พิมพ์หน้านี้ - อุตรดิตถ์ประกาศเพิ่มเขตระบาดโรคPRRS 8 ธค. 2553

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ => ●การเกษตร => ข้อความที่เริ่มโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ธันวาคม 08, 2010, 02:17:00 PM



หัวข้อ: อุตรดิตถ์ประกาศเพิ่มเขตระบาดโรคPRRS 8 ธค. 2553
เริ่มหัวข้อโดย: ช่างเล็ก(LSV) ที่ ธันวาคม 08, 2010, 02:17:00 PM
อุตรดิตถ์ประกาศเพิ่มเขตระบาดโรคPRRS
 
   
8 ธค. 2553 13:26 น.  สนับสนุนโดย NECTEC

    นางวรรณี นาคบัว นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยถึงการพบสุกรของเกษตรกรกว่า 100 ราย ที่หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 ต.นาอิน อ.พิชัย จำนวนกว่า 400 ตัวล้มป่วยและตาย ขณะที่ผลการตรวจจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.พิษณุโลกตรวจยืนยัน สุกรที่ป่วยและล้มตายด้วยโรคพีอาร์อาร์เอส หรือ โรคเพิร์ส ระบาดในสุกร และเพื่อควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าวไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรจึงได้ประกาศให้ ต.นาอิน ทั้งตำบลเป็นเขตระบาดโรคพีอาร์อาร์เอสในสุกร และจัดส่งสัตวแพทย์ลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชน ส่วนสุกรที่ล้มตายให้สั่งทำลายด้วยวิธีการฝั่งกลบพร้อมฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ
    “เฉพาะที่ตำบลนาอิน เบื้องต้นสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ เพื่อให้เกิดชัดเจนทีมสัตวแพทย์ได้ลงพื้นที่ทำการตรวจสุขภาพสุกร ให้วิตามิน และแนะนำเกษตรกรเจ้าของสุกรในการดูแลความสะอาดโรงเรือน ห้ามมีการเคลื่อนย้ายสุกรออกนอกพื้นที่ ทั้งนี้โรคพีอาร์อาร์เอสเกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งง่ายต่อการแพร่เชื้อ แต่ไม่ติดต่อมายังคนหรือสัตว์ประเภทอื่น ขณะเดียวกันเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนและเกษตรกรอย่าได้ตื่น ตระหนก กลัวการระบาดของโรค เมื่อพบสุกรที่เลี้ยงล้มตายเกรงกลัวการทำลายของเจ้าหน้าที่ จึงแอบนำไปทิ้งตามแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ ยิ่งจะทำให้การระบาดของโรคขยายวงกว้าง รวมถึงมีการตั้งด่านตรวจ 24 ชั่วโมงโดยรอบ ต.นาอิน ไม่ให้มีการขนย้ายซากสัตว์ที่ตายแล้วไปยังพื้นที่อื่นโดยเฉพาะการขึ้นเขียง หมูเพื่อชำแหละขาย และเพื่อไม่ให้มีปัญหากับพื้นที่อื่น” นางวรรณีกล่าว
    ล่าสุดได้รับรายงานเพิ่มว่า หมู่ 10 ต.วังแดง อ.ตรอน สุกรของเกษตรกรที่มีแม่พันธุ์กว่า 10 ตัวมีอาการป่วย ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจและประกาศให้เป็นพื้นที่ระบาด โรคพีอาร์อาร์เอสในสุกร เพิ่มอีก 1 จุด อย่างไรก็ตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงยิ่งทำให้การระบาดของโรคแพร่กระจายได้ เร็ว หากเกษตรกรไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ยิ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย ที่สำคัญพบว่าสุกรที่ป่วยและล้มตายเป็นสุกรที่เลี้ยงแบบชาวบ้าน ไม่เข้าสู่ระบบฟาร์มปิดที่ได้มาตรฐาน
http://breakingnews.nationchannel.com