พิมพ์หน้านี้ - ถกเอเปกรับมือค่าเงิน

LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่21"

นานาสาระ => เศรษฐกิจ => ข้อความที่เริ่มโดย: Nattawut-LSV Team ที่ พฤศจิกายน 05, 2010, 05:32:15 PM



หัวข้อ: ถกเอเปกรับมือค่าเงิน
เริ่มหัวข้อโดย: Nattawut-LSV Team ที่ พฤศจิกายน 05, 2010, 05:32:15 PM
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีถึงกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ได้ประกาศแผนซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อีก 6 แสนล้านดอลลาร์ ภายในกลางปีหน้า เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจของสหรัฐ ว่า ในระยะสั้นจะไม่มีผลกระทบต่อตลาดเงินในประเทศแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว ขณะที่ผลในระยะยาวนั้นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงแน่นอน
   
ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวเองรองรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้ และจากการหารือร่วมกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ยืนยันชัดเจนว่าธปท.ได้หารืออย่างใกล้ชิดกับกลุ่มผู้ว่าการธนาคารกลาง ประเทศในภูมิภาคนี้ว่าหากมีความจำเป็นจะร่วมกันเพื่อหามาตรการที่จะสกัดการ เก็งกำไรค่าเงิน
   
“ภาคเอกชนเองต้องเร่งปรับตัวเพราะรู้อยู่แล้วว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่า ลง และการที่จะรอคอยให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเท่าเดิมในอัตราที่ 30 บาท หรือ 30 บาทเศษ ต่อดอลลาร์สหรัฐ คงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และภาคเอกชนต้องยอมรับความจริงว่าไม่มีใครที่จะสามารถทัดทานปริมาณเงินของ สหรัฐที่พิมพ์ออกมาจำนวนมากเช่นนี้ได้”
   
อย่างไรก็ตาม ในการเดินทางไปร่วมประชุม รมว.คลังเอเปก ที่ญี่ปุ่น ในสัปดาห์นี้จะเสนอแนวคิดต่อ รมว.คลังอาเซียน เพื่อหารือถึงจุดยืนและความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนในการดูแลค่าเงิน เพื่อนำไปหารือกับรมว.คลังสหรัฐ อีกครั้งในวันเสาร์ที่ 6 พ.ย.นี้ ซึ่งมาตรการของสหรัฐที่เสนอให้ประเทศในกลุ่มจี 20 ควบคุมดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ให้ขาดดุลหรือเกินดุล 4% โดยที่ไม่มีการกำหนดวิธีการที่เหมาะสม อาจทำให้ประเทศต่าง ๆ ใช้วิธีการกีดกันทางการค้า เพื่อควบคุมการนำเข้าเพื่อให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ในกรอบที่กำหนด ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจมากกว่าผลดี
   
ทั้งนี้วิธีการที่ดีที่สุด คือ การปรับอัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของ เศรษฐกิจแต่ละประเทศ และการออกมาตรการควบคุมบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในกรอบเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายกว่าเดิม ซึ่งแนวโน้มค่าเงินดอล ลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
   
ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องปรับตัว ซึ่งพบว่าขณะนี้ผู้ส่งออกขยายตลาดส่งออกกว้างขึ้น จากเดิมที่พึ่งพาตลาดยุโรปและสหรัฐถึง 60% ของการส่งออกทั้งหมด ขณะนี้เหลือ 20% ส่วนที่เหลือส่งออกประเทศที่ค่าเงินแข็งค่าด้วยเพราะยังมีกำลังซื้อยังอยู่ เหมือนเดิม ซึ่งผู้ส่งออกไทยกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินสกุลอื่นได้มากขึ้น หรือเจรจาในการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะผู้ซื้อที่ค่าเงินแข็งเช่นกันซึ่งจะทำให้สามารถรักษาส่วนต่างกำไรไว้ ได้
   
น.ส.อริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรม การผู้จัดการสมาคมตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า มาตรการคิวอี2 ของสหรัฐคงทำให้เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากกว่าตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากภาครัฐส่งสัญญาณชัดเจนว่าต้องการคุมเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ หลังกลับมาเก็บภาษี 15% ทำให้ความคล่องตัวลดลง และยังมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะออกมาตรการอื่นมาเพิ่มเติม ทำให้นักลงทุนตราสารหนี้ชะลอการลงทุนเพื่อดูความชัดเจน
   
รายงานข่าวจากห้องค้าธนาคารพาณิชย์แจ้งว่า ค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 4 พ.ย.เปิดตลาดที่ระดับ 29.72-29.77 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างวันแข็งค่าสุดที่ระดับ 29.66 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากเฟดออกมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบรอบ 2 และมองว่าค่าเงินยังแข็งค่าขึ้น เป็นผลมาจากเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง โดยธปท. ยังไม่ได้แทรกแซงทำให้ค่าเงินปิดตลาดที่ระดับ 29.66-29.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ.
(http://www.dailynews.co.th/newstartpage/includes/images/logo.gif)