หัวข้อ: ตำรับยาจีนแผนโบราณ โดยนายมานพ คณานุรักษ์ เริ่มหัวข้อโดย: eskimo_bkk-LSV team♥ ที่ มิถุนายน 25, 2007, 12:54:38 pm ตำรับยาจีนแผนโบราณ โดยนายมานพ คณานุรักษ์
http://www.kananurak.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=82481&Ntype=0 ยาจีน ทุกขนาน ระหว่างที่รับประทานยาจีนอยู่ ให้งดรับประทานอาหารที่จะไปล้างยาจีน ทำให้ยาหมดฤทธิ์ คือ หัวผักกาด ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกระเฉด หน่อไม้ทุกชนิด ฟัก แฟง แตงโม แตงกวา สัปปะรด มะรุม มิฉะนั้นแล้ว ยาจีนที่รับประทานเข้าไป ก็จะเสื่อมฤทธิ์ ไม่มีประโยชน์อย่างไรเลย วิธีต้มยาจีน ยา ๑ ห่อ (๑ ชุด) ทุกขนาน ถ้าบอกว่าให้ต้ม ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง ก็ให้เก็บน้ำยาที่ต้มได้ตามกำหนดนั้นเอามารวมกัน แบ่งรับประทานวันละ ๒ หรือ ๓ ครั้ง ตามกำหนดให้รับประทาน ทั้งนี้เพื่อให้สรรพคุณของยาที่รับประทานมีคุณภาพเท่าเสมอกัน และยาจีนต้องรับประทานในขณะที่ยาร้อนอุ่นๆ อยู่ (ตำรับยาบางส่วนของนายมานพ คณานุรักษ์ ที่ได้บันทึกไว้เป็นภาษาไทย) ๑. ยารักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง มีอาการบวมตามหน้า ตามร่างกาย หน้าท้องมาก ต้องใช้ ๑. ลูกเดือย หนัก ๔ บาท ๒. ถั่วขาว หนัก ๔ บาท ๒. เติมน้ำ ๓ ชามข้าวต้มขนาดกลาง เคี่ยวให้งวดเหลือน้ำยาครึ่งชาม ให้คนไข้รับประทานครั้งเดียวให้หมด วันละ ๒ ครั้งก่อนอาหาร เช้า-เย็น ยา ๑ ชุดต้มได้เพียง ๒ ครั้ง หลังจากใช้ยารักษาโรคไตของจีนโบราณประมาณ ๑ ชั่วโมง น้ำยาจะไปกระตุ้นให้ไตขับน้ำออกจากร่างกายทางปัสสาวะอย่างรวดเร็ว อาการบวมตามร่างกายจะยุบลงอย่างรวดเร็วภายใน ๑ ถึง ๒ วันเท่านั้น ********************************************************* ๒. ยารักษาโรคไตอักเสบระยะเฉียบพลัน หรือหย่อนสมรรถภาพในระยะแรก ๑. ขี่แบะ ๓ สลึง ๒. ปิดไถ่ ๓ สลึง ๓. เล่งกุด ๓ สลึง ๔. กูปั้ง ๗ สลึง ๕. ซาเซียม ๔ สลึง ๖. จูเล้ง ๓ สลึง ๗. ซีทอย (ฮองทอ) ๔ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานติดต่อกันมีกำหนด ๗ วัน รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ อาการป่วยของคนไข้จะมีปวดเมื่อยตามร่างกาย หากตรวจปัสสาวะ จะพบไข่ขาวเป็นจำนวนมาก มีอาการบวมตามร่างกาย อาการย่อยอาหารเสื่อม หายใจเหนื่อยหอบ ปวดศีรษะ มีความดันโลหิตสูง ปัสสาวะลดน้อยลงและมีสีขุ่นคล้ำ ******************************************************************* ๓. ยารักษาโรคไตอักเสบกึ่งเฉียบพลัน ระยะที่ ๒ บำรุงประสาทไต ๑. ไขว่งูชิด ๓ สลึง ๒. แซถูลี ๓ สลึง ๓. แซเล่งกุด ๔ สลึง ๔. พูท้อเนก ๔ สลึง ๕. ตือเหล็ง ๔ สลึง ๖. ปิดไถ่ ๔ สลึง ๗. ซีทอย ๔ สลึง ๘. โต้วต้ง ๓ สลึง ๙. เก้าจิก ๓ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ อาการป่วยของคนไข้ คือจะบวมตามร่างกาย บวมตามท้อง มีอาการซีดเซียวเพราะโลหิตจาง บวมตามใต้ผิวหนัง ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะลดลง มีไข่ขาวในปัสสาวะมาก จำนวนโปรตีนในโลหิตลดลงมาก คนไข้อาจเกิดอาการแทรกซ้อนเกี่ยวกับปอดและลำไส้ ********************************************************************************** ๔. ยารักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง และโรคเก๊า (โรคปวดตามข้อ) ๑. ซีทอย ๔ สลึง ๒. แซกูปั้ง ๗ สลึง ๓. จูเหล็ง ๓ สลึง ๔. กื้อแบ๊ะ ๔ สลึง ๕. ง่วนเซียม ๓ สลึง ๖. เล่งกุด ๔ สลึง ๗. ปิดไถ่ ๔ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง)ถ้าไม่มีอาการบวมต้มได้ ๓ ครั้ง รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น และก่อนนอน อาการคนไข้ไตอักเสบเรื้อรัง จะปรากฎความดันโลหิตสูงขึ้น จำนวนไข่ขาวในปัสสาวะลดลง อาการบวมอาจลดลง คนไข้จะมีอาการปวดศีรษะ หายใจสั้น หัวใจสั่น มีโรคหลอดโลหิตแดงแข็งหรืออุดตัน ในที่สุดคนไข้จะเกิดหัวใจวาย อาการปัสสาวะเป็นพิษ และถึงแก่กรรมในที่สุด ยาขนานนี้รักษาโรคเก๊าได้ผลดี เพราะยาจะเปลี่ยนสภาพกรดยูริคในร่างกายให้เป็นด่าง แล้วกระตุ้นให้ไตขับถ่ายสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย (คือขับพิษออก) (ยารักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง และรักษาโรคเก๊าขนานนี้ เคยใช้ แนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวมากรายรักษาหายจากโรคมาแล้ว จำนวนมากราย) ***************************************************************** ๕. ยารักษาโรคลำไส้ หรือกระเพาะอาหารอักเสบ ๑. เล่าสิ่งชั้ก ๓ สลึง ๒. ซังตุ้ก ๓ สลึง ๓. แปะเจีย ๓ สลึง ๔. ส่วยพ้วย ๑ สลึงครึ่ง ๕. แปะเทาอง ๓ สลึง ๖. ชวงเกาผ้ก ๑ สลึงครึ่ง ๗. เซียเตา ๔ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ อาการป่วยของคนไข้ เมื่อหลังจากรับประทานอาหาร มีอาการอืดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียนและปวดเสียดยอดอก กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน คนไข้จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง เจ็บบริเวณหน้าท้อง อุจจาระมีมูกหรืออาจมีโลหิตเจือปน มีไข้เล็กน้อย ถ่ายบ่อย ปวดเบ่ง ลำไส้อักเสบเรื้อรัง คนไข้อาจมีอาการท้องผูกถ่ายไม่ออก และต่อมามีอาการท้องร่วงสลับกัน ปวดท้องอย่างรุนแรง เบื่ออาหาร กดเจ็บบริเวณหน้าท้อง เรอบ่อยๆ (ยาขนานนี้ เคยใช้แนะนำให้ผู้เป็นโรคดังกล่าวรักษาหายจากโรคมาแล้ว จำนวนมากราย) ************************************************************************* ๖. ยารักษาโรคนิ่วในไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อย่างแรง-เรื้อรัง ๑. อึงแปะ ๑ สลึง ๒. ตี่บ้อ ๔ สลึง ๓. อัวงูขั้ก ๒ สลึง ๔. ขื้อแบะ ๔ สลึง ๕. เชียเจ้ย ๓ สลึง ๖. ไขว่งูชิด ๓ สลึง ๗. ตังพวย ๓ สลึง ๘. เจ็กเสีย ๓ สลึง ๙. ตือเหล็ง ๓ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ ยาขนานนี้รับประทานติดต่อกัน ๑ ถึง ๔ วัน (ยา ๔ ห่อ) แล้วพักไป ๓ ถึง ๔ วัน แล้วรับประทานยาขนานนี้อีก ๔ วัน (๔ ห่อ) ติดต่อกันเหมือนครั้งแรก ก้อนนิ่วในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะจะละลายออกมากับน้ำปัสสาวะจนหมด ***************************************************************** ๗. ยารักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ และโรคดีซ่าน มีอาการตัวเหลือง ปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ๑. แปะฮก ๔ สลึง ๒. เซ็กตี้ ๔ สลึง ๓. เชียเจ้ย ๓ สลึง ๔. อิงทิ้ง ๓ สลึง ๕. อึงแปะ ๑ สลึงครึ่ง ๖. ขื้อแบะ ๔ สลึง ๗. ตีบ้อ ๒ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ ติดต่อกัน ๑๕ วัน คนไข้จะหายเป็นปกติ อาการป่วยของคนไข้ จะมีอาการไข้หนาวสั่น ตัวเหลือง นัยตาเหลือง แน่นท้อง เจ็บที่ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงข้างขวา ปัสสาวะมีสีเหลืองจัดคล้ายสีขมิ้น อุจจาระมีสีเทาหรือสีขาว มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อท้องเสีย หลังจากรับประทานอาหารไขมันแล้ว จะมีอาการแน่นท้อง ปวดท้อง สาเหตุ อาจเกิดจากตับไร้สมรรถภาพในการจำกัดสีน้ำดี (Retention Taundice) หรือเกิดจากโรคโลหิตจาง เนื่องจากเม็ดเลือดแตก หรือเกิดจากโรคโลหิตจาง ในระยะรุนแรง ***************************************************************** ๘. ยารักษาโรคตับอักเสบ เนื่องจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา ๑. เซ็กตี้ ๔ สลึง ๒. ฮวยซัว ๔ สลึง ๓. จ้อเน็ก ๒ สลึง ๔. ตังพวย ๒ สลึง ๕. เจ้กเซีย ๓ สลึง ๖. แปะฮก ๔ สลึง ๗. เชียเจ้ย ๓ สลึง ๘. เล่งกุด ๔ สลึง ๙. ตือเหล็ง ๒ สลึง ๑๐. ปิดไถ่ ๒ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ อาการป่วยของคนไข้ มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีไข้ ตับอักเสบบวมโต มีท้องร่วง ปวดท้อง ท้องบวม จับแล้วรู้สึกเจ็บหน้าท้อง ม้ามโต และมีอาการดีซ่านแทรกซ้อน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสสไปเคตีสโปรโตซัว เชื้อแบคทีเรีย หรือสารที่มีพิษ เช่นสารหนู คาร์บอนเทตตร้าคลอไรด์ ซิงโคเฟน ******************************************************************************** ๙. ยารักษาโรคตับอักเสบ เนื่องจากพิษสุรา ๑. เซ็กตี้ ๔ สลึง ๒. ฮวยซัว ๔ สลึง ๓. จ้อเน็ก ๒ สลึง ๔. ตังพ้วย ๒ สลึง ๕. เจ็กเซีย ๓ สลึง ๖. แปะฮก ๔ สลึง ๗. เชียเจ้ย ๓ สลึง ๘. เล่งกุด ๔ สลึง ๙. ตื้อเหล็ง ๒ สลึง ๑๐. ปิดไถ่ ๒ สลึง ๑๑. ขื้อแบะ ๔ สลึง ๑๒. จี้กู้ ๓ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ อาการป่วยของคนไข้ มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีไข้ ตับอักเสบ มีอาการท้องร่วง ปวดท้อง ท้องบวม จับแล้วรู้สึกเจ็บหน้าท้อง ม้ามโต และมีอาการดีซ่านแทรกซ้อน ******************************************************************* ๑๐. ยารักษาโรคไขสันหลังอักเสบ ในระยะที่เริ่มเป็นระยะแรก ๑. เสียงก้ง ๔ สลึง ๒. อึ้งแป๊ะ ๓ สลึง ๓. ง่วนเซียม ๔ สลึง ๔. กื้อจี่ ๓ สลึง ๕. เจียะกวกเม้ง ๔ สลึง ๖. งึ้นฮวย ๓ สลึง ๗. โต้วต้ง ๓ สลึง ๘. ไขว่งูชิด ๓ สลึง ๙. ซ่งกั้ก ๓ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วยข้าวต้ม ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย (ยา ๑ ห่อต้มได้ ๒ ครั้ง) รับประทานก่อนอาหาร ๓๐ นาที เช้า-เย็น วันละ ๒ เวลา ครั้งละ ๑ ถ้วย ขณะที่ยากำลังร้อนอุ่นๆ อยู่ ติดต่อกันไป ๗ ถึง ๑๕ วัน ขนาดของเด็ก ลดยาลงตามส่วนของผู้ใหญ่ ************************************************************************** ๑๑. ยารักษาโรคไขสันหลังอักเสบ ในระยะที่เริ่มเป็นอัมพาต (ระยะที่ ๒) ๑. โต๋วต้ง ๓ สลึง ๒. โข่วงูชิด ๓ สลึง ๓. ซงกั้ก ๓ สลึง ๔. เจียะกวักเม้ง ๔ สลึง ๕. กี่จี้ ๓ สลึง ๖. อึ้งแป๊ะ ๓ สลึง ๗. ง่วนเซียม ๕ สลึง ๘. งิ้นฮวย ๓ สลึง ๙. เสียงเกี๊ยก ๔ สลึง ต้มยา ๑ ห่อ น้ำ ๒ ถ้วย ให้เหลือน้ำยา ๑ ถ้วย ยา ๑ ห่อให้ต้มได้เพียงครั้งเดียว แล้วทิ้งไป ต้มอีกก็เอาห่อใหม่ เพื่อให้ฤทธิ์ของยาจะได้เข้มข้น โรคจะได้หายเร็วขึ้น กินติดต่อกันไป ๗ ถึง ๑๕ วัน อาการป่วย เมื่อคนไข้ได้รับเชื้อไวรัสแล้ว มีอาการไข้ โดยมีเพียงตึงๆ ชาตามแขนขา แต่ไม่ถึงกับเป็นอัมพาต ระยะที่ ๒ เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายศูนย์ประสาท ระบบประสาท คนไข้มีอาการคอแข็ง หลังแข็ง มีอาการเกร็งที่น่องและกล้ามเนื้ออื่นๆ และกล้ามเนื้ออ่อนเพลียหมดกำลังลง และเป็นอัมพาต ********************************************************************** ๑๒. ยารักษาโรคไขสันหลังอักเสบ ในระยะปอดเริ่มอักเสบ เป็นอัมพาต (ระยะที่ ๓) ๑. เสียงกัง ๔ สลึง ๒. อึ้งแปะ ๓ สลึง ๓. ง่วนเซียม ๔ สลึง ๔. กี้จื้อ ๓ สลึง ๕. ก๊กแก้ ๓ สลึง ๖. เจียะก้วกเม้ง ๔ สลึง ๗. งึ้นฮวย ๔ สลึง ผู้ป่วยด้วยโรคไขสันหลังอักเสบระยะใดระยะหนึ่งก็ตาม ให้ใช้ยาสำหรับรักษาในระยะนั้นๆ จำนวน ๑ ห่อ ผสมน้ำ ๒ ถ้วยข้าวต้มขนาดกลาง เคี่ยวจนงวดให้เหลือค่อนถ้วยหรือ ๑ ถ้วย ให้รับประทานขณะยากำลังร้อนอุ่นๆอยู่ ก่อนอาหารเช้า-เย็น ประมาณ ๓๐ นาที ติดต่อกันไป ๗ ถึง ๑๕ วัน คนไข้จะหายจากการเป็นอัมพาต ยา ๑ ห่อให้ต้มครั้งเดียว กินต่อไปก็ให้ต้มยาห่อใหม่ เพราะฤทธิ์ยาจะได้เข้มข้น โรคจะหายเร็วขึ้น ขนาดเด็กลดลงตามส่วนของผู้ใหญ่ ************************************************************************************** ๑๓. ยาอายุวัฒนะ ยาจีนโบราณ (เจียงไคเช็ก) ๑. อิ่มเอี้ยคัก ๑ ตำลึง ๒. เก๋ากี้สือ ๑ ตำลึง ๓. เสกตี่ ๑ ตำลึง ๔. ง้วนเน็ก ๒ ตำลึง ๕. ปักโหงวปี่ ๕ หุน ยาอายุวัฒนะจีนโบราณขนานนี้ บำรุงร่างกายให้สดชื่นแข็งแรง สำหรับผู้มีอายุ รักษาโรคปวดเอวและร่างกาย ทำให้บุคลิกเป็นหนุ่มกว่าอายุจริงหลายปี เป็นยาอายุวัฒนะด้วย ผู้ชายหย่อนสมรรถภาพทางเพศ กินประจำจะฟื้นคืนดีขึ้นแข็งแรงเช่นเดิม กระชุ่มกระชวยอยู่เสมอ วิธีใช้ ยา ๑ ห่อ (๑ ชุด) ดองสุราขาวจีน หรือสุราแม่โขงก็ได้ ๒ ขวดใหญ่ ดองไว้ ๑๕ วัน รับประทานก่อนอาหารค่ำหรือก่อนนอน วันละ ๑ ครั้งๆละประมาณ ๑ เป๊กหรือกว่าเล็กน้อย ถ้ารับประทานสุราไม่ได้ จะทำเป็นยาเม็ดกลอนบดผงผสมน้ำผึ้งรวง ให้ร้านขายยาจีนทำให้ (เขาเรียกว่า เอียะอี้) ทำเม็ดโตขนาดพริกไทยหรือโตกว่าเล็กน้อยรับประทานครั้งละ ๒๐ ถึง ๓๐ เม็ด ยานี้ผู้หญิงก็รับประทานได้ ************************************************************************* ๑๔. ยาจับซาไท้เป้า ยาจีนโบราณ ยาครรภ์รักษาของจีน ๑. ตังกุย (โกฐเชียง) หนัก ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ๒. ชวงเกียง หนัก ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ๓. กำเช้า (ชะเอมเทศ) หนัก ๕ หุน ๑ เฟื้อง ๔. โก้วซี หนัก ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ๕. แปะเจี้ยก หนัก ๒ หุน ๑ เฟื้อง ๖. ขี่เทีย หนัก ๗ หุน ๗. ขวนผก หนัก ๘ หุน ๘. เกียงอั๊ว หนัก ๕ หุน ๙. จี้ชัก หนัก ๑ สลึง ๑๐. ชวนป๋วย หนัก ๑ สลึง ๑๑. ปักคี้ หนัก ๘ หุน ๑๒. เก็งไถ่ หนัก ๘ หุน ๑๓. เชเกีย ๓ แผ่น ชาวจีนใช้เป็นยาครรภ์รักษามาแล้วหลายพันปี สตรีตั้งครรภ์ตั้งแต่ ๔ เดือนขึ้นไป รับประทานยาตำรับนี้ ๑ ห่อ ต้มเติมน้ำ ๒ ชามข้าวต้ม เคี่ยวให้งวดเหลือน้ำยาประมาณค่อนชาม รับประทานให้หมดครั้งเดียวก่อนอาหารเช้า กากยาต้มรับประทานอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น (ยา ๑ ห่อต้มรับประทานได้ ๒ ครั้ง) เดือนหนึ่งรับประทาน ๒ ครั้งพอ โดยใช้ยา ๑ ห่อทุกเดือน ยาตำรับนี้นอกจากบำรุงสุขภาพพลานามัยของมารดาและทารกให้สมบูรณ์คลอดง่ายแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยบำรุงโครงสร้างสมองของทารกให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ตามปกติอีกด้วย ******************************************************************* ๑๕. ยารักษาโรคมะเร็งลำคอ มะเร็งหลอดเสียง มะเร็งหลอดอาหาร ๑. ง่วนเซียม หนัก ๓ สลึง ๒. คุ่งโป่ว หนัก ๒ สลึง ๓. ไฮเฉ่า หนัก ๒ สลึง ๔. โกวเช่า หนัก ๒ สลึง ๕. กักแก้ หนัก ๓ สลึง ๖. เต่ากึง หนัก ๔ สลึง ๗. เลียงเคี้ยว หนัก ๑ สลึงครึ่ง ๘. ฮวยหุ้ง หนัก ๒ สลึง ๙. ชวนป๋วย หนัก ๒ สลึง ๑๐. งูพั้ง หนัก ๓ สลึง ๑๑. แชตี หนัก ๒ สลึง ๑๒. จี้ชัก หนัก ๒ สลึง ๑๓. ปอห่อ หนัก ๒ สลึง ๑๔. แปะเอียม หนัก ๒ สลึง ๑๕. แชเอียม หนัก ๒ สลึง ๑๖. แง่เซียว หนัก ๒ สลึง ๑๗. ตั้วอึ้ง หนัก ๒ สลึง ๑๘. ลิ่วอึ้ง หนัก ๒ สลึง ๑๙. เตียงจู หนัก ๒ หุน ยาจีนโบราณขนานนี้ใช้รักษาโรคมะเร็งลำคอ มะเร็งหลอดเสียง มะเร็งหลอดอาหาร ได้ผลดี และยังมีคุณสมบัติใช้รักษาแผลในลำคอ ตำรับยานี้ชาวจีนได้ใช้รักษาคนไข้ได้ผลดีมามากแล้วหลายร้อยราย และปัจจุบันก็ยังใช้กันโดยทั่วไปอยู่ ยาชุดนี้ผสมกันบดเป็นผงละเอียด ผสมน้ำผึ้งรวงทำเป็นเม็ดกลอน (เอียะอี้) เท่าเม็ดนุ่น รับประทานวันละ ๒ ครั้งๆ ละ ๒๐ เม็ด ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือจะใช้ยาผงครั้งละ ๒ ช้อนกาแฟ ผสมน้ำอุ่น ๕-๖ ช้อนโต๊ะ รับประทานวันละ ๒ ครั้งแทนยาลูกกลอนก็ได้ รับประทานติดต่อกัน ๓๐-๔๕ วัน ******************************************************************** ควรจะรู้จัก ประวัตินายมานพ คณานุรักษ์ นายมานพ คณานุรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ที่บ้านเลขที่ ๒๙ ถนนอาเนาะรู ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรชายคนโตของนายอนันต์ และนางเสริมสุข (วัฒนายากร) คณานุรักษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๘ คน เรียงตามลำดับดังนี้๑. นายมานพ คณานุรักษ์ ๒. นายสุนนท์ คณานุรักษ์ (ถึงแก่กรรม) ๓. นายจำรูญ คณานุรักษ์ ๔. นางละออง คณานุรักษ์ ๕. นายประเวศ คณานุรักษ์ ๖. นายเติมศักดิ์ คณานุรักษ์ ๗. นางละมุล สาครินทร์ ๘. นางละม่อม สมัครพันธุ์ ได้เข้าศึกษาชั้นประถมจนจบชั้นมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัดปัตตานี แล้วจึงศึกษาต่อด้านช่างกลที่กรุงเทพฯ และนำความรู้ไปประกอบการทำงานที่เหมืองแร่บุหลัน อำเภอนันนังสตาร์ จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นเหมืองแร่ดีบุกที่ตกทอดมาจากต้นตระกูล ต่อมาได้ยึดอาชีพการทำเหมืองแร่ดีบุกตลอดมาจนถึงบั้นปลายของชีวิต นายมานพ คณานุรักษ์ สมรสกับนางสาวยุวรี ศรีพจนารถ (ถึงแก่กรรม) มีบุตรธิดารวม ๕ คนคือ ๑. นายแพทย์ชูพันธ์ คณานุรักษ์ สมรสกับนางสาวธีรวัลย์ สายอร่าม มีธิดา ๑ คนคือ ด.ญ.นพมณี คณานุรักษ์ ๒. นางขวัญตา ปริชญากร สมรสกับนายธนิต ปริชญากร มีบุตรธิดา ๓ คนคือ นายปราการ ปริชญากร นางสาวกิ่งแก้ว ปริชญากร และนางสาวแพรวตา ปริชญากร ๓. เภสัชกรหญิงมาลินี จันทรัศมี สมรสกับนายวิรัช จันทรัศมี มีบุตร ๑ คนคือ นายกนก จันทรัศมี ๔. นายธีระพงศ์ คณานุรักษ์ สมรสกับนางสาวสุพิณ อ่องอุทุมพร ไม่มีบุตรธิดา ๕. นางนงลักษณ์ อ่องสาคร สมรสกับนายสมพร อ่องสาคร มีบุตร ๒ คนคือ นายทรงธรรม อ่องสาคร และนายปรเมศว์ อ่องสาคร ต่อมานางยุวรีได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ นายมานพ คณานุรักษ์ ได้สมรสอีกครั้งหนึ่งกับนางสาวประมวล คณานุรักษ์ แต่ไม่มีบุตรธิดา ในบั้นปลายของชีวิต นายมานพ คณานุรักษ์ มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจโดยมีสาเหตุมาจากเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน จึงได้ทำการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery by-pass graft surgery) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ อาการบกพร่องของกล้ามเนื้อหัวใจได้กำเริบ จึงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยขึ้น ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันอังคารที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๒ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริอายุได้ ๘๒ ปี ๑๐ เดือน ๒๐ วัน..... นายมานพ เป็นผู้ใฝ่รู้ ซึ่งนอกเหนือจากความรู้เรื่องพระแล้ว ยังสนใจในเรื่องโภชนาการ วิตามินและยาที่รักษาและเสริมสร้างสุขภาพอีกด้วย โดยได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้มานานจากหนังสือเกี่ยวกับยาแผนปัจจุบัน แผนโบราณและสมุนไพร ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ประกอบกับประสบการณ์ของตนเองจึงได้จดบันทึกตำรับยาและวิธีรักษาโรคต่างๆ นั้นไว้ และได้ปรารภไว้ว่าน่าจะตีพิมพ์ความรู้ดังกล่าวที่ได้สะสมมายาวนานเพื่อเป็นวิทยาทานและไม่ให้สูญหายไป จึงได้คัดลอกลงสมุดบันทึก ๒ เล่มและเรียบเรียงข้อความต่างๆ ให้ต่อเนื่องด้วยตนเอง ..... ก่อนที่จะถึงแก่กรรมอย่างสงบในอีกไม่กี่ปีต่อมา. |