศ์ (Family): Rubiaceae
จีนัส (Genus): Coffea
สปีชีส์ (Species): C. Canephora
ชื่อสามัญ (Common name): Robusta Coffee
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Coffea robusta Pierre ex Froehner L.
![]()
ราก
กาแฟมีรากแก้ว และมีรากแขนงแตกออกจากรากแก้ว ประมาณ 4 ถึง 8 ราก รากแขนงจะมีรากฝอย และจากรากฝอยจะมีรากแตกออกมาอีกเป็นรากสำหรับดูดอาหาร รากชนิดนี้มีจำนวนประมาณ 60 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จะแผ่กระจายในระดับผิวดินลึก ประมาณ 20 เซนติเมตร
![]()
ลำต้นและกิ่ง
ลำต้น (Main Stem) เป็นลำต้นเจริญเติบโตมาจากรากแก้ว มีลักษณะเป็นข้อและปล้อง ในขณะที่กาแฟต้นยังมีขนาดเล็กจะเห็นได้ชัด โดยใบจะอยู่ตามข้อของลำต้น เมื่อต้นโตขึ้นใบจะร่วงหล่นไป และโคนใบของกาแฟมีตา 2 ชนิด คือ ตาบนและตาล่าง..
ตาบนจะแตกกิ่งออกมาเป็นกิ่งแขนงที่ 1 (Primary Branch) เป็นกิ่งลักษณะเป็นกิ่งนอนขนานกับพื้นดินมีข้อและปล้อง แต่ละข้อของกิ่งแขนงนี้จะมีกลุ่มตาดอกที่จะติดดอกเป็นผลกาแฟต่อไป
ส่วนตาล่างจะแตกออกเป็นกิ่งตั้ง (Sucker) กิ่งตั้งจะตั้งตรงขึ้นไปเหมือนลำต้น ไม่ติดดอกผล แต่สามารถสร้างกิ่งแขนงที่สามารถให้ดอกผล เรียกเป็นกิ่งแขนงที่ 1 เช่นกัน กิ่งแขนงที่ 1 สามารถแตกกิ่งแขนงต่อไปได้อีกเป็นกิ่งแขนงที่ 2 และกิ่งแขนงที่ 2 สามารถแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 3 ได้อีก กิ่งแขนงเหล่านี้จะเกิดในลักษณะเป็นคู่สลับเยื้องกันบนลำต้นหรือกิ่งตั้ง เมื่อมีการตัดลำต้นกาแฟ ตาล่างบนลำต้นจะแตกกิ่งตั้งขึ้นมา กิ่งตั้งจะแตกเป็นกิ่งแขนงที่ 1 กิ่งที่ 2 และ 3 จากนั้นมีการสร้างดอกและผลกาแฟอีกต่อไป
![]()
ใบ
ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น โคนใบและปลายใบเรียวแหลม ตรงกลางใบกว้าง ผิวใบเรียบ นุ่มเป็นมัน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ขนาดของใบขึ้นกับพันธุ์กาแฟ ใบจะเกิดที่ข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน ส่วนปากใบอยู่ด้านท้องใบ แต่ละใบจะมีปากใบประมาณ 3 ล้านถึง 6 ล้านรู ปากใบของกาแฟโรบัสต้ามีขนาดเล็กกว่าปากใบของกาแฟอาราบิก้า แต่มีจำนวนมากกว่า อายุใบประมาณ 250 วัน
![]()
ช่อดอกและดอก
ดอก ปกติดอกกาแฟจะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก จำนวน 4 ถึง 9 กลีบ กลีบเลี้ยง จำนวน 4 ถึง 5 ใบ มีเกสร 5 อัน รังไข่ 2 ห้อง แต่ละห้องของรังไข่จะมีไข่ 1 ใบ ผลกาแฟจึงมี 2 เมล็ด ดอกกาแฟจะออกเป็นกลุ่มๆ บริเวณโคนใบบน ข้อของกิ่งแขนงที่ 1 แขนงที่ 2 หรือ 3 กลุ่มดอกแต่ละข้อมีดอก จำนวน 2 ถึง 20 ดอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นตา ดอกจะออกจากกิ่งแขนงจากข้อที่อยู่ใกล้ลำต้นออกไปหาปลายกิ่งแขนง ปกติกาแฟจะออกดอกตามข้อของกิ่ง ข้อที่ออกดอกผลแล้วในปีต่อไปจะไม่ออกดอกและให้ผลอีก
![]()
ผลและเมล็ด
ผล ผลของกาแฟมีลักษณะคล้ายลูกหว้า รูปรี ก้านผลสั้น ผลดิบสีเขียว เมื่อเวลาผลสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม สีแดง ผลของกาแฟจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. เปลือก (Skin) 2. เนื้อ (Pulp) มีสีเหลือง เมื่อสุกมีรสหวาน 3. กะลา (Parchment) จะห่อหุ้มเมล็ด ช่วงระหว่างเมล็ดกับกะลาจะมีเยื่อบางๆ หุ้มเมล็ดอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (Silver Skin) ผลกาแฟแต่ละผลจะมี 2 เมล็ดประกบกัน ด้านที่ประกบกันจะอยู่ด้านในมีลักษณะแบน มีร่องบริเวณกลางเมล็ด 1 ร่อง ส่วนด้านนอกมีลักษณะโค้ง ลักษณะเมล็ดจะเป็นเดี่ยวหรือเมล็ดโทน (Pea Bean, Pea Berry) ในบางครั้งหากการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ จะทำให้ผลติดเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ผลกาแฟมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวรูปร่างกลมรีทั้งเมล็ด โดยมีร่องบริเวณกลางเม็ด 1 ร่อง (ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; กรมวิชาการเกษตร)
![]() ![]()
โดยทั่วไปแล้วกาแฟมีอยู่หลายร้อยสายพันธุ์ แต่ที่เรานิยมนำมาบริโภคหรือกล่าวได้ว่ามีผลต่อเศรษฐกิจนั้นมีอยู่สองสายพันธุ์คือ อราบิก้าและโรบัสต้า สำหรับประเทศไทยนั้น กาแฟ จำนวน 90 เปอร์เซ็นต์เป็นพันธุ์โรบัสต้า ที่ปลูกทางภาคใต้ของประเทศ
โรบัสต้า (Robusta: Coffea Canephora) เป็นพันธุ์ที่ทนต่อโรค แต่มีรสชาติกระด้างกว่าและไม่อ่อนละมุนเหมือนพันธุ์อราบิก้า มี Body สูง มีสารคาเฟอีนมากกว่าพันธุ์อราบิก้า คือมีจำนวนประมาณ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ต่อเมล็ด สามารถปลูกได้ในพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับเหนือน้ำทะเล ประมาณ 2,000 ฟุต ในประเทศไทยปลูกมากในภาคใต้ เช่น จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นต้น สำหรับในตลาดโลก กาแฟโรบัสต้าถือว่าเป็นกาแฟที่มีคุณภาพต่ำ
เมล็ดดิบมีราคาไม่สูงนัก เนื่องจากวิธีการผลิตและเมล็ดที่ใช้ผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้านั้น มักไม่เป็นที่ยอมรับในตลาดกาแฟชนิดพิเศษ แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตเกือบทั้งหมดของกาแฟพันธุ์โรบัสต้ามักถูกนำไปผลิตเป็นกาแฟสำเร็จรูป ซึ่งจะมีมูลค่าในตลาดเครื่องอุปโภคบริโภคสูง การผลิตกาแฟโรบัสต้าจึงมีการผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ได้พันธุ์กาแฟ
โรบัสต้าที่ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุ์กาแฟโรบัสต้าขึ้น โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ซึ่งมีปิยะนุช นาคะ เป็นหัวหน้าโครงการ ดังรายละเอียด (ปิยะนุช นาคะ, ปิยะมาศ ศรีรัตน์ และ อรพิน ภูมิภมร, 2550)
โครงการวิจัย 11 การทดลอง
1. คัดเลือกพันธุ์กาแฟโรบัสต้า
2. เปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 1
3. คัดเลือกพันธุ์กาแฟโรบัสต้า เมล็ดใหญ่
4. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 4 จากประเทศมาเลเซีย
5. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ต่างประเทศ ชุดที่ 3 จำนวน 12 สายพันธุ์
6. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 5 จำนวน 15 สายพันธุ์
7. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้าสาย พันธุ์ต่างประเทศ ชุดที่ 2 จำนวน 13 สายพันธุ์
8. การทดสอบพันธุ์กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ดีใน สภาพพื้นที่ต่างๆ
9. การเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ชุดที่ 6 จำนวน 6 สายพันธุ์
10. ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตต้นอ่อน กาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่เหมาะสมจากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
11. ศึกษาคุณภาพการชิมรส เคมี กายภาพ ของกาแฟโรบัสต้าพันธุ์ต่างๆ
การดำเนินงาน
1. คัดเลือกพันธุ์ที่เก็บจากแปลงเกษตรกร
- ปี พ.ศ. 2532 ถึง 2544 ศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ได้ 3 สายพันธุ์ คือ 1/11, 1/13 และ 1/16 - ปี พ.ศ. 2546 ถึง 2548 เสนอเป็นพันธุ์แนะนำ 1 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 1/11 - ปี พ.ศ. 2549 ถึง 2553 ศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ ได้พันธุ์ที่มีแนวโน้มที่ดีคือ พันธุ์พะโต๊ะ เบอร์ 1, 5, 6 และ 9 พันธุ์เมล็ดใหญ่ เบอร์ 2, 16, 19, 28, 30, 42, 49 และ 69 2. ทดสอบพันธุ์ต่างประเทศ
- ปี พ.ศ. 2542 ถึง 2549 ทดสอบและคัดเลือกพันธุ์ได้ 7 พันธุ์ พันธุ์ที่ได้ผลผลิตสูง คือ1) FRT65, FRT27, FRT11, FRT17 และ FRT10 2) FRT09 และ FRT68- ปี พ.ศ. 2550 ถึง 2551 เสนอเป็นพันธุ์แนะนำ 2 พันธุ์คือ พันธุ์ FRT65 และ FRT17 - ปี พ.ศ. 2552 ถึง 2553 เสนอเป็นพันธุ์แนะนำ 2 พันธุ์คือ พันธุ์ FRT09 และ FRT68 ผลดำเนินงาน
1. สายพันธุ์ 1/11
1.1 ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งเฉลี่ย ระยะเวลา 9 ปี จำนวน 3.94 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี สูงกว่า พันธุ์เกษตรกรปลูกทั่วไป 73.80 เปอร์เซ็นต์ 2.2 เมล็ดได้มาตรฐาน จำนวน 17.95 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง 3.3 การทดสอบคุณภาพการชิม จัดอยู่ใน Classs 7.2 4. มีค่า Extractability 53.73 เปอร์เซ็นต์ และคาเฟอีน 2.01 เปอร์เซ็นต์ ในการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ที่ได้มีการเก็บรวบรวมภายในประเทศนั้น สามารถคัดเลือกได้พันธุ์กาแฟที่มีแนวโน้มว่าจะใช้เป็นพันธุ์ปลูกได้ จำนวน 12 หมายเลข คือ สายพันธุ์พะโต๊ะ หมายเลข 1, 5, 6 และ 9 และสายพันธุ์เมล็ดใหญ่ หมายเลข 12, 16, 19, 28, 30, 42, 49 และ 69 2. สายพันธุ์ FRT 65
2.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 73.7 เปอร์เซ็นต์ คือ เฉลี่ย 4 ปี (ปี พ.ศ. 2545/ 2546 ถึง 2548/2549) จำนวน 349.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 2.2 ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ คือ มีน้ำหนัก 16.2 กรัมต่อ 100 เมล็ด 2.3 การทดสอบคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ โดยจัดอยู่ใน Class 7.2 4. มีเปอร์เซ็นต์สารสกัดเนื้อกาแฟและเปอร์เซ็นต์คาเฟอีนสูง คือ 57.37 และ 2.44 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ 3. สายพันธุ์ FRT 17
3.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 55.8 เปอร์เซ็นต์ คือ เฉลี่ย 4 ปี (พ.ศ. 2545/ 2546 ถึง 2548/2549) จำนวน 207.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 3.2 อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ระยะเวลา 9 เดือน และเก็บเกี่ยวหมดก่อนพันธุ์อื่นๆ จำนวน 1 ถึง 2 เดือน 3.3 การทดสอบคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ โดยจัดอยู่ใน Class 7.2 4. มีเปอร์เซ็นต์สารสกัดเนื้อกาแฟและเปอร์เซ็นต์คาเฟอีนสูง 57.22 และ 2.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 4. สายพันธุ์ FRT 09
4.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเฉลี่ยระยะเวลา 4 ปี ของการเก็บเกี่ยว (พ.ศ. 2546/ 2547 ถึง 2549/2550) จำนวน 3.7 เท่า คือ 469 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 4.2 ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ คือ 15.97 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง 4.3 อัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดกาแฟสารค่อนข้างสูง เฉลี่ย 4 ปี 23.78 เปอร์เซ็นต์ 5. สายพันธุ์ FRT 68
5.1 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเฉลี่ยระยะเวลา 4 ปี ของการเก็บเกี่ยว (พ.ศ. 2546/ 2547 ถึง 2549/2550) จำนวน 3.4 เท่า คือ 431 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 5.2 ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ คือ 17.3 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง 5.3 อัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดกาแฟสารค่อนข้างสูง เฉลี่ย 4 ปี 25.11 เปอร์เซ็นต์
ดิน
ดินสำหรับปลูกกาแฟนั้นสิ่งที่สำคัญคือ มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำได้ดี ไม่ควรเป็นพื้นที่มีการท่วมขังของน้ำ ดินที่ปลูกหากถือว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ควรจะเป็นดินเหนียวที่มีธาตุโปแตสเซียม ซึ่งถือเป็นดินที่ดีที่สุด และความเป็นกรดเป็นด่างของดินควรอยู่ระหว่าง 4.5 ถึง 6.5
ภูมิอากาศ
อุณหภูมิ เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของกาแฟ กาแฟแต่ละพันธุ์จะมีความต้องการอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป กล่าวคือกาแฟอาราบิกา สามารถเจริญเติบโตได้ดีระหว่างอุณหภูมิ 15 ถึง 26 องศาเซลเซียส และกาแฟโรบัสตาจะเจริญเติบโตได้ดีระหว่างอุณหภูมิ 25 ถึง 32 องศาเซลเซียส
ปริมาณฝนและความชื้น
ความชื้นของอากาศที่ต้องการสำหรับการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ของกาแฟแต่ละพันธุ์ที่แตกต่างกันไป กล่าวคือกาแฟอาราบิกาต้องการความชื้นอยู่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกาแฟโรบัสต้าต้องการความชื้นประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามความชื้นที่ต่ำกว่าปกติที่กล่าวมาเรียกว่าช่วงแล้ง ถือว่าจำเป็นสำหรับกระตุ้นการเกิดตาดอก และหลังจากนั้นความชื้นที่สูงจำเป็นสำหรับการแตกดอกออกผลต่อไป
น้ำฝนเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความชื้น เพราะส่วนใหญ่แล้วสวนกาแฟจะอาศัยปริมาณน้ำฝนเป็นหลักมากกว่าระบบชลประธานหรือการให้น้ำ ในพื้นที่ปลูกกาแฟจะต้องมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,500-2,300 มิลลิเมตรต่อปี การรักษาความชื้นในดินในพื้นที่แห้งแล้งกระทำโดยการใช้วัสดุคลุมดินเป็นสิ่งจำเป็นในบางครั้ง โดยเฉพาะในระยะการออกดอกติดผล และการพัฒนาของผล
ปริมาณแสง
กาแฟแต่ละชนิดจะทนทานต่อสภาพแสงแดดที่แตกต่างกันไป ร่มเงาในพื้นที่และแสงแดดจัดจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะกับต้นกาแฟที่ยังเล็กอยู่ แต่เมื่อต้นกาแฟโตขึ้นแล้วและให้ผลผลิต หากได้รับแสงมากจะให้ผลผลิตสูง แต่ปัจจัยด้านปุ๋ยและน้ำต้องพร้อมด้วย เพราะถือเป็นองค์ประกอบที่ต้องไปด้วยกัน
สรุปสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ระยะปลูกระหว่างต้นและแถว ระยะ 3 ถึง 4 x 3 เมตร อายุต้นกล้า 6 ถึง 14 เดือน และควรมีการทำร่มเงาชั่วคราวหรือปลูกพืชให้ร่มเงา เช่น สะตอ แค กระถิน เป็นพืชร่วมด้วย
การเตรียมพื้นที่
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นพื้นที่ที่มีความสูง ประมาณ 800 ถึง 12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีความลาดชันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และต้องทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง การโค่นล้มพืชพรรณเก่าในพื้นที่ อาจจะโค่นล้มแบบเหลือตอ หรือโค่นล้มแบบถอนราก การโค่นล้มอาจจะเว้นต้นไม้เก่าไว้บ้างเพื่อใช้เป็นไม้ร่มเงา ซึ่งต้องพิจารณาถึงความจำเป็นของไม้ร่มเงาด้วย หลังจากโค่นล้มต้องมีการกำจัดพืชพรรณเก่าในแปลงโดยการกองแล้วเผาให้สะอาด เตรียมทำแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มเตรียมในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟในฤดูฝนที่จะมาถึง (ประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร มีความเป็นกรดด่าง 5.5 ถึง 6.5 และสามารถระบายน้ำได้ดี
การเตรียมต้นกล้ากาแฟ
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมต้นกล้า
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมถุงพลาสติกใส่ดิน
ส่วนผสมของดินที่จะนำมาบรรจุถุงมีดังนี้
ขั้นตอนในการทำ มีดังนี้
ไม่พับ) หรือกว้าง 4 นิ้ว สูง 10 นิ้ว (ถุงพับที่ก้น) เจาะรูระบายน้ำ จำนวน 3 แถว โดยให้แถวแรกห่างจากก้นถุงประมาณ 2 ถึง 3 นิ้ว
หมายเหตุ: หากต้นกล้าแก่เกินไปจนเกิดใบจริงและจะทำให้รากยาวเกินไป ก่อให้เกิดปัญหารากคดงอระหว่างย้าย และส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตต่ำ
การปลูก
การปลูกกาแฟโดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้ปลูกเองหลักการโดยทั่วไปคือ การกำหนดระยะปลูก ประชากรที่เหมาะสมของกาแฟที่จะให้ผลผลิตที่ดี จะอยู่ประมาณ 150 ถึง 200 ต้นต่อไร่แต่สามารถที่จะเพิ่มหรือลดจำนวนกว่าปกติได้ ขึ้นกับวิธีการปลูกดังนี้ คือหากจะเพิ่มจำนวนให้มากกว่านี้ การตัดแต่งต้นกาแฟจำเป็นจะต้องออกแบบให้เหมาะสมเพื่อให้ต้นกาแฟสามารถรับแสงเต็มที่ในการติดดอกออกผล บางครั้งจะต้องตัดทั้งต้นสลับแถวเพื่อให้เกิดช่องว่างในพื้นที่ แล้วต้องเลี้ยงต้นใหม่จนอายุ ประมาณ 3 ปีก็จะออกดอกติดผลอีก แต่ก็ต้องตัดต้นกาแฟในแถวใกล้เคียงกันออกเพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับต้นใหม่เช่นกัน โดยมีหลักการว่าต้นกาแฟจะติดดอกออกผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปีและต้นกาแฟที่อายุมากขึ้นจะให้ผลผลิตลดลงและการจัดการจะยุ่งยากมากขึ้น ดังนั้นการจัดการวิธีการปลูกจะต้องวางแผนให้แน่นอนและชัดเจน
การปลูกส่วนมากแล้วจะมาจากต้นกล้าที่ชำในถุงพลาสติก ดังนั้นก่อนที่จะนำลงปลูกในหลุมจำเป็นที่จะต้องนำถุงพลาสติกออกเสียก่อน แล้วนำมาวางในหลุมที่ขุดให้มีขนาดพอใส่ถุงลงได้ และระมัดระวังอย่าให้รากแก้งคดงอ หลังจากนั้นนำดินมาใส่ให้เต็มโคนต้นและกดรอบๆ โคนต้นให้ดินแน่น ในกรณีที่ปลูกจากต้นกล้าที่ชำในแปลง และมีการถอนรากควรเลือกช่วงปลูกที่มีฝนตกสม่ำเสมอ หากฝนไม่ตกควรรดน้ำจนกว่าต้นกล้าจะตั้งตัวได้
ไม้ร่มเงา เป็นวิธีการที่นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาแก่ต้นกาแฟในระยะแรก และมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน โดยไม้บังร่มกาแฟแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ไม้บังร่มเงาชั่วคราว และไม้บังร่มเงาถาวร โดยไม้ร่มเงาชั่วคราว ได้แก่ พืชล้มลุก เช่น ข้าวโพด ปอเทือง กล้วย เป็นต้น ส่วนไม้ร่มเงาถาวร ได้แก่ ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ ทองหลาง มะพร้าว แค ขี้เหล็ก เป็นต้น แต่การปลูกไม้ร่มเงานั้นควรมีการจัดการตัดแต่งไม้ร่มเงา เพื่อให้ต้นกาแฟได้รับแสงที่เหมาะสมเพื่อการติดดอกออกผลที่เต็มที่ด้วย เพราะบางครั้งหากการจัดการไม่ดี ไม้ร่มเงาจะเป็นตัวต้นเหตุของการทำให้ผลผลิตกาแฟลดลงได้เพราะจะเป็นการบังต้นกาแฟมากเกินไป และอาจจะแย่งน้ำและอาหารจากต้นกาแฟได้
ระยะห่างของการปลูก
ระยะปลูกที่เป็นมาตรฐาน คือ ระยะ 3 x 3 เมตร จะได้ปริมาณต้นกาแฟ จำนวน 177 ต้นต่อไร่ การปลูกที่มีการวางแผนจะเป็นการปลูกในลักษณะตัดเป็นแถว เรียกว่าการปลูกแบบฮาวาย ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระยะชิดกว่าที่กล่าวมา ดังนั้นการเตรียมหลุมปลูก หากมีการไถพรวนอย่างดีก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขุดหลุมให้มีขนาดกว้างมากนัก แต่หากไม่มีการไถพรวนจำเป็นที่จะต้องขุดหลุม ให้มีขนาดกว้าง 50 x 50 x 50 เซนติเมตร แล้วทำการกลบหลุม ในขณะที่มีการเริ่มปลูกควรใส่ปุ๋ย Rock Phosphate (ปุ๋ยรองหลุม) จำนวนประมาณ 200 กรัมต่อหลุม
การให้น้ำ
พื้นที่ปลูกกาแฟที่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงในระดับตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ซึ่งจะอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนตั้งแต่ระยะเวลา 5 ถึง 8 เดือน ในรอบ 1 ปี นอกจากนั้นยังมีสภาพอากาศหนาวเย็น และมีความชื้นสูง จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบการให้น้ำกับต้นกาแฟ และหากปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลยืนต้น หรือปลูกกาแฟภายใต้สภาพร่มเงาร่วมกับไม้ป่าโตเร็ว รวมถึงการคลุมโคนต้นก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ปลูกไม่ต้องพึ่งพาระบบชลประทาน
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งแบบต้นเดี่ยวของอินเดีย (Indian Single Stem Pruning) หรือการตัดแต่งแบบทรงร่ม (Umbrella) เป็นวิธีการตัดแต่งกิ่งที่ใช้กับกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกภายใต้สภาพร่มเงา โดยมีขั้นตอนดังนี้
การตัดแต่งแบบหลายลำต้น (Multiple stem pruning system) วิธีการนี้จะใช้กับต้นกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกอยู่บริเวณกลางแจ้ง โดยจะทำให้เกิดต้นกาแฟหลายลำต้น มาจากโคนต้นที่ถูกตัด แต่คัดเลือกเหลือเพียงลำต้น 2 ลำต้น ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
การคลุมโคนต้นกาแฟ
การคลุมโคนต้นกาแฟมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในช่วงที่สวนกาแฟต้องประสบกับภาวะแห้งแล้ง เป็นการช่วยไม่ให้ต้นกาแฟทรุดโทรมหรืออาจจะตายได้ เนื่องจากขาดความชื้นในอากาศและในดิน นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันวัชพืชที่จะงอกในแปลงกาแฟในขณะที่ทรงพุ่มกาแฟยังไม่ชิดกัน และยังเป็นการป้องกันการพังทลายของดินเมื่อเกิดฝนตกหนัก แต่มีข้อควรระวังในการคลุมโคนต้น คืออาจจะกลายเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูกาแฟ ดังนั้นการคลุมโคนต้นกาแฟควรจะคลุมโคนต้นให้ห่างจากต้นกาแฟประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูกาแฟกัดกะเทาะเปลือกกาแฟได้ หรือไม่ให้เกิดอันตรายกับโคนต้นกาแฟในระหว่างที่วัสดุคลุมโคนเกิดการย่อยสลายได้ โดยคลุมโคนต้นให้มีความกว้าง 1 เมตรและหนาไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร
การปราบวัชพืชและการใส่ปุ๋ย
ควรมีการปราบวัชพืชทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย โดยอาจจะใช้ยาปราบวัชพืชหรือการถากถางตามระยะเวลาและความเหมาะสม และการใส่ปุ๋ยก็เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของการปลูกกาแฟ จะต้องพิจารณาทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองว่าต้องเพียงพอกับต้นกาแฟ ซึ่งจะสังเกตลักษณะของใบได้ ซึ่งมีรายละเอียดมากมายเกินที่จะกล่าวในที่นี้ แต่สูตรปุ๋ยที่ใช้โดยทั่วไป มักจะเป็นสูตรที่มีการมีความนิยม คือ สูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 เป็นต้น วิธีการใส่ปุ๋ยนั้นจะใส่โดยการโรยลงบนดินเป็นลักษณะวงกลมรอบทรงพุ่ม โดยใส่ปุ๋ยในปีที่ 1 ถึง 3 ส่วนต้นกาแฟที่ยังไม่ให้ผลผลิต ควรใส่ระยะเวลาประมาณ 2 ถึง 3 ครั้งต่อปี โดยใส่ครั้งละประมาณ 100 ถึง 300 กรัมต่อต้น และควรมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มด้วยเพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดินควบคู่กันไปด้วย
การขยายพันธุ์กาแฟที่ปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ ที่มีกระทำกันปัจจุบันคือการเพาะเมล็ด โดยมีวิธีการพอสังเขป คือการนำผลกาแฟที่สุกเต็มที่มาแกะเอาเมล็ดออก และให้นำเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้นไปเพาะเพื่อขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด ทำได้โดยวิธีการนำเมล็ดที่ได้ล้างไว้สะอาดแล้ว มาเรียงในกระบะเพาะเมล็ดที่มีวัสดุปลูกที่สมบูรณ์ (วัสดุดินเพาะ) โดยปิดเมล็ดและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จนระยะเวลาประมาณ 50 ถึง 60 วันเมล็ดกาแฟก็จะเริ่มงอก มีขนาด 1 ถึง 2 คู่ใบ จากนั้นให้ถอนต้นออกและนำไปเพาะต่อในถุงพลาสติกที่ได้บรรจุดินไว้หรือนำไปเพาะในแปลงเพาะที่เตรียมดินไว้ โดยปลูกให้มีระยะ ประมาณ 30 X 100 เซนติเมตร และรดน้ำให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ จนอายุได้ประมาณ 1 ถึง 1 ปีครึ่ง (มีใบอย่างน้อย 7 คู่ใบ) ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้
โรคราสนิม (Coffee Leaf Rust)
![]()
เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Helmileia vastatrix ทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟอาราบิก้ามานานกว่าร้อยปี
ลักษณะอาการของโรค
โรคราสนิมสามารถเกิดกับใบกาแฟพันธุ์อาราบิก้าทั้งใบแก่และใบอ่อน ทั้งในระยะที่เป็นต้นกล้าในเรือนเพาะชำและต้นโตในแปลง ลักษณะอาการครั้งแรกจะเห็นเป็นจุดสีเหลืองเล็กๆ ขนาด 3 ถึง 4 มิลลิเมตรบริเวณด้านในของใบ และมักจะเกิดกับใบแก่ก่อน จุดสีเหลืองบนใบจะขยายโตขึ้นเรื่อยๆ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มหรือสีส้มแก่ เมื่ออายุมากขึ้นสีบนแผลจะมีผงสีส้ม ซึ่งเป็นยูรีโดสปอร์ของเชื้อรา บริเวณด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดที่เป็นโรค จากนั้นใบกาแฟพันธุ์อาราบิก้าจะร่วง ต้นโกร๋น และกิ่งจะแห้งในเวลาต่อมา ต้นที่เป็นโรครุนแรงใบจะร่วงเกือบหมดต้น
การป้องกันกำจัด
โรครากขาว (White root disease )
![]()
เชื้อราโรครากขาวสามารถเข้าไปทำลายรากของต้นกาแฟได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยในระยะเริ่มแรกจะมองไม่เห็นลักษณะผิดปกติบริเวณส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน แต่เมื่อส่วนรากถูกทำลายเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้ จึงจะแสดงอาการใบเหลืองและใบร่วง สำหรับต้นเล็กที่เป็นโรค พุ่มใบทั้งหมดจะมีสีเหลืองผิดปกติ หากเป็นต้นใหญ่พุ่มใบบางส่วนจะดูเสมือนว่าแก่จัดและมีสีเหลือง ซึ่งจะแตกต่างกับสีเขียวเข้มของพุ่มใบของต้นที่สมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Rigidoporus lignosus (Klotzsch) imazeki
ลักษณะอาการของโรค
เมื่อระบบรากของต้นกาแฟถูกทำลายมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นที่ทรงพุ่ม ซึ่งเป็นระยะที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปรากฏกลุ่มเส้นใยสีขาวเจริญเติบโตและแตกสาขาปกคลุมและเกาะติดแน่นกับผิวราก เมื่อเส้นใยมีอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคในระยะแรก จะมีลักษณะแข็งกระด้างและเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะรุนแรงจะกลายเป็นสีครีม หากอยู่ในที่ชื้นแฉะรากจะมีลักษระอ่อนนิ่ม ดอกก็จะมีลักษณะเป็นแผ่นครึ่งวงกลมแผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้นๆ ส่วนผิวด้านบนจะเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง และผิวด้านล่างจะเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนขอบดอกเห็ดเป็นสีขาว
การป้องกันกำจัด
โรคเน่าคอดิน (Collar Rot หรือ Damping off)
![]()
โรคนี้จะเกิดในระยะกล้าขณะอายุ 1 ถึง 3 เดือนในแปลงเพาะชำ สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของแปลงเพาะกล้าที่มีการระบายน้ำไม่สะดวก การเพาะเมล็ดซ้ำในแปลงเดิมติดต่อกันหลายครั้งโดยไม่เปลี่ยนวัสดุใหม่ หลังคาเรือนเพาะชำอาจจะทึบเกินไป ปริมาณของต้นกล้าที่งอกออกมาหนาแน่นเกินไป และประการสำคัญคือสภาพอากาศในช่วงที่ต้นกล้างอกมีความชื้นสูงสลับกับอากาศร้อน
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani
ลักษณะอาการของโรค
อาการของโรคเน่าคอดิน มีอยู่ 2 ระยะคือ
ระยะแรก การเน่าของเมล็ดก่อนงอกคัพภะ (Embryo) และเอนโดสเปิร์ม (Endosperm) จะถูกเชื้อราซึ่งอยู่ในดินเข้าทำลาย ทำให้เมล็ดเน่าและแตกออก
ระยะที่สอง การเน่าของเมล็ดหลังจากกล้ากาแฟงอกออกจากเมล็ด และโผล่ขึ้นมาเหนือดินแล้ว เชื้อราอาจเข้าทำลายบริเวณโคนต้นที่อยู่เหนือพื้นดินหรือระดับผิวดิน จะทำให้ต้นมีแผลสีน้ำตาลในระยะแรก ต่อมาจะเน่ากลายเป็นสีดำ และในที่สุดต้นกล้าจะเหี่ยวและตาย เชื้อรา R.solani สามารถเข้าไปทำลายต้นกล้ากาแฟได้ทุกระยะหลังจากงอกขึ้นมาเหนือดิน ตั้งแต่ระยะเป็นลักษณะของหัวไม้ขีดซึ่งใบเลี้ยงคู่ยังไม่หลุดออกจากเมล็ดกาแฟ และระยะที่เป็นปีกผีเสื้อ ซึ่งใบเลี้ยงคู่จะหลุดออกมาจากเมล็ดและเป็นปีกผีเสื้อ และในระยะที่กล้ากาแฟมีใบจริง 1 ถึง 2 คู่ หรือในกรณีที่ยังต้นกล้ายังอยู่ในแปลงและไม่ได้ย้ายลงถุง
การป้องกันกำจัด
โรครากเน่าแห้ง (Fusarium root disease)
![]()
โรครากเน่าแห้ง จะทำความเสียหายร้ายแรงแก่กาแฟพันธุ์อาราบิก้ามากกว่ากาแฟพันธุ์โรบัสต้า จะทำให้ต้นกาแฟตายภายในเวลาอันสั้น โรคนี้จะรุนแรงในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่าง อุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุด และในสภาพที่มีอุณหภูมิของดินแตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์แปลงกาแฟที่ปลูกกลางแจ้งและรากหรือโคนต้นที่อยู่ใต้ผิวดินจะเกิดแผล ทำให้เชื้อราสามารถเข้าทางแผลนั้น จากการตรวจสอบต้นกาแฟที่เป็นโรครากเน่า พบว่ามีต้นกาแฟจำนวนมากที่มีแผลที่เกิดจาก หนอนเจาะโคนต้นหรือควั่นโคนร่วมอยู่ด้วย
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp.
ลักษณะอาการของโรค
ต้นกาแฟที่เป็นโรคจะมีใบสีเหลืองและเหี่ยว และในเวลาต่อมาใบจะร่วงและกิ่งที่อยู่เหนือดินแห้งตาย เมื่อถอนต้นกาแฟจากพื้นดิน ก็จะถอนขึ้นมาได้ง่ายมาก เพราะรากเน่าและแห้งตายไปแล้ว และเมื่อมีการปาดเปลือกของรากและโคนต้นกาแฟที่อยู่ใต้ดิน จะทำให้มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลเทา และรากส่วนใหญ่จะแห้ง
การป้องกันและกำจัดโรค
โรคใบจุดตากบ (Brown EYE SPOT
![]() ![]()
โรคใบจุดตากบ เป็นโรคที่พบระบาดแพร่หลายทั่วไป ทั้งกับกาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้า ระบาดมากในระยะกล้าที่ปลูกในเรือนเพาะชำ ขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เมื่อนำกล้าที่เป็นโรคนี้ไปปลูกในแปลง หากขาดการบังร่มให้แก่ต้นปลูกใหม่ ในระยะแรก โรคใบจุดตากบก็จะทำความเสียหายกับใบรุนแรง จะพบใบที่เป็นโรคร่วง บ่อยครั้งที่พบต้นกาแฟ เป็นโรคใบจุดตากบภายใต้ร่มเงาที่ไม่เหมาะสม โรคนี้อาจพบได้ทุกฤดู แต่จะพบมากในฤดูแล้ง
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อรา Cercospora coffeicola
ลักษณะอาการของโรค
ใบกาแฟที่เป็นโรคจะมีลักษณะเป็นจุดกลมๆ ขนาด 3 ถึง 15 มิลลิเมตร จะมีสีน้ำตาลในระยะเริ่มแรก ต่อมาจุดนี้จะกลายเป็นสีเทาหรือสีเทาอ่อนไปจนถึงสีขาวบริเวณจุดกึ่งกลางของแผล ขอบแผลจะมีสีน้ำตาลแดง และจะล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง ส่วนบริเวณตรงกลางของแผลจะมีสีเทาและเห็นจุดเล็กๆ สีดำกระจายอยู่ทั่วไป จุดเล็กๆ เหล่านี้คือกลุ่มของสปอร์และสปอร์ของเชื้อรา
เชื้อราชนิดนี้สามารถทำให้เกิดโรคกับผลกาแฟได้ โดยทำให้ผลกาแฟเน่าและมีสีดำ ในระยะรุนแรงกาแฟจะมีสีดำและเหี่ยวย่น และทำให้ผลร่วงก่อนสุกในบางครั้ง
การป้องกันกำจัด
เพลี้ยหอยสีเขียว (Green Scale)Coccus Viridis Green (Homoptera: Coccidae)
![]()
เพลี้ยหอยสีเขียวเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของกาแฟ ในกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กด้วยกัน (Gilletal, 1977) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายต้นกาแฟโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน และเป็นเหตุให้ยอดและใบหงิกงอผิดปกติ ใบร่วง ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต และหากเกิดการระบาดในขณะที่กาแฟกำลังติดผล จะทำให้ผลอ่อนของกาแฟมีขนาดเล็กลง เมล็ดลีบและผลร่วง ผลผลิตเล็กลง ต้นกาแฟจะทรุดโทรมเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้เพลี้ยหอยสีเขียวยังขับถ่ายน้ำหวาน (Honey Dew) ขึ้นคลุมผิวใบ เป็นผลให้พื้นที่ในการสังเคราะห์แสงลดลง และทำให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด
กระทำได้โดยการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงประเภทดูดซึม โดยใช้คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20 เปอร์เซ็นต์ EC) ใช้ในอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
หนอนเจาะลำต้นกาแฟ (Xylotrechus Quadripes Cherrolat) (Coleoptera: Cerambycidae)
![]()
หนอนเจาะลำต้นกาแฟเป็นแมลงที่มีความสำคัญที่ทำความเสียหายต่อต้นกาแฟพันธุ์อาราบิก้าอย่างรุนแรง พื้นที่ที่พบมีการทำลายสูงสุดถึงร้อยละ 95 และส่วนใหญ่เป็นกาแฟที่ปลูกในสภาพกลางแจ้งร้อยละ 80 ส่วนกาแฟที่ปลูกในสภาพภายใต้ร่มเงา และปลูกในพื้นที่ระดับต่ำจะพบการทำลายน้อย โดยเฉพาะกาแฟที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะและเข้าทำลาย จะแสดงอาการใบสีเหลือง ใบเหี่ยว และมีอาการยืนต้นแห้งตายในที่สุด โดยจะพบร่องรอยการควั่นของหนอนเจาะลำต้นกาแฟตั้งแต่บริเวณโคนต้นขึ้นมาจนถึงกึ่งกลางต้น ทั้งนี้เมื่อหนอนฟักออกจากไข่ก็จะกัดกินเนื้อไม้ ในลักษณะการควั่นไปรอบลำต้นและเจาะเข้าไปกินภายในต้นด้วยการป้องกันกำจัด
ควรจะกระทำในช่วงระยะที่หนอนยังเป็นตัวเต็มวัยก่อนผสมพันธุ์และวางไข่ รวมทั้งการทำลายไข่ หรือหนอนระยะแรกที่ฟักออกจากไข่ ก่อนที่จะเจาะเข้าไปในลำต้นหรือกิ่ง ซึ่งจะเป็นการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด และเมื่อพบการระบาดควรฉีดพ่นสารฆ่าแมลง เฟนิโตรไธออน (ซูมิไธออน 50 เปอร์เซ็นต์ EC) ในอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะเวลาของช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม และเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
หนอนกาแฟสีแดง (Zeuzera Coffeae Nietner) (Lepidoptera: Cossidae)
![]()
หนอนเจาะกินเนื้อเยื่อภายในลำต้น จะมีลักษณะของลำต้นที่มียอดแห้งเหี่ยวตาย ตั้งแต่ยอดลงมาจนถึงบริเวณที่ถูกเจาะ และเมื่อลมพัดก็ทำให้กิ่งไม้หักล้ม ตัวเต็มวัยซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืน มีปีกสีขาว มีจุดดำประเต็มทั่วทั้งปีก จะมาวางไข่บริเวณเปลือก ลำต้นหรือกิ่งของกาแฟ โดยไข่มีลักษณะเป็นสีเหลือง และตัวเมีย 1 ตัว จะวางไข่ได้ ประมาณ 300 ถึง 500 ฟอง ระยะการวางไข่ประมาณ 7 ถึง 10 วัน แล้วจึงฟักออกเป็นตัวหนอน และเจาะเข้าสู่กิ่งหรือลำต้นของกาแฟ กัดกินเนื้อเยื่อเป็นโพรงเล็กๆ ตามความยาวของกิ่ง และลำต้นของกาแฟ ขณะเดียวกันก็จะกัดกิ่งและลำต้นกาแฟเป็นรูเล็กๆ เพื่อเป็นช่องให้มูลของหนอนออกมาจากกิ่งและลำต้น ระยะการเป็นตัวหนอน ประมาณ 2.5 ถึง 5 เดือน ระยะเป็นดักแด้ ประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์ ในรอบปีหนึ่งจะพบประมาณโรคนี้ 2 ชั่วอายุขัย และเมื่อพบร่องรอยการทำลายแล้วให้ตัดกิ่งหรือต้นกาแฟที่ถูกทำลายไปเผาทิ้งการป้องกันกำจัด
หนอนจะทำลายพืชอาศัยอื่นๆ ในบริเวณรอบๆ สวนกาแฟดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยและการขยายพันธุ์ของหนอน จะต้องรักษาบริเวณให้สะอาดและหมั่นตรวจดูตามต้นและกิ่งกาแฟอยู่เสมอ หากพบรอยที่หนอนเจาะเข้าทำลายต้นกาแฟก็ให้ตัดกิ่ง และนำไปเผาไฟ เพื่อเป็นการลดการขยายพันธุ์ต่อไป ในพื้นที่ ที่พบการระบาดของหนอนสูง ก็ให้ใช้สารเคมีฆ่าแมลงเฟนิโตร ไธออน ในอัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และนำไปทาด้วยแปรงทาสีบริเวณลำต้นกาแฟให้ทั่ว (หากใช้ฉีดพ่นให้ใช้ในอัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และในช่วงที่พบตัวหนอนเต็มวัยสูงในช่วงระยะเวลาเดือนเมษายน มิถุนายน และเดือนกันยายน ก็ให้กำจัด ต้นกาแฟที่ถูกหนอนเจาะลำต้นเข้าทำลายทันที เมื่อตรวจพบก็ให้ทำการตัดแล้วเผาทิ้ง นอกจากนี้ควรปลูกไม้บังร่ม จะเป็นการช่วยลดการเข้าทำลายของหนอนได้
วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด แบ่งเป็นประเภทดังนี้
วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนใหญ่แล้วจะขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล ขยายพันธุ์ได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การป้องกันกำจัดวัชพืชในสวนกาแฟสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ
1. การใช้แรงงานและการใช้เครื่องจักรกลตัดวัชพืชระดับผิวดินการใช้แรงงานคนเหมาะสำหรับสภาพพื้นที่ไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลได้สะดวก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการตัดหรือถากวัชพืชรอบบริเวณโคนต้นในสวนกาแฟที่ปลูกใหม่ เพราะระยะเวลานี้ การใช้สารกำจัดวัชพืชจะเป็นอันตรายกับต้นกาแฟได้ง่าย และในฤดูแล้งการกำจัดวัชพืชด้วยวิธีการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำเพื่อลดการแย่งน้ำในดินระหว่างวัชพืชและต้นกาแฟ และใช้วัชพืชดังกล่าวคลุมโคนต้นกาแฟ เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
2. การปลูกพืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมดินนอกจากจะช่วยควบคุมไม่ให้วัชพืชเจริญเติบโตแข่งกับต้นกาแฟแล้ว ยังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ซึ่งจะส่งผลให้ต้นกาแฟเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
3. การปลูกพืชแซม
สามารถกระทำได้ในพื้นที่ที่ค่อนข้างราบหรือมีความลาดเอียงในทิศทางเดียวกัน พืชแซมที่นิยมปลูกในสวนกาแฟปลูกใหม่ เช่น พืชผัก ถั่วต่างๆ หรือไม้ตัดดอก แต่หลังจากต้นกาแฟมีอายุมากขึ้น และให้ ผลผลิตแล้วคงจะไม่ใช่วิธีการนี้ได้เพราะทรงพุ่มกาแฟจะชิดกันมากขึ้น ทำให้ไม่มีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกพืชแซมได้
4. การใช้สารกำจัดวัชพืช
วิธีการนี้ใช้ได้ทั้งในสวนกาแฟขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยใช้ในอัตราที่ปรากฏในตารางข้างล่าง โดยการผสมน้ำสะอาด จำนวน 60 ถึง 80 ลิตรต่อไร่ แล้วใช้หัวพ่นรูปพัดพ่นให้ทั่วต้นวัชพืช แต่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ละอองสารปลิวไปสัมผัสใบและต้นกาแฟ
ตารางการใช้สารกำจัดวัชพืช
ที่มา: ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; กรมวิชาการเกษตร
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
กาแฟจะออกดอกหลังจากผ่านการกระทบกับความแห้งแล้งและผ่านความชุ่มชื้นจากฝนหรือการให้น้ำแล้ว และจะพัฒนากลายเป็นผลจนสุก ซึ่งมีลักษณะสีแดงในเวลาต่อมา การเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องเก็บเฉพาะผลผลิตที่สุกเท่านั้น ซึ่งจะประสบปัญหายุ่งยากพอสมควร เพราะกาแฟบางพันธุ์จะมีผลที่สุกไม่พร้อมกันในช่อเดียวกัน จึงต้องระมัดระวังเพราะผลกาแฟที่แก่ ไม่สุก เมื่อนำไปแปรรูปจะทำให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพที่ไม่ดี ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยวเกษตรกรจึงมักใช้วัสดุที่เป็นแผ่น เช่น ตาข่ายตาถี่ปูใต้โคนต้นแล้วเก็บเฉพาะผลที่สุกร่วงหล่นลงมาบนตาข่ายแล้วค่อยรวบรวมเป็นต้นๆ ไป
โดยกาแฟจะเริ่มติดดอกออกผลหลังจากปลูกไปแล้วประมาณปีที่ 3 และผลกาแฟจะเริ่มสุกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกาแฟ และสภาพของพื้นที่ปลูก ผลกาแฟในแต่ละช่อจะสุกไม่พร้อมกัน ในการเก็บผลกาแฟให้เลือกเก็บเฉพาะผลที่สุกแก่มีสีแดงเท่านั้น ไม่ควรเก็บผลกาแฟที่ยังอ่อนซึ่งมีสีเขียวหรือผลที่ไม่แก่จัดหรือใช้วิธีรูดทั้งกิ่ง เพราะจะทำให้ได้สารกาแฟคุณภาพต่ำสำหรับผลกาแฟที่เก็บได้มีควรมีการคัดแยกคุณภาพ โดยผลกาแฟที่แก่จัดเกินไปซึ่งมีสีแดงเข้ม หรือผลที่แห้งคาต้นผลที่ร่วง หรือหล่นตามพื้นควรเก็บแยกไว้ต่างหากจากผลกาแฟที่เก็บได้ในแต่ละครั้ง จากนั้นให้นำผลกาแฟทั้งหมดออกตากแดดโดยเร็วที่สุด
อายุการเก็บเกี่ยว
ผลกาแฟในแต่ละสภาพพื้นที่ปลูกไม่พร้อมกัน ดังนี้
ดัชนีการเก็บเกี่ยว
ควรเก็บผลที่สุก 90 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ คือเมื่อผลมีสีแดงเกือบทั้งผลหรือทั่วทั้งผล หรือผลมีสีเหลืองเกือบทั้งผลหรือทั่วทั้งผล (บางสายพันธุ์ผลสุกจะเป็นสีเหลือง)
การทดสอบผลสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว สามารถทำได้โดยการเก็บผลกาแฟแล้วใช้นิ้วบีบผล หากผลสุกเปลือกจะแตกง่ายและเมล็ดกาแฟจะโผล่ออกมาจากเปลือก
การเก็บผลควรจะพิจารณาการสุกของผลของแต่ละกิ่งที่ให้ผลในแต่ละต้นว่ามีผลสุกมากกว่าร้อยละ 50 สำหรับการเก็บผลผลิตครั้งแรก ซึ่งปกติการเก็บผลกาแฟจะต้องใช้เวลาเก็บประมาณ 2 ถึง 4 ครั้ง
การผลิตสารกาแฟ (การสีกาแฟ)
การผลิตสารกาแฟทำได้ 2 วิธี คือ วิธีสีสด (แบบแช่น้ำ) และวิธีสีแห้ง (แบบแห้ง)1. การสีสด
เป็นวิธีที่ใช้กันมากเพราะจะได้สารกาแฟที่มีควบคุมคุณภาพได้ แต่มีต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่าวิธีการสีแห้ง วิธีการเริ่มจากการเก็บผลกาแฟสุกมาปอกเปลือกให้หมดภายในวันเดียวกัน หากปอกไม่ทันไม่ควรเก็บไว้เกิน 1 คืนเพราะการเก็บหมักไว้นานจะทำให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพได้ เมื่อปลอกเปลือกเรียบร้อยแล้วให้นำเอาเมล็ดที่ได้มาแช่น้ำพอท่วมเมล็ด และแช่หมักไว้ 24 ชั่วโมง แล้วขยี้ล้างเมือกออกให้หมด หรือใช้เครื่องขัดเมือกก็จะเป็นการประหยัดเวลาไปได้มาก และเมื่อขัดเมือกหมดแล้วคงเหลือแต่เมล็ดที่มีเปลือกแข็งหุ้มให้นำออกผึ่งแดดให้แห้งสนิท โดยใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 7 วัน แต่ในปัจจุบันอาจจะใช้เครื่องอบเมล็ดให้แห้งภายใน 24 ถึง 28 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาเข้าเครื่องกะเทาะเปลือก และปัดฝุ่นผงออกให้หมด คัดเฉพาะเมล็ดแตก เมล็ดดำ หรือกาแฟที่มีเปลือกหุ้มอยู่ออกให้หมด ก็จะได้สารกาแฟตามที่ต้องการ2. การสีแห้ง
เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในกาแฟพันธุ์โรบัสต้า เนื่องจากมีความสะดวก ลงทุนน้อย แต่จะควบคุมคุณภาพได้ยาก วิธีนี้เริ่มจากการเก็บกาแฟที่ผลสุกแล้ว จากนั้นนำมาตากให้แห้งสนิทบนลานคอนกรีต ซึ่งทดสอบได้จากการเขย่าให้รู้สึกว่าเมล็ดในกาแฟคลอนได้ แล้วจึงนำเข้าเครื่องสีเพื่อเอาเปลือกออกให้หมด และฝัดร่อนเอาเมล็ดที่เสียออก การสีแห้งนี้ไม่สามารถควบคุมการหักตัวของเมล็ดกาแฟได้ และหากไม่มีแสงแดดเพียงพอติดต่อกันหลายวัน หรือผลกาแฟที่ตากบนลานคอนกรีตไม่ได้กระจายผลให้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง จะทำให้เชื้อราสามารถเจริญเติบโต
การผลิตสารกาแฟให้ได้คุณภาพดีโดยวิธีสีแห้ง จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. พยายามเก็บเฉพาะผลกาแฟที่สุกสีแดงเท่านั้น 2. แยกเอาผลที่มีตำหนิ ผลที่ยังไม่แก่ ผลที่แห้งคาต้น หรือผลที่ร่วงลงบนพื้นออกไปตากและแยก ไม่นำมาปะปนกันผลผลิตที่มีคุณภาพ 3. รักษาความสะอาดภาชนะ ลานตากเมล็ดและอุปกรณ์ต่างๆ 4. ผลกาแฟที่เก็บมาแต่ละวันต้องรีบนำมาผึ่งแดดทันที 5. พยายามกลับกองกาแฟที่ตากบนลานตากจำนวนหลายๆ ครั้ง ในแต่ละวันและทุกๆ วัน 6. ในช่วงเย็นและช่วงวันที่ฝนตก จะต้องนำผลกาแฟที่ตากไว้มากองรวมกันและใช้ผ้าใบคลุม รอจนลานตากแห้งแล้วจึงเกลี่ยผลกาแฟมาตากอีกครั้งหนึ่ง 7. หลังจากสีกะเทาะเปลือกออกแล้ว จะต้องฝัดเอาฝุ่นผงออกให้หมด และคัดเอาเมล็ดแตก เมล็ดดำ หรือเมล็ดที่มีเปลือกหุ้มอยู่ออกให้หมด 8. กาแฟที่จะเก็บบรรจุลงในกระสอบจะต้องเป็นกาแฟที่แห้งสนิทเท่านั้น 9. กระสอบที่ใช้บรรจุเมล็ดกาแฟ ควรเป็นกระสอบใหม่หรือกระสอบที่ผ่านการทำความสะอาดและตากแห้งดีแล้วและปราศจากกลิ่นอื่นใด รวมทั้งไม่ควรวางกระสอบบรรจุเมล็ดกาแฟบนพื้นโดยตรง ควรจะมีหมอนไม้รองไว้อีกชั้นและควรเก็บไว้ในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ตารางแสดง พื้นที่ ผลผลิต ต่อไร่ราคาและมูลค่าของผลผลิตตามราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2543-2552
ที่มา: องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
ข้อมูลการปลูกกาแฟรายจังหวัดภาคใต้ ปี 2549
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
http://technicfarm.blogspot.com/2015/03/blog-post_31.html
|